สารบัญ
8 ความสัมพันธ์: พิสัยการได้ยินกรุสมบัติวาฬมีฟันสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเลความหลากหลายทางชีวภาพในเบอร์มิวดาโลมาโลมาหัวบาตรหลังเรียบโลมาแม่น้ำ
พิสัยการได้ยิน
ัยการได้ยิน (Hearing range) หมายถึงพิสัยความถี่เสียงที่มนุษย์หรือสัตว์อื่น ๆ ได้ยิน แม้ก็อาจหมายถึงระดับความดังเสียงได้ด้วยเหมือนกัน มนุษย์ปกติจะได้ยินในพิสัยความถี่ 20-20,000 เฮิรตซ์ (Hz) แต่ก็จะต่างไปตามบุคคลพอสมควรโดยเฉพาะเสียงความถี่สูง และการสูญความไวเสียงความถี่สูงอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามอายุก็เป็นเรื่องปกติ ความไวต่อความถี่ต่าง ๆ แม้ในบุคคลก็ยังไม่เท่ากันอีกด้วย (ดูหัวข้อ เส้นชั้นความดังเสียงเท่า) มีสัตว์หลายอย่างที่สามารถได้ยินเสียงเกินพิสัยของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น โลมาและค้างคาวสามารถได้ยินเสียงสูงจนถึง 100,000 Hz ช้างสามารถได้ยินเสียงต่ำจนถึง 14-16 Hz ในขณะที่วาฬบางชนิดสามารถได้ยินเสียงต่ำในน้ำจนถึง 7 Hz.
กรุสมบัติ
กรุสมบัติ (Treasure trove) อาจจะมีความหมายอย่างกว้างๆ ว่าเป็นก้อนสมบัติที่รวมทั้งทอง, เงิน, อัญมณี, เงินตรา หรือสิ่งของมีค่าอื่นๆ ที่ฝังเอาไว้ใต้ดิน หรือ ห้องใต้หลังคา หรือ ห้องใต้ดิน ที่ต่อมามาขุดพบ สมบัติที่อยู่ในข่ายนี้สรุปว่าเป็นสมบัติเก่าแก่ที่เจ้าของเดิมเสียชีวิตไปแล้วและไม่อาจจะหาทายาทได้ แต่กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า “กรุสมบัติ” และวิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่พบแตกต่างกันไปแล้วแต่ประเทศ และ แล้วแต่ยุคสมัย นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้เป็นคำอุปมาอีกด้วย เช่นงานเขียนที่เป็นการรวบรวมเรื่องต่างๆ ก็อาจจะใช้ชื่อคำว่า “กรุสมบัติ” นำหน้าเช่น “กรุสมบัติแห่งวิทยาศาสตร์” นอกจากนั้นก็ยังเป็นที่นิยมกันในการตั้งชื่อวรรณกรรมสำหรับเยาวชนเมื่อต้นถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20.
วาฬมีฟัน
ฟันของวาฬสเปิร์ม ซึ่งเป็นวาฬมีฟันที่มีขนาดใหญ่ที่สุด วาฬมีฟัน (Toothed whales) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในน้ำทั้งทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดบ้างบางส่วน เป็นอันดับย่อยของอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ใช้ชื่ออันดับย่อยว่า Odonceti (/โอ-ดอน-โต-เซ-เตส/) วาฬมีฟันนั้นประกอบไปด้วยวาฬและโลมา เป็นสัตว์กินเนื้อ ด้วยการไล่ล่าสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น ปลา รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลบางจำพวก เช่น สิงโตทะเล หรือแมวน้ำ ได้ในบางชนิด ขณะที่บางชนิดกินสัตว์มีเปลือกแข็งอย่าง หอย หรือครัสเตเชียน ได้ด้วย มีขนาดลำตัวเล็กกว่าวาฬไม่มีฟันมาก วาฬมีฟัน บางชนิดมีฟันเพียง 2-3 ซี่ แต่ส่วนมากจะมีฟันแข็งแรงเรียงเป็นแถวทั้งขากรรไกรบนและล่าง โดยวาฬมีฟันที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ วาฬสเปิร์ม ที่มีความยาวได้ถึง 60 ฟุต มีรูปร่างคล้ายลูกอ๊อดขนาดใหญ่ มีหัวเป็นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่มากที่ภายในมีไขมันและน้ำมันอยู่เป็นจำนวนมาก วาฬสเปิร์มสามารถดำน้ำได้ลึกและกินหมึกเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างหมึกยักษ์ ขณะที่วาฬมีฟันที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ โลมาลาพลาตา อาศัยอยู่ตามแถบชายฝั่ง, ปากแม่น้ำ ของทวีปอเมริกาใต้ฝั่งแอตแลนติก ที่มีความยาวเต็มที่ไม่ถึง 2 เมตร นับเป็นสัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกด้วย วาฬเพชฌฆาต หรือวาฬออร์กา นับเป็นวาฬมีฟันที่มีลำตัวยาวประมาณ 30 ฟุต เป็นวาฬที่มีศักยภาพในการไล่ล่าสูง โดยจะทำการล่าเป็นฝูงและสามัคคีกัน ซึ่งวาฬเพชฌฆาตนอกจากจะล่าปลาขนาดเล็กกินเป็นอาหารด้วยแล้ว ยังอาจจะกินปลาขนาดใหญ่และเป็นอันตรายอย่าง ปลาฉลามขาว รวมถึงสัตว์เลือดอุ่นทะเล เช่น นกทะเล, นกเพนกวิน, แมวน้ำ, สิงโตทะเล หรือแม้แต่วาฬหรือโลมาด้วยกันเป็นอาหารได้ด้วยวาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518) วาฬีมีฟันชนิดหนึ่ง คือ นาร์วาล เป็นวาฬที่อาศัยอยู่เป็นฝูงเฉพาะมหาสมุทรอาร์กติกในแถบขั้วโลกเหนือ มีลักษณะเฉพาะ คือ มีฟันที่แปลก วาฬนาร์วาลจะมีฟัน 2 ซี่เมื่อแรกเกิด แต่นาร์วาลตัวผู้เมื่อเจริญเติบโตขึ้นฟันข้างซ้ายจะยาวไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งกลายเป็นสิ่งที่แหลมยาวเหมือนงาช้างหรือเขาสัตว์ ลักษณะม้วนเป็นเกลียวที่ยาวได้ถึง 3 เมตร (10 ฟุต) เหมือนยูนิคอร์น ในเทพปกรณัมกรีก ซึ่งนาร์วาลจะใช้เขาแหลมนี้ในการเจาะเซาะน้ำแข็งในการว่ายน้ำ รวมถึงใช้ต่อสู้ป้องกันตัวและแย่งชิงตัวเมียด้วย ซึ่งตัวเมียจะมีเขานี้เพียงสั้น ๆ รวมถึงใช้ขุดหาอาหารตามพื้นน้ำเป็นอาหาร ส่วนใหญ่ได้แก่ ปลาลิ้นหมา และครัสเตเชียน และหอยต่าง ๆ มนุษย์จะใช้ประโยชน์จากวาฬมีฟันด้วยการใช้ฟันและเขี้ยวแกะสลักมาแต่โบราณ นับเป็นของหายาก ล้ำค่า ขณะที่เขาของนาร์วาล ในอดีตมีความเชื่อว่าเป็นเขาของยูนิคอร์นจริง ๆ ถือเป็นของล้ำค่าและเป็นเครื่องประดับที่มีร.
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเล
ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเล (Marine mammals) คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่อาศัยอยู่ในทะเลหรืออาศัยอยู่ใกล้ทะเล โดยสัตว์ในกลุ่มนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 129 ชนิด (Species) ตัวอย่างของสัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ แมวน้ำ วาฬ โลมา วอลรัส หมีขั้วโลก ฯลฯPompa, S., Ehrlich, P.
ดู พอร์พอยส์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเล
ความหลากหลายทางชีวภาพในเบอร์มิวดา
ต้นซีดาร์เบอร์มิวดา ในเขตชานเมืองของแฮมิลตัน พืชและสัตว์ของเบอร์มิวดาเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่มีลักษณะเฉพาะ เนื่องจากการแยกเบอร์มิวดาจากแผ่นดินใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือ ความหลากหลายของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและหมู่เกาะในรูปแบบเขตภูมินิเวศที่ต่างกัน นั่นคือ ป่าสนเบอร์มิวดากึ่งเขตร้อน.
ดู พอร์พอยส์และความหลากหลายทางชีวภาพในเบอร์มิวดา
โลมา
ลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ทั้งในทะเล, น้ำจืด มีรูปร่างคล้ายปลา คือ มีครีบ มีหาง แต่โลมามิใช่ปลา เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก จัดอยู่ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ซึ่งประกอบไปด้วย วาฬและโลมา ซึ่งโลมาจะมีขนาดเล็กกว่าวาฬมาก และจัดอยู่ในกลุ่มวาฬมีฟัน (Odontoceti) เท่านั้น โลมา เป็นสัตว์ที่รับรู้กันเป็นอย่างดีว่าเฉลียวฉลาด มีความเป็นมิตรกับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยชีวิตมนุษย์เมื่อยามเรือแตก จนกลายเป็นตำนานหรือเรื่องเล่าขานทั่วไป มีอุปนิสัยอยู่รวมกันเป็นฝูง บางฝูงอาจมีจำนวนมากถึงหลักพันถึงหลายพันตัว ว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว รวมถึงสามารถกระโดดหมุนตัวขึ้นเหนือน้ำได้ ชอบว่ายน้ำขนาบข้างหรือว่ายแข่งไปกับเรือวาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518).
โลมาหัวบาตรหลังเรียบ
ลมาหัวบาตรหลังเรียบ หรือ โลมาหัวบาตรไร้ครีบหลัง (Finless porpoise, 江猪, พินอิน: Jiāng zhū-หมูแม่น้ำ) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์พอร์พอยส์ (Phocoenidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Neophocaena แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) เป็นสัตว์ที่สืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันแล้วประมาณ 20 ล้านปี มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับโลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง (Orcaella brevirostris) คือ มีส่วนหัวกลมหลิมเหมือนบาตรพระไม่มีจะงอยปาก แต่ส่วนหลังเรียบไม่มีครีบหลัง ครีบข้างค่อนข้างใหญ่ปลายแหลม และลักษณะฟันในปากจะเป็นตุ่ม ไม่แหลมคม อันเป็นลักษณะเฉพาะของโลมาในวงศ์พอร์พอย์ ซึ่งทั่วโลกพบอยู่ 6 ชนิด ในประเทศไทยพบเพียงชนิดนี้ชนิดเดียว มีขนาดโตเต็มที่ยาว 1.9 เมตร ลูกแรกเกิดยาว 70–80 เซนติเมตร ในน่านน้ำไทยสามารถได้ทุกจังหวัดที่ติดกับทะเล โดยพบมากที่สุดในฝั่งอ่าวไทย คือ ทะเลแถบจังหวัดตราด และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 เหมือนกับวาฬและโลมาชนิดอื่น ๆ ในประเทศจีน โลมาหัวบาตรหลังเรียบ เป็นโลมาเพียง 1 ใน 2 ชนิด นอกจากโลมาแม่น้ำแยงซีเกียง (Lipotes vexillifer) หรือไป๋จี๋ ที่สามารถพบได้ในแม่น้ำแยงซีเกียง โดยมีชื่อเล่นจากชาวจีนว่า "หมูแม่น้ำ" หรือ"แพนด้าแม่น้ำ" เป็นสัตว์ที่อยู่ในฐานะหวั่นวิตกว่าจะสูญพันธุ์ เนื่องจากมลภาวะสภาพแวดล้อม จากการประเมินพบว่าปัจจุบันหลงเหลือเพียงพันกว่าตัวเท่านั้น ซึ่งทุกปีจะมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็วถึงร้อยละ 5–10 ต่อปี.
ดู พอร์พอยส์และโลมาหัวบาตรหลังเรียบ
โลมาแม่น้ำ
ำหรับโลมาน้ำจืดชนิดอื่น ดูที่: โลมาน้ำจืด โลมาแม่น้ำ หรือ โลมาน้ำจืด (River dolphin, Freshwater dolphin) เป็นวงศ์ใหญ่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มหนึ่ง ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ในกลุ่มโลมา ใช้ชื่อวงศ์ใหญ่ว่า Platanistoidea ซึ่งแยกออกเป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้อีก นับเป็นสัตว์เพียงจำพวกเดียวในอันดับวาฬและโลมานี้เท่านั้นที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดได้อย่างแท้จริง โลมาแม่น้ำ มีลักษณะส่วนใหญ่เหมือนกับโลมาทั่วไป หรือโลมาทะเล มีความยาวเต็มที่ประมาณ 2.4 เมตร (8 ฟุต) มีสีลำตัวหลากหลายตั้งแต่ ชมพู, ขาว, เหลือง, น้ำตาล และดำ Rice, D.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ PhocoenidaePorpoiseวงศ์พอร์พอยส์