โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

ดัชนี พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (Henry VIII of England) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษตั้งแต่ 21 เมษายน 1509 จนสวรรคต นอกจากนี้ยังทรงเป็นชาวอังกฤษพระองค์แรกที่ได้เป็นกษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ และยังเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสอีกด้วย พระเจ้าเฮนรีทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่สองของราชวงศ์ทิวดอร์ ซึ่งครองราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา พระเจ้าเฮนรีที่ 7 นอกจากการอภิเษกสมรสทั้ง 6 ครั้งและความสัมพันธ์กับสตรีนอกสมรสแล้ว อีกหนึ่งเรื่องราวสำคัญในรัชสมัยของพระองค์คือการประกาศให้การอภิเษกกับแคเธอรีนแห่งอารากอน มเหสีคนแรกเป็นโมฆะ ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งกับพระสันตะปาปา และนำประเทศไปสู่การแยกตัวออกจากศาสนจักรโรมันคาทอลิก โดยการสถาปนาคริสตจักรแห่งอังกฤษขึ้นมาแทน ซึ่งเป็นคริสตจักรที่ไม่ขึ้นกับพระสันตะปาปา และถือเอาตัวพระองค์เองในฐานะกษัตริย์เป็น "ประมุขสูงสุดของคริสตจักรในอังกฤษ" และนำไปสู่การยุบอารามขึ้น แต่ในด้านความเชื่อพระองค์ยังคงถือคำสอนหลายอย่างตามโรมันคาทอลิก แม้ว่าจะถูกพระสันตะปาปาประกาศตัดขาดจากศาสนาไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังคอยควบคุมการรวมสหภาพระหว่างอังกฤษกับเวลส์ และพระองค์ยังได้ขึ้นชื่อว่าทรงเป็นศัตรูตลอดกาลกับพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และ จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตลอดรัชสมัยได้ทำสงครามกันหลายต่อหลายครั้ง พระเจ้าเฮนรีถือเป็นกษัตริย์ที่มีเสน่ห์ มีการศึกษาดี และทรงคุณวุฒิ และเป็นประมุขที่ทรงบารมีที่สุดแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ แม้จะทรงใช้อำนาจปกครองประเทศอย่างเด็ดขาดแต่ก็ทรงสนพระทัยการเขียนและนิพนธ์ ทรงเห็นว่าสตรีไม่สามารถสร้างความเจริญและมั่นคงแก่ราชวงศ์ทิวดอร์ได้ จึงมีพระราชประสงค์อย่างมากที่จะได้รัชทายาทชายสืบทอดราชบัลลังก์ ทำให้ทรงอภิเษกสมรสหลายครั้งและต่อมาต้องดำเนินการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ ซึ่งนำให้อังกฤษกลายเป็นชาติโปรเตสแตนต์ ช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระองค์เป็นโรคอ้วนซึ่งทำให้พระพลานามัยย่ำแย่ มีพระรสนิยมผิดปกติ พระสาทิสลักษณ์ของพระองค์จึงมักแสดงออกถึงความมักมาก เห็นแก่ตัว โหดร้าย พระอารมณ์ไม่มั่นคง ภายหลังสวรรคต พระราชโอรส(ตามกฎหมาย)องค์เดียวของพระองค์ ได้สืบราชบัลลังก์ต่อเป็น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ขณะมีพระชันษาเพียง 9 ปี.

128 ความสัมพันธ์: บักฟาสต์แอบบีย์บัลลังก์รัก ฉาวโลกชาลส์ ลาฟตันชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับชุดกีฬาฟุตบอลบ้านผีสิงพ.ศ. 2056พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนาพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร (เวลาและสถานที่)พระราชวังพลาเซ็นเทียพระราชวังแฮมป์ตันคอร์ตพระราชวังไวต์ฮอลพระราชวังเซนต์เจมส์พระราชินีแอนน์พระวรสารลินดิสฟาร์นพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษพระเจ้าเจมส์ที่ 5 แห่งสกอตแลนด์กรีนิชการพบปะที่ทุ่งภูษาทองการยุบอารามการรวมราชบัลลังก์การทำให้เป็นฆราวาสการปฏิรูปศาสนาการแต่งงานโดยฉันทะกาตาลินาแห่งอารากอน พระราชินีแห่งอังกฤษภาพเชิงวัฒนธรรมของควีนแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษภาพเหมือนของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8มาร์กาเรต โบฟอร์ต เคาน์เตสแห่งริชมอนด์และดาร์บีมาร์กาเร็ต ทิวดอร์มีไซอาห์ (แฮนเดิล)มงกุฎทิวดอร์มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดรัฐร่วมประมุขราชวงศ์สหราชอาณาจักรราชวงศ์ทิวดอร์ราชอาณาจักรไอร์แลนด์ราชาธิปไตยของไอร์แลนด์รายชื่อสนธิสัญญารายชื่อตัวละครในปริศนาสมบัติอัจฉริยะรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษรายพระนามรัชทายาทอังกฤษรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์อังกฤษรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระประมุขแห่งลักเซมเบิร์กรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม...รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมละครสวมหน้ากากลำดับเหตุการณ์การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1500 ถึง ค.ศ. 1599สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในฝรั่งเศสสมัยทิวดอร์สมัยเอลิซาเบธสมเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1 แห่งคาสตีลสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 7สวนสาธารณะเซนต์เจมส์สวนหลวงสตัดลีย์สหราชอาณาจักรสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกสถาปัตยกรรมเอลิซาเบธสงครามรัก อำนาจ ราชบัลลังก์สงครามสันนิบาตกอญักสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1521-1526)สงครามดอกกุหลาบอลิซาเบธ ราชินีบัลลังก์เลือดอะยะ ฮิระโนะอัศวินฮอสปิทัลเลอร์อัครศาสนูปถัมภกอาสนวิหารอาสนวิหารกลอสเตอร์อาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ดอาสนวิหารนักบุญเปาโลอาสนวิหารเดอรัมอีริก บานาฮันส์ ฮอลไบน์ (ผู้ลูก)จักรพรรดิจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ธนูยาวอังกฤษทอมัส มอร์ทอมัส แบ็กกิตทอมัส โวลซีย์ข้าราชสำนักดัชชีเคลเวอคริสตจักรแห่งอังกฤษคริสต์ศตวรรษที่ 16คฤหาสน์ชนบทคฤหาสน์ภูมิฐานคฤหาสน์โวเบิร์นงานกระจกสีตระกูลสเปนเซอร์ตูร์แนประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสประวัติศาสตร์สเปนประวัติศาสตร์อังกฤษนวนิยายอิงชีวประวัตินอตทิงแฮมเชอร์นักพรตหญิงแมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสแอบบีย์แอนน์ บุลิน พระราชินีแห่งอังกฤษแอนน์แห่งคลีฟส์ พระราชินีแห่งอังกฤษแคเธอรีน พารร์ พระราชินีแห่งอังกฤษแคเธอรีน ฮอเวิร์ด พระราชินีแห่งอังกฤษโจวัน ฟรันเชสโก เปนนีโปรเตสแตนต์เบญจาคริสต์เบียทริซแห่งโพรว็องซ์เกาะบราวน์ซีเมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักรเลดีเจน เกรย์เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์เอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชินีแห่งอังกฤษเอเลนอร์แห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสเจน ซีมัวร์ พระราชินีแห่งอังกฤษเจ้าชายแห่งเวลส์เจ้าหญิงคริสตินาแห่งเดนมาร์กเดวิด ชาร์ลส เฮนชอว์ ออสติน11 มิถุนายน12 กรกฎาคม23 พฤษภาคม ขยายดัชนี (78 มากกว่า) »

บักฟาสต์แอบบีย์

ักฟาสต์แอบบีย์ (Buckfast Abbey) เป็นอารามคณะเบเนดิกตินนิกายโรมันคาทอลิกที่ตั้งอยู่ที่เมืองบักฟาสต์ลีห์ในเทศมณฑลเดวอน อังกฤษ ที่อุทิศให้พระแม่มารีย์ บักฟาสต์แอบบีย์ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1018 และเปลี่ยนไปอยู่ภายใต้การบริหารของคณะซิสเตอร์เชียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1147 จนกระทั่งมาถูกทำลายลงเมื่อมีการยุบอารามในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 เมื่อมาถึงปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและบักฟาสต์แอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

บัลลังก์รัก ฉาวโลก

ัลลังก์รัก ฉาวโลก (The Other Boleyn Girl) เป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและบัลลังก์รัก ฉาวโลก · ดูเพิ่มเติม »

ชาลส์ ลาฟตัน

ลส์ ลาฟตัน (1 กรกฎาคม ค.ศ. 1899 − 15 ธันวาคม ค.ศ. 1962) เป็นนักแสดง นักเขียนบทภาพยนตร์ โปรดิวเซอร์ และผู้กำกับชาวอังกฤษ ลาฟตันเข้าเรียนที่ราชสถาบันศิลปะการแสดง และแสดงมืออาชีพเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและชาลส์ ลาฟตัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ

ันเดรดเกรตเตสต์บริทันส์ หรือ ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ (100 Greatest Britons) คือรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ · ดูเพิ่มเติม »

ชุดกีฬาฟุตบอล

ในปี ค.ศ. 2006 ของปาเวล เนดเวต สวมชุดกีฬาฟุตบอลในแบบปัจจุบัน ในกีฬาฟุตบอล ชุดกีฬา หมายถึง อุปกรณ์มาตรฐานและเครื่องแต่งกายของนักฟุตบอล ในภาษาอังกฤษ สำเนียงบริเตนใช้คำว่า "kit" หรือ "strip" และสำเนียงอเมริกันใช้คำว่า "uniform" ตามกติกานั้นกำหนดให้ใช้ชุดกีฬา และห้ามไม่ให้สวมใส่สิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้เล่นอื่น ในการแข่งขันแต่ละแห่งนั้นอาจระบุเงื่อนไขเฉพาะ เช่น กฎบังคับด้านขนาดของโลโก้ที่แสดงบนเสื้อและกล่าวว่า ในการแข่งขันแต่ละนัดระหว่าง 2 ทีมนั้น หากสีของชุดกีฬาเหมือนหรือคล้ายกัน ทีมเยือนจะต้องเปลี่ยนไปเป็นอีกชุด โดยปกติแล้วนักฟุตบอลจะมีหมายเลขอยู่ด้านหลังของเสื้อ โดยทีมแรกจะสวมเสื้อตั้งแต่หมายเลข 1 ถึง 11 เพื่อให้พอสอดคล้องกับตำแหน่งการเล่น แต่ในระดับอาชีพแล้ว หมายเลขของผู้เล่นเข้าใหม่มักจะถูกกำหนดจากหมายเลขของผู้เล่นคนอื่นในทีม ซึ่งผู้เล่นแต่ละคนในทีมจะถูกกำหนดหมายเลขตายตัวในฤดูกาลนั้น ๆ สโมสรอาชีพมักจะแสดงนามสกุลหรือชื่อเล่นบนเสื้อ อาจจะอยู่เหนือ (มีบางครั้งที่อยู่ต่ำกว่า) หมายเลขเสื้อ ชุดฟุตบอลนั้นมีการพัฒนา แต่เดิมผู้เล่นจะสวมเสื้อผ้าฝ้ายหนา ๆ กางเกงทรงหลวมยาวถึงเข่าและรองเท้าหนังแข็ง ๆ หนัก ๆ ต่อมาในศตวรรษที่ 20 รองเท้าเบาและอ่อนลง ส่วนกางเกงสั้นลง และการพัฒนาด้านการผลิตเสื้อผ้าและการพิมพ์ ได้มีการผลิตเสื้อใยสังเคราะห์ที่เบาลง พร้อมกับการออกแบบที่มีสีสันและซับซ้อนขึ้น เมื่อการเติบโตของการโฆษณาในศตวรรษที่ 20 ทำให้เกิดโลโก้ของผู้สนับสนุนบนเสื้อผ้า และมีการผลิตเสื้อให้แฟนฟุตบอลได้ซื้อหากัน ก่อให้เกิดรายได้จำนวนมากสู่สโมสร.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและชุดกีฬาฟุตบอล · ดูเพิ่มเติม »

บ้านผีสิง

้านวินเชสเตอร์มีสตรี เชื่อว่าเป็นบ้านผีสิง บ้านผีสิง หมายถึงบ้านหรือที่อยู่อาศัยที่เชื่อว่าเป็นที่ที่มีสิ่งลึกลับเกิดขึ้นหรือปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติเกิดขึ้น ซึ่งอาจหมายถึง ผี วิญญาณ หรือ สิ่งชั่วร้ายอย่างปีศาจ บ้านผีสิงมักจะเป็นที่อยู่อาศัยของวิญญาณคนตายที่อาจเคยอาศัยอยู่เดิมหรือคุ้นเคยกับสถานที่ เรื่องราวในบ้านที่เกิดขึ้นอาจจะพูดได้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์รุนแรงหรือโศกนาฏกรรม ภายในอาคารในอดีตที่ผ่านมาอย่างเช่น ฆาตกรรม การเสียชีวิตโดยอุบัติเหตุ หรือการฆ่าตัวตาย ทั้งในเรื่องไม่นานไปจนถึงในอดีตอันยาวนาน ในความเชื่อหลายวัฒนธรรมและศาสนา เชื่อว่าหลังความตายยังคงมีวิญญาณล่องลอยอยู่ ในบ้านผีสิงอาจจะมีเสียงลึกลับหรือการปรากฏตัวของผี หรือแม้กระทั่งการทำให้วัตถุ สิ่งของเคลื่อนที่ หลายตำนานเกี่ยวกับบ้านผีสิง มีปรากฏในวรรณกรรม ที่แสดงในเนื้อเรื่องของนิยายสยองขวัญหรือนิยายแนวกอธิก หรือนิยายปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ นักเขียนในยุคโรมันอย่าง เพลาตุส พลินิผู้ลูก และ ลูเซียน เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านผีสิงไว้ เช่นเดียวกับวรรณกรรม อาหรับราตรี และนักเขียนรุ่นใหม่ตั้งแต่ เฮนรี เจมส์ ไปจนถึง สตีเฟน คิง ก็มีเรื่องราวที่เขียนเช่นนี้เช่นกัน ส่วนเรื่องเขียนเกี่ยวกับปราสาทและคฤหาสน์ผีสิง มีทั่วไปในวรรณกรรมกอธิก เช่นเรื่อง แดร็กคูลา โครงสร้างของนิยายแนวบ้านผีสิง เป็นได้ตั้งแต่ปราสาทผีสิงเก่า ๆ ไปจนถึงบ้านนอกเมืองแบบชาวไร่ โดยบ้านเก่า ๆ มักจะใช้ในการแต่งเป็นบ้านผีสิง ส่วนบ้านผีสิงในฉบับอเมริกันที่ใช้บ้านในสไตล์วิกตอเรียน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบบเซคันด์เอมไพร์) มีที่มาจากเหตุการณ์วิกฤตการณ์ ค.ศ. 1893.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและบ้านผีสิง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2056

ทธศักราช 2056 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและพ.ศ. 2056 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา

ระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา (Act of Supremacy) พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนาฉบับแรกมอบอำนาจให้สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษเป็น “ประมุขสูงสุดของคริสตจักรแห่งอังกฤษ” ซึ่งยังคงเป็นอำนาจตามกฎหมายของพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรมาจนถึงทุกวันนี้ ประมุขสูงสุดกำหนดขึ้นโดยเฉพาะในการบรรยายอำนาจทางกฎหมายแพ่งของพระมหากษัตริย์ที่มีอำนาจเหนือกฎบัตรของคริสต์ศาสนจักรในอังกฤษ.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและพระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร (เวลาและสถานที่)

ต่อไปนี้คือรายละเอียดวันที่ และสถานที่ที่จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตรีย์ และสมเด็จพระราชินีอัครมเหสี แห่งอังกฤษ สกอตแลนด์ รวมทั้งสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1609 พระราชพิธีบรมราชาภิเษกนี้จะจัดขึ้นที่มหาวิหารเวสท์มินสเตอร์เสมอ เว้นแต่กรณีนอกเหนือจากนั้นจะหมายเหตุไว้.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร (เวลาและสถานที่) · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังพลาเซ็นเทีย

ระราชวังพลาเซ็นเทีย (Palace of Placentia) เป็นพระราชวังของพระราชวงศ์อังกฤษที่สร้างโดยฮัมฟรีย์ ดยุคแห่งกลอสเตอร์ในปี ค.ศ. 1447 ที่กรีนิชบนฝั่งแม่น้ำเทมส์ทางใต้ของลอนดอน พระราชวังถูกรื้อทิ้งในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และสร้างแทนที่ด้วยโรงพยาบาลกรีนิช (ปัจจุบันคือราชวิทยาลัยราชนาวีเดิม) เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและพระราชวังพลาเซ็นเทีย · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังแฮมป์ตันคอร์ต

ระราชวังแฮมป์ตันคอร์ต (Hampton Court Palace) เป็นพระราชวังหลวงที่ตั้งอยู่ที่ลอนดอนบะระห์แห่งริชมอนด์อัพพอนเทมส์ 18.8 กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงใต้ของชาริงครอสในกรุงลอนดอนในสหราชอาณาจักร และเหนือใจกลางลอนดอนบนฝั่งแม่น้ำเทมส์ เป็นพระราชวังที่ไม่ได้ใช้ประทับโดยพระราชวงศ์อังกฤษมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 พระราชวังเดิมสร้างสำหรับพระคาร์ดินัลทอมัส โวลซีย์ ข้าราชสำนักคนโปรดในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ราวปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและพระราชวังแฮมป์ตันคอร์ต · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังไวต์ฮอล

ระราชวังไวต์ฮอล (Palace of Whitehall) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ในลอนดอนในสหราชอาณาจักร ที่ประทับหลักของพระมหากษัตริย์อังกฤษในลอนดอนระหว่าง ค.ศ. 1530 - ค.ศ. 1698 ยกเว้นเมื่อตึกเลี้ยงรับรอง (Banqueting House) ที่สร้างโดยอินิโก โจนส์ (Inigo Jones) ในปี ค.ศ. 1622 เกิดเพลิงไหม้ ก่อนที่ไฟจะไหม่พระราชวังไวต์ฮอลเป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปที่ประกอบด้วยห้องทั้งหมดกว่า 1,500 ห้อง ชื่อของวังใช้เป็นชื่อถนนที่เป็นที่ตั้งของพระราชวังที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานบริหารต่างๆ ของรัฐบาลอังกฤษ.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและพระราชวังไวต์ฮอล · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังเซนต์เจมส์

ระราชวังเซนต์เจมส์ (ภาษาอังกฤษ: St. James’s Palace) เป็นพระราชวังที่เก่าแก่ที่สุดพระราชวังหนึ่งในกรุงลอนดอนในสหราชอาณาจักร สร้างโดยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8บนที่เดิมเป็นโรงพยาบาลคนโรคเรื้อนที่อุทิศให้แก่นักบุญเจมส์ ลูกของอัลเฟียส ซึ่งเป็นชื่อที่พระราชวังและอุทยานตั้งตาม โรงพยาบาลถูกยุบเลิกเมื่อปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและพระราชวังเซนต์เจมส์ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชินีแอนน์

ระราชินีแอนน์ อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและพระราชินีแอนน์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารลินดิสฟาร์น

ระวรสารลินดิสฟาร์น (Lindisfarne Gospels, Lindisfarne Gospels - หอสมุดบริติช, ลอนดอน) เป็นหนังสือพระวรสารวิจิตรที่เขียนเป็นภาษาละติน ที่เขียนขึ้นที่ลินดิสฟาร์นในนอร์ทธัมเบรียเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 “พระวรสารลินดิสฟาร์น” ประกอบด้วยพระวรสารทั้งสี่ฉบับของพันธสัญญาใหม่ พระวรสารฉบับนี้ถือว่าเป็นงานศิลปะชิ้นที่งดงามที่สุดของงานศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ของราชอาณาจักร ซึ่งเป็นลักษณะงานศิลปะที่ผสานระหว่างศิลปะแองโกล-แซ็กซอนและศิลปะเคลติกที่เรียกว่าศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอนหรือศิลปะเกาะ พระวรสารเป็นงานฉบับสมบูรณ์ขาดก็แต่หน้าปกดั้งเดิม และอยู่ในสภาพที่ดีเมื่อคำนึงถึงอายุของหนังสือ.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและพระวรสารลินดิสฟาร์น · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส (François Ier) (12 กันยายน ค.ศ. 1494 ถึง 31 มีนาคม ค.ศ. 1547) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสตั้งแต่ ค.ศ. 1515 ถึงค.ศ. 1547 พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ พระองค์แรกของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาฝรั่ง.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส (Louis XII of France) (27 มิถุนายน ค.ศ. 1462 - 1 มกราคม ค.ศ. 1515) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส จากสายวาลัวส์-ออร์เลอองส์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 เสด็จพระราชสมภพที่วังบลัวส์ในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสของชาร์ลส์ ดยุกแห่งออร์เลอองส์ และ มารีแห่งคลีฟส์ ทรงราชย์ระหว่างวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1498 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1515 ที่ปารีสในประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

ระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (Alfred the Great; Ælfrēd) (ค.ศ. 849 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 899) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ในสมัยราชวงศ์เวสเซ็กซ์ เสด็จพระราชสมภพที่เวนเทจ บาร์กเชอร์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซกซ์และออสเบอร์กา ทรงเสกสมรสกับเอลสวิธ และทรงราชย์เป็นกษัตริย์ของชนแองโกล-แซ็กซอนภายใต้ราชอาณาจักรเวสเซกซ์ระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 871 พระเจ้าอัลเฟรดทรงมีชื่อเสียงในการป้องกันราชอาณาจักร จากการรุกรานของชาวไวกิงจากเดนมาร์ก และเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษพระองค์เดียวที่รับสมญานามว่า “มหาราช” พระเจ้าอัลเฟรดทรงเป็นกษัตริย์แห่งแซกซันตะวันตกพระองค์แรก ที่ทรงแสดงพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์แห่งชาวแองโกล-แซกซัน ทรงเป็นผู้มีการศึกษาดี และทรงส่งเสริมการศึกษาและปรับปรุงทางด้านกฎหมายในราชอาณาจักรและระบบการทหาร พระราชประวัติของพระองค์ถูกกล่าวถึงในงานเขียนของแอสเซอร์ (Asser) นักปราชญ์ชาวเวล.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน

ระเจ้าเฟรนานโดที่ 2, พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอน หรือ พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 5 แห่งคาสตีล (สเปน: Fernando II de Aragón, อังกฤษ: Ferdinand II of Aragon; 10 มีนาคม พ.ศ. 1995 - 23 มกราคม พ.ศ. 2059) เป็นกษัตริย์แห่งอารากอน (พ.ศ. 2022 - พ.ศ. 2059), กษัตริย์แห่งซิชิลี (พ.ศ. 2011 - พ.ศ. 2059) กษัตริย์แห่งเนเปิลส์ (พ.ศ. 2047 - พ.ศ. 2059) กษัตริย์แห่งวาเลนเซีย ซาร์ดิเนีย เคานท์แห่งบาร์เซโลนา, กษัตริย์แห่งคาสตีล (พระสวามีในพระราชินีนาถแห่งคาสตีล) (พ.ศ. 2017 - พ.ศ. 2047) และหลังจากนั้นก็เป็นกษัตริย์อย่างแท้จริงแต่แท้จริงแล้วผู้ที่ได้เป็นกษัตริย์แห่งคาสตีลคือพระธิดาของพระองค์ เจ้าหญิงโจแอนนาผู้วิปล.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ (Henry VII of England) (28 มกราคม ค.ศ. 1457 – 21 เมษายน ค.ศ. 1509) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์ทิวดอร์ ระหว่างปี ค.ศ. 1485 ถึงปี ค.ศ. 1509.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเจมส์ที่ 5 แห่งสกอตแลนด์

ระเจ้าเจมส์ที่ 5 แห่งสกอตแลนด์ (James V of Scotland) เป็นกษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและพระเจ้าเจมส์ที่ 5 แห่งสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

กรีนิช

หอดูดาวหลวงกรีนิช กรีนิช (Greenwich) เป็นเขตการปกครองของลอนดอน สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ เป็นที่ตั้งของหอดูดาวหลวงกรีนิชระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและกรีนิช · ดูเพิ่มเติม »

การพบปะที่ทุ่งภูษาทอง

“การพบปะที่ทุ่งภูษาทอง” การพบปะที่ทุ่งภูษาทอง (Field of the Cloth of Gold, Le Camp du Drap d'Or) “ทุ่งภูษาทอง” เป็นชื่อของสถานที่ในเบลิงเฮมระหว่าง Guînes และ Ardres ในฝรั่งเศสไม่ไกลจากคาเลส์ซึ่งเป็นที่พบปะระหว่างพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ และ พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 7 มิถุนายน จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1520 วัตถุประสงค์ของการพบปะระหว่างพระมหากษัตริย์สองพระองค์ก็เพื่อเป็นการเพิ่มสัมพันธไมตรีระหว่างสองราชอาณาจักร หลังจากที่ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาในปี ค.ศ. 1518 การใช้วลี “ทุ่งภูษาทอง” เป็นคำที่ใช้โดยทั่วไปในภาษาอังกฤษมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและการพบปะที่ทุ่งภูษาทอง · ดูเพิ่มเติม »

การยุบอาราม

อดีตกลาสตันบรีแอบบีย์ การยุบอาราม (Dissolution of the Monasteries; Suppression of the Monasteries) เป็นกระบวนการตามกฎหมายและการปกครองในช่วง ค.ศ. 1538 ถึงปี ค.ศ. 1541 โดยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษโปรดให้ยุบอาราม ไพรออรี คอนแวนต์ และไฟรอารี ในประเทศอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์ ตามอำนาจใน “พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา” อนุมัติโดยรัฐสภาเมื่อปี ค.ศ. 1534 ซึ่งระบุให้พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษเป็น “ประมุขสูงสุดของคริสตจักรในอังกฤษ” (Supreme Head of the Church in England) ซึ่งถือเป็นการแยกตัวออกมาจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกอย่างเป็นทางการ และโดย “พระราชบัญญัติปราบปรามฉบับที่ 1 (ค.ศ. 1536)” และ “พระราชบัญญัติปราบปรามฉบับที่ 2 (ค.ศ. 1539)” การยุบอารามในอังกฤษเป็นเหตุการณ์ทางการเมืองหนึ่งเพื่อต่อต้านคริสตจักรโรมันคาทอลิกซึ่งเริ่มคุกรุ่นอยู่ในทวีปยุโรปขณะนั้น ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์จาก แต่เหตุผลการแยกตัวจากนิกายโรมันคาทอลิกของอังกฤษมิใช่ข้อขัดแย้งทางปรัชญาทางศาสนาดังเช่นในประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส หรือ โบฮีเมีย แต่เป็นเหตุผลส่วนพระองค์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 8.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและการยุบอาราม · ดูเพิ่มเติม »

การรวมราชบัลลังก์

ตราอาร์มของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (พ.ศ. 2146 - 2168) แสดงให้เห็นองค์ประกอบหลายอย่างจากการรวมราชบัลลังก์ของทั้งสามอาณาจักร เช่น ตราสิงห์สามตัวแห่งอังกฤษ ตราสิงห์แดงในกรอบดอกลิลลีแห่งสกอตแลนด์ และตราฮาร์พเกลลิคแห่งไอร์แลนด์ การรวมราชบัลลังก์ (Union of the Crowns; Aonadh nan Crùintean; Union o the Crouns) คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและการรวมราชบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

การทำให้เป็นฆราวาส

การทำให้เป็นฆราวาส (secularisation หรือ secularization) เป็นการเปลี่ยนผ่านของสังคม จากการแสดงตัวและผูกพันใกล้ชิดกับคตินิยมและสถาบันทางศาสนา ไปยังสถาบันที่เป็นฆราวาสและปราศจากคตินิยมทางศาสนา ทฤษฎีการทำให้เป็นฆราวาสเป็นความเชื่อที่ว่า ยิ่งสังคมก้าวหน้าไป โดยเฉพาะด้วยการทำให้ทันสมัย (modernization) และการใช้เหตุผลตัดสิน (rationalization) ศาสนาก็ยิ่งสูญสิ้นอำนาจบารมีในทุกแง่มุมของการดำเนินชีวิตและการปกครองสังคม, chapter 1 (pp. -) of คำนี้ยังใช้ในบริบทของการถอดสมาชิกคณะสงฆ์ให้พ้นจากข้อห้ามทางสงฆ์ก็ได้ การทำให้เป็นฆราวาสนั้นว่าด้วยกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่ทำศาสนาหมดสิ้นความสำคัญในสังคมและวัฒนธรรมลง เป็นผลให้ในสังคมสมัยใหม่ศาสนามีบทบาทจำกัดขึ้น ในสังคมที่เป็นฆราวาสแล้วนั้น ความศรัทธาไม่ขึ้นอยู่กับอำนาจครอบงำทางวัฒนธรรม ทั้งองค์การศาสนาก็มีอำนาจไม่มากในทางสังคม การทำให้เป็นฆราวาสมีความหมายหลายระดับ ทั้งในทางทฤษฎีและกระบวนการทางประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีสังคมอย่าง คาร์ล มากซ์, ซิกมุนด์ ฟรอยด์, มักซ์ เวเบอร์, และ เอมิล ดูร์ไกม์ ตั้งสมมุติฐานว่า การทำให้สังคมทันสมัยอาจรวมถึงการลดลงของขีดความเลื่อมใสในศาสนา การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าวเป็นไปเพื่อนิยามลักษณะหรือขอบเขตที่ถือว่า ลัทธิ จารีต หรือสถาบันทาง ศาสนา สิ้นความสำคัญทางสังคมลง นักทฤษฎีบางคนก็แย้งว่า การทำให้อารยธรรมสมัยใหม่มีความเป็นฆราวาสนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการไม่สามารถปรับความต้องการในทางจริยธรรมและจิตวิญญาณของหมู่มนุษย์ให้เข้ากับความก้าวหน้าอันเร็วรวดของวิทยศาสตร์กายภาพ นอกจากนี้ ในทางประวัติศาสตร์และศาสนา การทำให้เป็นฆราวาสยังมีความหมายอื่นอีก ถ้าใช้กับศาสนสมบัติ (church property) แล้ว ในทางประวัติศาสตร์ จะหมายถึง การนำทรัพย์สินของศาสนจักรมาเป็นของฆราวาส เช่น กรณีที่เฮนรีที่ 8 ทรงยุบเลิกอารามในอังกฤษ ตลอดจนกรณีที่เกิดขึ้นสมัยหลังในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส และการต่อต้านสงฆ์ของรัฐบาลยุโรปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 อันนำมาซึ่งการขับไล่และปราบปรามประชาคมทางศาสนาที่ถือครองทรัพย์สิน เหตุการณ์ทำนองเดียวกันในเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และที่อื่น ๆ ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็ถือเป็นตัวอย่างของความหมายนี้ได้ การทำให้เป็นฆราวาสยังสามารถหมายถึงการที่ผู้ควบตำแหน่งทางปกครองและทางศาสนา เช่น เจ้าชายมุขนายก ประกาศตนเป็นฆราวาสและไม่ขึ้นกับศาสนาอีก ดังกรณีของ Gotthard von Kettler ผู้นำคนสุดท้ายของคณะลิโวเนีย (Livonian Order) ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 ยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความเป็นฆราวาส การเปลี่ยนผ่านนี้เกี่ยวพันกับปัจจัยทางสังคมหลัก ๆ หลายปัจจัย เช่น ความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจ การต่อต้านกฎระเบียบสังคมของคนรุ่นใหม่ การให้เสรีภาพแก่สตรี รวมถึงเทววิทยาและการเมืองแบบเปลี่ยนรากถอนโคน.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและการทำให้เป็นฆราวาส · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปศาสนา

การปฏิรูปศาสนา อาจหมายถึงการปฏิรูปทางศาสนาคริสต์ที่สำคัญๆในประวัติศาสตร์ยุโรป ซึ่งมีหลายครั้ง ได้แก.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและการปฏิรูปศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

การแต่งงานโดยฉันทะ

้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศสทรงเสกสมรสโดยฉันทะเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1625 และด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ในปีเดียวกัน (ภาพเขียนของทั้งสองพระองค์โดยแอนโทนี แวน ไดค์ (เมษายน ค.ศ. 1634)) การแต่งงานโดยฉันทะ (ภาษาอังกฤษ: Proxy marriage หรือ Proxy wedding) เป็นการแต่งงานโดยที่เจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวมิได้ปรากฏตัวในพิธีการแต่งงาน แต่ในพิธีจะให้ผู้มีอำนาจแทนทางกฎหมาย, ผู้แทน, ผู้รับฉันทะแสดงตัวเป็นตัวแทนผู้ที่ไม่สามารถปรากฏตัวได้ ถ้าทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวไม่สามารถปรากฏตัวได้ก็จะเรียกการแต่งงานว่าเป็นแบบ “การแต่งงานโดยฉันทะซ้อน” (Double-proxy Marriage).

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและการแต่งงานโดยฉันทะ · ดูเพิ่มเติม »

กาตาลินาแห่งอารากอน พระราชินีแห่งอังกฤษ

ระนางกาตาลินาแห่งอารากอน (Catalina de Aragón; Catherine of Aragon, Katharine of Aragon; พ.ศ. 2028 — พ.ศ. 2079) พระราชินีแห่งอังกฤษ พระมเหสีพระองค์แรกในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (พ.ศ. 2052-2090) อภิเษกสมรสครั้งแรกในปี พ.ศ. 2044 กับเจ้าชายอาร์เธอร์ พระโอรสในพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ (พ.ศ. 2029-2045) แต่เมื่อพระสวามีสิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เจ้าหญิงกาตาลินาก็ได้ทรงรับหมั้นกับเจ้าชายที่เป็นน้องสามี ซึ่งต่อมาคือพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ในขณะที่มีพระชนมายุเพียง 11 ขวบ และได้อภิเษกสมรสกันในเวลาต่อมาเมื่อ..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและกาตาลินาแห่งอารากอน พระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเชิงวัฒนธรรมของควีนแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ

''สมเด็จพระราชินีแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ วาดโดย ฮันส์ เอวอร์ท (ปี ค.ศ. 1555-58'' ประวัติศาตร์ของอังกฤษและชีวิตของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ ได้ถูกนำไปถ่ายทอดในวรรณกรรม  ภาพยนตร์ และสื่อต่างๆ ในแง่มุมเชิงวัฒนธรรมจำนวนหนึ่ง.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและภาพเชิงวัฒนธรรมของควีนแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8

ที่สูญหายไปในเพลิงไหม้ ภาพเหมือนของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 (Portrait of Henry VIII) เป็นภาพเหมือนของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1698) ที่เขียนโดยฮันส์ โฮลไบน์ (ผู้ลูก) ผู้เป็นจิตรกรคนสำคัญชาวเยอรมันของสมัยบาโรก แม้ว่าจะเป็นภาพที่สูญเสียไปแต่ก็ยังถือว่าเป็นงานชิ้นสำคัญจากงานที่ก็อปปีจากงานต้นฉบับ ภาพเหมือนภาพนี้เป็นภาพ "ไอคอน" ที่มีชื่อเสียงที่สุดภาพหนึ่งในบรรดาภาพเขียนของพระมหากษัตริย์อังกฤษที่เดิมวาดเป็นจิตรกรรมฝาผนังภายในพระราชวังไวท์ฮอลล์ในกรุงลอนดอนในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและภาพเหมือนของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กาเรต โบฟอร์ต เคาน์เตสแห่งริชมอนด์และดาร์บี

มาร์กาเร็ต โบฟอร์ท เคานเทสแห่งริชมอนด์และดาร์บี หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เลดี้มาร์กาเร็ต โบฟอร์ท (Margaret Beaufort Countess of Richmond and Derby; 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1443 - 29 มิถุนายน ค.ศ. 1509) มาร์กาเร็ต โบฟอร์ทเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ และ พระอัยกีของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 มาร์กาเร็ตเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในสงครามดอกกุหลาบและผู้มีอิทธิพลต่อราชวงศ์ทิวดอร์ และเป็นผู้ก่อตั้งวิทยาลัยสองวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี ค.ศ. 1509 มาร์กาเร็ตทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระราชนัดดาสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและมาร์กาเรต โบฟอร์ต เคาน์เตสแห่งริชมอนด์และดาร์บี · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กาเร็ต ทิวดอร์

มาร์กาเร็ต ทิวดอร์ (Margaret Tudor; 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1489 - 18 ตุลาคม ค.ศ. 1541) หรือที่รู้จักกันในพระนามว่า "มาร์กาเร็ต ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งชาวสกอต" (Margaret, Queen of Scots) ทรงประสูติที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์โตที่ทรงพระชนม์ในพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษกับพระนางเอลิซาเบธแห่งยอร์ก และทรงเป็นพระเชษฐภคินีในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและมาร์กาเร็ต ทิวดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มีไซอาห์ (แฮนเดิล)

มีไซอาห์ (Messiah, HWV 56) เป็นผลงานออราทอริโอสำหรับการขับร้องประสานเสียงโดยจอร์จ ฟริดริก แฮนเดิล เป็นหนึ่งในบทร้องประสานเสียงภาษาอังกฤษที่มีได้รับความนิยมที่สุด โดยนำคำร้องมาจากคัมภีร์ไบเบิลฉบับนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ 2 ฉบับ ที่ชำระขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (ฉบับ ค.ศ. 1611) และสมัยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (ฉบับ ค.ศ. 1538) แฮนเดิลแต่งบทประพันธ์นี้ที่ลอนดอนในช่วงฤดูร้อน..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและมีไซอาห์ (แฮนเดิล) · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎทิวดอร์

มงกุฎทิวดอร์ (Tudor Crown) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มงกุฎพระเจ้าเฮนรีที่ 8 (Henri VIII's Crown) เป็นมงกุฎองค์หลักซึ่งใช้ทรงโดยพระมหากษัตริย์ของอังกฤษและสหราชอาณาจักรช่วงรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 จนถึงช่วงสงครามกลางเมืองในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและมงกุฎทิวดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด (St.) เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและเป็นกกุธภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่ง และเป็นมงกุฎที่ใช้เป็นมงกุฎราชาภิเษก (Coronation crown) อย่างเป็นทางการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ของสหราชอาณาจักร มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดมีลักษณะคล้ายกับมงกุฎองค์เดิม ซึ่งสร้างในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

รัฐร่วมประมุข

ียนฉลองรัฐร่วมประมุขระหว่างโปแลนด์และลิทัวเนียเป็นสหราชอาณาจักรโปแลนด์-ลิทัวเนีย รัฐร่วมประมุข หรือ การรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักร (personal union) เป็นการรวมรัฐอิสระมากกว่าสองรัฐขึ้นไปภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน ในขณะที่พรมแดน, กฎหมาย และ นโยบายของอาณาจักรในกลุ่มยังคงเป็นตัวของตัวเอง สหราชไม่ใช่ “สหพันธรัฐ” (federation) ที่เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นหลายรัฐที่รวมเข้ามาเป็นรัฐเดียวกันและมีพรมแดน, กฎหมาย และ นโยบายส่วนใหญ่ร่วมกัน หรือ “สหราชวงศ์” (dynastic union) ซึ่งหมายถึงการรวมภายใต้ราชวงศ์เดียวกัน แต่กระนั้นความหมายระหว่าง “สหราช” และ “สหพันธรัฐ” ก็มีความเกี่ยวพันกัน และ “สหราช” มักจะวิวัฒนาการมาเป็น “สหพันธรัฐ” การรวมตัวกันเป็น “สหราช” อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุผลหลายประการตั้งแต่การเกิดขึ้นโดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันเช่นการเสกสมรสระหว่าง “สมเด็จพระราชินีนาถ” (queen regnant) ของราชอาณาจักรหนึ่ง กับ พระมหากษัตริย์ของอีกราชอาณาจักรหนึ่ง ซึ่งทำให้พระราชโอรสของทั้งสองพระองค์ก็จะได้รับราชบังลังก์ของทั้งสองราชอาณาจักร ไปจนถึงการผนวกดินแดน การรวมตัวกันอาจจะเป็นตามบทบัญญัติทางกฎหมาย เช่นการผ่านพระราชบัญญัติในรัฐสภาระบุการรวมตัวกัน หรืออาจจะโดยพฤตินัยซึ่งง่ายต่อการแยกตัวกลับไปเป็นอาณาจักรเดิม เช่นในกรณีที่เกิดขึ้นหลังจากการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์ของบรรดาอาณาจักรร่วมที่มีระบบการสืบสันตติวงศ์ที่ต่างกัน “สหราช” ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบราชาธิปไตยเท่านั้น และบางครั้งก็จะใช้คำว่า “สหราชาธิปไตย” (dual monarchy) ในการแสดงแสดงว่าเป็นการรวมอาณาจักรของสองราชบัลลังก์ รายการข้างล่างแสดงให้เห็นถึงรายระเอียดของการรวมเป็นสหราชอาณาจักรตลอดมาในประวัติศาสตร์ ยกเว้นแต่ในกรณีของราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของเครือจักรภพบริติชเช่นออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และแคนาดา ซึ่งไม่ใช่การรวมเป็นสหราชอาณาจักรของโลกยุคปัจจุบัน นอกจากนั้นคำว่า “การรวมสหอำนาจ” ยังใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ใช้โดยนาซีเยอรมนีในการรวมตำแหน่งระดับสูงในพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน เครื่องมือทางการเมืองเดียวกันนี้นำมาใช้โดยรัฐบาลอื่นๆ เช่นสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งคล้ายกันกับ “ผู้ได้รับการแต่งตั้ง” (persona designata) ที่เป็นระบบที่เจ้าหน้าที่ทางศาลสามารถแต่งตั้งให้ผู้ไม่มีหน้าที่ทางศาลมีความรับผิดชอบในหน้าที่กึ่งเกี่ยวกับระบบยุติธรรมภายใต้ระบบคอมมอนลอว.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและรัฐร่วมประมุข · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์สหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จออกสีหบัญชร ณ พระราชวังบักกิงแฮม เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ราชวงศ์สหราชอาณาจักร ประกอบด้วยพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรและพระประยูรญาติใกล้ชิด บางครั้งจึงแตกต่างจากคำเรียกทางการในประเทศสำหรับราชวงศ์ สมาชิกในราชวงศ์อยู่ใน หรืออภิเษกสมรสเข้ามาในราชวงศ์วินด์เซอร์ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงเปลี่ยนชื่อมาจากราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา เมื่อปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและราชวงศ์สหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ทิวดอร์

ราชวงศ์ทิวดอร์ (อังกฤษ: Tudor, เวลส์: Tudur) เป็นเชื้อพระวงศ์ชาวเวลส์ มีกษัตริย์ที่ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2028 ถึง พ.ศ. 2146 กษัตริย์สามในหกพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7, สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 เป็นกษัตริย์องค์สำคัญที่ทรงเปลี่ยนแปลงอังกฤษจากชาติที่ค่อนข้างอ่อนแอเมื่อเทียบกับชาติอื่นๆ ในยุคกลางมาสู่ชาติมหาอำนาจในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่ซึ่งในศตวรรษต่อมาอังกฤษกลายมาเป็นชาติที่มีอิทธิพลอย่างมากในโลก สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตริย์อังกฤษที่มีชื่อเสียงมากที่สุดตลอดกาล.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและราชวงศ์ทิวดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรไอร์แลนด์

ราชอาณาจักรไอร์แลนด์ (ภาษาเกลลิค: Ríocht na hÉireann; ภาษาอังกฤษ: Kingdom of Ireland) เป็นชื่อที่เรียกรัฐไอร์แลนด์ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและราชอาณาจักรไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยของไอร์แลนด์

ราชาธิปไตยของไอร์แลนด์ (Monarchy of Ireland).

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและราชาธิปไตยของไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสนธิสัญญา

การลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในห้องกระจกของพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รายชื่อสนธิสัญญา เป็นรายชื่อข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ฉบับที่สำคัญ ระหว่างรัฐ กองทัพ รัฐบาล และกลุ่มชน.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและรายชื่อสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในปริศนาสมบัติอัจฉริยะ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและรายชื่อตัวละครในปริศนาสมบัติอัจฉริยะ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ

ต่อไปนี้คือรายพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และประเทศในเครือจักรภพ สำหรับรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะซึ่งประกอบกันเป็นสหราชอาณาจักรปัจจุบันดู รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษและรายพระนามพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามรัชทายาทอังกฤษ

รายพระนามรัชทายาทอังกฤษ นี่คือรายนามบุคคลในช่วงเวลาต่างๆ ที่จะอยู่ในลำดับถัดไปในการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ เมื่อพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันสวรรคต บรรดาผู้ที่ได้สืบราชบัลลังก์จริงๆจะเป็นตัวอักษรหนา ส่วนทารกที่คลอดออกมาแล้วสิ้นชีวิตหรือรอดชีวิตไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนจะไม่ถูกนับรวมไว้ในรายนามนี้ อาจจะถูกตั้งข้อสังเกตว่าการสืบราชสันตติวงศ์นั้นไม่มั่นคง และไม่ได้รับการควบคุมจากขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งมีมาเป็นศตวรรษนับตั้งแต่การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและรายพระนามรัชทายาทอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์อังกฤษ

ระเจ้าเจมส์ที่ 1 เป็นสมเด็จพระราชินีของทั้งประเทศอังกฤษและสกอตแลนด์เป็นพระองค์แรก พระมหากษัตริย์อังกฤษส่วนใหญ่เป็นสมเด็จพระราชาธิบดี คู่อภิเษกสมรสจึงได้รับอิสสริยยศเป็น "สมเด็จพระราชินี" หากพระมหากษัตริย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถ พระราชสวามีของพระนางจะได้รับพระอิสริยยศอื่น ๆ ตามแต่จะพระราชทาน เมื่อราชอาณาจักรอังกฤษถูกผนวกเข้ากับราชอาณาจักรสกอตแลนด์ กลายเป็น "ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่" ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระประมุขแห่งลักเซมเบิร์ก

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระประมุขแห่งลักเซมเบิร์ก.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระประมุขแห่งลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม

รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม เป็นหนึ่งในรางวัลออสการ์โดยสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์เพื่อมอบให้กับนักแสดงชายผู้มีการแสดงที่โดดเด่นในการทำงานกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เหล่านักแสดงชายจะได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในสาขารางวัลนี้โดยสมาชิกออสการ์ผู้ซึ่งเป็นนักแสดงด้วยกันเอง และผู้ที่ได้รับรางวัลจะถูกเลือกจากสมาชิกทุกคน.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เป็นรางวัลประจำปีที่จัดโดยสถาบันศิลปะภาพยนตร์และวิทยาการ (AMPAS) เพื่อมอบให้กับนักแสดงชายผู้มีการแสดงที่โดดเด่นในการทำงานกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 1 ปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

ละครสวมหน้ากาก

รื่องแต่งตัวในละคร “The Masque of Blackness” ออกแบบโดยอินิโก โจนส์ ละครสวมหน้ากาก (Masque) เป็นการละเล่นแบบหนึ่งที่นิยมทำกันในราชสำนักยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่อันที่จริงแล้วเริ่มขึ้นในอิตาลีก่อนหน้านั้นในรูปแบบของละครอินเทอร์เมดิโอซึ่งเป็นละครสวมหน้ากากที่แสดงในที่สาธารณะในงานเทศกาลยุคกลาง ละครสวมหน้ากากประกอบด้วยดนตรีและการเต้นรำ, การร้องเพลงและการแสดง บนเวทีที่ตกแต่งอย่างหรูหรา ที่โครงสร้างของฉากและเครื่องแต่งกายอาจจะออกแบบโดยสถาปนิกผู้มีชื่อเสียง ที่เป็นจะอุปมานิทัศน์ที่เป็นการสรรเสริญผู้เป็นเจ้าภาพ นักแสดงและนักดนตรีอาชีพจะได้รับการจ้างให้แสดงและร้องเพลงในละครดังกล่าว โดยทั่วไปแล้วผู้แสดงที่เป็นข้าราชสำนักจะไม่มีบทพูดหรือร้องแอนน์แห่งเดนมาร์กพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษมักจะทรงมีบทเต้นรำร่วมกับนางสนองพระโอษฐ์ในละครสวมหน้ากาก ระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและละครสวมหน้ากาก · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับเหตุการณ์การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ

ลำดับเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการปฏิรูปศาสนาของอังกฤษ (Timeline of the English Reformation) เหตุการณ์ข้างล่างนี้เป็นเหตุการณ์ที่มีส่วนเกี่ยวกับการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษจากโรมันคาทอลิกมาเป็นนิกายเชิร์ชออฟอิงแลน.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและลำดับเหตุการณ์การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1500 ถึง ค.ศ. 1599

ลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อังกฤษระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1500 ถึง ค.ศ. 1599 · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในฝรั่งเศส

มัยฟื้นฟูศิลปวิทยาฝรั่งเศส (French Renaissance) หมายถึงการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมและศิลปะ ระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 จนถึง ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่เป็นส่วนหนึ่งของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรป ที่นักประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าเริ่มต้นขึ้นในอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 14 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของฝรั่งเศสตามปกติแล้วถือว่าเริ่มขึ้น ตั้งแต่การรุกรานของฝรั่งเศสเข้าไปในอิตาลีในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

สมัยทิวดอร์

มัยทิวดอร์ (Tudor period) มักจะกล่าวถึงช่วงระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1485 ถึงปี ค.ศ. 1603 โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อังกฤษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตรงกับราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษ โดยมีพระเจ้าเฮนรีที่ 7เป็นปฐมกษัตริย์ สมัยทิวดอร์เรียกอย่างกว้างๆ ที่รวมรัชสมัยของพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แต่รัชสมัยของพระราชินีนาถเอลิซาเบธก็ถือว่าอีกสมัยหนึ่งต่างหากที่เป็นสมัยเอลิซ.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสมัยทิวดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยเอลิซาเบธ

มัยเอลิซาเบธ หรือ สมัยพระราชินีนาถเอลิซาเบธ (Elizabethan era) เป็นระยะเวลาในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ ระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสมัยเอลิซาเบธ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1 แห่งคาสตีล

มเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1 แห่งคาสตีล (Isabel I de Castilla; Isabella I of Castile22 เมษายน พ.ศ. 1994-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2047) เป็นพระราชินีนาถแห่งคาสตีลและเลออนในราชวงศ์ตรัสตามารา พระนางและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน พระราชสวามี ได้วางรากฐานในการรวมสเปนให้สืบต่อไปจนถึงรุ่นหลาน คือจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทั้งสองได้เป็นขั้วอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในการยึดดินแดนสเปนกลับคืนมาจากพวกมัวร์และได้กระทำการรวมชาติสเปนเป็นปึกแผ่น พระนางทรงอนุมัติให้คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสไปแสวงหาดินแดนโพ้นทะเลและจนสำรวจพบทวีปอเมริกา พระนางจัดได้ว่าเป็นนักปกครองที่ได้รับการกล่าวชื่อในประวัติศาสตร์ พระนางได้ทำให้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเจริญอย่างมากในสเปนและพระนางทำให้กรานาดาในการปกครองของมุสลิมมัวร์ยินยอมส่งเครื่องบรรณาการต่อพระองค์ ต่อมาพระนางได้ทำการยึดครองกรานาดาได้สำเร็จ และยึดครองนาวาร์ได้ในปี พ.ศ. 2055 แล้ว คำว่า สเปน (España) ก็เริ่มถูกนำมาใช้เพื่อเรียกชื่อของราชอาณาจักรที่รวมกันใหม่นี้ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของราชอาณาจักรคาสตีล ราชอาณาจักรอารากอน และราชอาณาจักรนาวาร์ได้วางรากฐานให้กับการเกิดสเปนสมัยใหม่และจักรวรรดิสเปน (Spanish Empire) สเปนกลายเป็นผู้นำอำนาจของยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องมาจากการปรับปรุงด้านการเมือง สังคม และการทหารในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การขยายตัวของผลผลิตที่ได้จากเหมืองแร่เงินในทวีปอเมริกาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็ยิ่งเสริมตำแหน่งมหาอำนาจให้มั่นคงขึ้นอีก.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสมเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1 แห่งคาสตีล · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์

มเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 (Mary I) หรือ แมรี สจวต (Mary Stuart) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ (Mary I of England, 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2059 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีแห่งอรากอน คาสตีลและเนเปิล และสมเด็จพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 ในราชวงศ์ทิวดอร์ เป็นผู้ซึ่งฟื้นฟูศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกในอังกฤษ พระนางได้ดำเนินการเผาเหล่าบุคคลต่างศาสนา ต่างนิกายกว่า 300 คนทั้งเป็น ซึ่งเป็นที่มาของชื่อว่า แมรีบ้าเลือด หรือ แมรีผู้กระหายเลือด (Bloody Mary).

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England หรือ Virgin Queen หรือ Gloriana หรือ Good Queen Bess -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนเสด็จสวรรคต บางครั้งพระองค์ก็ทรงได้รับพระฉายานามว่า "ราชินีพรหมจารี" (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ผู้ประสูติที่พระราชวังกรีนิช เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ บุลิน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงเกือบ 3 พรรษา จากนั้นพระองค์ก็ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สวรรคตราชบัลลังก์อังกฤษก็ตกไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีและสมเด็จพระราชินีเจน ซีมัวร์ พระมเหสีองค์ที่ 3 เมื่อเสด็จสวรรคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงมอบราชบัลลังก์แก่เลดีเจน เกรย์ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาสองพระองค์ออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ในที่สุดเจ้าหญิงแมรีก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ผู้ทรงเป็นโรมันคาทอลิก ในรัชสมัยของราชินีนาถแมรีเจ้าหญิงอลิซาเบธทรงถูกจำขังอยู่ปีหนึ่งในข้อสงสัยว่าทรงมีส่วนร่วมในการสนับสนุนฝ่ายก่อการโปรเตสแตนต์ หลังจากเสด็จสวรรคตของพระเชษฐภคินีสมเด็จพระราชินีนาถแมรี เจ้าหญิงอลิซาเบธก็เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะปกครองโดยมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม พระองค์ทรงไว้วางพระทัยในกลุ่มที่ปรึกษาที่ทรงไว้วางใจที่นำโดยวิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 สิ่งแรกที่ทรงกระทำในฐานะพระราชินีนาถคือการสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันโปรเตสแตนต์อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น “ประมุขสูงสุด” (Supreme Governor) นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น “นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์” ในปัจจุบัน ในระหว่างที่ครองราชย์ก็เป็นที่หวังกันว่าพระองค์จะทรงเสกสมรส แต่แม้ว่ารัฐบาลจะยื่นคำร้องหลายครั้ง และ การทรงทำความรู้จักกับกับคู่หมายหลายคนพระราชินีนาถอลิซาเบธก็มิได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด สาเหตุที่ไม่ทรงยอมเสกสมรสก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เมื่อมีพระชนมายุสูงขึ้นพระองค์ก็ทรงมีชื่อเสียงจากการเป็น “พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” และเกิดลัทธินิยมของผู้ติดตามนโยบายดังว่าที่เฉลิมฉลองกันด้วยภาพเหมือน, เทศกาล และ วรรณกรรมร่วมสมัย ในด้านการปกครองพระราชินีนาถอลิซาเบธทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่าพระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินีStarkey, 5.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 7

มเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ทรงมีชื่อเดิมว่า จูลิโอ ดิ จูเลียโน เดอ เมดิชี (Giulio di Giuliano de' Medici) ประสูติในปี ค.ศ. 1478 และสิ้นพระชนม์ในวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1534 พระองค์ทรงเป็นบุตรนอกสมรสของจูเลียโน เดอ เมดิชี (Giuliano de' Medici) ซึ่งถูกลอบสังหารโดยฝ่ายตรงข้ามกับตระกูลเมดิชีคือตระกูลปัซซี.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 7 · ดูเพิ่มเติม »

สวนสาธารณะเซนต์เจมส์

วนสาธารณะเซนต์เจมส์ (St.) เป็นสวนสาธารณะขนาด 58 เอเคอร์ในเวสต์มินสเตอร์ ใจกลางกรุงลอนดอน และมีอายุเก่าแก่ที่สุดในบรรดาอุทยานหลวงแห่งลอนดอน ตั้งอยู่ในส่วนทิศใต้สุดของย่านเซนต์เจมส์ ซึ่งตั้งชื่อตามโรงพยาบาลโรคเรื้อนที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่ St. James the Less สวนสาธารณะเซนต์เจมส์ล้อมรอบด้วย พระราชวังบัคกิงแฮมทางทิศตะวันตก เดอะ มอลล์และพระราชวังเซนต์เจมส์ทางทิศเหนือ กองทหารม้ารักษาพระองค์ทางทิศตะวันออก และ Birdcage Walkทางทิศใต้ ภายในสวนมีทะเลสาบขนาดเล็กที่ชื่อว่าทะเลสาบสวนเซนต์เจมส์ มีเกาะอยู่สองเกาะ ได้แก่ เกาะดั๊ก (Duck Island) (ตั้งชื่อตามฝูงนกน้ำในทะเลสาบ) และเกาะตะวันตก จากสะพานที่ทอดข้ามทะเลสาบจะมองเห็นทิวทัศน์ของพระราชวังบัคกิงแฮมผ่านแมกไม้และน้ำพุและทิวทัศน์ของอาคารหลักของ Foreign and Commonwealth Office ทางทิศตะวันออก สวนตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของหมู่สวนสาธารณะที่กระจุกตัวอยู่ใกล้เคียงกัน ซึ่งสวนอื่นๆ ได้แก่ (เรียงจากตะวันออกไปตะวันตก) สวนสาธารณะกรีนพาร์ค, สวนสาธารณะไฮด์พาร์ค และ สวนเคนชิงตันการเดนส์ สถานีรถไฟใต้ดินที่อยู่ใกล้ที่สุดคือ สถานีเซนต์เจมส์พาร์ค, สถานีวิกตอเรียและสถานีเวสมินสเตอร.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสวนสาธารณะเซนต์เจมส์ · ดูเพิ่มเติม »

สวนหลวงสตัดลีย์

วนหลวงสตัดลีย์ (Studley Royal Park) เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่ในมณฑลยอร์กเชอร์ แคว้นอังกฤษ สหราชอาณาจักร มีพื้นที่ทั้งหมด 323 ไร่ (800 เอเคอร์) โดยยูเนสโกได้บันทึกในชื่อ "Studley Royal Park including the Ruins of Fountains Abbey" ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกับฟาวน์ทินส์แอบบี.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสวนหลวงสตัดลีย์ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ

มหาวิหารเดอรัมเหนือแม่น้ำเวียร์ ด้านหน้ามหาวิหารเซนต์อัลบัน ปุ่มหินกลางหอประชุมนักบวชในมหาวิหารยอร์ก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ (Architecture of the medieval cathedrals of England) เป็นช่วงระยะเวลาการก่อสร้างมหาวิหารที่เกิดขึ้นในอังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1040 ถึงปี ค.ศ. 1540 กลุ่มสิ่งก่อสร้างยี่สิบห้าปีหลังที่ถือว่ามีเอกลักษณ์ของการก่อสร้างที่เป็นของอังกฤษแท้ แม้ว่าสิ่งก่อสร้างจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งก่อสร้างทั้งหมดต่างก็มีจุดประสงค์ร่วมกันเพียงจุดประสงค์เดียว ในการเป็นมหาวิหารอันเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นศูนย์กลางของการบริหารมุขมณฑลและเป็นที่ตั้งของคาเทดราJohn Harvey, English Cathedrals แม้ว่าลักษณะของสิ่งก่อสร้างแต่ละสิ่งจะเป็นลักษณะอังกฤษแต่ก็เป็นลักษณะที่ต่าง ๆ กันออกไปทั้งความแตกต่างจากกันและกัน และความแตกต่างภายในมหาวิหารเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่ต่างจากมหาวิหารสมัยกลางอื่น ๆ เช่นทางตอนเหนือของฝรั่งเศสที่มหาวิหารและแอบบีย์ใหญ่ ๆ เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับกลุ่มชนเดียวกัน และการสืบประวัติของลักษณะสถาปัตยกรรมก็สามารถทำได้โดยศึกษาจากสิ่งก่อสร้างหนึ่งไปยังสิ่งก่อสร้างถัดไปภายในกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นของอารามเดียวกันAlec Clifton-Taylor, ‘’The Cathedrals of England’’ สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจของมหาวิหารอังกฤษก็คือประวัติของสถาปัตยกรรมสมัยกลางทั้งสมัยสามารถที่จะบรรยายได้จากสิ่งก่อสร้างสิ่งเดียว ที่มักจะประกอบด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมเด่น ๆ ของแต่ละยุคโดยไม่มีการพยายามแต่อย่างใดในการพยายามผสานลักษณะที่แตกต่างกันของแต่ละสมัยที่สร้างขึ้นมาก่อนหน้านั้น ฉะนั้นลำดับเหตุการณ์ของการก่อสร้างจากสมัยหนึ่งไปอีกสมัยหนึ่งในมหาวิหารเดียวกันจึงอาจจะย้อนกลับไปกลับมาภายในบริเวณต่างๆ ของสิ่งก่อสร้าง จะมีข้อยกเว้นอยู่ก็แต่มหาวิหารซอลสบรีที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมตระกูลเดียวที่กลมกลืนกันไปทั้งตัวสิ่งก่อสร้าง เพราะเป็นการสร้างรวดเดียวเสร็จBanister Fletcher, ‘’History of Architecture on the Comparative Method.’’.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมเอลิซาเบธ

หาสน์ฮาร์ดวิคฮอลล์ ค.ศ. 1590- ค.ศ. 1597 ลักษณะเด่นคือหน้าต่างกระจกที่เป็นซี่หินซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์แบบอังกฤษขณะที่มีหอทัศนาแบบอิตาลี คฤหาสน์เบอห์ลีย์สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1587 โรเบิร์ต สมิธสัน สถาปัตยกรรมเอลิซาเบธ (Elizabethan architecture) หมายถึงลักษณะสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ตอนต้นของอังกฤษที่รุ่งเรืองในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ ซึ่งตรงกับสมัยซิงเคเชนโตในอิตาลี หรือสมัยสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ตอนต้นของฝรั่งเศส หรือ Plateresque style ในสเปน สถาปัตยกรรมเอลิซาเบธสืบต่อมาจากสถาปัตยกรรมทิวดอร์และตามมาด้วยสถาปัตยกรรมพาลเลเดียนที่ริเริ่มโดยอินิโก โจนส์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์มาถึงอังกฤษระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ จากบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำที่นำเอาลักษณะ “หน้าจั่วบันได” หรือ “หน้าจั่วดัตช์” และแถบตกแต่ง (Strapwork) แบบฟลานเดอร์สที่เป็นลายเรขาคณิตที่ใช้ตกแต่งผนังเข้ามาด้วยเข้ามาด้วย ลักษณะทั้งสองอย่างดังกล่าวปรากฏในงานสร้างคฤหาสน์โวลลาทันฮอลล์ และ ที่คฤหาสน์มองตาคิวท์ ในช่วงเดียวกันนี้สถาปัตยกรรมอังกฤษก็เริ่มรับรูปแบบของสถาปัตยกรรมอิตาลีในการสร้างระเบียงแล่นยาวที่ใช้เป็นบริเวณสำหรับเป็นห้องรับรอง ในอังกฤษสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์มักจะออกมาในรูปของสิ่งก่อสร้างสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่เช่นคฤหาสน์ลองลีท สิ่งก่อสร้างเหล่านี้มักจะมีหอที่มีลักษณะเป็นสมมาตรที่เป็นนัยยะของการวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมการสร้างป้อมปราการในสมัยกลาง คฤหาสน์แฮ็ทฟิลด์ที่สร้างโดยโรเบิร์ต เซซิล เอิร์ลแห่งซอลสบรีที่ 1 ระหว่าง..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสถาปัตยกรรมเอลิซาเบธ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามรัก อำนาจ ราชบัลลังก์

งครามรัก อำนาจ ราชบัลลังก์ (The Other Boleyn Girl) เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ โดยนักเขียนชาวอังกฤษ ฟิลิปปา เกรกอรี่ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 เป็นนวนิยายชุดแรกในทิวดอร์ซีรีส์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ทิวดอร์แห่งอังกฤษ มีโครงเรื่องในคริสต์ศตวรรษที่ 16ในเกี่ยวกับ แมรี โบลีน น้องสาวของ แอนน์ โบลีน สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ ในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ในหนังสือกล่าวว่าจอร์จ โบลีนเป็นบุตรคนโตของตระกูลโบลีน และแอนน์ โบลีนเป็นบุตรสาวคนโตของตระกูลโบลีน ส่วนแมรีเป็นบุตรสาวคนเล็ก แต่ในความเป็นจริงนั้น สันนิษฐานว่าแมรี โบลีนเป็นบุตรสาวคนโต รองลงมาคือแอนน์ โบลีนและจอร์จ โบลีน ซึ่งเป็นบุตรชายคนเล็ก สงครามรัก อำนาจ ราชบัลลังก์ ได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ซึ่งเข้าภายในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสงครามรัก อำนาจ ราชบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามสันนิบาตกอญัก

งครามสันนิบาตกอญัก (War of the League of Cognac) เป็นส่วนหนึ่งของมหาสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1494-1559) ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1526 จนถึง ค.ศ. 1530 สงครามอิตาลีครั้งนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (สเปนและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) กับสันนิบาตกอญัก ซึ่งเป็นกลุ่มที่ประกอบด้วยฝรั่งเศส สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 สาธารณรัฐเวนิส อังกฤษ อาณาจักรดยุคแห่งมิลาน และฟลอเรนซ.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสงครามสันนิบาตกอญัก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอิตาลี (ค.ศ. 1521-1526)

งครามอิตาลี (ค.ศ. 1521-1526) หรือ สงครามสี่ปี (Italian War of 1521–1526 หรือ Four Years' War) เป็นส่วนหนึ่งของมหาสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1494-1559) ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1521 จนถึง ค.ศ. 1526 สงครามอิตาลีครั้งนี้เป็นสงครามระหว่างพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศสและสาธารณรัฐเวนิสฝ่ายหนึ่ง กับ สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ และ รัฐในอาณาจักรพระสันตะปาปาอีกฝ่ายหนึ่ง ความขัดแย้างเริ่มขึ้นจากความเป็นปรปักษ์ที่เกิดจากการเลือกตั้งคาร์ลเป็นจักรพรรดิระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1521-1526) · ดูเพิ่มเติม »

สงครามดอกกุหลาบ

ที่ตั้งสำคัญในสงครามดอกกุหลาบ สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses) เป็นชุดสงครามราชวงศ์ที่ผู้สนับสนุนราชวงศ์แพลนแทเจเนตสองสายที่เป็นคู่แข่งชิงราชบัลลังก์อังกฤษกัน ได้แก่ ราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ก (ซึ่งสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล คือ ดอกกุหลาบสีแดงและสีขาวตามลำดับ) ทั้งสองฝ่ายรบกันเป็นช่วงห่าง ๆ กันระหว่างปี 1455 ถึง 1485 แม้จะมีการสู้รบที่เกี่ยวข้องอีกทั้งก่อนหน้าและหลังช่วงนี้ สงครามดังกล่าวเป็นผลจากปัญหาทางสังคมและการเงินหลังสงครามร้อยปี ชัยชนะบั้นปลายเป็นของผู้เรียกร้องเชื้อสายแลงแคสเตอร์ค่อนข้างห่าง เฮนรี ทิวดอร์ ผู้กำราบพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ยอร์ก และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมสองราชวงศ์ หลังจากนั้น ราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษและเวลส์เป็นเวลา 117 ปี เฮนรีแห่งโบลิงโบรกทรงก่อตั้งราชวงศ์แลงแคสเตอร์ขณะทรงราชย์ในปี 1399 เมื่อทรงถอดพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 พระภราดร (ลูกพี่ลูกน้อง) จากราชสมบัติ พระราชโอรส พระเจ้าเฮนรีที่ 5 ยังทรงรักษาการอยู่ในราชสมบัติของตระกูลไว้ได้ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1422 พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทายาทของพระองค์ เป็นทารก การอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของราชวงศ์แลงแคสเตอร์สืบมาจากจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ พระราชโอรสที่ยังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สามในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 สิทธิในราชบัลลังก์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ถูกริชาร์ด ดยุคแห่งยอร์คคัดค้าน ผู้สามารถอ้างว่าสืบเชื้อสายจากไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ป และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กพระราชโอรสที่ยังมียังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สองและสี่ในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ริชาร์ดแห่งยอร์ค ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของรัฐหลายตำแหน่ง ทะเลาะกับราชวงศ์แลงแคสเตอร์สำคัญ ๆ ในราชสำนักและกับมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู พระมเหสีในพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แม้เคยเกิดการปะทะกันด้วยอาวุธระหว่างผู้สนับสนุนราชวงศ์ยอร์กและแลงแคสเตอร์มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การสู้รบเปิดเผยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1455 ที่ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1 ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คนที่โดดเด่นหลายคนเสียชีวิต แต่ทายาทที่เหลือยังพยาบาทกับริชาร์ด แม้จะมีการฟื้นฟูสันติภาพชั่วคราว มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู ดลให้ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คัดค้านอิทธิพลของเอิร์ลแห่งยอร์ค การสู้รบดำเนินต่ออย่างรุนแรงขึ้นในปี 1459 เอิร์ลแห่งยอร์คและผู้สนับสนุนของพระองค์ถูกบีบให้หนีออกนอกประเทศ แต่ผู้สนับสนุนที่โดดเด่นที่สุดของพระองค์คนหนึ่ง เอิร์ลแห่งวอริก บุกครองอังกฤษจากกาเลและสามารถจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้ที่ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน เอิร์ลแห่งยอร์คเสด็จกลับประเทศและเป็นผู้พิทักษ์อังกฤษ (Protector of England) แต่ทรงถูกปรามมิให้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ มาร์กาเร็ตและอภิชนแลงแคสเตอร์ผู้ไม่ยอมปรองดองประชุมกำลังทางเหนือของอังกฤษ และเมื่อเอิร์ลแห่งยอร์คเคลื่อนทัพขึ้นเหนือไปปราบ พระองค์กับเอ็ดเวิร์ด พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ถูกปลงพระชนม์ทั้งคู่ที่ยุทธการเวคฟีลด์ในเดือนธันวาคม 1460 กองทัพแลงแคสเตอร์รุกลงใต้และจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้อีกในยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2 แต่ไม่สามารถยึดครองกรุงลอนดอนไว้ได้ และถอยกลับไปทางเหนือในเวลาต่อมา พระราชโอรสองค์โตของเอิร์ลแห่งยอร์ค เอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ช ได้รับการประกาศเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระองค์ระดมกองทัพราชวงศ์ยอร์คและได้ชัยเด็ดขาดที่ยุทธการที่โทว์ทันเมื่อเดือนมีนาคม 1461 หลังการลุกขึ้นต่อต้านของแลงแคสเตอร์ทางเหนือถูกกำราบในปี 1464 และพระเจ้าเฮนรีถูกจับเป็นเชลยอีกครั้ง พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทะเลาะกับเอิร์ลแห่งวอริก สมญา "ผู้สร้างกษัตริย์" (Kingmaker) ผู้สนับสนุนและที่ปรึกษาหลักของพระองค์ และยังแตกแยกกับพระสหายหลายคน และกระทั่งพระบรมวงศานุวงศ์ โดยทรงสนับสนุนตระกูลของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ซึ่งมีอำนาจขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งพระองค์ทรงอภิเษกสมรสด้วยอย่างลับ ๆ ทีแรก เอิร์ลแห่งวอริกพยายามยกน้องชาย จอร์จ ดยุกแห่งแคลเรนซ์ เป็นพระมหากษัตริย์ แล้วจึงฟื้นฟูพระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับสู่ราชสมบัติ จากนั้นสองปี พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ทรงได้รับชัยชนะสมบูรณ์อีกครั้งที่บาร์เนต (เมษายน 1471) ที่ซึ่งเอิร์ลแห่งวอริกถูกสังหาร และทูกสบรี (พฤษภาคม 1471) ที่ซึ่งเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ ทายาทแลงแคสเตอร์ ถูกประหารชีวิตหลังยุทธการ พระเจ้าเฮนรีถูกปลงพระชนม์ในหอคอยลอนดอนหลายวันจากนั้น ยุติลำดับการสืบราชสันตติวงศ์โดยตรงของแลงแคสเตอร์ จากนั้น บ้านเมืองค่อนข้างสงบอยู่พักหนึ่ง จนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตกะทันหันในปี 1483 ริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ พระอนุชาที่ยังมีพระชนมชีพของพระองค์ ทีแรกเคลื่อนไหวเพื่อกันมิให้ตระกูลวูดวิลล์ที่ไม่เป็นที่นิยมของพระมเหสีหม้ายของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเข้าร่วมในรัฐบาลระหว่างที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 พระราชโอรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ยังทรงพระเยาว์ จึงยึดราชบัลลังก์เป็นของตน โดยอ้างว่า การสมรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เฮนรี ทิวดอร์ พระญาติห่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์แลงแคสเตอร์ผู้รับสืบทอดการอ้างสิทธิ์มาด้วย ชนะพระเจ้าริชาร์ดที่บอสเวิร์ธฟิลด์ในปี 1485 พระองค์ราชาภิเษกเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมและประสานราชวงศ์ทั้งสอง.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

อลิซาเบธ ราชินีบัลลังก์เลือด

อลิซาเบธ ราชินีบัลลังก์เลือด ชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์เรื่อง Elizabeth นำแสดงโดยเคต แบลนเชตต์, โจเซฟ ไฟนส์, เจฟฟรีย์ รัช, คริสโตเฟอร์ แอคเคลสตัน ร่วมด้วย ริชาร์ด แอทเทนบอรอจ และเอริก ก็องโตนา (นักแสดงรับเชิญ) กำกับการแสดงโดย เชคการ์ คาปูร.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและอลิซาเบธ ราชินีบัลลังก์เลือด · ดูเพิ่มเติม »

อะยะ ฮิระโนะ

อะยะ ฮิระโนะ (เกิด 8 ตุลาคม 1987) เป็นนักพากย์และนักร้องเจ-ป็อปหญิงชาวญี่ปุ่น เธอเคยสังกัดค่ายสเปซคราฟต์โปรดิวซ์ ในเครือของสเปซคราฟต์กรุ๊ป สำหรับงานนักพากย์ และค่ายแลนติส สำหรับงานนักร้อง ฮิระโนะมีผลงานการพากย์มาแล้วมากมาย ทั้งอะนิเมะ เกม วิชวลโนเวล และรายการโฆษณาทางโทรทัศน์ ซึ่งผลงานที่ทำให้ชื่อเสียงของเธอเป็นที่รู้จักในวงกว้างคือบทของ สึซึมิยะ ฮารุฮิ จากเรื่องเรียกเธอว่าพระเจ้า สึซึมิยะ ฮารุฮิ เธอลาออกจาก สเปซคราฟต์และแลนติส เมื่อปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและอะยะ ฮิระโนะ · ดูเพิ่มเติม »

อัศวินฮอสปิทัลเลอร์

ณะอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ (Knights Hospitaller) หรือคณะฮอสปิทัลเลอร์ (Order of Hospitallers) เป็นคณะบุรุษที่ทำงานที่โรงพยาบาลอมาลฟิที่ตั้งขึ้นในเยรูซาเลมในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อัครศาสนูปถัมภก

อัครศาสนูปถัมภก (Upholder of religions) หมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้ทะนุบำรุงศาสนาต่าง.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและอัครศาสนูปถัมภก · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหาร

อาสนวิหาร อาสนวิหารเซ็นต์บาร์บารา (St Barbara's church) เมือง Kutná Hora สาธารณรัฐเช็ก อาสนะบิชอปที่อาสนวิหารโวลเทอร์รา (Volterra Cathedral) ประเทศอิตาลี อาสนวิหาร (Cathedral; Cathédrale; Kathedrale/Dom; Cattedrale/Duomo) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ทำการนมัสการพระเจ้า (โดยเฉพาะในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน อาสนวิหารจะเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลซึ่งเป็นเขตปกครองของบิชอป คำว่าอาสนวิหารใช้ได้หลายความหมาย บางอาสนวิหารของคริสตจักรปฏิรูปที่สกอตแลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ยังใช้คำว่าเรียกตัวเองว่าอาสนวิหารอยู่ทั้งที่โบสถ์นั้นไม่มีตำแหน่งมุขนายกประจำ ฉะนั้นในบางกรณีคำว่าอาสนวิหารจึงใช้เรียกโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งอาสนะของบิชอปแต่มีลักษณะใหญ่โตน่าประทับใจ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะไม่ใช้คำว่าอาสนวิหารแต่จะใช้คำว่าโบสถ์ใหญ่ (the great church) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า “cathedral” เมื่อพูดถึงโบสถ์ใหญ่ นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จะไม่มีอาสนวิหารอย่างที่ว่าแต่จะมีโบสถ์หลักเช่นโบสถ์เซนต์มาร์กที่ไคโรซึ่งก็เรียกกันว่า “cathedral” เช่นกัน อาสนวิหารหลายแห่งในทวีปยุโรปไม่เรียกตัวเองว่าอาสนวิหารแต่จะเรียกตัวเองว่า Minster หรือ Münster เช่น ที่เมืองยอร์ก หรือ ลิงคอล์น ในประเทศอังกฤษ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกทั้งสองแห่งนี้ว่า “อาสนวิหาร” ในประเทศเยอรมนี ทั้งสองคำนี้มีรากมาจากคำว่า monasterium ใน ภาษาละติน เพราะแต่เดิมอาสนวิหารเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคนัน (canon) ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรืออาจจะเคยเป็นแอบบีย์มาก่อนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารกลอสเตอร์

วิวจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของอาสนวิหารกลอสเตอร์เมื่อปี ค.ศ. 1828 อาสนวิหารกลอสเตอร์ (Gloucester Cathedral) เป็นอาสนวิหารที่ตั้งอยู่ตอนเหนือของเมืองกลอสเตอร์ ประเทศอังกฤษ แต่เดิมเป็นแอบบีย์ที่อุทิศให้นักบุญเปโตร เมื่อราวปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและอาสนวิหารกลอสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด

อาสนวิหารไครสต์เชิร์ช (Christ Church Cathedral) เป็นอาสนวิหารแองกลิคันประจำมุขมณฑลอ๊อกซฟอร์ด ตั้งอยู่ที่เมืองอ็อกฟอร์ด ในประเทศอังกฤษ และมีเขตการปกครองเลยไปถึงเบนเบอรี (Banbury) อาสนวิหารเดิมเป็นไพรออรีเซนต์ไฟรด์สไวด์ เพราะเชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของอารามและเรลิกของนักบุญ Frideswide องค์อุปถัมภ์เมืองอ๊อกซฟอร์ด แต่ก็ยังเป็นข้อที่ถกเถึยงกันอยู่ เมื่อปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารนักบุญเปาโล

“อาสนวิหารนักบุญเปาโลเดิม” ก่อน ค.ศ. 1561 ที่ยังมีมณฑป อาสนวิหารนักบุญเปาโล (St Paul's Cathedral) เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งบิชอปแห่งลอนดอน สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแก่นักบุญเปาโลอัครทูต ตั้งอยู่ในนครลอนดอน ประเทศอังกฤษ อาสนวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเชื่อกันว่าเป็นอาสนวิหารที่ 5 ตั้งแต่สร้างอาสนวิหารกันมา ณ ที่ตั้งนี้แต่อาจจะสูงกว่านั้นถ้านับการบูรณะเข้าไปด้ว.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและอาสนวิหารนักบุญเปาโล · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเดอรัม

อาสนวิหารเดอรัม คริสตจักรอาสนวิหารของพระคริสต์ พระนางมารีย์พรหมจารี และเซนต์คัธเบิร์ตแห่งเดอรัม (The Cathedral Church of Christ, Blessed Mary the Virgin and St Cuthbert of Durham) เรียกโดยย่อว่าอาสนวิหารเดอรัม เป็นอาสนวิหารแองกลิคัน ตั้งอยู่ที่เมืองเดอรัมใน สหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1093 มีชื่อเต็มว่า The Cathedral Church of Christ, Blessed Mary the Virgin and St Cuthbert of Durham ลักษณะโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นแบบโรมาเนสก์ มีหอคอยสูง 66 เมตร มีบันไดขึ้นทั้งหมด 325 ขั้น อาสนวิหารเป็นที่เก็บเรลิกของคัธเบิร์ตแห่งลินเดสฟาร์น (Cuthbert of Lindisfarne) นักบุญจากศตวรรษที่ 7 นอกจากนั้นยังเป็นที่เก็บศีรษะของนักบุญออสวอลด์แห่งนอร์ธัมเบรีย (St Oswald of Northumbria) และร่างของนักบุญบีด มุขนายกแห่งเดอรัมเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจมากมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตำแหน่งของมุขนายกแห่งเดอรัมถือว่ามีความสำคัญเป็นที่สี่ของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ในปัจจุบันก็ยังมีป้ายของมณฑลเดอรัมว่าเป็นดินแดนของ Prince Bishops อาสนวิหารได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก พร้อมกับปราสาทเดอรัมซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกันเหนือแม่น้ำเวียร์ (River Wear).

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและอาสนวิหารเดอรัม · ดูเพิ่มเติม »

อีริก บานา

อีริก บานาดีโนวิช หรือรู้จักกันในชื่อ อีริก บานา เกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1968 เป็นนักแสดงชายชาวออสเตรเลียที่มีผลงานทางภาพยนตร์และโทรทัศน์ เขาเริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็นนักแสดงตลกในละครสเก็ตช์คอเมดี้เรื่อง Full Frontal ก่อนที่จะประสบความสำเร็จในแง่คำวิจารณ์จากภาพยนตร์ชีวประวัติเรื่อง Chopper (2000) หลังจากที่ได้รับคำชมในเสียงวิจารณ์เป็นเวลาร่วม 10 ปี ในละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ในประเทศออสเตรเลีย บานาเข้าร่วมแสดงภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดในบท สิบเอก 'ฮู้ต' กิ๊บสัน ในทหารหน่วยเดลต้า ในภาพยนตร์เรื่อง Black Hawk Down (2001) และต่อมาได้รับบทนำในบทบาท บรูซ แบนเนอร์ ในภาพยนตร์การกำกับของอั้งลี่ เรื่อง The Hulk (2003) บานา นักแสดงที่ประสบความสำเร็จในบทบาทการแสดงและการแสดงตลก เขาได้รับรางวัลสูงสุดทางด้านภาพยนตร์และโทรทัศน์สำหรับการแสดงเรื่อง Chopper และ Full Frontal นอกจากนี้เขายังได้แสดงบทนำในภาพยนตร์ทุนต่ำหลาย ๆ แบบ และแสดงกับสตูดิโอสังกัดใหญ่ ทั้งหนังรัก หนังตลก หนังดราม่า จนถึงนวนิยายวิทยาศาสตร์ หนังเขย่าขวัญ และหนังแอ๊กชัน โดยภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมรวมถึงเรื่อง Black Hawk Down (2001), Hulk (2003), Troy (2004) และ Munich (2005).

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและอีริก บานา · ดูเพิ่มเติม »

ฮันส์ ฮอลไบน์ (ผู้ลูก)

ันส์ ฮอลไบน์ ผู้ลูก (Hans Holbein the Younger; ค.ศ. 1497 - ระหว่างวันที่ 7 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1543) เป็นจิตรกรและช่างพิมพ์ของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนเหนือคนสำค้ญของประเทศเยอรมนีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพพิมพ์แบบเรอเนสซองซ์ตอนเหนือ ฮอลไบน์เป็นที่รู้จักจากภาพเหมือน และงานภาพพิมพ์แกะไม้ (woodcut) ในชุด "Dance of Death" ฮันส์ ฮอลไบน์ถือกันว่าเป็นช่างเขียนภาพเหมือนคนสำคัญของยุคภาพเหมือนสมัยใหม่ตอนต้น (Early Modern Period) ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 18 นอกจากภาพเหมือนแล้วฮอลไบน์ก็ยังมีงานเขียนที่เกี่ยวกับศาสนา งานเสียดสี และงานโฆษณาชวนเชื่อของการปฏิรูปศาสนา และมีบทบาทสำคัญในการประวัติศาสตร์ของการออกแบบหนังสือ สร้อย "ผู้ลูก" เพื่อให้ต่างจากบิดาผู้มีชื่อเดียวกัน --ฮันส์ ฮอลไบน์ ผู้พ่อ) ผู้เป็นจิตรกรมีชื่อของสมัยกอทิกตอนปลาย ฮอลไบน์เกิดที่เอาก์สบวร์ค ทำงานส่วนใหญ่ในบาเซิลเมื่อเริ่มเป็นศิลปิน ในระยะแรกก็เขียนจิตรกรรมฝาผนังและศิลปะคริสต์ศาสนางานศาสนา และออกแบบหน้าต่าประดับกระจกสีและหนังสือสำหรับพิมพ์ บางครั้งก็จะเขียนภาพเหมือนและมีชื่อเสียงขึ้นเมื่อเขียนภาพเหมือนของนักมนุษยนิยมเดสิเดอริอัส อีราสมัสแห่งรอตเตอร์ดาม เมื่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ขยายไปถึงบาเซิล ฮอลไบน์ก็ทำงานให้ลูกค้าฝ่ายปฏิรูป ขณะที่ในขณะเดียวกันก็ทำงานให้กับลูกค้าที่ต้องการภาพทางศาสนาแบบดั้งเดิม งานของฮอลไบน์ของปลายสมัยกอทิกมีลักษณะที่เพิ่มคุณค่าของภาพที่มาจากแนวโน้มของศิลปะอิตาลี ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ และจากลัทธิมนุษยนิยมยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา ผลที่ออกมาคืองานที่มีความงามเป็นเอกลักษณ์ของฮอลไบน์เอง ฮอลไบน์เดินทางไปยังอังกฤษในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและฮันส์ ฮอลไบน์ (ผู้ลูก) · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิ

ักรพรรดิ หรือ พระราชาธิราช หมายถึง ประมุขของจักรวรรดิ หากเป็นสตรีเรียกว่า จักรพรรดินี (Empress) แต่คำว่า “จักรพรรดินี” ก็ใช้เรียกพระมเหสีของจักรพรรดิด้วย ในภาษาอังกฤษจะมีคำต่อท้ายให้เป็นที่เข้าใจคือ “Empress Consort” โดยทั่วไปถือกันว่า “จักรพรรดิ” มีฐานันดรสูงกว่า “พระราชา”.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและจักรพรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิคาร์ล (ชาลส์) ที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Karl V; Carlos I or Carlos V; Charles V, 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2043 - 21 กันยายน พ.ศ. 2101) สมัยราชวงศ์ฮับส์บูร์กในสเปนทรงครองราชย์ในนามของพระเจ้าชาร์ลที่ 1 แห่งสเปน เป็นประมุขแห่งดัชชีเบอร์กันดี (ในปี พ.ศ. 2049 - 2098) กษัตริย์แห่งสเปน (พ.ศ. 2059 - 2099) พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเนเปิลส์และราชอาณาจักรซิซิลี (พ.ศ. 2059 - 2097) อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย (พ.ศ. 2062 - 2064) และจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (พ.ศ. 2073 - 2099) พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งคาสตีล (Philip I of Castile, พ.ศ. 2021-พ.ศ. 2049) และพระนางโจแอนนา (Joanna of Castile, พ.ศ. 2022 - พ.ศ. 2098) พระอัยกาคือพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนและจักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ส่วนพระอัยกีคือสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีลและแมรีแห่งเบอร์กันดี พระปิตุจฉาคือแคเธอรีนแห่งอารากอน สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษพระมเหสีองค์แรกในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ธนูยาวอังกฤษ

นูยาวอังกฤษ ยาว 2 เมตร แรงต้าน (draw force) 470 นิวตัน ธนูยาวอังกฤษ หรือเรียก ธนูยาวเวลส์ เป็นธนูยาวสมัยกลางประเภททรงพลัง ยาวประมาณ 1.83 เมตร ซึ่งชาวอังกฤษและชาวเวลส์ใช้ในการล่าสัตว์และเป็นอาวุธในสงครามสมัยกลาง การใช้ธนูยาวของอังกฤษมีประสิทธิภาพต่อฝรั่งเศสระหว่างสงครามร้อยปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นของสงคราม ในยุทธการเครซี (ค.ศ. 1346) และปัวตีเย (ค.ศ. 1356) และที่มีชื่อเสียงที่สุดที่ยุทธการอาแฌงคูร์ต (ค.ศ. 1415) แต่เริ่มประสบความสำเร็จน้อยลงหลังจากนั้น พลธนูยาวได้รับความสูญเสียที่ยุทธการแวร์เนย (ค.ศ. 1424) และถูกตีแตกพ่ายที่ยุทธการพาเทย์ (ค.ศ. 1429) เมื่อถูกเข้าตีก่อนที่พวกเขาจะจัดตั้งตำแหน่งตั้งรับ คำว่า ธนูยาว "อังกฤษ" หรือ "เวลส์" เป็นคำสร้างใหม่เพื่อแยกแยะธนูเหล่านี้จากธนูยาวอื่น แม้ธนูยาวแบบเดียวกันนี้จะถูกใช้อย่างแพร่หลายในยุโรปเหนือและยุโรปตะวันตก แต่ที่จริงแล้ว ก้านธนูยิวส่วนมากถูกนำเข้าจากสเปนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา ธนูยาวที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักมาจากอังกฤษ ซึ่งถูกพบที่แอสคอทท์ฮีท (Ashcott Heath) มณฑลซอมเมอร์เซ็ท ซึ่งมีอายุถึง 2665 ปีก่อนคริสตกาล แต่ไม่มีธนูยาวเหลือรอดในช่วงที่ธนูยาวใช้กันอย่างแพร่หลาย (ระหว่าง ค.ศ. 1250-1450) ซึ่งอาจเป็นเพราะ เป็นธรรมชาติของธนูที่จะอ่อนแอลง หัก และถูกเปลี่ยน มากกว่าที่จะส่งต่อกันรุ่นสู่รุ่น อย่างไรก็ตาม มีธนูยาวมากกว่า 130 คันเหลือรอดจากยุคเรเนซ็องส์ มีลูกศรกว่า 3,500 ดอก และธนูยาวทั้งคัน 137 คัน ถูกกู้ขึ้นจากเรือแมรีโรส เรือของกองทัพเรือในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ซึ่งจมในพอร์ตสมัธ ใน..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและธนูยาวอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส มอร์

ทอมัส มอร์ (Thomas More) คริสตจักรโรมันคาทอลิกเรียกว่านักบุญทอมัส มอร์ เป็นนักกฎหมาย นักปรัชญาสังคม นักเขียน รัฐบุรุษ และนักมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ และประธานฝ่ายตุลาการอังกฤษตั้งแต่เดือนตุลาคม..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและทอมัส มอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส แบ็กกิต

นักบุญทอมัส แบ็กกิต (Thomas Becket) ต่อมารู้จักกันในชื่อ Thomas à Becket เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เกิดใน..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและทอมัส แบ็กกิต · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส โวลซีย์

ทอมัส โวลซีย์ (Thomas Wolsey) (มีนาคม ค.ศ. 1473 - 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1530) เป็นนักการเมืองชาวอังกฤษและพระคาร์ดินัลแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก เมื่อเจ้าชายเฮนรีขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและทอมัส โวลซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้าราชสำนัก

มาดาม เดอ ปองปาดูร์ข้าราชสำนักในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสผู้ต่อมาได้เป็นพระสนม ข้าราชสำนัก หรือ ข้าประจำสำนัก (Courtier) คือบุคคลที่รับราชการหรือมีหน้าที่ในราชสำนัก หรือ ในสำนักของขุนนาง หรือ สำนักของผู้มีอำนาจ ในประวัติศาสตร์ราชสำนักคือศูนย์กลางของรัฐบาลและสังคมและที่ประทับของพระมหากษัติรย์หรือที่พำนักของผู้มีอำนาจ ชีวิตทางด้านการเมืองและการสังคมจะมารวมอยู่ในที่เดียวกัน พระมหากษัตริย์หรือผู้มีอำนาจก็จะต้องให้ผู้ใกล้ชิดหรือขุนนางข้าราชการคนสำคัญๆ มาเฝ้าแหนหรือมาทำงานเป็นระยะเวลาหลายเดือนต่อปีภายในสำนัก ข้าราชสำนักไม่จำเป็นต้องเป็นขุนนาง แต่อาจจะเป็นนักบวช, ทหาร, เลขาธิการ หรือผู้แทนทางเศรษฐกิจหรือกิจการในสาขาและระดับต่างๆ การได้เลื่อนฐานะอาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้นราชสำนัก/สำนักจึงเป็นสถานที่ที่ผู้มีความทะเยอทยานต่างก็พยายามเข้ามาปรากฏตัวเพื่อให้เป็นที่ใกล้ชิดบุคคลสำคัญ สิ่งที่สำคัญในการสร้างความก้าวหน้าให้แก่ตนเองภายในราชสำนัก/สำนักคือการเข้าถึงตัวผู้มีอำนาจ และ “ข้อมูล” ชีวิตภายในราชสำนัก/สำนักแบ่งเป็นหลายฝักหลายฝ่ายและหลายระดับ ผู้ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานอาจจะไม่ต้องมีการติดต่อโดยตรงกับประมุขของสำนักเลยก็ได้ สตรีที่มีหน้าที่ในราชสำนักเรียกว่า “สตรีในราชสำนัก” (Courtesan) แต่ในปัจจุบันคำนี้แผลงไปใช้ในทางสตรีที่ใช้ความงามในการสร้างความก้าวหน้าให้แก่ตนเองที่อาจจะเรียกว่า “สตรีงามเมือง” ราชสำนักของยุโรปที่มีชื่อเสียงที่สุดก็ได้แก่ราชสำนักแวร์ซายส์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส แต่ราชสำนักที่ใหญ่ที่สุดคือพระราชวังต้องห้ามแห่งกรุงปักกิ่งที่ยิ่งแยกจากสังคมภายนอกมากไปกว่าราชสำนักแวร์ซายส์ นอกจากราชสำนักหลักของราชอาณาจักรแล้ว ขุนนางหรือนักบวชในบางราชอาณาจักรในยุโรปก็อาจจะมีอำนาจที่เป็นอิสระจากพระมหากษัตริย์มากบ้างน้อยบ้าง ที่บางครั้งก็อาจจะมีสำนักของตนเองที่มีอำนาจอิสระจะอำนาจกลางของราชอาณาจักร ซึ่งทำให้ระบบราชสำนักของยุโรปออกจะเป็นระบบที่ซับซ้อนอยู่บ้าง ในปัจจุบันคำว่า “Courtier” มักจะใช้เป็นคำอุปลักษณ์สำหรับผู้เป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้นำ หรือ ผู้ติดสอยห้อยตามผู้นำอย่างแยกไม่ได้.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและข้าราชสำนัก · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีเคลเวอ

ัชชีเคลเวอ (Herzogtum Kleve; Hertogdom Kleef; Duchy of Cleves) เป็นรัฐบริวารของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนีปัจจุบัน (ส่วนหนึ่งนอร์ธไรน์เวสต์ฟาเลีย) และเนเธอร์แลนด์ (ส่วนหนึ่งของลิมบูร์ก, บราบองต์เหนือ และ เกลเดอร์แลนด์) ดินแดนของดัชชีเคลเวออยู่บนสองฝั่งแม่น้ำไรน์รอบเมืองหลวงเคลเวอและครอบคลุมบริเวณที่ปัจจุบันคือ ดิสตริกต์เคลเวอ, ดิสตริกต์เวเซิล และเมืองดุยส์บูร์ก (Duisburg).

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและดัชชีเคลเวอ · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรแห่งอังกฤษ

ภาคแคนเทอร์เบอรี (สีเหลือง) และภาคยอร์ก (สีชมพู) คริสตจักรแห่งอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 44-5 (Church of England) เป็นคริสตจักรประจำชาติ ของอังกฤษ และเป็นคริสตจักรแม่ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก ในช่วงแรกคริสตจักรในอังกฤษยังเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรโรมันคาทอลิก แต่เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษตัดสินพระทัยหย่าขาดกับพระนางแคเธอรินแห่งอารากอนซึ่งฝ่าฝืนคำสั่งของพระสันตะปาปาไป พระองค์ก็มีพระราชโองการให้คริสตจักรแห่งอังกฤษแยกตัวจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและคริสตจักรแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 16

ริสต์ศตวรรษที่ 16 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1501 ถึง ค.ศ. 1600 ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 นี้ สเปนและโปรตุเกสได้มีการเดินเรือเพื่อออกไปสำรวจสถานที่ต่างๆ หลังจากที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสได้ค้นพบโลกใหม.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและคริสต์ศตวรรษที่ 16 · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์ชนบท

คฤหาสน์โฮลค์แฮมเป็นคฤหาสน์ชนบทที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอังกฤษ นอกจากจะเป็นการแสดงฐานะและรสนิยมของเจ้าของแล้วก็ยังเป็นศูนย์กลางของทรัพย์สินที่ดินที่ให้งานทำแก่ผู้คนเป็นจำนวนเป็นร้อย คฤหาสน์ชนบท (Country house หรือ English country house) โดยทั่วไปหมายถึงที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่หรือคฤหาสน์ที่เดิมเป็นสมบัติส่วนบุคคลผู้มักจะมีคฤหาสน์สำคัญ (great house) อีกหลังหนึ่งในเมือง ซึ่งทำให้สามารถใช้เวลาได้ทั้งในเมืองและในชนบท “คฤหาสน์ชนบท” และ “คฤหาสน์ภูมิฐาน” บางครั้งมักจะใช้สับสนกัน—คฤหาสน์ชนบทเป็นคฤหาสน์ที่ตั้งอยู่นอกเมือง แต่คฤหาสน์ภูมิฐานอาจจะตั้งอยู่ได้ทั้งในเมืองหรือนอกเมือง เช่นคฤหาสน์แอ็พสลีย์ (Apsley House) สร้างสำหรับอาเธอร์ เวลสลีย์ ดยุกแห่งเวลลิงตันที่ 1 (Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington) ที่มุมหนึ่งของไฮด์พาร์ค (Hyde Park) หรือที่เรียกกันว่า “No.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและคฤหาสน์ชนบท · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์ภูมิฐาน

“คฤหาสน์วิลท์ตัน” ที่รู้จักกันจากฉากเต้นรำในภาพยนตร์เรื่อง “Sense and Sensibility” คฤหาสน์ภูมิฐาน (Stately home) ตามความหมายที่จำกัดแล้วหมายถึงคฤหาสน์ขนาดใหญ่ประมาณ 500 แห่งที่สร้างในหมู่เกาะอังกฤษระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 มาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่รวมทั้งสำนักสงฆ์และคริสต์ศาสนสถานอื่นๆ ที่เปลี่ยนมือมาเป็นของฆราวาสหลังการยึดอารามโดยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 การเรียกว่า “คฤหาสน์ภูมิฐาน” ก็เพื่อเป็นการแสดงความแตกต่างจากสิ่งก่อสร้างที่เรียกกันว่า “ปราสาท” (แม้ว่าคฤหาสน์ภูมิฐานบางแห่งจะยังเรียกตัวเองว่า “ปราสาท”) ตามความหมายทางสถาปัตยกรรมหรือการก่อสร้าง เพื่อเป็นการแสดงว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยมิใช่เพื่อประโยชน์ทางการทหาร “คฤหาสน์ภูมิฐาน” มิใช่เป็นแต่เพียงที่อยู่อาศัยแต่เป็นการแสดงสัญลักษณ์แสดงฐานะ (status symbol) ของผู้เป็นเจ้าของตระกูลของผู้เป็นเจ้าของด้วย ซึ่งต่างก็แข่งกันสร้างเพื่อใช้ในการรับรองพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ หรือในการรับรองบุคคลสำคัญๆ อื่นที่มีความสำคัญในทางสังคมหรือการเมือง สถาปนิกและสถาปนิกสวนภูมิทัศน์เช่นโรเบิร์ต อาดัม, เซอร์ชาร์ลส์ แบร์รี, เซอร์เอ็ดวิน ลูเต็นส (Edwin Lutyens), เซอร์จอห์น แวนบรูห์, ลานเซลอต บราวน์ และฮัมฟรีย์ เร็พตัน (Humphry Repton) และอื่นๆ ต่างก็มีบทบาทในการก่อสร้างดังที่ว่านี้ นอกจากนั้นการแสดงความสง่างามภายนอกแล้ว ภายในก็จะตกแต่งด้วยศิลปะและเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นงานสะสมหรือไปสรรหากันมาโดยเฉพาะ การสร้าง “คฤหาสน์ภูมิฐาน” มาสิ้นสุดลงหลังจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อฐานะทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปที่รวมทั้งการมยุบตัวของอุตสาหรรรมและของเกษตรกรรมในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19, สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และต่อมาสงครามโลกครั้งที่สอง ในปัจจุบัน “คฤหาสน์ภูมิฐาน” จึงมักจะเป็นการผสมระหว่างการเป็นสถานที่ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม, พิพิธภัณฑ์ที่อยู่อาศัย, พิพิธภัณฑ์เฉพาะทางเช่นพิพิธภัณฑ์ราชรถ หรือบ้านหรือปราสาทที่เป็นที่พำนักอาศัยของตระกูลที่บางส่วนก็ทรุดโทรมลงไปบ้างแล้ว “คฤหาสน์ภูมิฐาน” อาจจะบริหารโดยองค์การต่างๆ ดังนี้: แต่ก็ยังมี “คฤหาสน์ภูมิฐาน” อีกเป็นอันมากที่ยังเป็นการบริหารส่วนบุคคลหรือโดยองค์กรผู้พิทักษ์ (trust) ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและอนุรักษ์คฤหาสน์ขนาดใหญ่เหล่านี้เป็นที่ร่ำลือกันว่าเป็นจำนวนอันมหาศาลและเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด เจ้าของหลายคนจึงจำต้องหาวิธีต่างที่นำมาซึ่งรายได้พิเศษในการจุนเจือเช่นโดยการให้เช่า หรือให้จ้างใช้เป็นฉากสำหรับการสร้างภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ ฉะนั้น “คฤหาสน์ภูมิฐาน” บางแห่งจึงดูคุ้นตาแม้แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยมาชมด้วยตนเอง นอกจากตัวคฤหาสน์แล้ว บริเวณรอบๆ ก็อาจมักจะมีสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ สำหรับนักท่องเที่ยวเช่น สวนภูมิทัศน์, สิ่งก่อสร้างตกแต่ง, ฟาร์มสัตว์, ซาฟารีพาร์ค หรือพิพิธภัณฑ์เป็นต้น.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและคฤหาสน์ภูมิฐาน · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์โวเบิร์น

หาสน์โวเบิร์น หรือ คฤหาสน์วูเบิร์น (Woburn Abbey) เป็นคฤหาสน์ที่ตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านโวเบิร์น (หรือวูเบิร์น) ในเทศมณฑลเบดฟอร์ดเชอร์ในสหราชอาณาจักร โวเบิร์นเป็นที่ตั้งของดยุคแห่งเบดฟอร์ดและเป็นที่ตั้งของอุทยานซาฟารีเบดฟอร.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและคฤหาสน์โวเบิร์น · ดูเพิ่มเติม »

งานกระจกสี

หน้าต่างประดับกระจกสีเป็นรูปอีแวนเจลลิสทั้งสี่ที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ หน้าต่างประดับกระจกสี (รายละเอียด) เป็นรูปพระเยซูปรากฏตัวต่อนักบุญทอมัสที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ การทำแก้วมงกุฏ งานกระจกสี (Stained glass) คำว่า งานกระจกสี หมายถึงงานที่ใช้กระจกสีตกแต่งหรืองานการทำกระจกสี ซึ่งไม่แต่เฉพาะแต่หน้าต่างเท่านั้น ยังรวมถึงศิลปะอื่นๆ ที่ใช้กระจกสีตกแต่งด้วยเช่น บานกระจกที่ทำเพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ หรือโคมตะเกียงเป็นต้น ตลอดระยะพันปีการตกแต่งด้วยกระจกสีจะหมายถึงหน้าต่างประดับกระจกสีของวัด หรือ มหาวิหารทางคริสต์ศาสนา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ การตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยเดิมจะแต่งบนแผงแบนสำหรับใช้ทำหน้าต่าง แต่วิธีการตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยปัจจุบันจะรวมไปถึงโครงสร้างกระจกสีแบบสามมิติและงานแกะสลักกระจกสีด้วย และจะรวมไปถึงบานกระจกสีสำหรับที่อยู่อาศัยที่เรียกกันว่า “leadlight” ด้วย หรืองานศิลปะที่ทำจากกระจกสีและเชื่อมต่อกันด้วยตะกั่วอย่างเช่น โคมกระจกสีที่มีชื่อเสียงที่ทำโดย หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) เมื่อพูดถึงวัสดุคำว่า “กระจกสี” โดยทั่วไปจะหมายถึงแก้วที่ทำให้เป็นสีโดยการเติม Metallic salts ระหว่างการผลิต ช่างจะใช้กระจกสีในการสร้าง “หน้าต่างประดับกระจกสี” โดยการเอากระจกสีชิ้นเล็กๆ มาจัดให้เป็นลวดลายหรือภาพภายในกรอบโดยเชื่อมชิ้นกระจกด้วยกันด้วยเส้นตะกั่ว เมื่อเสร็จแล้วก็อาจจะทาสีและย้อมสีเหลืองตกแต่งอีกเล็กน้อยเพื่อให้ลวดลายเด่นขึ้น นอกจากนั้นคำว่า “กระจกย้อมสี” (Stained glass) จะหมายถึงหน้าต่างกระจกที่วาดทาสีเสร็จแล้วเผาในเตาหลอมก่อนที่จะทิ้งไว้ให้เย็น “งานกระจกสี” เป็นงานฝีมือที่ศิลปินต้องมีพรสวรรค์ทางศิลปะเพื่อที่จะออกแบบได้ และต้องมีความรู้ทางวิศวกรรมเพี่อที่สามารถประกอบบานกระจกที่ทำใว้ให้แน่นหนาภายในกรอบสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะกระจกบานใหญ่ๆ ที่จะต้องรับน้ำหนักของตัวบานกระจกเองและสามารถทนทานต่อสภาวะอากาศภายนอกได้ หน้าต่างบานใหญ่เหล่านี้ยังอยู่รอดมาให้เราชมบ้างตั้งแต่สมัยยุคกลางโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในยุโรปตะวันตกหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นจักษุศิลป์ชนิดเดียวที่เหลือมาตั้งแต่ยุคกลาง จุดประสงค์ของหน้าต่างประดับกระจกสีมิใช่ให้ผู้ดูมองออกไปดูโลกภายนอกหรือให้แสงส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างแต่จะควบคุมผู้อยู่ภายใน จากเหตุผลนี้หน้าต่างประดับกระจกสีจึงอาจจะเรียกได่ว่าเป็น “การตกแต่งผนังส่องแสง” (“illuminated wall decorations”) มากกว่าจะเป็นหน้าต่างอย่างตามความหมายทั่วไปของหน้าต่างที่ใช้มองออกสู่ภายนอก การออกแบบหน้าต่างวัดอาจจะเป็นได้ทั้งอุปมาอุปไมยหรือไม่ก็ได้ หน้าต่างอาจจะเป็นตำนานจากคัมภีร์ไบเบิล ประวัติศาสตร์ หรือ วรรณคดี หรือ ชีวิตของนักบุญ หรือผู้อุปการะวัด หรืออาจจะเป็นลวดลายสัญญลักษณ์ เช่นตราประจำตระกูล การตกแต่งภายในสิ่งก่อสร้างหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวในหัวข้อเดียวกันเช่นถ้าเป็นวัดก็อาจจะเป็นเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู หรือนักบุญ หรือผู้สร้างวัด ถ้าเป็นภายในวิทยาลัยกระจกอาจจะมีสัญลักษณ์สำหรับศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ หรือภายในบ้านอาจจะเป็นลวดลายแบบใดแบบหนึ่งที่เจ้าของเลือก.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและงานกระจกสี · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลสเปนเซอร์

ตระกูลสเปนเซอร์ (Spencer family) เป็นหนึ่งในตระกูลขุนนางและชนชั้นสูงเก่าแก่ของเกาะอังกฤษ สมาชิกในตระกูลนี้ได้รับแต่งตั้งเป็นอัศวิน, บารอเนต และขุนนางจำนวนมาก โดยตำแหน่งขุนนางสืบตระกูลที่ตระกูลนี้ถือครองอยู่ ได้แก่ ดยุกแห่งมาร์ลบะระ, เอิร์ลแห่งซันเดอร์แลนด์, เอิร์ลสเปนเซอร์ และไวเคานต์เชอร์ชิล สมาชิกตระกูลนี้ที่มีชื่อเสียงอย่างที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล และ ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ เฮนรี สเปนเซอร์ เป็นนายที่ดินเวิร์มเลกตันในมณฑลวาร์วิกเชอร์ และเป็นนายค่าเช่าของบ้านอัลทอร์ปในมณฑลนอร์แทมป์ตันเชอร์ ต่อมา จอร์จ สเปนเซอร์ ผู้เป็นหลาน ได้ค้าขายปศุศัตว์และสินค้าอื่นๆจนร่ำรวย เขาซื้อที่ดินเวิร์มเลกตันในปี 1506 และซื้อบ้านอัลทอร์ปในปี 1508 ที่ในอัลทอร์ปนี้กว้างนับพันไร่และทำให้การเลี้ยงแกะได้ผลดีมากH.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและตระกูลสเปนเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตูร์แน

ตูร์แน (Tournai) หรือ โดร์นิก (Doornik) เป็นเมืองในเขตวัลลูน มณฑลแอโน และเขตเทศบาลหนึ่งของเบลเยียม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงบรัสเซลส์ไปประมาณ 85 กิโลเมตร ตัวเมืองมีแม่น้ำสเกลต์พาดผ่านกลางเมือง เมืองตูร์แนยังเป็นที่ตั้งของมุขมณฑลตูร์แน (Diocese of Tournai) อีกด้วย ตูร์แนเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์แห่งเบลเยียม คู่กับอาร์ลงและตองเคอเรน อันเป็นเมืองสำคัญส่วนหนึ่งของเคาน์ตีฟลานเดอร์ (Comté de Flandre) ตั้งแต่สมัยยุคกลาง โดยเป็นที่ตั้งของหอระฆังที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเบลเยียม และอาสนวิหารแม่พระแห่งตูร์แน ซึ่งทั้งสองแห่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก โดยมหาวิหารนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ของยุคกลางที่ผสมผสานกันด้วยสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และกอทิกอย่างสวยงาม พร้อมทั้งหอคอยขนาดใหญ่จำนวนห้าหออันเป็นเอกลักษณ์สำคัญและเป็นที่มาของชื่อเล่นของตูร์แนว่า "เมืองแห่งหอระฆังทั้งห้า".

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและตูร์แน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสเป็นดินแดนที่เคยอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันมาก่อน โดยรู้จักกันในชื่อของชนเผ่า หรือแคว้นกอล ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่าขนาดใหญ่ที่พูดภาษาเคลท์ ในช่วงท้ายก่อนที่จักรวรรดิโรมันจะล่มสลายลง ดินแดนกอลถูกรุกรานจากทั้งการโจมตีของกลุ่มอนารยชนและการอพยพของกลุ่มคนเร่ร่อน โดยเฉพาะชาวแฟรงก์เชื้อสายเจอร์มานิค พระมหากษัตริย์แฟรงก์นามว่า โคลวิสที่ 1 ได้ทรงรวบรวมดินแดนส่วนมากของกอลภายใต้การปกครองของพระองค๋ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 นับเป็นจุดเริ่มต้นของอิทธิพลชาวแฟรงก์ในภูมิภาคนี้ที่ดำเนินต่อไปอีกหลายร้อยปี อำนาจของแฟรงก์ดำเนินมาถึงจุดสูงสุดในช่วงของพระเจ้าชาร์เลอมาญ ราชอาณาจักรฝรั่งเศสยุคกลางก็ได้ถือกำเนิดขึ้นจากการเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งทางทิศตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงของชาร์เลอมาญ ซึ่งรู้จักกันในนาม ฟรังเกียตะวันตก และเพิ่มพูนอิทธิพลของตนขึ้นเรื่อยมาภายใต้การปกครองของตระกูลกาแปซึ่งก่อตั้งโดยอูก กาแปในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์สเปน

ตราสัญลักษณ์ของประเทศสเปน โบสถ์ซานตามารีอาเดลนารังโก เมืองโอเบียโด ภาคเหนือ อารามหลวงเอลเอสโกเรียล กรุงมาดริด ภาคกลาง พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ เมืองบาเลนเซีย ภาคตะวันออก ปราสาทอาลัมบรา เมืองกรานาดา ภาคใต้ ประวัติศาสตร์สเปน คือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับอาณาบริเวณส่วนใหญ่บนคาบสมุทรไอบีเรียในภูมิภาคยุโรปใต้ซึ่งมีพัฒนาการสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ผ่านยุครุ่งเรืองและยุคตกต่ำของจักรวรรดิสากลแห่งแรกของโลกจนกลายมาเป็นราชอาณาจักรสเปนในปัจจุบัน อันเป็นช่วงฟื้นฟูตนเองหลังสมัยการปกครองแบบเผด็จการของนายพลฟรังโกได้ผ่านพ้นไป มีอยู่หลายช่วงที่ประวัติศาสตร์การเมืองและการทหารของสเปนเต็มไปด้วยความวุ่นวายและความรุนแรง ส่วนใหญ่เกิดจากนโยบายและความพยายามที่จะจัดการกับความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และความคิดความเชื่อในดินแดนของตนนั่นเอง มนุษย์สมัยใหม่เข้ามาในคาบสมุทรไอบีเรียเป็นเวลานานกว่า 35,000 ปีมาแล้ว ตามมาด้วยคลื่นผู้รุกรานและผู้ตั้งอาณานิคมชนชาติต่าง ๆ ได้แก่ ชาวเคลต์ ชาวฟินิเชีย ชาวคาร์เทจ และชาวกรีกตลอดระยะเวลานับพัน ๆ ปี เมื่อถึงประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทั้งคาบสมุทรจึงตกเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐโรมัน ก่อนจะตกไปอยู่ภายใต้การปกครองจากชาววิซิกอท และในปี ค.ศ. 711 ชาวแอฟริกาเหนือซึ่งเป็นชาวมุสลิม (ชาวมัวร์) ก็เริ่มเข้ามามีอำนาจ ในที่สุดอาณาจักรอิสลามก็ได้รับการสถาปนาขึ้นบนคาบสมุทรแห่งนี้และยืนหยัดได้เป็นเวลาประมาณ 750 ปี ซึ่งพื้นที่ที่ชาวมุสลิมครอบครองนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อัลอันดะลุส แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ยังเป็นช่วงที่เรียกว่า "เรกองกิสตา" หรือการยึดดินแดนคืนของชาวคริสต์ซึ่งค่อย ๆ รุกลงไปทางใต้ เหตุการณ์เหล่านี้ดำเนินไปถึงจุดสิ้นสุดเมื่อชาวคริสต์สามารถพิชิตที่มั่นแห่งสุดท้ายของชาวมุสลิมที่กรานาดาได้ในปี ค.ศ. 1492 จากนั้นราชอาณาจักรและรัฐคาทอลิกต่าง ๆ บนคาบสมุทรไอบีเรียก็ได้พัฒนาขึ้น รวมทั้งราชอาณาจักรคาสตีลและราชอาณาจักรอารากอนด้วย ซึ่งการรวมกันของอาณาจักรทั้งสองนี้จะนำไปสู่ความเป็นปึกแผ่นของรัฐชาติสเปนในเวลาต่อมา ปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและประวัติศาสตร์สเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อังกฤษ

อังกฤษ เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุด และมีประชากรมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในสหราชอาณาจักร ประวัติศาสตร์อังกฤษเริ่มขึ้นเมื่อมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เมื่อหลายพันปีมาแล้ว ภูมิภาคที่ปัจจุบันคืออังกฤษภายในสหราชอาณาจักรเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นีอันเดอร์ธอลราว 230,000 ปีมาแล้ว ขณะที่มนุษย์โฮโมเซเพียนซึ่งเป็นมนุษย์สมัยใหม่เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานราว 29,000 ปีมาแล้ว แต่การอยู่ต่อเนื่องกันโดยตลอดเริ่มขึ้นราว 11,000 ปีมาแล้วในปลายยุคน้ำแข็ง ในบริเวณภูมิภาคนี้ยังมีร่องรอยของมนุษย์สมัยต่างๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เริ่มตั้งแต่ยุคหินกลาง, ยุคหินใหม่ และ ยุคสำริด เช่น สโตนเฮนจ์ และเนินดินที่เอฟบรี ในยุคเหล็กอังกฤษก็เช่นเดียวกับบริเตนทั้งหมดทางใต้ของเฟิร์ธออฟฟอร์ธเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนเคลต์ที่เป็นกลุ่มชนที่เรียกว่า บริเตน (Briton) หรือเผ่าเบลแจ ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและประวัติศาสตร์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

นวนิยายอิงชีวประวัติ

แมรี โบลีนผู้ที่ฟิลิปปา เกรกอรีนำมาเขียนเป็นนวนิยาย นวนิยายอิงชีวประวัติ (Biographical novel) เป็นประเภท (genre) ของนวนิยายที่เนื้อเรื่องมีพื้นฐานมาจากชีวประวัติของบุคคล นวนิยายประเภทนี้มักจะสร้างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของบุคคลที่มีจริง ที่ผู้ประพันธ์สร้างเสริมรายละเอียดจากจินตนาการที่อาจจะมีพื้นฐานจากเหตุการณ์ที่ทราบว่าเกิดขึ้นจริง ชื่อและสถานที่อาจจะได้รับการเปลี่ยนแปลงจากชื่อจริงเมื่อจำเป็น เช่นในงานเขียน “The Vicar of Wakefield” (วิคาร์แห่งเวคฟิลด์) โดยนักเขียนชาวไอริชโอลิเวอร์ โกลด์สมิธที่เขียนในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและนวนิยายอิงชีวประวัติ · ดูเพิ่มเติม »

นอตทิงแฮมเชอร์

นอตทิงแฮมเชอร์ (Nottinghamshire เขียนย่อ “Notts”) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน นอตทิงแฮมเชอร์ ตั้งอยู่ทางภาคมิดแลนด์สตะวันออกของอังกฤษ ที่มีเขตแดนติดกับมณฑลเซาท์ยอร์คเชอร์, มณฑลลิงคอล์นเชอร์, มณฑลเลสเตอร์เชอร์ และมณฑลดาร์บีเชอร์ นอตทิงแฮมเชอร์แบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: รัชคลิฟฟ์, บร็อกซโทว์, แอชฟิล์ด, เก็ดลิง, นิวอาร์คและเชอร์วูด, แมนสฟิล์ด, บาสเซ็ทลอว์ และนอตทิงแฮม ตามธรรมเนียมแล้วนอตทิงแฮมเป็นเมืองหลวงของมณฑลแต่ปัจจุบันเมืองหลวงคือเวสต์บริดจ์ฟอร์ดบริเวณหนึ่งของปริมณฑลนอตทิงแฮม การบริหารนอตทิงแฮมเดิมเป็นส่วนหนึ่งของนอตทิงแฮมเชอร์ระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและนอตทิงแฮมเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นักพรตหญิง

นจักรออร์โธดอกซ์ นักพรตหญิง (nun) คือสตรีที่ปฏิญาณอุทิศตนใช้ชีวิตเพื่อศาสนา อาจจะถือวัตรคล้ายนักพรตที่เลือกสละทางโลกแล้วหันไปใช้ชีวิตกับการอธิษฐานและการเพ่งพินิจ อาศัยในอารามหรือคอนแวนต์ "นักพรตหญิง" พบได้ทั้งในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน) ศาสนาเชน และศาสนาเต๋า ในศาสนาคริสต์คำว่า "นักพรตหญิง" และ "ภคินี" ใช้แทนหรือสลับกันได้เพราะถือว่ามีความหมายเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็ถูกจำแนกให้ต่างกันว่านักพรตหญิงคือนักบวชหญิงที่ใช้ชีวิตเป็นนักพรต อยู่แต่ภายในเขตพรต เน้นการเพ่งพินิจ การอธิษฐาน และการรำพึงธรรม ขณะที่ภคินีเป็นนักบวชหญิงที่เน้นนการอธิษฐาน การบริการผู้ยากไร้ เจ็บป่วย ยากจน และขาดการศึกษ.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและนักพรตหญิง · ดูเพิ่มเติม »

แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (Marie d'Angleterre, Mary Tudor, Queen of France) (18 มีนาคม ค.ศ. 1496 - 25 มิถุนายน ค.ศ. 1533) แมรี ทิวดอร์ เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1514 ถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1515 แมรีประสูติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1496 ที่พระราชวังริชมอนด์ในราชอาณาจักรอังกฤษ เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ และเอลิซาเบธแห่งยอร์ค แมรีเป็นพระขนิษฐาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 พระองค์ทรงเสกสมรสครั้งแรกกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์เสด็จสวรรคตพระองค์ก็ทรงเสกสมรสเป็นครั้งที่สองกับชาร์ลส์ แบรนดอน ดยุคแห่งซัฟโฟล์คที่ 1 (Charles Brandon, 1st Duke of Suffolk).

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและแมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

แอบบีย์

“แอบบีย์คลูนี” ในประเทศฝรั่งเศส แอบบีย์ (Abbey) คืออารามหรือคอนแวนต์ในนิกายโรมันคาทอลิก ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอธิการอาราม (Abbot) หรืออธิการิณีอาราม (Abbess) ซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อหรือแม่ฝ่ายจิตวิญญาณของเหล่านักพรตที่อาศัยในแอบบีย์ “แอบบีย์” เดิมมาจาก “abbatia” ในภาษาละติน (ซึ่งแผลงจากคำ “abba” ในภาษาซีเรียค ที่แปลว่า “พ่อ”) คำว่า “แอบบีย์” อาจจะหมายถึงคริสต์ศาสนสถานที่ในปัจจุบันไม่มีฐานะเป็นแอบบีแล้ว แต่ยังคงใช้ชื่ออยู่ ซึ่งบางครั้งก็ใช้ต่อมาเป็นเวลาหลายร้อยปี เช่น แอบบีเวสต์มินสเตอร์ หรือใช้เรียกคฤหาสน์ชนบท หรือสิ่งก่อสร้างอื่นที่เดิมเป็นแอบบี แต่มาเปลี่ยนมือเป็นของคฤหัสถ์หลังจากการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบอารามโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เช่น มิสเซนเดนแอบบีย์ (Missenden Abbey).

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและแอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

แอนน์ บุลิน พระราชินีแห่งอังกฤษ

แอนน์ บุลิน (Anne Boleyn) เป็นบุตรีของเซอร์ทอมัส บุลิน กับเลดีเอลิซาเบธ บุลิน และเป็นพระมเหสีพระองค์ที่ 2 ในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ และเป็นพระราชมารดาของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ (ต่อมาเสด็จขึ้นเถลิงราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ) พระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งเรื่องราว พระราชอำนาจหลังพระราชบัลลังก์ฉายเด่นชัดจากสมเด็จพระราชินีพระองค์นี้ ข้าราชการแบ่งฝักฝ่ายเป็นสองพวกคือ "คนของพระราชา" และ "คนของพระราชินี" แม้จนเมื่อท้ายที่สุดแล้วสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 จะทรงมีชัยชนะเหนือพระมเหสี สามารถสำเร็จโทษพระนางได้ ด้วยการกล่าวหาว่าพระนางสมสู่กับน้องชายแท้ ๆ ของพระนางเอง แต่ความแตกร้าวก็ยังคงมีอยู่ไม่รู้จบ พระองค์ถูกกล่าวขานถึงว่า "ราชินีแห่งอังกฤษที่โดดเด่นและสำคัญที่สุดเท่าที่เคยมี".

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและแอนน์ บุลิน พระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

แอนน์แห่งคลีฟส์ พระราชินีแห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีแอนน์แห่งอังกฤษ หรือ แอนน์แห่งคลีฟส์ (22 กันยายน พ.ศ. 2058 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2100) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีอัครมเหสีองค์ที่ 4 ในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ระหว่างวันที่ 6 มกราคม-9 กรกฎาคม..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและแอนน์แห่งคลีฟส์ พระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

แคเธอรีน พารร์ พระราชินีแห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีแคทเธอรีน พารร์ (พ.ศ. 2055Her precise date of birth is not known; the ODNB says "born in 1512, probably in August." Susan E. James, "Katherine (1512–1548)", Oxford Dictionary of National Biography, Oxford University Press, 2004; online edn, Jan 2008 - 5 กันยายน พ.ศ. 2091) เป็นพระมเหสีองค์สุดท้ายของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และได้เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ. 2086 - พ.ศ. 2090 หลังจากสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สิ้นพระชนม์ก็กลายเป็นสตรีสูงศักดิ์ พระนางเป็นราชินีอังกฤษที่สมรสมากที.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและแคเธอรีน พารร์ พระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

แคเธอรีน ฮอเวิร์ด พระราชินีแห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีแคเธอรีนแห่งอังกฤษ เดิมชื่อ แคเธอรีน ฮอเวิร์ด (Catherine Howard) เสด็จพระราชสมภพราว..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและแคเธอรีน ฮอเวิร์ด พระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

โจวัน ฟรันเชสโก เปนนี

ันฟรันเชสโก เปนนี (Gianfrancesco Penni) หรือ โจวัน ฟรันเชสโก (Giovan Francesco; ค.ศ. 1488/ค.ศ. 1528-ค.ศ. 1528) เป็นจิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 16 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง จันฟรันเชสโก เปนนีเป็นลูกศิษย์ของราฟาเอลผู้เป็นจิตรกรคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของอิตาลีในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา จันฟรันเชสโกเกิดในเมืองฟลอเรนซ์ในครอบครัวช่างทอผ้า และเข้าทำงานกับราฟาเอลตั้งแต่ยังอายุไม่มาก มีผลงานร่วมกับราฟาเอลหลายชิ้นรวมทั้งในห้องราฟาเอลภายในพระราชวังวาติกัน และงานจิตรกรรมฝาผนังที่วิลลาฟาร์เนซินา (Villa Farnesina) ทั้งสองงานเป็นงานในกรุงโรม ไฮน์ริช วูลฟ์ฟลินนักวิจารณ์ศิลปะชาวสวิสและนักเขียนคนอื่น ๆ ยกให้ฟรันเชสโกเป็นผู้เขียนคนเดียวทั้งหมดจากภาพร่างที่เขียนไว้โดยราฟาเอล แต่นักเขียนเมื่อไม่นานมานี้เชื่อว่าราฟาเอลเป็นผู้เขียนงานส่วนใหญ่เอง หลังจากราฟาเอลเสียชีวิตอย่างกะทันหันฟรันเชสโกทำงานร่วมกับจูลีโอ โรมาโน (Giulio Romano) ในการเขียนในห้องชุดราฟาเอลจนเสร็จเช่น "โถงคอนสแตนติน", "พระเยซูแปรรูป", "อัสสัมชัญและการสวมมงกุฏของพระแม่มารี" (ค.ศ. 1525) ในมอนเตลูเชและในวังเต (Palazzo Te) ที่มันโตวา นอกจากนั้นฟรันเชสโกก็ยังออกแบบพรมทอแขวนผนังสำหรับฉาก "ชีวิตของพระเยซู" สำหรับสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ที่ใช้ตกแต่งใน "ห้องคอนซิสโตโร" (Sala del Concistoro) ในพระราชวังพระสันตะปาปาในวาติกัน ในปี ค.ศ. 1526 ฟรันเชสโกก็ย้ายออกจากโรมไปสมทบกับจูลีโอ โรมาโนที่ย้ายไปมานทัวใน ค.ศ. 1524 ตามคำกล่าวของวาซารี ฟรันเชสโกไม่ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากจูลีโอ ในที่สุดก็เดินทางไปลอมบาร์ดี โรม และในที่สุดก็เนเปิลส์ซึ่งเขาไปเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1528 ในบรรดาลูกศิษย์ก็มีเลโอนาร์โด ดา ปิสโตยา (Leonardo da Pistoia).

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและโจวัน ฟรันเชสโก เปนนี · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เบญจาคริสต์

แกรนด์มาสเตอร์ประมุขของอัศวินเซนต์จอห์นนั่งภายใต้เบญจาบนแท่นโดยมีเบาะรองเท้า การใช้เบญจาในขบวนแห่ทางศาสนาในเบลเยียม เบญจา หรือ ผ้าประจำตำแหน่ง หรือ กลด (baldachin, baldaquin) เป็นเครื่องตกแต่งสำหรับแสดงฐานะที่ใช้ติดตั้งเหนือแท่นบูชา บัลลังก์ หรือเก้าอี้ หรือพระแท่นบรรทมหรือเตียง.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและเบญจาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เบียทริซแห่งโพรว็องซ์

ียทริซแห่งโพรว็องซ์ (Beatrice of Provence; ค.ศ. 1229 – 23 กันยายน ค.ศ. 1267) เป็นเคานเตสผู้ปกครองโพรว็องซ์และฟอร์แกลคิเยร์ตั้งแต..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและเบียทริซแห่งโพรว็องซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะบราวน์ซี

แผนที่เกาะบราวน์ซี เกาะบราวน์ซี (Brownsea Island) หรือ แบรงก์ซี (Branksea Island) เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในทะเลสาบพูล นอกเขตเมืองพูล จังหวัดดอร์เซต สหราชอาณาจักร ชื่อของเกาะมีที่มาจากภาษาอังกฤษยุคแองโกล-แซกซัน Brūnoces īeg หรือตามภาษาอังกฤษปัจจุบัน Brūnoc's island เกาะบราวน์ซีรู้จักกันดีในฐานะเป็นที่ตั้งค่ายลูกเสือแห่งแรกของโลกโดยโรเบิร์ต เบเดน โพเอลล์ ในปี พ.ศ. 2450 ยังผลให้มีการลูกเสือแพร่หลายในปีถัดมา ปัจจุบันเกาะอยู่ในความดูแลของมูลนิธิแห่งชาติเพื่อสถานที่ประวัติศา่สตร์และความงามธรรมชาติ หรือเนชันนัลทรัสต์ เกาะบราวน์ซีมีคู่แฝดคือ เกาะตาตีอู ในประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและเกาะบราวน์ซี · ดูเพิ่มเติม »

เมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร

มหาวิหารเช่นนครยอร์คที่เป็นที่ตั้งของมหาวิหารยอร์ค เมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร (ภาษาอังกฤษ: City status in the United Kingdom) เป็นเมืองที่ได้รับพระราชทานฐานะจากพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร (British monarch) ให้แก่ชุมชนที่ทรงเลือก การได้รับพระราชทานฐานะเป็นนครเป็นแต่การได้รับสิทธิที่จะเรียกตนเองเป็น “นคร” โดยไม่มีสิทธิพิเศษใดใดนอกไปจากนั้น แต่กระนั้นก็ยังเป็นสิ่งที่เป็นที่ต้องการกันเป็นอย่างแพร่หลายเพราะเป็นการนำมาซึ่งความมีหน้ามีตาของเมือง นอกจากนั้นการมอบสิทธิก็มิได้มีหลักเกณฑ์มาตรฐานแต่อย่างใด แต่ในอังกฤษและเวลส์ฐานะการเป็น “นคร” มักจะมอบให้แก่เมืองที่เป็นที่ตั้งของมหาวิหาร ประเพณีการตั้งเมืองที่มีมหาวิหารขึ้นเป็น “นคร” เริ่มมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1540 เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงก่อตั้งสังฆมลฑล (ซึ่งก็หมายถึงการมีมหาวิหาร) ในเมืองแปดเมืองและพระราชทานฐานะเมืองต่างๆ เหล่านั้นให้เป็น “นคร” โดยทรงมอบพระราชเอกสารสิทธิ (letters patent) ให้ การมอบฐานะการเป็นนครให้เมืองในไอร์แลนด์และในเวลส์มีจำนวนน้อยกว่าในอังกฤษมาก ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นไอร์แลนด์เหนือมีเมืองที่มีฐานะเป็นนครมีเพียงสองเมือง ส่วนในสกอตแลนด์ฐานะนครไม่มีให้กันอย่างเป็นทางการจนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งในเวลานั้นก็เริ่มมีการฟื้นฟูการมอบฐานะการเป็นนครโดยเริ่มในอังกฤษ ที่การมอบฐานะจะตามด้วยการก่อตั้งมหาวิหาร และต่อมาการมอบฐานะก็เกิดขึ้นในสกอตแลนด์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การมอบฐานะการเป็นนครในอังกฤษและเวลส์ก็เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าไม่จำเป็นต้องเป็นเมืองที่มีมหาวิหารและสิทธิที่มอบให้ตั้งแต่นั้นมาก็ขึ้นอยู่กับมาตรฐานหลายอย่างเช่นตามจำนวนประชากรในเมืองที่ได้รับฐานะเป็นต้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มีการยุบเลิกรัฐบาลท้องถิ่นบางรัฐบาลที่เป็นผลของการปฏิรูปรัฐบาลท้องถิ่นที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น (ไอร์แลนด์) ค.ศ. 1840 (Municipal Corporations (Ireland) Act 1840) ทำให้เมืองเก่าหลายเมืองถูกยุบฐานะ แต่ก็ได้มีการมอบพระราชเอกสารสิทธิให้แก่เมืองที่ถูกกระทบกระเทือนเพื่อให้เมืองต่างๆ เหล่านั้นมีฐานะตามที่เคยเป็นมา ในปัจจุบันโรเชสเตอร์, เพิร์ธ และเอลกินเป็นเพียงเมืองสามเมืองเท่านั้นในสหราชอาณาจักรที่สูญเสียฐานะในการเป็นนคร.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและเมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

เลดีเจน เกรย์

ลดีเจน เกรย์ (Lady Jane Grey; 1536/1537 -12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1554) หรือ เลดีเจน ดัดลีย์ หรือที่รู้จักในนาม ราชินีเก้าวัน เป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 เป็นพระธิดาของเลดีฟรานเซส แบรนดอน และเฮนรี เกรย์ (ดำรงตำแหน่งดยุกแห่งซัฟโฟล์ก) ประสูติที่แบรดเกรทท์พาร์ก ในเลสเตอร์เชอร์ เมื่อเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและเลดีเจน เกรย์ · ดูเพิ่มเติม »

เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์

วสต์มินสเตอร์แอบบีย์ (Westminster Abbey) เดิมเป็นแอบบีย์ แต่ปัจจุบันเป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิคันที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในนครเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเป็นส่วนใหญ่นอกจากหอคอยที่เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกและที่ฝังพระบรมศพพระมหากษัตริย์อังกฤษและพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชินีแห่งอังกฤษ

อลิซาเบธแห่งยอร์ค สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: Elizabeth of York) (11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1466 - 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1503) เอลิซาเบธแห่งยอร์คประสูติเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1466 ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน เป็นพระธิดาองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษและเอลิซาเบธ วูดวิลล์ พระราชินีเอลิซาเบธแห่งยอร์คทรงเสกสมรสกับพระเจ้าเฮนรีที่ 7 เมื่อปี ค.ศ. 1486 เป็นพระราชินีตั้งแต่ วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1486 จนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1503 ที่พระราชวังริชมอนด์ ลอนดอน พระราชินีเอลิซาเบธเป็นพระขนิษฐาของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ และพระราชมารดาของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เอเลนอร์แห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

อเลนอร์แห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส หรือ เอเลนอร์แห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส หรือ เอเลนอร์แห่งคาสตีล (Eleanor of Austria หรือ Eleonor of Castile) (15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1498 - 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1558) เอเลนอร์แห่งออสเตรีย เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสในพระเจ้ามานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกส ระหว่างวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1516 ถึงวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1521 และเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสในพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1530 ถึงวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1547 เอเลนอร์แห่งออสเตรียประสูติเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1498 ที่เลอวอง (Leuven) ในฝรั่งเศส เป็นพระธิดาองค์โตในฟิลลิปเดอะแฮนดซัม อาร์คดยุคแห่งออสเตรียและดยุคแห่งเบอร์กันดี กับโจอันนา สมเด็จพระราชินีแห่งคาสตีล ทรงมีบรรดาศักดิ์เป็นอาร์คดัชเชสแห่งออสเตรียเมื่อประสูติ และทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งคาสตีล (Infanta of Castile) ของราชวงศ์แฮ็บส์เบิร์ก หลังจากที่เป็นพระราชินีหม้ายพระองค์ก็ทรงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นดัชเชสแห่งตูแรน (Touraine) ระหว่างปี ค.ศ. 1547 ถึงปี ค.ศ. 1558 พระนามในภาษาสเปนและโปรตุเกสคือ “Leonor” และภาษาฝรั่งเศสคือ “Éléonore” หรือ “Aliénor” เอเลนอร์ทรงเป็นพี่น้องกับ สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, สมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินันด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, แมรีแห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฮังการี และ แคทเธอรินแห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส เมื่อเอเลนอร์ยังทรงพระเยาว์ก็มีการพยายามจัดการเสกสมรสระหว่างพระองค์กับพระมหากษัตริย์ในราชอาณาจักรต่างๆ ที่รวมทั้งราชอาณาจักรอังกฤษ (พระเจ้าเฮนรีที่ 7 หรือ พระเจ้าเฮนรีที่ 8), หรือกับราชอาณาจักรฝรั่งเศส (พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 หรือ พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1) หรือกับพระมหากษัตริย์โปแลนด์ (พระเจ้าซิกิสมุนด์ที่ 1 แห่งโปแลนด์) แต่ก็ไม่เป็นที่ตกลงกันได้ ในที่สุดก็ทรงเสกสมรสกับพระเจ้ามานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกส หลังจากการเสนอการสมรสของพระเจ้ามานูเอลกับลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ล้มเหลวลง เอเลนอร์และพระเจ้ามานูเอลเสกสมรสกันเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1518 มีพระราชโอรสธิดาด้วยกันสองพระองค์ มกุฎราชกุมารคาร์ลอสแห่งโปรตุเกส ผู้สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และเจ้าหญิงมาเรีย เลดี้แห่งวิซู เอเลนอร์ทรงเป็นหม้ายเมื่อพระสวามีเสด็จสวรรคตด้วยโรคระบาดเมื่อวันที่13 ธันวาคม ค.ศ. 1521 หลังจากนั้นก็ทรงเสกสมรสกับพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศสเมื่อวันที่4 กรกฎาคม ค.ศ. 1530 ตามสนธิสัญญา "La Paz de las Damas" (“ความสงบของสตรี”) ทั้งสองพระองค์ไม่มีพระราชโอรสธิดาด้วยกัน ในฐานะพระราชินีแห่งฝรั่งเศสพระองค์ไม่ทรงมีอำนาจทางการเมืองแต่อย่างใด แต่ก็ทรงถูกใช้เป็นผู้ติดต่อระหว่างฝรั่งเศสและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เอเลนอร์สิ้นพระชนม์เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1558 ขณะที่เสด็จกลับจากการไปปรองดองกับพร.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและเอเลนอร์แห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

เจน ซีมัวร์ พระราชินีแห่งอังกฤษ

น ซีมัวร์ (c. 1507/1508 – 24 ตุลาคม 1537) เป็นธิดาของเซอร์จอห์น ซีมัวร์ และมาร์เกอรี เวนต์เวิร์ท หลังการทรงงานในฐานะนางสนองพระโอษฐ์ของสมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน แห่งอรากอน และสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน พระองค์ก็ทรงดึงดูดความสนใจจากสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ในฐานะสมเด็จพระราชินี เจนทรงเคร่งขรึมและไว้พระองค์ มีนางพระกำนัลเพียงไม่กี่คนคอยสนองงาน 2 คนในจำนวนนั้นคือน้องสาวและน้องสะใภ้ของพระองค์ ใน..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและเจน ซีมัวร์ พระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายแห่งเวลส์

้าชายแห่งเวลส์ (Prince of Wales; Tywysog Cymru) เป็นพระอิสริยยศขององค์รัชทายาทแห่งพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษหรือสหราชอาณาจักรในขณะนั้น ราชประเพณีที่มกุฏราชกุมารของราชบัลลังก์อังกฤษจะได้รับพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 อย่างไรก็ดีการไม่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงอิสริยยศนี้ไม่มีผลใดๆต่อสิทธิของผู้ที่จะสืบทอดราชบัลลังก์ บุคคลแรกที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์คือ พระเจ้าละเวลินมหาราช (Llywelyn the Great) ผู้ดำรงพระอิสริยยศนี้ในปัจจุบันคือ เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวล.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและเจ้าชายแห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงคริสตินาแห่งเดนมาร์ก

้าหญิงคริสตินาแห่งเดนมาร์ก (Christine af Danmark; พฤศจิกายน ค.ศ. 1521 - 10 ธันวาคม ค.ศ. 1590) เป็นเจ้าหญิงเดนมาร์ก ซึ่งได้เป็นดัชเชสพระมเหสีแห่งมิลาน จากนั้นเป็นดัชเชสพระมเหสีแห่งลอแรน พระองค์ทรงทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งลอแรนในช่วงปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและเจ้าหญิงคริสตินาแห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เดวิด ชาร์ลส เฮนชอว์ ออสติน

วิด ชาร์ลส เฮนชอว์ ออสติน (ชั้นเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งจักรวรรดิอังกฤษ OBE) (เกิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 1926) นักผสมพันธุ์กุหลาบ และนักเขียน ซึ่งอาศัยอยู่ที่ชรอปเชอร์ ประเทศอังกฤษ เขาผสมพันธุ์กุหลาบโดยนำเอาความหอมและทรงดอกเฉพาะตามแบบกุหลาบโบราณ (กัลลิคาส, ดามัสก์, อัลบา โรสส์, และอื่นๆ) มาผสมกับกุหลายสมัยใหม่ที่แข็งแรง ออกดอกดกตลอดทั้งปี สีสันสวยงาม เช่น ไฮบริด ที และ ฟลอริบัน.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและเดวิด ชาร์ลส เฮนชอว์ ออสติน · ดูเพิ่มเติม »

11 มิถุนายน

วันที่ 11 มิถุนายน เป็นวันที่ 162 ของปี (วันที่ 163 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 203 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและ11 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

12 กรกฎาคม

วันที่ 12 กรกฎาคม เป็นวันที่ 193 ของปี (วันที่ 194 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 172 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและ12 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

23 พฤษภาคม

วันที่ 23 พฤษภาคม เป็นวันที่ 143 ของปี (วันที่ 144 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 222 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและ23 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Henry VIII of Englandสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »