โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์

ดัชนี พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์

"''การรับเป็นมนุษย์''" เป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรชีวิตของพระเยซู โดยมีพระตรีเอกภาพอยู่ตรงกลางภาพ ฟรีโดลิน ไลเบอร์ วาดไว้ราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์ (ศัพท์ราชบัณฑิตยสถาน) หรือ พระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ พระวาทะทรงเกิดเป็นมนุษย์ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Incarnation of the Word) ในศาสนาคริสต์หมายถึงการที่พระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระเจ้าพระบุตรหรือพระวจนะ ได้เสด็จลงมาบนโลกเพื่อรับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของนางมารีย์ (บางคริสตจักร เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ จึงยกย่องพระนางมารีย์พรหมจารีเป็นพระมารดาพระเจ้าด้วย) เรื่องพระเจ้ามารับสภาพมนุษย์ถือเป็นหลักคำสอนทางเทววิทยาที่หลักข้อเชื่อไนซีนให้การรับรอง โดยถือว่าพระเยซูเป็นพระบุคคลที่สองในพระเป็นเจ้าซึ่งเป็นตรีเอกภาพ ได้มารับสภาพมนุษย์โดยที่ธรรมชาติพระเป็นเจ้าเดิมยังดำรงอยู่ในตัว หลักข้อเชื่อนี้จึงถือว่าพระเยซูทรงเป็นทั้งมนุษย์และพระเป็นเจ้าโดยสมบูรณ์ ดังที่พระวรสารนักบุญยอห์นระบุว่า "พระวจนะเป็นพระเจ้...

21 ความสัมพันธ์: พระบุตรพระเป็นเจ้าพระมารดาพระเจ้าพระวรสารพระผู้สร้างพระนางมารีย์พรหมจารีพระเจ้าพระบุตรการประกาศข่าวดีการนมัสการของโหราจารย์วันสมโภชศัตรูของพระคริสต์ศาสนาคริสต์หลักข้อเชื่อไนซีนอ่างล้างบาปจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2จดหมายนักบุญเปาโลถึงชาวฟิลิปปีคริสตจักรคริสต์มาสซิริลแห่งอะเล็กซานเดรียปีพิธีกรรมเอกเทวนิยม25 มีนาคม

พระบุตรพระเป็นเจ้า

ระเจ้าพระบิดาและพระวิญญาณบริสุทธิ์ประทับบนพระกุมารเยซู วาดโดย บาร์โตโลเม เอสเตบัน มูรีโย ราวคริสต์ทศวรรษ 1670 ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนส่วนมากซึ่งถือแนวคิดแบบตรีเอกภาพนิยมถือว่า พระบุตรพระเป็นเจ้า หรือ พระบุตรของพระเจ้า (Son of God) หมายถึงพระเยซู โดยมีพระยาห์เวห์เป็นพระเจ้าพระบิดา โดยนัยนี้ พระเยซูมีสถานะเป็นพระเจ้าพระบุตรด้วย แต่คริสต์ศาสนิกชนกลุ่มอตรีเอกภาพนิยม (เช่น พยานพระยะโฮวา) แม้จะถือว่าพระเยซูคือพระบุตรของพระเป็นเจ้าเช่นกัน แต่ไม่ยอมรับว่าเป็นพระเจ้าพระบุตร ในประวัติศาสตร์ชาติต่าง ๆ จักรพรรดิมักถือว่าตนเองคือพระโอรสของเทพเจ้าหรือโอรสสวรรค์ จักรพรรดิเอากุสตุสแห่งจักรวรรดิโรมันก็อ้างว่าตนเองมีพระราชบิดาบุญธรรมคือเทพเจ้า จักรพรรดิจูเลียส ซีซาร์และจักรพรรดิโดมิเชียนเรียกตนเองว่า "ดีวีฟีลิอุส" (Divi filius โอรสเทพเจ้า) แต่ความเชื่อนี้ต่างจาก "พระบุตรพระเป็นเจ้า" ที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ในพันธสัญญาใหม่ระบุถึงการเรียกพระเยซูว่า "พระบุตรของพระเจ้า" อยู่หลายครั้งเพื่อชี้ให้เห็นว่าพระเยซูเป็นพระเจ้า นับตั้งแต่การเสด็จลงมารับสภาพมนุษย์จนถึงการถูกตรึงที่กางเขน เช่น เมื่อพระเยซูทรงรับบัพติศมาเสร็จก็มีพระวจนะของพระเจ้าดังมาจากฟ้าว่า "ท่านผู้นี้เป็นบุตรที่รักของเรา" สาวกของพระเยซูก็เรียกพระเยซูว่าพระบุตรของพระเจ้.

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และพระบุตรพระเป็นเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระมารดาพระเจ้า

''แม่พระแห่งคาซัน'' พระมารดาพระเจ้า (Máter Déi; มาแตร์เดอี; มาเทอร์เดอี) หรือ พระชนนีพระเจ้า (Θεοτόκος เธโอโตกอส) เรียกโดยย่อว่าแม่พระ เป็นสมัญญาที่คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ และอีสเทิร์นคาทอลิก ใช้หมายถึงพระนางมารีย์พรหมจารี ตามมติของสภาสังคายนาแห่งเอเฟซัสที่ประกาศว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าโดยสมบูรณ์ ดังนั้นมารดาพระเยซูจึงถือเป็นพระมารดาพระเจ้าด้วยMary, Mother of God by Carl E. Braaten and Robert W. Jenson 2004 ISBN 0802822665 page 84.

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และพระมารดาพระเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสาร

ระวรสาร (โรมันคาทอลิก) หรือพระกิตติคุณ (โปรเตสแตนต์) (Gospels) เป็นหนังสือหมวดแรกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า พระวรสารในสารบบ (Canonical gospels) เพราะเป็นพระวรสารที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรให้รวมในสารบบคัมภีร์ไบเบิลได้ คำว่า “gospel” มาจากภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ข่าวดี” (คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยของชาวโปรเตสแตนต์แปลว่า "ข่าวประเสริฐ") มีนัยความหมายในคติของศาสนาคริสต์ถึง "การประกาศข่าวดี" ว่าบัดนี้ พระยาห์เวห์ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์มารับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซูแล้ว เพื่อประทานความรอดแก่มวลมนุษย์ ให้พ้นจากบาปและความทุกข์ และกลับเข้าสนิทกับพระเจ้าเช่นเดิม สู่แผ่นดินสวรรค์ ตามคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม พระวรสารในสารบบมีอยู่ 4 เล่ม ในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่มีเนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับพระเยซู บรรยายถึงกำเนิด คำเทศนา การตรึงกางเขน และการคืนพระชนม์ ทั้ง 4 เล่มถูกตั้งชื่อตามชื่อผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียน โดยเขียนขึ้นเมื่อระหว่าง ค.ศ. 65 ถึง ค.ศ. 100 ได้แก่ สามเล่มแรกเรียกว่าพระวรสารสหทรรศน์ เนื่องจากมีมุมมองในชีวิตของพระคริสต์ที่คล้ายกัน ขณะที่พระวรสารนักบุญยอห์น มีแง่มุมทางเทววิทยาและจิตวิญญาณที่ต่างออกไป.

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

พระผู้สร้าง

ระยาห์เวห์ทรงสร้างอาดัม พระผู้สร้าง (Creator) หมายถึง พระเป็นเจ้า (ตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม) หรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ (ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม) ที่มีอำนาจบันดาลให้โลก (ทั้งเอกภพและจักรวาล) เกิดขึ้น.

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และพระผู้สร้าง · ดูเพิ่มเติม »

พระนางมารีย์พรหมจารี

ริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) ว่า พระนางมารีย์พรหมจารี (the Blessed Virgin Mary) เพราะเชื่อว่าพระแม่มารีย์เป็นพรหมจารีเสมอ และพระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าก็มารับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของพระแม่มารีย์ จึงทำให้พระแม่มารีย์มีสถานะเป็น "พระมารดาพระเจ้า" ด้วย คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้รับรองความเชื่อนี้มาตั้งแต่สังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และพระนางมารีย์พรหมจารี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าพระบุตร

ตามหลักเทววิทยาศาสนาคริสต์ ถือว่าพระเจ้าพระบุตร (God the Son) คือพระบุคคลที่สองในตรีเอกภาพ โดยเชื่อว่าพระเจ้าพระบิดา พระเจ้าพระบุตร และพระเจ้าพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นพระเจ้าในสารัตถะเดียว แต่ต่างบุคคลกัน และเชื่อว่าพระเจ้าพระบุตรก็คือพระเยซู ตามความเชื่อนี้ พระเจ้าพระบุตรดำรงอยู่มาก่อนที่จะรับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซู และเป็นพระเป็นเจ้าที่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์เช่นเดียวกับพระบิดาและพระวิญญาณบริสุทธิ์ คำว่า "พระเจ้าพระบุตร" จึงเน้นถึงความเป็นพระเจ้าของพระเยซู ต่างจากคำว่า พระบุตรของพระเจ้า ที่เน้นความเป็นมนุษย์มากกว.

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และพระเจ้าพระบุตร · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศข่าวดี

การประกาศข่าวดี (ศัพท์คาทอลิก) หรือ การประกาศข่าวประเสริฐ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Evangelism) คือการเผยแพร่พระวรสารหรือประกาศข่าวดีตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าผู้มารับสภาพมนุษย์และถูกตรึงกางเขนจนสิ้นพระชนม์ เพื่อไถ่มนุษย์ผู้เชื่อจากบาป หลังจากนั้น 3 วัน ก็ทรงคืนพระชนม์แล้วเสด็จขึ้นสวรรค์ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าผู้เชื่อข่าวดีนี้จะถูกไถ่จากบาปทันทีและได้ขึ้นสวรรค์หลังจากเสียชีวิต จนถึงการพิพากษาครั้งสุดท้ายก็จะได้รับบำเหน็จจากพระเจ้า การประกาศข่าวดีถือเป็นพันธกิจสำคัญที่พระเยซูฝากไว้แก่สาวกของพระองค์ก่อนจะเสด็จขึ้นสวรรค์ ดังปรากฏในพระวรสารนักบุญมัทธิวว่า "ท่านทั้งหลายจงออกไปและนำชนทุกชาติมาเป็นสาวกของเรา จงบัพติศมาพวกเขาในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" ผู้อุทิศตนทำงานประกาศข่าวดีเรียกว่า ผู้ประกาศข่าวดี (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Evangelist).

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และการประกาศข่าวดี · ดูเพิ่มเติม »

การนมัสการของโหราจารย์

“การนมัสการของโหราจารย์” โดย เดียริค เบาท์ คริสต์ศตวรรษที่ 15 “การนมัสการของโหราจารย์” โดย เจนตีเล ดา ฟาบรีอาโน ค.ศ. 1423 การนมัสการของโหราจารย์ (Adoration of the Magi) เป็นชื่อที่ใช้ในหัวข้อการวาดภาพหนึ่งในชุดการประสูติของพระเยซู ซึ่งเป็นภาพของโหราจารย์สามคนเดินทางตามดาวแห่งเบธเลเฮม (star of Bethlehem) จนกระทั่งพบพระกุมารเยซู เมื่อพบแล้วก็มอบของขวัญที่เป็นทองคำ กำยาน และมดยอบ (myrrh) และถวายการสักการะ ในปฏิทินศาสนาเหตุการณ์นี้ฉลองกันทางตะวันตกในวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ ซึ่งเป็นวันฉลองการที่พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์คือพระเยซู ทุกวันที่ 6 มกราคม ทางนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ฉลองวันเดียวกับวันประสูติของพระเยซูในวันที่ 25 ธันวาคม การขยายความจากคำบรรยายเพียงสั้นๆ เกี่ยวกับแมไจในพระวรสารนักบุญมัทธิว บทที่ 2 ข้อที่ 1-11 เป็นการแสดงว่าการประสูติของพระเยซูเป็นที่ยอมรับตั้งแต่ประสูติในฐานะกษัตริย์แห่งโลก.

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และการนมัสการของโหราจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

วันสมโภช

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก วันสมโภช (solemnity) หมายถึงวันฉลองที่มีความสำคัญสูงสุด เพราะเกี่ยวข้องกับพระตรีเอกภาพ พระเยซู พระนางมารีย์พรหมจารี นักบุญโยเซฟ เป็นต้น วันสำคัญรองจากวันสมโภชเรียกว่าวันฉลอง และรองจากวันฉลองเรียกว่าวันระลึกถึง โดยปกติวันสมโภชจะระบุในปฏิทินโรมันทั่วไป ซึ่งหมายถึงคริสตจักรละตินทั่วโลกจะร่วมเฉลิมฉลองกัน แต่คริสตจักรเฉพาะถิ่นอาจกำหนดวันสมโภชขึ้นเพิ่มเติมได้ หากเหตุการณ์นั้นมีความสำคัญเป็นพิเศษกับคริสตจักรในท้องถิ่น.

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และวันสมโภช · ดูเพิ่มเติม »

ศัตรูของพระคริสต์

ปีศาจอยู่เบื้องหลังศัตรูของพระคริสต์ วาดราว ค.ศ. 1501 ในศาสนาคริสต์ ยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสารได้กล่าวถึง ศัตรูของพระคริสต์ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ปฏิปักษ์ของพระคริสตเจ้า (ศัพท์โรมันคาทอลิก) (Antichrist) ว่าหมายถึง บุคคลที่ไม่ยอมรับว่าพระบุตรพระเป็นเจ้าได้มาเกิดเป็นมนุษย์คือพระเยซู หรือไม่ยอมรับว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ ซึ่งถือว่าปฏิเสธพระเจ้าพระบิดาด้วย ศัตรูของพระคริสต์จะมาล่อลวงมนุษย์ให้ปฏิเสธพระเยซูในช่วงวาระสุดท้ายของโลก ในศาสนาอิสลาม นบีมุฮัมมัดเรียกผู้ต่อต้านพระคริสต์ว่า "ดัจญาล" (ผู้หลอกลวง) หมายถึง ผู้ที่อัลลอฮ์ส่งมาเพื่อทดสอบความเชื่อของมนุษย์ในช่วงใกล้วันสิ้นโลก ดัจญาลมักทำตัวเป็นพระเจ้า สามารถแสดงปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ได้ ทั้งชุบชีวิตคน เรียกฝนให้ตก เป็นต้น แต่ในที่สุดดัจญาลจะสิ้นฤทธิ์และถูกนบีอีซา (พระเยซู) ซึ่งกลับมาบนโลกอีกครั้งฆ่าต.

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และศัตรูของพระคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

หลักข้อเชื่อไนซีน

ักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และเหล่ามุขนายกสมาชิกสภาสังคายนาถือคำประกาศหลักข้อเชื่อไนซีน หลักข้อเชื่อไนซีนราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 177 (Nicene Creed; Symbolum Nicaenum) คือการประกาศศรัทธาและหลักข้อเชื่อที่ถูกใช้มากที่สุดในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ และเป็นบรรทัดฐานความเชื่อในคริสต์ศาสนากระแสหลักในปัจจุบัน แม้หลักข้อเชื่อฉบับนี้จะถูกเรียบเรียงขึ้นโดยสภาสังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่งเมื่อปี..

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และหลักข้อเชื่อไนซีน · ดูเพิ่มเติม »

อ่างล้างบาป

อ่างล้างบาปที่มหาวิหารวอมส์ ประเทศเยอรมนี อ่างล้างบาปสมัยกลาง จากเมือง Norrköping ประเทศสวีเดน อ่างล้างบาป (Baptismal font) คือภาชนะที่ใช้ทำพิธีบัพติศมาสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ “พิธีบัพติศมา” ก็มีหลายแบบ -- พรมน้ำ รดน้ำ หรือจุ่มลงไปในน้ำทั้งตัว อย่างคำในภาษากรีกว่า βαπτιζω คำนี้แปลว่าดำลงไป แต่อ่างล้างบาปโดยทั่วไปจะเล็กเกินกว่าที่จะใช้วิธีนี้ได้นอกจากกับเด็กทารก.

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และอ่างล้างบาป · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2

หมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 (Second Epistle of John) เป็นหนังสือฉบับที่ 24 ของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในเจ็ดจดหมายสากล อันได้แก่ จดหมายของนักบุญยากอบ จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3 และจดหมายของนักบุญยูดา เนื่องจากจดหมายเหล่านี้ถูกส่งถึงคริสต์ศาสนิกชนทั่วไป ไม่ได้ระบุว่าเป็นคริสตจักรใด หนังสือเล่มนี้แต่แรกเป็นจดหมาย ส่งถึงผู้รับที่ไม่ได้เอ่ยนาม เพียงแต่ถูกเรียกว่า ท่านสุภาพสตรีที่ทรงเลือกไว้และบรรดาบุตร ส่วนชื่อผู้เขียนก็ไม่ได้ระบุเช่นกัน แต่ผู้เขียนเรียกตนเองว่า ข้าพเจ้าผู้ปกครอง คริสตจักรในยุคแรกเชื่อต่อกันมาว่า ผู้เขียนคือยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร ผู้เดียวกันกับที่ได้เขียนพระวรสารนักบุญยอห์นและจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 อันเป็นจดหมายฉบับแรกก่อนหน้านี้ด้วย จากการวิเคราะห์เนื้อหาในจดหมายโดยผู้เชี่ยวชาญแล้วพบว่า ในจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 และจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 มีเนื้อหาภายในจดหมายหลายข้อความที่คล้ายกัน เช่น 2 ยอห์น 5 กับ 1 ยอห์น 2:7, 2 ยอห์น 6 กับ 1 ยอห์น 5:3, 2 ยอห์น 7 และ 1 กับ 1 ยอห์น 4:2 - 3 และ 2 ยอห์น 12 กับ 1 ยอห์น 1:4 เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญจึงสรุปตรงกันว่าเป็นผู้เขียนคนเดียวกัน ช่วงเวลาในการเขียนจดหมายฉบับนี้น่าจะใกล้เคียงกับฉบับแรก นั่นคือช่วงปลายศตวรรษแรก หรือราวปี..

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายนักบุญเปาโลถึงชาวฟิลิปปี

หมายนักบุญเปาโลถึงชาวฟิลิปปี (Epistle of Paul to the Philippians) เป็นหนังสือเล่มที่ 11 ของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ในบทแรกของหนังสือเล่มนี้บอกผู้อ่านให้ทราบว่า ผู้เขียนคือเปาโลอัครทูต และจากเนื้อหาที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ก็เป็นรูปแบบการเขียนเฉพาะตัวของเปาโลด้วย ข้อความในจดหมายที่ว่า "จนประจักษ์ทั่วกันในหมู่ผู้คุมและคนอื่น ๆ ว่า การที่ข้าพเจ้าถูกจำจองนั้นก็เพื่อพระคริสต์" บ่งบอกว่า ฟิลิปปี เป็นจดหมายที่ถูกเขียนขึ้นในขณะที่เปาโลถูกจองจำอยู่ในคุกที่กรุงโรม เช่นเดียวกับจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเอเฟซัส จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโคโลสี และจดหมายนักบุญเปาโลถึงฟีเลโมน โดยที่ ฟิลิปปี น่าจะถูกเขียนขึ้นราวปี..

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และจดหมายนักบุญเปาโลถึงชาวฟิลิปปี · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักร

ริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร (ศัพท์คาทอลิก) (Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152 ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์มาส

ริสต์มาส (Christmas; Crīstesmæsse, หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์") หรือ วันสมโภชพระสมภพ (Feast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู, The Catholic Encyclopedia, 1913.

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และคริสต์มาส · ดูเพิ่มเติม »

ซิริลแห่งอะเล็กซานเดรีย

นักบุญซิริลแห่งอะเล็กซานเดรีย (Cyril of Alexandriaˈ) บาทหลวงชาวอียิปต์ ได้รับแต่งตั้งเป็นบิชอปแห่งอะเล็กซานเดรีย และได้รับยกย่องเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักรภายหลังถึงแก่มรณกรรม ท่านเป็นนักเทววิทยาที่โดดเด่น จนมีบทบาทสำคัญในการสังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 431) เพื่อรับรองหลักความเชื่อเรื่องพระมารดาพระเจ้.

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และซิริลแห่งอะเล็กซานเดรีย · ดูเพิ่มเติม »

ปีพิธีกรรม

วันสำคัญในศาสนาคริสต์ (Liturgical year) ส่วนใหญ่กำหนดตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน มีบ้างที่กำหนดโดยอิงปฏิทินจันทรคติ สำหรับวันสำคัญที่มีมาแต่ศาสนายูดาห.

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และปีพิธีกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เอกเทวนิยม

อกเทวนิยมราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 364 (Monotheism มาจากภาษาμόνος, monos - เดียว, และ θεός, theos - เทพ) คือความเชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าเป็นเทวดาองค์เดียว หรือความเชื่อว่าพระเป็นเจ้าเป็นหนึ่งเดียว (ไม่ทรงแบ่งภาค) แนวคิดเอกเทวนิยมแบบบริสุทธิ์พบในศาสนายูดาห์และศาสนาอิสลาม ส่วนแบบอ่อนพบในศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่ ลัทธิซาเบียน นิกายมอรมอน และศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาบาไฮ ศาสนาซิกข์ และศาสนาฮินดูในบางสำนัก.

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และเอกเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

25 มีนาคม

วันที่ 25 มีนาคม เป็นวันที่ 84 ของปี (วันที่ 85 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 281 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์และ25 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »