โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส

ดัชนี พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 9 (Louis IX, Louis IX) (25 เมษายน ค.ศ. 1214 - 25 สิงหาคม ค.ศ. 1270) หรือ นักบุญหลุยส์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาแประหว่างวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1226 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1270 นอกจากเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสพระองค์ก็ยังทรงใช้พระนามว่า “หลุยส์ที่ 2 เคานต์แห่งอาร์ตัว” ระหว่างปี ค.ศ. 1226 จนถึงปี ค.ศ. 1237 ในรัชสมัยของพระองค์ ได้ทรงทำงานร่วมกับรัฐสภาแห่งปารีสในการพยายามปรับปรุงเพื่อเพิ่มความมีประสิทธิภาพทางด้านกฎหมาย พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1214 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส และพระนางบล็องช์แห่งคาสตีล พระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสพระองค์เดียวที่ทรงได้รับการประกาศเป็นนักบุญ ซึ่งทำให้มีสถานที่ต่างๆ มากมายที่ตั้งชื่อตามพระอง.

52 ความสัมพันธ์: พระราชวังฟงแตนโบลพระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลพระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าการ์โลที่ 1 แห่งเนเปิลส์พระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษการ์กาซอนกงซีแยร์เฌอรีมหาวิหารซาเคร-เกอร์มหาวิทยาลัยปารีสมาร์กาเร็ตแห่งโพรว็องซ์รอกามาดูร์รายชื่อสนธิสัญญารายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศสรายพระนามพระมเหสีในพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสริชาร์ด เอิร์ลที่ 1 แห่งคอร์นวอลล์สงครามครูเสดครั้งที่ 7สงครามครูเสดครั้งที่ 8สงครามครูเสดครั้งที่ 9สนธิสัญญาปารีสอารามรัวโยมงอาสนวิหารบลัวอาสนวิหารการ์กาซอนอาสนวิหารลารอแชลอาสนวิหารแกลร์มง-แฟร็องอาสนวิหารแวร์ซายอาสนวิหารโบแวอาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแลอิสซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส (แก้ความกำกวม)อิซาเบลลาแห่งอ็องกูแลม สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษฌาน เดเวรอ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสฌานน์แห่งเบอร์กันดี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสฌูล อาร์ดวง-ม็องซาร์ดาเมียตตาตระกูลกาแปตราแห่งความอัปยศซันลุยจีเดย์ฟรันเชซีซ็องเจียแห่งโพรว็องซ์ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสปราสาทดีน็องปีแยร์เดอมงเตอโรแม็ทธิว แพริสแรยอน็องแซ็งต์-ชาแปลโดแฟ็งแห่งฝรั่งเศสเบียทริซแห่งโพรว็องซ์เรลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปลเอเลเนอร์แห่งคาสตีล สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษเซนต์หลุยส์ (แก้ความกำกวม)...25 สิงหาคม25 เมษายน ขยายดัชนี (2 มากกว่า) »

พระราชวังฟงแตนโบล

ระราชวังฟงแตนโบล (Palace of Fontainebleau, Château de Fontainebleau) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ราว 55 กิโลเมตรจากศูนย์กลางของกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส ที่เป็นพระราชวังหลวงที่ใหญ่ที่สุดพระราชวังหนึ่งของฝรั่งเศส สิ่งก่อสร้างที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นงานที่สร้างขึ้นและต่อเติมเปลี่ยนแปลงโดยพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสหลายพระองค์ ส่วนที่ก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นส่วนที่สร้างโดยพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 “พระราชวังฟงแตนโบล” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและพระราชวังฟงแตนโบล · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล

ระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล (Château de Saint-Germain-en-Laye) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ที่เมืองแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลในจังหวัดอีฟว์ลีนในแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ในประเทศฝรั่งเศส ราว 19 กิโลเมตรทางตะวันตกของปารีส ในปัจจุบันพระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาต.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและพระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส (Charles VII de France; Charles VII of France) (22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1403- 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1461) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์วาลัว ที่ได้รับการขนานพระนามว่า “le Victorieux” (ผู้พิชิต) หรือ “le Bien-Servi” (ผู้ได้รับการสนองพระบรมราชโองการเป็นอย่างดี) พระเจ้าชาร์ลทรงเป็นเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศส การขึ้นครองราชบัลลังก์ของพระองค์ได้รับการคัดค้านโดยฝ่ายอังกฤษที่ขณะนั้นมีอำนาจอยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษที่นำโดยจอห์นแห่งแลงคาสเตอร์ ดยุกแห่งเบดฟอร์ดที่ 1 ที่ทำการปกครองฝรั่งเศสแทนพระเจ้าเฮนรีอยู่ในปารีสก็อ้างว่าพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทรงเป็นผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสอย่างถูกต้องตามที่ระบุในสนธิสัญญาตรัวส์ (Treaty of Troyes) แต่พระเจ้าชาร์ลก็ทรงได้เข้าทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่เมืองแรงส์ในปี ค.ศ. 1429 ด้วยความช่วยเหลือของโจนออฟอาร์คในการทำสงครามขับไล่อังกฤษออกจากฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1422 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1461 ในปลายรัชสมัยพระองค์ทรงต้องประสบกับความยุ่งยากจากความขัดแย้งกับพระราชโอรสผู้ครองราชย์ต่อมาเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่ง.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส (Philip III of France หรือ Philip the Bold หรือ Philip le Hardi) (30 เมษายน ค.ศ. 1245 - 5 ตุลาคม ค.ศ. 1285) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเตียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1270 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1285 พระเจ้าฟิลิปที่ 3 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1245 ที่ปัวส์ซี ในประเทศฝรั่งเศส พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส และ พระราชินีมาร์เกอรีต ฟิลิปเสด็จติดตามพระราชบิดาไปยังตูนิเซียเพื่อไปต่อสู้ในสงครามครูเสดครั้งที่ 8 ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าการ์โลที่ 1 แห่งเนเปิลส์

มเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งซิซิลี หรือ ชาร์ลส์แห่งอองชู (Charles Ier de Sicile, Charles I of Sicily หรือ Charles of Anjou) (21 มีนาคม ค.ศ. 1226 – 7 มกราคม ค.ศ. 1285) สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งซิซิลีเป็นพระราชโอรสองค์เล็กของพระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศสและบล็องช์แห่งคาสตีล สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส และเป็นพระอนุชาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลส์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรซิซิลี ผู้ได้ราชบัลลังก์มาจากการพิชิตได้ในปี ค.ศ. 1226 หลังจากที่ได้รับหนังสือประกาศอภิสิทธิ์จากสมเด็จพระสันตะปาปามตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าการ์โลที่ 1 แห่งเนเปิลส์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส (Louis VIII of France) (5 กันยายน ค.ศ. 1187 - 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1226) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเตียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1223 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1226 พระเจ้าหลุยส์ที่ 8 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1187 ที่ปารีส ในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส และ พระราชินีอิสซาเบลล.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ (Edward I of England) (17 มิถุนายน ค.ศ. 1239 – 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1307) หรือพระนามเดิมคือ เอ็ดเวิร์ด ลองแชงก์ส (Edward Longshanks) เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษในราชวงศ์แพลนแทเจเนต พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 รู้จักกันในนามว่า “Longshanks” เพราะพระวรกายที่สูงราว 6 ฟุต 2 นิ้ว หรือ “ผู้พระราชทานกฎหมาย” (the Lawgiver) เพราะทรงเป็นผู้ปฏิรูปกฎหมายของอังกฤษ และ “ผู้ปราบชาวสกอต” (Hammer of the Scots) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1239 ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในกรุงลอนดอนของประเทศอังกฤษ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ และพระนางเอลินอร์แห่งพรอว็องส์ ได้อภิเษกสมรสกับเอลินอร์แห่งคาสตีล และต่อมากับพระนางมาร์เกอรีตแห่งฝรั่งเศส และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1272 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1307 ที่บรัฟบายแซนด์ส คัมเบอร์แลนด์ อังกฤษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ได้รับชัยชนะต่อเวลส์และทรงพยายามปราบปรามสกอตแลนด์แต่ไม่สำเร็จ แม้ว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 จะเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์ที่ 4 ที่มีพระนามว่า “เอ็ดเวิร์ด” หลังจาก พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขี และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี แต่การลำดับนามเดียวกันด้วยตัวเลขเป็นประเพณีของชาวนอร์มัน ฉะนั้นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดสามพระองค์ที่ทรงปกครองอังกฤษก่อนหน้าการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันจึงมิได้รับการเรียงลำดับแต่ทรงใช้พระสมัญญานามเพื่อบ่งความแตกต่างของแต่ละพระองค์แทน เอ็ดเวิร์ด ลองแชงค์จึงกลายเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

การ์กาซอน

การ์กาซอน (Carcassonne) เป็นเมืองที่มีกำแพงป้องกันเมืองล้อมรอบที่ตั้งอยู่จังหวัดโอดในอดีตแคว้นล็องก์ด็อกในประเทศฝรั่งเศส เมืองการ์กาซอนแยกออกเป็นสองส่วน “Cité de Carcassonne” ซึ่งเป็นบริเวณเมืองที่ล้อมรอบด้วยกำแพงเมือง และ “ville basse” ซึ่งเป็นบริเวณปริมณฑลรอบตัวเมืองเก่า ที่มาของการ์กาซอนมาจากตำนานพื้นบ้านที่กล่าวว่าหลังจากประมุขของปราสาทชื่อ “การ์กัส” สามารถยุติการล้อมเมืองได้ก็ทำการสั่นระฆังเพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง “Carcas sona” แต่การสร้างเป็นประติมากรรมฟื้นฟูกอธิคบนคอลัมน์บนประตูนาร์บอนเป็นของใหม่ ป้อมปราการที่บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่หมดในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและการ์กาซอน · ดูเพิ่มเติม »

กงซีแยร์เฌอรี

กงซีแยร์เฌอรี (Conciergerie) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ปาแลเดอลาซีเต (Palais de la Cité) เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่บนทิศตะวันตกของเกาะเมือง หรือเกาะอีลเดอลาซีเต (Île de Cité) โดยตั้งอยู่ไม่ไกลจากมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส กงซีแยร์เฌอรีได้ถูกใช้เป็นพระราชวังหลวงของกษัตริย์ฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษที่ 10 ถึงศตวรรษที่ 13 ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ตัวพระราชวังได้ถูกใช้เป็นเรือนจำเพื่อคุมขังนักโทษ เพื่อรอการประหารโดยกีโยติน ในปัจจุบันตัวอาคารเป็นพื้นที่หนึ่งของศาลฎีก.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและกงซีแยร์เฌอรี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารซาเคร-เกอร์

มหาวิหารพระหฤทัยแห่งมงมาทร์ (Basilique du Sacré-Cœur de Montmartre) เป็นโบสถ์และมหาวิหารรองในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาที่สูงที่สุดของกรุงปารีส หรือที่เรียกกันว่า "มงมาทร์" สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแก่พระหฤทัยของพระเยซู ปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวหลักของกรุงปารีส โดยถือเป็นอนุสาวรีย์ของทั้งสองด้าน คือการเมือง และวัฒนธรรม โบสถ์ได้ถูกออกแบบโดยโปล อะบาดี ซึ่งเป็นสถาปนิกชาวฝรั่งเศสที่เป็นหนึ่งใน 77 สถาปนิกผู้ชนะการประกวด เริ่มการก่อสร้างในปี..1875 และเสร็จสิ้นในปี..1914 โดยได้รับการแต่งตั้งโดยสมบูรณ์ (วางศิลาฤกษ์) ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี..1919 ในปัจจุบันนักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวันตั้งแต่ 06.00 น. จนถึง 22.30 น. โดยสามารถเข้าชมบริเวณโดมได้ตั้งแต่ 09.00 น. จนถึงเวลา 19.00 น. หรือ 18.00 น. ในช่วงฤดูหนาว โบสถ์พระหฤทัยยามค่ำคืน.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและมหาวิหารซาเคร-เกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยปารีส

มหาวิทยาลัยปารีส (Université de Paris) หรือนามนัยเป็นที่รู้จักกันว่า ซอร์บอนน์ (บ้านประวัติศาสตร์) เป็นมหาวิทยาลัยในปารีส ฝรั่งเศส ก่อตั้งประมาณ..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและมหาวิทยาลัยปารีส · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กาเร็ตแห่งโพรว็องซ์

มาร์กาเร็ตแห่งโพรว็องซ์ (ภาษาอังกฤษ: Margaret of Provence; ค.ศ.1221 - 20 ธันวาคม ค.ศ.1295) เป็นพระราชินีแห่งฝรั่งเศสจากการอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 9.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและมาร์กาเร็ตแห่งโพรว็องซ์ · ดูเพิ่มเติม »

รอกามาดูร์

รอกามาดูร์ (Rocamadour,; Rocamador) เป็นเมืองในจังหวัดล็อตในแคว้นมีดี-ปีเรเน ประเทศฝรั่งเศส เมืองรอกามาดูร์ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ รอกามาดูร์ เป็นเมืองที่เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเพราะตำแหน่งที่ตั้งที่อยู่ตรงซอกเขาเหนือสาขาของแมน้ำดอร์ดอญ และโดยเฉพาะสถานที่สักการะพระแม่มารีย์อันมีความสำคัญมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้วจากทั่วยุโรปที่รวมทั้งพระมหากษัตริย์ บิชอป และขุนนาง ตัวเมืองที่ตั้งอยู่ภายใต้กลุ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นอารามและโบสถ์สำหรับผู้แสวงบุญพึ่งรายได้จากการจาริกแสวงบุญมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ตัวเมืองตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำ ตัวเมืองใช้เป็นชื่อของเนยแพะที่ได้รับรางวัล AOC ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและรอกามาดูร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสนธิสัญญา

การลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในห้องกระจกของพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รายชื่อสนธิสัญญา เป็นรายชื่อข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ฉบับที่สำคัญ ระหว่างรัฐ กองทัพ รัฐบาล และกลุ่มชน.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและรายชื่อสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส

ระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส (Monarques de France) ทรงปกครองดินแดนฝรั่งเศสมาตั้งแต่การสถาปนาราชอาณาจักรแฟรงก์ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและรายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมเหสีในพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส

สมเด็จพระจักรพรรดินีเออเชนีเดอมองติโค พระจักรพรรดินีองค์สุดท้ายของฝรั่งเศส สมเด็จราชินีมารี อองตัวเนตแห่งออสเตรีย พระมเหสีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ที่ทรงถูกบั่นพระเศียรในการปฏิวัติฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีมาเรีย เทเรส ชาร์ล็อตแห่งฝรั่งเศส พระมเหสีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 19 แห่งฝรั่งเศส เป็นสมเด็จพระราชินีที่ครองราชสมบัติเพียง 20 นาทีเท่านั้น ดูที่รายพระนามกษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส พระมเหสีแห่งฝรั่งเศส ตั้งแต่พ.ศ. 1530 ประเทศฝรั่งเศสมีสมเด็จพระมเหสีในพระมหากษัตริย์และพระจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส (Royal Consort) ทั้งหมด 53 พระองค์ แยกตามพระอิสริยยศได้ดังนี้.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและรายพระนามพระมเหสีในพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด เอิร์ลที่ 1 แห่งคอร์นวอลล์

ริชาร์ด (Richard; 5 มกราคม ค.ศ. 1209 - 2 เมษายน ค.ศ. 1272) พระโอรสคนที่สองของพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษกับอิซาเบลลาแห่งอ็องกูแลม ทรงเป็นเคานต์แห่งปัวตู (ค.ศ. 1225-1243), เอิร์ลแห่งคอร์นวอลล์ (ตั้งแต่ค.ศ. 1225) และเอิร์ลแห่งเยอรมนี (ตั้งแต่ค.ศ. 1257) แต่ในนาม ทรงเป็นหนึ่งในชายผู้ร่ำรวยที่สุดในยุโรปและเข้าร่วมสงครามครูเสดของบารอน ที่ซึ่งพระองค์ประสบความสำเร็จในฐานะนักเจรจาให้ปล่อยตัวนักโทษและช่วยสร้างป้อมปราการในแอสเกอโลน.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและริชาร์ด เอิร์ลที่ 1 แห่งคอร์นวอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 7

งครามครูเสดครั้งที่ 7 (Seventh Crusade; ค.ศ. 1248 – 1254) เป็นการทัพครูเสด ที่ฝ่ายคริสต์ นำทัพโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส รบกับสุลต่านแห่งราชวงศ์อัยยูบีย์ อัสซาลิห์ อัยยู.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและสงครามครูเสดครั้งที่ 7 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 8

งครามครูเสดครั้งที่ 8 (Eighth Crusade) (ค.ศ. 1270) สงครามครูเสดครั้งนี้เริ่มขึ้นโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1270 บางครั้ง “สงครามครูเสดครั้งที่ 8” ก็นับเป็นครั้งที่เจ็ด ถ้ารวมสงครามครูเสดครั้งที่ 5 และ ครั้งที่ 6 ของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เข้าเป็นครั้งเดียวกัน และสงครามครูเสดครั้งที่ 9 ก็นับเป็นครั้งเดียวกับครั้งที่ 8 พระเจ้าหลุยส์ทรงพระราชวิตกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซีเรียเมื่อสุลต่านมามลุคไบบาร์เข้าโจมตีอาณาจักรครูเสดที่ยังเหลืออยู่ ไบบาร์ฉวยโอกาสหลังจากที่สาธารณรัฐเวนิส และ สาธารณรัฐเจนัวต่อสู้กันในสงครามระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและสงครามครูเสดครั้งที่ 8 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 9

งครามครูเสดครั้งที่ 9 (Ninth Crusade) เป็นหนึ่งในสงครามครูเสดและเป็นสงครามครูเสดครั้งสุดท้าย ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1271 – ค.ศ. 1272 เป็นสงครามที่ต่อสู้กันในตะวันออกใกล้ระหว่างฝ่ายผู้นับถือคริสต์ศาสนาและฝ่ายผู้นับถือศาสนาอิสลาม ในสงครามครั้งนี้ฝ่ายมุสลิมเป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ ที่เป็นผลทำให้สงครามครูเสดยุติลงในที่สุดและอาณาจักรครูเสดต่างๆ ในบริเวณลว้านก็สลายตัวไป ทางฝ่ายคริสเตียนมีกำลังคนทั้งสิ้นประมาณ 60,000 คน โดยมีผู้นำที่รวมทั้ง สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งเนเปิลส์, สมเด็จพระเจ้าฮิวจ์ที่ 3 แห่งไซปรัส, เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งอังกฤษ, โบฮีมอนด์ที่ 6 แห่งอันติโอค, อบาคา ข่านแห่งมงโกเลีย และ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอาร์มีเนีย ทางฝ่ายมุสลิมมีกำลังคนที่ไม่ทราบจำนวน โดยมีไบบาร์สเป็นผู้นำ สงครามครูเสดครั้งที่ 9 บางครั้งก็รวมกับสงครามครูเสดครั้งที่ 8 ถือกันว่าเป็นสงครามครูเสดครั้งสุดท้ายและเป็นสงครามใหญ่สงครามสุดท้ายของยุคกลางในการที่ฝ่ายคริสเตียนพยายามยึดครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสไม่ทรงสามารถยึดตูนิสได้ในสงครามครูเสดครั้งที่ 8 เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งอังกฤษก็เสด็จไปเอเคอร์เพื่อเข้าร่วมในสงครามครูเสดครั้งที่ 9 แต่เป็นสงครามที่ทางฝ่ายคริสเตียนพ่ายแพ้ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะพลังใจในการที่จะดำเนินการสงครามเหือดหายไป และเพราะอำนาจของมามลุคในอียิปต์ขยายตัวมากขึ้น นอกจากนั้นผลของสงครามก็นำมาซึ่งการล่มสลายของที่มั่นต่างๆ ริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนไปด้วยในขณะเดียวกัน.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและสงครามครูเสดครั้งที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาปารีส

นธิสัญญาปารีส อาจหมายถึง ความตกลงหลายฉบับที่เจรจาและลงนามกันในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้นว.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและสนธิสัญญาปารีส · ดูเพิ่มเติม »

อารามรัวโยมง

อารามรัวโยมง (Abbaye de Royaumont, Royaumont Abbey) เป็นแอบบีย์ของคณะซิสเตอร์เชียน ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองอาเนียร์ซูว์รวซ (Asnières-sur-Oise) ในจังหวัดวาล-ดวซ แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส ราว 30 กิโลเมตรเหนือกรุงปารีส อารามรัวโยมงสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1228 ถึงปี ค.ศ. 1235 โดยการสนับสนุนของพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส เป็นที่ฝังพระศพของพระราชวงศ์ฝรั่งเศสหลายพระองค์ เช่น พระราชโอรสธิดาสามพระองค์ และพระราชนัดดาสองพระองค์ของพระเจ้าหลุยส์เอง อารามรัวโยมงถูกยุบเลิกในปี ค.ศ. 1791 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส หินจากอารามถูกขนไปใช้สร้างโรงงานแต่ห้องเก็บเครื่องพิธี ระเบียงฉันนบถ และหอฉันไม่ได้รับความเสียหาย เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตระกูล Goüin ทำการซื้อแอบบี และในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและอารามรัวโยมง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารบลัว

อาสนวิหารบลัว (Cathédrale de Blois) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญหลุยส์แห่งบลัว (Cathédrale Saint-Louis de Blois) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก และเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลบลัว ตั้งอยู่ในเขตเมืองบลัว จังหวัดลัวเรแชร์ ในแคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญหลุยส์ อาสนวิหารแรนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1906.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและอาสนวิหารบลัว · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารการ์กาซอน

อาสนวิหารการ์กาซอน (Cathédrale de Carcassonne) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญมีคาเอลแห่งการ์กาซอน (Cathédrale Saint-Michel de Carcassonne) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิกประจำมุขมณฑลการ์กาซอนและนาร์บอน ตั้งอยู่ที่เมืองการ์กาซอน จังหวัดโอด ในแคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญมีคาเอลอัครทูตสวรรค์ อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1886.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและอาสนวิหารการ์กาซอน · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารลารอแชล

อาสนวิหารลารอแชล (Cathédrale de La Rochelle) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญหลุยส์แห่งลารอแชล (Cathédrale Saint-Louise de La Rochelle) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก และเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลลารอแชลและแซ็งต์ ตั้งอยู่ที่ในเขตเมืองลารอแชล จังหวัดชาร็องต์-มารีตีม ในแคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญหลุยส์ (อดีตพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส) สืบเนื่องจากการผนวกระหว่างมุขมณฑลลารอแชล (ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1648) และมุขมณฑลแซ็งต์ เมื่อปี..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและอาสนวิหารลารอแชล · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแกลร์มง-แฟร็อง

อาสนวิหารแกลร์มง-แฟร็อง (Cathédrale de Clermont-Ferrand) หรือชื่อทางการคือ อาสนวิหารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์แห่งแกลร์มง-แฟร็อง (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Assomption de Clermont-Ferrand) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นอาสนวิหาร ตั้งอยู่ที่เมืองแกลร์มง-แฟร็องในจังหวัดปุย-เดอ-โดมในแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส และเป็นที่ตั้งอาสนะของอาร์ชบิชอปแห่งแกลร์มง สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบกอทิกที่สร้างด้วยหินภูเขาไฟสีดำทั้งหลังที่ทำให้เป็นเอกลักษณ์จากอาสนวิหารอื่นและมองเห็นแต่ไกลจากหอสูงสองหอที่สูง 96.2 เมตรเหนือสิ่งก่อสร้างอื่นใดของตัวเมือง.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและอาสนวิหารแกลร์มง-แฟร็อง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแวร์ซาย

อาสนวิหารแวร์ซาย (Cathédrale de Versailles) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญหลุยส์แห่งแวร์ซาย (Cathédrale Saint-Louis de Versailles) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งคาเทดราของมุขนายกประจำมุขมณฑลแวร์ซาย ตั้งอยู่ในเมืองแวร์ซาย ชานกรุงปารีส จังหวัดอีฟว์ลีน แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างตามพระบัญชาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส ในฐานะโบสถ์ประจำเขตแพริช ในสถาปัตยกรรมแบบโรโกโกอันวิจิตร เมื่อปี..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและอาสนวิหารแวร์ซาย · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารโบแว

อาสนวิหารโบแว (Cathédrale de Beauvais) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งโบแว (Cathédrale Saint-Pierre de Beauvais) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลโบแว นัวยง และซ็องลิส ตั้งอยู่ที่เมืองโบแว จังหวัดอวซ แคว้นโอดฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร เป็นอาสนวิหารแบบกอธิกที่มีบริเวณร้องเพลงสวดที่สูงที่สุดในโลก (48.50 เมตร) อาสนวิหารแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นสถานที่แบบสถาปัตยกรรมกอทิกแห่งหนึ่งที่แสดงถึงความสำเร็จสูงสุดและความกล้าหาญทางสถาปัตยกรรม โดยตัวอาคารมีเพียงแขนกางเขน (คริสต์ศตวรรษที่ 16) และบริเวณร้องเพลงสวด พร้อมทั้งมุขโค้งและชาเปลจำนวน 7 หลัง (คริสต์ศตวรรษที่ 13) ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากทางจรมุข นอกจากนี้ยังพบโบสถ์เล็กแบบสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 เรียกว่า "บาเซิฟวร์" (Basse Œuvre) ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะจนอยู่ในสภาพดีตั้งอยู่บริเวณที่จะเป็นที่ตั้งของบริเวณกลางโบสถ์อีกด้วย อาสนวิหารโบแวได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและอาสนวิหารโบแว · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล

อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล (Cathédrale du Puy-en-Velay) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับสารแห่งเลอปุย-อ็อง-เวอแล (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Annonciation du Puy-en-Velay) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลเลอปุย-อ็อง-เวอแล ตั้งอยู่ที่เมืองเลอปุย-อ็อง-เวอแล จังหวัดโอต-ลัวร์ แคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่แม่พระรับสาร และยังได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นบาซิลิกาเมื่อปีค.ศ. 1856 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9 อาสนวิหารเป็นอาคารแบบสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และศิลปะโรมาเนสก์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในฝั่งตะวันตกของคริสตจักร และยังเป็นหนึ่งในสถานที่แสวงบุญของชาวคริสต์มาตั้งแต่สมัยก่อนจักรพรรดิชาร์เลอมาญ อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแลได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1862 รวมทั้งยังอยู่ในมรดกโลก โดยองค์การยูเนสโก โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางซานเตียโกเดกอมโปสเตลาในประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและอาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล · ดูเพิ่มเติม »

อิสซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส (แก้ความกำกวม)

อิสซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส อาจหมายถึง สตรีคนสำคัญที่ใช้ชื่อ อิสซาเบล หรือ อิสซาเบลลา จากฝรั่ง.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและอิสซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

อิซาเบลลาแห่งอ็องกูแลม สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

อิซาเบลลาแห่งอ็องกูแลม (ภาษาอังกฤษ: Isabella of Angoulême, ภาษาฝรั่งเศส: Isabelle d'Angoulême; ค.ศ. 1186/1188 – 4 มิถุนายน ค.ศ. 1246) เป็นพระราชินีคู่สมรสแห่งอังกฤษในฐานะพระมเหสีคนที่สองของพระเจ้าจอห์น ตั้งแต..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและอิซาเบลลาแห่งอ็องกูแลม สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ฌาน เดเวรอ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

น เดเวรอ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (Jeanne d'Évreux; ค.ศ. 1310 - 4 มีนาคม ค.ศ. 1371) เป็นพระราชินีแห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ และพระอัครมเหสีองค์ที่สามในพระเจ้าชาร์ลที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างค.ศ. 1325 ถึง ค.ศ. 1328 มารีผู้ประสูติเมื่อปี ค.ศ. 1310 เป็นธิดาของหลุยส์แห่งเอเวรอ (ผู้เป็นพระปิตุลาของพระเจ้าชาร์ล) กับ มาร์กาเรตแห่งอาร์ตัว เนื่องจากทั้งสองพระองค์เป็นพระญาติกัน การสมรสจึงต้องทำการขออนุญาตจากพระสันตะปาปาก่อน เมื่อได้รับการอนุญาตจากสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 22 ทั้งสองพระองค์จึงทรงสมรสได้ ฌานและพระเจ้าชาร์ลไม่มีพระราชโอรสด้วยกันทำให้ราชวงศ์กาเปเซียงต้องมาสิ้นสุดลง แต่มีพระราชธิดาสามพระองค์ คือ ฌาน, มารี และบล็องช์แห่งฝรั่งเศส ดัชเชสแห่งออร์เลอ็อง สมบัติสองชิ้นของฌานที่ยังมีเหลืออยู่คือหนังสือสวดมนต์และประติมากรรมพระแม่มารีและพระบุตร หนังสือประจำชั่วโมงของพระองค์ที่เรียกว่า "หนังสือประจำชั่วโมงฌาน เดเวรอ" (Hours of Jeanne d'Evreux) ในปัจจุบันเป็นสมบัติของเดอะคลอยสเตอส์ของพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน ส่วนประติมากรรมที่สูง 69 เซนติเมตร (กะไหล่เงินและลงยา) ที่ฌานมอบให้แก่มหาวิหารแซ็ง-เดอนีนั้นปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ หนังสือประจำชั่วโมงฌาน เดเวรอ''" หนังสือวิจิตรหนังสือประจำชั่วโมงของพระองค์เป็นงานที่จ้างให้ฌ็อง ปูว์แซลทำระหว่าง..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและฌาน เดเวรอ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ฌานน์แห่งเบอร์กันดี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

นแห่งบูร์กอญ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (Jeanne la Boiteuse; Joan the Lame หรือ Joan of Burgundy) (24 มิถุนายน ค.ศ. 1293 - 12 กันยายน ค.ศ. 1348) ฌานแห่งบูร์กอญเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสในพระเจ้าฟิลิปที่ 6 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1328 ถึงวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1350 ฌานประสูติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1293 เป็นพระธิดาในโรเบิร์ตที่ 2 ดยุคแห่งบูร์กอญ และแอกเนสแห่งฝรั่งเศส ดัชเชสแห่งบูร์กอญผู้เป็นพระราชธิดาองค์เล็กของพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส และพระราชินีมาร์เกอรีต พระขนิษฐาของพระองค์มาร์เกอรีตแห่งบูร์กอญทรงเป็นสมเด็จพระราชินีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 10 ฌานสิ้นพระชนม์เมื่อ 12 กันยายน ค.ศ. 1348.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและฌานน์แห่งเบอร์กันดี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ฌูล อาร์ดวง-ม็องซาร์

ูล อาร์ดวง-ม็องซาร์ (Jules Hardouin-Mansart,; 16 เมษายน ค.ศ. 1646 - 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1708) เป็นสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ที่ผลงานถือกันว่าเป็นผลงานของสมัยบาโรกฝรั่งเศสที่รุ่งเรืองที่สุดที่เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและความยิ่งใหญ่โอ่อ่าของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ม็องซาร์ถือกันว่าเป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของยุโรปของคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและฌูล อาร์ดวง-ม็องซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาเมียตตา

การยึดเมืองดาเมียตตาโดยนักรบครูเสด ดาเมียตตา (Damietta หรือ Damiata หรือ Domyat) หรือ ดุมยาฏ (دمياط) เป็นเมืองท่าและเมืองหลักของเขตผู้ว่าการดาเมียตตาในประเทศอียิปต์ ดาเมียตตาตั้งอยู่ที่จุดที่แม่น้ำไนล์ไหลออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนราว 200 กิโลเมตรทางตอนเหนือของกรุงไคโร.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและดาเมียตตา · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลกาแป

นตนาการของอูก กาแปผู้เป็นต้นตระกูลกาแป ตระกูลกาแป หรือ สายตรงจากราชวงศ์กาเปเซียง (Les Capétiens หรือ la Maison capétienne) หรือบางครั้งก็เรียกว่า "ตระกูลฝรั่งเศส" (la maison de France) หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า "กาแป" เป็นประมุขผู้ปกครองราชอาณาจักรฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 987 ถึง ค.ศ. 1328 เป็นสาขาที่อาวุโสที่สุดของผู้ที่สืบเชื้อสายจากราชวงศ์กาเปเซียง - ที่เป็นเชื้อสายที่มาจากตระกูลรอแบร์ ในฐานะประมุขของฝรั่งเศสตระกูลกาแปสืบการปกครองต่อจากตระกูลการอแล็งเฌียง ชื่อของตระกูลมาจากพระนามเล่นของอูก พระมหากษัตริย์กาเปเซียงองค์แรกที่รู้จักกันในพระนามว่า "อูก กาแป" (Hugues Capet) ตระกูลกาแปมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1328 เมื่อไม่มีพระราชโอรสองค์ใดในสามองค์ของพระเจ้าฟิลิปที่ 4 ที่สามารถมีทายาทสืบราชบัลลังก์ฝรั่งเศสได้ เมื่อพระเจ้าชาร์ลที่ 4 เสด็จสวรรคตราชบัลลังก์จึงตกไปเป็นของราชวงศ์วาลัวผู้สืบเชื้อสายโดยตรงมาจากชาร์ลแห่งวาลัว พระราชโอรสองค์รองในพระเจ้าฟิลิปที่ 3 ต่อมาราชบัลลังก์ก็ตกไปเป็นของราชวงศ์บูร์บงและราชวงศ์ออร์เลอ็อง ทั้งสองราชวงศ์สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 9) ซึ่งต่างก็สืบเชื้อสายไม่ทางใดทางหนึ่งก็มาจาก "อูก กาแป".

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและตระกูลกาแป · ดูเพิ่มเติม »

ตราแห่งความอัปยศ

ตราดาวเหลืองที่นาซีเยอรมันบังคับให้ผู้มีเชื้อสาวยยิวต้องติดเพื่อเป็นแสดงความอดสู ตราแห่งความอัปยศ หรือ สัญลักษณ์แห่งความอัปยศ (Badge of shame หรือ symbol of shame หรือ mark of shame หรือ stigma) มักจะเป็นสัญลักษณ์ที่มีลักษณะเด่นที่กลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่งถูกบังคับให้ใช้หรือติดเพื่อให้เป็นการเหยียดหยามในที่สาธารณะ (public humiliation) หรือเป็นการทำร้ายจิตใจ เช่นเมื่อชาวยิวต้องติดตราดาวเหลือง (yellow badge) ในบางส่วนของยุโรประหว่างยุคกลาง และต่อมาในนาซีเยอรมนีและในบริเวณที่ยึดครองโดยเยอรมนี โดยมีจุดประสงค์ให้เป็น “ตราแห่งความอัปยศ” ในการประณามและสร้างความเหยียดหยามว่าเป็นชาติพันธุ์ที่ต่ำกว่าชาติพันธุ์อื่น วลีนี้อาจจะหมายถึงสิ่งที่นำมาซึ่งความอดสู เช่นในคัมภีร์ไบเบิลเรื่อง “เครื่องหมายของเคน” ที่มีความหมายเช่นเดียวกับ “ตราแห่งความอัปยศ” นอกจากนั้นก็ยังใช้เป็นอุปมาโดยเฉพาะในทางเหยียดหยามในการบ่งถึงสิ่งหรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่นำมาซึ่งความไม่มีศักดิ์ศรีหรือความน่าละอ.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและตราแห่งความอัปยศ · ดูเพิ่มเติม »

ซันลุยจีเดย์ฟรันเชซี

ซันลุยจีเดย์ฟรันเชซี (Chiesa di San Luigi dei francesi; Church of Saint Louis of France) เป็นนักบุญหลุยส์ผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสมาก่อนเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะแบบฝรั่งเศสเห็นได้ชัดในการออกแบบด้านหน้าของวัดที่เป็นที่ตั้งของประติมากรรมหลายรูปที่ทำให้รำลึกถึงประวัติศาสตร์ที่รวมทั้งชาร์เลอมาญ พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 นักบุญโคลทิลด์, นักบุญเดนีส์ และ นักบุญฌานแห่งวาลัว ภายในตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังบรรยายเรื่องราวของนักบุญหลุยส์ (โดยชาร์ลส์-โจเซฟ นาตัวร์ (Charles-Joseph Natoire)), นักบุญเดนีส์ และพระเจ้าโคลวิสที่ 1 (Clovis I) โบสถ์ซันลุยจีเดย์ฟรันเชซีได้รับเลือกให้เป็นที่บรรจุศพของนักบวชคนสำคัญ ๆ และบุคคลที่เป็นสมาชิกของชุมชนฝรั่งเศสที่อยู่ในกรุงโรมที่รวมทั้วพอลลีน เดอ โบมองต์ที่เสียชีวิตด้วยวัณโรคในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและซันลุยจีเดย์ฟรันเชซี · ดูเพิ่มเติม »

ซ็องเจียแห่งโพรว็องซ์

ซ็องเจียแห่งโพรว็องซ์ (Sanchia of Provence; ค.ศ. 1228 – 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1261) เป็นบุตรสาวคนที่สามของรามอน เบเรนเกร์ที่ 4 เคานต์แห่งโพรว็องส์ กับเบียทริซแห่งซาวัว ซ็องเจียถูกบรรยายไว้ว่า "งามเกินจะหาใดเทียบ".

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและซ็องเจียแห่งโพรว็องซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสเป็นดินแดนที่เคยอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันมาก่อน โดยรู้จักกันในชื่อของชนเผ่า หรือแคว้นกอล ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่าขนาดใหญ่ที่พูดภาษาเคลท์ ในช่วงท้ายก่อนที่จักรวรรดิโรมันจะล่มสลายลง ดินแดนกอลถูกรุกรานจากทั้งการโจมตีของกลุ่มอนารยชนและการอพยพของกลุ่มคนเร่ร่อน โดยเฉพาะชาวแฟรงก์เชื้อสายเจอร์มานิค พระมหากษัตริย์แฟรงก์นามว่า โคลวิสที่ 1 ได้ทรงรวบรวมดินแดนส่วนมากของกอลภายใต้การปกครองของพระองค๋ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 นับเป็นจุดเริ่มต้นของอิทธิพลชาวแฟรงก์ในภูมิภาคนี้ที่ดำเนินต่อไปอีกหลายร้อยปี อำนาจของแฟรงก์ดำเนินมาถึงจุดสูงสุดในช่วงของพระเจ้าชาร์เลอมาญ ราชอาณาจักรฝรั่งเศสยุคกลางก็ได้ถือกำเนิดขึ้นจากการเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งทางทิศตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงของชาร์เลอมาญ ซึ่งรู้จักกันในนาม ฟรังเกียตะวันตก และเพิ่มพูนอิทธิพลของตนขึ้นเรื่อยมาภายใต้การปกครองของตระกูลกาแปซึ่งก่อตั้งโดยอูก กาแปในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทดีน็อง

280px ปราสาทดีน็อง (Château de Dinan) เป็นปราสาทที่ตั้งอยู่ที่เมืองดีน็องในจังหวัดโกต-ดาร์มอร์ในแคว้นเบรอตาญ ประเทศฝรั่งเศส หอและประตูของปราสาทเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงปราสาทที่ยาว 2,600 เมตรที่ยังคงล้อมรอบบริเวณเมืองเก่าอยู่ หอกลางที่เรียกกันว่า “Donjon de la duchesse Anne” (ที่คุมขังดัชเชสแอนน์) เพราะเคยใช้เป็นที่กักตัวดัชเชสแอนน์แห่งบริตทานี สูง 34 เมตรในจุดที่ติดกับประตูเซนต์หลุยส์ จอห์นที่ 5 ดยุคแห่งบริตทานี เป็นผู้สร้างหอกลางระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและปราสาทดีน็อง · ดูเพิ่มเติม »

ปีแยร์เดอมงเตอโร

ปีแยร์เดอมงเตอโร หรือ ปีแยร์เดอมงเทรย (Pierre de Montereau; Pierre de Montreuil; ค.ศ. 1200 - 17 มีนาคม ค.ศ. 1266) เป็นสถาปนิกชาวฝรั่งเศสผู้มีบทบาทสำคัญในการวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมกอธิคฝรั่งเศส แต่ประวัติชีวิตและงานแทบจะไม่เป็นที่ทราบ มงเตอโรทำงานอยู่ที่มหาวิหารแซ็ง-เดอนีจนกระทั่งปี..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและปีแยร์เดอมงเตอโร · ดูเพิ่มเติม »

แม็ทธิว แพริส

แม็ทธิว แพริส (Matthew Paris) (ราว ค.ศ. 1200 - (ค.ศ. 1259) แม็ทธิว แพริสเป็นนักบวชเบ็นนาดิคติน, นักบันทึกพงศาวดาร (Chronicler) ของยุคกลาง, จิตรกรหนังสือวิจิตร, นักเขียนแผนที่ชาวอังกฤษผู้จำวัดอยู่ที่สำนักสงฆ์เซนต์อัลบันในฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ แม็ทธิวเขียนงานหลายชิ้น ส่วนใหญ่เป็นงานเชิงประวัติศาสตร์ที่แม็ทธิวคัด (scribe) และวาดภาพวิจิตร (illuminate) ประกอบด้วยตนเอง งานส่วนใหญ่จะวาดบางส่วนด้วยสีน้ำที่บางครั้งก็เรียกว่า “tinted drawings” งานเขียนบางชิ้นก็เขียนเป็นภาษาละติน, บางชิ้นก็เป็นภาษาอังกฤษ-นอร์มัน หรือภาษาฝรั่งเศสสมัยกลาง บันทึกประวัติศาสตร์ “Chronica Majora” ที่แม็ทธิวเขียนเป็นหนังสือที่ได้รับการใช้ในการอ้างอิงบ่อยครั้ง แม้ว่านักประวัติศาสตร์สมัยใหม่จะทราบว่าเป็นงานเขียนที่ไม่ค่อยน่าเชื่อถือเท่าใดนักก็ตาม แม็ทธิวมักจะสรรเสริญสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อย่างเลิศลอย และจะหนักไปในทางประณามพระสันตะปาป.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและแม็ทธิว แพริส · ดูเพิ่มเติม »

แรยอน็อง

มหาวิหารโคโลญ (ค.ศ. 1248-ค.ศ. 1322) ที่ถือกันว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมแรยอน็องที่งดงามที่สุดของยุคกลางหน้าต่างกุหลาบแบบแรยอน็องของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส แรยอน็อง (Rayonnant) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1240 จนถึง ค.ศ. 1350 แรยอน็องเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่วิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมกอทิกตอนกลาง แรยอน็องเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่หันความสนใจจากสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่และความกว้างใหญ่ของสิ่งก่อสร้างเช่นมหาวิหารชาทร์ หรือทางเดินกลางของมหาวิหารนอเทรอดามแห่งอาเมียงมาเป็นการคำนึงถึงผิวสองมิติของสิ่งก่อสร้าง และการตกแต่งด้วยลวดลายที่ซ้ำซ้อนที่มีขนาดต่าง ๆ กัน หลังจากกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 แรยอน็องก็ค่อยวิวัฒนาการไปเป็นสถาปัตยกรรมกอทิกตอนปลายและสถาปัตยกรรมกอทิกวิจิตร และดังกล่าวแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงจากสมัยหนึ่งไปอีกสมัยหนึ่งมิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดแจ้ง.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและแรยอน็อง · ดูเพิ่มเติม »

แซ็งต์-ชาแปล

แซ็งต์-ชาแปล (La Sainte-Chapelle, The Holy Chapel) เป็นโบสถ์น้อยของนิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่กรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส เป็นสิ่งก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมกอทิก แซ็งต์-ชาแปลอาจจะถือกันว่าเป็นงานชิ้นที่งดงามที่สุดของสถาปัตยกรรมแรยอน็องซึ่งเป็นสมัยหนึ่งของสถาปัตยกรรมกอทิก.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและแซ็งต์-ชาแปล · ดูเพิ่มเติม »

โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส

แฟ็งแห่งฝรั่งเศส (Dauphin de France) หรือ โดแฟ็งแห่งเวียนัว (Dauphin de Viennois) คืออิสริยยศที่มีไว้สำหรับทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง ผู้ซึ่งจะขึ้นครองราชบัลลังก์แห่งฝรั่งเศสในอนาคต ในประวัติศาสตร์มีผู้ดำรงอิสริยยศนี้ในช่วงปี..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและโดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

เบียทริซแห่งโพรว็องซ์

ียทริซแห่งโพรว็องซ์ (Beatrice of Provence; ค.ศ. 1229 – 23 กันยายน ค.ศ. 1267) เป็นเคานเตสผู้ปกครองโพรว็องซ์และฟอร์แกลคิเยร์ตั้งแต..

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและเบียทริซแห่งโพรว็องซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เรลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปล

รลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปล (Relics of Sainte-Chapelle) คือเรลิกที่เป็นของพระเยซูที่ได้มาโดยพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในยุคกลางที่ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของอัครมุขมณฑลปารีส เดิมเรลิกหล่านี้เก็บรักษาไว้ที่แซ็งต์-ชาแปลในปารีส แต่ในปัจจุบันเป็นสมบัติของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารี.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและเรลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปล · ดูเพิ่มเติม »

เอเลเนอร์แห่งคาสตีล สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

อเลนอร์แห่งคาสตีล (Eleanor of Castile; ค.ศ. 1241 – 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1290) เป็นพระราชินีอังกฤษ พระมเหสีคนแรกของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ที่การอภิเษกสมรสของพระองค์เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงทางการเมืองเพื่อรับรองอำนาจปกครองสูงสุดของอังกฤษเหนือแกสโคนี ชีวิตแต่งงานเป็นที่รู้กันว่าใกล้ชิดสนิทสนมกันเป็นพิเศษ และพระราชินีเอเลนอร์เดินทางไปกับพระสวามีหลายที่ พระองค์กับพระสวามีอยู่ในสงครามครูเสดครั้งที่ 9 ในตอนที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดได้รับบาดเจ็บที่อาเคร แต่เรื่องเล่าที่ได้รับความนิยมที่เล่าว่าพระราชินีเอเลนอร์ช่วยชีวิตพระองค์ด้วยการดูดพิษออกไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ใกล้ลินคอล์น พระสวามีของพระองค์ออกคำสั่งที่โด่งดังให้สร้างกางเขนหินในแต่ละจุดแวะพักในการเดินทางไปลอนดอน สิ้นสุดที่แยกเชอริง พระราชินีเอเลนอร์ได้รับการศึกษาที่ดีกว่าพระราชินีในยุคกลางส่วนใหญ่และมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของชาติเป็นอย่างมาก พระองค์เป็นผู้อุปถัมภ์ด้านวรรณกรรมที่กระตือรือร้น และส่งเสริมการใช้ผ้าทอ, พรม และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารตามแบบสเปน เช่นเดียวกับออกแบบสวนแบบใหม.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและเอเลเนอร์แห่งคาสตีล สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์หลุยส์ (แก้ความกำกวม)

ซนต์หลุยส์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและเซนต์หลุยส์ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

25 สิงหาคม

วันที่ 25 สิงหาคม เป็นวันที่ 237 ของปี (วันที่ 238 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 128 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและ25 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

25 เมษายน

วันที่ 25 เมษายน เป็นวันที่ 115 ของปี (วันที่ 116 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 250 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและ25 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Louis IX of France

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »