โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟาโรห์สเมงห์คาเร

ดัชนี ฟาโรห์สเมงห์คาเร

ฟาโรห์สเมงห์คาเร (Smenkhkare หมายถึง พลังอำนาจของวิญญาณแห่งรา) ผู้ได้ครองบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์อเคนาเตนเพียงช่วงระยะสั้น ๆ เป็นฟาโรห์ที่ลึกลับที่สุดในบรรดาฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ 18 นักประวัติศาสตร์บางคนสันนิษฐานว่า พระองค์อาจเป็นพระ อนุชาของฟาโรห์อเคนาเตน บ้างก็อาจจะเป็นพระนางเนเฟอร์ตีติที่ขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์หญิงโดย เปลี่ยนพระนามใหม่เสียด้วยซ้ำ แต่ไม่ว่าสเมงห์คาเรจะเป็นใคร เขาหรือเธอก็ปกครองอยู่เพียงไม่กี่ปี (ประมาณ 1 ปี, ก่อนคริสต์ศักราช 1356 ปี - ก่อนคริสต์ศักราช 1355 ปี).

5 ความสัมพันธ์: ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนฟาโรห์แอเมนโฮเทปที่ 3ฟาโรห์โฮเรมเฮบรายพระนามฟาโรห์รายพระนามกษัตริย์อไบดอส

ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน

ทุตอังค์อามุน (Tutankhamun) เป็นฟาโรห์อียิปต์จากราชวงศ์ที่ 18 เสวยราชย์ตั้งแต่ราวปีที่ 1332 ถึง 1323 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์อียิปต์ที่เรียกว่า "อาณาจักรใหม่" พระองค์มีพระนามเดิมว่า "ทุตอังค์อาเท็น" (Tutankhaten) หมายความว่า "องค์อวตารแห่งอาเท็น" ส่วนพระนาม "ทุตอังค์อามุน" หมายความว่า "องค์อวตารแห่งอามุน" พระนามหลังนี้ในอักษรไฮเออโรกลิฟส์ (hieroglyphs) เขียนว่า "อาเมน-ทุต-อังค์" (Amen-tut-ankh) เพราะตามประเพณีแล้วต้องเอานามเทพยดาขึ้นก่อน นอกจากนี้ เป็นไปได้ว่า พระองค์คือ "นีบูร์เรเรยา" (Nibhurrereya) ดังที่เขียนไว้ด้วยอักษรอะมาร์นา และ "ราโททิส" (Rathotis) พระเจ้าแผ่นดินในราชวงศ์ที่ 18 ซึ่งมาเนโท (Manetho) นักประวัติศาสตร์ ระบุว่า เสด็จอยู่ในพระราชสมบัติ 9 ปี ในปี 1922 เฮาเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter) กับจอร์จ เฮอร์เบิร์ต เอิร์ลที่ 5 แห่งคาร์นาวอน (George Herbert, 5th Earl of Carnarvon) ค้นพบสุสานของพระองค์ซึ่งอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ การค้นพบดังกล่าวได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนทั่วโลก ทั้งยังก่อให้สาธารณชนกลับมาสนใจอียิปต์โบราณ และหน้ากากพระศพก็ได้รับการใช้เป็นสัญลักษณ์ของอียิปต์โบราณมาจนทุกวันนี้ ข้าวของเครื่องใช้จากสุสานของพระองค์ยังได้รับการนำพาไปจัดแสดงทั่วโลก ครั้นเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ผลตรวจทางพันธุกรรมยืนยันว่า พระองค์เป็นพระโอรสฟาโรห์แอเคนาเท็น (Akhenaten) กับพระกนิษฐภคินีพระองค์ 1 ของแอเคนาเท็นซึ่งบัดนี้ยังไม่ทราบพระนามและพระศพได้รับการเรียกขานว่า "ท่านหญิงน้อย" (The Younger Lady).

ใหม่!!: ฟาโรห์สเมงห์คาเรและฟาโรห์ทุตอังค์อามุน · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโรห์แอเมนโฮเทปที่ 3

แอเมนโฮเทปที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 ในราชวงศ์ที่ 18 ของอียิปต์โบราณ แอเมนโฮเทปที่ 3 (/ˌæmɛnˈhoʊtɛp)(Amenhotep III) หมายถึง ความพอใจของเทพอามัน เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์ ทุตโมสที่ 4 (Thutmose IV)ที่ประสูติแต่ พระราชินีมัทเอมวีอา รัชกาลของพระองค์เป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองที่อียิปต์ถึงจุดสูงสุดของศิลปะและอำนาจระหว่างประเทศ เมื่อพระองค์สวรรคตในปีที่ 38 หรือ 39 ของการครองราชย์ของพระองค์ ฟาโรห์แอเมนโฮเทปที่4 ต่อมาเปลี่ยนพระนามเป็น แอเคนาเทน ได้ขึ้นครองราชเป็นฟาโรห์พระองค์ต่อม.

ใหม่!!: ฟาโรห์สเมงห์คาเรและฟาโรห์แอเมนโฮเทปที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโรห์โฮเรมเฮบ

รูปปั้นฟาโรห์โฮเรมเฮบในอียิปต์ ฟาโรห์โฮเรมเฮบ(อังกฤษ:Horemheb) เป็นฟาโรห์ ต่อจากฟาโรห์ไอย์ โฮเรมเฮบสถาปนาตนเป็นฟาโรห์ทันทีหลังจากการสวรรคตก่อนจะทำลายสุสานและลบพระนามของไอย์ออกจากจารึกทั้งหมดราวกับต้องการทำลายหลักฐานทุกชิ้นที่บอกว่าเคยมีไอย์บนโลกนี้ กระนั้นปัญหาหลักในการครองราชย์ของโฮเรมเฮบคือเขาเป็นสามัญชนที่ปราศเลือดขัตติยะ การที่ได้อภิเษกกับน้องสาวของเนเฟอร์ติติก็ยังไม่พอจะลบปมด้อยดังกล่าว จึงทรงหันมาเอาจริงเอาจังกับการอวดอ้างฐานะฟาโรห์ของตนเป็นพิเศษ โฮเรมเฮบถึงกับพยายามประกาศว่าเขาคือผู้ปกครองต่อจากอเมนโฮเทปที่ 3โดยไม่เคยมีรัชสมัยของ อเคนาเตน สเมงห์คาเร ตุตันคามุนหรือ ไอย์ปรากฏอยู่เลย นอกจากนี้ยังสั่งรื้อเมืองอมาร์นาที่สร้างบูชาเทพอาเตนจนนครหลวงอันงดงามต้องเหลือแต่ซากปรักหักพังจมอยู่ใต้กองทราย ฟาโรห์โฮเรมเฮบครองราชย์นาน 30 ปี ทรงจัดการแผ่พระราชอำนาจออกไปยังชายแดน ปฏิสังขรวิหารหลายแห่ง และแต่งตั้งนายทหารขึ้นเป็นนักบวช เพื่อให้ดูแลเรื่องศาสนาอย่างใกล้ชิด โฮเรมเฮบเป็นฟาโรห์องค์แรกที่เริ่มเปิดฉากการทำสงครามกับชาวฮิตไทต์ในทางเหนือ โดยแต่งตั้งแม่ทัพพาราเมสซูเป็นผู้สืบราชสมบัติ ต่อมาพาราเมสซูได้ขึ้นครองราชย์เป็น รามเซสที่ 1 แห่งราชวงศ์ที่ 19 ฮโฮเรมเฮบ.

ใหม่!!: ฟาโรห์สเมงห์คาเรและฟาโรห์โฮเรมเฮบ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามฟาโรห์

ทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับราชวงศ์และฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณ ตั้งแต่สมัยก่อนราชวงศ์ต้น เมื่อ 3100 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงสิ้นสมัยราชวงศ์ทอเลมีเมื่ออียิปต์กลายเป็นมณฑลแห่งโรมัน อยู่ภายใต้อำนาจจักรพรรดิออกุสตุสใน 30 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ฟาโรห์สเมงห์คาเรและรายพระนามฟาโรห์ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามกษัตริย์อไบดอส

ในด้านข้างของหน้าบันทึกพระนามแห่งอไบดอส แสดงให้เห็นว่าฟาโรห์เซติที่หนึ่งและพระราชโอรสของพระองค์ฟาโรห์แรเมซีสที่สอง (ทรงพระเยาว์) ระหว่างทำการบูชาให้กับเทพพทาห์ เทพเซเกอร์ เทพโอไซริส และพระนามของฟาโรห์ บันทึกพระนามแห่งอไบดอส ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของ ตารางพระนามอไบดอส คือบันทึกรายพระนามฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจำนวนทั้งหมด 76 พระองค์ ที่ปรากฎอยู่ผนังของวัดที่สร้างขึ้นโดยฟาโรห์เซติที่หนึ่ง ที่เมืองอไบดอสในประเทศอียิปต์ ซึ่งบันทึกทั้งไว้สามแถวและแต่ละแถวจะมีพระนามทั้งหมด 38 พระนาม โดยพระนามจะปรากฎอยู่ในวงรีที่เรียกว่า คาร์ทูธ (วงรีล้อมรอบพระนามของฟาโรห์) ในแต่ละแถว ซึ่งสองแถวด้านบนนั้นจะเป็นพระนามของฟาโรห์ ส่วนในขณะที่แถวที่สามนั้นจะบันทึกพระนามต่าง ๆ ของฟาโรห์เซติที่หนึ่ง นอกเหนือจากจะมีการบันทึกพระนามของฟาโรห์ในยุคราชอาณาจักรเก่าแล้ว ก็ยังมีการบันทึกพระนามของฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่เจ็ดและแปด ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่มีความคลุมเครืออย่างมากเนื่องจากยังขาดหลักฐานทางโบราณคดี ดังนั้นบันทึกพระนามแห่งอไบดอสจึงมีประโยชน์ในการศึกษาเกี่ยวกับอียิปต์โบราณ บันทึกพระนามนี้มีการละเว้น (ไม่บันทึก) พระนามของฟาโรห์ก่อนหน้านี้หลายพระองค์ที่ได้รับการพิจารณว่าฟาโรห์เหล่านี้ปกครองอย่างไม่ชอบธรรม เช่น ฟาโรห์ชาวฮิกซอส, พระนางแฮตเชปซุต, ฟาโรห์อาเคนาเตน, ฟาโรห์สเมงห์คาเร, ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน และฟาโรห์ไอ.

ใหม่!!: ฟาโรห์สเมงห์คาเรและรายพระนามกษัตริย์อไบดอส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สเมงห์คาเร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »