เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พุทธพจน์

ดัชนี พุทธพจน์

ทธพจน์ หรือ พุทธวจนะ (พุทฺธวจน) แปลว่า พระดำรัสหรือคำพูดของพระพุทธเจ้า ในอลคัททูปมสูตร พระโคตมพุทธเจ้าตรัสถึงธรรมะ ได้แก.

สารบัญ

  1. 13 ความสัมพันธ์: พระกุมารกัสสปะพระสุตตันตปิฎกพระไตรปิฎกภาษาบาลีพหูสูตกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาวัดพระพุทธอนุพุทธะธรรมบทคันถธุระคำขวัญปริยัติธรรมนวังคสัตถุศาสน์น้ำอสุจิ

พระกุมารกัสสปะ

ระกุมารกัสสปเถระ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในสมัยพุทธกาล พระกุมารกัสสปเถระ มีนามเดิมว่า กัสสปะ เป็นนามที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงตั้งให้ ต่อมาท่านบวชในพระพุทธศาสนา เวลาพระโคตมพุทธเจ้าตรัสเรียกภิกษุชื่อกัสสปะ จะถูกทูลถามว่ากัสสปะไหน จึงตรัสว่า กุมารกัสสปะ เพราะท่านบวชมาตั้งแต่ยังเด็ก บิดาและมารดาไม่ปรากฏชื่อ เป็นชาวเมืองสาวัตถี มารดาของท่านศรัทธาจะบวชตั้งแต่ยังไม่ได้แต่งงาน แต่บิดาและมารดาไม่อนุญาต หลังจากแต่งงานแล้วขออนุญาตสามี ในที่สุดสามีอนุญาตให้บวช เธอจึงบวชเป็นภิกษุณีโดยไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ครั้นอยู่มาครรภ์ได้ใหญ่ขึ้น ภิกษุณีทั้งหลายรังเกียจเธอ จึงนำไปให้พระเทวทัตตัดสิน พระเทวทัตตัดสินว่า เธอศีลขาด แม้เธอจะชี้แจงเหตุผลอย่างไรก็ไม่ยอมรับฟัง ภิกษุณีทั้งหลายจึงพาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงมอบหมายให้พระอุบาลีเถระตัดสิน พระอุบาลีเถระเชิญตระกูลใหญ่ๆ ชาวสาวัตถีและนางวิสาขามาพิสูจน์ได้ว่า นางตั้งครรภ์มาก่อนบวช ศีลของนางบริสุท.

ดู พุทธพจน์และพระกุมารกัสสปะ

พระสุตตันตปิฎก

ระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม พระสุตตันตปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรม ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาสาระ บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ตลอดจนบทประพันธ์ ชาดก หรือ เรื่องราวอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกล่าวโดยรวมก็คือ คำสอนที่ประกอบด้วยองค์ 9 ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ นั่นเอง นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ 5 คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททกนิกาย ใช้อักษรย่อว่า ที ม สัง อัง ขุ อักษรย่อทั้ง 5 คำนี้เรียกกันว่า หัวใจพระสูตร.

ดู พุทธพจน์และพระสุตตันตปิฎก

พระไตรปิฎกภาษาบาลี

ปรากฏพระพุทธดำรัสในมหาปรินิพพานสูตรว่า "เมื่อทรงปรินิพานไปแล้ว พระธรรมวินัยที่ได้ทรงสั่งสอนไว้แล้ว จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย"พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร.

ดู พุทธพจน์และพระไตรปิฎกภาษาบาลี

พหูสูต

หูสูต แปลว่า ผู้ได้สดับตรับฟัง (คือผู้มีความรู้มาก ผู้คงแก่เรียน) หมายถึง ผู้มีปัญญารอบรู้ ผู้รู้รอบด้าน ผู้ศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาการมามาก ได้ยินได้ฟังเรื่องต่างๆ มามาก และสามารถทรงจำไว้ได้เป็นอย่างดี จนนับได้ว่าเป็นผู้รู้ เป็นปราชญ์ ในคำวัดหมายถึงผู้ได้เล่าเรียนหรือได้ฟังพระพุทธพจน์และศิลปะภายนอกแล้วทรงจำไว้ได้มาก เป็นผู้ฉลาดรู้นวังคสัตถุศาสน์ โดยวิธี "เรียนจากครู ดูจากตำรับ สดับเทศนา" เรียกความเป็นพหูสูตนั้นว่า พาหุสัจจะ ซึ่งเป็นมงคลอย่างหนึ่งที่นำความเจริญก้าวหน้ามาให้แก่ผู้เป็นพหูสูต.

ดู พุทธพจน์และพหูสูต

กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา

"กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา" ("acta exteriora indicant interiora secreta"; "exterior act indicates interior secret" หรือ "intention may be inferred from a person's action") เป็นภาษิตภาษาละตินทางกฎหมาย ซึ่งตรงกับพุทธศาสนสุภาษิตว่า "เจตนาหํ กมฺมํ วทามิ" แปลว่า "เจตนานั่นแหละเป็นกรรม" อันมาจากพุทธพจน์ว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ, เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรมิ กาเยน วาจาย มนสา" แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละเป็นกรรม เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำกรรมโดยทางกาย วาจา ใจ" ภาษิตนี้เป็นหลักกฎหมายอาญา ไว้สำหรับพิจารณาพฤติการณ์ในการกระทำของจำเลยเพื่อกำหนดฐานความผิดของจำเลย โดยพิจารณาว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ และยังใช้แยกเจตนาฆ่าออกจากเจตนาทำร้าย เพราะเจตนาฆ่าย่อมมีโทษหนักกว่าเจตนาทำร้าย ทั้งนี้ เนื่องจากเจตนาเป็นเรื่องที่อยู่ภายในจิตใจของผู้กระทำไม่มีใครหยั่งรู้ได้ ในการวินิจฉัยหรือพิสูจน์ว่าผู้กระทำมีเจตนาฆ่าหรือเพียงแต่มีเจตนาทำร้ายเท่านั้นจึงต้องถือหลักว่า "การกระทำที่แสดงออกมาภายนอกเป็นเครื่องชี้ถึงสภาพจิตใจของผู้กระทำ" หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ "กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา" นั่นเอง ในประเทศไทย ศาลมีการพิจารณาจำแนกเจตนาฆ่าและเจตนาทำร้ายออกจากกันโดยอาศัยพฤติการณ์ต่าง ๆ อาทิ พิจารณาอาวุธที่ผู้กระทำความผิดใช้ อวัยวะที่ผู้กระทำความผิดกระทำต่อ บาดแผลที่เกิดจากการกระทำนั้น เป็นต้น.

ดู พุทธพจน์และกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา

วัดพระพุทธ

วัดพระพุทธ นราธิวาส วัดพระพุทธ นราธิวาส วัดพระพุทธ นราธิวาส วัดพระพุทธ ตั้งอยู่ที่ บ้านใหญ่ หมู่ที่ 3 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ภายในวัดมีศาลาการเปรียญ พระพุทธรูปทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ชื่อ พ่อท่านพระพุทธ พระพุทธไสยาสน.

ดู พุทธพจน์และวัดพระพุทธ

อนุพุทธะ

อนุพุทธะ หมายถึง สาวกผู้รับคำสอนจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาปฏิบัติตามจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จึงเรียกอีกอย่างว่าสาวกพุทธะ โดยคำว่า อนุพุทธะ มาจากศัพท์ว่า อนุ (ตาม) + พุทธะ (ผู้รู้) แปลว่า ผู้ตรัสรู้ตาม อนุพุทธะ จัดเป็นพุทธะประเภทหนึ่งในพุทธะ 3 ประเภท คือ.

ดู พุทธพจน์และอนุพุทธะ

ธรรมบท

รรมบท เป็นชื่อประชุมพระพุทธพจน์ในรูปแบบคาถา และเป็น 1 ในตำราพุทธศาสนาซึ่งได้รับความนิยมอ่านทั้งเป็นที่รู้จักมากที่สุดSee, for instance, Buswell (2003): "rank among the best known Buddhist texts" (p.

ดู พุทธพจน์และธรรมบท

คันถธุระ

ันถธุระ หมายถึง งานด้านคันถะ, งานด้านการเล่าเรียน, งานเกี่ยวกับคัมภีร์หรือตำรา โดยรวมคืองานเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์อันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยการเล่าเรียนพระพุทธพจน์บทใดบทหนึ่งหรือพระไตรปิฎกทั้งหมดตามความสามารถแห่งสติปัญญาของตน แล้วท่องบ่น ทรงจำ สอนกันบอกกันต่อ ๆ ไป เพื่อรักษาพระพุทธพจน์ไว้ รวมถึงการแนะนำสั่งสอน เผยแพร่พระพุทธพจน์แก่บุคคลทั่วไป ตลอดทั้งการจัดทำและการรักษาตำราและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไว้ด้วย คันถธุระเป็นงานที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้ภิกษุปฏิบัติอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุร.

ดู พุทธพจน์และคันถธุระ

คำขวัญ

ำขวัญ หมายถึง ถ้อยคำ ข้อความ คำคล้องจอง หรือบทกลอนสั้นๆ เพื่อให้จำได้ง่าย โดยอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้.

ดู พุทธพจน์และคำขวัญ

ปริยัติธรรม

ปริยัติธรรม (อ่านว่า ปะริยัดติทำ) หมายถึงธรรมที่พึงศึกษาเล่าเรียน ได้แก่พระพุทธพจน์หรือพระไตรปิฎก เรียกเต็มว่า พระปริยัติธรรม ปริยัติธรรมหรือพระพุทธพจน์ที่พึงศึกษาเล่าเรียนนั้นมี 9 อย่าง คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นวังคสัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดา 9 ประเภท) การศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรมทั้ง 9 อย่างนี้ของพระภิกษุสามเณรในปัจจุบัน เรียกว่า เรียนนักธรรม เรียนบาลี และแบ่งปริยัติธรรมออกเป็น 2 คือ พระปริยัติธรรมแผนกธรรม พระปริยัติธรรมแผนกบาลี.

ดู พุทธพจน์และปริยัติธรรม

นวังคสัตถุศาสน์

นวังคสัตถุศาสน์ (อ่านว่า นะวังคะสัดถุสาด แปลว่า คำสอนของพระศาสดามีองค์ 9) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดซึ่งแบ่งเป็นส่วนย่อยตามลักษณะที่เหมือนกันได้ 9 อย่าง คือ.

ดู พุทธพจน์และนวังคสัตถุศาสน์

น้ำอสุจิ

น้ำอสุจิ น้ำอสุจิ (Semen, seminal fluid) เป็นสารประกอบอินทรีย์เหลวที่อาจมีตัวอสุจิอยู่ ในภาษาบาลี อะ แปลว่าไม่ สุจิ หรือสุจี แปลว่าสะอาด น้ำอสุจิ จึงแปลว่า น้ำที่ไม่สะอาด เป็นน้ำที่หลั่งออกจากอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์และจากอวัยวะทางเพศอื่น ๆ ของสัตว์เพศชาย และสามารถทำการผสมพันธุ์กับไข่ของเพศหญิงได้ ในมนุษย์ น้ำอสุจิมีองค์ประกอบอื่น ๆ นอกจากตัวอสุจิ คือมีเอนไซม์ต่าง ๆ และน้ำตาลประเภทฟรุกโทส ที่ช่วยเลี้ยงตัวอสุจิให้ดำรงรอดอยู่ได้ และเป็นสื่อเพื่อที่ตัวอสุจิจะเคลื่อนที่ หรือ "ว่ายน้ำ" ไปได้ น้ำอสุจิโดยมากเกิดจากต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ seminal vesicle ว่า "ถุงน้ำอสุจิ, ถุงพักน้ำอสุจิ" (หรือมีชื่ออื่นว่า ถุงน้ำอสุจิ, ถุงพักน้ำอสุจิ) ซึ่งเป็นอวัยวะอยู่ที่เชิงกราน แต่ว่าตัวอสุจิเองสร้างจากอัณฑะ ส่วนกระบวนการที่นำไปสู่การปล่อยน้ำอสุจิเรียกว่า การหลั่งน้ำอสุจิ ในมนุษย์ น้ำอสุจิเป็นของเหลวสีขาวข้นที่หลั่งออกโดยผู้ชาย เมื่อถึงจุดสุดยอด เมื่อมีเพศสัมพันธ์ เมื่อมีการสำเร็จความใคร่ หรือเมื่อขับออกตามธรรมชาติที่เรียกว่าฝันเปียก โดยจะมีการหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้งประมาณ 3-4 ซีซี มีจำนวนตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 300-500 ล้านตัว.

ดู พุทธพจน์และน้ำอสุจิ