สารบัญ
50 ความสัมพันธ์: พระกษิติครรภโพธิสัตว์พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์พระมัญชุศรีโพธิสัตว์พระวัชรปาณีโพธิสัตว์พระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคตพระสัทธรรมวิทยาตถาคตพระอมิตาภพุทธะพระจุนทีโพธิสัตว์พระธยานิพุทธะพระปรางค์สามยอดพระปัทมปาณิโพธิสัตว์พระนางตาราพระเจ้าชัยวรมันที่ 7พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยากวนอิมภาษาตันกัตมหากรุณาธารณีมหายานรายนามพระโพธิสัตว์วัชรยานวัดบำเพ็ญจีนพรตวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหารวัดมังกรกมลาวาสวัดหมื่นพุทธเมตตาคุณารามวัดคิงกะกุวัดคิโยะมิซุวัดโพธิ์แมนคุณารามวัดโจคังวัดเทพพุทธารามวิทยาราชศาลพระกาฬ (จังหวัดลพบุรี)ศาสนาพุทธแบบทิเบตศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชาศาสนาพุทธในประเทศไทยสุขาวดี (นิกาย)อวตารอำเภออู่ทองอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ธิดาพญามังกรทะไลลามะคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทยประวัติศาสตร์ทิเบตประเทศกัมพูชาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรปราสาทบันทายกเดยปราสาทนาคพันธ์นครธมโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิเทศกาลพ้อต่อ
พระกษิติครรภโพธิสัตว์
ระกษิติครรภโพธิสัตว์ (อ่านว่า /พฺระ-กะ-สิ-ติ-คับ-พะ-โพ-ทิ-สัด/, क्षितिगर्भ;; กฺษิติครฺภ) เป็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นที่นับถือในศาสนาพุทธนิกายมหายานในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มักมีรูปลักษณ์เป็นพระภิกษุมหายาน นามของพระโพธิสัตว์องค์นี้อาจแปลได้ว่า "ขุมทรัพย์แห่งแผ่นดิน" ("Earth Treasury"), คลังแห่งแผ่นดิน ("Earth Store"), "บ่อเกิดแห่งแผ่นดิน"("Earth Matrix"), หรือ "ครรภ์แห่งแผ่นดิน" ("Earth Womb") พระกษิติครรภโพธิสัตว์ได้รับมอบหมายจากพระศากยมุนีพุทธเจ้าให้เป็นผู้แสดงธรรมโปรดสัตว์ในกามภูมิ 6 ในช่วงที่พระองค์ปรินิพพานไปแล้วและพระศรีอริยเมตไตรยยังไม่ได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระกษิติครรภมีปณิธานสำคัญในการช่วยสัตวโลกทั้งหมดให้พ้นจากนรกภูมิ หากนรกยังไม่ว่างจากสัตว์นรกก็จะยังไม่ขอตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุดังกล่าว พระองค์จึงถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งสัตว์ผู้ทุกข์ยากในอบายภูมิ มีนรกทั้งปวง เป็นต้น เช่นเดียวกับการเป็นผู้คุ้มครองเด็กทั้งหลาย และเทพอุปถัมภ์ของเด็กที่เสียชีวิตและทารกที่ตายจากการแท้งในวัฒนธรรมญี่ปุ่น รูปลักษณ์ของพระโพธิสัตว์องค์นี้ ปกติมักทำเป็นรูปพระภิกษุมหายาน มีรัศมีเปล่งรอบพระเศียรซึ่งปลงพระเกศาแล้ว หัตถ์หนึ่งทรงจับไม้เท้าซึ่งใช้เปิดประตูนรก อีกหัตถ์หนึ่งทรงถือแก้วจินดามณี (แก้วสารพัดนึก) เพื่อประทานแสงสว่างท่ามกลางความมืด สำหรับในประเทศไทยเอง มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย (佛眼禪林弘法基金會:地藏道場) พุทธมณฑลสาย 6 ได้สร้างวัดหรือธรรมสถาน เพื่ออุทิศแด่องค์พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์โดยเฉพาะ โดยสร้างองค์พระกษิติครรภ์ ด้วยหินแกรนิตแกะสลักสูงรวมฐาน 13.99 เมตร และพระกษิติครรภ์ 6 ปาง ที่มีคติมาจากปุณฑริกสมาธิสูตร (蓮華三昩經) ที่ว่าพระกษิติครรภ์นิรมาณกายไปโปรดสัตว์ทั้ง 6 ภูมิ พร้อมพญายมราชทั้ง 10 ซึ่งในสูตรฝ่ายมหายานกล่าวว่า เป็นพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์องค์สำคัญ 10 พระองค์ นิรมาณกายมาโปรดสัตว์ และปฏิมากรรมหินแกะสลักนายนิรยบาล เป็นหินแกะสลักสูงใหญ่กว่าคนอีกรวมทั้งสิ้น 25 องค์โดยช่างฝีมือจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคติของพุทธมหายานแบบจีน และเผยแพร่กษิติครรภโพธิสัตว์มูลปณิธานสูตร (地藏本願經) และ กษิติครรภ์โพธิสัตว์ทศจักรสูตร (地藏十輪經) ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญของพระกษิติครรภ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกษิติครรภมณฑล ที่มีอยู่ไม่กี่แห่งในโลก.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระกษิติครรภโพธิสัตว์
พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์
ระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์อัครสาวกของพระอมิตาภพุทธะเช่นเดียวกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แต่มีคนรู้จักน้อยกว่า ถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ด้านกำลัง สะท้อนพลังจิตที่เข้มแข็งของพระพุทธเจ้า ใกล้เคียงกับความหมายของพระสมันตภัทรโพธิสัตว.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์
พระมัญชุศรีโพธิสัตว์
ระมัญชุศรีโพธิสัตว์ (मञ्जुश्री Mañjuśrī; 文殊 Wénshū หรือ 文殊師利菩薩 Wénshūshili Púsà; もんじゅ Monju; འཇམ་དཔལ་དབྱངས། Jampelyang; मंजुश्री Manjushree) เป็นพระโพธิสัตว์ในกลุ่มตถาคตโคตรของพระไวโรจนพุทธะ ชื่อของท่านแปลว่า แสงอันอ่อนหวานหรืออ่อนโยน เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือในทิเบตรองลงมาจากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ชื่อของท่านมีปรากฏในพระสูตรต่างๆมากมาย เช่น สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายปัญญาและมีหน้าที่คุ้มครองนักปราชญ.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระมัญชุศรีโพธิสัตว์
พระวัชรปาณีโพธิสัตว์
ระวัชรปาณีโพธิสัตว์ หมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้ถือสายฟ้า หลักฐานฝ่ายบาลีถือว่าเป็นยักษ์ที่คอยคุ้มครองพระพุทธเจ้า ส่วนทางมหายานถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ชั้นสูงองค์หนึ่ง มักปรากฏคู่กับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์และพระปัทมปาณิโพธิสัตว์ ความเชื่อเกี่ยวกับพระวัชรปาณิอาจวิวัฒนาการมาจากพระอินทร์ในศาสนาพราหมณ์ที่ถือสายฟ้าเช่นกัน และอาจจะพัฒนามาจากความเชื่อเกี่ยวกับพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ ชาวพุทธมหายานถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่คุ้มครองนาคที่ควบคุมเมฆฝน และนิยมสร้างรูปของท่านไว้ที่ประตูทางเข้าวัดเพื่อขับไล่ความชั่วร้าย พระวัชรปาณีมีชื่อจีนว่ากิมกังผ่อสัก จัดอยู่ในกลุ่มเจ็ดพระมหาโพธิสัตว์ตามความเชื่อของชาวจีน แต่มีความสำคัญน้อยกว่าพระอวโลกิเตศวรและพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์มาก.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระวัชรปาณีโพธิสัตว์
พระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคต
ระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวพุทธมหายาน พระนามของพระองค์หมายถึงพระผู้สถิตอย่างศานติในแสงสว่างที่เลิศกว่าแสงอื่นอีกพันชนิด รูปของพระองค์เป็นพระพุทธรูปในปางแสดงเทศนาหรือพนมมือ เป็นที่นิยมนับถือในหมู่ชาวพุทธมหายานที่นับถือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ในคัมภีร์สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ไวปุลยสมบูรณอกิญจนมหากรุณาจิตรธารณีสูตร พระพุทธเจ้าพระองค์นี้เป็นผู้ประทานธารณีมนต์ต่างๆแก่พระอวโลกิเตศวร ซึ่งพระอวโลกิเตศวรได้นำมาเผยแผ่แก่มนุษยโลกอีกทีหนึ่ง นอกจากนั้น ยังเป็นผู้ช่วยเหลือให้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายบำเพ็ญบารมีผ่านภูมิที่ 1 ไปถึงภูมิที่ 8 ได้สำเร็.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคต
พระสัทธรรมวิทยาตถาคต
ระสัทธรรมวิทยาตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวพุทธมหายาน พระนามของพระองค์หมายถึงพระตถาคตเจ้าผู้ทรงรอบรู้แจ้งในพระธรรมอันประเสริฐ บางคัมภีร์ระบุพระนามของพระองค์เป็น พระสัทธรรมประภาตถาคต ไม่ปรากฏพระพุทธรูปของพระองค์เป็นพิเศษ โดยมากจะนับถือพระองค์คู่ไปกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ในคัมภีร์สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ไวปุลยสมบูรณอภิญจนมหากรุณาจิตรธารณีสูตร กล่าวถึงพระองค์ว่าเป็นพระพุทธเจ้าในอดีต ตรัสรู้ในกาลที่ล่วงมาแล้วนานมาก แต่ยังทรงมีจิตเมตตาต่อสัตว์โลกจึงได้เนรมิตรพระโพธิสัตว์จำนวนมากมาโปรดสัตว์รวมทั้งพระอวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงถึงแนวคิดของมหายานเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์แบบหนึ่งว่า พระโพธิสัตว์เกิดจากพระพุทธเจ้.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระสัทธรรมวิทยาตถาคต
พระอมิตาภพุทธะ
ระอมิตาภพุทธะ (अमिताभ बुद्ध) เป็นพระธยานิพุทธะที่ประทับในแดนสุขาวดี ซึ่งเป็นพุทธเกษตรแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก พระองค์มีรูปกายเป็นสีแดง นับถือกันมากในนิกายสุขาวดี ควบคู่กับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์หรือเจ้าแม่กวนอิม แต่ไม่เป็นที่ยอมรับในนิกายเถรวาท เพราะไม่มีกล่าวถึงในพระไตรปิฎกภาษาบาลี.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระอมิตาภพุทธะ
พระจุนทีโพธิสัตว์
ระจุนทีโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งในพระพุทธศาสนามหายานเช่นเดียวกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แต่มีคนรู้จักน้อยกว่า เชื่อกันว่าพระองค์เป็นพระพุทธมารดาภาคสัมโภคกาย (กายทิพย์) ของพระเจ้าห้าพระองค์ในภัทรกัปปัจจุบันของเรา โดยหลายท่านเมื่อเห็นพุทธศิลป์ของพระองค์ก็มักจะเข้าใจกันผิดว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ นั่นก็เพราะเกิดจากความเชื่อในพระพุทธศาสนาของนิกายฉาน ที่กล่าวว่าพระจุนทีนั้นเป็นภาคหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แล้วนำไปจัดรวมไว้ในรูปเคารพของพระโพธิสัตว์กวนอิม 6 ปางใหญ่ ซึงในขณะที่นิกายอื่น ๆ ของทางมหายานเนั้นจะถือว่าพระจุนทีกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ นั้นเป็นคนละองค์กัน หลายที่ก็ยังไปจำสับสนด้วยรูปลักษณะของ เต้าอึ้งง้วงกุง หรือ เต้าบ้อง้วงกุง ซึ่งเป็นมารดาของเทวดานพเคราะห์ทางลัทธิเต๋า ที่รับมาจากพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งก็คือพระมรีจิโพธิสัตว์นั่นเอง บ้างก็ไปจำสับสนกับพระมยุรกีรติประภาราชาโพธิสัตว์ที่ทรงนกยูงเป็นพาหนะ โดยพระโพธิสัตว์พระองค์นี้จะมีกล่าวถึง แต่ไม่ค่อยมีบทบาทเท่าไรในพระพุทธศาสนาของจีน แต่จะมีบทบาทในญี่ปุ่นมากกว.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระจุนทีโพธิสัตว์
พระธยานิพุทธะ
ระธยานิพุทธะ ศิลปะทิเบต พระธยานิพุทธะหรือพระฌานิพุทธะ (บางแห่งเรียกพระชินพุทธะ) เป็นพระพุทธเจ้าในคติความเชื่อของมหายาน เชื่อว่าอวตารมาจากพระอาทิพุทธะ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌานของอาทิพุทธะ ไม่ได้ลงมาสร้างบารมีเหมือนพระมานุสสพุทธะ (พระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์) ดำรงในสภาวะสัมโภคกาย มีแต่พระโพธิสัตว์ที่เห็นพระองค์ได้.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระธยานิพุทธะ
พระปรางค์สามยอด
ระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี เป็นโบราณสถานและ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี ลักษณะเป็นปราสาทขอมในศิลปะบายน (พ.ศ.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระปรางค์สามยอด
พระปัทมปาณิโพธิสัตว์
วาดพระปัทมปาณิโพธิสัตว์ จิตรกรรมที่ผนังถ้ำอชันตา หมายเลข1 ศิลปะคุปตะตอนปลาย หรือหลังคุปตะ(พุทธศตวรรษที่12) ถือกันว่าเป็นงานจิตรกรรมที่งดงามที่สุดภาพหนึ่งของประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย พระปัทมปาณิโพธิสัตว์ (पद्मपाणि) เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ก่อนการกำเนิดของนิกายตันตระ ชื่อของท่านหมายถึงผู้ถือดอกบัวปรากฏคู่กับพระวัชรปาณีโพธิสัตว์ในศิลปะอินเดียแบบมถุระเมื่อพุทธศตวรรษที่ 7 บางครั้งปรากฏคู่กับพระมัญชุศรีและพระวัชรปาณิเพื่อเป็นตัวแทนของพระโพธิสัตว์จากโคตรทั้งสามคือ ปัทมโคตร ตถาคตโคตร และวัชรโคตร ตามลำดับ รูปลักษณ์ของท่านต่างไปในแต่ละท้องที่ โดยมากเป็นรูปผู้ชายถือดอกบัว ต่อมาได้เพิ่มแจกันใส่น้ำทิพย์ด้วย บางท้องที่ถือว่าเป็นภาคสำแดงของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระปัทมปาณิโพธิสัตว์
พระนางตารา
ระนางตาราเขียวหรือพระศยามตาราโพธิสัตว์ Kumbm, Gyantse, Tibet, 2536 พระนางตารา พระโพธิสัตว์ตารา หรือ พระแม่ตารา เป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายหญิงในพระพุทธศาสนา โดยมีสายการปฏิบัติสืบทอดอย่างต่อเนื่องในวัชรยาน คำว่าตารามาจากภาษาสันสกฤตหมายถึงข้าม การบูชาพระนางเริ่มเมื่อพุทธศตวรรษที่ 8 - 11 ในอินเดียเหนือและแพร่หลายที่สุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 - 17 โดยถือว่าเป็นชายาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปัจจุบันมีนับถือในอินเดีย เนปาล และ ทิเบต ส่วนชาวพุทธในจีนจะนับถือเจ้าแม่กวนอิมที่เป็นภาคหญิงของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์แทน.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระนางตารา
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ระเจ้าชัยวรมันที่ 7เป็นกษัตริย์ของอาณาจักรเขมรที่ยิ่งใหญ่ (พ.ศ. 1724 - พ.ศ. 1762) ในบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน เป็นพระโอรสของพระเจ้าธรนินทรวรมันที่ 2 (ครองราชย์ พ.ศ.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา
ัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ตั้งอยู่บริเวณวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ทางทิศตะวันออก ถนนรักษ์นรกิจ ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยพระครูโสภณเจตสิการาม(เอี่ยม) เป็นผู้เริ่มก่อตั้ง เมื่อ พ.ศ.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา
กวนอิม
กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กวนอิน ตามสำเนียงกลาง เป็นพระโพธิสัตว์ในตามคติมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในประเทศอินเดีย และได้ผสมผสานกับตำนานเรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ของศาสนาพื้นบ้านจีนจนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์" เจ้าแม่กวนอิมเป็นผู้.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และกวนอิม
ภาษาตันกัต
漢合時掌中珠 ภาษาตันกัต หรือภาษาซิเซีย เป็นตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าโบราณใช้พูดในจักรวรรดิตันกัต มีความใกล้เคียงกับภาษาทิเบต ภาษาพม่า และอาจมีความใกล้เคียงกับภาษาจีนด้วย เป็นภาษาราชการในจักรวรรดิตันกัต (ภาษาจีนเรียก ซิเซีย 西夏) ซึ่งเป็นอิสระในสมัยราชวงศ์ซ้องเมื่อราว..
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และภาษาตันกัต
มหากรุณาธารณี
ระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปางสหัสภุชสหัสเนตร มหากรุณาธารณี เขียนด้วยอักษรสิทธัม มหากรุณาธารณี (महा करुणा धारनी, 大悲咒: ธารณีว่าด้วยความกรุณาอันยิ่งใหญ่) หรือ นิลกัณฐธารณี (नीलकण्ठ धारनी: ธารณีว่าด้วยพระผู้มีศอสีนิล) เป็นชื่อบทสวด (ธารณี) สำคัญในพระพุทธศาสนามหายาน เป็นธารณีประจำองค์พระอวโลกิเตศวร ปางสหัสภุชสหัสเนตร (พันหัตถ์พันเนตร) ในภาษาจีนเรียกธารณีนี้ว่า ไต่ปุ่ยจิ่ว ("ต้าเปยโจ้ว" ตามสำเนียงจีนกลาง) มีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานภาษาสันสกฤตของอินเดีย พระภควธรรมเถระชาวอินเดียนำเข้าไปแปลในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ถัง และมีฉบับแปลเป็นภาษาทิเบตด้วย มหากรุณาธารณีเป็นมนตร์อันเกิดจากความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ของพระอวโลกิเตศวร ที่มีต่อสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ในโลก ในคัมภีร์กล่าวว่าธารณีนี้มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น มหาไวปุลยสัมปุรณธารณี, อกิญจนมหากรุณาธารณี, อายุวัฒนธารณี, วิกรมอุตตรภูมิธารณี, มโนมัยอิศวรธารณี เป็นต้น อักษรหนึ่งตัวและประโยคหนึ่งในบทธารณีมนตร์นี้ ล้วนขยายเป็นอรรถธรรม อันจะนำเข้าถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณ.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และมหากรุณาธารณี
มหายาน
มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และมหายาน
รายนามพระโพธิสัตว์
ระโพธิสัตว์ คือบุคคลที่บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระโพธิสัตว์สำคัญตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายานมีดังนี้ พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ พระจันทรประภาโพธิสัตว์ และพระสุริยประภาโพธิสัตว์ พระจุนทีโพธิสัตว์ พระนางตารา พระนาคารชุนะ พระปัทมสัมภวะ พระนางปรัชญาปารมิตา พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ นางวสุธระ พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ พระศรีอริยเมตไตรย พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระอากาศครรภโพธิสัตว.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และรายนามพระโพธิสัตว์
วัชรยาน
วัชรยาน (Vajrayāna) มันตรยาน (Mantrayāna) คุยหยาน (Esoteric Buddhism) หรือ ตันตรยาน (Tantric Buddhism) เป็นศาสนาพุทธแบบคุยหลัทธิ ที่สืบทอดขนบความเชื่อและการปฏิบัติแบบตันตระมาจากอินเดียสมัยกลาง วัชรยาน หมายถึง ยานเพชร ซึ่งผู้ศรัทธาในสายนี้เชื่อว่าเป็นยานที่ประเสริฐกว่าหีนยานและมหายาน.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และวัชรยาน
วัดบำเพ็ญจีนพรต
วัดบำเพ็ญจีนพรต (ย่งฮกยี่) (永福寺) สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย เป็นปฐมสังฆารามฝ่ายมหายานและอนุตตรธรรม จีนนิกาย (นิกายฌาณ สาขาหลินฉี)ตั้งอยู่ในตรอกวัดกันมาตุยาราม ถนนเยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และวัดบำเพ็ญจีนพรต
วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนรักษ์นรกิจ หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุไชยาเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นหนึ่งในสามของ โบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของภาคใต้ ได้แก่ พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เจดีย์พระมหาธาตุวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระพุทธไสยาสน์ในถ้ำคูหาภิมุข บริเวณวัดคูหาภิมุข จังหวัดยะลา วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยา โรงเรียนสงฆ์ และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาต.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สถานะของวัดในปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สังกัดมหานิก.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร
วัดมังกรกมลาวาส
"ซำป้อหุกโจ้ว" ชื่อเรียกสามพระประธานประจำวัดมังกรกมลาวาส วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ (ตัวเต็ม: 龍蓮寺, ตัวย่อ: 龙莲寺, พินอิน: Lóng lián sì หลงเหลียนซื่อ, ฮกเกี้ยน: เล้งเหลียนซี่, สำเนียงแต้จิ๋ว: เล่งเน่ยยี่, สำเนียงกวางตุ้ง: หล่งลิ่นจี๋, สำเนียงฮากกา: หลุ่งเหลี่ยนซื้อ) เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ระหว่าง ซอยเจริญกรุง 19 และ 21 ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นที่คุ้นเคยในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีนจากต่างประเทศ วัดนี้ บางคนเรียกว่า "วัดมังกร" เพราะคำว่า "เล่ง" หรือ "เล้ง" ในภาษาจีนแต้จิ๋ว แปลว่ามังกร (คำว่า “เน่ย” แปลว่า ดอกบัวและคำว่า “ยี่” แปลว่า วัด) ชื่อวัดอย่างเป็นทางการคือ "วัดมังกรกมลาวาส" พระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และวัดมังกรกมลาวาส
วัดหมื่นพุทธเมตตาคุณาราม
วัดหมื่นพุทธเมตตาคุณาราม เป็นวัดมหายาน สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ บ้านป่าไร่ ตำบลท่าข้าวเปลือก (ถนนสายกิ่วพร้าว-บ้านปงน้อย) อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงร.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และวัดหมื่นพุทธเมตตาคุณาราม
วัดคิงกะกุ
วัดคิงกะกุ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า วัดโระกุอง ตั้งอยู่ในเมืองเคียวโตะ จังหวัดเคียวโตะ ประเทศญี่ปุ่น มีศาลาทองเป็นจุดเด่นของวัด แรกเริ่มศาลาทองสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และวัดคิงกะกุ
วัดคิโยะมิซุ
วัดคิโยะมิซุ ตั้งอยู่บนเขาโอะโตะวะ ทางตะวันออกของนครเคียวโตะ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองเคียวโตะ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เคียวโตะโบราณ (Historic Monuments of Ancient Kyoto) ซึ่งเป็นมรดกโลกขององค์กรยูเนสโก อาคารหลักของวัดคิโยะมิซุได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในสมบัติประจำชาติญี่ปุ่น ชื่อของวัดซึ่งมีความหมายว่าน้ำบริสุทธิ์ มีที่มาจากน้ำตกที่ไหลผ่านเนินเขาลงมาบริเวณวัด ตำนานการสร้างวัดคิโยะมิซุกล่าวว่า ในค.ศ.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และวัดคิโยะมิซุ
วัดโพธิ์แมนคุณาราม
ทางเข้าวัดโพธิ์แมนคุนาราม ภาพจากดาวเทียม วัดโพธิ์แมนคุณาราม (โพวมึ้งป่ออึงยี่) (普門報恩寺) เป็นวัดฝ่ายมหายานและเซน สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย สืบทอดหลักธรรมคำสอนมาจากนิกายเซน สาขาหลินฉี (วิปัสสนา) และเป็นเป็นศูนย์กลางหลักธรรมคำสอนของนิกายวินัย และนิกายมนตรยานของศาสนาพุทธแบบทิเบต และเป็นศูนย์กลางการปกครองคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย และศูนย์กลางการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธนิกายมหายานและวัชรยานอีกทั้งเป็นแหล่งข้อมูลพุทธศาสนาฝ่ายมหายานของประเทศไท.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และวัดโพธิ์แมนคุณาราม
วัดโจคัง
งภาวนาและโบสถ์วัดโจคัง วัดโจคัง (Jokhang Monastery)ในปี..647 พระเจ้าซงเซน กัมโป โปรดให้สร้าง วัดโจคัง หรือ ต้าเจาซื่อ (Dazhao Si) ขึ้น เพื่อประดิษฐาน พระพุทธรูปพระอักโษภยพุทธะ (Akshobhya) ที่ เจ้าหญิงภกุฎเทวี ทรงอัญเชิญมาจากประเทศเนปาล ตามตำนานกล่าวว่า เป็นรูปเหมือนพระพุทธเจ้า เมื่อมีพระชนมายุได้ 8 ชันษา แต่ต่อมา ในคริสต์ศวรรษที่ 8 เจ้าหญิงจากจีนอีกพระองค์หนึ่งคือ เจ้าหญิงจินเฉิง (Jincheng Gongzu) ซึ่งได้เดินทางมาอภิเษกสมรสกับ พระเจ้าซื่อเต่อจู่จั้น-กษัตริย์ของทิเบตได้สลับเอา พระพุทธรูปโจโว ริมโปเช (Jovo Rimpoche) หรือ รูปเหมือนพระพุทธเจ้าเมื่อมีพระชนมายุได้ 12 ชันษา ที่ เจ้าหญิงเหวินเฉิง อัญเชิญจากนครฉางอาน ราชธานีแห่งราชวงศ์ถังมาสู่ดินแดนทิเบต ในครั้งที่ทรงเดินทางมาอภิเษกสมรสกับพระเจ้าซงเซน กัมโป ซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดราโมช (Ramoche Monastery) หรือ เสี่ยวเจาซื่อ (Xiaozhao Si) มาใว้ที่มหาวิหารวัดโจคัง แล้วย้ายพระพุทธรูปอักโษภยะไปใว้ที่วัดราโมชแทน โจโว รินโปเช เป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุดของชาวทิเบตทั้งผอง ที่ต่างหมายมุ่งเดินทางขอได้มากราบอัษฎางคประดิษฐ์ รอบพระวิหารวัดโจคัง และสักการะโจโว ริมโปเช ที่มีอายุมานานกว่า 1,400 ปีแห่งนี้ให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต วัดโจคัง ตั้งอยู่ห่างจากพระราชวังโปตาลาราว 1 กิโลเมตร ภายในอารามโจคัง (Rimpoche Monastery) ประดิษฐาน โจโว ริมโปเช สีทองอร่าม ทรงเครื่องกษัตริย์ ประดับด้วยเพชรพลอยอัญมณีล้ำค่า สูง 1.5 เมตร เป็นองค์สำคัญที่สุด นอกจากนั้น ภายในวิหารอันขรึมขลังศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ยังประดิษฐานพระศรีอริยเมตไตรย (หรือพระซัมบา) พระรูปของ ท่านปัทมสัมภาวะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสหัสหัตถ์ (พระเซ็นเรซี หรือพระกวนอิมโพธิสัตว์) เป็นต้น ภายนอกด้านหน้าวิหารมี แผ่นศิลาจารึก การเจรจาสันติภาพระหว่าง ทิเบต กับ จีน ในปี..821-822 สมัยพระเจ้าตรีซุกเตเซ็น จารึกเป็นภาษาทิเบตและภาษาจีน รวมถึงยังมี ก๊อกน้ำ ที่ชาวทิเบตเชื่อถือว่า เป็นสายน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ไหลขึ้นมาจากหนองน้ำในอดีตทำให้ชาวทิเบตและผู้มาเยือนต่างเข้าแถวยืนรองน้ำจากก๊อกดังกล่าว เพื่อใช้ชำระร่างกายก่อนเข้าไปสวดมนต์สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด ขึ้นไปบนยอดหลังคาปีกหน้าวิหาร มี กงล้อพระธรรมจักร และ กวางหมอบคู่หนึ่ง เป็นสัญลักษณ์การปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน รวมทั้งกระบอกมนตราขนาดใหญ่สีทอง แลไปเบื้องหน้าจะเห็นพระราชวังโปตาลาตั้งตระหง่าน เป็นฉากงามตระการยิ่งใหญ่มองลงไปเบื้องล่างรายรอบวัดโจคัง มีลานกว้างและตลาดใหญ่ ผู้คนเดินพลุกพล่านมากที่สุดในนครแห่งนี้ หมวดหมู่:ศาสนาพุทธแบบทิเบต หมวดหมู่:วัดในประเทศจีน.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และวัดโจคัง
วัดเทพพุทธาราม
วัดเทพพุทธาราม (เซียนฮุดยี่) (仙佛寺) เป็นวัดในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและสุขาวดี สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย แห่งแรกของจังหวัดชลบุรี สืบสายคำสอนมาจากนิกายเสียมจง หรือ นิกายฌานหรือเซน สาขาหลินฉี (วิปัสสนากรรมฐาน) เป็นศาสนสถานอันสง่างดงามที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง ซึ่งสร้างโดยพระเถระจีนนิกายฉายาว่า “พระอาจารย์ตั๊กฮี้” ท่านเป็นปฐมบูรพาจารย์ผู้สถาปนาสร้างวัดมีเนื้อที่วัดในปัจจุบันประมาณ 20 ไร่เศษ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 9 กุมภาพัน..
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และวัดเทพพุทธาราม
วิทยาราช
วิทยาราชทั้งห้าและกลุ่มเทพโลกบาล วิทยาราช (विद्याराज; หมิงหวัง) เป็นชื่อของเทพประเภทที่สามในศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน รองจากจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ตามลำดับ ชื่อในภาษาสันสกฤตแปลว่า "เจ้าแห่งความรู้" ภาษาจีนได้แปลชื่อดังกล่าวด้วยคำว่า 明 (หมิง) ซึ่งหมายความได้ทั้งแสงสว่างและความรอบรู้ ศาสนาพุทธแบบทิเบตเรียกว่า "เหรุกะ" สำหรับวิทยาราชที่เป็นเพศหญิง มีชื่อเรียกตามภาษาสันสกฤตว่า วิทยาราชินี (หมิงเฟย์) แต่การจำแนกวิทยราชตามเพศเช่นนี้มักจะถูกละเลยอยู่บ่อยครั้ง.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และวิทยาราช
ศาลพระกาฬ (จังหวัดลพบุรี)
ลพระกาฬ หรือเดิมเรียกว่า ศาลสูง เป็นโบราณสถานและศาสนสถานที่ตั้งอยู่กลางวงเวียนชื่อ วงเวียนศรีสุนทร บนถนนนารายณ์มหาราช ในเขตตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์สามยอด และเส้นทางรถไฟสายเหนือ ภายในเป็นที่ประดิษฐาน เจ้าพ่อพระกาฬ เทวรูปโบราณยุคขอมเรืองอำน.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และศาลพระกาฬ (จังหวัดลพบุรี)
ศาสนาพุทธแบบทิเบต
ระพุทธศาสนาแบบทิเบตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 587-8 (Tibetan Buddhism) คือพุทธศาสนาแบบหนึ่งซึ่งถือปฏิบัติในทิเบต และปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ ดินแดนทิเบตในอดีตมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามาก พุทธศาสนาแบบทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และศาสนาพุทธแบบทิเบต
ศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชา
กัมພູມາาเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ ความเป็นมากว่าพันปี โดยแต่เดิมเป็นดินแดนของกลุ่มชาติพันธ์มอญ-เขมร ที่มีหลักฐานว่าอพยพมาจากอินเดีย ในฐานะพ่อค้า หรือเพื่อการค้า ผ่านเข้ามาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอินโดจีน และตั้งถิ่นฐาน ผสมผสานกับคนในท้องถิ่นเดิม และกับคนที่อพยพมาทีหลัง ทั้งในชาติพันธุ์ และทางวัฒนธรรมมีความเจริญเพิ่มขึ้นตามลำดับ ต่อมาได้มีชนอินเดียเข้ามาติดต่อค้าขาย และได้นำเอาวัฒนธรรมอินเดียมาเผยแผ่ด้วย ทำให้กัมพูชารับเอาวัฒนธรรมอินเดีย ซึ่งก็คือพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน จากหลักฐานที่ปรากฏ กัมพูชาเป็นดินแดนแรก ๆ ที่รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนาเมื่อเข้ามาเผยแผ่เข้ามาสู่สุวรรณภูมิ รวมทั้งได้รับอิทธิพลในด้านความเจริญทางด้านจิตใจมาจากประเทศอินเดีย ศาสนาแรกที่เป็นศาสนาสำคัญของชาวกัมพูชา คือ ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาที่รองลงมา คือ พระพุทธศาสนา ศาสนาทั้งสองนี้ ได้กลายเป็นศาสนาหลัก และศาสนารองในสังคมกัมพูชา ดังปรากฏหลักฐานทางด้านจารึก โบราณดคี และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏผ่านปราสาทนครวัต ปราสาทนครธม และพลวัฒน์ทางพระพุทธศาสนาสืบมาจนกระทั่งปัจจุบัน โดยพัฒนาการของพระพุทธศาสนาที่ปรากฏสามารถจัดเป็นลำดับในแต่ละช่วงเวลาได้เป็นยุคต่าง ๆ ดังนี้.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชา
ศาสนาพุทธในประเทศไทย
ระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 สมัยเดียวกันกับประเทศศรีลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ 9 สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ทั้ง 7 ประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ตามยุคสมัยต่อไปนี้.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และศาสนาพุทธในประเทศไทย
สุขาวดี (นิกาย)
ระอมิตาภพุทธะและพระโพธิสัตว์ 2 องค์คือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (ขวา) และพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ (ซ้าย) ในวัดใกล้กับเมือง Meinong, มณฑลเกาสง, ไต้หวัน นิกายสุขาวดี (浄土教, Jōdokyō; 정토종, jeongtojong; Tịnh Độ Tông) เป็นนิกายในศาสนาพุทธที่ตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน แม้จะมีกำเนิดมาจากพระสูตรที่มาจากประเทศอินเดีย แต่ในอินเดียไม่ได้เป็นนิกายเอกเทศ นิกายนี้พระฮุ่นเจียงตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 9 สมัยราชวงศ์ตั้งจิ้น คำสอนของท่านเน้นการเจริญพุทธสติถึงพระอมิตาภพุทธะและปรารถนาไปเกิดในแดนสุขาวดี ในจีนเรียกนิกายนี้ว่า นิกายวิสุทธิภูมิ (จิ้งถู่จง).
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และสุขาวดี (นิกาย)
อวตาร
กัลกยาวตาร (อัศวินม้าขาว) อวตาร (अवतार, avatāra) คือการที่เทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูแบ่งภาคมาเกิดบนโลกมนุษย์ โดยเทพแบ่งพลังงานส่วนหนึ่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด ในลัทธิไวษณพถือว่าเมื่อศีลธรรมของมนุษย์เสื่อมลง จนเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว พระวิษณุจะอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ การอวตารส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพระวิษณุ แต่ก็ยังมีที่เชื่อมโยงกับเทวดาอื่น ๆ รายชื่อของพระนารายณ์อวตารปรากฏในคัมภีร์ฮินดูจำนวนมากรวมทั้งอวตารทั้งสิบในครุฑ ปุราณะ และอวตาร 22 ปางในภควัตปุราณะ รวมทั้งที่เพิ่มอีกภายหลังจนนับไม่ถ้วน พระวิษณุอวตารเป็นความเชื่อหลักของลัทธิไวษณพ หลักฐานเกี่ยวกับอวตารยุคแรก ๆ อยู่ในภควัทคีตา มีเรื่องราวเกี่ยวกับอวตารของพระศิวะและพระพิฆเนศ และเทพีต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่ผู้นับถือลัทธิศักติ อย่างไรก็ตาม อวตารของพระนารายณ์เป็นที่รู้จักมากที.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และอวตาร
อำเภออู่ทอง
อำเภออู่ทอง เป็นอำเภอที่อยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และอำเภออู่ทอง
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
ปรางค์ประธาน โบราณสถานหมายเลข 1 อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อยทางทิศเหนือในเขตตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แวดล้อมด้วยทิวเขาเป็นแนวยาวอยู่โดยรอบ ลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลง กว้างประมาณ 800 เมตร หมายถึงส่วนกว้างของเมือง ยาวประมาณ 850 เมตร และกำแพงสูง 7 เมตร มีประตูเข้าออก 4 ด้าน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ภายในเมืองมีสระน้ำ 6 สร.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
ธิดาพญามังกร
ทวรูปของธิดาพญามังกร ธิดาพญามังกร หรือที่ชาวไทยนิยมเรียกทับศัทพ์ภาษาจีนว่า เง็กนึ้ง เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์โดยนิยมประดิษฐานนับถือคู่กันกับสุธนกุมาร.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และธิดาพญามังกร
ทะไลลามะ
ทะไลลามะ (ทิเบต: ཏཱ་ལའི་བླ་མ་, taa la’i bla ma, จีนตัวเต็ม: 達賴喇嘛; จีนตัวย่อ: 达赖喇嘛; พินอิน: Dálài Lǎmā) เป็นตำแหน่งประมุขหัวหน้าคณะสงฆ์ในพุทธศาสนานิกายมหายานแบบทิเบตเกลุก (นิกายหมวกเหลือง) เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณสูงสุดของชาวทิเบต ทะไลลามะ มาจากภาษามองโกเลีย dalai แปลว่า มหาสมุทร และภาษาทิเบต བླ་མ ་bla-ma แปลว่า พระชั้นสูง (ทะไลลามะ บางครั้งหรือนิยมออกเสียว่า ดาไลลามะ) ตามประวัติศาสตร์ของทิเบต เชื่อว่าองค์ทะไลลามะเป็นอวตารในร่างมนุษย์ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และเมื่อองค์ทะไลลามะองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ไป จะกลับชาติมาประสูติใหม่เป็นองค์ทะไลลามะองค์ต่อไป โดยเรทิงรินโปเช ซึ่งเป็นพระสงฆ์ระดับรองลงมาจะเป็นผู้ใช้นิมิตสรรหาเด็กคนที่เชื่อว่าเป็นทะไลลามะกลับชาติมาเกิด ปัจจุบัน ดาไลลามะ เป็นองค์ที่ 14 ชื่อ เทนซิน เกียตโซ(Tenzin Gyatso)..
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และทะไลลามะ
คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย
ณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย เป็นคณะสงฆ์นิกายมหายานของชาวไทยเชื้อสายจีน ถือกำเนิดมาจากชาวจีนที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบนผืนแผ่นดินไทย ได้นำเอาวัฒนธรรม ศาสนา และความเชื่อดั้งเดิมของตนเข้ามาประพฤติปฏิบัติ แรกเริ่มที่ยังไม่มีพระภิกษุ ชาวจีนได้สร้างศาลเจ้าจีนขึ้นก่อนเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวและเป็นศูนย์กลางในการประกอบพิธีกรรม ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระภิกษุจีนแถบมณฑลกวางตุ้งจาริกเข้ามาปฏิบัติศาสนกิจมากขึ้น นำไปสู่การจัดระเบียบการบริหารการปกครอง คณะสงฆ์จีนได้ถือกำเนิดขึ้นบนแผ่นดินไทยและมีความเจริญสืบเนื่องมาจวบจนปัจจุบัน ในปัจจุบันการปกครองคณะสงฆ์จีนนิกายเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย
ประวัติศาสตร์ทิเบต
ทิเบต ตั้งอยู่ในใจกลางของทวีปเอเชียระหว่างประเทศจีนกับอินเดีย ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร ในบริเวณที่มีภูเขาและที่ราบสูงที่สุดในโลก มีอากาศแห้งและหนาวเย็น รวมทั้งที่ราบกลางหุบเขาริมแม่น้ำอันกว้างใหญ่หลายสาย อันเป็นที่พำนักพิงของชาวธิเบต ผู้ซึ่งมีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง มาเป็นเวลาช้านาน และมีชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างจากผู้คนในประเทศเพื่อนบ้าน ชาวธิเบตได้มีการพัฒนาทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ในตนเอง ทั้งยังมีการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ได้แก่ การมีภาษาที่โดดเด่น มีวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ และมีผลงานศิลปะที่น่ามหัศจรรย์ นอกจากนี้ อารยธรรมของชาวธิเบต ซึ่งสืบเนื่องมาเป็นเวลาหลายพันปีนั้น ยังเป็นอารยธรรมที่สูงส่ง และมีคุณค่าสืบทอดต่อกันมา เป็นมรดกของมนุษยชาต.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และประวัติศาสตร์ทิเบต
ประเทศกัมพูชา
กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และประเทศกัมพูชา
ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร (प्रज्ञापारमिताहृदय, สันสกฤต-โรมาไนซ์: Prajñāpāramitā Hṛdaya; 摩訶般若波羅蜜多心經; རིན་ཆེན་སྡེ.) คือพระสูตรที่สำคัญและเป็นที่นิยมยิ่งในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ชื่อ "ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร" มีความหมายตามตัวอักษรว่า "พระสูตรอันเป็นหัวใจแห่งปฏิปทาอันยวดยิ่งแห่งความรู้แจ้ง" ในภาษาอังกฤษมักแปลโดยสังเขปว่า "หฤทัยสูตร" (The Heart Sūtra) พระสูตรนี้มักได้รับการยอมรับว่าเป็นพระสูตรที่มีผู้รู้จักและนิยมที่สุดมากกว่าพระสูตรใดของพุทธศาสน.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
ปราสาทบันทายกเดย
ปราสาทบันทายกเดย ปราสาทบันทายกเดย (ប្រាសាទបន្ទាយក្តី; อ่านว่า บัน-ทาย-กะ-เดย) สร้างในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กลางพุทธศตวรรษที่ 18 ในศาสนาพุทธนิกายมหายาน หลังจากเดินผ่านโคปุระเข้ามาจะผ่านสะพานนาคราชก่อนเข้าสู่ปราสาท มีร่องรอยของยุคสมัยที่แตกต่างกัน 2 ยุค คือนครวัดและบายน มีลักษณะรูปแบบคล้ายปราสาทตาพรหม และปราสาทพระขรรค์ แต่มีขนาดเล็กกว่า โคปุระทั้ง 4 แห่งมีพระพักตร์ของพระอวโลกิเตศวร หันพระพักตร์ไปทั้ง 4 ทิศ เช่นเดียวกับปราสาทบายน โดยมีกำแพงล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ทางเข้าประกอบด้วยกับโคปุระทั้ง 4 มีพื้นที่โดยรวมขนาด 800 x 400 เมตร ความมุ่งหมายในการสร้างปราสาทยังไม่แน่ชัด บันทายกเดย หมวดหมู่:ปราสาทขอม.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และปราสาทบันทายกเดย
ปราสาทนาคพันธ์
ระน้ำตรงกลางของปราสาทนาคพันธ์ ถนนไปที่วัด ปราสาทนาคพันธ์ (ប្រាសាទនាគព័ន្ធ บฺราสาทนาคพันฺธ; Neak Pean / Neak Poan) เป็นปราสาทขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนฐานกลมที่มีลักษณะซ้อนลดหลั่นกันลงไปเป็นชั้น ๆ ชั้นสุดท้ายเป็นรูปพญานาค 7 เศียร 2 ตัว โอบล้อมฐานของปราสาทโดยหันส่วนหัวไปทางทิศตะวันออก และส่วนหาง วนอ้อมฐานมาบรรจบกันทางทิศตะวันตก ที่ฐานของปราสาทจำหลักรูปดอกบัวรองรับตัวปราสาท และมีรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประดิษฐานอยู่ที่ปราสาททั้ง 4 ทิศ ปราสาทนาคพันธ์ สร้างอยู่กลางสระสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดใหญ่ มีบ่อน้ำขนาดเล็กตั้งอยู่โดยรอบทั้ง 4 ทิศ แต่ละบ่อมีส่วนที่เชื่อมต่อกับสระใหญ่ตรงกลางเพื่อให้น้ำจากสระใหญ่สามารถไหลไปสู่บ่อเล็กได้ การก่อสร้างปราสาทนาคพันธ์น่าจะเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อทางศาสนา ผังของปราสาทเป็นลักษณะการจำลองของสระอโนดาต สระอโนดาตเป็นสระน้ำบนสวรรค์มีน้ำที่ใสสะอาดและเต็มเปี่ยมอยู่ตลอดเวลา มีท่าน้ำอยู่ 4 ท่า น้ำในสระอโนดาตจะไหลออกตามช่องภูเขาที่ตั้งอยู่ทั้ง 4 ทิศของสระ ซึ่งปากช่องของภูเขาแต่ละลูกจะเป็นรูปหน้าของสัตว์ 4 ชนิด คือ สิงห์ ช้าง ม้า และวัว ใน "ย้อนรอยอารยะเมืองพระนคร" ซึ่งเขียนโดย ชากส์ คูมาร์เชย์ และแปลโดยอาจารย์วีระ ธีรภัทร ได้กล่าวถึงรูปจำหลักในทิศทั้ง 4 ของปราสาทนาคพันธ์ว่า ที่สระน้ำทางทิศตะวันตกมีหินสลักเป็นรูปหัวมนุษย์ สระน้ำทางทิศเหนือมีหินสลักเป็นรูปหัวช้าง สระน้ำทางทิศตะวันออกมีหินสลักเป็นรูปหัวม้า และสระน้ำทางทิศใต้มีหินสลักเป็นรูปหัวสิงห์ จะเห็นว่าช่างขอมจำหลักรูปหน้าสัตว์ประจำทิศในแต่ละทิศตามคติความเชื่อเรื่องสระอโนดาต แต่ในทิศตะวันตกกลับจำหลักรูปหน้าคนแทนหน้าวัว คติความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการสร้างปราสาทนาคพันธ์มีทั้งความเชื่อทางพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูปะปนกัน ตัวปราสาทกลางสระสร้างตามความเชื่อทางศาสนาพุทธ แต่ไม่ปรากฏรูปพระพุทธเจ้ากลับมีรูปสลักของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรแทน.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และปราสาทนาคพันธ์
นครธม
อวโลกิเตศวร ที่ประตูด้านใต้ ประตูทางเข้านครธมด้านใต้ นครธม (អង្គរធំ) เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในเมืองมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรกๆ และที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน และมีพื้นที่สำคัญอื่นๆ รายล้อมพื้นที่ชัยภูมิถัดไปทางเหนือ จุดเด่นที่สุดคือทางเข้าด้านใต้ ที่มีลักษณะเป็นหน้า 4 หน้า ก่อนจะเข้าสู่บริเวณนี้ จะเป็นแถวของยักษ์ (อสูร) ทางด้านขวา และเทวดาทางด้านซ้าย เรียงรายแบกพญานาคอยู่สองข้างสะพาน เมื่อเข้าสู่ใจกลางนครธมจะพบสิ่งก่อสร้างต่างๆ บริเวณประตูด้านใต้นี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ได้ดีกว่าบริเวณอื่นๆ อีก 3 ด้าน.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และนครธม
โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ
ัญลักษณ์มูลนิธิเทียนฟ้า มูลนิธิเทียนฟ้าและศาลเจ้า เทียนฟ้ามูลนิธิ หรือ โรงพยาบาลมูลนิธิเทียนฟ้า (Tien Fah foundation; ตัวเต็ม: 天華醫院; ตัวย่อ: 天华医院; พินอิน: Tiān huá yī yuàn; จีนกลาง: เทียนหัวอีเยียน; จีนแคะ: เทียนฝายีเหย่น; ฮกเกี้ยน: เถี้ยนหัวอี่ก้วน;แต้จิ๋ว: เทียนฮั้วอุยอี้) เป็นโรงพยาบาลและมูลนิธิตั้งอยู่ที่ถนนเยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร มีสถานที่ใกล้เคียงคือ วัดไตรมิตรวิทยาราม วงเวียนโอเดี้ยน เป็นต้น.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ
เทศกาลพ้อต่อ
ทศกาลพ้อต่อ (ตัวเต็ม: 普渡, ตัวย่อ: 普渡, พินอิน: Pǔ dù ผูตู้, ฮกเกี้ยน: พ้อต่อ) จะจัดประมาณ วันสารทจีน เป็นงานที่จัดขึ้นตามความเชื่อของชาวจีน ในประเทศไทยมีการจัดงานนี้ขึ้นในจังหวัดภูเก็ต โดยได้รับอิทธิพลจากชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากเมื่อร้อยกว่าปีก่อน โดยจัดตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน (七月十五日) (ตรงกับเดือน 9 ปฏิทินจันทรคติไทย) ในช่วงเทศกาลดังกล่าวผู้คนจะหาของมาเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และวิญญาณเร่ร่อนทั้งหล.
ดู พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และเทศกาลพ้อต่อ
หรือที่รู้จักกันในชื่อ พระอวโลกิเตศวร