เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พลังงานเสรีของกิ๊บส์

ดัชนี พลังงานเสรีของกิ๊บส์

พลังงานเสรีของกิ๊บส์ (Gibbs Free Energy) เป็น state funtion ตัวหนึ่งที่ ไม่สามารถวัดค่าได้แน่นอน แต่สามารถวัดค่าความเปลี่ยนแปลงได้ โดย ที่พลังงานเสรีกิบส์จะ ทำให้สามารถอธิบายได้ว่า ปฏิกิริยานั้นเกิดขึ้นเองได้หรือไม่ (อธิบายว่าเกิดเองได้หรือไม่ได้ แต่ไม่ได้อธิบายว่าเกิดขึ้นเร็ว หรือเกิดขึ้นช้า) โดยที่ถ้า มีค่าเป็น - คือ สามารถเกิดขึ้นเองได้ ถ้ามีค่าเป็น + คือ ไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ และ ถ้ามีค่าเป็น 0 คือ ปฏิกิริยานั้น เกิดการผันกลับได้ (เกิดสมดุลของสมการ) พลังงานเสรีของกิ๊บส์ หาได้จาก การเปลี่ยนแปลงความร้อนของปฏิกิริยา ลบด้วย อุณหภูมิในหน่วยองศาเคลวินคูณกับการเปลี่ยนแปลงเอนโทรปี (ความไม่เป็นระเบียบของระบบ ถ้ามีค่าสูงแสดงว่าระบบเกิดปฏิกิริยาได้ดี) ของระบบ หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์ หมวดหมู่:อุณหพลศาสตร์.

สารบัญ

  1. 5 ความสัมพันธ์: การเกาะกันทางโมเลกุลภาวะมาตรฐานมอเตอร์โมเลกุลอุณหพลศาสตร์ความคล้ายคลึงทางเคมี

การเกาะกันทางโมเลกุล

การเกาะกันทางโมเลกุล (Molecular Binding) เป็นปฏิสัมพันธ์แบบดึงดูดระหว่างโมเลกุล 2 โมเลกุล และเป็นผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างของโมเลกุลเสถียรและระยะห่างของทั้งสองโมเลกุลสั้นลง การเกาะกันทางโมเลกุลจะก่อให้เกิด โมเลกุลาร์คอมเพล็กซ์ (molecular complex).

ดู พลังงานเสรีของกิ๊บส์และการเกาะกันทางโมเลกุล

ภาวะมาตรฐาน

ในวิชาเคมี ภาวะมาตรฐาน ของสสารบริสุทธิ์ สารผสม หรือสารละลาย เป็นจุดอ้างอิงที่ใช้สำหรับการคำนวณคุณสมบัติของสารนั้นภายใต้สภาวะที่แตกต่างกัน ซึ่งโดยหลักการแล้ว ตัวเลือกของภาวะมาตรฐานสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถึงแม้ว่า สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (IUPAC) จะแนะนำว่าให้ใช้ภาวะมาตรฐานทั่วไปในการคำนวณ IUPAC แนะนำให้ใช้ความดันมาตรฐาน po.

ดู พลังงานเสรีของกิ๊บส์และภาวะมาตรฐาน

มอเตอร์โมเลกุล

มอเตอร์โมเลกุล (Molecular motor) คือชีวจักรกลโมเลกุลอันเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นต่อการเคลื่อนไหวในระบบต่างๆของสิ่งมีชีวิต อาจอธิบายได้ด้วยหลักการทำงานของมอเตอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่บริโภคพลังงานอย่างหนึ่งเข้าไปและเปลี่ยนพลังงานเหล่านั้นเป็นการเคลื่อนไหวเชิงกล มอเตอร์โมเลกุลถูกสร้างขึ้นจากโมเลกุลจำนวนมากที่มีฐานจากโปรตีน มอเตอร์โมเลกุลเหล่านี้จะไปควบคุมพลังงานเสรีทางเคมีซึ่งถูกปล่อยมาจากปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส (Hydrolysis) ของATP เพื่อเปลี่ยนรูปพลังงานเสรีเหล่านั้นเป็นการเคลื่อนไหวเชิงกล มอเตอร์ตัวจิ๋วเหล่านี้มีประสิทธิภาพเทียบเท่าได้กับมอเตอร์หรือเครื่องยนต์อุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างมอเตอร์โมเลกุลกับมอเตอร์อุตสาหกรรมคือการที่มอเตอร์โมเลกุลต้องทำงานอยู่ในแหล่งสะสมพลังงานความร้อน (Thermal reservoir) หรือก็คือต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสม ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากมอเตอร์โมเลกุล อาทิใน..

ดู พลังงานเสรีของกิ๊บส์และมอเตอร์โมเลกุล

อุณหพลศาสตร์

แผนภาพระบบอุณหพลศาสตร์ทั่วไป แสดงพลังงานขาเข้าจากแหล่งความร้อน (หม้อน้ำ) ทางด้านซ้าย และพลังงานขาออกไปยังฮีทซิงค์ (คอนเดนเซอร์) ทางด้านขวา ในกรณีนี้มีงานเกิดขึ้นจากการทำงานของกระบอกสูบ อุณหพลศาสตร์ (/อุน-หะ-พะ-ละ-สาด/ หรือ /อุน-หะ-พน-ละ-สาด/) หรือ เทอร์โมไดนามิกส์ (Thermodynamics; มาจากภาษากรีก thermos.

ดู พลังงานเสรีของกิ๊บส์และอุณหพลศาสตร์

ความคล้ายคลึงทางเคมี

วามคล้ายคลึงทางเคมี (chemical affinity) หมายถึง คุณสมบัติทางอิเล็กตรอนที่สารเคมีต่างชนิดกันสามารถรวมกันเป็นสารประกอบได้ อย่างไรก็ตามหนังสือ Thermodynamics and the Free Energy of Chemical Reactions ของ Gilbert N.

ดู พลังงานเสรีของกิ๊บส์และความคล้ายคลึงทางเคมี