สารบัญ
18 ความสัมพันธ์: บุดดะพระพุทธเจ้าพระกุมารกัสสปะพระอานนท์พระองคุลิมาลเถระพระธรรมราชาสัมพุทธเจ้าพระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าอชาตศัตรูพราหมณ์พาวรีพุทธทำนายมหาสีลวชาดกราชวงศ์อิกษวากุสาวัตถีตักศิลาปางห้ามพระแก่นจันทน์ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์นางวิสาขาเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
บุดดะ
"บุดดะ" (เป็นชื่อของผลงานมังงะ (นิยายภาพ) ของเทะซึกะ โอะซะมุ ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเดียวของเขาที่สร้างขึ้นเพื่อตีความพุทธประวัติของพระสิทธัตถะโคดมพุทธเจ้า ศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธ ข้อวิจารณ์ที่มังงะเรื่องนี้ได้รับบ่อยครั้งเป็นเรื่องของความกล้าของผู้ประพันธ์ในการตีความพุทธประวัติใหม่ให้แตกต่างจากที่บันทึกไว้ในวงการศาสนา มังงะเรื่องนี้ได้รับรางวัลบุงเงชุนจู มังงะ อวอร์ด ในปี..
พระพุทธเจ้า
ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.
ดู พระเจ้าปเสนทิโกศลและพระพุทธเจ้า
พระกุมารกัสสปะ
ระกุมารกัสสปเถระ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในสมัยพุทธกาล พระกุมารกัสสปเถระ มีนามเดิมว่า กัสสปะ เป็นนามที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงตั้งให้ ต่อมาท่านบวชในพระพุทธศาสนา เวลาพระโคตมพุทธเจ้าตรัสเรียกภิกษุชื่อกัสสปะ จะถูกทูลถามว่ากัสสปะไหน จึงตรัสว่า กุมารกัสสปะ เพราะท่านบวชมาตั้งแต่ยังเด็ก บิดาและมารดาไม่ปรากฏชื่อ เป็นชาวเมืองสาวัตถี มารดาของท่านศรัทธาจะบวชตั้งแต่ยังไม่ได้แต่งงาน แต่บิดาและมารดาไม่อนุญาต หลังจากแต่งงานแล้วขออนุญาตสามี ในที่สุดสามีอนุญาตให้บวช เธอจึงบวชเป็นภิกษุณีโดยไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ครั้นอยู่มาครรภ์ได้ใหญ่ขึ้น ภิกษุณีทั้งหลายรังเกียจเธอ จึงนำไปให้พระเทวทัตตัดสิน พระเทวทัตตัดสินว่า เธอศีลขาด แม้เธอจะชี้แจงเหตุผลอย่างไรก็ไม่ยอมรับฟัง ภิกษุณีทั้งหลายจึงพาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงมอบหมายให้พระอุบาลีเถระตัดสิน พระอุบาลีเถระเชิญตระกูลใหญ่ๆ ชาวสาวัตถีและนางวิสาขามาพิสูจน์ได้ว่า นางตั้งครรภ์มาก่อนบวช ศีลของนางบริสุท.
ดู พระเจ้าปเสนทิโกศลและพระกุมารกัสสปะ
พระอานนท์
ระอานนท์ เป็นพระอรหันต์สาวกของพระโคตมพุทธเจ้า ทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าพระภิกษุสาวกทั้งหลาย 5 ประการ คือ เป็นพหูสูต มีสติ มีคติ มีธิติ และเป็นพุทธอุปัฏฐาก.
ดู พระเจ้าปเสนทิโกศลและพระอานนท์
พระองคุลิมาลเถระ
องคุลิมาล หรือ พระองคุลิมาลเถระ เป็นบุคคลสำคัญในยุคต้นแห่งพุทธศาสนา โดยเฉพาะตามพุทธประวัติพุทธฝ่ายเถรวาท เดิมนั้นเป็นโจรปล้นฆ่าคน แต่ภายหลังมีศรัทธาในพุทธศาสนา ได้กลับใจบวชเป็นพระภิกษุ และบรรลุเป็นพระอรหันต์ อีกทั้งมียังบทสวดของท่านอีกด้วย ชื่อ อังคุลิมาลปริตร คำว่า องคุลิมาล นั้นมาจากคำว่า อังคุลี (นิ้วมือ) + มาลา (มาลัย สร้อยคอ สาย แถว) แปลว่า ผู้มีนิ้วมือเป็นมาลัย แต่เดิมนั้นองคุลิมาลชื่อว่า อหิงสกะ เป็นบุตรของปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมืองสาวัตถี มารดาของชื่อ นางมันตานี อหิงสกะได้ไปเรียนวิชาที่เมืองตักกสิลา และสามารถเรียนได้รวดเร็วอีกทั้งยังปรนนิบัติอาจารย์อย่างดี จนเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์อย่างมาก เป็นเหตุให้ศิษย์อื่นริษยา จึงยุยงอาจารย์ว่าองคุลิมาลคิดจะทำร้าย อาจารย์จึงคิดจะกำจัดองคุลิมาลเสีย โดยบอกกองคุลิมาลว่า ถ้าจะสำเร็จวิชาต้องฆ่าคนให้ได้ 1,000 คนเสียก่อน องคุลิมาลจึงออกเดินทางฆ่าคน แล้วตัดนิ้วหัวแม่มือมาคล้องที่คอเพื่อให้จำได้ว่าฆ่าไปกี่คนแล้ว เหตุนี้เอง อหิงสกะจึงได้รับสมญานามว่า องคุลิมาล เมื่อฆ่าจนครบ 999 คน ก็มาพบพระพุทธเจ้า และได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ออกบวชเป็นพุทธสาวก เรื่องราวขององคุลิมาลมีการเล่าขยายความเอาไว้ในเรื่อง กามนิต ของคาร์ล อดอล์ฟ เจลเลอร์รุป กวีชาวเดนมาร์ก.
ดู พระเจ้าปเสนทิโกศลและพระองคุลิมาลเถระ
พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า
อนาคตวงศ์ระบุว่า พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า (ธมฺมราชสมฺพุทฺธ) เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตถัดจากพระรามสัมพุทธเจ้า หลัสิ้นศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรยแล้ว แผ่นดินถูกทำลาย เกิดสุญกัปยาวนานถึงหนึ่งอสงไขย จากนั้นจะมีมัณฑกัปซึ่งมีพระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นมา 2 พระองค์ได้แก่ พระรามสัมพุทธเจ้า และพระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้านี้ก็คือพระเจ้าปเสนทิโกศลนั่นเอง โดยย้อนกลับไปในภัทรกัปนี้ในสมัยของพระโกนาคมนพุทธเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้เกิดเป็นมาณพชื่อว่า สุททะ มีอาชีพขายดอกบัว โดยเก็บดอกบัวมาขายวันละ 2 ดอก เช้าวันหนึ่ง มาณพก็ทำการเก็บดอกบัว 2 ดอกมาขายตามปกติ พระโกนาคมนะพุทธเจ้าทรงบิณฑบาต ก็ทรงทราบด้วยญาณว่า มาณพนี้เป็น วงศ์แห่งพุทธเจ้า จึงแย้มพระโอษฐ์ มาณพหนุ่มเห็นเช่นนั้นก็แปลกใจ จึงทูลถาม ว่าพระองค์ทอดพระเนตรและแย้มพระโอษฐ์เพราะเหตุใด พระโกนาคมนพุทเจ้า จึงตรัสว่าตัวท่านนี่แหละคือน้องของตถาคต มาณพหนุ่มได้ฟังเช่นนั้น ก็ยิ่งแปลกใจมากขึ้น ทูลถามว่า ข้าเป็นน้องของท่านเมื่อใด พระโกนาคมนะพุทธเจ้าจึงได้ทำนายว่า ในมัณฑกัปป์หนึ่งท่านจะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล พระนามว่าพระธรรมราชา เมื่อสุททมาณพได้ยินเช่นนั้นจึงเกิดความปีติยินดี จึงได้ถวายดอกบัว 2 ดอกนั้นด้วยความเคารพ พระโกนาคมนพุทธเจ้าได้แสดงพุทธปาฏิหาริย์ขึ้นนั่งบนดอกบัว ด้วยมาณพกลัวพระพุทธองค์ร้อน จึงได้ทำที่บังแดดด้วยผ้า 2 ผืนและไม้อ้อ 4 ลำ และได้ตั้งจิตอธิษฐานขอให้ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยพระพุทธองค์ได้ทรงนั่งอยู่บนดอกบัวนี้จนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น อานิสงค์การถวายดอกบัวนี้ เมื่อพระธรรมราชาสัมพุทธเจ้าดำเนินไปไหนจะมีดอกบัวเท่าจักรรถผุดจากพื้นดินรองรับเสมอ และทุกอิริยาบถของพระองค์จะมีห้องแก้ว 7 ประการเพื่อบังแดดและน้ำค้างด้วยผลทานที่ท่านถวายผ้าบังแดดนั้นเอง พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้ามีพระชนมายุ 5 หมื่นปี.
ดู พระเจ้าปเสนทิโกศลและพระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า
พระเจ้าพิมพิสาร
กหลวงเมืองราชคฤห์ สถานที่พระเจ้าพิมพิสารถูกจองจำจนเสด็จสวรรคตในช่วงบั้นปลายของชีวิต พระเจ้าพิมพิสาร (-pi; बिम्बिसार, 14 ปีก่อนพุทธศักราช—พ.ศ.
ดู พระเจ้าปเสนทิโกศลและพระเจ้าพิมพิสาร
พระเจ้าอชาตศัตรู
ูปพระเจ้าอชาตศัตรู เมืองราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรู (अजातशत्रु; ครองราชย์ 2 ปีก่อน พ.ศ.- พ.ศ. 83) พระราชาองค์ที่ 3 แห่งแคว้นมคธ ปกครองทางตอนเหนือของอินเดีย เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าพิมพิสารและพระนางเวเทหิ พระธิดาของพระเจ้ามหาโกศลแห่งแคว้นโกศลและพระภคินีของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นอุบาสก และผู้อุปถัมภ์สังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุท.
ดู พระเจ้าปเสนทิโกศลและพระเจ้าอชาตศัตรู
พราหมณ์พาวรี
ราหมณ์พาวรี เป็นพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ของพระอชิตเถระซึ่งต่อมาเป็นศิษย์ผู้เป็น 16 ใน 80 พระอสีติมหาสาวกของพระพุทธเจ้.
ดู พระเจ้าปเสนทิโกศลและพราหมณ์พาวรี
พุทธทำนาย
ทธทำนาย หมายถึง การทำนายของพระโคตมพุทธเจ้า ถึงสถานการณ์ในอนาคต 16 ประการ รายละเอียดของคำทำนายปรากฏในอรรถกถามหาสุบินชาดก ในคัมภีร์ชาตกัฏฐก.
ดู พระเจ้าปเสนทิโกศลและพุทธทำนาย
มหาสีลวชาดก
มหาสีลวชาดก เป็นเรื่องที่ว่าด้วยการปรารภความเพียร ในครั้งที่พระโคตมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น พระมหาสีลวร.
ดู พระเจ้าปเสนทิโกศลและมหาสีลวชาดก
ราชวงศ์อิกษวากุ
อิกษวากุ ในภาษาสันสกฤต (इक्ष्वाकु Ikṣvāku) หรือ โอกกากะ ในภาษาบาลี (Okkāka) แปลว่า ต้นขี้กาเทศ เป็นชื่อราชวงศ์ในวรรณกรรมปุราณะ ซึ่งมีผู้สถาปนา คือ พระเจ้าอิกษวากุ แต่เอกสารจากศาสนาพุทธว่า ผู้สถาปนา คือ พระเจ้ามหาสมมติ บรรพบุรุษพระองค์หนึ่งของพระเจ้าอิกษวากุ ซึ่งมหาชนสมมุติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งปัจจุบันสมัย ราชวงศ์นี้ยังเป็นที่รู้จักด้วยชื่อ สุริยวงศ์ และถือกันว่า พระรามเป็นสมาชิกราชวงศ์ดังกล่าว ส่วนศาสนาเชนถือว่า ตีรถังกร 22 องค์ จากทั้งหมด 24 องค์ เป็นสมาชิกราชวงศ์นี้ ราชวงศ์อิกษาวกุมีสมาชิกสำคัญอีกหลายพระองค์ เช่น พระเจ้าทิลีป, พระเจ้าปเสนทิโกศล, พระเจ้ารัคหุ, พระเจ้าสัคระ, พระเจ้าหริศจันทร์, และพระพรต เอกสารฮินดูอย่าง ปุราณะ และเอกสารพุทธอีกหลายฉบับ นับพระเจ้าสุทโธทนะ, พระพุทธเจ้า, และพระราหุล เข้าในราชวงศ์นี้เช่นกัน.
ดู พระเจ้าปเสนทิโกศลและราชวงศ์อิกษวากุ
สาวัตถี
วัตถี (Sāvatthī สาวัตถี; श्रावस्ती Śrāvastī ศราวัสตี; Sravasti) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล 1 ใน แคว้นมหาอำนาจใน 16 มหาชนบทในสมัยพุทธกาล เมืองนี้รุ่งเรืองจากการที่เป็นชุมนุมการค้าขาย การทหาร เป็นเมืองมหาอำนาจใหญ่ควบคู่กับเมืองราชคฤห์แห่งแคว้นมคธในสมัยโบราณ ปัจจุบันเมืองนี้เหลือเพียงซากโบราณสถาน คนอินเดียในปัจจุบันลืมชื่อเมืองสาวัตถี (ในภาษาบาลี) หรือ ศราวัสตี (ในภาษาสันสกฤต) ไปหมดแล้ว คงเรียกแถบตำบลที่ตั้งเมืองสาวัตถีนี้เพียงว่า สะเหถ-มะเหถ (Saheth-Maheth) ปัจจุบัน สะเหต-มะเหต ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เมืองสวัตถีในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองที่ใหญ่พอกับเมืองราชคฤห์และพาราณสี เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขายในสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นเมืองสาวัตถีมีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครองร่วมสมัยกับพระเจ้าพิมพิสาร นอกจากนี้เมืองสาวัตถีนับว่าเป็นเมืองสำคัญในการเป็นฐานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าที่สำคัญ เพราะเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประทับนานที่สุดถึง 25 พรรษา เป็นที่ตรัสพระสูตรมากมายและเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนามั่นคงที่สุด เพราะมีผู้อุปถัมภ์สำคัญ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา เป็นต้น สาวัตถี ปัจจุบันยังมีซากโบราณสถานที่สำคัญปรากฏร่องรอยอยู่ คือวัดเชตวันมหาวิหาร (ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ถึง 19 พรรษา), บริเวณวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล, บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี (สถูป), บ้านบิดาขององคุลีมาล (สถูป), สถานที่พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ (หน้าวัดพระเชตวันมหาวิหาร), ที่แสดงยมกปาฏิหาริย์ แล้วเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา เป็นต้น.
ดู พระเจ้าปเสนทิโกศลและสาวัตถี
ตักศิลา
ตักศิลา (Taxila; ตัก-กะ-สิ-ลา) หรือ ตักสิลา (Takkaśilā; ตัก-กะ-สิ-ลา) ในภาษาบาลี หรือ ตักษศิลา (Takṣaśilā; ตัก-สะ-สิ-ลา) ในภาษาสันสกฤต เป็นชื่อเมืองอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐปัญจาบ เป็นมหาวิทยาลัยและเป็นศูนย์กลางของศิลปวิชาการ ในอดีตของอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล มีสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์สั่งสอนศิลปวิทยาต่างๆ แก่ศิษย์ที่มาเล่าเรียนในแถบดินแดนชมพูทวีป บุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงหลายท่านที่สำเร็จการศึกษาจากที่แห่งนี้ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล หมอชีวกโกมารภัจจ์ องคุลีมาล ปัจจุบันนี้ตักศิลาอยู่ในเขตประเทศปากีสถาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงอิสลามาบาด คงเหลือแต่ซากเมืองให้ได้เห็น มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือ พิพิธภัณฑ์ตักศิลา ซึ่งได้เก็บรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับความเป็นอยู่และภูมิปัญญาของชาวตักศิลายุคต่าง ๆ เอาไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ รวมถึง ซากสถูปเจดีย์ วัดวาอาราม และปฏิมากรรม แบบศิลปะคันธาระ จำนวนมาก อันเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของผู้คน จนรัฐบาลปากีสถานได้อนุรักษ์ไว้เป็นโบราณสถานภายใต้การสนับสนุนขององค์การยูเนสโก เมืองตักศิลาถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ดึกดำบรรพ์เป็นนครหลวงแห่งแคว้นคันธาระ เป็นหนึ่งในบรรดา 16 แคว้นของชมพูทวีป สถาปนาขึ้นโดยชาวอารยัน ตักศิลาตกอยู่ภายใต้อารยธรรมมากมาย เช่น อารยธรรมกรีกโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และอารยธรรมฮินดูหลายราชวงศ์ ในสมัยพุทธกาลมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำแคว้นและรุ่งเรืองมานับพันปี โดยมีความรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้สร้างตักศิลาให้มีชื่อเสียงพร้อมๆ กับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชนชาติเฮฟทาไลต์ (Hephthalite) ได้ยกทัพมาตีอินเดียและทำลายพระพุทธศาสนา ทำให้เมืองตักศิลาพินาศสูญสิ้นแต่บัดนั้น.
ดู พระเจ้าปเสนทิโกศลและตักศิลา
ปางห้ามพระแก่นจันทน์
ระพุทธรูปปางห้ามพระแก่นจันทน์ ที่เป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมวารสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ปางพระห้ามพระแก่นจันทน์ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ห้อยพระหัตถ์ขวาลงข้างพระวรกาย ฝ่าพระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) และยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาทรงห้าม.
ดู พระเจ้าปเสนทิโกศลและปางห้ามพระแก่นจันทน์
ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์
มกปาฏิหาริย์สถูป เมืองสาวัตถี สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) บนบัลลังก์ ห้อยพระบาททั้งสองวางบนดอกบัวที่รองรับ พระชานุ (เข่า) ยกตั้งแบบประทับบนพระเก้าอี้ พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) จีบนิ้วพระหัต.
ดู พระเจ้าปเสนทิโกศลและปางแสดงยมกปาฏิหาริย์
นางวิสาขา
นางวิสาขา เป็นสาวกของพระโคตมพุทธเจ้า ได้บรรลุโสดาบันตั้งแต่อายุได้ 7 ขวบ เป็นผู้สร้างวัดบุพพาราม เป็นผู้ริเริ่มถวายผ้าอาบน้ำฝน และได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะฝ่ายทายิก.
ดู พระเจ้าปเสนทิโกศลและนางวิสาขา
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
ลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา เป็นบทร้อยกรองประเภทเพลงยาว มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำนายสถานการณ์ของกรุงศรีอยุธยาในอนาคตว่าจะประสบวิบัติภัยนานา โดยคาดว่าประพันธ์ขึ้นราวสมัยรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ส่วนผู้ประพันธ์ยังไม่อาจระบุตัวได้แน่ชั.
ดู พระเจ้าปเสนทิโกศลและเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Pasenadiพระเจ้าประเสนชิตพระเจ้าประเสนชิตโกศลพระเจ้าปเสนทิ