เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์

ดัชนี พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์

ีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 248 หรือพิธีมหาสนิท(Eucharist; Holy Communion) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิก, อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์บางคณะเรียกว่าศีลมหาสนิท เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ เพื่อแสดงถึงการร่วมสนิทกับพระเยซู โดยการรับประทานขนมปัง (สัญลักษณ์แทนพระกายของพระองค์) และไวน์ (สัญลักษณ์แทนพระโลหิต) การประกอบพิธีมหาสนิท เพื่อให้ชาวคริสต์ระลึกถึงคุณของพระเป็นเจ้า เพื่อการประกาศยอมรับว่าพระเจ้าได้สถิตอยู่ในกายตน เพื่อแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ และเพื่ออยู่ร่วมกันด้วยความรักในประชาคมเดียวกัน ในนิกายโปรเตสแตนต์ กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทตามพระวรสารนักบุญลูกา ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทเฉพาะตามที่พระศาสนจักรคาทอลิกกำหน.

สารบัญ

  1. 78 ความสัมพันธ์: ชเตฟันสโดมฟ. ฮีแลร์พิธีกรรมพิธีมิสซาที่บอลเซนาพิธีศักดิ์สิทธิ์พิธีปลงพระศพสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2กรีฑาสถานแห่งชาติการบวชการทำเครื่องหมายกางเขนการประสูติของพระเยซูมรรคาศักดิ์สิทธิ์มหาวิหารซีเอนามาร์ติน ลูเทอร์มาร์เกอริต-มารี อาลาก็อกมงกุฎพระสันตะปาปาลัทธิทำลายรูปเคารพลัทธิคาลวินลุดวิจ ฟาน เบโทเฟนวัดพระแม่สกลสงเคราะห์วังเชอนงโซวันศุกร์ประเสริฐวิกฤตการณ์ติมอร์ตะวันออกวีจีลีโอแห่งเตรนโตศาสนสถานศาสนาคริสต์ศีลศักดิ์สิทธิ์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2สหคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทยสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์หอประชุมนักบวชหนังสือประกอบคริสต์ศาสนพิธีห้องเก็บเครื่องพิธีอาสนวิหารอาสนวิหารแม็สอาหารค่ำมื้อสุดท้ายอิกอร์ สตราวินสกีอีซาเบลแห่งอารากอน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสอดอล์ฟ ฮิตเลอร์อ่างล้างบาปฮุลดริช ซวิงลีจอกศักดิ์สิทธิ์จอร์จ วอชิงตันจีโรลาโม ซาโวนาโรลาธรรมสักขีทอมัส แบ็กกิตข้าพเจ้าเป็นคนบาปดีกันดีร์ก เบาตส์คริสต์มาส... ขยายดัชนี (28 มากกว่า) »

ชเตฟันสโดม

การขยายอาสนวิหารนักบุญสเทเฟน: The '''หอโรมันและประตูยักษ์''' จากซากไหม้ของโบสถ์แรกใช้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างแบบโรมาเนสก์'''โบสถ์ที่สอง''' สร้างแทนโบสถ์เดิม สี่สิบปีต่อมา ก็เริ่มก่อสร้าง '''Albertine Choir''' แบบกอธิค; ห้าสิบห้าปีหลังจากนั้นก็สร้าง '''ส่วนต่อเติมดยุกรูดอล์ฟที่ 4''' รอบบริเวณ '''โบสถ์ที่สอง''' ที่ต่อมาถูกรื้อทิ้ง เหลือโบสถ์ที่สามให้เป็นสิ่งก่อสร้างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน อาสนวิหารนักบุญสเทเฟน หรือ ชเตฟันสโดม (Stephansdom, St.) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกในอัครมุขมณฑลเวียนนา และเป็นที่ตั้งอาสนะของอาร์ชบิชอปแห่งเวียนนา ตัวอาสนวิหารตั้งอยู่ใจกลางกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมานเนสก์ และ กอทิก ริเริ่มโดยรูดอล์ฟที่ 4 ดยุกแห่งออสเตรีย โบสถ์ปัจจุบันตั้งอยู่บนซากโบสถ์เดิมที่สร้างก่อนหน้านั้นสองโบสถ์ โบสถ์แรกเป็นโบสถ์ประจำเขตแพริชที่ได้รับการเสกในปี ค.ศ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และชเตฟันสโดม

ฟ. ฮีแลร์

ฟร็องซัว ตูเวอแน อีแลร์ (François Touvenet Hilaire) หรือที่รู้จักในนาม ฟ.ฮีแลร์ (F. Hilaire) หรือ เจษฎาจารย์ฮีแลร์ (18 มกราคม 2424 – 3 ตุลาคม 2511) เป็นนักบวชคณะภราดาเซนต์คาเบรียล เจ้าของสมญานาม "ปราชญ์แห่งอัสสัมชัญ" ได้รับการยกย่องในด้านความแตกฉานภาษาไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากท่านเป็นชาวฝรั่งเศสมาแต่กำเนิด จนเมื่อได้มาอยู่ที่ประเทศไทย ท่านก็ศึกษาภาษาไทยจนแตกฉานและสามารถแต่งหนังสือเรียนภาษาไทยให้เด็กไทยเรียนได้ นามว่า "ดรุณศึกษา" ท่าน ฟ.ฮีแลร์ เป็นหนึ่งในสองบุคคลที่สำคัญที่สุดของโรงเรียนอัสสัมชัญ ร่วมกับ คุณพ่อกอลมเบต์ ปัจจุบัน ณ โรงเรียนอัสสัมชัญ ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ และสร้างอาคารโดยใช้ชื่อตามภราดา ฟ.ฮีแลร์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีของท่านทั้งต่อโรงเรียนและต่อประเทศชาติ คำว่า ฟ.ฮีแลร์ เป็นศาสนนามของภราดาฟร็องซัว ตูเวอแน โดย ฟ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และฟ. ฮีแลร์

พิธีกรรม

ีกรรม หรือ ศาสนพิธี (Ritual) หมายถึง การบูชา แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในทางศาสน.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และพิธีกรรม

พิธีมิสซาที่บอลเซนา

ูบทความหลักที่ ห้องราฟาเอล พิธีมิสซาที่บอลเซนา (The Mass at Bolsena) เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยราฟาเอลผู้เป็นจิตรกรคนสำคัญชาวอิตาลีสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่เขียนในปี ค.ศ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และพิธีมิสซาที่บอลเซนา

พิธีศักดิ์สิทธิ์

ในศาสนาคริสต์ พิธีศักดิ์สิทธิ์ (Sacrament) คือ พิธีกรรมที่เชื่อว่าพระเยซูทรงกำหนดไว้ให้คริสต์ศาสนิกชนนำไปปฏิบัติเพื่อเป็นการระลึกถึงและนมัสการพระเป็นเจ้า และจะได้มีส่วนร่วมในแผนการแห่งความรอด ชาวโรมันคาทอลิกเรียกพิธีศักดิ์สิทธิ์ว่า "ศีลศักดิ์สิทธิ์" มีอยู่ 7 ศีล แต่ชาวโปรเตสแตนต์ถือว่าพระเยซูทรงกำหนดไว้เพียง 2 พิธี คือ พิธีบัพติศมาและพิธีมหาสนิทศักดิ์สิท.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และพิธีศักดิ์สิทธิ์

พิธีปลงพระศพสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2

ระศพของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ในหีบพระศพจากต้นสนไซเปรสอันเรียบง่ายถูกเคลื่อนออกจากมหาวิหารนักบุญเปโตรในนครรัฐวาติกัน เพื่อประกอบพิธีฝัง โดยมีบรรดาผู้นำโลกและผู้นำศาสนากว่า 200 คน มาร่วมไว้อาลัย เมื่อเวลา 15.00 น.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และพิธีปลงพระศพสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2

กรีฑาสถานแห่งชาติ

กรีฑาสถานแห่งชาติ (The National Stadium of Thailand) เป็นสนามกีฬาแห่งชาติของประเทศไทย อยู่ในความดูแลของกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยส่งคืนสถานที่บางส่วนแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา และใช้อาคารสถานที่ในส่วนที่ยังเช่าอยู่ เพื่อเป็นที่ทำการของกรมฯ ตลอดจนสมาคมหรือองค์กร ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา และนันทนาการต่างๆ กรีฑาสถานแห่งชาติ ตั้งอยู่ภายในที่ทำการของกรมพลศึกษา เลขที่ 154 ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และกรีฑาสถานแห่งชาติ

การบวช

การบวช เป็นศัพท์ที่ใช้ในทางศาสนาโดยมีขั้นตอนที่จะทำให้บุคคลธรรมดาผู้นับถือศาสนาต่างๆ กลายเป็นนักบวชของศาสนาที่ตนนับถือนั้น การบวชมักประกอบไปด้วยพิธีกรรมและแบบพิธีต่าง ๆ ซึ่งขั้นตอนการบวชเองนั้นก็มีความแตกต่างกันไปตามศาสนาและชื่อเรียกขาน ผู้ที่กำลังเตรียมเข้าสู่การบวชเรียกว่า ผู้เตรียมบวช (ordinand).

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และการบวช

การทำเครื่องหมายกางเขน

ั้นตอนการทำเครื่องหมายกางเขนในแบบคาทอลิก การทำเครื่องหมายกางเขน หรือที่ชาวคาทอลิกเรียกว่า การทำสำคัญมหากางเขน คณะภคินีพระหฤทัยพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ (Sign of the Cross; Signum Crucis) เป็นรูปแบบการปฏิบัติอย่างหนึ่งของผู้นับถือศาสนาคริสต์ โดยมักมีการกล่าว "เดชะพระนาม พระบิดา และพระบุตร และพระจิต อาแมน" ประกอบด้วย การทำเช่นนี้เป็นการระลึกถึงการตรึงกางเขนของพระเยซู แบบดั้งเดิมทำจากขวาไปซ้าย ซึ่งใช้โดยสมาชิกคริสตจักรอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์และคริสตจักรคาทอลิกตะวันออก ส่วนแบบใหม่ทำจากซ้ายไปขวาใช้โดยคริสตจักรคาทอลิก แองกลิคัน ลูเทอแรน และโอเรียนทัลออร์โธด็อกซ์ ธรรมเนียมปฏิบัตินี้สันนิษฐานว่าเริ่มมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 แล้ว.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และการทำเครื่องหมายกางเขน

การประสูติของพระเยซู

“การประสูติ” โดยเปตรุส คริสตุส (Petrus Christus) ราว ค.ศ. 1445 การประสูติของพระเยซู (The Nativity of Jesus; the Nativity) หรือพระคริสตสมภพ ถูกกล่าวถึงในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ส่วนพระวรสารนักบุญมาระโกและพระวรสารนักบุญยอห์นมิได้กล่าวถึงการประสูติของพระเยซูไว้ แหล่งข้อมูลอื่นเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ก็มีแต่มิได้รวมอยู่ในสารบบคัมภีร์ไบเบิล คำบรรยายของพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกากล่าวว่าพระเยซูชาวนาซาเร็ธเป็นบุตรของนางมารีย์ ขณะมีตั้งครรภ์ได้หมั้นอยู่กับโยเซฟจากตระกูลเดวิด เรื่องนี้คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูประสูติจากหญิงพรหมจารีเพราะเป็นการกำเนิดโดยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์โดยมารดามิได้ร่วมประเวณีกับโยเซฟเลย คริสตชนจึงถือว่าโยเซฟเป็นเพียงบิดาบุญธรรม ทูตสวรรค์ได้ประกาศถึงการประสูติพระเยซูต่อคนเลี้ยงแกะ โหราจารย์สามคนก็ทราบเพราะได้เห็นดวงดาว พระวรสารกล่าวว่าการกำเนิดของพระเยซูเป็นไปตามคำพยากรณ์ของเหล่าผู้เผยพระวจนะชาวอิสราเอล การระลึกถึง การแสดง หรือการสร้างสัญลักษณ์เกี่ยวกับการกำเนิดของพระเยซูถือเป็นหัวใจของการฉลองเทศกาลคริสต์มาส เพื่อแสดงความเชื่อว่าพระเยซูชาวนาซาเรธเป็น “พระคริสต์” หรือ “พระเมสสิยาห์” ตามที่ทำนายไว้คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม ในบางคริสตจักร เช่น โรมันคาทอลิก ถือว่าจุดยอดของการฉลองอยู่ที่พิธีมิสซาเที่ยงคืน หรือเช้าวันคริสต์มาสซึ่งจะเป็นวันที่ 25 ธันวาคมเสมอ ทางอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะอดอาหารก่อนวันคริสต์มาส 40 วัน และวันอาทิตย์สี่วันก่อนคริสต์มาสคริสต์ศาสนิกชนทั้งนิกายโรมันคาทอลิกและแองกลิคันก็จะฉลองเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระเยซู เพื่อเป็นการเตรียมตัวทางใจเพื่อความพร้อมที่จะฉลองวันประสูติของพระเยซู.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และการประสูติของพระเยซู

มรรคาศักดิ์สิทธิ์

มรรคาศักดิ์สิทธิ์ หรือ ทางสู่กางเขน (Stations of the Cross (ที่หมายสู่กางเขน); Via Crucis (ทางสู่กางเขน) หรือ Via Dolorosa (ทางแห่งความเศร้า) หรือ เรียกง่ายๆ ว่า The Way - ทาง) คือภาพงานศิลปะศาสนาคริสต์บรรยายถึงช่วงเวลาสุดท้ายในชีวิตพระเยซู ตั้งแต่เดินทางสู่การตรึงกางเขนและหลังการตรึงกางเขน เรียกกันว่า “พระทรมานของพระเยซู” ทำขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงความทรมานและความเสียสละของพระองค์ ประเพณีนี้ปฏิบัติกันในนิกายโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และ ลูเทอแรน มรรคาศักดิ์สิทธิ์จะปฏิบัติเมื่อใดก็ได้แต่มักจะทำกันระหว่างเทศกาลมหาพรต โดยเฉพาะทุกค่ำวันศุกร์ระหว่างช่วงเวลานี้ และวันศุกร์ประเสริฐก่อนเทศกาลอีสเตอร.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และมรรคาศักดิ์สิทธิ์

มหาวิหารซีเอนา

อาสนวิหารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ (cattedrale metropolitana di Santa Maria Assunta) หรือ มหาวิหารซีเอนา (Duomo di Siena) เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่เมืองซีเอนาในประเทศอิตาลี เป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลซีเอนา-กอลเลดีวัลเดลซา-มอนตัลชีโน มหาวิหารซีเอนาเริ่มออกแบบและสร้างเป็นครั้งแรกระหว่างปี ค.ศ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และมหาวิหารซีเอนา

มาร์ติน ลูเทอร์

มาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther) (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2026 - 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2088) เป็นหนึ่งในผู้ปฏิรูปศาสนาคริสต์ โดยแยกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ เพราะไม่เห็นด้วยกับคำสอนของคริสตจักรโรมันคาทอลิกบางข้อ โดยการปฏิรูปนี้เกิดขึ้นในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เรียกว่าการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ นิกายที่ถือหลักเทววิทยาตามแนวคิดของลูเทอร์เรียกว่านิกายลูเทอแรนซึ่งเป็นนิกายย่อยในนิกายโปรเตสแตนต.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และมาร์ติน ลูเทอร์

มาร์เกอริต-มารี อาลาก็อก

นักบุญมาร์เกอริต-มารี อาลาก็อก (Marguerite-Marie Alacoque) เป็นนักพรตหญิงโรมันคาทอลิกชาวฝรั่งเศส ผู้ส่งเสริมการอุทิศต่อพระหฤทัยของพระเยซู.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และมาร์เกอริต-มารี อาลาก็อก

มงกุฎพระสันตะปาปา

ตราของพระสันตะปาปาที่ใช้สัญลักษณ์มงกุฎพระสันตะปาปา ตราของนครรัฐวาติกันก็เป็นรูปแบบเดียวกันยกเว้นแต่เฉพาะตำแหน่งของกุญแจเงินกับกุญแจทองจะสลับที่กัน มงกุฎพระสันตะปาปา หรือ มงกุฎสามชั้น (Papal Tiara หรือ Triple Tiara, Triregnum, Trirègne, Trirègne) เป็นมงกุฎที่มีอัญมณีตกแต่งสามชั้นที่เป็นมงกุฎประจำตำแหน่งพระสันตะปาปา ที่ว่ากันว่ามีรากฐานมาจากสมัยไบแซนไทน์และเปอร์เซีย ตราอาร์มของพระสันตะปาปามีรูปมงกุฎมาตั้งแต่สมัยโบราณ พร้อมด้วยกุญแจนักบุญซีโมนเปโตร.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และมงกุฎพระสันตะปาปา

ลัทธิทำลายรูปเคารพ

การปฏิรูปศาสนาเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มหาวิหารนักบุญมาร์ติน เมืองยูเทรกต์ (Cathedral of Saint Martin, Utrecht)http://www.domkerk.nl/domchurch/history.html The birth and growth of Utrecht (ที่มาและความเจริญเติบโตของอูเทรชท์) ลัทธิทำลายรูปเคารพ (Iconoclasm) เป็นแนวคิดและการปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีการใช้รูปเคารพ การทำลายศิลปะหรือรูปสัญลักษณ์ทางศาสนา การทำลายสัญลักษณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่สัญลักษณ์ทางศาสนา หรือ การทำลายอนุสาวรีย์โดยจงใจภายในสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นผลจากการกระทำเพื่อศาสนาหรือการเมือง การกระทำเช่นนี้มักจะเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาหรือทางการเมืองภายในสังคมเดียวกัน ลัทธิทำลายรูปเคารพตรงกันข้ามกับ "ลัทธิบูชารูปเคารพ" (Iconodule).

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และลัทธิทำลายรูปเคารพ

ลัทธิคาลวิน

ลัทธิคาลวิน (Calvinism) ขนบปฏิรูป (Reformed tradition) หรือ เทววิทยาปฏิรูป เป็นเทววิทยาศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ที่ถือแนวคำสอนและการปฏิบัติตามการตีความของฌ็อง กาลแว็ง และนักเทววิทยาอื่น ๆ ช่วงการปฏิรูปศาสนา ลัทธิคาลวินแตกหักกับคริสตจักรโรมันคาทอลิก จึงนับเป็นฝ่ายโปรเตสแตนต์ แต่ก็ต่างจากโปรเตสแตนต์สายอื่น ๆ เช่น ลูเทอแรน ในประเด็นต่าง ๆ เช่น พระเยซูในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ หลักบังคับในการนมัสการ การบังคับใช้กฎของพระเจ้ากับคริสตชน การเรียกเทววิทยาสายนี้ว่า "ลัทธิคาลวิน" ค่อนข้างคลาดเคลื่อน เพราะในความเป็นจริง เป็นเทววิทยาที่มีแนวคิดหลากหลาย ไม่ได้จำกัดเฉพาะกับฌ็อง กาลแว็งผู้ก่อตั้งเพียงคนเดียว นักเทววิทยากลุ่มนี้ถูกฝ่ายลูเทอแรนเรียกว่า "ลัทธิคาลวิน" แต่ในภายในสายมักใช้คำว่า คณะปฏิรูป มากกว่า นับแต่มีการโต้แย้งอาร์มิเนียน ฝ่ายปฏิรูปก็แบ่งออกเป็นสองสาย คือ สายคาลวิน และ สายอาร์มิเนียน แต่ปัจจุบันมักใช้คำว่า คณะปฏิรูป ในเชิงไวพจน์กับลัทธิคาลวินมากกว่า นักเทววิทยาสายปฏิรูปที่มีบทบาทสำคัญในยุคต้น ๆ ได้แก่ ฌ็อง กาลแว็ง มาร์ทิน บูเคอร์ ไฮน์ริช บุลลิงเงอร์ และปีเอโตร มาร์ตีเร แวร์มิกลี จุดเด่นของลัทธิคาลวินมีอยู่ 5 ประเด็น ที่เป็นที่รู้จักที่สุดคือความเชื่อเรื่องเทวลิขิตและมนุษย์เสื่อมทรามโดยสิ้นเชิง ประเด็น 5 ข้อของลัทธิคาลวิน (5 Points of Calvinism; TULIP) ได้แก.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และลัทธิคาลวิน

ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน

ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน ใน ค.ศ. 1820 ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven,; 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 - 26 มีนาคม ค.ศ. 1827) เป็นคีตกวีและนักเปียโนชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี เบโทเฟนเป็นตัวอย่างของศิลปินยุคจินตนิยมผู้โดดเดี่ยว และไม่เป็นที่เข้าใจของบุคคลในยุคเดียวกันกับเขา ในวันนี้เขาได้กลายเป็นคีตกวีที่มีคนชื่นชมยกย่องและฟังเพลงของเขากันอย่างกว้างขวางมากที่สุดคนหนึ่ง ตลอดชีวิตของเขามีอุปสรรคนานัปการที่ต้องฝ่าฟัน ทำให้เกิดความเครียดสะสมในใจเขา ในรูปภาพต่าง ๆ ที่เป็นรูปเบโทเฟน สีหน้าของเขาหลายภาพแสดงออกถึงความเครียด แต่ด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งของเขา ก็สามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิตของเขาได้ ตำนานที่คงอยู่นิรันดร์เนื่องจากได้รับการยกย่องจากคีตกวีโรแมนติกทั้งหลาย เบโทเฟนได้กลายเป็นแบบอย่างของพวกเขาเหล่านั้นด้วยความเป็นอัจฉริยะที่ไม่มีใครเทียมทาน ซิมโฟนีของเขา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งซิมโฟนีหมายเลข 5 ซิมโฟนีหมายเลข 6 ซิมโฟนีหมายเลข 7 และ ซิมโฟนีหมายเลข 9) และคอนแชร์โตสำหรับเปียโนที่เขาประพันธ์ขึ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนแชร์โตหมายเลข 4 และ หมายเลข 5) เป็นผลงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ก็มิได้รวมเอาความเป็นอัจฉริยะทั้งหมดของคีตกวีไว้ในนั้น.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน

วัดพระแม่สกลสงเคราะห์

วัดพระแม่สกลสงเคราะห์ (Beata Maria Virginis Omnis Gratiae Mediatricis; The Blessed Virgin Mary The Mediatrix of all Graces Church) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิก ขนาดใหญ่ที่สุดในเขตอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 179 หมู่ 5 ตำบลโสนลอย บนที่ดินบริเวณหลังตลาดสดเทศบาลเมืองบางบัวทอง ริมคลองขุนพระพิมลราชา ใกล้กับถนนกาญจนาภิเษก มีพิธีเสกวัดเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และวัดพระแม่สกลสงเคราะห์

วังเชอนงโซ

วังเชอนงโซ (Château de Chenonceau) ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเชอนงโซ (Chenonceaux) ในจังหวัดแอ็งเดรลัวร์ แคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส วังเดิมสร้างบนโรงป่นแป้งเก่าบนฝั่งแม่น้ำแชร์ และสร้างมาก่อนหน้าที่จะมีหลักฐานทางเอกสารเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 วังปัจจุบันออกแบบโดยฟีลีแบร์ เดอ ลอร์ม (Philibert De l'Orme) สถาปนิกเรอเนซองซ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และวังเชอนงโซ

วันศุกร์ประเสริฐ

วันศุกร์ประเสริฐราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 221-2 (Good Friday) หรือวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Friday) เป็นวันสำคัญทางศาสนาคริสต์ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ในตรีวารปัสคา (ก่อนวันอีสเตอร์) ของสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อระลึกถึงการตรึงพระเยซูที่กางเขน พระวรสารในสารบบระบุว่าพระเยซูทรงถูกตรึงกางเขนในวันเตรียมวันสะบาโตซึ่งตรงกับวันศุกร์ และกลับคืนพระชนม์ในเช้าวันอาทิตย์หลังจากนั้น.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และวันศุกร์ประเสริฐ

วิกฤตการณ์ติมอร์ตะวันออก

หลังโปรตุเกสถอนตัวออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยมิได้จัดการปกครองให้แก่ติมอร์ตะวันออกแต่อย่างใด เป็นเหตุให้ประเทศอินโดนีเซียส่งทหารเข้ายึดครองติมอร์ตะวันออกโดยผนวกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งต่อมาได้ถูกคัดค้านจากประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่การชุมนุมทางศาสนาในพิธีมิสซาที่โบสถ์โมตาเอล (Motael) เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และวิกฤตการณ์ติมอร์ตะวันออก

วีจีลีโอแห่งเตรนโต

นักบุญวีจีลีโอแห่งเตรนโต (San Vigilio di Trento) หรือวีจีลิอุสแห่งเทรนต์ (Vigilius Tridentinum) เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์และบิชอปองค์แรกของรัฐมุขนายกเทรนต์ และเป็นคนละคนกับสมเด็จพระสันตะปาปาวิจิเลียส ตามที่เล่าขานกันมาวิจิเลียส พลเมืองชั้นสูงของจักรวรรดิโรมันและเป็นบุตรของแม็กเซนเทีย หรือ ชายที่บางครั้งก็เรียกกันว่าธีโอโดเซียส พี่น้องชาย “คลอเดียน” และ “มาโกเรียน” ต่างก็ได้รับการประกาศเป็นนักบุญเช่นกัน วีจีลีโอได้รับการศึกษาที่เอเธนส์และดูเหมือนจะรู้จักกับจอห์น คริสซอสตอมด้วย จากนั้นวีจีลีโอก็เดินทางไปยังกรุงโรมและต่อไปยังเตรนโตในปี..

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และวีจีลีโอแห่งเตรนโต

ศาสนสถาน

นสถาน (Place of worship) คือสถานทางศาสนา ใช้ประกอบศาสนพิธี เช่น การอาราธนาศีลและสมาทานศีลในวัด และการละหมาดในมัสยิดอิสลาม เป็นต้น.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และศาสนสถาน

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และศาสนาคริสต์

ศีลศักดิ์สิทธิ์

''7 ศีลศักดิ์สิทธิ์'' (''The Seven Sacraments'') โดย โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน, ราว ค.ศ. 1448 ศีลศักดิ์สิทธิ์ เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ (Sacraments) ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก เป็นเครื่องหมายภายนอกที่แสดงว่าผู้รับศีลศักดิ์สิทธิ์นั้นเป็นคริสต์ศาสนิกชน.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และศีลศักดิ์สิทธิ์

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) เป็นพระประมุขของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพัน..

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2

มเด็จพระสันตะปาปา นักบุญจอห์น ปอลที่ 2 มีพระนามเดิมว่า การอล ยูแซฟ วอยตือวา (ในภาษาโปแลนด์) เกิดเมื่อ 18 พฤษภาคม ค.ศ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2

สหคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทย

หคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทย (ส.ค.บ.; Thailand Baptist Convention; TBC) เป็นองค์การทางศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อประสานงานด้านศาสนาและดูแลสมาชิกของมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์, หน้า 166-167 โดยมี ศาสนาจารย์ บุญครอง ปิฏกานนท์ เป็นประธานคนแรก.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และสหคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทย

สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์

ัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 221-2, 252-3, 395-6 (Holy Week) เป็นสัปดาห์สำคัญในปีพิธีกรรมของศาสนาคริสต์ ตรงกับสัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรต ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลา 1 สัปดาห์ก่อนวันอีสเตอร์ ในสัปดาห์นี้มีวันสำคัญหลายวัน ได้แก่ วันอาทิตย์ใบลาน วันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ประเสริฐ และวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ แต่ไม่รวมวันอีสเตอร์ สำหรับนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์จะเริ่มจากวันเสาร์ลาซารัส (ก่อนวันอาทิตย์ใบลาน).

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์

หอประชุมนักบวช

หอประชุมนักบวชที่มหาวิหารลิงคอล์น ที่อังกฤษ แสดงให้เห็นค้ำยันแบบปีกรอบตัวอาคาร หอประชุมนักบวชที่มหาวิหารแคนเทอร์เบอรี ที่อังกฤษ หอประชุมนักบวช (Chapter house) คือสิ่งก่อสร้างหรือห้องที่ติดกับอาสนวิหารหรือโบสถ์หรืออาราม ซึ่งใช้เป็นที่ประชุมของนักบวช ถ้าหอประชุมนักบวชเป็นส่วนหนึ่งของอารามก็มักจะตั้งอยู่ทางตะวันออกของระเบียงฉันนบถ จะเป็นห้องโล่งใหญ่เพื่อให้พอเพียงกับนักพรตที่จำวัดอยู่ในอารามและมักจะตกแต่งอย่างสวยงาม ถ้าเป็นหอประชุมนักบวชเป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์หรือสถาปัตยกรรมกอทิกทางเข้ามักจะเป็น façade เล็กและบนซุ้มโค้งเหนือประตูก็จะมีการตกแต่ง นักพรตในอารามจะประชุมในหอเพื่ออ่านหนังสือศาสนาที่เป็นบท หรือ “Chapter” ฉะนั้นหอประชุมนักบวชในภาษาอังกฤษจึงเรียกว่า “Chapter house” นอกจากอ่านหนังสือศาสนาแล้วก็ยังใช้เป็นที่ประชุมเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับกิจการของอาราม การประชุมมักทำกันตอนเช้าหลังจากพิธีมิสซา นักพรตจะนั่งเรียงติดผนังตามลำดับความสำคัญ เมื่อประชุมเสร็จก็จะสารภาพบาปต่อหน้าที่ประชุม หรือกล่าวประณามผู้ที่ทำผิดโดยไม่กล่าวนาม ระเบียงฉันนบถด้านที่จะสร้างหอประชุมนักบวชจะเป็นด้านที่สร้างก่อนและจะสร้างไม่นานหลังจากที่สร้างโครงสร้างของโบสถ์ ถ้าเป็นหอประชุมนักบวชของมหาวิหาร เคลอจีของมหาวิหารก็จะประชุมกันที่นี่ถ้าเป็นหอประชุมนักบวชของโบสถ์ ดีน Prebendries และนักพรตก็จะประชุมกันที่นี.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และหอประชุมนักบวช

หนังสือประกอบคริสต์ศาสนพิธี

หนังสือประกอบคริสต์ศาสนพิธี (Sacramentary) เป็นหนังสือของยุคกลางที่มีเนื้อหาของบทสวดของนักบวชระหว่างการประกอบคริสต์ศาสนพิธีศีลมหาสนิทหรือคริสต์ศาสนพิธีอื่นๆ หนังสือมักจะเขียนขึ้นสำหรับพระสังฆราชหรือนักบวชผู้มีตำแหน่งอาวุโสเช่นเจ้าอาวาสของแอบบี การเขียนก็จะตกแต่งอย่างหนังสือวิจิตร แต่ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 “Sacramentary” ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาและในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษหมายถึง “โรมันมิสซา” ฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ เนื้อหาจะมีมากกว่ามิสซาในด้านคริสต์ศาสนพิธีอื่นๆ และจะไม่มีบทเขียนและบทอ่านที่กล่าวโดยผู้หนึ่งผู้ใดระหว่างการประกอบพิธี.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และหนังสือประกอบคริสต์ศาสนพิธี

ห้องเก็บเครื่องพิธี

ห้องเก็บเครื่องพิธี ห้องเก็บเครื่องพิธีภายในมหาวิหารซันตาโกรเชที่ฟลอเรนซ์ ห้องเก็บเครื่องพิธี (Sacristy) คือห้องที่ตั้งอยู่ภายในคริสต์ศาสนสถานที่ใช้เป็นที่เก็บอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ (Vestment) อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ และบันทึกเอกสารของคริสต์ศาสนสถาน ห้องเก็บเครื่องพิธีมักจะตั้งอยู่ภายในตัวคริสต์ศาสนสถาน แต่ในบางกรณีก็อาจจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างติดกับตัววัด หรือ อาจจะเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระจากตัวโบสถ์ เช่นในบางอาราม ในโบสถ์โบราณห้องเก็บเครื่องพิธีมักจะตั้งอยู่ทางด้านข้างของแท่นบูชา หรืออาจจะตั้งอยู่ทางด้านข้างหรือด้านหลังของบริเวณแท่นบูชาเอก หรือ บริเวณร้องเพลงสวด ในโบสถ์สมัยใหม่ห้องเก็บเครื่องพิธีมักจะตั้งอยู่ในตำแหน่งอื่น เช่นใกล้ประตูทางเข้า คริสต์ศาสนสถานบางแห่งก็จะมีห้องเก็บเครื่องพิธีมากกว่าหนึ่งแต่ละแห่งก็จะมีวัตถุประสงค์ต่างกัน นอกจากนั้นแล้วห้องเก็บเครื่องพิธีก็ยังเป็นสถานที่สำหรับนักบวชและผู้ช่วยใช้ในการเตรียมตัวประกอบคริสต์ศาสนพิธี เมื่อประกอบพิธีเสร็จก็จะกลับมาที่ห้องนี้เพื่อถอดเครื่องแต่งกายออก และ เก็บอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบพิธี ห้องเก็บเครื่องพิธีมักจะมีอ้างล้างมือพิเศษที่เรียกว่า อ่างซาคราเรียม (Piscina หรือ sacrarium) ที่มีท่อระบายที่ให้น้ำจากการประกอบพิธีจากการล้างมือที่ถือเป็นน้ำที่ใช้ในการประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ไหลลงดินโดยตรงแทนที่จะลงไปในท่อหรือถังน้ำเสีย อ่างซาคราเรียมใช้ในการซักผ้าลินินที่ใช้ในพิธีมิสซาและสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ในการประกอบพิธี ส่วนใหญ่แล้วห้องเก็บเครื่องพิธีจะเป็นสถานที่ที่ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้า ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลบริหารห้องเก็บเครื่องพิธีเรียกว่า “Sacristan” หรือ “Sacrist” ผู้มักจะมีหน้าที่ดูและตัวสิ่งก่อสร้างและบริเวณรอบๆ ด้ว.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และห้องเก็บเครื่องพิธี

อาสนวิหาร

อาสนวิหาร อาสนวิหารเซ็นต์บาร์บารา (St Barbara's church) เมือง Kutná Hora สาธารณรัฐเช็ก อาสนะบิชอปที่อาสนวิหารโวลเทอร์รา (Volterra Cathedral) ประเทศอิตาลี อาสนวิหาร (Cathedral; Cathédrale; Kathedrale/Dom; Cattedrale/Duomo) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ทำการนมัสการพระเจ้า (โดยเฉพาะในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน อาสนวิหารจะเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลซึ่งเป็นเขตปกครองของบิชอป คำว่าอาสนวิหารใช้ได้หลายความหมาย บางอาสนวิหารของคริสตจักรปฏิรูปที่สกอตแลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ยังใช้คำว่าเรียกตัวเองว่าอาสนวิหารอยู่ทั้งที่โบสถ์นั้นไม่มีตำแหน่งมุขนายกประจำ ฉะนั้นในบางกรณีคำว่าอาสนวิหารจึงใช้เรียกโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งอาสนะของบิชอปแต่มีลักษณะใหญ่โตน่าประทับใจ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะไม่ใช้คำว่าอาสนวิหารแต่จะใช้คำว่าโบสถ์ใหญ่ (the great church) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า “cathedral” เมื่อพูดถึงโบสถ์ใหญ่ นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จะไม่มีอาสนวิหารอย่างที่ว่าแต่จะมีโบสถ์หลักเช่นโบสถ์เซนต์มาร์กที่ไคโรซึ่งก็เรียกกันว่า “cathedral” เช่นกัน อาสนวิหารหลายแห่งในทวีปยุโรปไม่เรียกตัวเองว่าอาสนวิหารแต่จะเรียกตัวเองว่า Minster หรือ Münster เช่น ที่เมืองยอร์ก หรือ ลิงคอล์น ในประเทศอังกฤษ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกทั้งสองแห่งนี้ว่า “อาสนวิหาร” ในประเทศเยอรมนี ทั้งสองคำนี้มีรากมาจากคำว่า monasterium ใน ภาษาละติน เพราะแต่เดิมอาสนวิหารเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคนัน (canon) ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรืออาจจะเคยเป็นแอบบีย์มาก่อนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และอาสนวิหาร

อาสนวิหารแม็ส

อาสนวิหารแม็ส (Cathédrale de Metz) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งแม็ส (Cathédrale Saint Étienne de Metz) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลแม็ส ตั้งอยู่ที่เมืองแม็ส จังหวัดมอแซล แคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสำคัญคือนักบุญสเทเฟน ห้องเก็บสมบัติของอาสนวิหารได้สะสมของมีค่ามานานนับพันปี โดยเป็นของสะสมของมุขมณฑลแม็สที่รวมถึงผ้าคลุมแท่นบูชาและสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ อาสนวิหารแม็สถือเป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่มีโถงทางเดินโบสถ์ที่สูงที่สุดแห่งหนี่งของโลก และยังมีชื่อเล่นว่า "โคมไฟแห่งพระผู้เป็นเจ้า" (La Lanterne du Bon Dieu) อันเนื่องมาจากมีโครงสร้างหน้าต่างที่เป็นงานกระจกสีมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกJolin J.L.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และอาสนวิหารแม็ส

อาหารค่ำมื้อสุดท้าย

“อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” โดย ไซมอน อูชาคอฟ (Simon Ushakov) ราว ค.ศ. 1685 อาหารค่ำมื้อสุดท้าย (Last Supper, Lord's Supper, Mystical Supper) ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนคืออาหารมื้อสุดท้ายที่พระเยซูเสวยร่วมกับสาวกของพระองค์ ก่อนจะมีการตรึงพระเยซูที่กางเขน “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในการสร้างงานจิตรกรรม ภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดคือภาพที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ตามคำกล่าวของนักบุญเปาโลอัครทูตในหนังสือโครินธ์ ระหว่างเสวยพระกระหารที่มีขนมปังและเหล้าองุ่น พระเยซูตรัสต่อสาวกว่า “จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา” เหตุการณ์อื่นและบทสนทนาบันทึกในพระวรสารสหทรรศน์และพระวรสารนักบุญยอห์น คริสต์ศาสนิกชนบางคนถือว่าเป็นรากฐานของศีลมหาสนิท ถ้วยที่ใช้ใส่ไวน์บางทีก็เรียกว่าจอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Chalice) และเป็นหนึ่งในวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องถ้วยศักดิ์สิทธิ์ (Holy Grail) ในปรัมปราวิทยาในศาสนาคริสต.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และอาหารค่ำมื้อสุดท้าย

อิกอร์ สตราวินสกี

อิกอร์ เฟโดโรวิช สตราวินสกี้ (И́горь Фёдорович Страви́нский; Igor Stravinsky; 17 มิถุนายน ค.ศ. 1882 — 6 เมษายน ค.ศ. 1971)) เป็นคีตกวีดนตรีคลาสสิกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวรัสเซีย สตราวินสกี้ ราวปี 1950 สตราวินสกี้เป็นบุตรชายของนักร้องชื่อดังแห่งโรงละครหลวง เขาเกิดที่เมืองออรานีนบาม (Oranienbaum) ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนเป็นชื่อ โลโมโนซอฟ (Lomonosov) ใกล้กับนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในประเทศรัสเซีย เขาเรียนด้านกฎหมายกับเปียโน ก่อนที่จะมาเป็นศิษย์ของนิโคไล ริมสกี้-คอร์ซาคอฟ บทเพลงชื่อดังชิ้นแรกของเขาได้แก่ วิหคเพลิง (ค.ศ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และอิกอร์ สตราวินสกี

อีซาเบลแห่งอารากอน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส

ระนางอีซาเบลแห่งอารากอน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส (Isabel de Aragão, Rainha de Portugal; Isabel de Aragón, Reina de Portugal) ชาวโรมันคาทอลิกเรียกว่านักบุญเอลิซาเบธแห่งโปรตุเกส (St.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และอีซาเบลแห่งอารากอน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อ่างล้างบาป

อ่างล้างบาปที่มหาวิหารวอมส์ ประเทศเยอรมนี อ่างล้างบาปสมัยกลาง จากเมือง Norrköping ประเทศสวีเดน อ่างล้างบาป (Baptismal font) คือภาชนะที่ใช้ทำพิธีบัพติศมาสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ “พิธีบัพติศมา” ก็มีหลายแบบ -- พรมน้ำ รดน้ำ หรือจุ่มลงไปในน้ำทั้งตัว อย่างคำในภาษากรีกว่า βαπτιζω คำนี้แปลว่าดำลงไป แต่อ่างล้างบาปโดยทั่วไปจะเล็กเกินกว่าที่จะใช้วิธีนี้ได้นอกจากกับเด็กทารก.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และอ่างล้างบาป

ฮุลดริช ซวิงลี

ลดริช ซวิงลี ฮุลดริช ซวิงลี (Huldrych Zwingli; 1 มกราคม ค.ศ. 1484 – 11 ตุลาคม ค.ศ. 1531) หรือ อุลริช ซวิงลี (Ulrich Zwingli) เป็นศิษยาภิบาลและนักเทววิทยาศาสนาคริสต์ชาวสวิส และเป็นผู้นำในการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ในสวิตเซอร์แลน.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และฮุลดริช ซวิงลี

จอกศักดิ์สิทธิ์

''How at the Castle of Corbin a Maiden Bare in the Sangreal and Foretold the Achievements of Galahad'': ภาพวาดโดย Arthur Rackham ค.ศ. 1917 จอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Grail) เป็นภาชนะซึ่งเป็นแกนเรื่องสำคัญในวรรณกรรมอาเธอร์ ตำนานหลายเรื่องพรรณนาว่า เป็นถ้วย ชาม หรือศิลา ซึ่งมีอำนาจเหนือธรรมชาติบันดาลให้เกิดความสุข ความเยาว์วัยชั่วนิรันดร์ หรือชีวิตอมตะ คำว่า "จอกศักดิ์สิทธิ์" ยังมักใช้เรียกสิ่งของหรือเป้าหมายที่ไขว่คว้าหากันเพราะเชื่อว่า มีความสำคัญยิ่งยวด การกล่าวถึง "จอก" วิเศษ แม้ไม่ปรากฏชัดว่า ศักดิ์สิทธิ์ด้วยหรือไม่นั้น ปรากฏครั้งแรกในนิยายวีรคติเรื่อง แปร์เซอวัลเลอกงต์ดูกราล (Perceval, le Conte du Graal; "แปร์เซอวาลตำนานจอก") ผลงานซึ่งเขียนไม่เสร็จของเครเตียง เดอ ทรัว (Chrétien de Troyes) ในราว..

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และจอกศักดิ์สิทธิ์

จอร์จ วอชิงตัน

อร์จ วอชิงตัน (George Washington, 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1732 Engber, Daniel (2006).. (Both Franklin's and Washington's confusing birth dates are clearly explained.) Retrieved on June 17, 2009.วันเกิดและวันถึงแก่กรรมของจอร์จ วอชิงตันในที่นี้เป็นระบบปฏิทินเกรกอเรียน อย่างไรก็ดี ขณะที่เขาเกิด สหราชอาณาจักรและประเทศอาณานิคมทั้งหมดยังใช้ปฏิทินจูเลียนอยู่ ดังนั้นในบันทึกร่วมสมัยนั้นจึงระบุวันเกิดของเขาเป็นวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และจอร์จ วอชิงตัน

จีโรลาโม ซาโวนาโรลา

รลาโม ซาโวนาโรลา (Girolamo Savonarola) (21 กันยายน ค.ศ. 1452 - 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1498) จิโรลาโม ซาโวนาโรลาเป็นนักบวชลัทธิโดมินิกันชาวอิตาลีและผู้นำของฟลอเรนซ์ตั้งแต่ปี..

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และจีโรลาโม ซาโวนาโรลา

ธรรมสักขี

รรมสักขี (confessor) ในศาสนาคริสต์ใช้หมายถึง ผู้ยืนยันความเชื่อ หรือบาทหลวงผู้อภัยบาป.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และธรรมสักขี

ทอมัส แบ็กกิต

นักบุญทอมัส แบ็กกิต (Thomas Becket) ต่อมารู้จักกันในชื่อ Thomas à Becket เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เกิดใน..

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และทอมัส แบ็กกิต

ข้าพเจ้าเป็นคนบาป

้าพเจ้าเป็นคนบาป หรือ โอ้บาปข้าพเจ้า - อาสนวิหารอัสสัมชัญ (mea culpa; mea culpa) หรือ ข้าพเจ้ายอมรับว่าเป็นคนบาป หรือ โอ้บาปข้าพเจ้าหนักหนา (mea maxima culpa) เป็นคำอุทานในคริสต์ศาสน.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และข้าพเจ้าเป็นคนบาป

ดีกัน

ันธบริกรคาทอลิกในชุดดัลมาติก (Dalmatic) ซึ่งเป็นเครื่องแบบในศาสนพิธี ดีกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 201 (deacon) เป็นตำแหน่งหนึ่งในการบริหารคริสตจักร พบได้ในทุกนิกาย แต่มีการกำหนดหน้าที่และคุณสมบัติไว้แตกต่างกัน นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยใช้คำว่าสังฆานุกร.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และดีกัน

ดีร์ก เบาตส์

ีร์ก เบาตส์ (Dirk Bouts; ราว ค.ศ. 1410/ค.ศ. 1420 - ค.ศ. 1475) เป็นจิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกของประเทศเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมันและการเขียนบานพับภาพ จากหนังสือ Het Schilderboeck (ค.ศ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และดีร์ก เบาตส์

คริสต์มาส

ริสต์มาส (Christmas; Crīstesmæsse, หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์") หรือ วันสมโภชพระสมภพ (Feast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู, The Catholic Encyclopedia, 1913.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และคริสต์มาส

คณะประสานเสียงเด็กชายแห่งเวียนนา

ณะประสานเสียงเด็กชายแห่งเวียนนาในเครื่องแบบ "ชุดเดินทาง" ในงานคอนเสิร์ตปี พ.ศ. 2546 ที่ห้องโถง Wiener Musikverein ในนครเวียนนา ซิมโฟนีของคนนับพัน'' ของกุสตาฟ มาห์เลอร์ ร่วมกับคณะประสานเสียง Wiener Singverein แห่งเวียนนา, วงศ์ดุริยางค์ Slovenský filharmonický zbor และ Staatskapelle Berlin, มีผู้ควบคุม คือ Pierre Boulez ในเดือนเมษายน พ.ศ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และคณะประสานเสียงเด็กชายแห่งเวียนนา

ฉากกางเขน

กางเขนบนฉากกางเขนจากคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่วัดซังเอเทืยงดูมองท์ ที่ปารีส ฉากกางเขน (Rood screen หรือ Choir screen หรือ Chancel screen) คือฉากที่แยกระหว่างบริเวณสำหรับผู้เข้าร่วมในคริสต์ศาสนพิธีหรือทางเดินกลางและบริเวณสำหรับสงฆ์หรือบริเวณที่พระใช้ทำพิธีที่แกะตกแต่งอย่างสวยงามที่นิยมสร้างกันในสมัยกลาง วัสดุที่สร้างอาจจะเป็นไม้หรือหินแกะสลักหรือฉลุทาสีหรือเหล็กดัด ฉากกางเขน ปรากฏทั่วไปในโบสถ์คริสต์ในยุโรป ภาษาเยอรมันใช้คำว่า “Lettner”, ภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า “jubé”, ภาษาดัทช์ใช้คำว่า “doksaal” ฉากกางเขนทางตะวันออกจะตกแต่งหรูหรากว่าทางตะวันตก.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และฉากกางเขน

ฉากแท่นบูชาเมรอด

ฉากแท่นบูชาเมรอด (Mérode Altarpiece) หรือ ฉากแท่นบูชาการประกาศของเทพ (Annunciation Altarpiece) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยโรเบิร์ต กัมปิน จิตรกรสมัยศิลปะเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โรเบิร์ต กัมปินเขียนภาพ "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ระหว่างปี ค.ศ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และฉากแท่นบูชาเมรอด

ประวัติศาสตร์ติมอร์-เลสเต

นแดนติมอร์ตะวันออกเป็นอาณานิคมของประเทศโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1520) ภายหลังโปรตุเกสถอนตัวออกไปเมื่อปี พ.ศ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และประวัติศาสตร์ติมอร์-เลสเต

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และประเทศอิตาลี

ประเทศติมอร์-เลสเต

ติมอร์-เลสเต (Timor-Leste,, ตีโมร์แลชตือ) หรือ ติมอร์ตะวันออก (Timór Lorosa'e) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต (República Democrática de Timor-Leste; Repúblika Demokrátika Timór-Leste) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยเกาะติมอร์ด้านตะวันออก เกาะอาเตารู (Atauro) และเกาะฌากู (Jaco) ที่อยู่ใกล้เคียง และเทศบาลโอเอกูซี (Oecusse) ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของเกาะติมอร์ ติมอร์ตะวันออกถูกล้อมรอบโดยพื้นที่ของประเทศอินโดนีเซีย แต่เดิมประเทศติมอร์-เลสเตถูกปกครองโดยประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเมื่อปี พ.ศ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และประเทศติมอร์-เลสเต

ปีพิธีกรรม

วันสำคัญในศาสนาคริสต์ (Liturgical year) ส่วนใหญ่กำหนดตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน มีบ้างที่กำหนดโดยอิงปฏิทินจันทรคติ สำหรับวันสำคัญที่มีมาแต่ศาสนายูดาห.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และปีพิธีกรรม

ปีเอตะ (มีเกลันเจโล)

''ปีเอตะ'' ผลงานของมีเกลันเจโล ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน ปีเอตะ (1498–1499) เป็น งานประติมากรรมสลักสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ทำขึ้นโดย มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี และตั้งอยู่ในมหาวิหารนักบุญเปโตร ที่นครรัฐวาติกัน โดยเป็นงานชิ้นแรกที่ถูกทำขึ้นโดยศิลปินในหัวเรื่องนี้ รูปสลักถูกสั่งทำให้กับพระคาร์ดินัลชาวฝรั่งเศสที่ชื่อว่า Jean de Bilhères ซึ่งเคยเป็นตัวแทนในกรุงโรม งานประติมากรรมถูกทำขึ้นจากหินอ่อนคาราร่า (Carrara marble) เพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับงานศพของพระคาร์ดินัล ทว่าถูกย้ายไปยังที่อยู่ปัจจุบันซึ่งอยู่ที่โบสถ์น้อยแห่งแรกทางด้านขวาของทางเข้ามหาวิหาร ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเป็นผลงานชิ้นเดียวที่มีเกลันเจโลได้ลงชื่อไว้ ผลงานอันโด่งดังชิ้นนี้ แสดงร่างกายของพระเยซู บนตักของมารีย์ ผู้เป็นมารดา หลังจากการตรึงที่กางเขน หัวเรื่องนี้กำเนิดที่ทางเหนือ และเป็นที่นิยมในประเทศฝรั่งเศสในขณะนั้น ทว่ายังไม่เป็นที่รู้จักในประเทศอิตาลี การตีความ ปีเอตะ ของมีเกลันเจโล นับเป็นเรื่องใหม่ในงานประติมากรรมของอิตาลี โดยถูกนับว่าเป็นงานชิ้นสำคัญที่คงความสมดุลระหว่างอุดมคติของความงามในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและธรรมชาตินิยม.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และปีเอตะ (มีเกลันเจโล)

นักพรตหญิง

นจักรออร์โธดอกซ์ นักพรตหญิง (nun) คือสตรีที่ปฏิญาณอุทิศตนใช้ชีวิตเพื่อศาสนา อาจจะถือวัตรคล้ายนักพรตที่เลือกสละทางโลกแล้วหันไปใช้ชีวิตกับการอธิษฐานและการเพ่งพินิจ อาศัยในอารามหรือคอนแวนต์ "นักพรตหญิง" พบได้ทั้งในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน) ศาสนาเชน และศาสนาเต๋า ในศาสนาคริสต์คำว่า "นักพรตหญิง" และ "ภคินี" ใช้แทนหรือสลับกันได้เพราะถือว่ามีความหมายเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็ถูกจำแนกให้ต่างกันว่านักพรตหญิงคือนักบวชหญิงที่ใช้ชีวิตเป็นนักพรต อยู่แต่ภายในเขตพรต เน้นการเพ่งพินิจ การอธิษฐาน และการรำพึงธรรม ขณะที่ภคินีเป็นนักบวชหญิงที่เน้นนการอธิษฐาน การบริการผู้ยากไร้ เจ็บป่วย ยากจน และขาดการศึกษ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และนักพรตหญิง

นิกายในศาสนาคริสต์

นิกายในศาสนาคริสต์ (Christian denominations) คือการแบ่งสาขาของศาสนาคริสต์ตามแนวปรัชญาและหลักการปฏิบัติ ในแต่ละนิกาย (denomination) ก็แบ่งย่อยเป็นคริสตจักร (church) รายการข้างล่างนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และนิกายในศาสนาคริสต์

แมกซิมิเลียน คอลบี

อนุสาวรีย์ของคอลบีแห่งแรก ตั้งอยู่ในโปแลนด์ นักบุญแมกซิมิเลียน มาเรีย คอลบี (Maximilian Maria Kolbe, 8 มกราคม ค.ศ. 1894 - 14 สิงหาคม ค.ศ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และแมกซิมิเลียน คอลบี

แอนน์แห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

แอนน์แห่งเดนมาร์ก (Anne of Denmark; 12 ธันวาคม ค.ศ. 1574 — 2 มีนาคม ค.ศ. 1619) เป็นพระธิดาองค์ที่สองของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 แห่งเดนมาร์กและโซฟีแห่งเมคเลนบูร์ก-กึสโทร สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ เป็นพระมเหสีในพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ และที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ แอนน์แห่งเดนมาร์กเป็นพระราชินีแห่งสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และแอนน์แห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

แท่นบูชา

แท่นบูชา แท่นบูชา (altar) เป็นโต๊ะศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้วางสิ่งของที่ใช้ในพิธีมิสซาในคริสต์ศาสนสถาน ต้องจัดวางไว้ให้เด่นที่สุดในโบสถ์ และไม่ใช่เป็นโต๊ะวางสิ่งของจิปาถะ แท่นบูชาใช้วางผ้ารองศีล ผ้าเช็ดกาลิกส์ หนังสือมิสซา ถ้วยกาลิกส์ และแผ่นปัง แท่นบูชามีประโยชน์ใช้สอยทางสถาปัตยกรรมในฐานะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการประกอบพิธีกรรม และไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องประดับตกแต่งอาคาร บนแท่นบูชานี้ จะต้องจัดให้สามารถนำภาชนะศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ สำหรับภาคถวายมาวางไว้ได้อย่างสะดวกในเวลาประกอบพิธี เช่น จานรองศีล พร้อมแผ่นปัง กาลิกส์ที่มีเหล้าองุ่น นอกจากนี้ยังมีหนังสือพิธีมิสซา ไมโครโฟน และสิ่งอื่นเท่าที่จำเป็น แท่นบูชาไม่ใช่โต๊ะวางของ จึงควรมีเฉพาะสิ่งที่จำเป็นสำหรับภาคถวายเท่านั้น แท่นบูชาของคริสตชนในสมัยแรกเป็นโต๊ะไม้เคลื่อนที่ได้ ต่อมาเป็นแบบตั้งอยู่กับที่ และในจารีตละตินให้เป็นแบบทำศิลาหรือหินเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมของพระศาสนจักรที่รับสืบทอดกันมา และให้สอดคล้องกับ สัญลักษณ์จากพระคัมภีร์เกี่ยวกับแท่นบูชาจะต้องทำด้วยหิน และหินธรรมชาติด้วย ซึ่งแท่นหรือหินเป็นรูปแบบที่ชาวอิสราเอลใช้เป็นที่ถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้า แท่นบูชามี 2 แบบ คือ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และแท่นบูชา

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และโบสถ์คริสต์

โบสถ์น้อย

น้อยในประเทศเบลเยียม โบสถ์น้อย หรือ วัดน้อย (chapel) เป็นสิ่งก่อสร้างอิสระหรือโครงสร้างภายในสิ่งก่อสร้างของคริสต์ศาสนสถาน ถ้าเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระก็มีขนาดต่างๆ ตั้งแต่ใหญ่ขนาดมหาวิหารย่อย ๆ ไปจนถึงโบสถ์น้อยเล็ก ๆ ข้างทาง เช่นเดียวกับถ้าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างขนาดก็ขึ้นอยู่กับฐานะของผู้สร้าง โบสถ์น้อยที่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหาร, โบสถ์ใหญ่ ๆ, ปราสาท, วัง, คฤหาสน์, วิทยาลัย, โรงพยาบาล คุก หรือสุสาน บางครั้งโบสถ์น้อยที่สร้างในมหาวิหารจะสร้างเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น "โบสถ์น้อยแม่พระ" ที่มักจะสร้างเป็นโบสถ์น้อยที่อยู่ทางตะวันออกสุดของโบสถ์ หรือ "โบสถ์น้อยศีลศักดิ์สิทธิ์" ที่ตั้งติดกับโบสถ์และใช้เป็นที่เก็บไวน์ และขนมปังที่ใช้ในพิธีศีลมหาสนิท ถ้าโบสถ์น้อยมีขนาดค่อนข้างเล็กที่สร้างเป็นคูหาภายในทางด้านข้างหรือทางด้านหลังของมหาวิหารหรือโบสถ์ก็อาจจะเรียกว่า "คูหาสวดมนต์" ความหมายเป็นนัยยะของโบสถ์น้อยคือเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นส่วนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่ใช่สถาบันศาสนา เช่น โบสถ์น้อยของปราสาท หรือโบสถ์น้อยส่วนตัวภายในมหาวิหารเป็นต้น.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และโบสถ์น้อย

โบสถ์น้อยซิสทีน

“พระยาห์เวห์ทรงสร้างอาดัม” ''God creates Adam'' โดย มีเกลันเจโลหลังจากการปฏิสังขรณ์ สมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 4 โบสถ์น้อยซิสทีน (Sistine Chapel; Cappella Sistina) เป็นโบสถ์น้อยภายในพระราชวังพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการของพระสันตะปาปาในนครรัฐวาติกัน โบสถ์น้อยซิสทีนมึชื่อเสียงในทางสถาปัตยกรรมเพราะเป็นสถานที่ที่ทำให้ระลึกถึงพระวิหารของพระเจ้าโซโลมอนในพันธสัญญาเดิม, การตกแต่ง, จิตรกรรมฝาผนังโดยจิตรกรผู้มีชื่อเสียงในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยารวมทั้งมีเกลันเจโลผู้วาดเพดานของโบสถ์จนที่เป็นที่เลื่องลือ และสุดท้ายคือความสำคัญในการเป็นสถานที่ทำการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และโบสถ์น้อยซิสทีน

โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์

รงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ (Joseph Upatham School) อักษรย่อ ยอ.(JS) เป็นโรงเรียนคาทอลิกสังกัดฝ่ายการศึกษามิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์

โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์

รงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ตั้งอยู่บนถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก เป็นโรงเรียนสตรีและคอนแวนต์ของคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร จากประเทศฝรั่งเศส ที่เข้ามาเผยแพร่ธรรมและช่วยส่งเสริมงานพัฒนาสังคมไทยด้านการศึกษา การรักษาพยาบาลและการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ยากไร้.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์

โรซาแห่งลิมา

นักบุญโรซาแห่งลิมา (Santa Rosa de Lima) เป็นชาวสเปนในนิคมกรุงลิมา เขตอุปราชแห่งเปรู ในจักรวรรดิสเปน สมาชิกคณะชั้นสามของนักบุญดอมินิก มีชื่อเสียงจากการบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างเข้มงวด และเป็นคนแรกที่เกิดในทวีปอเมริกาที่ได้รับการประกาศเป็นนักบุญในคริสตจักรโรมันคาทอลิก.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และโรซาแห่งลิมา

โดเมนีโก ซาวีโอ

มนีโก ซาวีโอ (Domenico Savio; 2 เมษายน..) หรือ นักบุญดอมินิก ซาวีโอ เป็นเยาวชนชาวอิตาลี ศิษย์นักบุญโจวันนี บอสโก ถึงแก่มรณกรรมตั้งแต่อายุเพียง 14 ปี ต่อมาได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 นับเป็นนักบุญที่อายุน้อยที่สุดที่ไม่ใช่มรณสักขีในคริสตจักรโรมันคาทอลิก.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และโดเมนีโก ซาวีโอ

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และโปรเตสแตนต์

เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช

ระคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นพระคาร์ดินัลชาวไทยองค์ที่สอง ชาวกรุงเทพมหานคร เคยดำรงตำแหน่งมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกนครสวรรค์ ต่อมาได้เข้ารับตำแหน่งอัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ สืบต่อจากพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ในวันสมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม..

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช

เหตุระเบิดในอเล็กซานเดรีย พ.ศ. 2554

หตุระเบิดในอเล็กซานเดรี..

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และเหตุระเบิดในอเล็กซานเดรีย พ.ศ. 2554

เอกเทวนิยม

อกเทวนิยมราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 364 (Monotheism มาจากภาษาμόνος, monos - เดียว, และ θεός, theos - เทพ) คือความเชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าเป็นเทวดาองค์เดียว หรือความเชื่อว่าพระเป็นเจ้าเป็นหนึ่งเดียว (ไม่ทรงแบ่งภาค) แนวคิดเอกเทวนิยมแบบบริสุทธิ์พบในศาสนายูดาห์และศาสนาอิสลาม ส่วนแบบอ่อนพบในศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่ ลัทธิซาเบียน นิกายมอรมอน และศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาบาไฮ ศาสนาซิกข์ และศาสนาฮินดูในบางสำนัก.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และเอกเทวนิยม

เทศกาลมหาพรต

ผ้าคลุมไม้กางเขนที่โบสถ์แห่งหนึ่งในประเทศเยอรมนี เทศกาลมหาพรต (คาทอลิก) หรือเทศกาลเข้าสู่ธรรม (โปรเตสแตนต์) ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 314-5 (Lent; Quadragesima แปลว่า ที่สี่สิบ เว็บไซต์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ) เป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญของศาสนาคริสต์ เริ่มต้นจากวันพุธรับเถ้าและสิ้นสุดวันอีสเตอร์ รวม 40 วัน โดยเทศกาลนี้มีไว้เพื่อระลึกถึงพระทรมานและการคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ โดยกิจที่คริสต์ศาสนิกชนปฏิบัติในช่วงนี้คือการอธิษฐาน การบริจาคสิ่งของ การอดอาหาร และการไม่ฟุ่มเฟือย ทั้งนี้ระยะเวลา 40 วันมีความสำคัญเนื่องจากเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลมีความเกี่ยวข้องกับตัวเลข 40 ไม่ว่าจะเป็น การบำเพ็ญเพียรอดอาหารของพระเยซูเป็นเวลา 40 วัน โมเสสอยู่บนเขากับพระเจ้า 40 วัน เกิดน้ำท่วมโลกในสมัยโนอาห์ 40 วัน และการอพยพของชาวยิวเข้าสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญาก็ใช้เวลายาวนานถึง 40 ปี อย่างไรก็ดีเมื่อนับวันจริง ๆ แล้วจะเป็น 46 วัน เนื่องจากชาวคริสต์จะไม่จำศีลอดอาหารในวันอาทิตย์ จึงเหลือเพียง 36 วันและต้องเพิ่มวันจำศีลอีก 4 วันให้ครบ 40 วัน เทศกาลมหาพรตจึงเลื่อนมาเริ่มในวันพุธ (วันพุธรับเถ้า) ต่างกับเทศกาลอื่น ๆ ที่เริ่มจากวันอาทิตย์แรกธรรมเนียมนี้ปฏิบัติกันในเฉพาะฝั่งศาสนาคริสต์ตะวันตก ส่วนในศาสนาคริสต์ตะวันออกจะเริ่มต้นวันจันทร์ เรียกว่า "วันจันทร์สะอาด" (Clean Monday) เว็บไซต์คริสตจักรวัฒนา ชาวคริสต์หมู่มากฉลองเทศกาลนี้ (เช่น โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และแองกลิคัน) ขณะที่บางกลุ่มเริ่มให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้มากขึ้น (เช่น คริสตจักรแบปทิสต์).

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และเทศกาลมหาพรต

เครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์

ในนิกายโรมันคาทอลิกนั้น มีพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ ในพิธีกรรมนี้จะประกอบด้วยสิ่งของหรือสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องประกอบพิธีกรรมทางคริสต์ศาสนา เช่น สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ประกอบพระวาจา สถานที่สำหรับนักขับ แท่นบูชา ตู้ศีล กำยาน น้ำเสก น้ำมัน รูปภาพ-รูปปั้น ฯลฯ แต่ละอย่างในพิธีกรรมนั้น มีความเป็นมาและความหมายแตกต่างกันไป.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และเครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์

Mass

Mass หรือ mass เป็นคำในภาษาอังกฤษหมายถึง.

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และMass

Xmas

การโฆษณาคำว่า "Xmas" ในปี ค.ศ. 1922 Xmas (/ˈɛksməs/; หรืออาจเขียนว่า X'mas) เป็นคำย่อซึ่งใช้กันโดยทั่วไปของคำว่า "คริสต์มาส" คำว่า "-มาส" มาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งนำมาจากภาษาละตินอีกทีหนึ่ง หมายถึง "มิสซา" ส่วนตัวอักษร "X" ใน Xmas มาจากตัวอักษรกรีก ไค ซึ่งเป็นตัวอักษรตัวแรกของคำในภาษากรีก Χριστός ซึ่งมีความหมายว่า "คริสต์".

ดู พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์และXmas

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Mass (liturgy)มิสซาศีลมหาสนิทบูชามิสซา

คณะประสานเสียงเด็กชายแห่งเวียนนาฉากกางเขนฉากแท่นบูชาเมรอดประวัติศาสตร์ติมอร์-เลสเตประเทศอิตาลีประเทศติมอร์-เลสเตปีพิธีกรรมปีเอตะ (มีเกลันเจโล)นักพรตหญิงนิกายในศาสนาคริสต์แมกซิมิเลียน คอลบีแอนน์แห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษแท่นบูชาโบสถ์คริสต์โบสถ์น้อยโบสถ์น้อยซิสทีนโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์โรซาแห่งลิมาโดเมนีโก ซาวีโอโปรเตสแตนต์เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิชเหตุระเบิดในอเล็กซานเดรีย พ.ศ. 2554เอกเทวนิยมเทศกาลมหาพรตเครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์MassXmas