โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระโพธิสัตว์

ดัชนี พระโพธิสัตว์

ระปรัชญาปารมิตา ชวา ศิลปะศรีวิชัย พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ศิลปะขอม วัดโทได พระโพธิสัตว์ (बोधिसत्त्व bodhisattva; बोधिसत्त bodhisatta) หมายถึง ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คำว่า "โพธิสัตว์" แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานเชื่อว่ามีพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก แต่รายละเอียดความเชื่อแตกต่างกันไป.

110 ความสัมพันธ์: ชาวแมนจูชาดกชินโตชูชก กัณหา ชาลีช้างเผือกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพระพรหม (ศาสนาพุทธ)พระพุทธสิกขีทศพลที่ 1พระพุทธเจ้าพระกษิติครรภโพธิสัตว์พระมหาชนกพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์พระมัญชุศรีโพธิสัตว์พระมังคลพุทธเจ้าพระยมพระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้าพระรัตนปาณีโพธิสัตว์พระราชลัญจกรประจำรัชกาลพระวัชรปาณีโพธิสัตว์พระวิศวปาณีโพธิสัตว์พระวิหารบาลโพธิสัตว์พระศรีอริยเมตไตรยพระสมันตภัทรโพธิสัตว์พระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคตพระสัทธรรมวิทยาตถาคตพระสุมังคลสัมพุทธเจ้าพระสุมนพุทธเจ้าพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์พระจุนทีโพธิสัตว์พระธยานิพุทธะพระทีปังกรพุทธเจ้าพระปัทมปาณิโพธิสัตว์พระปทุมพุทธเจ้าพระนารทพุทธเจ้าพระนารทสัมพุทธเจ้าพระนางวสุนธาราโพธิสัตว์พระนางตาราพระแม่องค์ธรรมพระโสภิตพุทธเจ้าพระเจ้าอลองพญาพระเจ้าอลองสิธูพระเจ้าจั่นซิตาพระเครื่องกวนอิมกุสินาราญิงมามหายานมหาสังฆิกะมหาเวสสันดรชาดกมารีจี...รายพระนามเทวดาจีนรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยรายนามพระโพธิสัตว์ลัทธิบัวขาววัชรปรัชญาปารมิตาสูตรวัดบำเพ็ญจีนพรตวัดพระบาทน้ำพุวัดพระธาตุปูแจวัดหว่องไท่ซิน (ฮ่องกง)วัดถ้ำคีรีวิหารวัดถ้ำเขาสายวัดโทไดวัดไผ่โรงวัววิทยาราชศาสนาพุทธแบบทิเบตศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นศาสนาพุทธในประเทศอัฟกานิสถานศาสนาพุทธในประเทศอินโดนีเซียศาสนาพุทธในประเทศเซเนกัลศาสนาฮินดูแบบบาหลีศานติเทวะสัทธรรมปุณฑรีกสูตรสุชาดา ธิดาของเสนานีกุฎุมพีสุขาวดีสุขาวดี (นิกาย)หลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกันหีนยานอวตารอสงไขยอะซะกุซะอาณาจักรอยุธยาจตุคามรามเทพธรรมบาลทศภูมิทะไลลามะ องค์ที่หนึ่งทิก กว๋าง ดึ๊กท้าวสันดุสิตดุสิตความรักคากูเระคิริชิตังคุยหลัทธิฉกามาพจรประพจน์ อัศววิรุฬหการประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมประวัติศาสนาพุทธประติมากรรมไทยประเทศกัมพูชาปรัชญาปารมิตาปัญญาสชาดกปางมหาภิเนษกรมณ์ปางทรงตัดเมาลีปางประสูติโพธิสัตว์โพธิจิตไดโงะฮนซงไตรโลกยวิชยะเบญจศีลเทศกาลกินเจเทียนไถเดรัจฉาน ขยายดัชนี (60 มากกว่า) »

ชาวแมนจู

แมนจู (แมนจู:; หม่านจู๋) เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในประเทศจีนและผู้คนจากดินแดนแมนจูเรียได้ใช้ชื่อดินแดนเป็นชื่อเรียกชนเผ่าของตนเอง ชาวแมนจูเป็นกลุ่มสาขาที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มชาวตุงกูซิกที่ใช้ภาษากลุ่มตุงกูซิกและได้อาศัยกระจัดกระจายทั่วประเทศจีน ถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของประเทศจีน ชาวแมนจูได้อาศัยและพบได้ใน 31 จังหวัดของจีน โดยเฉพาะในดินแดนแมนจูเรีย เหลียวหนิงถือได้ว่าเป็นดินแดนที่มีประชากรแมนจูเยอะที่สุด ส่วนเหอเป่ย, เฮย์หลงเจียง, จี๋หลิน, มองโกเลียในและปักกิ่ง มีประชากรแมนจู 100,000 คนอาศัยอยู่ ประมาณครึ่งของประชากรอาศัยอยู่ในเหลียวหนิงและ 1 ใน 5 อยู่ที่เหอเป่ย์ นอกจากนี้ยังมีชาวแมนจูอาศัยอยู่ในประเทศรัสเซียอันได้แก่ ดินแดนปรีมอร์สกี บางส่วนของดินแดนฮาบารอฟสค์และแคว้นอามูร์ ประวัติโดยสังเขปของชาวแมนจูนั้น ในทัศนคติของชาวฮั่น ถือได้ว่าเป็นชนกลุ่มน้อยเร่ร่อนหรือคนป่าเถื่อน ชาวแมนจูได้สืบเชื้อสายมาจากชาวหนี่เจิน (Jurchen; 女真) ที่ซึ่งได้สถาปนาราชวงศ์จินตอนแรกขึ้นทางตอนเหนือของจีน ในช่วง..

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และชาวแมนจู · ดูเพิ่มเติม »

ชาดก

ก (-saजातक) คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก ชาดกที่ทรงเล่านั้นมีหลายร้อยเรื่อง ว่าทรงเคยเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บ้าง แต่ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ 10 ชาติสุดท้ายที่เรียกว่าทศชาติชาดก และชาติสุดท้ายที่สุดที่ทรงเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร จึงเรียกเรื่องพระเวสสันดรนี้ว่า มหาเวสสันดรชาดก.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และชาดก · ดูเพิ่มเติม »

ชินโต

ทะริอิ ที่ ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชินโต ชินโต เป็นลัทธิตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น คำว่า ชินโต มาจากตัวอักษรจีน หรือคันจิ 2 ตัวรวมกัน คือ ชิน หมายถึงเทพเจ้า (ภาษาจีน: 神, พินอิน: shén, เสิน) และ โต หมายถึงวิถีทางหรือศาสตร์วิชา (ภาษาจีน: 道, พินอิน: dào, เต้า) หรือ เต๋า ในลัทธิเต๋านั่นเอง เมื่อรวมกันแล้ว จะหมายถึงศาสตร์แห่งเทพเจ้า หรือวิถีแห่งเทพเจ้า นั่นเอง ชินโตของญี่ปุ่นมีตำนานความเชื่อว่า เทพเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งในป่า บนภูเขา ทะเล แม่น้ำ ลำธาร ในสายลม แม้แต่ในบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาในธรรมชาติที่ที่มีความบริสุทธิ์ล้วนเป็นที่สถิตของเทพเจ้าได้ทั้งสิ้น จึงมีคำที่ว่า "เทพแปดล้านองค์" เป็นการรวมคำเพื่อแสดงว่ามีทวยเทพอยู่มากมาย ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถือให้เป็นลัทธิความเชื่อพื้นเมืองประจำประเทศญี่ปุ่น พิธีกรรมของลัทธิชินโตนี้มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งศาสนาพุทธ และ ลัทธิขงจื๊อ กับ ลัทธิเต๋า รวมทั้งภายหลัง ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ได้เริ่มให้เข้ามาในดินแดนญี่ปุ่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 พิธีกรรมของลัทธิชินโตได้ถูกบันทึกและบัญญัติเป็นครั้งแรกในคัมภีร์โคะจิคิ และจดหมายเหตุนิฮงโชะกิ ในศตวรรษที่ 8 เพื่อตอบโต้ศาสนาที่มีระดับความพัฒนามากกว่าจากแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานเขียนในยุคแรกๆก็ยังมิได้บ่งบอกว่าเป็น ลัทธิชินโต แต่งานเขียนในสมัยต่อมาก็ได้บ่งชี้อย่างชัดเจน พร้อมขนบธรรมเนียบของสังคมเกษตรกรรมและเทศกาลประจำปีเข้าไปด้วย รวมไปถึงความเชื่อเรื่องเทพปกรณัมและการกำเนิดโลกต่าง ๆ ซึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดของชนชาติญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะหมายถึงเชื้อสายยะมะโตะ และอิสึโมะ ในสมัยนั้น พุทธศาสนาได้แพร่จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่น และมีผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม อย่างเช่น ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในลัทธิชินโตและความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถูกจัดให้เป็นลัทธิบูชาเทพเจ้าหลายองค์ หรือ พหุเทวนิยม และลัทธิบูชาภูตผีวิญญาณ ที่เน้นความบริสุทธิ์ของพิธีกรรมเป็นอย่างมาก รวมถึงยกย่องเกียรติและความมีตัวตนของเทพเจ้า ซึ่งมีทั้งเทพเจ้าที่มีมาจากการยกบุคคลให้เป็นเทพ หรือการบูชาธรรมชาติ และเทพเจ้ายังสามารถมีลูกได้ด้วย ลัทธิชินโตเป็นลัทธิที่ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมทางศาสนาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่จะทำให้ศาสนิกชนเข้าถึงและเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้าได้มากที่สุด ลัทธิชินโตยุคใหม่ไม่มีสถาบันที่ที่ยกตัวเป็นผู้ควบคุมส่วนกลาง มีเพียงแต่กลุ่มคนที่พยายามรักษาวิถีปฏิบัติของลัทธิชินโตมาตั้งแต่สมัยบรรพกาลจนถึงปัจจุบัน ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งในปัจจุบันชินโตเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยที่ยังเห็นได้ในปัจจุบันได้แก่ โอมิคุจิ (การดึงฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต) และการเฉลิมฉลอง งานปีใหม่ญี่ปุ่น ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และชินโต · ดูเพิ่มเติม »

ชูชก กัณหา ชาลี

ูชก กัณหา ชาลี เป็นภาพยนตร์ไทยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติ กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติสุดท้ายในทศชาติเป็นพระเวสสันดร เป็นเรื่องการเผยแผ่ทานบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยบริษัท ไทยสากลธุรกิจ จำกัด ของ ณรงค์ สันติสกุลชัยพร กำกับการแสดงโดย รัตน์ เศรษฐภักดี นำแสดงโดยสมบัติ เมทะนี ในบทบาทพระเวสสันดร ร่วมด้วย พิศมัย วิไลศักดิ์ ในบทพระนางมัทรี ส่วนบทชูชก รับบทโดย ประพัตร์ มิตรภักดี และนางอมิตาดา ภรรยาของชูชกรับบทโดย สุชีรา สุภาเสพ สำหรับกัณหาและชาลี รับบทโดย 2 พี่น้อง..

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และชูชก กัณหา ชาลี · ดูเพิ่มเติม »

ช้างเผือก

้างเผือกปัจจัยนาเคนทร์ในจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์หิมพานต์ ช้างเผือก (White Elephant) คือช้างที่มีลักษณะต่างจากช้างธรรมดาทั่วไป ด้วยมีนัยน์ตา และเล็บสีขาว รวมถึงสีผิวที่อ่อนกว่าช้างธรรมทั่วไป อาจจะเป็นสีชมพูหรือสีขาวก็ได้ โดยที่มิใช่เป็นสัตว์เผือก จัดได้ว่ามีลักษณะที่หาได้ยาก จึงเป็นที่เชื่อกันว่าช้างเผือกเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลให้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของ และเป็นเครื่องมงคลชนิดหนึ่งในสัปตรัตนะแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ จักรแก้ว ช้างแก้ว (ช้างเผือก ชื่อ อุโบสถ) ม้าแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว คฤหบดีแก้ว และ ปรินายกแก้ว.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และช้างเผือก · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายน พ.ศ. 2468 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ภายหลังทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) พระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม..

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร · ดูเพิ่มเติม »

พระพรหม (ศาสนาพุทธ)

ในศาสนาพุทธ พระพรหม เป็นชาวสวรรค์ชั้นสูงกว่าเทวดาในฉกามาพจร และยังเวียนว่ายตายเกิดด้วยอำนาจกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ แต่ในภพชาติก่อนจุติและปฏิสนธิเป็นพรหมมีกุศลมาก มีฌาณสมาบัติเป็นอารมณ์ เมื่อตายจึงไปเกิดที่สวรรค์ชั้นนี้) อยู่ในสวรรค์ที่เรียกว่าพรหมภูมิ (หรือพรหมโลก) พระพรหมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พรหมที่มีรูป เรียกว่า "รูปพรหม" มีทั้งหมด 16 ชั้น และพรหมที่ไม่มีรูป เรียกว่า "อรูปพรหม" มีทั้งหมด 4 ชั้น โดยอรูปพรหมจะสูงกว่ารูปพรหม.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระพรหม (ศาสนาพุทธ) · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธสิกขีทศพลที่ 1

ทธศาสนิกชนบางกลุ่มในประเทศไทยเชื่อว่า พระพุทธสิกขีทศพลที่ 1 หรือ สมเด็จองค์ปฐม คือพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระองค์แรกในโลก เมื่ออสงไขยนับไม่ถ้วนก่อนหน้าพระโคตมพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎกทั้งของนิกายเถรวาทและมหายาน.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระพุทธสิกขีทศพลที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระกษิติครรภโพธิสัตว์

ระกษิติครรภโพธิสัตว์ (อ่านว่า /พฺระ-กะ-สิ-ติ-คับ-พะ-โพ-ทิ-สัด/, क्षितिगर्भ;; กฺษิติครฺภ) เป็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นที่นับถือในศาสนาพุทธนิกายมหายานในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มักมีรูปลักษณ์เป็นพระภิกษุมหายาน นามของพระโพธิสัตว์องค์นี้อาจแปลได้ว่า "ขุมทรัพย์แห่งแผ่นดิน" ("Earth Treasury"), คลังแห่งแผ่นดิน ("Earth Store"), "บ่อเกิดแห่งแผ่นดิน"("Earth Matrix"), หรือ "ครรภ์แห่งแผ่นดิน" ("Earth Womb") พระกษิติครรภโพธิสัตว์ได้รับมอบหมายจากพระศากยมุนีพุทธเจ้าให้เป็นผู้แสดงธรรมโปรดสัตว์ในกามภูมิ 6 ในช่วงที่พระองค์ปรินิพพานไปแล้วและพระศรีอริยเมตไตรยยังไม่ได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระกษิติครรภมีปณิธานสำคัญในการช่วยสัตวโลกทั้งหมดให้พ้นจากนรกภูมิ หากนรกยังไม่ว่างจากสัตว์นรกก็จะยังไม่ขอตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุดังกล่าว พระองค์จึงถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งสัตว์ผู้ทุกข์ยากในอบายภูมิ มีนรกทั้งปวง เป็นต้น เช่นเดียวกับการเป็นผู้คุ้มครองเด็กทั้งหลาย และเทพอุปถัมภ์ของเด็กที่เสียชีวิตและทารกที่ตายจากการแท้งในวัฒนธรรมญี่ปุ่น รูปลักษณ์ของพระโพธิสัตว์องค์นี้ ปกติมักทำเป็นรูปพระภิกษุมหายาน มีรัศมีเปล่งรอบพระเศียรซึ่งปลงพระเกศาแล้ว หัตถ์หนึ่งทรงจับไม้เท้าซึ่งใช้เปิดประตูนรก อีกหัตถ์หนึ่งทรงถือแก้วจินดามณี (แก้วสารพัดนึก) เพื่อประทานแสงสว่างท่ามกลางความมืด สำหรับในประเทศไทยเอง มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย (佛眼禪林弘法基金會:地藏道場) พุทธมณฑลสาย 6 ได้สร้างวัดหรือธรรมสถาน เพื่ออุทิศแด่องค์พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์โดยเฉพาะ โดยสร้างองค์พระกษิติครรภ์ ด้วยหินแกรนิตแกะสลักสูงรวมฐาน 13.99 เมตร และพระกษิติครรภ์ 6 ปาง ที่มีคติมาจากปุณฑริกสมาธิสูตร (蓮華三昩經) ที่ว่าพระกษิติครรภ์นิรมาณกายไปโปรดสัตว์ทั้ง 6 ภูมิ พร้อมพญายมราชทั้ง 10 ซึ่งในสูตรฝ่ายมหายานกล่าวว่า เป็นพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์องค์สำคัญ 10 พระองค์ นิรมาณกายมาโปรดสัตว์ และปฏิมากรรมหินแกะสลักนายนิรยบาล เป็นหินแกะสลักสูงใหญ่กว่าคนอีกรวมทั้งสิ้น 25 องค์โดยช่างฝีมือจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคติของพุทธมหายานแบบจีน และเผยแพร่กษิติครรภโพธิสัตว์มูลปณิธานสูตร (地藏本願經) และ กษิติครรภ์โพธิสัตว์ทศจักรสูตร (地藏十輪經) ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญของพระกษิติครรภ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกษิติครรภมณฑล ที่มีอยู่ไม่กี่แห่งในโลก.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระกษิติครรภโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาชนก

ระราชนิพนธ์เรื่อง''พระมหาชนก'' พระมหาชนก เป็นเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก อันเป็นชาดก 10 ชาติสุดท้ายก่อนที่พระโพธิสัตว์จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาดกเรื่องนี้เป็นการบำเพ็ญความเพียรเป็นบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัย จึงทรงค้นเรื่องพระมหาชนกในพระไตรปิฎกและทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษตรงจากมหาชนกชาดก ตั้งแต่ต้นเรื่อง โดยทรงดัดแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังทรงแปลเป็นภาษาสันสกฤตประกอบอีกภาษา รวมทั้งแผนที่ฝีพระหัตถ์ แสดงสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเมืองโบราณบางแห่งและข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเกี่ยวกับทิศทางลม กับกำหนดวันเดินทะเลตลอดจนจุดอัปปางของเรืออับโชค ทรงคาดคะเนโดยอาศัยข้อมูลทางโหราศาสตร์ แสดงถึงพระปรีชาในด้านอักษรศาสตร์ ภูมิศาสตร์และโหราศาสตร์ไทย ในโอกาสเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาล เมื่อ..

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระมหาชนก · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์

ระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์อัครสาวกของพระอมิตาภพุทธะเช่นเดียวกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แต่มีคนรู้จักน้อยกว่า ถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ด้านกำลัง สะท้อนพลังจิตที่เข้มแข็งของพระพุทธเจ้า ใกล้เคียงกับความหมายของพระสมันตภัทรโพธิสัตว.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์

ระมัญชุศรีโพธิสัตว์ (मञ्जुश्री Mañjuśrī; 文殊 Wénshū หรือ 文殊師利菩薩 Wénshūshili Púsà; もんじゅ Monju; འཇམ་དཔལ་དབྱངས། Jampelyang; मंजुश्री Manjushree) เป็นพระโพธิสัตว์ในกลุ่มตถาคตโคตรของพระไวโรจนพุทธะ ชื่อของท่านแปลว่า แสงอันอ่อนหวานหรืออ่อนโยน เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือในทิเบตรองลงมาจากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ชื่อของท่านมีปรากฏในพระสูตรต่างๆมากมาย เช่น สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายปัญญาและมีหน้าที่คุ้มครองนักปราชญ.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระมังคลพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระโกณฑัญญะพุทธเจ้าอันตรธานไป เป็นช่วงเวลาที่ไม่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติถึงอสงไขยหนึ่ง เรียกว่า ภาละอสงไขย ล่วงมาถึงสารมัณฑกัปหนึ่ง จึงมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น 4 พระองค์ พระพุทธเจ้าองค์แรกในสารมัณฑกัปนี้ทรงพระนามว่า พระมังคละพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระมังคลพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระยม

ระยม พระยมราช หรือ มัจจุราช คือเทพเจ้าแห่งนรกและความตาย ตามความเชื่อในศาสนาแบบอินเดี.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระยม · ดูเพิ่มเติม »

พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า

ระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า มีปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ ว่า หลังจากหมดยุคศาสนาของพระธรรมสามีสัมพุทธเจ้าแล้ว เกิดแผ่นดินใหม่ที่ไม่มีพระพุทธเจ้าเลยอยู่นานถึง 8 กัปป์ หลังจากนั้นเกิดแผ่นดินใหม่ ชื่อว่า มัณฑกัปป์ จะมีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์บังเกิดขึ้น องค์แรก คือ พระนารทะสัมพุทธเจ้า องค์ถัดไปคือ พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า ในสมัยพระสมณโคตมะพุทธเจ้า นี้ ท่านคือ โสณพราหมณ์ โดยพระองค์ได้บำเพ็ญบารมี 30 ทัศน์มาอย่างยิ่งยวด โดยมีปรมัตถบารมีหนึ่งคือ ในสมัยพระกัสสปะพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นมาณพ ชื่อว่า มาฆมานพ อาชีพเป็นพ่อค้าทางเรือสำเภา วันหนึ่ง นำของชิ้นหนึ่งไปขายได้กำไร 10 เท่าและนำเงินทองที่ได้มานั้นใส่เรือ แต่ประสบเหตุเรือล่ม ทรัพย์สินที่ได้มาจมหายทั้งหมด แต่ตัวเองสามารถเอาตัวรอดมาได้ ครั้นต่อมา ก็นำของชนิดเดิมไปขายอีกได้กำไร 10 เท่าอีก นำทรัพย์กลับมาบ้านได้ 7 วันก็เพลิงไหม้ บ้านและทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก ต่อมาก็นำสินค้าชนิดเดิมไปขายก็ได้กำไรมา 10 เท่าแต่ว่าพอนำทรัพย์กลับมาบ้านแล้ว กลับถูกโจรปล้นทรัพย์สินที่ได้มาทั้งหมด แต่ก็ยังไม่ละความพยายามนำของชิ้นเดิมไปขายอีก ก็ได้กำไร 10 เท่าอีกเช่นเดิม แต่คราวนี้พอนำเงินกลับมาบ้าน ก็ถูกเรียกเก็บทรัพย์สินทั้งหมดนั้นเข้าสู่ท้องพระคลัง มาฆมาณพ เมื่อเสียทรัพย์ถึง 4 ครั้งก็ทะเลาะกับภรรยา จนถึงขั้นต้องหย่าร้างกัน ได้ทรัพย์สินจากการแบ่งกับภรรยาเป็นผ้าแดง 1 ผืน และทอง 1 แสน ออกจากบ้านเดินทางไปเรื่อยๆ จนถึงเมืองโกสัมพี ครั้งนั้น มีพระสาวก รูปหนึ่งของ พระกกุสันธะพุทธเจ้า ออกจากญาณสมาบัติ ก็ตรวจดูสรรพสัตว์ ด้วยทิพยจักษุ ก็พบ มาฆมาณพ เข้าข่ายญาณก็ทราบว่าอนาคตจะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เหาะไปโปรดในทางที่มาณพกำลังเดินทางมา เมื่อมาณพเดินมาพบพระสาวกนี้ ก็เกิดเลื่อมใส จิตใจปลาบปลื้ม จึงได้ถวายทรัพย์สินทั้งหมดและอธิษฐานขอให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อพระสาวกได้รับของและกล่าวอนุโมทนาแล้ว ก็เหาะกลับไป ในที่ที่ถวายทานเกิดต้นกัลปพฤกษ์ 1 ต้น และมาณพนั้นก็ได้อาศัยต้นไม้นี้เลี้ยงชีพสืบมา วันหนึ่งกษัตริย์เมืองโกสัมพี พร้อมทั้งเหล่าข้าราชบริพาร เสด็จผ่านมาเห็นมาณพอยู่ใต้ต้นกัลปพฤกษ์ ก็เกิดความสนใจเข้าไปทอดพระเนตร ก็ถูกเทวดา ที่ทำหน้าที่รักษาอยู่ไม่ให้เข้าไป พระองค์จึงทรงกริ้ว สั่งให้ทหารทำการเผา แต่ก็เกิดมีดอกบัวเกิดขึ้นมารองรับมาณพนั้น จึงสั่งให้ทหารจับมาณพ ไปโยนทิ้งลงน้ำ ก็เกิดอัศจรรย์มีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ ทำให้มาณพนั้นไม่ได้รับอันตรายใดๆ กษัตริย์จึงถามกับมาณพนั้นว่า ใครให้ต้นกัลปพฤกษ์มา มาณพจึงเล่าความจริงให้ฟัง แต่กษัตริย์ไม่เชื่อ รับสั่งให้มาณพนำพระสาวกรูปนั้นมายืนยัน มาณพจึงอธิษฐานถึงพระสาวกนั้น พระสาวกรูปนั้นทราบด้วยทิพยจักษุ ก็เหาะมาและบอกกล่าวถึงโทษของการประทุษร้ายมาณพนี้ จะทำให้บ้านเมืองจมลงในแผ่นดิน กษัตริย์ได้ฟังดังนั้นก็กลัว จึงขอโทษและยกให้มาณพเป็นน้องชายของพระองค์ พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้ามีพระวรกายสูง 60 ศอก มีพระชนมายุ 5 พันปี และมีพระพุทธรัศมีสีทอง สว่างทั้งกลางวันและกลางคืน.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระรัตนปาณีโพธิสัตว์

ระรัตนปาณีโพธิสัตว์ (रत्नपाणि, 寶手菩薩) หมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้ถือดวงแก้ว อยู่ในรัตนโคตรของพระรัตนสัมภวะพุทธะ ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายเท่าใดนัก รูปแบบของท่านที่เห็นทั่วไปคือนั่งขัดสมาธิบนดอกบัว มือซ้ายทำสมาธิ มือขวาถือจินดามณี หรือมิฉะนั้นก็มีจินดามณีวางบนหน้าตัก ในบรรดามหาโพธิสัตว์ 7 พระองค์ที่ระบุในอมิตายุรธยานสูตรไม่ได้กล่าวถึงพระรัตนปาณีไว้ จึงทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับท่านมีจำกัดและได้รับการนับถือน้อยกว่าพระโพธิสัตว์องค์อื่น.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระรัตนปาณีโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชลัญจกรประจำรัชกาล

ระราชลัญจกรประจำรัชกาล เป็นตราประจำพระองค์ของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆ ของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ที่ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน พระราชลัญจกรนับเป็นเครื่องมงคลที่แสดงถึงอิสริยยศและพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตร.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระราชลัญจกรประจำรัชกาล · ดูเพิ่มเติม »

พระวัชรปาณีโพธิสัตว์

ระวัชรปาณีโพธิสัตว์ หมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้ถือสายฟ้า หลักฐานฝ่ายบาลีถือว่าเป็นยักษ์ที่คอยคุ้มครองพระพุทธเจ้า ส่วนทางมหายานถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ชั้นสูงองค์หนึ่ง มักปรากฏคู่กับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์และพระปัทมปาณิโพธิสัตว์ ความเชื่อเกี่ยวกับพระวัชรปาณิอาจวิวัฒนาการมาจากพระอินทร์ในศาสนาพราหมณ์ที่ถือสายฟ้าเช่นกัน และอาจจะพัฒนามาจากความเชื่อเกี่ยวกับพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ ชาวพุทธมหายานถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่คุ้มครองนาคที่ควบคุมเมฆฝน และนิยมสร้างรูปของท่านไว้ที่ประตูทางเข้าวัดเพื่อขับไล่ความชั่วร้าย พระวัชรปาณีมีชื่อจีนว่ากิมกังผ่อสัก จัดอยู่ในกลุ่มเจ็ดพระมหาโพธิสัตว์ตามความเชื่อของชาวจีน แต่มีความสำคัญน้อยกว่าพระอวโลกิเตศวรและพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์มาก.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระวัชรปาณีโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวิศวปาณีโพธิสัตว์

ระวิศวปาณีโพธิสัตว์ แปลว่าพระโพธิสัตว์ผู้ถือวัชระแฝด ภาพลักษณ์ของท่านคลุมเครือและหายาก ทราบแต่ว่าเป็นพระโพธิสัตว์ตัวแทนของพระอโมฆสิทธิพุทธะ แต่ไม่มีผู้นับถือมาก ส่วนใหญ่รูปของท่านอยู่ในท่านั่ง มือซ้ายวางบนตัก มือขวาถือวัชระแฝด ชาวพุทธมหายานกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าพระโพธิสัตว์พระองค์นี้จะมีบทบาทในอนาคตคือในสมัยพระศรีอาริยเมตไตรยพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระวิศวปาณีโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวิหารบาลโพธิสัตว์

ระวิหารบาลโพธิสัตว์ หรือ พระสังฆารามโพธิสัตว์ เป็นกลุ่มของพระโพธิสัตว์ที่ได้รับการยกย่องจากชาวพุทธมหายานในจีนว่าเป็นผู้ดูแลพระพุทธศาสนา ที่มาของพระโพธิสัตว์กลุ่มนี้มาจากเทพเจ้าดั้งเดิมก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้าไปถึง รวมทั้งบุคคลที่เมื่อมีชีวิตอยู่ได้อุปถัมภืพระศาสนาไว้มาก เมื่อตายไปจึงได้รับการยกย่องให้เป็นพระวิหารบาลโพธิสัตว์ รูปลักษณ์ของท่านมีหลากหลายตามแต่ความเชื่อของผู้สร้าง แต่นิยมสร้างเป็นรูปของเทพเจ้ากวนอูซะมากกว่า ในวัดพุทธมหายานแบบจีนจะตั้งรูปของท่านไว้คู่กับพระเวทโพธิสัตว.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระวิหารบาลโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระศรีอริยเมตไตรย

ระศรีอริยเมตไตรย หรือพระเมตไตรย (Metteyya เมตฺเตยฺย; मैत्रेय ไมเตฺรย) เป็นพระโพธิสัตว์ผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 5 และองค์สุดท้ายแห่งภัทรกัปนี้ พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าเมื่อศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าสิ้นสุดไปแล้ว โลกจะล่วงเข้าสู่ยุคแห่งความเสื่อมถอย อายุขัยของมนุษย์ลดลงจนเหลือ 10 ปี ก็เข้าสู่ยุคมิคสัญญี ผู้สลดใจกับความชั่วก็หันมารวมกลุ่มกันทำความดี จากนั้นอายุขัยเพิ่มขึ้นถึง 1 อสงไขยปี แล้วจึงลดลงอีกจนเหลือ 80,000 ปี ในยุคนี้จะมีพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีครบ 80 อสงไขยแสนมหากัป ลงมาตรัสรู้เป็น พระเมตไตรยพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระศรีอริยเมตไตรย · ดูเพิ่มเติม »

พระสมันตภัทรโพธิสัตว์

ระสมันตภัทรโพธิสัตว์ (समन्तभद्र Samantabhadra; ཀུན་ཏུ་བཟང་པོ། Kun-tu bzang-po; Qamugha Sain, 普賢菩薩 Pŭxián púsà; ふげん Fugen; Phổ Hiền Bồ Tát) เป็นพระโพธิสัตว์ในกลุ่มตถาคตโคตรของพระไวโรจนพุทธะ ชื่อของพระองค์ท่านแปลว่า ดี รุ่งเรือง หรือเป็นมงคล ท่านมักปรากฏในพุทธมณฑลในฐานะตัวแทนของพระไวโรจนพุทธะ จึงเป็นตัวแทนของความกรุณาและสมาธิที่ดิ่งลึก.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคต

ระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวพุทธมหายาน พระนามของพระองค์หมายถึงพระผู้สถิตอย่างศานติในแสงสว่างที่เลิศกว่าแสงอื่นอีกพันชนิด รูปของพระองค์เป็นพระพุทธรูปในปางแสดงเทศนาหรือพนมมือ เป็นที่นิยมนับถือในหมู่ชาวพุทธมหายานที่นับถือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ในคัมภีร์สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ไวปุลยสมบูรณอกิญจนมหากรุณาจิตรธารณีสูตร พระพุทธเจ้าพระองค์นี้เป็นผู้ประทานธารณีมนต์ต่างๆแก่พระอวโลกิเตศวร ซึ่งพระอวโลกิเตศวรได้นำมาเผยแผ่แก่มนุษยโลกอีกทีหนึ่ง นอกจากนั้น ยังเป็นผู้ช่วยเหลือให้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายบำเพ็ญบารมีผ่านภูมิที่ 1 ไปถึงภูมิที่ 8 ได้สำเร็.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคต · ดูเพิ่มเติม »

พระสัทธรรมวิทยาตถาคต

ระสัทธรรมวิทยาตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวพุทธมหายาน พระนามของพระองค์หมายถึงพระตถาคตเจ้าผู้ทรงรอบรู้แจ้งในพระธรรมอันประเสริฐ บางคัมภีร์ระบุพระนามของพระองค์เป็น พระสัทธรรมประภาตถาคต ไม่ปรากฏพระพุทธรูปของพระองค์เป็นพิเศษ โดยมากจะนับถือพระองค์คู่ไปกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ในคัมภีร์สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ไวปุลยสมบูรณอภิญจนมหากรุณาจิตรธารณีสูตร กล่าวถึงพระองค์ว่าเป็นพระพุทธเจ้าในอดีต ตรัสรู้ในกาลที่ล่วงมาแล้วนานมาก แต่ยังทรงมีจิตเมตตาต่อสัตว์โลกจึงได้เนรมิตรพระโพธิสัตว์จำนวนมากมาโปรดสัตว์รวมทั้งพระอวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงถึงแนวคิดของมหายานเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์แบบหนึ่งว่า พระโพธิสัตว์เกิดจากพระพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระสัทธรรมวิทยาตถาคต · ดูเพิ่มเติม »

พระสุมังคลสัมพุทธเจ้า

ระสุมังคลสัมพุทธเจ้าปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ ครั้นเมื่อศาสนาของพระติสสะสัมพุทธเจ้าเสื่อมในมัณฑกัปป์เดียวกันนี้จะมีพระพุทธเจ้า องค์ถัดไป ชื่อว่า พระสุมังคลสัมพุทธเจ้า โดยพระโพธิสัตว์ในสมัยของพระโคตมพุทธเจ้าได้เสวยพระชาติเป็น ช้างปาลิไลยก.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระสุมังคลสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระสุมนพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระมังคละพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระสุมนะพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นในอันตรกัปถัดมาในสารมัณฑกัปเดียวกัน.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระสุมนพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

ระอวโลกิเตศวร เป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน ที่มีผู้เคารพศรัทธามากที่สุด และเป็นบุคลาธิษฐานแห่งมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน อาทิ ปรัชญาปารมิตาสูตร สัทธรรมปุณฑรีกสูตร และการัณฑวยูหสูตฺร.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระจุนทีโพธิสัตว์

ระจุนทีโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งในพระพุทธศาสนามหายานเช่นเดียวกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แต่มีคนรู้จักน้อยกว่า เชื่อกันว่าพระองค์เป็นพระพุทธมารดาภาคสัมโภคกาย (กายทิพย์) ของพระเจ้าห้าพระองค์ในภัทรกัปปัจจุบันของเรา โดยหลายท่านเมื่อเห็นพุทธศิลป์ของพระองค์ก็มักจะเข้าใจกันผิดว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ นั่นก็เพราะเกิดจากความเชื่อในพระพุทธศาสนาของนิกายฉาน ที่กล่าวว่าพระจุนทีนั้นเป็นภาคหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แล้วนำไปจัดรวมไว้ในรูปเคารพของพระโพธิสัตว์กวนอิม 6 ปางใหญ่ ซึงในขณะที่นิกายอื่น ๆ ของทางมหายานเนั้นจะถือว่าพระจุนทีกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ นั้นเป็นคนละองค์กัน หลายที่ก็ยังไปจำสับสนด้วยรูปลักษณะของ เต้าอึ้งง้วงกุง หรือ เต้าบ้อง้วงกุง ซึ่งเป็นมารดาของเทวดานพเคราะห์ทางลัทธิเต๋า ที่รับมาจากพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งก็คือพระมรีจิโพธิสัตว์นั่นเอง บ้างก็ไปจำสับสนกับพระมยุรกีรติประภาราชาโพธิสัตว์ที่ทรงนกยูงเป็นพาหนะ โดยพระโพธิสัตว์พระองค์นี้จะมีกล่าวถึง แต่ไม่ค่อยมีบทบาทเท่าไรในพระพุทธศาสนาของจีน แต่จะมีบทบาทในญี่ปุ่นมากกว.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระจุนทีโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระธยานิพุทธะ

ระธยานิพุทธะ ศิลปะทิเบต พระธยานิพุทธะหรือพระฌานิพุทธะ (บางแห่งเรียกพระชินพุทธะ) เป็นพระพุทธเจ้าในคติความเชื่อของมหายาน เชื่อว่าอวตารมาจากพระอาทิพุทธะ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌานของอาทิพุทธะ ไม่ได้ลงมาสร้างบารมีเหมือนพระมานุสสพุทธะ (พระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์) ดำรงในสภาวะสัมโภคกาย มีแต่พระโพธิสัตว์ที่เห็นพระองค์ได้.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระธยานิพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระทีปังกรพุทธเจ้า

ระทีปังกรพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ในโลกเมื่อ 4 อสงไขยแสนกัปที่แล้ว.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระทีปังกรพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระปัทมปาณิโพธิสัตว์

วาดพระปัทมปาณิโพธิสัตว์ จิตรกรรมที่ผนังถ้ำอชันตา หมายเลข1 ศิลปะคุปตะตอนปลาย หรือหลังคุปตะ(พุทธศตวรรษที่12) ถือกันว่าเป็นงานจิตรกรรมที่งดงามที่สุดภาพหนึ่งของประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย พระปัทมปาณิโพธิสัตว์ (पद्मपाणि) เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ก่อนการกำเนิดของนิกายตันตระ ชื่อของท่านหมายถึงผู้ถือดอกบัวปรากฏคู่กับพระวัชรปาณีโพธิสัตว์ในศิลปะอินเดียแบบมถุระเมื่อพุทธศตวรรษที่ 7 บางครั้งปรากฏคู่กับพระมัญชุศรีและพระวัชรปาณิเพื่อเป็นตัวแทนของพระโพธิสัตว์จากโคตรทั้งสามคือ ปัทมโคตร ตถาคตโคตร และวัชรโคตร ตามลำดับ รูปลักษณ์ของท่านต่างไปในแต่ละท้องที่ โดยมากเป็นรูปผู้ชายถือดอกบัว ต่อมาได้เพิ่มแจกันใส่น้ำทิพย์ด้วย บางท้องที่ถือว่าเป็นภาคสำแดงของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระปัทมปาณิโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระปทุมพุทธเจ้า

ระปทุมพุทธเจ้า หลังจากพระศาสนาของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้าได้ล่วงไปแล้ว จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระปทุมะพุทธเจ้า ซึ่งอยู่ในอันตรกัปถัดมาในวรกัปเดียวกัน.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระปทุมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระนารทพุทธเจ้า

หลังจากพระศาสนาของพระปทุมพุทธเจ้าล่วงไปแล้ว จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระนารทพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้ายในวรกัปเดียวกัน.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระนารทพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระนารทสัมพุทธเจ้า

ระนารทสัมพุทธเจ้า มีปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ ว่า หลังจากหมดยุคศาสนาของพระธรรมสามีสัมพุทธเจ้าแล้ว เกิดแผ่นดินใหม่ที่ไม่มีพระพุทธเจ้าเลยอยู่นานถึง 8 กัปป์ หลังจากนั้นเกิดแผ่นดินใหม่ ชื่อว่า มัณฑกัปป์ จะมีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์บังเกิดขึ้น องค์แรก คือ พระนารทพุทธเจ้า องค์ถัดไปคือ พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า โดยพระองค์ได้บำเพ็ญบารมี 30 ทัศน์มาอย่างยิ่งยวดโดยปรมัตถบารมีหนึ่งคือ ในสมัยพระกัสสปะพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นกษัตริย์มีพระนามว่า พระยาสิริคุตตมหาราช ครองเมือง มัลลนคร มีพระราชอัครมเหสี นามว่า ลัมภุราชเทวี มีพระราชโอรสและพระราชธิดา นามว่า นิโครธกุมารและโคตมีกุมารีตามลำดับ วันหนึ่งมี พราหมณ์ 8 ท่าน มาทูลขอราชสมบัติและพระนคร พระองค์ก็พระราชทานด้วยจิตใจที่ปลาบปลื้มยินดี และพาครอบครัวออกบวช ไปอาศัยอยู่ที่อาศรมในป่า ในครั้งนั้นมียักษ์ชื่อว่า ยันตะ ร่างกายสูงถึง 120 ศอก มาขอพระราชโอรสและธิดาทั้งสอง พระองค์ เพื่อเป็นอาหาร และ ยันตะยักษ์ ยังกล่าวอีกว่า ถ้าได้ถวายพระราชโอรสและพระราชธิดาแล้ว อนาคตจะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน เมื่อพระยาสิริคุตตมหาราชได้ฟังเช่นนั้นเกิดความปลาบปลื้มเป็นอย่างมาก จึงตอบว่า ไม่ใช่ไม่รักลูกทั้งสองแต่ท่านเป็นผู้ที่รักในพระโพธิญาณยิ่งกว่าสิ่งใด จึงตัดใจสละพระกุมารีทั้ง 2 ให้ยักษ์และหลั่งน้ำเหนือมือของยักษ์ พร้อมทั้งประกาศแก่เทวดาและพระแม่ธรณีให้เป็นสักขีพยาน แห่งมหาทานนี้ เมื่อยักษ์ได้รับมอบพระกุมารีทั้งสองไปแล้ว ก็เคี้ยวกินต่อหน้าต่อตาพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์เห็นเลือดที่ไหลจากปากของยักษ์ ก็มิได้หวาดกลัวเลยด้วยจิตใจอันเปี่ยมด้วยยินดี ด้วยมหาทานบารมีที่พระองค์มิได้หวาดหวั่นใจเลยนี้ทำให้พระองค์มีพุทธรัศมีเหมือนสายฟ้าในกลีบเมฆรูปร่างเหมือนดอกบัวตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน พระวรกายสูง 20 ศอก มีพระชนมายุ 1 หมื่นปี มีไม้จันทร์เป็นมหาโพธิ ในศาสนาของพระองค์ คนในยุคนั้นจะมีรูปร่างอันสวยงามน่ายินดี ด้วยบุญที่ท่านให้ลูกเป็นทาน และยังมีภักษาหาร 7 ประการบังเกิดขึ้น มนุษย์ก็ได้อาศัยภักษาหารนี้เลี้ยงชี.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระนารทสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระนางวสุนธาราโพธิสัตว์

ติพุทธศาสนามหายาน ศิลปะเนปาล พระนางวสุนธาราโพธิสัตว์ (坚牢地神Vasudhārā bodhisattva.)เป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายหญิงตามความเชื่อของพุทธศาสนามหายาน พุทธศาสนาวัชรยานและศาสนาเต๋า โดยนับถือว่าพระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่ง โดยตรงกับพระแม่ธรณีในพุทธศาสนาเถรวาทและพระแม่ปฤถวีหรือพระแม่ภูมี ในศาสนาฮินดู ในประเทศจีนและได้รับการนับถือมากและปรากฎร่วมกันในคณะเทพธรรมบาล.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระนางวสุนธาราโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระนางตารา

ระนางตาราเขียวหรือพระศยามตาราโพธิสัตว์ Kumbm, Gyantse, Tibet, 2536 พระนางตารา พระโพธิสัตว์ตารา หรือ พระแม่ตารา เป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายหญิงในพระพุทธศาสนา โดยมีสายการปฏิบัติสืบทอดอย่างต่อเนื่องในวัชรยาน คำว่าตารามาจากภาษาสันสกฤตหมายถึงข้าม การบูชาพระนางเริ่มเมื่อพุทธศตวรรษที่ 8 - 11 ในอินเดียเหนือและแพร่หลายที่สุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 - 17 โดยถือว่าเป็นชายาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปัจจุบันมีนับถือในอินเดีย เนปาล และ ทิเบต ส่วนชาวพุทธในจีนจะนับถือเจ้าแม่กวนอิมที่เป็นภาคหญิงของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์แทน.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระนางตารา · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่องค์ธรรม

อักษร 母 ''หมู่'' หมายถึง ''''พระแม่องค์ธรรม'''' พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิเซียนเทียนเต้าและอีก 5 ลัทธิที่แตกแขนงออกมา พระแม่องค์ธรรม (老母 เหลาหมู่)สายทอง (พงศาธรรม ๑), ศุภนิมิต ผู้แปล, กรุงเทพฯ: ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, ม.ป.ป., หน้า 9 คือพระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว รวมถึงลัทธิศาสนาต่าง ๆ ในประเทศจีนที่สืบมาจากลัทธินี้ด้วย เช่น ลัทธิเซียนเทียนเต้า ลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิถงซั่นเซ่อ ลัทธิฉือฮุ่ยถัง ลัทธิเทียนเต๋อเซิ่ง และลัทธิเต้าเยวี่ยน, Division of Religion and Philosophy, University of Cumbria, เรียกข้อมูลวันที่ 7 มกราคม..

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระแม่องค์ธรรม · ดูเพิ่มเติม »

พระโสภิตพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระเรวตะพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระโสภิตะพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์สุดท้ายในสารมัณฑกัปเดียวกัน.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระโสภิตพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอลองพญา

ระบรมราชานุสาวรีย์ของพระเจ้าอลองพญาที่หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติใน นครย่างกุ้ง พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอลองพญา พระเจ้าอลองพญา หรือ พระเจ้าอลองพญารี (Alaungpaya, အလောင်းမင်းတရား พระนามของพระองค์ออกสำเนียงเป็นภาษาพม่าว่า "อลองเมงตะยาจี" หรือ "อลองพะ" มีความหมายว่า "พระโพธิสัตว์"; สิงหาคม ค.ศ. 1714 — 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1760) เป็นพระมหากษัตริย์พม่าระหว่างวันที่ 21 มีนาคม..

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระเจ้าอลองพญา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอลองสิธู

พระเจ้าอลองสิธู ในรูปลักษณ์ของนัต "เมงสิธู" พระเจ้าอลองสิธู (Alaungsithu, အလောင်းစည်သူ) กษัตริย์ในราชวงศ์พุกาม ที่ครองราชย์อย่างยาวนานถึงกว่า 54 ปี (พ.ศ. 1656 - พ.ศ. 1710) ยุคสมัยของพระองค์ อาณาจักรพุกามเจริญถึงขั้นขีดสุดในทุกด้าน พระเจ้าอลองสิธู เป็นพระโอรสของพระเจ้าซอลู พระโอรสของพระเจ้าอโนรธามังช่อกับพระธิดาของพระเจ้าจานสิตา ครองราชย์หลังการสวรรคตของพระเจ้าจานสิตา พระนามภาษาสันสกฤตเมื่อทรงครองราชย์นั้น พบในจารึกที่วัดชเวกูยี ออกพระนามว่า ศรีตรีภูวนาทิตย์บวรธรรมราชา แต่พระนามที่เป็นที่รู้จักกัน คือ "สิธู" (Sithu) ซึ่งแปลว่า "วีรบุรุษผู้ชนะ" หรือ อลองสิธู (Alaungsithu) เนื่องจากทรงประกาศพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ด้วยเช่นเดียวกับพระเจ้าจานสิตา พระอัยกาของพระองค์ (อลอง แปลว่าพระโพธิสัตว์) ในยุคสมัยนี้ศิลปะแบบมอญที่เคยรุ่งเรืองในสมัยแรก ๆ ของอาณาจักร ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบของพุกามมากขึ้นจนถือได้ว่าเป็นจุดรุ่งเรืองสูงสุดของศิลปะพม่าแท้ รัชสมัยของพระองค์ เป็นรัชสมัยที่ทรงสร้างความรุ่งเรืองทางศิลปะ วรรณกรรม สถาปัตยกรรม และ การเมืองการปกครอง อย่างแท้จริง พระเจ้าอลองสิธู ทรงเป็นกษัตริย์นักเดินทางไม่แพ้พระอัยกาของพระองค์ เพราะทรงเดินทางไปเยือนดินแดนต่าง ๆ ในเขตลุ่มน้ำอิระวดี และดินแดนโพ้นทะเล เช่น ชวา สุมาตรา และศรีลังกา ในทางการเมืองการปกครอง พระองค์สามารถยึดเมืองท่าตะนาวศรีได้ จึงสามารถควบคุมการติดต่อทางทะเลที่บริเวณคอคอดกระได้ เช่น การควบคุมการค้าช้างระหว่างขอม และลังกา ทำให้อาณาจักรพุกามรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง ปลายรัชสมัยจัดเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของความเสื่อมของอาณาจักรเมื่อพระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยเจ้าชายซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง ตามตำนานเล่าว่าพระเจ้าอลองสิธูประชวรพระวาโยสิ้นพระสติ (เป็นลมจนหมดสติ) เจ้าชายนราธู พระราชโอรสจึงอัญเชิญพระองค์ไปประทับรักษาพระวรกายที่วัดแห่งหนึ่ง เมื่อฟื้นคืนพระสติเจ้าชายนราธูใช้ผ้าปูพระแท่น (ผ้าปูเตียง) อุดพระนาสิกและพระโอษฐ์จนพระเจ้าอลองสิธูสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 87 พรรษา โดยที่พระองค์มิได้แต่งตั้งผู้ใดให้เป็นรัชทายาท เมื่อข่าวทราบถึงเจ้าชายมินชินสอมกุฏราชกุมารยกทัพกลับเข้าพุกามเพื่อเข้ามาจัดงานพระศพพระราชบิดา เจ้าชายนราธูถวายราชสมบัติคืนแก่พระเชษฐาโดยได้ขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้ามินชินสอ ในปี พ.ศ. 1706 แต่ก็ครองราชย์ได้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษระหว่างงานฉลองในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยเจ้าชายนราธูอีก ปัจจุบัน พระเจ้าอลองสิธูได้รับการบูชาให้เป็นนัตหลวงลำดับที่ 31 โดยเรียกว่า เมงสิธู (Min Sithu) หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พุกาม หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระเจ้าอลองสิธู · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจั่นซิตา

ั่นซิตา (Kyanzittha, ကျန်စစ်သား; พ.ศ. 1627 - 1656) เป็นพระเจ้ากรุงพุกาม และถือเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์พม่าไม่แพ้พระเจ้าอโนรธามังช่อ เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นธรรมกษัตริย์ที่ทำนุบำรุงศาสนาพุทธจนเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด จนเป็นที่ยอมรับทั้งจากชาวพม่าและชาวมอญ พระเจ้าจั่นซิตาเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งในรัชสมัยพระเจ้าอโนรธา เมื่อพระเจ้าซอลูพระราชโอรสของพระเจ้าอโนรธาขึ้นครองราชย์ พระองค์มิได้ประกอบภารกิจอันใดด้วยความสามารถพระองค์เอง แต่จะทรงใช้และปรึกษาเหล่าเสนาอำมาตย์อยู่บ่อย ๆ ในปลายรัชสมัยพระเจ้าซอลู งะรมัน เจ้าเมืองพะโค ซึ่งเป็นชาวมอญได้ก่อกบฏขึ้นจับตัวพระเจ้าซอลูเป็นตัวประกัน จั่นซิตาซึ่งครองเมืองถิเลงอยู่ ไม่สามารถยกทัพกลับมาช่วยพระองค์ได้ทัน งะรมันได้สังหารพระเจ้าซอลูที่เมืองพวาสอ และพยายามเข้ายึดครองอาณาจักรพุกามแต่จั่นซิตาได้เข้าขัดขวาง เหล่าเสนาอำมาตย์ และพระธัมมทัสสีมหาเถระที่ปรึกษาองค์สำคัญของพระเจ้าอโนรธา จึงได้อัญเชิญจั่นซิตาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ เมื่อขึ้นครองราชย์ จั่นซิตามีพระนามว่า ศรีตรีภูวนาทิตยธัมมมราชาTaw, Blagden 1911: 216 ในภาษาสันสกฤต ในจารึกพม่าเรียกพระองค์ว่า "ถิลุงมัง" (T’iluin Man) แปลว่า "กษัตริย์แห่งถิเลง" แต่เนื่องจากจั่นซิตามิได้มีเชื้อสายของกษัตริย์ พระองค์จึงอ้างสิทธิธรรมในการครองราชสมบัติว่าพระองค์ทรงเป็นภาคหนึ่งของพระโพธิสัตว์ และเป็นองค์อวตารของพระวิษณุของชาวปยูอีกด้วย สมัยนี้จึงถือเป็นรัชสมัยที่ศิลปศาสตร์แบบมอญเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในพุกาม ในรัชสมัยของพระเจ้าจั่นซิตา ทรงติดต่อกับต่างประเทศเป็นอย่างมาก ในปี..

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระเจ้าจั่นซิตา · ดูเพิ่มเติม »

พระเครื่อง

ระเครื่องราง นิยมเรียกโดยย่อว่า พระเครื่อง หมายถึง พระพุทธรูปขนาดเล็ก สร้างไว้สำหรับบรรจุไว้ในเจดีย์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า อาจจะรวมถึงรูปสมมติขนาดเล็กของพระสงฆ์อริยบุคคล พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าด้ว.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และพระเครื่อง · ดูเพิ่มเติม »

กวนอิม

กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กวนอิน ตามสำเนียงกลาง เป็นพระโพธิสัตว์ในตามคติมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในประเทศอินเดีย และได้ผสมผสานกับตำนานเรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ของศาสนาพื้นบ้านจีนจนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์" เจ้าแม่กวนอิมเป็นผู้.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และกวนอิม · ดูเพิ่มเติม »

กุสินารา

กุสินารา หรือ กุศินคร (कुशीनगर, کُشی نگر, Kusinaga, Kushinagar) เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ 4 ในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองเอกหนึ่งในสองของแคว้นมัลละ อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำคู่กับเมือง ปาวา เป็นที่ตั้งของ สาลวโนทยาน หรือป่าไม้สาละที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานและเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า กุสินาราจัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 4 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร หรือกาเซีย หรือกาสยา (Kushinaga; Kasia; Kasaya) ในเขตจังหวัดเทวริยา (Devria; Devriya) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย สาลวโนทยาน สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถากุนวะระกาโกฎ (Matha-Kunwar-Ka-Kot) ซึ่งแปลว่า ตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ ปรากฏตามคัมภีร์ว่า เมืองนี้เคยเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ เป็นที่เกิดบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หลายครั้ง เคยเป็นราชธานีนามว่ากุสาวดี ของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ์ ปัจจุบันกุสินารา มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญคือสถูปใหญ่ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วิหารปรินิพพานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปรินิพพานอยู่ภายในและมีซากศาสนสถานโบราณโดยรอบมากม.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และกุสินารา · ดูเพิ่มเติม »

ญิงมา

นิกายญิงมา (རྙིང་མ་) นิกายหมวกแดง เป็นนิกายสำคัญนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธแบบทิเบต ถือกำเนิดจากปัทมสัมภวะ อาจารย์ชาวอินเดียคือที่เดินทางมาทิเบตเมื่อ..

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และญิงมา · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

มหาสังฆิกะ

มหาสังฆิกะ (महासांघिक mahāsāṃghika) เป็นนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่แยกออกมาจากคณะสงฆ์ดั้งเดิมหรือฝ่ายเถรวาทเมื่อครั้งสังคายนาครั้งที่ 2 โดยแยกตัวออกไปทำสังคายนาต่างหาก ในระยะแรกนิกายนี้ไม่ได้รุ่งเรืองมาก เนื่องจากมีความขัดแย้งกับฝ่ายเถรวาทอย่างรุนแรง ต่อมาจึงมีอิทธิพลที่เมืองปาฏลีบุตร เวสาลี แคว้นมคธ ไปจนถึงอินเดียใต้ มีนิกายที่แยกออกไป 5 นิกาย คือ นิกายโคกุลิกวาท นิกายเอกัพโยหาริกวาท นิกายปัญญตติกวาท นิกายพหุสสุติกวาท และนิกายเจติยวาท และถือเป็นต้นกำเนิดของมหายานในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และมหาสังฆิกะ · ดูเพิ่มเติม »

มหาเวสสันดรชาดก

มหาเวสสันดรชาดก เป็นชีวประวัติเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก กล่าวถึงพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ในการบำเพ็ญทานบารมี ก่อนจะทรงอุบัติเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "มหาชาติชาดก" ในการเทศนา เรียกว่า "เทศน์มหาชาติ".

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และมหาเวสสันดรชาดก · ดูเพิ่มเติม »

มารีจี

ระแม่มาริจีโพธิสัตว์ มารีจี (摩利支天Marici bodhisattva)เป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายหญิงตามความเชื่อของพุทธศาสนามหายาน พุทธศาสนาวัชรยานและศาสนาเต๋า โดยนับถือว่าพระโพธิสัตว์แห่งแสงอาทิตย์ยามเช้า ทรงรถที่ลากด้วยหมูป่าเจ็ดตัว รูปลักษณ์ของพระนางมีหลากหลายมีตั้งแต่พักตร์เดียว 2 กรไปจนถึงหกพัตร์ 12 กร ในอินเดียจะพบรูปปั้นแบบพักตร์เดียว 2 กร และ 3 พักตร์ 6 กร พระโพธิสัตว์องค์นี้เป็นที่นิยมนับถือในทิเบตและจีน ญี่ปุ่น และทรงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับตำนานเทศกาลกิน.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และมารีจี · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามเทวดาจีน

ทความนี้รวบรวมเทพเจ้าของจีนต่าง.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และรายพระนามเทวดาจีน · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

รายนามพระโพธิสัตว์

ระโพธิสัตว์ คือบุคคลที่บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระโพธิสัตว์สำคัญตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายานมีดังนี้ พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ พระจันทรประภาโพธิสัตว์ และพระสุริยประภาโพธิสัตว์ พระจุนทีโพธิสัตว์ พระนางตารา พระนาคารชุนะ พระปัทมสัมภวะ พระนางปรัชญาปารมิตา พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ นางวสุธระ พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ พระศรีอริยเมตไตรย พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระอากาศครรภโพธิสัตว.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และรายนามพระโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิบัวขาว

ลัทธิบัวขาว (白蓮教 ไป๋เหลียนเจี้ยว) เป็นขบวนการทางศาสนาและการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์หยวน เป็นลัทธิบูชาพระแม่องค์ธรรมเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด และรอคอยยุคพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งเป็นอุตมรัฐที่เชื่อว่าสังคมจะรุ่งเรืองสงบสุขตลอดไป.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และลัทธิบัวขาว · ดูเพิ่มเติม »

วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร

ระสุภูติกราบทูลอาราธนาพระโคตมพุทธเจ้าแสดงวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ภาพจากม้วนหนังสือวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรที่พบในถ้ำผาม่อเกา ประเทศจีน วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร (Diamond Sutra) เป็นชื่อพระสูตรสำคัญหมวดปรัชญาปารมิตาของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เชื่อกันว่าพระสูตรหมวดปรัชญาปารมิตานี้เป็นพระสูตรมหายานรุ่นแรก ๆ ที่เกิดขึ้น เนื้อหาสาระสำคัญเป็นเรื่องราวการเทศนาสั่งสอนของพระพุทธเจ้ากับพระสุภูติซึ่งเป็นพระอรหันตสาวก ที่พระเชตวันมหาวิหาร ว่าด้วยการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ จะต้องกระทำด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสรรพสิ่งทั้งปวง เป็นการอรรถาธิบายถึงหลักศูนยตา ความว่างเปล่าปราศจากแก่นสารของอัตตาตัวตนและสรรพสิ่งทั้งปวง แม้ธรรมะและพระนิพพานก็มีสภาวะเป็นศูนยตาด้วยเช่นเดียวกัน สรรพสิ่งเป็นแต่เพียงสักว่าชื่อเรียกสมมติขึ้นกล่าวขาน หาได้มีแก่นสารแท้จริงอย่างใดไม่ เพราะสิ่งทั้งปวงอาศัยเหตุปัจจัยประชุมพร้อมกันเป็นแดนเกิด หาได้ดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเอง เช่นนี้สิ่งทั้งปวงจึงเป็นมายา พระโพธิสัตว์เมื่อบำเพ็ญบารมีพึงมองเห็นสรรพสิ่งในลักษณะเช่นนี้ เพื่อมิให้ยึดติดในมายาของโลก ท้ายที่สุด พระพุทธองค์ได้สรุปว่าผู้เห็นภัยในวัฏสงสารพึงยังจิตมิให้บังเกิดความยึดมั่นผูกพันในสรรพสิ่งทั้งปวง เพราะสังขตธรรมนั้นอุปมาดั่งภาพมายา ดั่งเงา ดั่งความฝัน ดั่งฟองในน้ำ และดั่งสายฟ้าแลบ เกิดจากการอิงอาศัยไม่มีสิ่งใดเป็นแก่นสารจีรังยั่งยืน แนวคิดเรื่องศูนยตานี้ได้พัฒนาต่อไปโดยท่านคุรุนาคารชุนแห่งนิกายมาธยมิกะ จนกลายเป็นความคิดหลักทางพุทธปรัชญาที่ลึกล้ำและโดดเด่นในโลกจนทุกวันนี้ พระสูตรนี้มีแปลเป็นภาษาไทยโดย เสถียร โพธินันท.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร · ดูเพิ่มเติม »

วัดบำเพ็ญจีนพรต

วัดบำเพ็ญจีนพรต (ย่งฮกยี่) (永福寺) สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย เป็นปฐมสังฆารามฝ่ายมหายานและอนุตตรธรรม จีนนิกาย (นิกายฌาณ สาขาหลินฉี)ตั้งอยู่ในตรอกวัดกันมาตุยาราม ถนนเยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และวัดบำเพ็ญจีนพรต · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระบาทน้ำพุ

วัดพระบาทน้ำพุ หรือวัดพระพุทธบาทประทานพร เป็นวัดไทยตั้งอยู่เชิงเขาน้ำพุ หมู่ที่ 3 ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี มีพระราชวิสุทธิประชานาถ (อลงกต ติกฺขปญฺโญ) เป็นเจ้าอาวาส วัดแห่งนี้รู้จักกันดีว่ามีรอยพระพุทธบาท เป็นสถานรักษาพักฟื้นผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ และเป็นที่ตั้งของมูลนิธิธรรมรักษ.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และวัดพระบาทน้ำพุ · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุปูแจ

วัดพระธาตุปูแจ ตั้งอยู่ที่บ้านบุญเริง หมู่ที่ 4 บ้านบุญเริง ตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานแห่งชาติ พระธาตุปูแจประดิษฐานในเจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 4 เมตร สูง 4 เมตร บรรจุพระธาตุตาตุ่มข้างขวา (กระดูกข้อเท้า)ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นโบราณสถานที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดแพร่ สร้างมาแต่โบราณนานหลายร้อยปี หลายยุคหลายสมัย และมีเจ้าผู้ครองนครแพร่หลาย ๆ พระองค์ได้ บูรณปฏิสังขรณ์เป็นประจำเสมอมา งานนมัสการพระธาตุปูแจ หรืองานขึ้นพระธาตุ ตรงกับวันขึ้น 11-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี (เดือน5 เหนือ).

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และวัดพระธาตุปูแจ · ดูเพิ่มเติม »

วัดหว่องไท่ซิน (ฮ่องกง)

วัดหว่องไท่ซิน วัดหว่องไท่ซิน เป็นวัดในลัทธิเต๋าที่มีชื่อเสียงของฮ่องกง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของฝั่งเกาลูน ตั้งชื่อตามนักบวชลัทธิเต๋า หว่อง ชิวปิง (黃初平) ที่มี่ชื่อเสียงแถบตอนใต้ของจีน ในยุคราชวงศ์จิ้นตะวันออก และได้รับการนับถือเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งที่มีความสามารถในการรักษาโรค สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1921 วัดหว่องไท่ซิน เป็นสถานที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยว ซึ่งจะเดินทางมาเสี่ยงเซียมซี และให้หมอดูทำนายโชคชะตา และยังเป็นวัดเพียงวัดเดียวในฮ่องกง ที่สามารถจัดพิธีมงคลสมรสในวัดได้.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และวัดหว่องไท่ซิน (ฮ่องกง) · ดูเพิ่มเติม »

วัดถ้ำคีรีวิหาร

วัดคีรีวิหาร เดิมชื่อ วัดหาร ตั้งอยู่ที่ บ้านวัดคีรีวิหาร หมู่ที่ 7 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ภายในวัดถ้ำคีรีวิหารเป็นสภานที่เก็บพระพิมพ์ดินดิบ ภายในถ้ำห้องที่ห้ามีพระพิมพิ์ดินดิบวางซ้อนทับไว้บนพื้นจำนวนมาก มีอยู่สามชนิด ได้แก่ พระพิมพ์ดินดิบรูปวงรีคล้ายลูกไข่ พระพิมพ์ดินดิบมีรูปพระนารายณ์สี่กรอยู่กลาง มีเทวดาล้อมแปดองค์ พระพิมพ์ดินดิบรูปกลีบบัวมีรูปพระนารายณ์สี่กรองค์เดียวใหญ่ พระพิมพ์ดินดิบรูปแผ่นอิฐมีรูปพระนารายณ์สองกรอยู่กลาง มีสาวกหรือเทวดาสองข้าง พระพิมพ์ดินดิบมีอยู่สองปาง ได้แก่ พระพุทธรูปปางเทศนาประทับนั่งตรงกลางล้อมรอบด้วยพระพุทธรูปปางต่าง ๆ อีกแปดองค์ และรูปพระโพธิสัตว์นั่ง วัดถ้ำเขาสาย ตั้งอยู่ใกล้กับวัดคูหาแกงอำเภอห้วยยอด หรือชาวบ้านเรียกว่า วัดหูแกง ภายในถ้ำถ้ำเขาสายมีรูปพระโพธิสัตว์สองกรนั่งห้อยพระบาท (พระพุทธรูปปางนั่งเรือ) รูปพระโพธิสัตว์ยืน รูปพระพุทธเจ้านั่งขัดสมาธิพระพุทธรูปปางสมาธิ) เช่นเดียวกับที่พบภายในถ้ำเขาสาย วัดถ้ำเขาสาย ตั้งอยู่ใกล้กับถ้ำเขาขาวได้พบพระพิมพ์ดินดิบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เช่นเดียวกับที่พบภายในถ้ำ.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และวัดถ้ำคีรีวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดถ้ำเขาสาย

วัดถ้ำเขาสาย เป็นวัดตั้งอยู่ที่เขาสาย หรือภูเขาสาย ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นวัดเก่า อยู่ใกล้วัดหูแกง.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และวัดถ้ำเขาสาย · ดูเพิ่มเติม »

วัดโทได

วัดโทได หรือวัดไทโดจิเป็นวัดพุทธในเมืองนะระ ประเทศญี่ปุ่น ศาลาหลวงพ่อโต (ไดบุสึเด็ง) ของวัดนี้ได้รับการบันทึกว่าเป็นอาคารไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไดบุสึขนาดใหญ่หล่อจากบรอนซ์ ซึ่งเป็นพระปฏิมาแทนองค์พระไวโรจนพุทธเจ้า นอกจากนี้ วัดนี้ยังเป็นศูนย์กลางของโรงเรียนศาสนาในสายเคงอนอีกด้วย วัดนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในทะเบียนเดียวกับวัด ศาลเจ้า และสถานที่สำคัญอื่นๆอีก 7 แห่งในเมืองนะร.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และวัดโทได · ดูเพิ่มเติม »

วัดไผ่โรงวัว

มเด็จพระกะกุสันโท ปางมารวิชัย สูง 58 เมตร หน้าตักกว้าง 40 เมตร สิ่งก่อสร้างภายในวัด วัดไผ่โรงวัว หรือ วัดโพธาราม เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง วัดมีพื้นที่ทั้งหมด 248 ไร่ พื้นที่ของวัดแต่เดิมเป็นดงป่าไผ่ที่ชาวบ้านนำวัวมาผูกไว้ระหว่างทำนา ปัจจุบันภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างต่างๆเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธรูปต่างๆ รูปหล่อพุทธประวัติ พระโพธิสัตว์ พระวิหารร้อยยอด เจดีย์ร้อยยอด สังเวชนียสถานจำลอง เมืองสวรรค์เมืองนรกจำลอง ซึ่งสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ทำให้มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาอย่างสม่ำเสมอ โดยวัดแห่งนี้ ตั้งอยู่บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3422 กิโลเมตรที่ 19 นรกภูมิที่วัดไผ่โรงวัว.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และวัดไผ่โรงวัว · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาราช

วิทยาราชทั้งห้าและกลุ่มเทพโลกบาล วิทยาราช (विद्याराज; หมิงหวัง) เป็นชื่อของเทพประเภทที่สามในศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน รองจากจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ตามลำดับ ชื่อในภาษาสันสกฤตแปลว่า "เจ้าแห่งความรู้" ภาษาจีนได้แปลชื่อดังกล่าวด้วยคำว่า 明 (หมิง) ซึ่งหมายความได้ทั้งแสงสว่างและความรอบรู้ ศาสนาพุทธแบบทิเบตเรียกว่า "เหรุกะ" สำหรับวิทยาราชที่เป็นเพศหญิง มีชื่อเรียกตามภาษาสันสกฤตว่า วิทยาราชินี (หมิงเฟย์) แต่การจำแนกวิทยราชตามเพศเช่นนี้มักจะถูกละเลยอยู่บ่อยครั้ง.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และวิทยาราช · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธแบบทิเบต

ระพุทธศาสนาแบบทิเบตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 587-8 (Tibetan Buddhism) คือพุทธศาสนาแบบหนึ่งซึ่งถือปฏิบัติในทิเบต และปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ ดินแดนทิเบตในอดีตมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามาก พุทธศาสนาแบบทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และศาสนาพุทธแบบทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น

ระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลี ในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นชื่อ นิฮงโชคิ ได้บันทึกไว้ว่า วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 1095 (ในยุคอาซึกะ) เป็นปีที่ 13 ของรัชกาลจักรพรรดิคินเม จักรพรรดิองค์ที่ 29 พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่ญี่ปุ่น โดยพระเจ้าซองกษัตริย์อาณาจักรแพคเจส่งราชทูตมายังราชสำนักจักรพรรดิคินเม พร้อมด้วยพระพุทธรูป ธง คัมภีร์พุทธธรรม และพระราชสาสน์แสดงพระราชประสงค์ที่จะขอให้จักรพรรดิคินเมรับนับถือพระพุทธศาสนา จักรพรรดิคินเมทรงรับด้วยความพอพระทัย แม้จักมีการนับถือศาสนาพุทธในหมู่ชาวญี่ปุ่นอยู่ก่อนแล้ว โดยรับจากอินเดียผ่านจีนเข้ามายังญี่ปุ่นที่มีผู้นำมาถ่ายทอดจากแผ่นดินใหญ่ในช่วงก่อนต้นพุทธศตวรรษที่ 10 เพียงแต่ครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นอย่างเป็นหลักเป็นฐานที่ชัดเจนอยู่ในบันทึกนิฮงโชคิพงศาวดารญี่ปุ่นซึ่งเขียนโดยอาลักษณ์ พระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานในวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นมาร่วมสหัสวรรษ และในพันปีกว่านี้ชาวญี่ปุ่นยังได้เชื่อมโยงความเชื่อของพุทธศาสนาบางส่วนเข้าผสมผสานกับปรัชญาหลักคำสอนของศาสนาชินโตพื้นบ้าน เช่น ความเชื่อในเรื่องของพระโพธิสัตว์และทวยเทพในศาสนาพุทธ ซึ่งได้ผนวกเป็นเทพเจ้าที่ได้รับการเคารพนับถือในศาสนาชินโต ความเชื่อมโยงนี้ซึมซับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของแกนรากทางวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นมาเนิ่นนานหลายศตวรรษ.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธในประเทศอัฟกานิสถาน

ทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยกลุ่มชาวศากยะที่หนีตายจากพระเจ้าวิฑฑูภะมีเจ้าชายองค์หนึ่งได้สมรสกับกับพระเทพธิดาพญานาค แล้วตั้งรกรากอยู่ที่แคว้นอุทยาน (Udyana) ทางตอนเหนือของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน และต่อมาก็หลังทุติยสังคายนาก็มีพระกลุ่มมหาสังฆิกะได้เผยแพร่ในบริเวณแคว้นนครหาร (Nagarahara) ซึ่งใกล้แคว้นคันธาระทางทิศเหนือ แต่สองยุคนี้ ไม่ปรากฏแน่ชัดทางประวัติศาสตร.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และศาสนาพุทธในประเทศอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธในประเทศอินโดนีเซีย

ประชากรของประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบันส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่อดีตเคยมีพระพุทธศาสนาแบบมหายานเข้ามาประดิษฐานอยู่ พระพุทธศาสนาได้รุ่งเรืองมาก ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 มีโบราณสถานที่สำคัญ 2 แห่งอยู่ในอินโดนีเซียคือ บรมพุทโธ (โบโรบุดูร์) ตั้งอยู่ที่ราบเกฑุ (kedu) ในภาคกลางของชวา ห่างจากเมืองยอกจาการ์ตา (Jogjagata) ในปัจจุบันทางเหนือประมาณ 40 กิโลเมตร และพระวิหารเมนดุต (Mendut) ซึ่งอยู่ห่างจาก โบโรบุดูร์ไปทางทิศตะวันออก 3 กิโลเมตร ต่อมาเมื่ออิสลามได้ขยายอำนาจครอบงำอินโดนีเซียในปี..

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และศาสนาพุทธในประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธในประเทศเซเนกัล

ระพุทธศาสนาในประเทศเซเนกัล เริ่มต้นขึ้นเมื่อได้มีชาวเวียดนามอพยพเข้ามาในประเทศเซเนกัล และได้นำพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ในกลุ่มชาวพุทธทั้งหมดในเซเนกัลมีอยู่ประมาณ 0.01% ในจำนวนนี้ จะเป็นชาวเวียดนาม 99% พวกเขาจะสวดมนต์ "Nam mô A Di Đà Phật" เพื่อระลึกถึงพระอมิตาภะพุทธะ และชาวเวียดนามมีความเชื่อเกี่ยวกับ พระโพธิสัตว์และกวนอิมเป็นต้น หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ศาสนาพุทธ หมวดหมู่:ประเทศเซเนกัล.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และศาสนาพุทธในประเทศเซเนกัล · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดูแบบบาหลี

ตรีบาหลีขณะประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่อูบุดก่อนถวายของบูชาแด่เทพเจ้า ปัทมาสน์ที่ประทับของอจินไตย ศาสนาฮินดูแบบบาหลี (Agama Hindu Dharma) หรือ ลัทธิวารีศักดิ์สิทธิ์ (Agama Tirtha) เป็นศาสนาฮินดูรูปแบบหนึ่งที่ปฏิบัติในกลุ่มชาวบาหลีบนเกาะบาหลีในประเทศอินโดนีเซีย อันมีความแตกต่างจากศาสนาฮินดูสายหลักคือมีการสักการะผีพื้นเมือง บูชาผีบรรพบุรุษ และเคารพพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นของคติทางศาสนาพุทธด้วย แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอินโดนีเซียจะนับถือศาสนาอิสลามและคริสต์ แต่ชาวบาหลียุคปัจจุบันยังคงยึดมั่นในหลักธรรมของตนและยังประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอย่างฮินดูอยู.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และศาสนาฮินดูแบบบาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ศานติเทวะ

ระศานติเทวะ ศานติเทวะ (ทิเบต: ཞི་བ་ལྷ།) เป็นปราชญ์ชาวอินเดีย กวีและผู้แต่ง โพธิจรรยาอวตาร ว่าด้วยการปฏิบัติของพระโพธิสัตว์สิบบท ศานติเทวะมีวรรณะพราหมณ.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และศานติเทวะ · ดูเพิ่มเติม »

สัทธรรมปุณฑรีกสูตร

ัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับอักษรฮันจา (อักษรจีนที่ใช้ในประเทศเกาหลี) สมัยราชวงศ์โครยอ เขียนขึ้นราว ค.ศ. 1340 สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र) เป็นพระสูตรที่สำคัญในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนิกชนมหายานโดยเฉพาะในประเทศเอเชียตะวันออก เป็นสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าเทศนาในช่วง 8 ปีสุดท้ายก่อนปรินิพพาน สมัยแห่งการบันทึกพระสูตรเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกนั้นไม่มีมติที่แน่นอน ซึ่งการค้นพบต้นฉบับของสัทธรรมปุณฑริกสูตรในหลายสถานที่จากหลากหลายภูมิภาค สัทธรรมปุณฑริกสูตรมีการแปลเป็นหลายภาษา และมีการคัดลอกต้นฉบับตลอดช่วงเวลาอันยาวนาน อันเป็นข้อพิสูจน์ว่าสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนจำนวนมากในหลากหลายเชื้อชาติ โดยมีการค้นพบต้นฉบับภาษาต่าง ๆ อันได้แก่ สันสกฤต บาลี คานธารี โขตาน ซากา โตคาเรียน ซอกเดีย อุยกูร์เก่า ทิเบต จีน มองโกเลีย แมนจู ซีเซี่ย(ตันกัต) เกาหลี เวียดนาม เป็นต้น ตัวอย่างของสะสมจากสถาบันต้นฉบับภาษาตะวันออกแห่งสมาคมวิทยาศาสตร์รัสเซียมีต้นฉบับคัมภีร์ภาษาสันสกฤต คัดลอกด้วยตัวอักษรพราหมีเตอร์กีสถานใต้ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 ต้นฉบับแปลภาษาจีน คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ต้นฉบับแปลภาษาอุยกูร์เก่า คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในปัจจุบันมีการแปลเป็นภาษา อังกฤษ อิตาเลียน เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ไทย ลาว กรีก สเปน เป็นต้น วินเตอร์นิตซ์ได้เสนอความเห็นว่า พระนาคารชุนได้อ้างถึงข้อความจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรอยู่หลายตอน เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมย่อมต้องมีอยู่แล้วใน..

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และสัทธรรมปุณฑรีกสูตร · ดูเพิ่มเติม »

สุชาดา ธิดาของเสนานีกุฎุมพี

นางสุชาดา เป็นธิดาของเสนานีกุฏมพี (อรรถกถาว่าเสนียะ) ในหมู่บ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยสาวนางได้ทำพิธีบวงสรวงต่อเทพยดาที่สิงสถิต ณ ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งใกล้บ้านของนาง โดยได้ตั้งปณิธานความปรารถนาไว้ 2 ประการ คือ.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และสุชาดา ธิดาของเสนานีกุฎุมพี · ดูเพิ่มเติม »

สุขาวดี

ตรกรรมฝาผนัง ''พุทธเกษตรของพระอมิตาภะ'' ที่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งเบอร์มิงแฮม ตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายาน สุขาวดี (सुखावती สุขาวตี) คือพุทธเกษตรของพระอมิตาภพุทธะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของโลก สุขาวดีไม่ใช่นิพพาน แต่เป็นภูมิที่สาวกของพระอมิตาภะใช้ปฏิบัติธรรมต่อหลังจากสิ้นชีวิตบนโลกเพื่อบรรลุนิพพานต่อไป.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และสุขาวดี · ดูเพิ่มเติม »

สุขาวดี (นิกาย)

ระอมิตาภพุทธะและพระโพธิสัตว์ 2 องค์คือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (ขวา) และพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ (ซ้าย) ในวัดใกล้กับเมือง Meinong, มณฑลเกาสง, ไต้หวัน นิกายสุขาวดี (浄土教, Jōdokyō; 정토종, jeongtojong; Tịnh Độ Tông) เป็นนิกายในศาสนาพุทธที่ตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน แม้จะมีกำเนิดมาจากพระสูตรที่มาจากประเทศอินเดีย แต่ในอินเดียไม่ได้เป็นนิกายเอกเทศ นิกายนี้พระฮุ่นเจียงตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 9 สมัยราชวงศ์ตั้งจิ้น คำสอนของท่านเน้นการเจริญพุทธสติถึงพระอมิตาภพุทธะและปรารถนาไปเกิดในแดนสุขาวดี ในจีนเรียกนิกายนี้ว่า นิกายวิสุทธิภูมิ (จิ้งถู่จง).

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และสุขาวดี (นิกาย) · ดูเพิ่มเติม »

หลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกัน

หลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกัน (Basic Points Unifying the Theravāda and the Mahāyāna) เป็นคำแถลงว่าด้วยหลักความเชื่อที่มีร่วมกันอันสำคัญยิ่ง ซึ่งมีขึ้นในปี พ.ศ. 2510 ระหว่างการประชุมใหญ่ครั้งของพุทธเถรสมาคมโลก (World Buddhist Sangha Council, อักษรย่อ WBSC).

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และหลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกัน · ดูเพิ่มเติม »

หีนยาน

หีนยาน (บาลี; हीनयान Hīnayāna) แปลว่า ยานชั้นเลวหรือยานชั้นต่ำ เป็นคำที่คณาจารย์ฝ่ายมหายานใช้เรียกแนวการปฏิบัติใด ๆ ในศาสนาพุทธที่ไม่ได้ยึดแนวทางแบบพระโพธิสัตว์ แต่เน้นการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นเฉพาะตนแบบพระสาวกหรือพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงเรียกอีกอย่างว่าสาวกยานและปัจเจกยาน ต่างจากมหายานซึ่งเป็นแนวทางที่เน้นให้ผู้ปฏิบัติเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีมุ่งบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อจะได้ช่วยเหลือสรรพสัตว์จำนวนมากได้พ้นทุกข์ตามไปด้วย แนวทางอย่างหลังนี้จึงเรียกว่า มหายาน แปลว่ายานใหญ.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และหีนยาน · ดูเพิ่มเติม »

อวตาร

กัลกยาวตาร (อัศวินม้าขาว) อวตาร (अवतार, avatāra) คือการที่เทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูแบ่งภาคมาเกิดบนโลกมนุษย์ โดยเทพแบ่งพลังงานส่วนหนึ่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด ในลัทธิไวษณพถือว่าเมื่อศีลธรรมของมนุษย์เสื่อมลง จนเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว พระวิษณุจะอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ การอวตารส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพระวิษณุ แต่ก็ยังมีที่เชื่อมโยงกับเทวดาอื่น ๆ รายชื่อของพระนารายณ์อวตารปรากฏในคัมภีร์ฮินดูจำนวนมากรวมทั้งอวตารทั้งสิบในครุฑ ปุราณะ และอวตาร 22 ปางในภควัตปุราณะ รวมทั้งที่เพิ่มอีกภายหลังจนนับไม่ถ้วน พระวิษณุอวตารเป็นความเชื่อหลักของลัทธิไวษณพ หลักฐานเกี่ยวกับอวตารยุคแรก ๆ อยู่ในภควัทคีตา มีเรื่องราวเกี่ยวกับอวตารของพระศิวะและพระพิฆเนศ และเทพีต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่ผู้นับถือลัทธิศักติ อย่างไรก็ตาม อวตารของพระนารายณ์เป็นที่รู้จักมากที.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และอวตาร · ดูเพิ่มเติม »

อสงไขย

อสงไขย (असंख्येय อสํเขฺยย) หมายถึง นับไม่ถ้วน, ไม่ง่ายที่จะนับ, หรือเป็นจำนวนธรรมชาติเท่ากับหนึ่งโกฏิยกกำลัง 20 (10,000,00020) หรือ 10140 (เลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 ต่อท้ายทั้งหมด 140 ตัว) บางตำรากล่าวว่าหมายถึงเลข 10^ ซึ่งมีหลายความหมาย พระพุทธภัทระตีความว่า a.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และอสงไขย · ดูเพิ่มเติม »

อะซะกุซะ

ซุ้มประตูคะมะนะริมง (ประตูสายฟ้า) อันโด่งดัง ตั้งอยู่หน้าวัดเซนโซ เขตไทโต อะซะกุซะ เป็นย่านสำคัญของเขตไทโต (台東区 Taitō-ku) กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นที่ตั้งของวัดเซนโซ (浅草寺 Sensō-ji) ที่มีชื่อเสียง วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระโพธิสัตว์กวนอิม หรือที่ชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า "คันนง" (観音 Kannon) อันเป็นที่เคารพบูชาของชาวญี่ปุ่นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีงานเทศกาลประจำปีที่มีชื่อเสียงระดับประเทศด้ว.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และอะซะกุซะ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

จตุคามรามเทพ

ท้าวขัตตุคาม-ท้าวรามเทพ จตุคามรามเทพ หมายถึง เทพรักษาวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช สององค์ คือ ท้าวขัตตุคาม และ ท้าวรามเทพ ซึ่งเดิมในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์เป็นเทพชั้นสูง และมีอยู่ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย แต่เมื่อภูมิภาคแถบอุษาคเนย์นี้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาเข้ามา ท้าวขัตตุคาม และ ท้าวรามเทพ จึงถูกเปลี่ยนสถานะเป็นเทวดารักษาพระบรมธาตุ และเปลี่ยนชื่อให้เป็นมงคล เป็น ท้าวจตุคาม และสถิตอยู่บนที่บานประตูทางขึ้นพระบรมธาตุ ในปี พ.ศ. 2530 เมื่อครั้งมีการตั้งดวงเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นใหม่ จึงมีการอัญเชิญ จตุคามรามเทพ ไปสถิต ณ ที่นั้นเป็นต้นม.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และจตุคามรามเทพ · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมบาล

นาพุทธในประเทศจีนนับอดีตกาลมา นับถือกันว่า ธรรมบาลยี่สิบสี่พระองค์ คือเหล่าพระโพธิสัตว์กลุ่มหนึ่งตั้งจิตปรารถนาให้ปวงสรรพสัตว์ได้บำเพ็ญบารมีโดยสะดวก จึงพร้อมกันตั้งปณิธานเป็นผู้คุ้มครองอารักขาพระธรรมแห่งพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพุทธบริษัทผู้ดำเนินตามพระรัตนตรัย พระโพธิสัตว์ผู้เป็นธรรมบาลคุ้มครองพระศาสนาเหล่านี้ มีปรากฏพระนามอยู่ในสุวรรณประภาโสตตมราชาสูตร(กิมกวงเม้งจุ้ยเส่งอ้วงเก็ง) ฝ่ายมหายาน พระสูตรนี้ กล่าวถึงเหล่าพระโพธิสัตว์ ท้าวจตุโลกบาลและเหล่าทวยเทพทั้งหลายซึ่งปรากฏชื่อทั้งหมดมี 24 พระองค์ พร้อมกันตั้งปณิธานต่อเบื้องหน้าพระพักตร์แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอถึงรัตนตรัยเป็นที่พึ่งและประกาศตนเป็นธรรมบาลคุ้มครองพระสัทธรรมและเหล่าพุทธบริษัท ให้บำเพ็ญบุญบารมีโดยยิ่งขึ้น พระสูตรนี้จึงเป็นที่มาของพิธีบูชาเทพธรรมบาลโพธิสัตว์ (พิธีก้งจูเทียน)ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และธรรมบาล · ดูเพิ่มเติม »

ทศภูมิ

ทศภูมิ หรือ โพธิสัตว์ทศภูมิ เป็นคติว่าด้วยลำดับการบรรุลธรรมของพระโพธิสัตว์ คำว่า "ภูมิ" แปลว่า "แผ่นดิน" แต่ในที่นี้หมายถึงลำดับขั้น หากเทียบกับฝ่ายเถรวาทคือคำว่า "ภูมิธรรม" ทศภูมิทั้ง 10 ลำดับ หรือ ภูมิทั้งสิบ (十地) ปรากฏอยู่ในแนวคิดของฝ่ายมหายาน และวัชรยาน โดยมีรายละเอียดเป็นพิเศษในอวตังสกสูตร หรือ พุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร โพธิสัตวทศภูมิวรรค มีดังนี้.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และทศภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ทะไลลามะ องค์ที่หนึ่ง

ทะไลลามะ องค์ที่หนึ่ง หรือที่เรียกกันว่าเกนดุน ดรัปและเกนดุน ดรุปถือเป็นทะไลลามะ องค์แรกในบรรดาดาไลลามะทั้งหมดของทิเบต ที่มีความเชื่อว่าจะเป็นนิรมานกายของ เชนเรซิง (สันสกฤต: Avalokiteshvara) พระโพธิสัตว์ ของ ความเมตตา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 1934 หมวดหมู่:ทะไลลามะ หมวดหมู่:ชาวทิเบต หมวดหมู่:นักเขียนชาวทิเบต.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และทะไลลามะ องค์ที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ทิก กว๋าง ดึ๊ก

ระทิก กว๋าง ดึ๊ก เผาตัวเองเพื่อประท้วง ภาพถ่ายโดยมัลคอล์ม บราวน์ ทิก กว๋าง ดึ๊ก (Thích Quảng Đức; เกิดปี พ.ศ. 2440-11 มิถุนายน พ.ศ. 2506) เป็นภิกษุนิกายมหายานชาวเวียดนามที่เผาตัวเองจนมรณภาพ บนสี่แยกถนนไซง่อนเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2506 พระทิก กว๋าง ดึ๊ก ประท้วงเนื่องจากที่รัฐบาลไม่ให้ความเท่าเทียมกันทางศาสนากับชาวพุทธในการบริหารของรัฐบาลของโง ดิ่ญ เสี่ยม (Ngô Đình Diệm) ภาพการเผาตัวเองของพระทิก กว๋าง ดึ๊ก ถูกแพร่กระจายไปทั่วโลกและทำให้โลกหันมาจับตานโยบายของรัฐบาลเสี่ยม ส่วนช่างภาพ มัลคอล์ม บราวน์ ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ หลังจากท่านมรณภาพได้มีการนำร่างของท่านไปทำพิธีฌาปนกิจศพ แต่หัวใจที่ได้จากศพของท่านไม่ไหม้เป็นเถ้าถ่าน ซึ่งมีการตีความว่าถึงความเมตตาและพุทธศาสนิกชนในเวียดนามยกย่องให้ท่านทิก กว๋าง ดึ๊ก เป็นพระโพธิสัตว์ และท่านได้ถูกนำรูปใช้ประกอบอัลบั้มของวง เรจอะเกนสต์เดอะแมชชีน.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และทิก กว๋าง ดึ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวสันดุสิต

ท้าวสันดุสิต เป็นจอมเทพผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดุสิตและเทพในชั้นนี้ทั้งหมด ในสวรรค์ชั้นนี้ถือเป็นชั้นที่เปี่ยมไปด้วยปีติ และกามคุณเบาบางกว่าสวรรค์ชั้นอื่น เป็นชั้นที่พระโพธิสัตว์อยู่อาศัยมากที่สุด พระเวสสันดรโพธิสัตว์ทรงประทับในสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ก่อนได้รับอาราธนาให้เสด็จลงมาเสวยพระชาติสุดท้ายเป็นพระโคตมพุทธเจ้า หมวดหมู่:เทวดา.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และท้าวสันดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

ดุสิต

ต คือสวรรค์ชั้นที่ 4 ในฉกามาพจร มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเท.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

ความรัก

วาดตัวอย่างคู่รัก โรมิโอกับจูเลียต ความรัก (Love) เป็นความรู้สึก สภาพและเจตคติต่าง ๆ ซึ่งมีตั้งแต่ความชอบระหว่างบุคคลหมายถึงอารมณ์การดึงดูดและความผูกพัน (attachment) ส่วนบุคคลอย่างแรงกล้าOxford Illustrated American Dictionary (1998) + Merriam-Webster Collegiate Dictionary (2000) ในบริบททางปรัชญา ความรักเป็นคุณธรรมแสดงออกซึ่งความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และความเสน่หาทั้งหมดของมนุษย์ ความรักเป็นแก่นของหลายศาสนา อย่างเช่นในวลี "พระเจ้าเป็นความรัก" ของศาสนาคริสต์ หรืออากาเปในพระวรสารในสารบบ ความรักยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นพฤติกรรมต่อตนเองหรือผู้อื่นซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานความเห็นอกเห็นใจ หรือความเสน่หา คำว่ารักสามารถหมายความถึงความรู้สึก สภาพทางอารมณ์และเจตคติต่าง ๆ ซึ่งอาจมีตั้งแต่ความพอใจทั่วไปจนถึงความดึงดูดระหว่างบุคคลอย่างรุนแรง แต่โดยเจาะจงแล้ว ความรักสามารถหมายถึงความต้องการอย่างเสน่หาและความสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่งเป็นความหมายของความรักแบบโรแมนติก ความรักที่มีเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นความหมายของอีรอส (คำภาษากรีกหมายถึงความรัก) ความใกล้ชิดทางอารมณ์ ซึ่งเป็นความหมายของความรักกับบุคคลในครอบครัว หรือรักบริสุทธิ์ที่นิยามมิตรภาพ หรือความรักแบบอุทิศตัวแบบในทางศาสนา (J. Mascaró, translator) ความหลากหลายของการใช้และความหมายของคำว่ารักนี้ ประกอบกับความรู้สึกอันซับซ้อนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เป็นการยากที่จะนิยามความรักให้แน่นอน แม้จะเทียบกับสภาพอารมณ์อื่น ๆ แล้วก็ตาม วิทยาศาสตร์นิยามว่าสิ่งที่เข้าใจได้ว่าเป็นความรักนั้นเป็นสภาพที่มาจากวิวัฒนาการของสัญชาตญาณการเอาตัวรอด โดยพื้นฐานแล้วเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันเพื่อต่อต้านภัยคุกคามและเพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องของสายพันธุ์ผ่านการสืบพันธุ์Helen Fisher.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และความรัก · ดูเพิ่มเติม »

คากูเระคิริชิตัง

แม่พระและพระกุมารตามคติของคากูเระคิริชิตังที่พรางตามอย่างเทพีในพุทธศาสนา รูปปั้นพระแม่มารีย์อำพรางในรูปลักษณ์ของเจ้าแม่กวนอิม คากูเระคิริชิตัง เป็นศัพท์ภาษาญี่ปุ่นสมัยใหม่ที่ใช้อ้างอิงถึงชาวญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอย่างลับ ๆ หลังเกิดเหตุการณ์กบฏชิมาบาระในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1630 ที่เวลาต่อมาความเชื่อของพวกเขาได้พัฒนาต่างออกไปจากเดิมโดยมีการผสานความเชื่อนอกศาสนาเข้ามาเนื่องจากขาดการติดต่อกับโลกภายนอก ปัจจุบันผู้สืบเชื้อสายคากูเระคิริชิตังได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกตามครรลองที่ควรจะเป็น แต่มีคากูเระคิริชิตังบางส่วนยังยึดถือแนวทางการปฏิบัติที่สืบทอดตามอย่างบรรพบุรุษต่อซึ่งถูกเรียกว่า ฮานาเระคิริชิตัง หรือ "คริสตังแปลกแยก" ปัจจุบันเหลืออยู่ในหมู่เกาะโกโต.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และคากูเระคิริชิตัง · ดูเพิ่มเติม »

คุยหลัทธิ

หลัทธิ (Esotericism/Esoterism) หมายถึง แนวคิดหรือความรู้แบบหนึ่งที่ถูกสงวนไว้ให้รับรู้หรือเปิดเผยได้กับคนเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ที่เป็นสมาชิกหรือผู้สนใจเป็นพิเศษ ขบวนการทางศาสนาที่มีแนวคิดแบบคุยหลัทธิ เช่น ลัทธิการเล่นแร่แปรธาตุ โหราศาสตร์ ไญยนิยม วัชรยาน ไสยศาสตร์ ลัทธิเซียนเทียนเต้า ลัทธิอนุตตรธรรม เจตนิยม เป็นต้น.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และคุยหลัทธิ · ดูเพิ่มเติม »

ฉกามาพจร

ตามคติจักรวาลวิทยาในศาสนาพุทธ ฉกามาพจร คือสวรรค์ 6 ชั้นที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม หรือ สวรรค์ที่อยู่ในกามภูมิ เมื่อนับรวมกับมนุสสภูมิจะเรียกว่ากามสุคติภูมิ 7 สวรรค์ทั้ง 6 ชั้น มีดังนี้.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และฉกามาพจร · ดูเพิ่มเติม »

ประพจน์ อัศววิรุฬหการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประพจน์ อัศววิรุฬหการ หนือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ เกิดที่จังหวัดอุทัยธานี เป็นนักภาษาศาสตร์และนักอักษรศาสตร์ชาวไทย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณคดีบาลีและภาษาสันสกฤต พระไตรปิฎกฉบับภาษาจีน และพระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะอักษรศาสตร์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็น กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และประพจน์ อัศววิรุฬหการ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม

ียนก่อนประวัติศาสตร์บนผนังถ้ำเป็นรูปวัวที่ลาส์โกซ์ (Lascaux) ในประเทศฝรั่งเศส ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม (ภาษาอังกฤษ: History of painting) เริ่มสร้างกันมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์และเผยแพร่ไปในทุกวัฒนธรรมและทุกที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในโลกจนกระทั่งปัจจุบันนี้ จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรที่ 20 จิตรกรรมจะเป็นการเขียนศิลปะแสดงลักษณ์ (Representational art), ศิลปะศาสนา หรือศิลปะคลาสสิก หลังจากนั้นจึงมีการเริ่มเขียนจิตรกรรมที่เป็นแต่เพียงศิลปะนามธรรม (Abstract art) และต่อมาศิลป์มโนทัศน์ (Conceptual art) การวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันตกคล้ายคลึงกับการวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันออกโดยทั่วไปในสองสามร้อยปีหลัง ศิลปะแอฟริกา, ศิลปะอิสลาม, ศิลปะอินเดีย, ศิลปะจีน, และศิลปะญี่ปุ่น แต่ละอย่างที่กล่าวมาต่างก็มีอิทธิพลสำคัญต่อศิลปะตะวันตก และในที่สุดศิลปะก็กลับไปมีอิทธิพลต่อศิลปะตะวันออก.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสนาพุทธ

นาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจากศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือเถรวาทและมหายาน นิกายมหายานได้แพร่หลายไปทั่วเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก เมื่อศาสนาพุทธในอินเดียเสื่อมลง พุทธศาสนามหายานในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เสื่อมตามไปด้วย ยังคงเหลือในจีน ทิเบต ญี่ปุ่น เวียดนาม ส่วนนิกายเถรวาทได้เฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งในศรีลังกา และแพร่หลายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พุทธศาสนาได้แพร่หลายไปยังโลกตะวันตกตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่ชาวตะวันตกหันมาสนใจพุทธศาสนามากขึ้นในยุคจักรวรรดินิยมและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และประวัติศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ประติมากรรมไทย

ระพุทธชินราชศิลปะสมัยสุโขทัย ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของประติมากรรมไทย ประติมากรรมไทย หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธี การปั้น การแกะสลัก การหล่อ หรือการประกอบเข้าเป็นรูปทรง 3 มิติ ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของไทยโดยเฉพาะ วัสดุที่ใช้ในการสร้างมักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ โลหะ ไม้ งาช้าง เขาสัตว์กระดูก ฯลฯ ผลงานประติมากรรมไทย มีทั้งแบบ นูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว งานประติมากรรมนูนต่ำและนูนสูงมักทำเป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่นลวดลายปูนปั้น ลวดลายแกะสลักประดับตามอาคารบ้านเรือน โบสถ์ วิหาร พระราชวัง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังอาจเป็นลวดลายตกแต่งงานประติมากรรมแบบลอยตัวด้วย สำหรับงานประติมากรรมแบบลอยตัว มักทำเป็นพระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพต่างๆ (ศิลปะประเภทนี้จะเรียกว่า ปฏิมากรรม) ตุ๊กตาภาชนะดินเผา ตลอดจนถึงเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสกุลช่างของแต่ละท้องถิ่น หรือแตกต่างกันไปตามคตินิยมในแต่ละยุคสมัย โดยทั่วไปแล้วเรามักศึกษาลักษณะของสกุลช่างที่เป็นรูปแบบของศิลปะสมัยต่างๆ ในประเทศไทยจากลักษณะของพระพุทธรูป เนื่องจากเป็นงานที่มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จัดสร้างอย่างประณีตบรรจง ผู้สร้างมักเป็นช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญที่สุดในท้องถิ่นหรือยุคสมัยนั้น และเป็นประติมากรรมที่มีวิธีการจัดสร้างอย่าง ศักดิ์สิทธิ์เปี่ยมศรัทธา ลักษณะของประติมากรรมของไทยในสมัยต่างๆ สามารถลำดับได้ดังนี้.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และประติมากรรมไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญาปารมิตา

ระปรัชญาปารมิตา ปรัชญาปารมิตาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 429-430 (อักษรเทวนาครี: प्रज्ञा पारमिता, Shes-rab-pha-rol-phyin ་ཤེས་རབ་ཕ་རོལ་, 般若波羅蜜多/般若波罗蜜多, Pinyin: bō'ruò-bōluómìduō; hannya-haramitta (般若波羅蜜多, hannya-haramitta?) banya-paramilda (般若波羅蜜多/반야파라밀다); Bát Nhã Ba La Mật Đa) เป็นพระสูตรสำคัญชุดหนึ่งในนิกายมหายาน ที่สำคัญ เช่น มหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ในทางศิลปกรรมช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 -12 มักแสดงในเชิงบุคลาธิษฐานเป็นรูปพระโพธิสัตว์ชื่อ "พระปรัชญาปารมิตา" มีฐานะเป็นมารดาของพระพุทธเจ้า หรือเป็นภาคสำแดงของพระอักโษภยพุทธะ เป็นสัญลักษณ์ของสุญญต.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และปรัชญาปารมิตา · ดูเพิ่มเติม »

ปัญญาสชาดก

ปัญญาสชาดก เป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องเอกที่พระเถระนักปราชญ์ชาวเชียงใหม่ได้รวบรวมเรื่องราวปรัมปราที่เป็นนิทานพื้นถิ่นแพร่หลายในยุคนั้น แล้วนำมารจนาเป็นชาดกขึ้นในระหว่างปี..

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และปัญญาสชาดก · ดูเพิ่มเติม »

ปางมหาภิเนษกรมณ์

ปางมหาภิเนษกรมณ์ เป็นรูปพระโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะเกาะหลังม้าตามเสด็จ ขาม้าทั้ง 4 ขา มีท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ประจำอยู่ นำพระองค์เหาะข้ามกำแพงพระนครออกไปด้วยปาฏิหาร.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และปางมหาภิเนษกรมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปางทรงตัดเมาลี

ปางทรงตัดเมาลี เป็นรูปพระโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) บนพระแท่นพระหัตถ์ซ้ายทรงรวบพระเมาลีไว้ พระหัตถ์ขวาทรงพระขันค์ทำอาการทรงตัดพระเมาลี มีนายฉันนะและม้ากัณฐกะอยู่ด้านหลัง.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และปางทรงตัดเมาลี · ดูเพิ่มเติม »

ปางประสูติ

ระพุทธรูปปางประสูติ ลุมพินีวัน เนปาล ปางประสูติ เป็นลักษณะรูปของพระโพธิสัตว์ขณะประสูติ มีลักษณะเป็นภาพสตรีประทับยืนเหนี่ยวกิ่งต้นไม้ (พระนางสิริมหามายา) มีพระโพธิสัตว์ประสูติออกทางด้านข้างของพระวรกายของพระนาง.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และปางประสูติ · ดูเพิ่มเติม »

โพธิสัตว์

ัตว์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

โพธิจิต

ต (बोधिचित्त; 菩提心 ผูถีซิน) หมายถึง จิตที่มุ่งต่อการตรัสรู้เพื่อประโยชน์แก่สัตวโลก คำว่า โพธิจิต เป็นคำสมาส จากคำว่า โพธิ (การตรัสรู้) + จิต ดังนั้น โพธิจิต จึงแปลว่า จิตแห่งการตรัสรู้ แนวคิดเรื่องโพธิจิตปรากฏในหลายคัมภีร์ของฝ่ายมหายาน เช่น วิมลกีรตินิรเทศสูตร มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ มหาไวโรจนสูตร เป็นต้น โดยแต่ละคัมภีร์แสดงนัยของโพธิจิตแตกต่างกันไป เมื่อนิกายมหายานแพร่ไปถึงประเทศจีน พระเถราจารย์ชาวจีนหลายรูปได้แต่งคัมภีร์ขยายความแนวคิดโพธิจิตต่อไปอีกจนแพร่หลาย จนกลายเป็นแนวคิดสำคัญอย่างหนึ่งของนิกายมหายานจวบจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และโพธิจิต · ดูเพิ่มเติม »

ไดโงะฮนซง

งะฮนซง เป็นสิ่งสักการบูชาสูงสุดของศาสนาพุทธนิกายนิชิเร็งโชชู คำว่า "ได" (大) แปลว่า "ยิ่งใหญ่, สูงสุด" ส่วน "โงะฮนซน" (御本尊) หมายถึง สิ่งสักการะ คำว่า "ไดโงะฮนซง" จึงแปลว่า "สิ่งสักการะสูงสุด" ไดโงะฮนซนมีลักษณะเป็นรูปมัณฑละ (มณฑล) จารึกภาษาจีนและภาษาสันสกฤต ซึ่งทำจากไม้การบูร โดยหลักแล้วมัณฑละดังกล่าวประกอบด้วยนามของพุทธะ พระโพธิสัตว์ เทพในพุทธศาสนา และคุรุอาจารย์ต่างๆ ในศาสนาพุทธเป็นจำนวนมาก รายล้อมรอบอักษรคันจิ (อักษรจีน) ที่อยู่ศูนย์กลางมัณฑละ ซึ่งจารึกเป็นคาถาว่า "นัมเมียวโฮเร็งเงเคียวนิชิเร็ง" ตามประวัติกล่าวว่าโงะฮนซงถูกจารึกขึ้นโดยพระนิชิเร็ง (หรือ "นิชิเร็งไดโชนิง" ในหมู่สานุศิษย์แห่งนิกายนิชิเร็งโชชู) เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1279 เป็นการจำลองธรรมสภาในห้วงอวกาศขณะที่พระโคดมพุทธเจ้า (ฝ่ายมหายานนิยมเรียกว่า "พระศากยมุนีพุทธะ") แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ปัจจุบันไดโงะฮนซงประดิษฐานอยู่ ณ โฮอันโดะ วัดไทเซคิจิ จังหวัดชิซุโอะกะ ประเทศญี่ปุ่น อันเป็นศูนย์กลางใหญ่ของศาสนาพุทธนิกายนิชิเร็งโชชู สานุศิษย์แห่งนิกายนิชิเร็งโชชูถือว่าไดโงะฮนซงคือการรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบุคคลและธรรม และคือจุดมุ่งหมายในการมาเกิดของพระนิชิเร็งไดโชนิง.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และไดโงะฮนซง · ดูเพิ่มเติม »

ไตรโลกยวิชยะ

ตรโลกยวิชยะ วิทยาราชประจำทิศตะวันออก ไตรโลกยวิชยะ (त्रैलोक्यविजय ไตรโลกฺยวิชย,, 降三世明王 เจี่ยงซานซื่อหมิงหวัง) เป็นหนึ่งในวิทยาราชทั้งห้าตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน (ในญี่ปุ่นเป็นที่นับถือในนิกายชินงน ซึ่งเป็นแขนงย่อยหนึ่งของวัชรยาน) สถิดอยู่ ณ ทิศตะวันออกของครรภโกษธาตุ ทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มครองของพระอักโษภยพุทธะ พระธยานิพุทธะแห่งทิศตะวันออก บางตำราถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง โดยเป็นพระโพธิสัตว์เอกเทศมิได้จัดอยู่ในสกุลของพระธยานิพุทธะองค์ใด นามของไตรโลกยวิชยะ มีความหมายโดยศัพท์ว่า "ผู้ชนะโลกทั้งสาม".

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และไตรโลกยวิชยะ · ดูเพิ่มเติม »

เบญจศีล

ญจศีล หรือ ปัญจสีล แปลว่า ศีล 5 เป็นศีลหรือข้อห้ามในลำดับเบื้องต้นตามพระโอวาทของพระโคตมพุทธเจ้า พระศาสดาพระองค์ปัจจุบันแห่งศาสนาพุทธ แต่ทั้งนี้เบญจศีลเป็นหลักการที่มีมาและเป็นที่สั่งสอนทั่วไปก่อนพระพุทธโคดมอุบัติแล้วราชบัณฑิตยสถาน, 2548: 363.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และเบญจศีล · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลกินเจ

ทศกาลกินเจ หรือ กินแจ (九皇勝會 Jiǔ huán Shèng huì; ฮกเกี้ยน: กิ้วอ๋องเซ่งโห่ย; Nine Emperor Gods Festival หรือ 九皇大帝誕; ฮกเกี้ยน: กิ้วอ๋องไต่เต้ตั้น) หรือบางแห่งเรียกว่า ประเพณีถือศีลกินผัก เป็นประเพณีแบบลัทธิเต๋ารวม 9 วัน กำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีนมานานแล้ว โดยมีตำนานเล่าขานกันหลายตำนาน ปัจจุบัน เทศกาลกินเจจัดขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ตลอดจนหมู่เกาะเรียวในอินโดนีเซียและอาจมีในบางประเทศเอเชีย เช่น ภูฏาน ญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศจีน(ประกอบด้วยฮ่องกงและมฑทณไต้หวัน) ซึ่งการกินเจในเดือน 9 นี้ เชื่อกันว่าน่าจะเกิดขึ้นเมื่อราว..

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และเทศกาลกินเจ · ดูเพิ่มเติม »

เทียนไถ

นิกายสัทธรรมปุณฑริกสูตร หรือ นิกายเทียนไถ (天台宗 Tiāntái) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาพุทธในประเทศจีน ก่อตั้งโดยฉีอี้ นับถือสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นคัมภีร์หลัก.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และเทียนไถ · ดูเพิ่มเติม »

เดรัจฉาน

ในศาสนาพุทธ เดรัจฉาน หมายถึง สัตว์ จัดเป็นหนึ่งในอบายภูมิ 4.

ใหม่!!: พระโพธิสัตว์และเดรัจฉาน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Bodhisattvaพุทธางกูร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »