โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟีโอโครโมไซโตมา

ดัชนี ฟีโอโครโมไซโตมา

ฟีโอโครโมไซโตมา (pheochromocytoma) เป็นเนื้องอกประสาทต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine tumor) ของต่อมหมวกไตส่วนใน เจริญมาจากเซลล์โครมาฟิน (chromaffin cell) หรือเนื้อเยื่อโครมัฟฟินนอกต่อมหมวกไตที่ไม่ได้ย้ายที่มาตอนเกิด และหลั่งสารคาเตโคลามีน (catecholamine) จำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นอะดรีนาลีนหากเนื้องอกอยู่ในต่อมหมวกไต และนอร์อะดรีนาลีน พาราแกงกลิโอมา (paraganglioma) นอกต่อมหมวกไต (บางครั้งเรียกว่าฟีโอโครโมไซโตมานอกต่อมหมวกไต) เป็นเนื้องอกที่มีความใกล้เคียงกันแต่พบน้อยกว่ามาก ซึ่งเจริญมาจากปมประสาทของระบบประสาทซิมพาเทติก จะตั้งชื่อตามตำแหน่งทางกายวิภาคที่เก.

7 ความสัมพันธ์: ภาวะไข้สูงมะเร็งชนิดต่อมความดันโลหิตสูงน้ำตาลในเลือดโรควิตกกังวลโครโมโซม 1 (มนุษย์)ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก

ภาวะไข้สูง

'''ภาวะไข้สูง''' '' (ซ้าย) '' อุณหภูมิปกติของร่างกาย (อุณหภูมิเป้าหมายที่ร่างกายพยายามรักษาให้คงที่) แสดงด้วยสีเขียว และอุณหภูมิของภาวะตัวร้อนเกินแสดงด้วยสีแดง จากภาพในภาวะตัวร้อนเกินจะมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าอุณหภูมิเป้าหมาย'''ภาวะตัวเย็นเกิน''' '' (กลาง) '' อุณหภูมิปกติของร่างกายแสดงด้วยสีเขียว และอุณหภูมิของภาวะตัวเย็นเกินแสดงด้วยสีน้ำเงิน จากภาพในภาวะตัวเย็นเกินจะมีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมาย'''ไข้''' '' (ขวา) '' อุณหภูมิปกติของร่างกายแสดงด้วยสีเขียวซึ่งเป็นอุณหภูมิปกติ "ใหม่" เพราะกลไกควบคุมอุณหภูมิได้ปรับอุณหภูมิเป้าหมายให้สูงขึ้น เป็นเหตุผลที่อุณหภูมิปกติเดิมของร่างกาย (น้ำเงิน) "เย็นเกิน" กว่าปกติ ผู้ป่วยจึงรู้สึกหนาวทั้งที่อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ภาวะตัวร้อนเกิน หรือ ภาวะไข้สูง ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: ฟีโอโครโมไซโตมาและภาวะไข้สูง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งชนิดต่อม

มะเร็งชนิดต่อม หรือ อะดีโนคาร์ซิโนมา (adenocarcinoma) เป็นมะเร็งที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อต่อม (glandular tissue) ซึ่งเป็นเยื่อบุผิว (epitheliam) ชนิดหนึ่ง การที่เซลล์มะเร็งจะได้รับการจัดชนิดเป็นมะเร็งชนิดต่อมนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นส่วนประกอบของต่อมใดๆ ตราบใดที่ยังแสดงถึงความสามารถในการหลั่งสารอยู่ มะเร็งชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูงบางชนิดรวมถึงมนุษย์ มะเร็งชนิดต่อมที่มีการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ดีอาจมีลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อต่อมที่เจริญมาได้ ในขณะที่ชนิดที่มีการเปลี่ยนสภาพของเซลล์แย่อาจไม่คล้ายเลยก็ได้ การย้อมสีชิ้นเนื้อจากการตัดชิ้นเนื้อตรวจจะทำให้นักพยาธิวิทยาหรือพยาธิแพทย์สามารถตรวจพบได้ว่าเนื้องอกนั้นๆ เป็นมะเร็งชนิดต่อมหรือชนิดอื่น มะเร็งชนิดต่อมสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายๆ ที่ในร่างกายจากการที่มีเนื้อเยื่อต่อมอยู่หลายที่ในร่างกาย เนื้องอกของต่อมไร้ท่อหลายๆ ชนิด เช่น VIPoma insulinoma pheochromocytoma และอื่นๆ มักไม่ถูกเรียกว่าเป็นมะเร็งชนิดต่อมแต่จะถูกเรียกว่า neuroendocrine tumor แทน หากเนื้อเยื่อที่เจริญจากต่อมนั้นมีความผิดปกติแต่ไม่เป็นเนื้อร้ายจะเรียกว่าเนื้องอกต่อม (adenoma) โดยเนื้องอกต่อมซึ่งไม่เป็นเนือ้ร้ายนี้จะไม่ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อข้างเคียงและน้อยมากที่จะมีการแพร่กระจาย ในขณะที่มะเร็งชนิดต่อมสามารถลุกลามและแพร่กระจายได้.

ใหม่!!: ฟีโอโครโมไซโตมาและมะเร็งชนิดต่อม · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

ใหม่!!: ฟีโอโครโมไซโตมาและความดันโลหิตสูง · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตาลในเลือด

วามเข้มข้นของน้ำตาลในเลือด หรือ ระดับกลูโคสในเลือด คือ จำนวนกลูโคส (น้ำตาล) ที่มีอยู่ในเลือดของมนุษย์หรือสัตว์ โดยปกติในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม, ร่างกายจะควบคุมระดับกลูโคสในเลือดให้อยู่ที่ 3.6 - 5.8 mM (mmol/L, เช่น millimoles/liter) หรือ 64.8 - 104.4 mg/dL.

ใหม่!!: ฟีโอโครโมไซโตมาและน้ำตาลในเลือด · ดูเพิ่มเติม »

โรควิตกกังวล

รควิตกกังวล (Anxiety disorders) เป็นกลุ่มความผิดปกติทางจิตกำหนดโดยความวิตกกังวลและความกลัว ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตและความกลัว (fear) เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน --> ความรู้สึกเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วและตัวสั่น --> มีโรควิตกกังวลหลายอย่าง รวมทั้งโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD), โรคกลัว (phobia) ที่เฉพาะเจาะจง, โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder), โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (separation anxiety disorder), โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia), และโรคตื่นตระหนก (panic disorder) --> โดยโรคจะต่าง ๆ กันตามอาการ --> แต่คนไข้มักจะมีโรควิตกกังวลมากกว่าหนึ่งชนิด โรคมีปัจจัยจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประวัติถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ประวัติความผิดปกติทางจิตในครอบครัว และความยากจน --> โรคมักเกิดร่วมกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า (MDD) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (PD) และการเสพสารเสพติด (substance use disorder) เพื่อจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค จะต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน มีความวิตกกังวลเกินเหตุ และมีปัญหาในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีปัญหาทางจิตเวชและทางแพทย์อื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้าย ๆ กันรวมทั้งอาการไฮเปอร์ไทรอยด์, โรคหัวใจ, การเสพกาเฟอีน แอลกอฮอล์ และกัญชา, และการขาดยา (withdrawal) บางประเภท ถ้าไม่รักษา โรคมักจะไม่หาย การรักษารวมทั้งการเปลี่ยนสไตล์ชีวิต จิตบำบัด และการทานยา --> จิตบำบัดมักจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ยาเช่นยาแก้ซึมเศร้าหรือเบต้า บล็อกเกอร์ อาจช่วยให้อาการดีขึ้น คนประมาณ 12% มีโรคทุก ๆ ปี โดยเกิดในหญิงมากกว่าชาย 2 เท่า และทั่วไปเริ่มก่อนอายุ 25 ปี ประเภทโรคที่สามัญที่สุดคือโรคกลัวที่เฉพาะเจาะจงซึ่งเกิดในคน 12% และโรคกลัวการเข้าสังคม (SAD) ซึ่งเกิดในคน 10% ในช่วงหนึ่งในชีวิต --> โดยเกิดกับบุคคลอายุ 15-35 ปีมากที่สุด และเกิดขึ้นน้อยหลังถึงอายุ 55 ปี --> อัตราการเกิดดูจะสูงกว่าในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป สีหน้าของบุคคลที่มีความวิตกกังวลเรื้อรัง.

ใหม่!!: ฟีโอโครโมไซโตมาและโรควิตกกังวล · ดูเพิ่มเติม »

โครโมโซม 1 (มนุษย์)

locus for notation. โครโมโซม 1 เป็นโครโมโซมที่ใหญ่ที่สุดของมนุษย์ โดยในแต่ละเซลล์จะมี 2 แท่ง (โครโมโซมคู่ที่ 1) และเป็นโครโมโซมร่างกาย (มนุษย์มีโครโมโซมร่างกาย 22 คู่ และโครโมโซมเพศ 1 คู่) โครโมโซม 1 มีคู่เบส 249 ล้านคู่เบสhttp://vega.sanger.ac.uk/Homo_sapiens/mapview?chr.

ใหม่!!: ฟีโอโครโมไซโตมาและโครโมโซม 1 (มนุษย์) · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ฟีโอโครโมไซโตมาและICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Pheochromocytoma

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »