โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟังก์ชันเลขชี้กำลัง

ดัชนี ฟังก์ชันเลขชี้กำลัง

กราฟของฟังก์ชันเลขชี้กำลัง y.

23 ความสัมพันธ์: ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึงฟังก์ชันต่อเนื่องกฎของทิทิอุส-โบเดอการก้าวหน้าเรขาคณิตการยกกำลังการค้นหาแบบสุ่มการค้นหาแบบเอสตาร์ระบบดาวรายชื่อประเทศในทวีปอเมริกาเรียงตามจำนวนประชากรรายชื่อเอกลักษณ์ลอการิทึมลอการิทึมสมการจรวดซีออลคอฟสกีอนุพันธ์จำนวนจริงขั้นตอนวิธีของชอร์ขั้นตอนวิธีของควิน-แม็กคลัสกีย์ขั้นตอนวิธีของเฟรย์วัลส์ดอกจันคลื่นไหวสะเทือนความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัสปัญหาวันเกิดแฟกทอเรียลไพรมอเรียล

ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง

ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง (bijection, bijective function) คือฟังก์ชัน f จากเซต X ไปยังเซต Y ด้วยสมบัติที่ว่า จะมีสมาชิก x ใน X เพียงหนึ่งเดียวสำหรับทุก ๆ สมาชิก y ใน Y นั่นคือ f (x).

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง · ดูเพิ่มเติม »

ฟังก์ชันต่อเนื่อง

ในทางคณิตศาสตร์ ฟังก์ชันต่อเนื่อง (continuous function) คือฟังก์ชันที่ถ้าตัวแปรต้นมีค่าเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย ผลลัพธ์ก็จะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยด้วยเช่นกัน เราเรียกฟังก์ชันที่การเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยของค่าของตัวแปรต้นทำให้เกิดการก้าวกระโดดของผลลัพธ์ของฟังก์ชันว่า ฟังก์ชันไม่ต่อเนื่อง (discontinuous function) ตัวอย่างเช่น ให้ฟังก์ชัน h (t) เป็นฟังก์ชันที่ส่งเวลา t ไปยังความสูงของต้นไม้ที่เวลานั้น เราได้ว่าฟังก์ชันนี้เป็นฟังก์ชันต่อเนื่อง อีกตัวอย่างของฟังก์ชันต่อเนื่องคือ ฟังก์ชัน T (x) ที่ส่งความสูง x ไปยังอุณหภูมิ ณ จุดที่มีความสูง x เหนือจุดพิกัดทางภูมิศาสตร์จุดหนึ่ง ในทางกลับกัน ถ้า M (t) เป็นฟังก์ชันที่ส่งเวลา t ไปยังจำนวนเงินที่อยู่ในบัญชีธนาคาร เราได้ว่า M ไม่ใช่ฟังก์ชันต่อเนื่องเนื่องจากผลลัพธ์ของฟังก์ชันมีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดเมื่อมีการฝากเงินหรือถอนเงินเข้าหรือออกจากบัญชี ในคณิตศาสตร์แขนงต่างๆ นั้นแนวคิดของความต่อเนื่องถูกดัดแปลงให้มีความเหมาะสมกับคณิตศาสตร์แขนงนั้นๆ การดัดแปลงที่พบได้บ่อยที่สุดมีอยู่ในวิชาทอพอโลยี ซึ่งท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่งเติมได้ในบทความเรื่อง ความต่อเนื่อง (ทอพอโลยี) อนึ่ง ในทฤษฎีลำดับโดยเฉพาะในทฤษฏีโดเมน นิยามของความต่อเนื่องที่ใช้คือความต่อเนื่องของสก็อตซึ่งเป็นนิยามที่สร้างขึ้นจากความต่อเนื่องที่ถูกอธิบายในบทความนี้อีกทีหนึ่ง.

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและฟังก์ชันต่อเนื่อง · ดูเพิ่มเติม »

กฎของทิทิอุส-โบเดอ

กฎของทิทิอุส-โบเดอ (Titius–Bode law) หรือบางแห่งเรียกว่า กฎของโบเดอ คือสมมุติฐานเกี่ยวกับวงโคจรของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่ค่ากึ่งแกนเอกต่างๆ กันกับดวงอาทิตย์ ว่ามีความสัมพันธ์ในลักษณะเอกซ์โพเนนเชียลตามลำดับของดาวเคราะห์ ถูกเสนอขึ้นในปี..

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและกฎของทิทิอุส-โบเดอ · ดูเพิ่มเติม »

การก้าวหน้าเรขาคณิต

ในทางคณิตศาสตร์ การก้าวหน้าเรขาคณิต (geometric progression) หรือ ลำดับเรขาคณิต (geometric sequence) คือลำดับของจำนวนซึ่งอัตราส่วนของสมาชิกสองตัวที่อยู่ติดกันในลำดับเป็นค่าคงตัวที่ไม่เป็นศูนย์ ซึ่งอัตราส่วนนั้นเรียกว่า อัตราส่วนทั่วไป (common ratio) ตัวอย่างเช่น ลำดับ 2, 6, 18, 54,...

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและการก้าวหน้าเรขาคณิต · ดูเพิ่มเติม »

การยกกำลัง

้าx+1ส่วนx.

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและการยกกำลัง · ดูเพิ่มเติม »

การค้นหาแบบสุ่ม

การค้นหาแบบสุ่ม (random search: RS) เป็นหนึ่งในวิธีการเชิงตัวเลข ที่ใช้เพิ่มประสิทธิภาพ (Optimization) ในการแก้ปัญหาประเภทค้นหา โดยที่ปัญหาที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ด้วยวิธีการค้นหาแบบสุ่มนี้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็น ปัญหาเชิงเส้น หรือ ปัญหาที่มีความต่อเนื่องของคำตอบ (Continuous function) หรือ ปัญหาที่ใช้อนุพันธ์หาคำตอบได้ (differentiable function) การค้นหาแบบสุ่ม นั้นถูกพิจารณาว่าเขียนโดย Rastrigin ซึ่งเขาเป็นคนนำเสนอวิธีของการค้นหาแบบสุ่มคนแรก ที่ใช้ทฤษฐีทางด้านคณิตศาสตร์เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ทฤษฏี การค้นหาแบบสุ่มนั้น ทำงานโดยการหาในตำแหน่งที่ดีขึ้นจากตำแหน่งเก่า ซ้ำๆ เรื่อยๆ ในปริภูมิค้นหา จากนั้นในปี 1991 คุณ Anatoly Zhigljavsky ก็ได้ทำการตีพิมพ์ออกเป็นหนังสือ ชื่อ Theory of Global Random Search และเขาได้ทำการเขียนเอกสารทางวิชาการออกมาอีกมากมาย ในเรื่องที่เกี่ยวกับการค้นหาแบบสุ่มนี้ ยกตัวอย่างเช่น.

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและการค้นหาแบบสุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

การค้นหาแบบเอสตาร์

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนวิธีเอสตาร์ (A* algorithm) เป็นขั้นตอนวิธีที่ใช้ในการหาเส้นทางและการท่องในกราฟซึ่งเป็นกระบวนการในการหาเส้นทางระหว่างจุด (เรียกจุดดังกล่าวว่า "โนด" (node)) ขั้นตอนวิธีนี้มีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูงจึงมีการนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย ผู้นิยามขั้นตอนวิธีนี้คือ ปีเตอร์ ฮาท์, นิล นีลสัน และเบิร์ดแรม เรฟเซด ซึ่งนิยามไว้ในปี ค.ศ. 1968 ขั้นตอนวิธีนี้เป็นส่วนขยายของขั้นตอนวิธีของไดค์สตราซึ่งสร้างใน..

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและการค้นหาแบบเอสตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบดาว

ระบบดาว (star system หรือ stellar system) คือดาวฤกษ์กลุ่มเล็ก ๆ จำนวนหนึ่งที่โคจรอยู่รอบกันและกัน โดยมีแรงดึงดูดระหว่างกันทำให้จับกลุ่มกันไว้ สำหรับดาวฤกษ์จำนวนมากที่มีแรงดึงดูดระหว่างกันมักเรียกว่าเป็น กระจุกดาวหรือดาราจักร แม้ในหลักการแล้ว ทั้งกระจุกดาวและดาราจักรก็ถือเป็นระบบดาวเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีปรากฏเรียกใช้คำว่า ระบบดาว กับระบบที่มีดาวฤกษ์หนึ่งดวง กับดาวเคราะห์บริวารที่โคจรรอบ ๆ ด้ว.

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและระบบดาว · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศในทวีปอเมริกาเรียงตามจำนวนประชากร

้านล่างนี้เป็นรายชื่อประเทศในทวีปอเมริกาเรียงตามจำนวนประชากร โดยเป็นข้อมูลเมื่อปี..

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและรายชื่อประเทศในทวีปอเมริกาเรียงตามจำนวนประชากร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเอกลักษณ์ลอการิทึม

ในทางคณิตศาสตร์ เอกลักษณ์ลอการิทึมมีอยู่เป็นจำนวนมากดังนี้.

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและรายชื่อเอกลักษณ์ลอการิทึม · ดูเพิ่มเติม »

ลอการิทึม

ีม่วงคือฐาน 1.7 กราฟทุกเส้นผ่านจุด (1, 0) เนื่องจากจำนวนใด ๆ ที่ไม่เป็นศูนย์ เมื่อยกกำลัง 0 แล้วได้ 1 และกราฟทุกเส้นผ่านจุด (''b'', 1) สำหรับฐาน ''b'' เพราะว่าจำนวนใด ๆ ยกกำลัง 1 แล้วได้ค่าเดิม เส้นโค้งทางซ้ายเข้าใกล้แกน ''y'' แต่ไม่ตัดกับแกน ''y'' เพราะมีภาวะเอกฐานอยู่ที่ ''x''.

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและลอการิทึม · ดูเพิ่มเติม »

สมการจรวดซีออลคอฟสกี

มการจรวดของซีออลคอฟสกี (Tsiolkovsky rocket equation) หรือ สมการจรวดอุดมคติ (ideal rocket equation) อธิบายถึงการเคลื่อนที่ของยานพาหนะที่เป็นไปตามหลักการพื้นฐานของจรวด: จรวดเป็นอุปกรณ์ที่สามารถประยุกต์ความเร่งของตัวมันเอง (แรงขับดัน) โดยการขับไล่ส่วนหนึ่งของมวลของมันด้วยความเร็วที่สูงออกมาและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไปได้เนื่องมาจากกฏการอนุรักษ์โมเมนตัม สมการนี้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยค่าเดลต้า-วี (การเปลี่ยนแปลงสูงสุดของความเร็วของจรวดถ้าไม่มีแรงภายนอกอื่น ๆ มากระทำ) กับประสิทธิภาพความเร็วไอเสียและมวลเมื่อเริ่มต้นและครั้งสุดท้ายของจรวด (หรือจะเป็นเครื่องยนต์แห่งแรงปฏิกิริยาอื่น ๆ ก็ตามแต่) สมการคือ: เมื่อ: หน่วยที่ใช้สำหรับมวลหรือความเร็วนั้นไม่สำคัญตราบเท่าที่พวกมันยังมีความสอดคล้องกัน สมการถูกตั้งตามชื่อของคอนสแตนติน ซีออลคอฟสกี ซึ่งเป็นผู้ที่คิดขึ้นมาและผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์ในปี 1903.

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและสมการจรวดซีออลคอฟสกี · ดูเพิ่มเติม »

อนุพันธ์

กราฟของฟังก์ชันแสดงด้วยเส้นสีดำ และเส้นสัมผัสแสดงด้วยเส้นสีแดง ความชันของเส้นสัมผัสมีค่าเท่ากับอนุพันธ์ของฟังก์ชันที่จุดสีแดง ในวิชาคณิตศาสตร์ อนุพันธ์ของฟังก์ชันของตัวแปรจริงเป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงของค่าของฟังก์ชันเทียบกับการเปลี่ยนแปลงของอาร์กิวเมนต์ (ค่าที่ป้อนเข้าหรือตัวแปรต้น) อนุพันธ์เป็นเครื่องมือพื้นฐานของแคลคูลัส ตัวอย่างเช่น อนุพันธ์ของตำแหน่งของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่เทียบกับเวลา คือ ความเร็วของวัตถุนั้น ซึ่งเป็นการวัดว่าตำแหน่งของวัตถุมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพียงใดเมื่อเวลาผ่านไป อนุพันธ์ของฟังก์ชันตัวแปรเดียวที่ตัวแปรต้นใด ๆ คือความชันของเส้นสัมผัสที่สัมผัสกับกราฟของฟังก์ชันที่จุดนั้น เส้นสัมผัสคือการประมาณเชิงเส้นของฟังก์ชันที่ดีที่สุดใกล้กับตัวแปรต้นนั้น ด้วยเหตุนี้ อนุพันธ์มักอธิบายได้ว่าเป็น "อัตราการเปลี่ยนแปลงขณะใดขณะหนึ่ง" ซึ่งก็คืออัตราส่วนของการเปลี่ยนแปลงขณะใดขณะหนึ่งของตัวแปรตามต่อตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ กระบวนการหาอนุพันธ์เรียกว่า การหาอนุพันธ์ (differentiation หรือ การดิฟเฟอเรนชิเอต) ส่วนกระบวนการที่กลับกันเรียกว่า การหาปฏิยานุพันธ์ (antidifferentiation) ทฤษฎีบทมูลฐานของแคลคูลัสกล่าวว่าการหาปฏิยานุพันธ์เหมือนกันกับการหาปริพันธ์ (integration หรือ การอินทิเกรต) การหาอนุพันธ์และการหาปริพันธ์เป็นตัวดำเนินการพื้นฐานในแคลคูลัสตัวแปรเดียว อนุพันธ์ของฟังก์ชันเป็นมโนทัศน์หนึ่งในสองมโนทัศน์หลักของแคลคูลัส (อีกมโนทัศน์หนึ่งคือปฏิยานุพันธ์ ซึ่งคือตัวผกผันของอนุพันธ์).

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและอนุพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนจริง

ำนวนจริง คือจำนวนที่สามารถจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งกับจุดบนเส้นตรงที่มีความยาวไม่สิ้นสุด (เส้นจำนวน) ได้ คำว่า จำนวนจริง นั้นบัญญัติขึ้นเพื่อแยกเซตนี้ออกจากจำนวนจินตภาพ จำนวนจริงเป็นศูนย์กลางการศึกษาในสาขาคณิตวิเคราะห์จำนวนจริง (real analysis).

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและจำนวนจริง · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีของชอร์

ั้นตอนวิธีของชอร์ ตั้งชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชื่อปีเตอร์ ชอร์ที่คิดขึ้นในปี..1994 โดยขั้นตอนวิธีนี้เป็นขั้นตอนวิธีควอนตัม (ขั้นตอนวิธีที่ทำงานบนควอนตัมคอมพิวเตอร์) ที่ใช้ในการแยกตัวประกอบของจำนวนเต็ม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วใช้ในการแก้ปัญหา:ให้จำนวนเต็ม N แล้วให้หาตัวประกอบเฉพาะของ N ในควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้น การแยกตัวประกอบด้วยขั้นตอนวิธีของชอร์จะใช้เวลาในการทำงานไม่เกินฟังก์ชันพหุนาม (Polynomial) ของขนาดข้อมูล โดยจะใช้เวลาเป็น O ((log N) 3) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาการแยกตัวประกอบของจำนวนเต็มที่มีประสิทธิภาพในควอนตัมคอมพิวเตอร์ วิธีนี้จัดเป็นวิธีที่เร็วกว่าหลาย ๆ วิธีที่มีประสิทธิภาพที่รู้จักกันทั่ว ๆ ไปทีมักจะใช้เวลาเป็นฟังก์ชันเลขชี้กำลัง (Exponential) ขนาดของข้อมูล ให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์มีจำนวนคิวบิตที่เพียงพอ ขั้นตอนวิธีของชอร์จะสามารถถอดรหัสประเภทระบบเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตรได้ ยกตัวอย่างเช่น รหัสลับRSA โดยRSAนั้นตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าการคำนวณหาตัวประกอบของเลขที่มีจำนวนมาก ๆ นั้นเป็นไปไม่ได้ เท่าที่รู้กันสมมติฐานนี้ใช้ได้สำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไป และไม่มีขั้นตอนวิธีใดที่จะทำงานในเวลาไม่เกินฟังก์ชันพหุนาม อย่างไรก็ตามขั้นตอนวิธีของชอร์แสดงให้เห็นถึงวิธีการแยกตัวประกอบที่มีประสิทธิภาพในควอนตัมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์มีขนาดที่ใหญ่พอที่จะถอดรหัสRSAได้ จึงสร้างแรงจูงใจอย่างมากในการออกแบบและการสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ และสำหรับศึกษาแบบวิธีการบนควอนตัมคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ในขณะที่ก็มีการให้การสนับสนุนการวิจัยระบบการเข้ารหัสแบบใหม่เพื่อสร้างความปลอดภัยจากควอนตัมคอมพิวเตอร์ เรียกว่าวิทยาการเข้ารหัสลับหลังควอนตัม (post-quantum cryptography).

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและขั้นตอนวิธีของชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีของควิน-แม็กคลัสกีย์

ั้นตอนวิธีของควิน-แม็กคลัสกีย์ (Quine-McCluskey algorithm) เป็นหนึ่งในขั้นตอนวิธีที่ใช้สำหรับการลดรูปนิพจน์ตรรกศาสตร์ให้อยู่ในรูปอย่างง่ายที่มีประสิทธิภาพสูง พัฒนาโดย ดับเบิลยู.วี. ควิน (W.V.Quine) และเอ็ดเวิด เจ. แมกคลัสกีย์ (Edward J. McCluskey) ขั้นตอนวิธีของควิน-แม็กคลัสกีย์เป็นขั้นตอนวิธีที่ช่วยในการลดรูปนิพจน์ตรรกะได้เมื่อข้อมูลขาเข้าที่มีปริมาณตัวแปรจำนวนมาก แต่ในการทำงานยังมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาอยู่ จึงควรดูขนาดของข้อมูลขาเข้า ว่ามีขนาดเท่าไหร่ และสมควรที่จะใช้วิธีการนี้หรือไม่ หากไม่สมควรควรจะเลือกใช้วิธีการอื่นที่สามารถลดนิพจน์ตรรกะได้ เช่น วิธีการเอกเพรซโซ่ ซึ่งเป็นวิธีการที่จะใช้ผ่านโปรแกรม.

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและขั้นตอนวิธีของควิน-แม็กคลัสกีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีของเฟรย์วัลส์

ั้นตอนวิธีของเฟรย์วัลส์ (Freivalds' algorithm) เป็นขั้นตอนวิธีแบบสุ่ม (randomised algorithm) ที่รูซินส์ มาร์ตินส์ เฟรย์วัลส์ (Rusins Martins Freivalds) นักวิทยาศาสตร์ชาวลัตเวีย นำเสนอขึ้นสำหรับใช้ตรวจสอบความเท่ากันของผลคูณของเมทริกซ์กับเมทริกซ์ต้นแ.

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและขั้นตอนวิธีของเฟรย์วัลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ดอกจัน

อกจัน (*) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายดอกของต้นจัน อาจมีห้าแฉก หกแฉก แปดแฉก หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับไทป์เฟซและยูนิโคด โดยปกติการเขียนดอกจันจะเขียนให้สูงขึ้นกว่าข้อความเล็กน้อย ใช้สำหรับเน้นส่วนสำคัญหรือใช้อธิบายเชิงอรรถ เครื่องหมายนี้มีการเรียกอีกชื่อว่า สตาร์ (star) เพราะมีรูปร่างคล้ายรูปดาว สำหรับดอกจันสามตัวที่วางเรียงกันแบบสามเหลี่ยม (⁂) เรียกว่า แอสเทอริซึม (asterism).

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและดอกจัน · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นไหวสะเทือน

ลื่นตัวกลางและคลื่นพื้นผิว คลื่นไหวสะเทือน (seismic wave) เป็นคลื่นที่ถ่ายทอดพลังงานผ่านภายในโลก อาจเกิดจากแผ่นดินไหว, การระเบิด, หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดคลื่นความถี่ต่ำ คลื่นไหวสะเทือนอาจถูกตรวจรับได้ด้วย seismograph, geophone, hydrophone หรือ accelerometer ความเร็วของการกระจายของคลื่นมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นและความยืดหยุ่นของตัวกลาง เนื่องจากความหนาแน่นที่เพิ่มสูงขึ้นในชั้นหินระดับลึก ความเร็วของคลื่นในชั้นหินลึกจึงมีแนวโน้มที่จะสูงกว่าความเร็วของคลื่นบริเวณผิวโลก ความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนอาจแตกต่างกันไปตั้งแต่ 2 ถึง 8 กิโลเมตรต่อวินาทีในชั้นเปลือกโลก และอาจสูงถึง 13 กิโลเมตรต่อวินาทีในชั้นแมนเทิลระดับลึก แผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดคลื่นไหวสะเทือนในหลายชนิดที่มีความเร็วแตกต่างกัน นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้ผลต่างของระยะเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของคลื่นเหล่านี้เพื่อระบุพิกัดของศูนย์กลางแผ่นดินไหว ในขณะที่นักธรณีฟิสิกส์อาจใช้สมบัติของการสะท้อนและการหักเหของคลื่นไหวสะเทือนผ่านชั้นหินต่างๆ เพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบโครงสร้างใต้ดิน.

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและคลื่นไหวสะเทือน · ดูเพิ่มเติม »

ความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส

วามรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส (precalculus) เป็นหัวข้อวิชาคณิตศาสตร์ที่เป็นรูปแบบขั้นสูงของพีชคณิตในระดับมัธยมศึกษา หลักสูตรและตำราของวิชานี้มีจุดประสงค์เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะเรียนแคลคูลัส ความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัสมีหัวข้อต่างๆ ที่ต้องศึกษาดังนี้.

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาวันเกิด

ปัญหาวันเกิด หรือ ปฏิทรรศน์วันเกิด ในเรื่องทฤษฎีความน่าจะเป็น เกี่ยวข้องกับความน่าจะเป็นที่กลุ่มคนซึ่งถูกเลือกโดยการสุ่ม n คน จะมีบางคู่ในกลุ่มที่มีวันเกิดตรงกัน หากพิจารณาตามหลักรังนกพิราบ ความน่าจะเป็นดังกล่าวจะเป็น 100% ถ้าจำนวนคนในกลุ่มมี 367 คน (เนื่องจากวันที่เป็นไปได้ทั้งหมดมี 366 วัน รวม 29 กุมภาพันธ์ด้วย) อย่างไรก็ตาม ความน่าจะเป็น 99% จะเกิดกับกลุ่มคนเพียง 57 คน และความน่าจะเป็น 50% จะเกิดกับกลุ่มคนเพียง 23 คน การสรุปเหล่านี้ใช้พื้นฐานบนสมมติฐานว่า แต่ละวันของปีมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นวันเกิดอย่างเท่าเทียมกัน (ยกเว้น 29 กุมภาพันธ์) คณิตศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังปัญหานี้นำไปสู่ปัญหาการโจมตีทางวิทยาการเข้ารหัสลับอันเป็นที่รู้จักเรียกว่า การโจมตีวันเกิด ซึ่งใช้ตัวแบบความน่าจะเป็นนี้ลดความซับซ้อนในการเจาะฟังก์ชันแฮช กราฟแสดงความน่าจะเป็นโดยการคำนวณ ที่คนอย่างน้อยสองคนจะมีวันเกิดตรงกัน ในระหว่างกลุ่มคนตามจำนวนที่แน่นอน.

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและปัญหาวันเกิด · ดูเพิ่มเติม »

แฟกทอเรียล

ในทางคณิตศาสตร์ แฟกทอเรียล (factorial) ของจำนวนเต็มไม่เป็นลบ n คือผลคูณของจำนวนเต็มบวกทั้งหมดที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ n เขียนแทนด้วย n! (อ่านว่า n แฟกทอเรียล) ตัวอย่างเช่น สำหรับค่าของ 0! ถูกกำหนดให้เท่ากับ 1 ตามหลักการของผลคูณว่าง การดำเนินการแฟกทอเรียลพบได้ในคณิตศาสตร์สาขา ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณิตศาสตร์เชิงการจัด พีชคณิต และคณิตวิเคราะห์ การพบเห็นโดยพื้นฐานที่สุดคือข้อเท็จจริงที่ว่า การจัดลำดับวัตถุที่แตกต่างกัน n สิ่งสามารถทำได้ n! วิธี (การเรียงสับเปลี่ยนของเซตของวัตถุ) ข้อเท็จจริงนี้เป็นที่ทราบโดยนักวิชาการชาวอินเดียตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นอย่างน้อย นอกจากนี้ คริสเตียน แครมป์ (Christian Kramp) เป็นผู้แนะนำให้ใช้สัญกรณ์ n! เมื่อ ค.ศ. 1808 (พ.ศ. 2351) นิยามของแฟกทอเรียลสามารถขยายแนวคิดไปบนอาร์กิวเมนต์ที่ไม่เป็นจำนวนเต็มได้โดยยังคงมีสมบัติที่สำคัญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ชั้นสูงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในคณิตวิเคราะห.

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและแฟกทอเรียล · ดูเพิ่มเติม »

ไพรมอเรียล

รมอเรียล (primorial) เป็นคำที่รวมกันระหว่างจำนวนเฉพาะ (prime) กับแฟกทอเรียล (factorial) ตั้งโดย ฮาร์วีย์ ดับเนอร์ (Harvey Dubner) มีความหมายสองแบบ ดังที่จะได้กล่าวต่อไป ฟังก์ชันไพรมอเรียลถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นข้อพิสูจน์ให้กับทฤษฎีบทของยุคลิด ว่ามีจำนวนเฉพาะเป็นจำนวนอนันต.

ใหม่!!: ฟังก์ชันเลขชี้กำลังและไพรมอเรียล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลเอกซ์โพเนนเชียล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »