เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระอมิตาภพุทธะ

ดัชนี พระอมิตาภพุทธะ

ระอมิตาภพุทธะ (अमिताभ बुद्ध) เป็นพระธยานิพุทธะที่ประทับในแดนสุขาวดี ซึ่งเป็นพุทธเกษตรแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก พระองค์มีรูปกายเป็นสีแดง นับถือกันมากในนิกายสุขาวดี ควบคู่กับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์หรือเจ้าแม่กวนอิม แต่ไม่เป็นที่ยอมรับในนิกายเถรวาท เพราะไม่มีกล่าวถึงในพระไตรปิฎกภาษาบาลี.

สารบัญ

  1. 37 ความสัมพันธ์: พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์พระมัญชุศรีโพธิสัตว์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์พระธยานิพุทธะพระนางตาราพระโคตมพุทธเจ้าพระไภษัชยคุรุพระไภษัชยคุรุทั้ง 7พระไวโรจนพุทธะพระเจ้าห้าพระองค์พุทธเกษตรมหามยุรีมหายานรายพระนามเทวดาจีนรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยวัดบำเพ็ญจีนพรตวัดมังกรกมลาวาสวัดนิชิฮงงันวัดนินนะวัดโทวัดโคโตะกุวัดไซโฮวัดเทพพุทธารามวิทยาราชศาสนาพุทธแบบทิเบตศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นศาสนาพุทธในประเทศเซเนกัลสุขาวดีสุขาวดี (นิกาย)อวตารอารามป่าวเหลียนอาทิพุทธะธรรมกายดิอะเมซิ่งเรซ 19ปรัชญาปารมิตาไถหนันเทศกาลพ้อต่อ

พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์

ระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์อัครสาวกของพระอมิตาภพุทธะเช่นเดียวกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แต่มีคนรู้จักน้อยกว่า ถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ด้านกำลัง สะท้อนพลังจิตที่เข้มแข็งของพระพุทธเจ้า ใกล้เคียงกับความหมายของพระสมันตภัทรโพธิสัตว.

ดู พระอมิตาภพุทธะและพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์

ระมัญชุศรีโพธิสัตว์ (मञ्जुश्री Mañjuśrī; 文殊 Wénshū หรือ 文殊師利菩薩 Wénshūshili Púsà; もんじゅ Monju; འཇམ་དཔལ་དབྱངས། Jampelyang; मंजुश्री Manjushree) เป็นพระโพธิสัตว์ในกลุ่มตถาคตโคตรของพระไวโรจนพุทธะ ชื่อของท่านแปลว่า แสงอันอ่อนหวานหรืออ่อนโยน เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือในทิเบตรองลงมาจากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ชื่อของท่านมีปรากฏในพระสูตรต่างๆมากมาย เช่น สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายปัญญาและมีหน้าที่คุ้มครองนักปราชญ.

ดู พระอมิตาภพุทธะและพระมัญชุศรีโพธิสัตว์

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

ระอวโลกิเตศวร เป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน ที่มีผู้เคารพศรัทธามากที่สุด และเป็นบุคลาธิษฐานแห่งมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน อาทิ ปรัชญาปารมิตาสูตร สัทธรรมปุณฑรีกสูตร และการัณฑวยูหสูตฺร.

ดู พระอมิตาภพุทธะและพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

พระธยานิพุทธะ

ระธยานิพุทธะ ศิลปะทิเบต พระธยานิพุทธะหรือพระฌานิพุทธะ (บางแห่งเรียกพระชินพุทธะ) เป็นพระพุทธเจ้าในคติความเชื่อของมหายาน เชื่อว่าอวตารมาจากพระอาทิพุทธะ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌานของอาทิพุทธะ ไม่ได้ลงมาสร้างบารมีเหมือนพระมานุสสพุทธะ (พระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์) ดำรงในสภาวะสัมโภคกาย มีแต่พระโพธิสัตว์ที่เห็นพระองค์ได้.

ดู พระอมิตาภพุทธะและพระธยานิพุทธะ

พระนางตารา

ระนางตาราเขียวหรือพระศยามตาราโพธิสัตว์ Kumbm, Gyantse, Tibet, 2536 พระนางตารา พระโพธิสัตว์ตารา หรือ พระแม่ตารา เป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายหญิงในพระพุทธศาสนา โดยมีสายการปฏิบัติสืบทอดอย่างต่อเนื่องในวัชรยาน คำว่าตารามาจากภาษาสันสกฤตหมายถึงข้าม การบูชาพระนางเริ่มเมื่อพุทธศตวรรษที่ 8 - 11 ในอินเดียเหนือและแพร่หลายที่สุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 - 17 โดยถือว่าเป็นชายาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปัจจุบันมีนับถือในอินเดีย เนปาล และ ทิเบต ส่วนชาวพุทธในจีนจะนับถือเจ้าแม่กวนอิมที่เป็นภาคหญิงของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์แทน.

ดู พระอมิตาภพุทธะและพระนางตารา

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ดู พระอมิตาภพุทธะและพระโคตมพุทธเจ้า

พระไภษัชยคุรุ

วัดโฮรีว พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าที่พบเฉพาะในนิกายมหายาน ไม่พบในฝ่ายเถรวาท พระนามของท่านหมายถึงพระตถาคตเจ้าผู้เป็นบรมครูแห่งยารักษาโรค ผู้มีรัศมีสีน้ำเงินดังไพฑูรย์ พระนามอื่นๆของท่านคือ พระไภษัชยคุรุตถาคต พระมหาแพทย์ราชาพุทธเจ้า พระมหาไภษัชยราชพุทธเจ้า เป็นที่นิยมนับถือในหมู่ชาวจีนและชาวทิเบต.

ดู พระอมิตาภพุทธะและพระไภษัชยคุรุ

พระไภษัชยคุรุทั้ง 7

ระไภษัชยคุรุทั้ง 7 เป็นกลุ่มของพระพุทธเจ้าตามคติของมหายานกลุ่มหนึ่ง มีจำนวน 7 พระองค์ เป็นที่นับถือกันมาในทิเบตและเนปาล โดยพระพุทธะแต่ละองค์จะมีโลกธาตุหรือพุทธเกษตรเป็นของตนเองเช่นเดียวกับแดนสุขาวดีของพระอมิตาภะ ในบรรดาพระพุทธเจ้ากลุ่มนี้ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาเป็นที่นับถือมากที.

ดู พระอมิตาภพุทธะและพระไภษัชยคุรุทั้ง 7

พระไวโรจนพุทธะ

ระไวโรจนพุทธะราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 219เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ ของนิกายวัชรยาน ทรงเป็นประธานของพระพุทธะทั้ง 5 หมายถึงปัญญาอันสูงสุด ตราประจำพระองค์เป็นธรรมจักร หมายถึง ความเป็นหนึ่ง พระกายเป็นแสงสว่าง มักแทนด้วยสีขาว ตำแหน่งในพุทธมณฑลจะอยู่ตรงกลางโดยมีพุทธะอีก 4 องค์ห้อมล้อม พระโพธิสัตว์ในกลุ่มของท่านที่สำคัญมี 2 องค์ คือ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ และพระมัญชุศรีโพธิสัตว.

ดู พระอมิตาภพุทธะและพระไวโรจนพุทธะ

พระเจ้าห้าพระองค์

ระเจ้าห้าพระองค์ อาจหมายถึง.

ดู พระอมิตาภพุทธะและพระเจ้าห้าพระองค์

พุทธเกษตร

ทธเกษตร (อาณาจักรแห่งพระพุทธเจ้า) หรือ วิสุทธิภูมิ (ดินแดนบริสุทธิ์) ตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายาน คือดินแดนที่พระพุทธเจ้าทรงสร้างขึ้นด้วยปณิธานของแต่ละพระองค์ แดนพุทธเกษตรไม่ใช่นิพพาน แต่มีลักษณะคล้ายสวรรค์ เป็นภูมิที่สาวกของพระพุทธเจ้าใช้ปฏิบัติธรรมต่อหลังจากสิ้นชีวิตบนโลกเพื่อบรรลุนิพพานต่อไป.

ดู พระอมิตาภพุทธะและพุทธเกษตร

มหามยุรี

ระมหามยุรีโพธิสัตว์ พระมหามยุรี (孔雀明王; Mahamayuri) เป็นวิทยาราชองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่นับถือในศาสนาพุทธนิกายมหายานในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มักมีรูปลักษณ์เป็นที่สังเกตได้ง่าย โดยปรากฏเป็นเทวดาประทับบนนกยูง มีตำนานปรากฏในธารณีชื่อมหามยุรีวิทยาราชามหาธารณี.

ดู พระอมิตาภพุทธะและมหามยุรี

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ดู พระอมิตาภพุทธะและมหายาน

รายพระนามเทวดาจีน

ทความนี้รวบรวมเทพเจ้าของจีนต่าง.

ดู พระอมิตาภพุทธะและรายพระนามเทวดาจีน

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ดู พระอมิตาภพุทธะและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

วัดบำเพ็ญจีนพรต

วัดบำเพ็ญจีนพรต (ย่งฮกยี่) (永福寺) สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย เป็นปฐมสังฆารามฝ่ายมหายานและอนุตตรธรรม จีนนิกาย (นิกายฌาณ สาขาหลินฉี)ตั้งอยู่ในตรอกวัดกันมาตุยาราม ถนนเยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ.

ดู พระอมิตาภพุทธะและวัดบำเพ็ญจีนพรต

วัดมังกรกมลาวาส

"ซำป้อหุกโจ้ว" ชื่อเรียกสามพระประธานประจำวัดมังกรกมลาวาส วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ (ตัวเต็ม: 龍蓮寺, ตัวย่อ: 龙莲寺, พินอิน: Lóng lián sì หลงเหลียนซื่อ, ฮกเกี้ยน: เล้งเหลียนซี่, สำเนียงแต้จิ๋ว: เล่งเน่ยยี่, สำเนียงกวางตุ้ง: หล่งลิ่นจี๋, สำเนียงฮากกา: หลุ่งเหลี่ยนซื้อ) เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ระหว่าง ซอยเจริญกรุง 19 และ 21 ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นที่คุ้นเคยในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีนจากต่างประเทศ วัดนี้ บางคนเรียกว่า "วัดมังกร" เพราะคำว่า "เล่ง" หรือ "เล้ง" ในภาษาจีนแต้จิ๋ว แปลว่ามังกร (คำว่า “เน่ย” แปลว่า ดอกบัวและคำว่า “ยี่” แปลว่า วัด) ชื่อวัดอย่างเป็นทางการคือ "วัดมังกรกมลาวาส" พระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5.

ดู พระอมิตาภพุทธะและวัดมังกรกมลาวาส

วัดนิชิฮงงัน

วัดนิชิฮงงัน หรือ วัดฮงงันตะวันตก เป็นหนึ่งในสองวัดพุทธของสำนักโจโดชินชูในนครเคียวโตะ อีกวัดหนึ่งคือ วัดฮิงะชิฮงงัน (วัดฮงงันตะวันออก) วัดแห่งนี้ถูกจัดตั้งขึ้นใน..

ดู พระอมิตาภพุทธะและวัดนิชิฮงงัน

วัดนินนะ

วัดนินนะ วัดในพระพุทธศาสนานิกายชิงงงที่ตั้งอยู่ในเมืองเคียวโตะ สร้างขึ้นเมื่อ..

ดู พระอมิตาภพุทธะและวัดนินนะ

วัดโท

ีย์ห้าชั้นแห่งวัดโท วัดโท เป็นวัดพุทธในสายชินงอน ตั้งอยู่ในเมืองเคียวโตะ ชื่อของวัดมีความหมายว่า วัดตะวันออก ในอดีตเคยมีวัดไซจิ หรือวัดตะวันตก อยู่เป็นคู่กัน ทั้งสองวัดนี้ตั้งอยู่ข้างประตูราโช ซึ่งเป็นประตูเมืองของเมืองหลวงเฮย์อัน มีชื่อที่เป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการว่า Kyō-ō-gokoku-ji ชื่อนี้บ่งชี้ว่าในอดีตเป็นวัดที่สร้างขึ้นเพื่อให้คอยปกป้องคุ้มครองประเทศชาติ วัดโทนี้ตั้งอยู่ในเขตมินามิ ใกล้กับทางแยกที่ถนนโอมิยะตัดกับถนนคุโจ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสถานีรถไฟเกียวโต วัดโทสร้างขึ้นเมื่อปี 796 สองปีหลังจากที่ย้ายเมืองหลังมายังเฮย์อัน หรือเกียวโตในปัจจุบัน ในปี 823 พระโคโบะ ไดชิ หรือคุไค ได้เข้ามาดำเนินการต่อเติมและพัฒนาวัดตามพระบัญชาของจักรพรรดิซางะ พระประธานของวัดคือ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา (Yakushi Nyorai) หรือพระพุทธเจ้าหมอ อาคารโบราณในวัดโท พระไภษัชยคุรุ พระไวโรจนพุทธะ พระอมิตาภพุทธะ ไตรโลกยวิชยะ 150px ยมานตกะ ท้าวเวสวัณ พระโพธิสัตว์ เจดีย์ของวัดโทมีความสูง 57 เมตร จัดว่าเป็นอาคารไม้ที่สูงที่สุดในญี่ปุ่น ประวัติความเป็นมาย้อนหลังไปได้ตั้งแต่สมัยเอโดะ เมื่อครั้งที่เจดีย์ถูกสร้างขึ้นใหม่ตามคำสั่งของอิเอมิตสึ โชกุนรุ่นที่ 3 แห่งตระกูลโทคุงาวะ ปัจจุบันเจดีย์นี้เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองเกียวโต ทางเข้าสู่ภายในเจดีย์จะเปิดให้เข้าชมเพียงไม่กี่วันในแต่ละปี อาคารต่างๆของวัดโทเป็นสถานที่เก็บรักษาพระพุทธรูปโบราณจำนวนมาก ในลานวัดมีสวนหย่อมและสระน้ำที่เลี้ยงเต่าและปลาคาร์ปไว้ และยังมีโรงเรียนราคุนัน ซึ่งดำเนินการโดยทางวัดเอง นักเรียนจากที่นี่สามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำเป็นจำนวนมาก จากความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และความเป็นศูนย์กลางแห่งจิตวิญญาณ องค์การยูเนสโกจึงขึ้นทะเบียนวัดโทให้เป็นมรดกโลก พร้อมกับสถานที่อื่นๆในเมืองเกียวโต ในวันที่ 21 ของทุกเดือน ในลานวัดจะมีการจัดเป็นตลาดนัด มีชื่อเรียกกันว่า โคโบะซัน (Kobo-san) เพื่อระลึกถึงพระโคโบะ ไดชิ ซึ่งมรณภาพในวันที่ 21 มีนาคม ตลาดนัดนี้จำหน่ายสินค้าจำพวกของเก่า ผลงานศิลปะ เสื้อผ้า เครื่องปั้นดินเผา อาหาร และของใช้มือสองต่างๆ ตลาดนัดครั้งที่ใหญ่ที่สุดจะจัดขึ้นในวันที่ 21 ธันวาคม ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของปี ในลานวัดโทจะมีจัดตลาดขายของเก่าที่มีขนาดเล็กกว่าโคโบะซัน โดยจัดขึ้นในวันอาทิตย์แรกของแต่ละเดือน.

ดู พระอมิตาภพุทธะและวัดโท

วัดโคโตะกุ

ระพุทธรูปอมิตาภะแห่งวัดโคโตกุ วัดโคโตะกุ หรือ โคโตะกุอิง (แปลว่าที่พักอันมีความดีอันสูงส่ง) เป็นวัดพุทธในเมืองคะมะกุระ จังหวัดคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่น วัดนี้เป็นที่รู้จักจากพระพุทธรูปไดบุสึ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปอมิตาภะองค์ใหญ่หล่อจากบรอนซ์ตั้งอยู่กลางแจ้ง เป็นสัญลักษณ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น พระพุทธรูปองค์นี้สูง 13.35 เมตร หนักประมาณ 93 ตัน เป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่เป็นอันดับสองในญี่ปุ่น รองจากพระพุทธรูปในวัดโทได จังหวัดนะระ ประวัติของพระพุทธรูปอาจย้อนหลังไปถึงเมื่อปี พ.ศ.

ดู พระอมิตาภพุทธะและวัดโคโตะกุ

วัดไซโฮ

วัดไซโฮ เป็นวัดนิกายเซนของสำนักรินไซ ตั้งอยู่ในเขตนิชิเกียว นครเคียวโตะ วัดแห่งนี้มีสวนมอสที่มีชื่อเสียง ทำให้มีฉายาว่า วัดมอส (苔寺 โคะเกะ เดะระ) วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในยุคนะระเพื่อเป็นพุทธบูชาต่อพระอมิตาภพุทธะ วัดไซโฮถูกเพลิงไหม้วอดในสงครามโอนินระหว่างปี..

ดู พระอมิตาภพุทธะและวัดไซโฮ

วัดเทพพุทธาราม

วัดเทพพุทธาราม (เซียนฮุดยี่) (仙佛寺) เป็นวัดในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและสุขาวดี สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย แห่งแรกของจังหวัดชลบุรี สืบสายคำสอนมาจากนิกายเสียมจง หรือ นิกายฌานหรือเซน สาขาหลินฉี (วิปัสสนากรรมฐาน) เป็นศาสนสถานอันสง่างดงามที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง ซึ่งสร้างโดยพระเถระจีนนิกายฉายาว่า “พระอาจารย์ตั๊กฮี้” ท่านเป็นปฐมบูรพาจารย์ผู้สถาปนาสร้างวัดมีเนื้อที่วัดในปัจจุบันประมาณ 20 ไร่เศษ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 9 กุมภาพัน..

ดู พระอมิตาภพุทธะและวัดเทพพุทธาราม

วิทยาราช

วิทยาราชทั้งห้าและกลุ่มเทพโลกบาล วิทยาราช (विद्याराज; หมิงหวัง) เป็นชื่อของเทพประเภทที่สามในศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน รองจากจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ตามลำดับ ชื่อในภาษาสันสกฤตแปลว่า "เจ้าแห่งความรู้" ภาษาจีนได้แปลชื่อดังกล่าวด้วยคำว่า 明 (หมิง) ซึ่งหมายความได้ทั้งแสงสว่างและความรอบรู้ ศาสนาพุทธแบบทิเบตเรียกว่า "เหรุกะ" สำหรับวิทยาราชที่เป็นเพศหญิง มีชื่อเรียกตามภาษาสันสกฤตว่า วิทยาราชินี (หมิงเฟย์) แต่การจำแนกวิทยราชตามเพศเช่นนี้มักจะถูกละเลยอยู่บ่อยครั้ง.

ดู พระอมิตาภพุทธะและวิทยาราช

ศาสนาพุทธแบบทิเบต

ระพุทธศาสนาแบบทิเบตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 587-8 (Tibetan Buddhism) คือพุทธศาสนาแบบหนึ่งซึ่งถือปฏิบัติในทิเบต และปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ ดินแดนทิเบตในอดีตมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามาก พุทธศาสนาแบบทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต.

ดู พระอมิตาภพุทธะและศาสนาพุทธแบบทิเบต

ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น

ระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลี ในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นชื่อ นิฮงโชคิ ได้บันทึกไว้ว่า วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.

ดู พระอมิตาภพุทธะและศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น

ศาสนาพุทธในประเทศเซเนกัล

ระพุทธศาสนาในประเทศเซเนกัล เริ่มต้นขึ้นเมื่อได้มีชาวเวียดนามอพยพเข้ามาในประเทศเซเนกัล และได้นำพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ในกลุ่มชาวพุทธทั้งหมดในเซเนกัลมีอยู่ประมาณ 0.01% ในจำนวนนี้ จะเป็นชาวเวียดนาม 99% พวกเขาจะสวดมนต์ "Nam mô A Di Đà Phật" เพื่อระลึกถึงพระอมิตาภะพุทธะ และชาวเวียดนามมีความเชื่อเกี่ยวกับ พระโพธิสัตว์และกวนอิมเป็นต้น หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ศาสนาพุทธ หมวดหมู่:ประเทศเซเนกัล.

ดู พระอมิตาภพุทธะและศาสนาพุทธในประเทศเซเนกัล

สุขาวดี

ตรกรรมฝาผนัง ''พุทธเกษตรของพระอมิตาภะ'' ที่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งเบอร์มิงแฮม ตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายาน สุขาวดี (सुखावती สุขาวตี) คือพุทธเกษตรของพระอมิตาภพุทธะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของโลก สุขาวดีไม่ใช่นิพพาน แต่เป็นภูมิที่สาวกของพระอมิตาภะใช้ปฏิบัติธรรมต่อหลังจากสิ้นชีวิตบนโลกเพื่อบรรลุนิพพานต่อไป.

ดู พระอมิตาภพุทธะและสุขาวดี

สุขาวดี (นิกาย)

ระอมิตาภพุทธะและพระโพธิสัตว์ 2 องค์คือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (ขวา) และพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ (ซ้าย) ในวัดใกล้กับเมือง Meinong, มณฑลเกาสง, ไต้หวัน นิกายสุขาวดี (浄土教, Jōdokyō; 정토종, jeongtojong; Tịnh Độ Tông) เป็นนิกายในศาสนาพุทธที่ตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน แม้จะมีกำเนิดมาจากพระสูตรที่มาจากประเทศอินเดีย แต่ในอินเดียไม่ได้เป็นนิกายเอกเทศ นิกายนี้พระฮุ่นเจียงตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 9 สมัยราชวงศ์ตั้งจิ้น คำสอนของท่านเน้นการเจริญพุทธสติถึงพระอมิตาภพุทธะและปรารถนาไปเกิดในแดนสุขาวดี ในจีนเรียกนิกายนี้ว่า นิกายวิสุทธิภูมิ (จิ้งถู่จง).

ดู พระอมิตาภพุทธะและสุขาวดี (นิกาย)

อวตาร

กัลกยาวตาร (อัศวินม้าขาว) อวตาร (अवतार, avatāra) คือการที่เทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูแบ่งภาคมาเกิดบนโลกมนุษย์ โดยเทพแบ่งพลังงานส่วนหนึ่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด ในลัทธิไวษณพถือว่าเมื่อศีลธรรมของมนุษย์เสื่อมลง จนเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว พระวิษณุจะอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ การอวตารส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพระวิษณุ แต่ก็ยังมีที่เชื่อมโยงกับเทวดาอื่น ๆ รายชื่อของพระนารายณ์อวตารปรากฏในคัมภีร์ฮินดูจำนวนมากรวมทั้งอวตารทั้งสิบในครุฑ ปุราณะ และอวตาร 22 ปางในภควัตปุราณะ รวมทั้งที่เพิ่มอีกภายหลังจนนับไม่ถ้วน พระวิษณุอวตารเป็นความเชื่อหลักของลัทธิไวษณพ หลักฐานเกี่ยวกับอวตารยุคแรก ๆ อยู่ในภควัทคีตา มีเรื่องราวเกี่ยวกับอวตารของพระศิวะและพระพิฆเนศ และเทพีต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่ผู้นับถือลัทธิศักติ อย่างไรก็ตาม อวตารของพระนารายณ์เป็นที่รู้จักมากที.

ดู พระอมิตาภพุทธะและอวตาร

อารามป่าวเหลียน

อารามป่าวเหลียน เป็นวิหารของศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ในที่ราบอั๋งผิง (นองปิง) บนเกาะลันเตาของฮ่องกง สร้างขึ้นเมื่อปี..

ดู พระอมิตาภพุทธะและอารามป่าวเหลียน

อาทิพุทธะ

ระวัชรธารพุทธะ พระอาทิพุทธะเป็นพระพุทธเจ้าที่พบในคติความเชื่อของพุทธศาสนามหายานบางกลุ่ม ไม่พบในฝ่ายเถรวาท โดยเชื่อว่าอาทิพุทธะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรก กำเนิดขึ้นพร้อมกับโลก อยู่ในโลกชั่วนิรันดร์ เป็นพระผู้สร้างสรรพสิ่งในโลก และเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ประทับบนพรหมโลกชั้นอกนิฏฐ์ มีสถานะเสมอปรมาตมันในศาสนาฮินดูราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 15-16.

ดู พระอมิตาภพุทธะและอาทิพุทธะ

ธรรมกาย

รรมกาย (धर्म काय ธรฺมกาย, จีน: 法身, พินอิน: fǎshēn) คือพระนามหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในความหมายของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และคือพระกายหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏอยู่ในทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน.

ดู พระอมิตาภพุทธะและธรรมกาย

ดิอะเมซิ่งเรซ 19

อะเมซิ่ง เรซ 19 (The Amazing Race 19) เป็นฤดูกาลที่ 19 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอ.

ดู พระอมิตาภพุทธะและดิอะเมซิ่งเรซ 19

ปรัชญาปารมิตา

ระปรัชญาปารมิตา ปรัชญาปารมิตาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 429-430 (อักษรเทวนาครี: प्रज्ञा पारमिता, Shes-rab-pha-rol-phyin ་ཤེས་རབ་ཕ་རོལ་, 般若波羅蜜多/般若波罗蜜多, Pinyin: bō'ruò-bōluómìduō; hannya-haramitta (般若波羅蜜多, hannya-haramitta?) banya-paramilda (般若波羅蜜多/반야파라밀다); Bát Nhã Ba La Mật Đa) เป็นพระสูตรสำคัญชุดหนึ่งในนิกายมหายาน ที่สำคัญ เช่น มหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ในทางศิลปกรรมช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 -12 มักแสดงในเชิงบุคลาธิษฐานเป็นรูปพระโพธิสัตว์ชื่อ "พระปรัชญาปารมิตา" มีฐานะเป็นมารดาของพระพุทธเจ้า หรือเป็นภาคสำแดงของพระอักโษภยพุทธะ เป็นสัญลักษณ์ของสุญญต.

ดู พระอมิตาภพุทธะและปรัชญาปารมิตา

ไถหนัน

หนัน ชื่ออย่างเป็นทางการว่า นครไถหนัน (Táinán Shì; Tainan City) เป็นเมืองหนึ่งในภาคใต้ของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และเป็นเขตปกครองประเภทเทศบาลพิเศษ ด้านตะวันตกและด้านใต้ติดกับช่องแคบไต้หวัน มีสมญาว่า "เมืองหงส์" (Fènghuáng Chéng; Phoenix City) โดยเปรียบกับหงส์จีนซึ่งเชื่อว่า มีฤทธิ์ฟื้นคืนชีพได้ เพราะเมืองนี้ผ่านร้อนผ่านหนาวแล้วกลับรุ่งเรืองหลายครั้ง เดิมที บริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) ของชาววิลันดา ก่อตั้งเมืองนี้ขึ้นในช่วงวิลันดาครองไต้หวัน เพื่อเป็นนิคมการค้าเรียกว่า "ป้อมวิลันดา" (Rèlánzhē Chéng; Fort Zeelandia) แต่เมื่อเจิ้ง เฉิงกง (Zhèng Chénggōng) ขุนพลจักรวรรดิหมิง นำทัพขับไล่ต่างชาติออกจากเกาะไต้หวันได้อย่างราบคาบในปี 1661 เขาก็สถาปนาอาณาจักรตงหนิง (Dōngníng; Tungning) ขึ้นบนเกาะ และใช้นิคมดังกล่าวเป็นเมืองหลวงจนถึงปี 1683 เมื่อราชวงศ์ชิงสถาปนาการปกครองบนเกาะไต้หวันได้เป็นผลสำเร็จ อาณาจักรตงหนิงก็กลายเป็นเพียงมณฑลไต้หวันอันเป็นหนึ่งในมณฑลของจักรวรรดิชิง และนิคมดังกล่าวก็เป็นเมืองเอกของมณฑลไต้หวัน จนมีการย้ายเมืองเอกไปที่ไทเป (Táiběi; Taipei) เมื่อปี 1887 คำว่า "ไถหนัน" แปลว่า ไต้หวันใต้ คู่กับ "ไถเป่ย์" คือ ไทเป ที่แปลว่า ไต้หวันเหนือ "ไถจง" ที่แปลว่า ไต้หวันกลาง และ "ไถตง" ที่แปลว่า ไต้หวันตะวันออก ชื่อเก่าของไถหนันคือ "ต้า-ยฺเหวียน" (Dàyuán; Tayouan) แปลว่า ต่างชาติ และมีผู้ถือว่า ชื่อนี้เป็นที่มาของชื่อ "ไต้หวัน" ปัจจุบัน นอกจากเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไต้หวันแล้ว ไถหนันยังเป็นแหล่งวัฒนธรรมขนานเอก เพราะมีวัฒนธรรมท้องถิ่นนานัปการ เช่น อาหารพื้นเมืองเลื่องชื่อ พิธีกรรมลัทธิเต๋าซึ่งรักษาไว้เป็นอย่างดี กับทั้งประเพณีชาวบ้านเกี่ยวกับการใช้ชีวิตตั้งแต่ครรภ์มารดาจนถึงเชิงตะกอน.

ดู พระอมิตาภพุทธะและไถหนัน

เทศกาลพ้อต่อ

ทศกาลพ้อต่อ (ตัวเต็ม: 普渡, ตัวย่อ: 普渡, พินอิน: Pǔ dù ผูตู้, ฮกเกี้ยน: พ้อต่อ) จะจัดประมาณ วันสารทจีน เป็นงานที่จัดขึ้นตามความเชื่อของชาวจีน ในประเทศไทยมีการจัดงานนี้ขึ้นในจังหวัดภูเก็ต โดยได้รับอิทธิพลจากชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากเมื่อร้อยกว่าปีก่อน โดยจัดตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน (七月十五日) (ตรงกับเดือน 9 ปฏิทินจันทรคติไทย) ในช่วงเทศกาลดังกล่าวผู้คนจะหาของมาเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และวิญญาณเร่ร่อนทั้งหล.

ดู พระอมิตาภพุทธะและเทศกาลพ้อต่อ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ พระอมิตาพระอมิตาภะพระอมิตาภะพุทธะพระอมิตาภพุทธเจ้า