เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พืชกรรมสวน

ดัชนี พืชกรรมสวน

วนไม้ดอกในฝรั่งเศส พืชกรรมสวน หรือ วิชาพืชสวน (Horticulture) คือวิชาที่ครอบคลุมอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์แห่งการเพาะปลูกพืชผล นักพืชสวน หรือพืชกรสวน (hell) ทำงานและปฏิบัติงานค้นคว้าวิจัยในงานในสาขาการขยายพันธุ์พืช การเพาะปลูก การผลิตกรรมทางเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช งานวิศวกรรมพันธุศาสตร์ ชีวเคมีพืช และสรีรวิทยาพืช ขอบเขตของงานเกี่ยวข้องกับไม้ผล เบอรี่ (berries) นัท (nuts) ผัก ไม้ดอก ไม้ยืนต้น ไม้พุ่มและหญ้าสนาม พืชกรทำการปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชผล คุณค่าทางอาหารของพืชผลและการต้านทานต่อโรค แมลงและสภาพเครียดทางสิ่งแวดล้อม.

สารบัญ

  1. 21 ความสัมพันธ์: การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงการป่าไม้ในเมืองกาโรลึส กลือซียึสภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลภูมิสถาปัตยกรรมรายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (สหรัฐอเมริกา)รายการสาขาวิชารายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทยรุกขกรรุกขกรรมลูเทอร์ เบอร์แบงก์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังที่สูงแคเมอรอนขุนณรงค์ชวนกิจ (ชวน ณรงคะชวนะ)คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีนักล่า-เก็บของป่าไม้พุ่มเฟิร์นเกษตรศาสตร์

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (หรือ การทำให้เชื่อง) หรือ การปรับตัวเป็นไม้เลี้ยง (domestication, domesticus) เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพืชหรือสัตว์ กับมนุษย์ผู้มีอิทธิพลในการดูแลรักษาและการสืบพันธุ์ของพวกมัน เป็นกระบวนการที่ประชากรสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมผ่านรุ่นโดยการคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) เพื่อเน้นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยมีผลพลอยได้เป็นความเคยชินของสิ่งมีชีวิตต่อการพึ่งมนุษย์ ทำให้พวกมันสูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ชาลส์ ดาร์วินเข้าใจถึงลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จำนวนไม่มากจำนวนหนึ่ง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงต่างจากบรรพบุรุษพันธุ์ป่า เขายังเป็นบุคคลแรกที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการคัดเลือกพันธุ์แบบตั้งใจ ที่มนุษย์เลือกลักษณะสืบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยตรงเพื่อจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ กับการคัดเลือกที่ไม่ได้ตั้งใจ ที่ลักษณะมีวิวัฒนาการไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือตามการคัดเลือกอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงจะต่างจากสิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าทางพันธุกรรม และในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ก็ยังมีความแตกต่างกันระหว่างลักษณะสืบสายพันธุ์ที่นักวิจัยเชื่อว่า จำเป็นในระยะต้น ๆ ของกระบวนการปรับนำมาเลี้ยง (domestication trait) และลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อ ๆ มาหลังจากที่สิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าและพันธุ์เลี้ยงได้แยกออกจากกันแล้ว (improvement trait) คือลักษณะที่จำเป็นโดยทั่วไปมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงทั้งหมด และเป็นลักษณะที่คัดเลือกในระยะต้น ๆ ของกระบวนการ ในขณะที่ลักษณะที่พัฒนาต่อ ๆ มาจะมีอยู่ในบางพวกของสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะมีแน่นอนในพันธุ์ (breed) ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือในกลุ่มประชากรในพื้นที่โดยเฉพาะ การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (domestication) ไม่ควรสับสนกับการทำสัตว์ให้เชื่อง (taming) เพราะว่า การทำให้เชื่องเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ป่า ให้กลัวมนุษย์น้อยลงและยอมรับการมีมนุษย์อยู่ใกล้ ๆ ได้ แต่ว่าการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นการเปลี่ยนพันธุกรรมของสัตว์พันธุ์ที่นำมาเลี้ยงอย่างถาวร เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกของสัตว์ต่อมนุษย์โดยกรรมพันธุ์ สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตแรกที่ปรับนำมาเลี้ยง และแพร่หลายไปทั่วทวีปยูเรเชียก่อนการสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน ก่อนการเกิดขึ้นของเกษตรกรรม และก่อนการนำสัตว์อื่น ๆ ต่อ ๆ มามาเลี้ยง ข้อมูลทั้งทางโบราณคดีและทางพันธุกรรมแสดงนัยว่า การแลกเปลี่ยนยีน (gene flow) ที่เป็นไปทั้งสองทางระหว่างสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงกับพันธุ์ป่า เช่น ลา ม้า อูฐทั้งพันธุ์โลกเก่าและโลกใหม่ แพะ แกะ และหมู เป็นเรื่องสามัญ และเพราะความสำคัญของการนำสิ่งมีชีวิตมาเลี้ยงต่อมนุษย์ และคุณค่าของมันโดยเป็นแบบจำลองของกระบวนการวิวัฒนาการและของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ จึงดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ รวมทั้งโบราณคดี บรรพชีวินวิทยา มานุษยวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสาขาต่าง ๆ สุนัขและแกะเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์แรก ๆ ที่มนุษย์ปรับนำมาเลี้ยง.

ดู พืชกรรมสวนและการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง

การป่าไม้ในเมือง

การป่าไม้ในเมือง (urban forestry) หมายถึงการดูแลและจัดการต้นไม้ใหญ่ (trees) ทั้งหลายที่ขึ้นอยู่ในเขตเมืองเพื่อเป็นการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมในเมืองให้ดีขึ้น การป่าไม้ในเมืองเป็นสิ่งสนุบสนุนบทบาทของต้นไม้ในฐานะเป็นองค์ประกอบหลักของโครงสร้างพื้นฐานของเมือง นักการป่าไม้ในเมืองทำหน้าที่ปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ ใหการสนับสนุนการอนุรักษ์ต้นไม้และป่า ส่งเสริมให้มีการวิจัยและแสดงให้สาธารณชนเล็งเป็นคุณประโยชน์ของต้นไม้ที่มีอยู่มากมายแก่มนุษย์ การป่าไม้ในเมืองปฏิบัติโดยรุกขกร (arborist) ของเทศบาลหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและโดยรุกขกรภาคเอกชน รวมทั้งรุกขกรสาธารณูปโภค (utility arborists) นอกจากนี้ยังมีผู้เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการรุกขกรรมหรือการป่าไม้ในเมืองอีกหลายฝ่ายได้แก่ ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อม นักผังเมือง ที่ปรึกษา นักการศึกษา นักวิจัยและนักรณรงค์ในชุมชน.

ดู พืชกรรมสวนและการป่าไม้ในเมือง

กาโรลึส กลือซียึส

กาโรลึส กลือซียึส (Carolus Clusius) หรือ ชาร์ล เดอ เลกลูซ (Charles de L'Écluse, Charles de L'Escluse; 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1526 - 4 เมษายน ค.ศ. 1609) เป็นนายแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเฟลมิชคนสำคัญ เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ.

ดู พืชกรรมสวนและกาโรลึส กลือซียึส

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานระดับภาควิชา สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ดู พืชกรรมสวนและภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภูมิสถาปัตยกรรม

วนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ ตัวอย่างงานภูมิสถาปัตยกรรมประเภทสวนสาธารณะส่วนที่เป็นสวนแบบ "รูปนัย" ภูมิสถาปัตยกรรม (landscape architecture) อ่านออกเสียงว่า "พู-มิ-สะ-ถา-ปัด-ตะ-ยะ-กัม" เป็นศิลปะและวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการออกแบบวางแผน การอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ใช้สอยภายนอกอาคาร รวมทั้งพื้นที่บางส่วนภายในหรือบนดาดฟ้าอาคารเพื่อความผาสุก สวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาชน.

ดู พืชกรรมสวนและภูมิสถาปัตยกรรม

รายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (สหรัฐอเมริกา)

รายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (List of fields of doctoral studies) นี้จัดทำขึ้นโดย "ศูนย์วิจัยความเห็นแห่งชาติ" (Opinion Research Center หรือ NORC) ที่ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกาจากการสำรวจปริญญาเอกที่มีผู้จบการศึกษารายปี โดยจัดทำให้กับมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และหน่วยงานของรัฐบาลกลางอีกหลายหน่วยงานในสหรัฐฯ ทั้งหมดนี้คือสายวิชาการศึกษาระดับปริญญาเอกที่เน้นการวิจัยที่มุ่งสู่ปริญญาดุษฎีบัณฑิตปรัชญา (Doctor of Philosophy หรือ Ph.D.) และการศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Education Ed.D 1หรือ D.Ed) ที่เปิดสอนในสหรัฐฯ ซึ่งในปีการศึกษา 2547-2548 พบว่าร้อยละ 90.3 ของปริญญาเอกที่เน้นการวิจัยจำนวน 43,354 ปริญญาในสหรัฐฯ ปริญญาเป็น Ph.D.

ดู พืชกรรมสวนและรายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (สหรัฐอเมริกา)

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ.

ดู พืชกรรมสวนและรายการสาขาวิชา

รายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้

การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้เป็นระบบการจำแนกห้องสมุดประกอบด้วย 10 หมวดใหญ่ (class) แต่ละหมวดใหญ่แบ่งเป็นสิบหมวดย่อย (division) แต่ละหมวดย่อยมีสิบหมู่ย่อย (section) ตัวอย่างเช่น หมวดใหญ่ 600 ("เทคโนโลยี") มีหมวดย่อย 630 ("เกษตรกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง") ซึ่งมีหมู่ย่อย 636 ("การเลี้ยงสัตว์") ในทางปฏิบัติ มีทั้งหมด 99 จาก 100 หมวดย่อยและ 908 จาก 1000 หมู่ย่อย เนื่องจากบางส่วนเลิกใช้แล้วหรือยังไม่กำหน.

ดู พืชกรรมสวนและรายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้

รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย

รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น เป็นรางวัลเพื่อเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีผลงานดีเด่น โดยจะประกาศรางวัลในต้นเดือนสิงหาคมของทุกปี และมอบรางวัลในวันที่ 18 สิงหาคม ซึ่งเป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" โดยถือเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการว่ารางวัลนี้เป็นรางวัลสูงสุดของประเทศสำหรับนักวิทยาศาสตร์พื้นฐานและนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยมีรางวัลเป็นโล่พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และเงินรางวัล 200,000-400,000 บาท พระราชทานโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" ที่งานมหกรรมวิทยาศาสตร์แห่งชาติพร้อมกันกับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ รางวัลนี้สนับสนุนโดย มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ สวท.

ดู พืชกรรมสวนและรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย

รุกขกร

รุกขกร (arborist) หรือนักศัลยกรรมต้นไม้ใหญ่ (tree surgeon) คือนักวิชาชีพที่มีหน้าที่จัดการและดูแลต้นไม้ใหญ่ (ปกติเป็นต้นไม้ใหญ่ในเมืองและในบริเวณอาคารสถานที่ รวมถึงไม้เลื้อยและไม้พุ่มมีแก่นที่เป็นไม้ยืนต้น) ซึ่งรวมถึงงานปลูก งานตัดแต่ง งานค้ำจุน งานป้องกันและรักษาโรคและแมลง หรือโรคพืชอื่น งานป้องกันการถูกฟ้าผ่า และงานโค่นต้นไม้ นอกจากนี้ยังรวมงานวางแผน งานให้คำปรึกษา การทำรายงานและการเป็นพยานศาลในฐานะผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากต้นไม้ใหญ่มีคุณประโยชน์แก่มวลมนุษย์มาก แต่ต้นไม้ใหญ่ก็มีการดำรงชีวิตที่ซับซ้อน มีขนาดใหญ่โตและมีน้ำหนักมาก ต้นไม้ใหญ่ในเมืองจึงต้องการการเฝ้าระมัดระวังและการดูแลเพื่อเป็นการประกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน.

ดู พืชกรรมสวนและรุกขกร

รุกขกรรม

Hoyt Arboretum เมืองปอร์ทแลนด์ รัฐออริกอน รุกขกร กำลังใช้เลื่อยยนต์ โค่นต้นยูคาลิปตัสในสวนสาธารณะเมืองคาลลิสตา วิคทอเรีย รุกขกรรม คือวิชาชีพว่าด้วยการปลูกและจัดการเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่ (trees) ในงานภูมิทัศน์ ซึ่งรวมถึงการศึกษาการเจริญเติบโตและการตอบสนองต่อการปฏิบัติเชิงวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมและการประยุกต์เทคนิคเชิงวัฒนธรรมอันได้แก่การคัดเลือก การปลูก การดูแล การทำศัลยกรรมและการตัดโค่น จุดเน้นของงานรุกขกรรมได้แก่ต้นไม้ที่ให้ความประเทืองใจ (amenity trees) ซึ่งต้นไม้เหล่านี้จะได้รับการดูแลเพื่องานภูมิทัศน์สำหรับมนุษย์เป็นหลัก ปกติต้นไม้ประเทืองใจต่างๆ ดังกล่าวจะอยู่ตามอุทยาน สวน สวนสาธารณะ หรือในบริเวณชุมชน งานรุกขกรรมเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของต้นไม้ การควบคุมโรคและแมลง การจัดการเกี่ยวกับอันตรายและการพิจารณาในด้านสุนทรียภาพ ต้นไม้เอื้อประโยชน์ให้มนุษย์ทั้งทางด้านมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาตินอกเหนือไปจากการให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากใช้เนื้อไม้ ด้วยเหตุนี้ วิชารุกขกรรมจึงต้องมีความแตกต่างจากวิชาการป่าไม้ซึ่งเน้นการผลิตเนื้อไม้เชิงพาณิชย์และผลผลิตจากป่าหรือการทำป่าปลูก.

ดู พืชกรรมสวนและรุกขกรรม

ลูเทอร์ เบอร์แบงก์

ลูเทอร์ เบอร์แบงก์ (Luther Burbank; 7 มีนาคม ค.ศ. 1849 – 11 เมษายน ค.ศ. 1926) เป็นนักพฤกษศาสตร์และพืชกรชาวอเมริกัน เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกวิชาเกษตรศาสตร์ ตลอดเวลา 55 ปีของการทำงาน เบอร์แบงก์พัฒนาสายพันธุ์พืชกว่า 800 สายพันธุ์ รวมถึงดอกเดซีแชสตา (Leucanthemum × superbum) กระบองเพชรไร้หนาม และผลไม้ในสกุลพรุน (Prunus) เบอร์แบงก์เกิดในครอบครัวชาวไร่ที่เมืองแลงคัสเตอร์ในปี..

ดู พืชกรรมสวนและลูเทอร์ เบอร์แบงก์

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ก่อตั้งด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยเน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร.

ดู พืชกรรมสวนและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ที่สูงแคเมอรอน

ที่สูงแคเมอรอน (Tanah Tinggi Cameron, ตานะฮ์ติงกีกาเมรน) เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่บนเขาที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศมาเลเซีย โดยมีขนาดพื้นที่เท่ากับประเทศสิงคโปร์ ครอบคลุมพื้นที่ว่า 712 ตารางกิโลเมตร(275 ตารางไมล์) มีพื้นที่ทางตอนเหนือติดกับรัฐกลันตัน และทางตะวันตกมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตเมืองปีรัก ที่สูงแคเมอรอน อยู่บริเวณทางปลายสุดฝังตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐปาหัง "คาเมรอน" มีระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร(56 ไมล์) ถ้ามาจากทางเมืองอิโป หรือประมาณ 200 กิโลเมตร (120 ไมล์) ถ้ามาจากทางกัวลาลัมเปอร์ ถือว่าเป็นเขตเลือกตั้งที่เล็กที่สุดในปาหัง ผู้ค้นพบที่สูงแคเมอรอน คือ เซอร์ วิลเลียม คาเมรอนในปี 1885 ที่สูงแคเมอรอน ประกอบด้วย 3 ตำบล คือ ริงเลต (5,165 เฮคเตอร์), ทานะ ราตะ(2,081เฮคเตอร์) และอุรู เทลอม (63,981 เฮคเตอร์) ซึ่งแบ่งเป็นตำบลย่อย ๆ อีก 8 ตำบล คือ ริงเลต, ทานะ ราตะ (ศูนย์กลางบริหารของเมือง), บรินชาง, หุบเขาเบอแทม, ฟาร์มเกีย, ทริงแกป, กัวลา เทอรา และ กัมปุง ราจา พื้นที่เหล่านี้มีความต่างของสูงของแต่ละพื้นที่โดยจัดความสูงอยู่ในช่วงจาก 1100 เมตร ถึง 1600 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีที่เหมาะแก่การพักผ่อนประมาณ 18 องศาเซลเซียส (64 องศาฟาเรนไฮต์) ในระหว่างวันอุณหภูมิจะไม่สูงเกินกว่า 25 องศาเซลเซียส(77 องศาฟาเรนไฮต์) ส่วนในช่วงกลางคืนอุณหภูมิไม่ต่ำไปกว่า 9 องศาเซลเซียส (48 องศาฟาเรนไฮต์) วัดที่พื้นที่ระดับสูง มีสถานพักตากอากาศไว้สำหรับประชาชนที่หลากหลายเชื้อชาติ สามารถรองรับได้มากกว่า 38,000 คน ซึ่งประกอบด้วยชาวมลายูที่เป็นมุสลิมและมีถิ่นฐานอยู่ในอาณาเขตของประเทศมาเลเซียปัจจุบัน (ชาวมลายู(7,321), อื่นๆ(5,668)), ชาวจีน(13,099), ชาวอินเดีย (6,988), กลุ่มที่ไม่ใช่พลเมืองมลายู และชนชาติอื่นๆ(202) ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกิจการ, พนักงานอุตสาหกรรมบริการ, คนงานฟาร์ม, คนเกษียณ หรือข้าราชการ ภาษาที่ใช้พูด มีภาษามลายู, ภาษาจีนกลาง, ภาษาทามิล และภาษาอังกฤษ ศาสนาอิสลาม, ศาสนาพุทธ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาฮินดู, ศาสนาคริสต์ และศาสนาซิกห์ เป็นศานาหลักที่นับถือ ที่สูงแคเมอรอน ได้ถูกพัฒนาในปี 1930 เทเบิ้ลแลนด์ เป็นหนึ่งในจุดท่องเที่ยวที่เก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย นอกจากอุตสาหกรรมชาแล้วที่ราบสูงแห่งนี้ถูกบันทึกว่าเป็นสถานที่ที่มีอากาศเย็นด้วยสถานที่นี้เอง มีทั้งสวนผลไม้, สถานที่เพาะชำพันธุ์ไม้, แหล่งเพาะปลูก, น้ำตก, แม่น้ำ, ทะเลสาบ, สัตว์ป่า, ป่าที่ปกคลุมด้วยหญ้ามอส, สนามกอล์ฟ, โรงแรม, สถานที่ศักดิ์สิทธิ์, บังกะโล, แลนด์ โรเวอร์, พิพิธภัณฑ์ และชนพื้นเมืองเดิม(โอแรง แอสลี่) ทางถนนที่เดินทางมาที่สูงแคเมอรอน คือ ทาพาธ, ซิมปัง พูราย, กัว มูแซง และ ซันกาย โคยาน ทาพาธ และ ซิมปัง พูราย เป็นสองทางจากเมืองปีรัก กัว มูแซง และ ซันกาย โคยาน เป็นทางเข้าที่มาจากรัฐกลันตัน และรัฐปาหัง ตามลำดั.

ดู พืชกรรมสวนและที่สูงแคเมอรอน

ขุนณรงค์ชวนกิจ (ชวน ณรงคะชวนะ)

นณรงค์ชวนกิจ ขุนณรงค์ชวนกิจ (ชวน ณรงคะชวนะ - พ.ศ. 2442 - พ.ศ. 2514) นายทหารนอกราชการ เป็นที่รู้จักทั่วไปในฐานะที่เป็นผู้นำต้นกระถินณรงค์จากประเทศออสเตรเลียมาเผยแพร่ในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.

ดู พืชกรรมสวนและขุนณรงค์ชวนกิจ (ชวน ณรงคะชวนะ)

คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถือได้ว่าเป็นคณะแรกที่เปิดสอนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ดู พืชกรรมสวนและคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (Faculty of Agriculture, Ubon Ratchathani University) นับว่าเป็นคณะวิชาในแรกเริ่มของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตามแผนการพัฒนาและจัดตั้งมหาวิทยาลัย โดยปัจจุบันคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เป็นศูนย์กลางของการให้การบริการและส่งเสริมทางด้านวิชาการของการเกษตรและเทคโนโลยีของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และการจัดการศึกษาทางด้านเกษตรศาสตร์และอุตสาหกรรมเกษตร (Agriculture and Agro - Industry) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของภาคประชาชนในท้องถิ่นและการพัฒนาประเทศชาต.

ดู พืชกรรมสวนและคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

นักล่า-เก็บของป่า

นักล่า-รวบรวมพืชผล (hunter-gatherer) หมายถึงมนุษย์ในสังคมที่ได้อาหารส่วนมากหรือทั้งหมด จากการเก็บพืชในป่าหรือล่าสัตว์ป่า เปรียบเทียบกับสังคมเกษตร ที่โดยหลักพึ่งพืชสัตว์พันธุ์ที่ปรับนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร การหากินวิธีนี้เป็นการปรับตัวแบบแรกและที่ยืนยงที่สุดของคน โดยเป็นวิธีหากินใน 90 เปอร์เซนต์ของประวัติศาสตร์มนุษย์ แต่ว่าหลังจากการเกิดขึ้นของสังคมเกษตรกรรมโดยมากในโลก สังคมเกษตรและสังคมเลี้ยงสัตว์ก็ได้แทนที่หรือพิชิตสังคมนักล่า-รวบรวมพืชผล โดยมีกลุ่มที่จัดเป็นนักล่า-รวบรวมพืชผลเหลือเพียงไม่กี่สังคมในปัจจุบัน และหลายกลุ่มจริง ๆ ก็มีการปลูกพืชสวนและเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปด้ว.

ดู พืชกรรมสวนและนักล่า-เก็บของป่า

ไม้พุ่ม

ต้นไม้กวาด ไม้ดอกที่ออกดอกเต็มต้นในฤดูใบไม้ผลิในเขตอบอุ่น ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้พุ่ม บางครั้งเรียก ไม้กอ เป็นคำเทคนิคที่ใช้ในสาขาวิชาพืชสวนมากกว่าสาขาพฤกษศาสตร์ที่เข้มงวดที่หมายไปถึงประเภทของไม้มีแก่นที่สัณบานแตกต่างไปจากไม้ต้นเนื่องจากการมีหลายลำต้นแตกขยายเป็นพุ่มและเตี้ย ปกติจะเตี้ยกว่า 5-6 เมตร มีต้นไม้หลายชนิดที่จะจำแนกเป็นไม้พุ่มก็ได้หรือไม้ต้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพการขึ้นของมัน รวมทั้งการตัดแต่งโดยจงใจของมนุษย์ ต้นเฟื่องฟ้าที่จำแนกเป็นไม้พุ่ม บางครั้งและบางพันธุ์ตามสัณฐานธรรมชาติอาจจำแนกเป็นไม้เลื้อยได้เช่นกัน และยังสามารถตัดแต่งต้นเฟื่องฟ้าเป็นไม้ต้นขนาดเล็กเป็นไม้ประดับได้ด้วย ชุมชนพืชที่ต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่มขึ้นรวมอยู่กันเป็นหมู่ เรียกว่า ละเมาะ ถ้ามีมาก เรียกป่าละเมาะ บริเวณไม้พุ่มที่ปลูกรวมเป็นที่เฉพาะไว้ในอุทยานหรือสวนเพื่อการจัดแสดงเรียกว่าสวนไม้พุ่ม เมื่อไม้พุ่มถูกตัดแต่งด้วยการขริบเป็น "ไม้ตัด" มันจะแตกกิ่งก้านและมีใบเล็กลงทำให้พุ่มใบแน่นขึ้น ไม้พุ่มหลายชนิดตอบสนองได้รวดเร็วต่อการตัดแต่งเพื่อให้เกิดการแตกกิ่งก้านและใบใหม่ "การตัดแต่งหนัก" คือตัดถึงตอ จะทำให้ไม้พุ่มแตกกิ่งใหม่ที่ยาว ไม้พุ่มบางชนิดตอบสนองต่อการตัดแต่งพิเศษเพื่อแสดงลักษณะโครงสร้างที่สวนงามได้ดี ไม้พุ่มที่ใช้ในงานทำสวนทั่วไปมักเป็นประเภทไม้ใบกว้าง แต่ที่เป็นไม้ใบรูปเข็มก็มี โดยเฉพาะในประเทศเขตอบอุ่น เช่น สนเขาขนาดเล็ก ไม้พุ่มมีทั้งที่เป็นไม้ผลัดใบและไม้ไม่ผลัดใ.

ดู พืชกรรมสวนและไม้พุ่ม

เฟิร์น

ฟิร์น หรือ เฟิน (fern) เป็นหนึ่งในกลุ่มของพืชที่มีราว ๆ 20,000 สปีชีส์ ที่ถูกจำแนกในไฟลัม Pteridophyta หรือ Filicophyta พืชกลุ่มนี้ยังเป็น Polypodiophyta หรือ Polypodiopsida ด้วย เมื่อถือตามส่วนย่อยของพืชมีท่อลำเลียง คำว่า เทอริโดไฟต์ (pteridophyte) ใช้เพื่อกล่าวถึงพืชมีท่อลำเลียงที่ไม่มีเมล็ดทั้งหมด ทำให้มันหมายถึง "เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น" ซึ่งสามารถสร้างความสับสนเมื่อสมาชิกของเฟิร์นในส่วน Pteridophyta บางครั้งอ้างเป็นเทอริโดไฟต์ได้ด้วยเหมือนกัน การศึกษาในเรื่องของเฟิร์นและเทอริโดไฟต์อื่น ๆ เรียกว่า วิทยาเฟิร์น (Pteridology).

ดู พืชกรรมสวนและเฟิร์น

เกษตรศาสตร์

กษตรศาสตร์ (กะ-เสด-ตฺระ-สาด) (agricultural science) คือ วิชาว่าด้วยการเกษตรกรรม โดยรวมสามารถแบ่งได้หลายสาขาวิชา และแบ่งย่อยไปในสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องได้แก.

ดู พืชกรรมสวนและเกษตรศาสตร์

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Horticultureพืชสวน