เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พิเภก

ดัชนี พิเภก

ก เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีเขียว ทรงมงกุฎน้ำเต้ากลม เป็นน้องของทศกัณฐ์ และกุมภกรรณ อดีตชาติ เป็นพระเวสสุญาณเทพบุตร พระอิศวรสั่งให้ไปจุติเป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกันกับทศกัณฐ์เพื่อเป็นไส้ศึกคอยบอกความลับต่าง ๆ ให้แก่พระราม พร้อมประทานแว่นวิเศษติดที่ดวงตาขวา มองเห็นได้ทั้งสามโลก แม้กระทั่งอดีตและอนาคต พิเภกโดนทศกัณฐ์ขับออกจากกรุงลงกา เพราะไปแนะให้ทศกัณฐ์คืนนางสีดาแก่พระราม จึงเข้าร่วมกับฝ่ายพระราม ทำหน้าที่เป็นโหราจารย์ พิเภกมีส่วนช่วยในกองทัพพระรามเป็นอันมาก เป็นผู้บอกกลศึกและทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ของฝ่ายทศกัณฐ์ให้แก่พระราม เมื่อทศกัณฐ์ใกล้ตายเพราะถูกศรพรหมาศของพระราม ทศกัณฐ์สำนึกได้ จึงเรียกพิเภกเข้าไปสั่งสอน โดยมีใจความหลักว่า ให้ประพฤติตนเป็นธรรม อย่าเกเรเหมือนตน ซึ่งบทนี้ถูกเรียกว่า "ทศกัณฐ์สอนน้อง" จากนั้น พิเภกได้รับแต่งตั้งจากพระรามให้เป็น "ท้าวทศคิริวงศ์" ครองกรุงลงกาแทนทศกัณฐ์สืบไป ในรามายณะ มีชื่อว่า "วิภีษณะ".

สารบัญ

  1. 32 ความสัมพันธ์: ชมพูพานพระพรตพระยาขรพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์พระรามพระลักษมณ์พระสัตรุดกุมภกรรณมังกรกัณฐ์ยามะซะตอรัชฎารามเกียรติ์วิรุณจำบังศึกกุมภกรรณ 2527สุครีพสีดา ราม ศึกรักมหาลงกาอสุรผัดอาณาจักรในอินเดียโบราณองคตทศกัณฐ์ทศกัณฐ์ (ละครโทรทัศน์)ท้าวลัสเตียนท้าวอัศกรรมมาลาท้าวจักรวรรดิตรีเศียรนางมณโฑนางสำมนักขานางสีดานางตรีชฎานางเบญกายแสงอาทิตย์ (รามเกียรติ์)โขน

ชมพูพาน

มพูพาน (जाम्‍बवान) เป็นตัวละครจากวรรณกรรมเรื่อง "รามเกียรติ์" เป็นลิงกายสีหงส์ชาด (สีแดง) เป็นลูกเลี้ยงของพญาพาลีแห่งเมืองขีดขิน ถือกำเนิดมาจากเหงื่อไคลพระอิศวร มีความรู้ในเรื่องยา สุครีพจึงพาไปถวายตัวต่อพระราม จึงมีหน้าที่เป็นแพทย์ประจำกองทัพพระราม เคยติดตามหนุมานและองคต ในตอนหนุมานไปถวายแหวนแก่นางสีดา ที่กรุงลงกา เมื่อครั้งศึกทศพิน ชมพูพานก็ได้รับมอบหมายให้เป็นทูตถือพระราชสารประกาศสงคราม เมื่อสิ้นศึกกรุงลงกา พระรามทรงปูนบำเหน็จรางวัลให้ไปเป็นเจ้ากรุงปางตาล.

ดู พิเภกและชมพูพาน

พระพรต

ระพรต เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีแดง (คือจักรแก้วของพระนารายณ์ที่อวตารลงมาพร้อมกับพระราม) เป็นโอรสของท้าวทศรถกับพระนางไกยเกษี คำว่า "พรต" มีความหมายว่า "พระ" (พงศ์นารายณ์ - วงศ์กษัตริย์แห่งเมืองอโยธยา).

ดู พิเภกและพระพรต

พระยาขร

ระยาขร (ขร - พญายักษ์ (อสุรพงศ์)) เป็นตัวละครจากวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ มีรูปลักษณ์สีเขียว ๑ หน้า ๒ มือ มงกุฎจี.

ดู พิเภกและพระยาขร

พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

แบบร่างพระเมรุ พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อแสดงความจงรักภักดีและถวายความอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยรัฐบาลกำหนดวันพระราชพิธีฯ ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน..

ดู พิเภกและพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

พระราม

ระราม (राम รามะ) เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นร่างอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถและนางเกาสุริยา มีพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษสามเล่มคือ ศรพรหมมาตร ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น 4 มือ ทรงเทพอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์ พระรามมีพระอนุชาร่วมพระบิดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตร.

ดู พิเภกและพระราม

พระลักษมณ์

ระลักษมณ์ (พงศ์นารายณ์ - วงศ์กษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา) เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ พระลักษมณ์ คือพญาอนันตนาคราชที่ประทับของพระนารายณ์และสังข์ของพระนารายณ์มาเกิด เป็นโอรสของท้าวทศรถและนางสมุทรชา มีพระวรกายสีเหลืองดั่งทองทา มีพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ พระสัตรุด พระลักษมณ์มีความจงรักภักดีต่อพระรามมาก เมื่อพระรามต้องออกเดินป่าถึง 14 ปี พระลักษมณ์ก็ได้ติดตามไปด้วย และยังช่วยออกรบกับกองทัพของกรุงลงกา อย่างกล้าหาญหลายครั้งหลายหน ทรงเคียงคู่พระรามเสมอ ในระหว่างเกิดศึกกรุงลงกา และเมื่อพระรามต้องเสด็จเดินดงเป็นครั้งที่สอง ก็ได้ทูลขอเสด็จตามไปด้วยอีก ทรงร่วมผจญหมู่มารและเหล่าศัตรูเคียงคู่พระรามหลายครั้งหลายครา พระลักษมณ์เคยได้ไปร่วมพิธียกธนูโมลีที่มิถิลา ได้ยกศรก่อนพระราม เมื่อจับศรแล้วศรขยับ แต่แกล้งทำเป็นยกไม่ได้ เพราะรู้ว่าพระรามหลงรักนางสีดาตั้งแต่แรกเห็น อีกทั้งพระลักษมณ์ก็ไม่ได้รักนางสีดาแบบชู้สาว จึงเปิดโอกาสให้พระราม พระรามจึงได้อภิเษกสมรสกับนางสีดา ในระหว่างศึกสงคราม พระลักษมณ์ได้ออกรบจนถูกอาวุธได้รับบาดเจ็บเกือบสิ้นพระชนม์ถึง 5 ครั้ง จากหอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ ศรนาคบาศกับศรพรหมาสตร์ของอินทรชิต หอกแก้ววราวุธของมูลพลัม และหอกกบิลพัทของทศกัณฐ์ แต่ฝีมือก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร ได้สังหารกุมภกาศ อินทรชิต มูลพลัม จิตรไพรี ทศคีรีวัน ทศคีรีธร พระนามของพระลักษมณ์มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่าผู้มีเครื่องหมายอันเป็นมงคล หรือผู้ที่มีลักษณะดี.

ดู พิเภกและพระลักษมณ์

พระสัตรุด

ระสัตรุดคือคทาของพระนารายณ์อวตารลงมาพร้อมกับพระองค์ พระสัตรุดเป็นโอรสของท้าวทศรถ บิดาของพระราม กับพระนางสมุทรชา เป็นพระอนุชาฝาแฝดของพระลักษมณ์ เป็นจอมทัพร่วมกับพระพรตผู้เป็นพระเชษฐา ตอนศึกกรุงลงกาครั้งที่ 2และศึกเมืองมลิวัน ภายหลังได้เป็นเจ้าอุปราชแห่งเมืองไกยเกษ แม้พระสัตรุดจะเป็นพระอนุชาร่วมพระมารดากับพระลักษมณ์ คือ นางสมุทรชา แต่ทั้งในรามายณะของอินเดียและรามเกียรติ์ของไทย ก็มักกล่าวถึงพระสัตรุดคู่ไปกับพระพรต และกล่าวถึงพระรามคู่กับพระลักษมณ์ ในรามเกียรติ์ตอนต้นจนถึงตอนกลางเรื่อง พระสัตรุดมีบทบาทน้อย แต่มีบทบาทมากขึ้นในตอนท้ายเรื่อง พระนามพระสัตรุดในรามเกียรติ์เขียน สัตรุด แต่ในรามายณะ เขียน ศตฺรุฆฺน (อ่านว่า สะ -ตฺรุ-คฺนะ) แปลว่า ผู้สังหารศัตรู.

ดู พิเภกและพระสัตรุด

กุมภกรรณ

กุมภกรรณ (สันสกฤต: कुम्भकर्ण กุมฺภกรฺณ) เป็นโอรสของท้าวลัสเตียนและนางรัชฎา มีศักดิ์เป็นน้องแท้ ๆ ของทศกัณฐ์ มีหน้าและกายสีเขียว ชายาชื่อนางจันทวดี เป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์มากที่สุดตนหนึ่ง มีอาวุธร้ายประจำกาย คือ หอกโมกขศักดิ์ ที่จริงแล้วเป็นยักษ์ที่ตั้งมั่นในธรรม แต่ต้องออกรบช่วยทศกัณฐ์เพราะเห็นแก่ความเป็นพี่น้อง เคยแสดงฤทธิ์ในสมรภูมิรบถึง 4 ครั้ง ครั้งแรกรบกับสุครีพ โดยวางอุบายลวงสุครีพถอนต้นรัง ครั้งที่สอง ทำพิธีลับหอกโมกขศักดิ์ แต่ถูกหนุมานและองคตทำลายพิธี ครั้งที่สาม ทำพิธีทดน้ำ แต่ไม่สำเร็จเพราะถูกขัดขวางจากหนุมานและกุมภกรรณแทงหอกโมกขศักดิ์ใส่พระลักษมณ์จนเกือบสิ้นชีวิต และครั้งที่สี่สู้รบกับพระราม แต่ก็เพลี่ยงพล้ำถูกศรพระรามฆ่าตาย เหตุที่ชื่อ กุมภกรรณ (หูหม้อ) นั้นเพราะมีร่างกายใหญ่โตมาก สามารถเอาหม้อใส่ใบหูได้ กุมภกรรณในรามายณะมีลักษณะคล้ายกุมภกรรณในรามเกียรติ์ คือเป็นคนซื่อสัตย์เที่ยงธรรม แต่ในรามายณะ กุมกรรณได้เคยขอพรพระพรหมให้ตนเองมีสภาพคล้ายพระวิษณุ คือนอนหลับอยู่เป็นเวลานานจึงตื่นเพียงวันเดียว และหยั่งรู้ความเป็นไปของโลกในการนอนหลับนั้น ดังนั้นเมื่อทศกัณฐ์ปลุกกุมภกรรณให้ไปรบกับพระนารายณ์นั้น กุมภกรรณย่อมรู้ว่าพระรามนั้นที่แท้คือพระวิษณุและตนไม่มีทางรบชนะเด็ดขาด แต่ด้วยหน้าที่ของการเป็นทหาร กุมภกรรณยังคงตัดสินใจไปรบโดยทูลทศกัณฐ์ว่า ถ้าตนตายในการรบก็ขอให้ทศกัณฐ์ยอมแพ้เสีย เพราะถ้าตนรบชนะไม่ได้ก็ย่อมไม่มีใครในลงการบชนะพระรามได้.

ดู พิเภกและกุมภกรรณ

มังกรกัณฐ์

มังกรกัณฐ์ เป็นตัวละครจากรามเกียรติ์ อดีตชาติคือทรพีมาเกิดเป็นลูกของพญาขรตามคำสาปของพระอิศวร ร่วมทำศึกกับอินทรชิต ให้อินทรชิตไปทำพิธีชุบศรนาคบาศ ส่วนตนออกไปสู้เพื่อขัดตาทัพไว้ ผลสุดท้ายตายด้วยศรของพระราม ลักษณะของมังกรกัณฐ์ เป็นยักษ์ ตาจระเข้ ปากหุบ มีหนึ่งพักตร์ สองกร กายสีเขียว ทรงมงกุฎยอดนาค มีศรเป็นอาวุธ หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ดู พิเภกและมังกรกัณฐ์

ยามะซะตอ

ระราม (ยามะ) และนางสีดา (แมตีดา) ของรามายณะฉบับพม่า ยามะซะตอ (ရာမဇာတ်တော်,, แปลว่า: "รามชาดก") เป็นรามายณะฉบับไม่เป็นทางการของประเทศพม่า มีทั้งหมดเก้าบท ส่วนชื่อ "ยามะ" คือพระราม ส่วน "ซะตอ" คือชาดก.

ดู พิเภกและยามะซะตอ

รัชฎา

นางรัชฎา เป็นตัวละครในรามเกียรติ์ เธอเป็นมเหสีองค์ที่ 5 ของท้าวลัสเตียน กษัตริย์ครองกรุงลงกาองค์ที่ 2.

ดู พิเภกและรัชฎา

รามเกียรติ์

ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้ ฝ่ายพระราม.

ดู พิเภกและรามเกียรติ์

วิรุณจำบัง

วิรุณจำบังเป็นโอรสของพญาทูษณ์ กษัตริย์เมืองจารึกองค์ที่ ๑ โอรสองค์ที่ ๕ ของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา น้องชายร่วมบิดามารดาของทศกัณฐ์ วิรุณจำบังมีม้าทรงคู่ใจตัวดำปากแดงชื่อ นิลพาหุ ซึ่งสามารถหายตัวได้ทั้งตนและม้า วิรุณจำบังรับอาสาทศกัณฐ์ยกทัพไปทำสงครามกับพระรามและพลวานรซึ่งกำลังมุ่งหน้ามาที่กรุงลงกาเพื่อทวงนางสีดาคืน โดยไปสมทบกับทัพของท้าวสัทธาสูร เจ้าเมืองอัสดง สหายอีกตนของทศกัณฐ์ ซึ่งต่อมาก็ถูกหนุมานฆ่าตาย เมื่อวิรุณจำบังไปรบ พลยักษ์ถูกพลวานรฆ่าตายหมด วิรุญจำบังผู้เป็นแม่ทัพจึงร่ายเวทย์กำบังตัวเองและม้า เข้าไปสังหารฝ่ายวานรล้มตายเป็นจำนวนมาก พระรามเห็นความไม่ชอบมาพากลจึงตรัสถามพิเภก พิเภกตอบว่า ขณะนี้วิรุณจำบังใช้เวทย์หายตัวเข้ามาในกองทัพ พิเภกถวายคำแนะนำให้พระรามแผลงศรไปฆ่าม้านิลพาหุเสีย เมื่อพระรามแผลงศรพรหมาสตร์ออกไปถูกม้าทรงของวิรุณจำบังตาย วิรุณจำบังเห็นว่าสู้ไม่ได้จึงคิดหนี โดยร่ายเวทย์เสกผ้าโพกศีรษะเป็นหุ่นพยนต์ซึ่งมีรูปกายเหมือนตนไม่ผิดเพี้ยน แล้วหลบหนีไปจนพบนางวานรินทร์ที่ในถ้ำกลางป่า นางวานรินทร์แนะให้ไปซ่อนตัวอยู่ในฟองน้ำที่นทีสีทันดรฝ่ายพระรามทรงรู้กลศึก แผลงศรเป็นตาข่ายเพชรทำลายรูปนิมิต แล้วสั่งให้หนุมานติดตามไปสังหาร หนุมานติดตามมาจนได้พบนางวานรินทร์จึงเข้าเกี้ยวพาราสี และทราบว่าเป็นนางฟ้าที่ถูกสาปที่ทำผิด เนื่องจากมีหน้าที่รักษาประทีป แล้วปล่อยให้ประทีปดับ และจะพ้นคำสาปเมื่อได้พบทหารเอกของพระราม เมื่อนางวานรินทร์บอกที่ซ่อนของวิรุณจำบังแล้วจึงส่งนางกลับขึ้นสู่สวรรค์ หนุมานตามไปสังหารวิรุณจำบังได้สำเร็.

ดู พิเภกและวิรุณจำบัง

ศึกกุมภกรรณ 2527

ึกกุมภกรรณ (The Noble War 2527) เป็นตอนที่ 25 ของเรื่องรามเกึยรติ์ซึ่งได้นำมาทำเป็นภาพยนตร์ที่พลิกโฉมประวัติศาสตร์ใหม่จากโขน มาเป็นภาพยนตร์รามเกึยรติ์เรื่องแรกของไทยออกฉายในประเทศไทยในปี..

ดู พิเภกและศึกกุมภกรรณ 2527

สุครีพ

สุครีพ เป็นพญาวานรในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีแดง เป็นลูกชายของพระอาทิตย์กับนางกาลอัจนา เป็นทหารเอกของพระราม ได้รับความไว้วางพระทัยจากพระรามให้เป็นผู้จัดการกองทัพ ออกรบสู้กับกองทัพของกรุงลงกาอยู่เสมอ ครั้งเสร็จศึกกรุงลงกา ได้รับแต่งตั้งเป็น พญาไวยวงศามหาสุรเดช ครองกรุงขีดขิน เมื่อตอนที่พระฤๅษีโคดมสามีของนางกาจอัจนา รู้ความจริงจากนางสวาหะว่าสุครีพไม่ใช่ลูกของตนแต่เป็นลูกชู้ จึงสาปให้กลายเป็นลิงพร้อมกับพาลีผู้เป็นพี่ชายซึ่งเป็นลูกชู้กับพระอินทร์ แล้วไล่ให้เข้าป่าไป ต่อมาจึงได้พบกับพระราม สุครีพมีศักดิ์เป็นน้าของหนุมาน ไฟล์:OPR050103Sukreep-DS.jpg ‎ หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ดู พิเภกและสุครีพ

สีดา ราม ศึกรักมหาลงกา

ีดา ราม ศึกรักมหาลงกา หรือ สีดาราม ศึกรักมหาลงกา (Siya Ke Ram) เป็นละครโทรทัศน์ที่กล่าวถึงสงครามครั้งสำคัญในวรรณกรรมเรื่องยิ่งใหญ่ รามายณะ ที่กล่าวการยกทัพของพระรามกับพญาทศกัณฐ์ เพื่อชิงเอานางสีดาคืนมา นำแสดงโดย อาชิช ชาร์มา, มาดิรักศรี มันเดิล ออกอากาศทาง ช่อง 8 ออกอากาศ ทุกวันเสาร์- อาทิตย์ เวลา 10.00 น.

ดู พิเภกและสีดา ราม ศึกรักมหาลงกา

อสุรผัด

ฟล์:OPR050108Arsurapat-DS.jpg อสุรผัด เป็นบุตรของหนุมานกับนางเบญกาย มีหน้าเป็นลิง แต่มีหัวและตัวเป็นยักษ์ มีสีเหลืองเลื่อม เป็นหลานของพิเภก เมื่อพิเภกผู้เป็นตา ถูกท้าวจักรวรรดิกับไพนาสุริยวงศ์จับไปขังไว้ อสุรผัดจึงหนีมาหาหนุมาน เล่าเรื่องราวให้ฟัง พระรามจึงโปรดให้พระพรตกับพระสัตรุต ยกกองทัพไปปราบ ซึ่งเป็นการทำศึกกับกรุงลงกาครั้งที่สอง เมื่อเสร็จศึกแล้ว พระรามได้แต่งตั้งให้อสุรผัดมีตำแหน่งเป็นพระยามารนุราช มหาอุปราชแห่งกรุงลงก.

ดู พิเภกและอสุรผัด

อาณาจักรในอินเดียโบราณ

อาณาจักรในอินเดียโบราณ หรือ มหาชนบททั้งสิบหก เป็นอาณาจักรในอินเดียโบราณ 16 อาณาจักร.

ดู พิเภกและอาณาจักรในอินเดียโบราณ

องคต

องคต (Angada จากअङ्गद องฺคท) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งของเรื่อง รามเกียรติ์ เป็นลูกของพญาพาลี กับนางมณโฑ เป็นทหารเอกของพระรามมีอาวุธเป็นธนู ที่แม้แต่ใครก็ตามที่มาสู้กับองคตก็ต้องตายหมด องคตเกิดมาจาก เมื่อพาลีแย่งนางมณโฑมาจากทศกัณฐ์แล้ว นางต้องเป็นภรรยาของพาลีจนกระทั่งตั้งครรภ์ ทศกัณฐ์จึงไปฟ้องฤๅษีอังคัตผู้เป็นอาจารย์ของพาลีให้มาว่ากล่าวพาลี จนพาลียอมคืนนางมณโฑให้แต่ขอลูกเอาไว้ ฤๅษีอังคัตจึงทำพิธีเอาลูกออกจากท้องนางมณโฑไปใส่ในท้องแพะ เมื่อครบกำหนดคลอดพระฤๅษีก็ทำพิธีให้ออกจากท้องแพะให้ชื่อว่า องคต ทศกัณฐ์ยังผูกใจเจ็บ จึงแปลงกายเป็นปูยักษ์ คอยอยู่ก้นแม่น้ำเพื่อที่จะฆ่าองคตขณะทำพิธีลงสรง แต่ถูกพาลีจับได้ แล้วเอามาผูกไว้ให้ลูกลากเล่นอยู่เจ็ดวันจึงปล่อยไป เมื่อสุครีพขอให้พระรามมาช่วยปราบพาลี ก่อนที่พาลีจะสิ้นใจตาย ได้สำนึกว่าตนทำผิดต่อสุครีพ ทั้งไม่รักษาคำสัตย์สาบาน จึงได้ทูลฝากฝังสุครีพและองคตไว้กับพระราม องคตได้ช่วยทำศึกกับกองทัพของทศกัณฐ์อย่างเต็มความสามารถ พระรามเคยส่งองคตเป็นทูตไปเจรจากับทศกัณฐ์ เพื่อทวงนางสีดาคืนกลับมา แม้จะไม่สำเร็จ แต่ก็ได้แสดงความเฉลียวฉลาดและความกล้าหาญ ให้ประจักษ์แก่ตาของทศกัณฐ์ องคตเป็นผู้ที่มีสัมมาวาจา สามารถพูดจาให้คนหลงเชื่อได้ ดังจะเห็นได้จากตอนที่พระรามให้องคตแปลงกายเป็นยักษ์พิจิตรไพรีไปทูลขอแว่นแก้วสุรกานต์จากพระพรหม.

ดู พิเภกและองคต

ทศกัณฐ์

ระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) ทศกัณฐ์ทรงศร ทศกัณฐ์ทรงหอกกบิลพัท ทศกัณฐ์ (ผู้มีสิบคอ คือ มีสิบหัว) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ ดัดแปลงมาจากตัวละคร ราวณะ ในมหากาพย์ฮินดูเรื่อง รามายณ.

ดู พิเภกและทศกัณฐ์

ทศกัณฐ์ (ละครโทรทัศน์)

ทศกัณฐ์ (Raavan, Ravana) เป็นละครโทรทัศน์อินเดียที่กล่าวถึงประวัติของพญาทศกัณฐ์ ออกอากาศทางช่อง Zee TV ในอินเดีย ต่อมาสหมงคลฟิล์มได้ซื้อลิขสิทธิ์ แล้วก็นำมาออกอากาศทางช่อง มงคลแชนแนล ในประเทศไทย โดยมีทีมพากย์พันธมิตรใให้เสียงพากย์ภาษาไทย นำแสดงโดย นาเรนดร้า จา, ปาราส ออโรรา รับบทเป็น พญาทศกัณฐ์ ซึ่งละครเรื่องนี้ออกอากาศต่อจากละครโทรทัศน์เรื่อง พระศิวะ ที่อวสานลงไป.

ดู พิเภกและทศกัณฐ์ (ละครโทรทัศน์)

ท้าวลัสเตียน

ท้าวลัสเตียน (อสุรพงศ์) เป็นบุตรของท้าวจตุรพักตร์กษัตริย์ผู้ครองเมืองลงกาองค์ที่ ๑ และนางมลิกา ท้าวลัสเตียนเป็นกษัตริย์ครองเมืองลงกาองค์ที่ ๒ มีมเหสี ๕ พระองค์ มีโอรสและธิดาทั้งหมด ๑๑ อง.

ดู พิเภกและท้าวลัสเตียน

ท้าวอัศกรรมมาลา

รูปปั้นท้าวอัศกรรมมาลา ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ท้าวอัศกรรณมาลาสูร เจ้าเมืองดุรัม เป็นเพื่อนอีกตนหนึ่งของทศกัณฐ์ ได้ขอทศคีรีวัน ทศคีรีธร โอรสฝาแฝดของทศกัณฐ์ที่เกิดกับนางช้าง ไปเป็นลูกบุญธรรม เมื่อลูกบุญธรรมทั้งสองและทศกัณฐ์ตาย ท้าวอัศกรรณมาลาสูรก็ยกทัพไปช่วยแก้แค้น จึงถูกพระรามแผลงศรตัดตัวขาด แต่แทนที่จะตายกลับมีร่างกายทวีคูณขึ้นเรื่อย ๆ พิเภกจึงบอกความลับว่าท้าวอัศกรรณมาลาสูรได้พรจากพระอิศวร ถึงร่างกายจะถูกตัดเป็นกี่ท่อนก็จะทวีคูณขึ้นมา ไม่มีวันตาย วิธีฆ่าคือ ต้องนำร่างทั้งหมดไปทิ้งน้ำ พระรามจึงแผลงศรพรหมมาศไปตัดหัวขาด และนำร่างไปทิ้งน้ำ ท้าวอัศกรรณมาลาสูร เป็นหนึ่งในทวารบาลในพระบรมมหาราชวัง.

ดู พิเภกและท้าวอัศกรรมมาลา

ท้าวจักรวรรดิ

ท้าวจักรวรรดิ (ซ้าย) และท้าวอัศกรรมมาลา (ขวา) ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ท้าวจักรวรรดิ ยักษ์ตนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นกษัตริย์แห่งกรุงมลิวัน สหายของทศกัณฐ์ ได้ร่วมมือกับ ไพนาสุริยวงศ์(โอรสทศกัณฐ์) เข้ากอบกู้กรุงลงกา โดยยกทัพไปทำศึก และจับพิเภก ก่อนที่จะจัดพิธี มอบราชสมบัติกรุงลงกาคืน แก่ไพนาสุริยวงศ์ และให้นามใหม่ว่า ท้าวทศพิน ต่อมา พระพรตจึงได้ยกทัพมาปราบ และยืดเยื้อมาถึงเมืองมลิวัน เกิดการต่อสู้อย่างต่อเนื่อง หลายครั้งหลายคราว แต่ก็ยังไม่สามารถ กำราบท้าวจักรวรรดิลงได้ กระทั่งพระพรต แผลงศรไปปักอก ส่วนแขน และขานั้นขาดสะบั้น ท้าวจักรวรรดิ จึงได้สำนึกผิด และขออโหสิกรรม ท้าวจักรวรรดิ เป็นหนึ่งในทวารบาลในพระบรมมหาราชวังคู่กับท้าวอัศกรรมมาลา right.

ดู พิเภกและท้าวจักรวรรดิ

ตรีเศียร

ตรีเศียร เป็นโอรสองค์ที่ ๖ ของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา น้องชายร่วมบิดามารดาของทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก ขร ทูษณ์ และพี่ชายของนางสำมนักขา พญาตรีเศียรเป็นกษัตริย์เมืองมัชวารีองค์ที่ ๑.

ดู พิเภกและตรีเศียร

นางมณโฑ

นางมณโฑ ในมหากาพย์รามายณะเรียกว่า มนโททรี (मंदोदरी มํโททรี) เป็นชายาของพาลี ทศกัณฐ์ หนุมาน และพิเภก โดยระหว่างเป็นมเหสีของทศกัณฐ์ นางได้ให้กำเนิดนางสี.

ดู พิเภกและนางมณโฑ

นางสำมนักขา

นางสำมนักขา (शूर्पणखा ศูรฺปณขา) เป็นตัวละครหนึ่งในมหากาพย์รามายณ.

ดู พิเภกและนางสำมนักขา

นางสีดา

นางสีดา จากการแสดง รามายณะ ที่ยอกจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งสีดาในรามายณะฉบับอินโดนีเซีย แต่งตัวด้วยการนำเอาใบหญ้ามาคลุมตัวหน้า 13 ประชาชื่น, ''''เยี่ยมบ้าน ส.พลายน้อย 88 ปี วันนี้...สบายดี "สนุกกับการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ในทะเลหนังสือ"'' โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช.

ดู พิเภกและนางสีดา

นางตรีชฎา

นางตรีชฎา เป็นตัวละครในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ เป็นมารดาของนางเบญกาย และ เป็นภรรยาของพิเภก เมื่อพิเภกถูกทศกัณฐ์ขับออกจากเมือง นางตรีชฎาและนางเบญกายก็ถูกถอดยศ ไปเป็นข้ารับใช้ของนางสีดา ลักษณะของนางตรีชฎา กายและสีหน้าเป็นสีขาวนวล มี 1 พักตร์ 2 กร ทรงรัดเกล้ายอด หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ดู พิเภกและนางตรีชฎา

นางเบญกาย

นางเบญกาย เป็นตัวละครในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ เป็นธิดาของพิเภก และเป็นหลานของทศกัณฐ์ ที่ต่อมาได้ตกเป็นภรรยาคนหนึ่งของหนุมาน (ตอนนี้ไม่ปรากฏในรามายณะ) นางปรากฏตัวในตอนนางลอย ที่ทศกัณฐ์ผู้เป็นลุงได้สั่งให้เธอแปลงกายนางสีดาแสร้งเป็นศพลอยน้ำไปยังค่ายของพระราม หวังที่จะทำให้พระรามหมดกำลังใจและถอนทัพกลับ แต่หนุมานได้เห็นพิรุธบางประการจึงทูลพระรามก่อนนำไปสู่การเปิดเผ.

ดู พิเภกและนางเบญกาย

แสงอาทิตย์ (รามเกียรติ์)

แสงอาทิตย์ เป็นตัวละครฝ่ายอธรรมจากเรื่องรามเกียรติ์ โอรสองค์ที่สองของพญาขร เป็นน้องของมังกรกัณฐ์ มีแว่นแก้วสุรกานต์ที่พระพรหมประทานให้เป็นอาวุธ และได้ฝากเก็บไว้ที่พระพรหม หากใช้ส่องไปที่ใครจะทำให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ทศกัณฐ์ใช้ให้แสงอาทิตย์ยกทัพออกไปรบกับพระราม พิเภกทูลพระรามว่าแสงอาทิตย์มีแว่นแก้วสุรกานต์เป็นอาวุธฝากไว้ที่พระพรหม พระรามจึงให้องคตแปลงกายเป็นแสงอาทิตย์ และให้พิเภกแปลงกายเป็นจิตรไพรี พี่เลี้ยงของแสงอาทิตย์ แล้วไปขอแว่นแก้วมาจากพระพรหม เมื่อแสงอาทิตย์สู้พระรามไม่ได้ จึงใช้ให้จิตรไพรีไปขอแว่นแก้วสุรกานต์จากพระพรหม พระพรหมจึงว่ามาเอาไปแล้วทำไมจึงมาขออีก จิตรไพรีรีบกลับมาบอกแสงอาทิตย์ แสงอาทิตย์รู้ตัวว่าหลงกลแล้วก็แข็งใจสู้กับพระรามและถูกศรพรหมมาศของพระรามตายกลางสนามร.

ดู พิเภกและแสงอาทิตย์ (รามเกียรติ์)

โขน

น เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม, มหรสพสามอย่างของชาวสยาม,จดหมายเหตุ ลา ลู แบร์ ราชอาณาจักรสยาม, เขียนโดย: มองซิเอร์ เดอ ลาลูแบร์, แปลโดย: สันต์ ท.

ดู พิเภกและโขน