เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระราม

ดัชนี พระราม

ระราม (राम รามะ) เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นร่างอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถและนางเกาสุริยา มีพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษสามเล่มคือ ศรพรหมมาตร ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น 4 มือ ทรงเทพอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์ พระรามมีพระอนุชาร่วมพระบิดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตร.

สารบัญ

  1. 101 ความสัมพันธ์: ชมพูพานชวาหะร์ลาล เนห์รูชามพูวราชชิวหาชนกพระพรตพระพุทธเจ้าพระราม (หนังสือการ์ตูน)พระราม (แก้ความกำกวม)พระรามลงสรงพระลักษมีพระลักษมณ์พระลักษมณ์พระรามพระวิษณุพระสัตรุดพระอัศวินพาลีพิเภกกรณีพิพาทอโยธยากัลมาษบาทกุมภกรรณกุมภกาศกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 36ภาษาอวธีภาษาไมถิลีมหากาพย์ภาพยนตร์ รามเกียรติ์มหากาพย์รามเกียรติ์มัจฉานุมูลพลัมยักษ์ (ภาพยนตร์)ยามะซะตอรัฐอุตตรประเทศราชวงศ์อิกษวากุรามายณะรามาวตารรามเกียรติ์รามเกียรติ์ (ละครโทรทัศน์)รามเกียรติ์: กำเนิดพระมงกุฎ พระลบรายชื่อเพลงหน้าพาทย์รายพระนามเทวดาอินเดียราวณะฤๅษีวาลมีกิฤๅษีนารทมุนีลัทธิไวษณพลิงวัดเขาวงพระจันทร์วามนะวานรสิบแปดมงกุฎวิรุณจำบังวิเทหะ... ขยายดัชนี (51 มากกว่า) »

ชมพูพาน

มพูพาน (जाम्‍बवान) เป็นตัวละครจากวรรณกรรมเรื่อง "รามเกียรติ์" เป็นลิงกายสีหงส์ชาด (สีแดง) เป็นลูกเลี้ยงของพญาพาลีแห่งเมืองขีดขิน ถือกำเนิดมาจากเหงื่อไคลพระอิศวร มีความรู้ในเรื่องยา สุครีพจึงพาไปถวายตัวต่อพระราม จึงมีหน้าที่เป็นแพทย์ประจำกองทัพพระราม เคยติดตามหนุมานและองคต ในตอนหนุมานไปถวายแหวนแก่นางสีดา ที่กรุงลงกา เมื่อครั้งศึกทศพิน ชมพูพานก็ได้รับมอบหมายให้เป็นทูตถือพระราชสารประกาศสงคราม เมื่อสิ้นศึกกรุงลงกา พระรามทรงปูนบำเหน็จรางวัลให้ไปเป็นเจ้ากรุงปางตาล.

ดู พระรามและชมพูพาน

ชวาหะร์ลาล เนห์รู

วาหะร์ลาล เนห์รู (जवाहरलाल नेहरू ชวาหรลาล เนหรู; Jawaharlal Nehru; 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889 – 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1964) รัฐบุรุษของอินเดีย และนายกรัฐมนตรีคนแรก หลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 17 ปี ตั้งแต..

ดู พระรามและชวาหะร์ลาล เนห์รู

ชามพูวราช

ตรกรรมฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดารามตอน อินทรชิตทำพิธีชุบศรแต่ถูกชามพูวราชที่แปลงเป็นหมีมาทำลายพิธี ชามพูวราช หรือ นิลเกษร เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นพญาวานรในกองทัพพระราม เกิดจากไม้ไผ่ที่พระอิศวรนำมาทำธนูแต่พอลองโก่งยิงธนูก็หัก เกิดเป็นชามพูวราชออกมา มีบทบาทสำคัญตอนศึกลงกา เป็นผู้เสนอให้พระรามจองถนนไปกรุงลงกาเพื่อเป็นพระเกียรติยศ และตอนแปลงร่างเป็นหมีใหญ่กัดต้นโรทันเพื่อทำลายพิธีชุบศรนาคบาศของอินทรชิต หลังจากเสร็จศึกลงกา ชามพูวราชได้เป็นอุปราชเมืองปางตาล.

ดู พระรามและชามพูวราช

ชิวหา

จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ห้อง 21 ตอน ทศกัณฐ์ประพาสป่าให้ชิวหาน้องเขยรักษาเมือง ชิวหา เป็นตัวละครในวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ เป็นน้องเขยของทศกัณฐ์ สามีของนางสำมนักขา มีลักษณะกายสีหงเสน ยอดน้ำเต้ากลม ตาจระเข้ ปากแสยะ แลบลิ้น เมื่อครั้งนั้น ทศกัณฐ์ไปประพาสป่า จึงให้น้องเขยเฝ้าเมืองไว้ ฝ่ายชิวหา เมื่อได้รับหน้าที่ก็ทำหน้าที่อย่างดี ชิวหา เป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์เดช คือมีลิ้นที่ยาวและใหญ่ สามารถใช้ในการศึกได้ เมื่อชิวหาได้รับหน้าที่มา ก็จัดยามตามไฟรักษาเมืองไม่ได้หลับไม่ได้นอน จนวันที่ 7 ชิวหา ก็ทนความง่วงไม่ไหว จึงเนรมิตกายให้ใหญ่โต แล้วแลบลิ้นไปปิดเมืองลงกาไว้ แล้วหลับไป ฝ่ายทศกัณฐ์ เมื่อกลับมาจากประพาสป่า มองไม่เห็นเมืองลงกา ก็เข้าใจว่าเป็นอุบายของศัตรูบดบังเมืองไว้ ด้วยความโกรธ จึงขว้างจักร อาวุธของตนไปตัดลิ้นชิวหาทันที ชิวหาถูกตัดลิ้นขาดไปก็สิ้นใจลง นางสำมนักขาเสียใจมาก จึงไปเที่ยวป่าแล้วเจอกับพระราม จนเป็นปฐมเหตุของสงครามครั้งนี้ในที่สุด หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ดู พระรามและชิวหา

ชนก

นก (जनक) เป็นกษัตริย์แห่งรัฐวิเทหะซึ่งตั้งอยู่ระหว่างฝั่งตะวันออกของแม่น้ำคัณฑกี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำมหานันทา และฝั่งเหนือของแม่น้ำคงคา พระองค์ทรงได้รับยกย่องว่า เป็นแบบอย่างของกษัตริย์ที่ไม่ยึดติดกับลาภยศศฤงคาร แม้จะทรงครองความมั่งคั่งและสุขสบายมากยิ่งก็ตาม พระองค์ยังสนพระทัยในปรัชญาทางจิตวิญญาณ และไม่ผูกพันพระองค์กับมายาคติทางโลก เอกสารโบราณระบุว่า พระองค์ทรงมีปฏิสัมพันธ์กับนักพรตนักบวชมากมาย เช่น อัษฏาวกระ และสุลาภะ วรรณกรรมระบุว่า พระองค์มีพระธิดาบุญธรรมนามว่า สีดา นอกจากนี้ เมืองชนกปุระในประเทศเนปาลปัจจุบันตั้งชื่อตามพระนามของพระอง.

ดู พระรามและชนก

พระพรต

ระพรต เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีแดง (คือจักรแก้วของพระนารายณ์ที่อวตารลงมาพร้อมกับพระราม) เป็นโอรสของท้าวทศรถกับพระนางไกยเกษี คำว่า "พรต" มีความหมายว่า "พระ" (พงศ์นารายณ์ - วงศ์กษัตริย์แห่งเมืองอโยธยา).

ดู พระรามและพระพรต

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

ดู พระรามและพระพุทธเจ้า

พระราม (หนังสือการ์ตูน)

ระราม (Rama) เป็นตัวละครที่มาจากร่างอวตารแห่งเทพฮินดู พระราม เผยแพร่ในหนังสือการ์ตูนชุดของสำนักพิมพ์ดีซีคอมิกส์ ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูนเรื่อง Wonder Woman ฉบับที่ 148 ซีรีส์ 2 (กันยายน 1999) สร้างสรรค์โดย Eric Luke และYanick Paquette.

ดู พระรามและพระราม (หนังสือการ์ตูน)

พระราม (แก้ความกำกวม)

ำว่า พระราม อาจมีความหมายอื่นๆ ดังนี้.

ดู พระรามและพระราม (แก้ความกำกวม)

พระรามลงสรง

ระรามลงสรง (Swimming Rama) หรือมีชื่อในภาษาแต้จิ๋วว่า ซาแต๊ปึ่ง (三茶反) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ซาแต๊ (三茶) เป็นอาหารไทยชนิดหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารจีนตอนใต้ ประกอบด้วยข้าวสวย ผักบุ้งลวก และเนื้อหมู ราดด้วยน้ำราดข้นคล้ายน้ำสะเต๊ะ เป็นอาหารที่นิยมในหมู่ชาวแต้จิ๋วและฮกเกี้ยน ปัจจุบันหารับประทานได้ยากในไท.

ดู พระรามและพระรามลงสรง

พระลักษมี

รูปปั้นนูนสูงของพระแม่ลักษมีประดับเทวสถานมุนีศวรัม ประเทศศรีลังกา เทวรูปพระลักษมีสำริด ศิลปะโจฬะ อินเดียใต้ พระลักษมี (ลกฺษฺมี) หรือ พระมหาลักษมี เป็นเทพีในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพีแห่งความร่ำรวย โชคชะตา ความรัก ความงาม ดอกบัว และความอุดมสมบูรณ์ รูปเคารพของพระแม่ลักษมีนั้นนอกจากจะพบในศาสนสถานของศาสนาฮินดูแล้ว ยังพบในศาสนสถานของศาสนาเชนและศาสนาพุทธ ในบางแห่งอีกด้วย พระลักษมีนั้นมีความคล้ายคลึงกันกับเทพีของกรีกองค์หนึ่ง คือเทพีอะโฟร์ดิตี้ โดยที่เทพีทั้งสองนี้ ถือกำเนิดจากมหาสมุทรเหมือนกัน และเป็นตัวแทนของความสวยงามเหมือนกันอีกด้วย นอกจากนั้น พระแม่ลักษมี มีกำเนิดจากฟองน้ำ ในคราวเทวดาและอสูร กวนเกษียรสมุทร น้ำอมฤต จึงได้นามว่า ชลธิชา (เกิดแต่น้ำ) หรือ กษีราพธิตนยา (พระธิดาแห่งพระสมุทร) ในขณะที่ผุดขึ้นมานั้นนั่งมาในดอกบัวและมือถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ปัทมา หรือ กมลา แต่ในคัมภีร์วิษณุปุราณะจะกล่าวไว้ว่า พระแม่ลักษมีเป็นธิดาของพระฤๅษีภฤคุกับนางขยาติ และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพระแม่ลักษมีเป็นมารดา พระกามเทพ ด้วย พระแม่ลักษมี ผู้ศรัทธาจะถือกันว่าเป็น เทพนารีผู้อำนวยโชค มีน้ำพระทัยเมตตาปราณีอยู่เป็นนิจ เป็นตัวอย่างแห่งนางที่งามตลอดทั้งรูปและกิริยามารยาท มีวาจาเปี่ยมด้วยเสน่ห์และไพเราะ ทั้งถือกันว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเจริญทุกประการ นับกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์บรรดาสตรีทุกชั้น ส่วนรูปมักเขียนเป็นสตรีที่งามยิ่งมี 2 กรอย่างธรรมดา (บางแห่งก็ว่ามี 4 กร) สีกายเป็นสีทองเสื้อทรงสีเหลือง นั่งหรือยืนบนดอกบัวและมือถือดอกบัว พระแม่ลักษมี เป็นชายาของ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ เมื่อพระวิษณุได้อวตารเป็นพระราม พระแม่ลักษมีก็ได้อวตารตามไปเป็นนางสีดา และเมื่อพระวิษณุอวตารเป็นพระกฤษณะ ในปางกฤษณาวตาร พระวิษณุอวตารเป็น พระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็ไปเป็น พระนางรุกมิณี หรือ พระนางราธาเทวี ในปางปรศุรามาวตารก็ไปอวตารเป็น พระแม่ธรณี ในปางวามนาวตารก็อวตารไปเป็น พระนางกมลา เป็นต้น คติความเชื่อถือเกี่ยวกับพระแม่ลักษมีในเมืองไทยอาจเห็นว่า ไม่พบมากนักนอกจากปรากฏในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ หรือ รามายณะ ที่เสด็จอวตารลงมาเป็นนางสีดาในรามาวตาร ซึ่งเป็นชนวนเหตุของการรบ ระหว่างทศกัณฐ์ กับพระราม นอกจากนั้นก็ไม่พบได้เด่นชัดนัก.

ดู พระรามและพระลักษมี

พระลักษมณ์

ระลักษมณ์ (พงศ์นารายณ์ - วงศ์กษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา) เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ พระลักษมณ์ คือพญาอนันตนาคราชที่ประทับของพระนารายณ์และสังข์ของพระนารายณ์มาเกิด เป็นโอรสของท้าวทศรถและนางสมุทรชา มีพระวรกายสีเหลืองดั่งทองทา มีพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ พระสัตรุด พระลักษมณ์มีความจงรักภักดีต่อพระรามมาก เมื่อพระรามต้องออกเดินป่าถึง 14 ปี พระลักษมณ์ก็ได้ติดตามไปด้วย และยังช่วยออกรบกับกองทัพของกรุงลงกา อย่างกล้าหาญหลายครั้งหลายหน ทรงเคียงคู่พระรามเสมอ ในระหว่างเกิดศึกกรุงลงกา และเมื่อพระรามต้องเสด็จเดินดงเป็นครั้งที่สอง ก็ได้ทูลขอเสด็จตามไปด้วยอีก ทรงร่วมผจญหมู่มารและเหล่าศัตรูเคียงคู่พระรามหลายครั้งหลายครา พระลักษมณ์เคยได้ไปร่วมพิธียกธนูโมลีที่มิถิลา ได้ยกศรก่อนพระราม เมื่อจับศรแล้วศรขยับ แต่แกล้งทำเป็นยกไม่ได้ เพราะรู้ว่าพระรามหลงรักนางสีดาตั้งแต่แรกเห็น อีกทั้งพระลักษมณ์ก็ไม่ได้รักนางสีดาแบบชู้สาว จึงเปิดโอกาสให้พระราม พระรามจึงได้อภิเษกสมรสกับนางสีดา ในระหว่างศึกสงคราม พระลักษมณ์ได้ออกรบจนถูกอาวุธได้รับบาดเจ็บเกือบสิ้นพระชนม์ถึง 5 ครั้ง จากหอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ ศรนาคบาศกับศรพรหมาสตร์ของอินทรชิต หอกแก้ววราวุธของมูลพลัม และหอกกบิลพัทของทศกัณฐ์ แต่ฝีมือก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร ได้สังหารกุมภกาศ อินทรชิต มูลพลัม จิตรไพรี ทศคีรีวัน ทศคีรีธร พระนามของพระลักษมณ์มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่าผู้มีเครื่องหมายอันเป็นมงคล หรือผู้ที่มีลักษณะดี.

ดู พระรามและพระลักษมณ์

พระลักษมณ์พระราม

นักแสดงสวมหัวโขนฝ่ายอสูรพงศ์จากเรื่องพระลักษมณ์พระราม พระลักษมณ์พระราม (ພະລັກພະລາມ, อักขรวิธีเดิม: ພຣະລັກພຣະຣາມ), พระรามชาดก (ພຣະຣາມຊາດົກ) หรือ รามเกียรติ์ (ລາມມະກຽນ, อักขรวิธีเดิม: ຣາມມະກຽນ) เป็นมหากาพย์ลาวที่ดัดแปลงมาจาก รามายณะ ของวาลมีกิ มีความใกล้เคียงกับ ฮิกายัตเซอรีรามา (Hikayat Seri Rama.) อันเป็นรามายณะฉบับมลายู มหากาพย์นี้เคยสูญหายไปพร้อมกับศาสนาฮินดู แต่ภายหลังได้กลับมาอีกครั้งในรูปแบบชาดกของพระพุทธศาสนา ซึ่งเคยแพร่หลายและเป็นที่นิยมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยด้วยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง.

ดู พระรามและพระลักษมณ์พระราม

พระวิษณุ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย.

ดู พระรามและพระวิษณุ

พระสัตรุด

ระสัตรุดคือคทาของพระนารายณ์อวตารลงมาพร้อมกับพระองค์ พระสัตรุดเป็นโอรสของท้าวทศรถ บิดาของพระราม กับพระนางสมุทรชา เป็นพระอนุชาฝาแฝดของพระลักษมณ์ เป็นจอมทัพร่วมกับพระพรตผู้เป็นพระเชษฐา ตอนศึกกรุงลงกาครั้งที่ 2และศึกเมืองมลิวัน ภายหลังได้เป็นเจ้าอุปราชแห่งเมืองไกยเกษ แม้พระสัตรุดจะเป็นพระอนุชาร่วมพระมารดากับพระลักษมณ์ คือ นางสมุทรชา แต่ทั้งในรามายณะของอินเดียและรามเกียรติ์ของไทย ก็มักกล่าวถึงพระสัตรุดคู่ไปกับพระพรต และกล่าวถึงพระรามคู่กับพระลักษมณ์ ในรามเกียรติ์ตอนต้นจนถึงตอนกลางเรื่อง พระสัตรุดมีบทบาทน้อย แต่มีบทบาทมากขึ้นในตอนท้ายเรื่อง พระนามพระสัตรุดในรามเกียรติ์เขียน สัตรุด แต่ในรามายณะ เขียน ศตฺรุฆฺน (อ่านว่า สะ -ตฺรุ-คฺนะ) แปลว่า ผู้สังหารศัตรู.

ดู พระรามและพระสัตรุด

พระอัศวิน

ระอัศวิน (Ashvins, สันสกฤต: अश्विन) เป็นเทพเจ้าตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดู พระอัศวินเป็นเทพเจ้าฝาแฝดที่มีศีรษะเป็นม้า และมีร่างกายเป็นมนุษย์ องค์หนึ่งมีพระนามว่า นาสัตยอัศวิน (ความกรุณา) อีกองค์หนึ่งมีพระนามว่า ทัศรอัศวิน (ความรู้แจ้ง) เทียบได้กับเทพเจ้าตามเทพปกรณัมกรีก เช่น โฟบอส และ ดีมอส, ฮิปนอส และ ทานาทอส, แคสเตอร์ และ พอลลักซ์ เป็นต้น พระอัศวินเป็นพระโอรสของพระอาทิตย์ กับนางสัญญา นางสัญญาต้องการจะหนีพระอาทิตย์ไปบวชอยู่ในป่า จึงแปลงร่างเป็นม้าเพศเมีย แต่พระอาทิตย์ก็ยังแปลงร่างเป็นม้าเพศผู้ไปอยู่ด้วยจนเกิดเป็นพระอัศวินขึ้นมา พระอัศวิน เป็นเทพที่ประทานนำทรัพย์ต่าง ๆ มาให้มนุษย์ และยังปกป้องมนุษย์จากภัยอันตรายต่าง ๆ จนถึงโรคภัยไข้เจ็บ เพราะพระอัศวินยังมีหน้าที่เป็นแพทย์สวรรค์ด้วย พระอัศวิน ยังเป็นเทพแห่งแสงสว่าง ทั้งคู่จะขับรถม้านำหน้าราชรถของพระอาทิตย์มาก่อนเวลารุ่งสาง พระอัศวินได้ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมากในคัมภีร์ฤคเวท ซึ่งในคัมภีร์นั้นมีการกล่าวถึงพระนามของพระอัศวินถึง 400 ครั้ง ในมหากาพย์รามายณะ ทวิวิท และ แมนทะ ทหารวานร ของพระรามเป็นบุตรของพระอัศวินทั้งคู่ ในมหากาพย์มหาภารตะ นางมาทรี ชายาของท้าวปาณฑุได้ขอโอรสจากเทพเจ้าทั้งหลาย โดยที่พระนางมีลูกกับพระอัศวินสองคน คือ นกุล (เกิดจากพระนาสัตยอัศวิน) และ สหเทพ (เกิดจากพระทัศรอัศวิน).

ดู พระรามและพระอัศวิน

พาลี

ลี หรือ พญาพาลี เป็นลิงที่เป็นตัวละครตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นลิงเจ้าเมืองขีดขิน ที่มีฤทธิ์มากที่สุดตัวหนึ่ง มีกายสีเขียว เป็นโอรสของพระอินทร์ กับ นางกาลอัจนา เดิมชื่อ กากาศ ตอนเด็กโดนฤๅษีโคดมสาปให้กลายเป็นลิงเช่นเดียวกันกับสุครีพ ซึ่งเป็นน้องชาย เพราะรู้ว่าทั้ง 2 เป็นลูกชู้ ต่อมาพระอินทร์ผู้เป็นบิดา ได้สร้างเมืองชื่อ ขีดขินให้พาลีปกครอง และตั้งชื่อให้ใหม่ว่า พระยากากาศ ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น พาลี เคยต่อสู้กับ ทรพี ควายที่ฆ่า ทรพา พ่อของตนเอง ที่มีเทวดาอารักขาขาทั้งสี่ข้างและสองเขา ซึ่งพาลีจะต้องเข้าไปสู้ในถ้ำสุรกานต์ ก่อนไปได้สั่งเสียสุครีพไว้ว่า ถ้าผ่านไปเจ็ดวันแล้ว ถ้าตนไม่กลับมา ให้ไปดูรอยเลือด ถ้าเลือดข้นนั้นคือ เลือดทรพี ถ้าเลือดใสนั้นคือเลือดตน ตอนที่พระอิศวรฝากนางดารามากับพาลีเพื่อให้กับสุครีพผู้เป็นน้อง พาลีได้ยึดนางดาราไว้เป็นภรรยาเสียเอง พาลีเคยแย่งนางมณโฑกับทศกัณฐ์เมื่อตอนที่เหาะผ่านเมืองขีดขินด้วย และมีบุตรกับนางมณโฑ คือ องคต สุดท้ายพาลีสิ้นชีวิตจากศรของพระราม ขณะที่พระรามแผลงศรใส่พาลี พาลีจับศรไว้ได้ พาลีจึงได้เห็นร่างที่แท้จริงของพระราม ว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร จึงได้สำนึกผิด และเรียกสุครีพมาสั่งสอน ซึ่งเรียกว่า "พาลีสอนน้อง" และฝากฝังเมืองขีดขินไว้ จากนั้นก็ปล่อยให้ศรปักอกตาย หลังจากที่พาลีตายได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรพาลีบนสวรรค์ ได้มีบทบาทตอนไปทำลายพิธีชุบหอกกบิลพัทของทศกัณฐ์ ในศาสนาฮินดูพาลีไม่ได้ยึดนางดาราภรรยาของสุครีพ และเป็นกษัตริย์ที่ทรงคุณธรรม เขาตายเนื่องจากพระรามลอบสังหารเขาในขณะต่อกรกับสุครีพ ในชาติต่อไปเขาไปเกิดเป็นนายพรานจาราและสังหารพระกฤษณะซึ่งเป็นพระรามในชาติก่อน.

ดู พระรามและพาลี

พิเภก

ก เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีเขียว ทรงมงกุฎน้ำเต้ากลม เป็นน้องของทศกัณฐ์ และกุมภกรรณ อดีตชาติ เป็นพระเวสสุญาณเทพบุตร พระอิศวรสั่งให้ไปจุติเป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกันกับทศกัณฐ์เพื่อเป็นไส้ศึกคอยบอกความลับต่าง ๆ ให้แก่พระราม พร้อมประทานแว่นวิเศษติดที่ดวงตาขวา มองเห็นได้ทั้งสามโลก แม้กระทั่งอดีตและอนาคต พิเภกโดนทศกัณฐ์ขับออกจากกรุงลงกา เพราะไปแนะให้ทศกัณฐ์คืนนางสีดาแก่พระราม จึงเข้าร่วมกับฝ่ายพระราม ทำหน้าที่เป็นโหราจารย์ พิเภกมีส่วนช่วยในกองทัพพระรามเป็นอันมาก เป็นผู้บอกกลศึกและทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ของฝ่ายทศกัณฐ์ให้แก่พระราม เมื่อทศกัณฐ์ใกล้ตายเพราะถูกศรพรหมาศของพระราม ทศกัณฐ์สำนึกได้ จึงเรียกพิเภกเข้าไปสั่งสอน โดยมีใจความหลักว่า ให้ประพฤติตนเป็นธรรม อย่าเกเรเหมือนตน ซึ่งบทนี้ถูกเรียกว่า "ทศกัณฐ์สอนน้อง" จากนั้น พิเภกได้รับแต่งตั้งจากพระรามให้เป็น "ท้าวทศคิริวงศ์" ครองกรุงลงกาแทนทศกัณฐ์สืบไป ในรามายณะ มีชื่อว่า "วิภีษณะ".

ดู พระรามและพิเภก

กรณีพิพาทอโยธยา

กรณีพิพาทอโยธยา (Ayodhya dispute; अयोध्या विवाद 'Ayōdhyā Vivād', مسئلۂ ایودھیا 'Masʾala-ē Ayōdhyā') เป็นข้อโต้แยงในเชิงการเมือง ประวัติศาสตร์และศาสนาในเมืองอโยธยา ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างผู้นับถือศาสนาฮินดูและอิสลาม ในคัมภีร์อโยธยา มหาตมยา กล่าวว่ามีโบสถ์พระรามอยู่ที่รามโกฏ อันเป็นที่ประสูติของพระราม ชาวฮินดูได้อ้างว่ามีการรื้อถอนโบสถ์พระรามมาสร้างมัสยิดบาบรีเมื่อ..

ดู พระรามและกรณีพิพาทอโยธยา

กัลมาษบาท

ในเทพปกรณัมฮินดู กัลมาษบาท (कल्माषपाद กลฺมาษปาท), เสาทาส (सौदास), มิตรสหะ (मित्रसह), หรือ อมิตรสหะ เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์อิกษวากุ ซึ่งถูกฤษีวสิษฐะสาปให้กลายเป็นรากษส พระเจ้ากัลมาษบาทเป็นต้นวงศ์ของพระรามซึ่งถือกันว่าเป็นอวตารของเทพวิษณุและเป็นวีรบุรุษในมหากาพย์ฮินดูเรื่อง รามายณะ เอกสารหลายฉบับพรรณนาว่า พระเจ้ากัลมาษบาททรงถูกสาปให้สิ้นพระชนม์ถ้าร่วมประเวณีกับพระมเหสี พระองค์จึงขอให้ฤษีวสิษฐะประทานบุตรให้ด้วยวิธีนิโยคอันเป็นวิธีตามประเพณีโบราณที่ชายสามารถขอให้ภริยามีสัมพันธ์กับชายอื่นเพื่อให้เกิดบุตรได้ พระเจ้ากัลมาษบาทยังปรากฏในร้อยกรองเรื่องสำคัญอย่าง ปุราณะ, มหาภารตะ, และ รามายณะMani, p.

ดู พระรามและกัลมาษบาท

กุมภกรรณ

กุมภกรรณ (สันสกฤต: कुम्भकर्ण กุมฺภกรฺณ) เป็นโอรสของท้าวลัสเตียนและนางรัชฎา มีศักดิ์เป็นน้องแท้ ๆ ของทศกัณฐ์ มีหน้าและกายสีเขียว ชายาชื่อนางจันทวดี เป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์มากที่สุดตนหนึ่ง มีอาวุธร้ายประจำกาย คือ หอกโมกขศักดิ์ ที่จริงแล้วเป็นยักษ์ที่ตั้งมั่นในธรรม แต่ต้องออกรบช่วยทศกัณฐ์เพราะเห็นแก่ความเป็นพี่น้อง เคยแสดงฤทธิ์ในสมรภูมิรบถึง 4 ครั้ง ครั้งแรกรบกับสุครีพ โดยวางอุบายลวงสุครีพถอนต้นรัง ครั้งที่สอง ทำพิธีลับหอกโมกขศักดิ์ แต่ถูกหนุมานและองคตทำลายพิธี ครั้งที่สาม ทำพิธีทดน้ำ แต่ไม่สำเร็จเพราะถูกขัดขวางจากหนุมานและกุมภกรรณแทงหอกโมกขศักดิ์ใส่พระลักษมณ์จนเกือบสิ้นชีวิต และครั้งที่สี่สู้รบกับพระราม แต่ก็เพลี่ยงพล้ำถูกศรพระรามฆ่าตาย เหตุที่ชื่อ กุมภกรรณ (หูหม้อ) นั้นเพราะมีร่างกายใหญ่โตมาก สามารถเอาหม้อใส่ใบหูได้ กุมภกรรณในรามายณะมีลักษณะคล้ายกุมภกรรณในรามเกียรติ์ คือเป็นคนซื่อสัตย์เที่ยงธรรม แต่ในรามายณะ กุมกรรณได้เคยขอพรพระพรหมให้ตนเองมีสภาพคล้ายพระวิษณุ คือนอนหลับอยู่เป็นเวลานานจึงตื่นเพียงวันเดียว และหยั่งรู้ความเป็นไปของโลกในการนอนหลับนั้น ดังนั้นเมื่อทศกัณฐ์ปลุกกุมภกรรณให้ไปรบกับพระนารายณ์นั้น กุมภกรรณย่อมรู้ว่าพระรามนั้นที่แท้คือพระวิษณุและตนไม่มีทางรบชนะเด็ดขาด แต่ด้วยหน้าที่ของการเป็นทหาร กุมภกรรณยังคงตัดสินใจไปรบโดยทูลทศกัณฐ์ว่า ถ้าตนตายในการรบก็ขอให้ทศกัณฐ์ยอมแพ้เสีย เพราะถ้าตนรบชนะไม่ได้ก็ย่อมไม่มีใครในลงการบชนะพระรามได้.

ดู พระรามและกุมภกรรณ

กุมภกาศ

กุมภกาศ เป็นโอรสของ ชิวหา และ นางสำมนักขา มีศักดิ์เป็นหลานชายแท้ๆของ ทศกัณฐ์ มีนิสัยจองหองโดยตัวละครตัวนี้ได้มีบทบาทแค่ช่วงต้นของเรื่อง รามเกียรติ์ เท่านั้นเนื่องจากได้ถูก พระลักษมณ์ พระอนุชาของ พระราม ฆ่าตาย เนื่องจากในขณะนั้นกุมภกาศได้ตั้งโรงพิธีขอพรจาก พระพรหม เพื่อขอพระขรรค์เทพศัตราแต่เนื่องจากพระพรหมท่านมีธุระสำคัญจึงมิได้เหาะลงมามอบด้วยพระองค์เองแต่ได้ทิ้งพระขรรค์ลงมาข้างโรงพิธีของกุมภกาศที่ริมฝั่งแม่น้ำโคทาวรีจึงทำให้กุมภกาศโกรธมากต่อว่าพระพรหมว่าไม่ให้เกียรติและระหว่างนั้นพระรามและพระลักษมณ์ได้มาประทับที่ศาลาริมแม่น้ำโคทาวรีและพระลักษมณ์ได้เสด็จออกมาหาอาหารระหว่างทางได้พบกับพระขรรค์เทพศัตราของพระพรหมที่ทรงทิ้งลงมาให้แก่กุมภกาศพระลักษมณ์จึงทรงยกพระขรรค์ขึ้นมาทำให้แสงของพระขรรค์ไปเข้าตาของกุมภกาศจึงได้ออกมาต่อสู้กับพระลักษมณ์เพื่อแย่งชิงพระขรรค์และในที่สุดกุมภกาศจึงถูกพระลักษมณ์ฆ่าตายด้วยพระขรรค์เทพศัตร.

ดู พระรามและกุมภกาศ

กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 36

กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 36 หรือ "หัวหมากเกมส์" จัดขึ้นวันที่ 11-18 มกราคม 2552 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ดู พระรามและกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 36

ภาษาอวธี

ษาอวธี (अवधी) เป็นภาษาถิ่นของภาษาฮินดี ใช้พูดในเขตอวัธ ของรัฐอุตตรประเทศ และพบในรัฐพิหาร มัธยประเทศ เดลฮี รวมทั้งในประเทศเนปาลด้วย มีผู้พูดราว 20 ล้านคน.

ดู พระรามและภาษาอวธี

ภาษาไมถิลี

ษาไมถิลี จัดอยู่ในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน มีผู้พูดในรัฐพิหารของอินเดีย และเตรายตะวันตกในเนปาล คำว่าไมถิลีมาจากมิถิลาซึ่งเป็นรัฐอิสระในสมัยโบราณ มีกลุ่มผู้พูดภาษาไมถิลีเป็นจำนวนมาก ภาษานี้อยู่ในกลุ่มอินเดียตะวันออก ที่มีพัฒนาการเป็นอิสระจากภาษาฮินดี เขียนด้วยอักษรไมถิลีซึ่งคล้ายกับอักษรเบงกาลีหรือเขียนด้วยอักษรเทวนาครี เคยเขียนด้วยอักษรตีราหุตี แต่เปลี่ยนมาใช้อักษรเทวนาครีในพุทธศตวรรษที่ 25-26 อักษรตีราหุตีเป็นต้นแบบของอักษรไมถิลี อักษรเบงกาลีและอักษรโอร.

ดู พระรามและภาษาไมถิลี

มหากาพย์ภาพยนตร์ รามเกียรติ์

มหากาพย์ภาพยนตร์ รามเกียรติ์ หรือ รามเกียรติ์ 3D Animation (Ramayana The Epic) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันชื่อดังของ บอลลีวู้ด ในเครือของ shemaroo กำกับภาพยนตร์โดย Chetan Desai ออกฉายในปี พ.ศ.

ดู พระรามและมหากาพย์ภาพยนตร์ รามเกียรติ์

มหากาพย์รามเกียรติ์

มหากาพย์รามเกียรติ์ (Lav Kush) เป็นภาพยนตร์อินเดียขนาดยาวที่ถ่ายทำเมื่อปี ค.ศ. 1997 เนื้อเรื่องกล่าวถึงวรรณกรรมชิ้นเอก และยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก รามายณะ โดยในประเทศอินเดียจะฉายภาคเดียว 3 ชั่วโมงจบ แต่ในประเทศไทยจะฉายแยกเป็น 2 ภาค โดยแบ่งเป็นตอนๆ ตอนแรกใช้ชื่อว่า มหากาพย์รามเกียรติ์ ตอน ทศกัณฐ์ลักนางสีดา และตอนที่สองใช้ชื่อว่า มหากาพย์รามเกียรติ์ ตอน พระรามครองเมือง โดยชื่อภาษาอังกฤษ (Lav Kush) นี้มีความหมายที่ตรงตามคำๆนั้นว่า พระลบ พระมงก.

ดู พระรามและมหากาพย์รามเกียรติ์

มัจฉานุ

มัจฉานุ เป็นลูกของหนุมานกับนางสุพรรณมัจฉา เนื่องจากเป็นลูกของหนุมาน จึงมีร่างกายเป็นลิง แต่มีหางเป็นปลาเช่นเดียวกับนางสุพรรณมัจฉา แต่เมื่อนางสุพรรณมัจฉาได้คลอดมัจฉานุด้วยการสำรอกออกมาแล้ว เกรงว่าทศกัณฐ์จะรู้ว่าเป็นลูกตน จึงได้นำมัจฉานุไปทิ้งไว้ที่หาดริมทะเล หลังจากนั้น ไมยราพณ์ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองบาดาล ได้เดินทางมาพบและเก็บไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งภายหลัง หนุมานที่ได้ติดตามไมยราพณ์ ซึ่งลักพาตัวพระรามมาไว้ที่เมืองบาดาล จึงได้พบกับมัจฉานุ ซึ่งทำหน้าที่เฝ้าด่านสระบัวอยู่ ทั้งสองจึงได้ต่อสู้กัน แต่ต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถเอาชนะกันได้เสียที จึงได้ถามมัจฉานุว่าเป็นลูกใครพ่อแม่ชื่ออะไร เมื่อได้ยินคำตอบของมัจฉานุ หนุมานก็ดีใจมากเมื่อได้พบลูกของตน เมื่อเสร็จศึกกรุงลงกาครั้งที่ 2 และศึกกรุงมลิวัน จึงได้รับแต่งตั้งเป็น พญาหนุราช ครองกรุงมลิวันแทนท้าวจักรวรรดิ และได้นางรัตนามาลี ธิดาท้าวจักรวรรดิเป็นมเหสี หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์ หมวดหมู่:ตัวละครที่เป็นลิง.

ดู พระรามและมัจฉานุ

มูลพลัม

หัวโขนมูลพลัม มูลพลัม เป็นอสูรพันธมิตรของทศกัณฐ์ เป็นอุปราชเมืองปางตาล เป็นน้องชายของสหัสเดชะพญารากษส กษัตริย์กรุงปางตาล เป็นหนึ่งในบรรดายักษ์ที่ออกทัพไปรบกับพระรามเพื่อช่วยทศกัณฐ์ ท้ายสุดตายด้วยศรของพระลักษมณ.

ดู พระรามและมูลพลัม

ยักษ์ (ภาพยนตร์)

ักษ์ (Yak: The Giant King) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันสัญชาติไทยผลงานร่วมทุนสร้างระหว่าง บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, บริษัท บ้านอิทธิฤทธิ์ จำกัด, บริษัท ซูเปอร์จิ๋ว จำกัด และดำเนินงานสร้างโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ พิคเจอร์ส จำกัด ผลงานกำกับของประภาส ชลศรานนท์ร่วมกับ เอ็กซ์- ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ ได้แรงบันดาลใจมาจาก วรรณคดี เรื่องรามเกียรติ์ มานำเสนอในรูปแบบของแอนิเมชันหุ่นยนต.

ดู พระรามและยักษ์ (ภาพยนตร์)

ยามะซะตอ

ระราม (ยามะ) และนางสีดา (แมตีดา) ของรามายณะฉบับพม่า ยามะซะตอ (ရာမဇာတ်တော်,, แปลว่า: "รามชาดก") เป็นรามายณะฉบับไม่เป็นทางการของประเทศพม่า มีทั้งหมดเก้าบท ส่วนชื่อ "ยามะ" คือพระราม ส่วน "ซะตอ" คือชาดก.

ดู พระรามและยามะซะตอ

รัฐอุตตรประเทศ

รัฐอุตตรประเทศ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่บริเวณส่วนบนของประเทศโดยมีเขตแดนติดต่อกับประเทศเนปาลทางทิศเหนือ เป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญในศาสนาฮินดู เช่น เมืองพาราณสี อโยธยา (เมืองเกิดของพระราม) มธุรา (เมืองเกิดของพระกฤษณะ) และอัลลาลาบัดหรือเมืองโกสัมพีในสมัยพุทธกาล อุตตรประเทศ หมวดหมู่:รัฐอุตตรประเทศ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ.

ดู พระรามและรัฐอุตตรประเทศ

ราชวงศ์อิกษวากุ

อิกษวากุ ในภาษาสันสกฤต (इक्ष्वाकु Ikṣvāku) หรือ โอกกากะ ในภาษาบาลี (Okkāka) แปลว่า ต้นขี้กาเทศ เป็นชื่อราชวงศ์ในวรรณกรรมปุราณะ ซึ่งมีผู้สถาปนา คือ พระเจ้าอิกษวากุ แต่เอกสารจากศาสนาพุทธว่า ผู้สถาปนา คือ พระเจ้ามหาสมมติ บรรพบุรุษพระองค์หนึ่งของพระเจ้าอิกษวากุ ซึ่งมหาชนสมมุติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งปัจจุบันสมัย ราชวงศ์นี้ยังเป็นที่รู้จักด้วยชื่อ สุริยวงศ์ และถือกันว่า พระรามเป็นสมาชิกราชวงศ์ดังกล่าว ส่วนศาสนาเชนถือว่า ตีรถังกร 22 องค์ จากทั้งหมด 24 องค์ เป็นสมาชิกราชวงศ์นี้ ราชวงศ์อิกษาวกุมีสมาชิกสำคัญอีกหลายพระองค์ เช่น พระเจ้าทิลีป, พระเจ้าปเสนทิโกศล, พระเจ้ารัคหุ, พระเจ้าสัคระ, พระเจ้าหริศจันทร์, และพระพรต เอกสารฮินดูอย่าง ปุราณะ และเอกสารพุทธอีกหลายฉบับ นับพระเจ้าสุทโธทนะ, พระพุทธเจ้า, และพระราหุล เข้าในราชวงศ์นี้เช่นกัน.

ดู พระรามและราชวงศ์อิกษวากุ

รามายณะ

พระรามประทับบนไหล่หนุมาน เข้าต่อรบกับพญายักษ์ราวณะ (ทศกัณฐ์), ภาพวาดบนกระดาษ, ศิลปะอินเดีย, ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 1820 (สมบัติของบริติชมิวเซียม) รามายณะ (रामायण) เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้.

ดู พระรามและรามายณะ

รามาวตาร

รามาวตาร อาจหมายถึง.

ดู พระรามและรามาวตาร

รามเกียรติ์

ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้ ฝ่ายพระราม.

ดู พระรามและรามเกียรติ์

รามเกียรติ์ (ละครโทรทัศน์)

รามเกียรติ์ (Ramayan) เป็นละครโทรทัศน์ที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 2013 กล่าวถึงสงครามครั้งสำคัญในวรรณกรรมเรื่องยิ่งใหญ่ รามายณะ ที่กล่าวการยกทัพของพระรามกับพญาทศกัณฐ์ เพื่อชิงเอานางสีดาคืนมา นำแสดงโดย กากัน มาลิค, เนหา ซากัม ออกอากาศทางช่องซีหนัง ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 19.00 น.

ดู พระรามและรามเกียรติ์ (ละครโทรทัศน์)

รามเกียรติ์: กำเนิดพระมงกุฎ พระลบ

รามเกียรติ์: กำเนิดพระมงกุฎ พระลบ (Luv Kush หรือในชื่อว่า อุตตรรามายณะ) เป็นละครโทรทัศน์ที่กล่าวถึงสงครามครั้งสำคัญในวรรณกรรมเรื่องยิ่งใหญ่ รามายณะ ที่เริ่มต้นเรื่องราวหลังจากพระรามยกทัพสู้กับพญาทศกัณฐ์จนได้รับชัยชนะ แล้วจึงเสด็จกลับมาครองกรุงอโยธยา นำแสดงโดย อรุณ โกวิล, ทิปิกา สิกขาเรีย, ทารา สิงห์, ศุนิล ลาฮีรี, จายาศิริ กาดก้.

ดู พระรามและรามเกียรติ์: กำเนิดพระมงกุฎ พระลบ

รายชื่อเพลงหน้าพาทย์

ลงหน้าพาทย์สามารถแบ่งเป็นหมวดๆได้ดังนี้.

ดู พระรามและรายชื่อเพลงหน้าพาทย์

รายพระนามเทวดาอินเดีย

้านล่างนี้เป็นรายชื่อเทพเจ้าที่ปรากฏในประเทศอินเดี.

ดู พระรามและรายพระนามเทวดาอินเดีย

ราวณะ

ราวณะ หรือ ราพณ์ (रावण Rāvaṇa) เป็นตัวละครหลักฝ่ายร้ายในมหากาพย์เรื่อง รามายณะ ของศาสนาฮินดู โดยเป็นราชารากษสแห่งนครลงกา ซึ่งเชื่อกันว่า ตรงกับประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน ราวณะมักเป็นที่พรรณนาว่า มีศีรษะสิบศีรษะ เป็นสาวกของพระศิวะ เป็นมหาปราชญ์ ปกครองบ้านเมืองอย่างเปี่ยมสามารถ ชำนาญบรรเลงวีณา (वीणा vīṇā) และมุ่งหมายจะเป็นใหญ่เหนือทวยเทพ ศีรษะทั้งสิบของเขายังเป็นเครื่องสำแดงถึงศาสตร์ทั้งหกและเวททั้งสี่ นอกจากนี้ ตามความใน รามายณะ ราวณะลักพาสีดา ภริยาของพระราม เพื่อล้างแค้นที่พระรามและพระลักษณ์อนุชาตัดจมูกศูรปณขา กนิษฐาของราวณะ ชาวฮินดูในหลายส่วนของประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา และประเทศอินโดนีเซีย เคารพบูชาราวณะ และถือเป็นสาวกพระศิวะที่ได้รับความเคารพยำเกรงที่สุด เทวสถานพระศิวะหลายแห่งยังตั้งรูปราวณะคู่กับรูปพระศิวะด้ว.

ดู พระรามและราวณะ

ฤๅษีวาลมีกิ

ๅษีวาลมีกิ ฤๅษีวาลมีกิ (वाल्मीकि มีชีวิตอยู่ในช่วงประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักบวชฮินดู นักประพันธ์วรรณกรรมภาษาสันสกฤต ซึ่งที่โด่งดังที่สุดคือรามายณะ เดิมทีฤๅษีวาลมีกิอยู่ในวรรณะพราหมณ์ แต่ชอบคบหาสมาคมกับโจรป่า จากนั้นก็แต่งงานกับโจรป่า จึงทำให้กลายเป็นโจรป่าไปด้วย และได้ปล้นสดมฆ่าคนมามากมาย จนครั้งหนึ่งได้ไปพบกับ สัปตะฤๅษี (ฤๅษี ทั้ง 7) สัปตะฤๅษีก็ได้บอกล่าวถึงบาปบุญคุณโทษให้ฤๅษีวาลมีกิฟัง แล้วเกิดการสำนึกผิดขึ้นมา อยากออกบวช สัปตะฤๅษีจึงบอกวิธีแก้ไขให้ คือ ต้องภาวนามันตราศักดิ์สิทธิ์ว่า "เฮ ราม" จากนั้นสัปตะฤๅษีก็จากไป ฤๅษีวาลมีกิท่องมันตราศักดิ์สิทธิ์จนครบ 1,000 ปี จนเกิดจอมปลวกห่อคลุมร่าง แล้วสัปตะฤๅษีก็มาปรากฏให้เห็นอีกครั้ง แล้วบอกฤๅษีวาลมีกิว่า "เจ้าภาวนาสำเร็จแล้ว" จากนั้นพระพรหม ก็ปรากฏพระวรกายให้ฤๅษีวาลมีกิเห็นและประทานโองการว่า "วาลมีกิ ถ้าเจ้าอยากลบล้างบาป ที่เจ้าเคยเป็นโจรป่าแล้วฆ่าคนมามากมาย เจ้าต้องบันทึกเรื่องราวของ พระราม โดยการตั้งชื่อ รามายณะ ส่วนเรื่องราว ฤๅษีนารทมุนี จะเป็นคนเล่าเรื่องให้เจ้าฟัง แล้วให้เจ้าเป็นผู้บันทึกเอง" จากนั้นฤๅษีวาลมีกิก็ เริ่มบันทึกเรื่องราวของพระราม โดยมาจากวาทะของฤๅษีนารทมุนี และ นิทานพระราม จนเป็นคัมภีร์รามายณะ จนถึงทุกวันนี้.

ดู พระรามและฤๅษีวาลมีกิ

ฤๅษีนารทมุนี

ฤๅษีนารทมุนี (नारद หรือ नारद मुनी) เป็นบุตรของพระพรหม เป็นสาวกคนแรกของพระนารายณ์ และเป็นผู้ที่นำเรื่องราวบนโลกมนุษย์มารายงานแด่พระศิวะ ฤๅษีนารทมุนีเป็นทูตเอกของสวรรค์ และมีบทบาทในมหาภารตะและรามเกียรติ์เป็นอย่างมาก ในเรื่องรามเกียรติ์ ฤษีเป็นผู้แนะนำให้หนุมานใช้น้ำในบ่อน้อยของตนเอง ก็คือ น้ำลายในปากของหนุมานดับไฟ เมื่อตอนที่หนุมานไปเผากรุงลงกา ในมหาภารตะ ฤๅษีนารทมุนีมีหน้าที่คอยส่งสำคัญให้แก่พระกฤษณะ พระพลราม ยุธิษฐิระ และอรชุน คือ ในมหาสงครามทุ่งกุรุเกษตร ฤๅษีนารทมุนีได้ส่งข่าวบอกแก่พระพลรามว่า "ภีมะกำลังดวลตะบองกับทุรโยธน์" และเมื่อตอนที่พระอนิรุทธิ์หายตัวไป ฤๅษีนารทมุนีก็แจ้งแก่พระกฤษณะว่า "พระอนิรุทธิ์ถูกท้าวกรุงภาณจับตัวไปขังในคุก" และเมื่อตอนที่ท้าวธฤตราษฎร์ พระนางคานธารี พระนางกุนตี ท้าววิทูร เสียชีวิตในป่า ฤๅษีนารทมุนีก็เป็นผู้แจ้งข่าวให้กับยุธิษฐิระว่า "ท้าวธฤตราษฎร์ พระนางคานธารี พระนางกุนตี ท้าววิทูร เสียชีวิตแล้ว และฤๅษีนารทมุนีเป็นผู้บอกถึงจุดอ่อนของทุรโยธน์ให่แก่อรชุน" นอกจากนี้ฤๅษีนารทมุนีก็ยังเป็นผู้เล่าเรื่องของพระรามให้แก่ฤๅษีวาลมีกิจนเกิดเป็นคัมภีร์รามายณะ ในภาพยนตร์ของบอลลีวู้ด โดยเฉพาะหนังเกี่ยวกับเทพเจ้า บทพูดของฤๅษีนารทมุนีที่ทุกคนจำได้ คือ คำว่า "นาร้ายณ์ นารายณ์" หมวดหมู่:ฤๅษี หมวดหมู่:เทพเจ้าฮินดู หมวดหมู่:มหาภารตะ หมวดหมู่:ศาสดา.

ดู พระรามและฤๅษีนารทมุนี

ลัทธิไวษณพ

ลัทธิไวษณพ เป็นนิกายในศาสนาฮินดูที่นับถือพระวิษณุเป็นพระเป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่กว่าเทพใด ๆ รวมทั้งในกลุ่มตรีมูรติ พระองค์ยังมีพระนามอื่น ๆ อีก เช่น พระราม พระกฤษณะ พระนารายณ์ พระวาสุเทพ พระหริ เป็นต้น นิกายนี้มีต้นกำเนิดมาจากลัทธิภควัต (หรือลัทธิบูชาพระกฤษณะ) ในสหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมารามานันทะได้พัฒนาลัทธิบูชาพระรามขึ้นจนปัจจุบันกลายเป็นคณะนักพรตที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ลัทธิไวษณพแบ่งเป็นหลายสำนัก เช่น ไทฺวตะ เวทานตะของมัธวาจารย์ วิศิษฏาไทฺวตะ เวทานตะของรามานุชะ สมาคมกฤษณภาวนามฤตนานาชาติของภักติเวทานตสวามี คีตาอาศรมของสวามี หริหระ มหาราช เป็นต้น.

ดู พระรามและลัทธิไวษณพ

ลิง

แสม (''Macaca fascicularis'') ลิงที่คุ้นเคยและพบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย อาจพบได้ถึงในชุมชนเมืองhttp://1081009.tourismthailand.org/trip/dcp?id.

ดู พระรามและลิง

วัดเขาวงพระจันทร์

วัดเขาวงพระจันทร์ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใน ตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันมี พระมงคลภาวนาวิกรม พระราชาคณะชั้นสามัญ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ซึ่งชาวลพบุรีจะเรียนท่านว่า หลวงปู่ฟัก.

ดู พระรามและวัดเขาวงพระจันทร์

วามนะ

รูปปั้นวามนา วามนา (สันสกฤต: वामन, IAST: Vāmana, lit. คนแคระ) เป็นอวตารที่ห้าของพระวิษณุ เขาต้องปรับปรุงกาลเวลาให้เหมือนเดิมโดยต้องจัดการกับอสูรมหาพลี ผู้ที่ไม่สมควรมีอำนาจทั้งจักรวาล โดยหลังจากนั้นมหาพลีถวายหัวให้วามนาเหยียบและส่งไปที่ปาตาละ (โลกใต้บาดาล).

ดู พระรามและวามนะ

วานรสิบแปดมงกุฎ

รูปบางส่วนของวานรสิบแปดมงกุฎ ในการแสดงโขนที่ลานคนเมืองเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน2549 วานรสิบแปดมงกุฏ เป็นวานร (ลิง) ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ วานรเหล่านี้เป็นเทวดาที่จุติลงมาเป็นวานร และมาเป็นทหารเอกในกองทัพของพระราม ผู้ซึ่งเป็นองค์พระนารายณ์อวตารลงมา และต้องไปอยู่ในป่าเป็นเวลา ๑๔ ปี เพื่อรักษาสัจจวาจาของพระราชบิดา คือท้าวทศรถ เมื่อพระมเหสีของพระราม คือ นางสีดา ถูกทศกัณฐ์ กษัตริย์เมืองลงกา ลักพาตัวไป พระรามต้องนำกองทัพติดตามไปรับนางสีดาคืนมา โดยมีหนุมานผู้นำเอา สุครีพ ซึ่งเป็นน้าชายมาถวายตัวพร้อมไพร่พลเมืองขีดขิน และท้าวมหาชมพูที่ยกกำลังพลเมืองชมพูให้เป็นทหารแห่งองค์พระราม วานรสิบแปดมงกุฏจึงเป็นกำลังพลในทัพขององค์พระราม ที่มาจากสองเมืองคือ เมืองขีดขินของสุครีพ และเมืองชมพูของท้าวมหาชมพู.

ดู พระรามและวานรสิบแปดมงกุฎ

วิรุณจำบัง

วิรุณจำบังเป็นโอรสของพญาทูษณ์ กษัตริย์เมืองจารึกองค์ที่ ๑ โอรสองค์ที่ ๕ ของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา น้องชายร่วมบิดามารดาของทศกัณฐ์ วิรุณจำบังมีม้าทรงคู่ใจตัวดำปากแดงชื่อ นิลพาหุ ซึ่งสามารถหายตัวได้ทั้งตนและม้า วิรุณจำบังรับอาสาทศกัณฐ์ยกทัพไปทำสงครามกับพระรามและพลวานรซึ่งกำลังมุ่งหน้ามาที่กรุงลงกาเพื่อทวงนางสีดาคืน โดยไปสมทบกับทัพของท้าวสัทธาสูร เจ้าเมืองอัสดง สหายอีกตนของทศกัณฐ์ ซึ่งต่อมาก็ถูกหนุมานฆ่าตาย เมื่อวิรุณจำบังไปรบ พลยักษ์ถูกพลวานรฆ่าตายหมด วิรุญจำบังผู้เป็นแม่ทัพจึงร่ายเวทย์กำบังตัวเองและม้า เข้าไปสังหารฝ่ายวานรล้มตายเป็นจำนวนมาก พระรามเห็นความไม่ชอบมาพากลจึงตรัสถามพิเภก พิเภกตอบว่า ขณะนี้วิรุณจำบังใช้เวทย์หายตัวเข้ามาในกองทัพ พิเภกถวายคำแนะนำให้พระรามแผลงศรไปฆ่าม้านิลพาหุเสีย เมื่อพระรามแผลงศรพรหมาสตร์ออกไปถูกม้าทรงของวิรุณจำบังตาย วิรุณจำบังเห็นว่าสู้ไม่ได้จึงคิดหนี โดยร่ายเวทย์เสกผ้าโพกศีรษะเป็นหุ่นพยนต์ซึ่งมีรูปกายเหมือนตนไม่ผิดเพี้ยน แล้วหลบหนีไปจนพบนางวานรินทร์ที่ในถ้ำกลางป่า นางวานรินทร์แนะให้ไปซ่อนตัวอยู่ในฟองน้ำที่นทีสีทันดรฝ่ายพระรามทรงรู้กลศึก แผลงศรเป็นตาข่ายเพชรทำลายรูปนิมิต แล้วสั่งให้หนุมานติดตามไปสังหาร หนุมานติดตามมาจนได้พบนางวานรินทร์จึงเข้าเกี้ยวพาราสี และทราบว่าเป็นนางฟ้าที่ถูกสาปที่ทำผิด เนื่องจากมีหน้าที่รักษาประทีป แล้วปล่อยให้ประทีปดับ และจะพ้นคำสาปเมื่อได้พบทหารเอกของพระราม เมื่อนางวานรินทร์บอกที่ซ่อนของวิรุณจำบังแล้วจึงส่งนางกลับขึ้นสู่สวรรค์ หนุมานตามไปสังหารวิรุณจำบังได้สำเร็.

ดู พระรามและวิรุณจำบัง

วิเทหะ

วิเทหะ (विदेह) หรือ มิถิลา (मिथिला) เป็นราชอาณาจักรโบราณในประเทศอินเดียสมัยพระเวท ซึ่งรุ่งเรืองขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าชนก มีดินแดนซึ่งปัจจุบันได้แก่ภาคมิถิลากินอาณาบริเวณทางเหนือและตะวันออกของรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย กับตะวันออกของที่ราบตะราอี ประเทศเนปาล.

ดู พระรามและวิเทหะ

วงศ์ปลากด

วงศ์ปลากด (Naked catfishes, Bagrid catfishes) เป็นปลาหนังไม่มีเกล็ด ในวงศ์ Bagridae (/บา-กริ-ดี้/) มีส่วนหัวค่อนข้างแบนราบ แต่ลำตัวแบนข้างไปทางด้านท้าย ปากกว้างอยู่ที่ปลายสุดของจะงอยปาก มีฟันซี่เล็กแหลมขึ้นเป็นแถวบนขากรรไกรและเพดาน มีหนวด 4 คู่ โดยคู่ที่อยู่ตรงริมฝีปากยาวที่สุด ครีบหลังและครีบอกเป็นก้านแข็ง หรือเรียกว่า เงี่ยง ครีบไขมันค่อนข้างยาว ครีบหางเว้าลึก ในตัวผู้มักมีติ่งเล็กๆ ที่ช่องก้น มีการกระจายพันธุ์ตามแหล่งน้ำจืดไปจนถึงน้ำกร่อยตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงหมู่เกาะซุนดา พบประมาณ 200 ชนิด สำหรับในประเทศไทย จัดเป็นปลาหนังวงศ์ที่พบมากชนิดที่สุดของไทย โดยพบมากกว่า 25 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว มีพฤติกรรมมักกบดานอยู่กับพื้นนิ่ง ๆ ถ้าไม่พบอาหารหรือล่าเหยื่อจะไม่เคลื่อนไหว กินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่แมลง, ปลา, กุ้ง, ซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมนำมาบริโภคบ่อย ปลาในวงศ์นี้ มีชื่อสามัญในภาษาไทยมักเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลากด" ในปลาขนาดใหญ่ และ "ปลาแขยง" (ปลาลูกแหยง ในภาษาใต้) หรือ "ปลามังกง" ในปลาขนาดเล็ก โดยมีสกุลที่ใหญ่ที่สุดคือสกุล Rita ที่พบได้ในประเทศอินเดียและแม่น้ำสาละวินที่เมื่อโตเต็มที่อาจใหญ่ได้ถึง 2 เมตร.

ดู พระรามและวงศ์ปลากด

ศาลลูกศร

ลลูกศร ศาลลูกศร หรือ ลูกศรพระราม ตั้งอยู่ใกล้ๆบริเวณตลาดลพบุรี ด้านหน้าใกล้ทางแยกไปวัดสามจีน(วัดพรหมมาสตร์) ทางไปอำเภอไชโย (ถนนสายบ้านเบิก) ใกล้แม่น้ำลพบุรี ด้านหลังติดกับ วัดปืน ซึ่งใกล้กับบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ศาลลูกศร เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาของชาวไทยเชื้อสายจีนในเมืองลพบุรี และสถานที่แห่งนี้อาจจะเป็นศาลหลักเมืองลพบุรีก็ได้ ซึ่งภายในศาลแห่งนี้ จะมีหินสีดำ ที่แช่ในน้ำไว้ตลอด ซึ่งกล่าวกันว่า เป็นศรของพระรามที่ตกลงมา ซึ่งก้อนหินนี้ เมื่อน้ำที่อยู่รอบก้อนหินนี้แห้งไป ก็จะเกิดไฟไหม้ในลพบุรี.

ดู พระรามและศาลลูกศร

ศิวะ พระมหาเทพ

วะ พระมหาเทพ (Devon Ke Dev...) หรือ ตำนานพระพิฆเนศ (ชื่อไทยในฉบับดีวีดี) เป็นละครโทรทัศน์ที่ถ่ายทำเมื่อปี ค.ศ. 2014 กล่าวถึงพระประวัติของ พระศิวะ นำแสดงโดย โมหิต ไรนา รับบท พระศิวะ ออกอากาศทางช่อง ไบรต์ทีวี ละครเรื่องนี้ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 20.00 น.

ดู พระรามและศิวะ พระมหาเทพ

ศึกกุมภกรรณ 2527

ึกกุมภกรรณ (The Noble War 2527) เป็นตอนที่ 25 ของเรื่องรามเกึยรติ์ซึ่งได้นำมาทำเป็นภาพยนตร์ที่พลิกโฉมประวัติศาสตร์ใหม่จากโขน มาเป็นภาพยนตร์รามเกึยรติ์เรื่องแรกของไทยออกฉายในประเทศไทยในปี..

ดู พระรามและศึกกุมภกรรณ 2527

สมาคมฮินดูสมาช

มาคมฮินดูสมาช หรือ วัดเทพมณเฑียร เสาชิงช้า เป็นโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไวษณพ ตั้งอยู่ด้านบนของโรงเรียนภารตวิทยาลัย ถนนศิริพงษ์ แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถานของพระวิษณุและเทพเจ้าในศาสนาฮินดู.

ดู พระรามและสมาคมฮินดูสมาช

สมาคมฮินดูธรรมสภา

มาคมฮินดูธรรมสภา หรือ วัดวิษณุ ยานนาวา เป็นโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไวษณพ ตั้งอยู่เยื้องกับวัดปรก เขตสาทร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถานของพระวิษณุและเทพเจ้าในศาสนาฮินดู.

ดู พระรามและสมาคมฮินดูธรรมสภา

สหัสเดชะ

ทวารบาลสหัสเดชะ ที่วัดพระแก้ว สหัสเดชะ (แปลว่า มีกำลังนับพัน) เป็นรากษสกายสีขาว เจ้าเมืองปางตาล มี 1000 หน้า 2000 มือ ร่างกายสูงใหญ่ดั่งเขาอัศกรรม มีกระบองวิเศษที่พระพรหมประทานให้มีฤทธิ์คือต้นชี้ตายปลายชี้เป็นและได้รับพรเมื่อข้าศึกหรือศัตรูเห็นจงหนีหายไปด้วยความกลัว เมื่อพญามูลพลัมรู้ว่าทศกัณฐ์เพื่อนของตนกำลังรบกับพระรามอยู่จึงคิดจะช่วยโดยชวนสหัสเดชะพี่ชายของตนไปออกรบด้วยกัน ภายหลังด้วยความชะล่าใจของตนจึงถูกหนุมานใช้กลอุบายแปลงเป็นลิงน้อยหลอกเอากระบองวิเศษมาหักทิ้ง และฆ่าสหัสเดชะตายในที่สุด สหัสเดชะ เป็นหนึ่งในยักษ์ทวารบาลสองตน ที่ยืนเฝ้าประตูทางเข้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามและวัดอรุณราชวรารามคู่กับทศกัณฐ์ เพราะถือว่าเป็น ยักษ์ที่มีฤทธิ์มากดุจเดียวกับทศกัณ.

ดู พระรามและสหัสเดชะ

สาวเอ๊าะเดือดร้อน

นักบุญจอร์จปะทะพญานาค โดย เพาโล อูเชลโล ราว ๆ ค.ศ. 1470 แสดงแก่นเรื่องยอดนิยม ที่มีอัศวินขี่ม้าขาว สาวน้อยประสบปัญหา และอสุรกาย (damsel in distress) เป็นหญิงสาวตามท้องเรื่องแบบดั้งเดิมและยอดนิยมในวรรณกรรม ศิลปะ และภาพยนตร์ส่วนใหญ่ของโลก โดยเธอมักเป็นหญิงงาม อ่อนหวาน และอ่อนวัย กำลังถูกเหล่าร้ายหรืออสุรกายคุกคาม และต้องการวีรบุรุษโดยด่วน ปรกติแล้ว "สาวน้อย" มักเป็นมนุษย์ธรรมดา แต่ในหลาย ๆ เรื่องเป็นเทพธิดา, พราย, เงือก หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ก็มี แต่ลักษณะสากลของสาวน้อยประสบปัญหา คือ ต้องช่วยเหลือตนเองมิได้ (helpless) และบางทีก็ "ไม่ฉลาดนัก" (partly foolish) และ "อ่อนต่อโลก" (naive) ซึ่งเป็นลักษณะที่ชายหนุ่มทั่วไปต้องใจRobert K.

ดู พระรามและสาวเอ๊าะเดือดร้อน

สุครีพ

สุครีพ เป็นพญาวานรในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีแดง เป็นลูกชายของพระอาทิตย์กับนางกาลอัจนา เป็นทหารเอกของพระราม ได้รับความไว้วางพระทัยจากพระรามให้เป็นผู้จัดการกองทัพ ออกรบสู้กับกองทัพของกรุงลงกาอยู่เสมอ ครั้งเสร็จศึกกรุงลงกา ได้รับแต่งตั้งเป็น พญาไวยวงศามหาสุรเดช ครองกรุงขีดขิน เมื่อตอนที่พระฤๅษีโคดมสามีของนางกาจอัจนา รู้ความจริงจากนางสวาหะว่าสุครีพไม่ใช่ลูกของตนแต่เป็นลูกชู้ จึงสาปให้กลายเป็นลิงพร้อมกับพาลีผู้เป็นพี่ชายซึ่งเป็นลูกชู้กับพระอินทร์ แล้วไล่ให้เข้าป่าไป ต่อมาจึงได้พบกับพระราม สุครีพมีศักดิ์เป็นน้าของหนุมาน ไฟล์:OPR050103Sukreep-DS.jpg ‎ หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ดู พระรามและสุครีพ

สีดา ราม ศึกรักมหาลงกา

ีดา ราม ศึกรักมหาลงกา หรือ สีดาราม ศึกรักมหาลงกา (Siya Ke Ram) เป็นละครโทรทัศน์ที่กล่าวถึงสงครามครั้งสำคัญในวรรณกรรมเรื่องยิ่งใหญ่ รามายณะ ที่กล่าวการยกทัพของพระรามกับพญาทศกัณฐ์ เพื่อชิงเอานางสีดาคืนมา นำแสดงโดย อาชิช ชาร์มา, มาดิรักศรี มันเดิล ออกอากาศทาง ช่อง 8 ออกอากาศ ทุกวันเสาร์- อาทิตย์ เวลา 10.00 น.

ดู พระรามและสีดา ราม ศึกรักมหาลงกา

สดายุ

ทศกัณฐ์สังหารนกหัสดายุ ผลงานของราชา รวิ วรรมา ศิลปินชาวอินเดียช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นกสดายุ หรือ พระยาสดายุเป็นพระยาปักษาชาติ (นก)หนึ่งในตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นสหายกับท้าวทศรถ เมื่อทศกัณฐ์ไปลักนางสีดาจากบรรณศาลา พาอุ้มเหาะจะนำไปไว้ ณ สวนขวัญ กรุงลงกา ขณะที่พระรามไม่อยู่ในอาศรม แต่นกสดายุบินผ่านมาเห็นเหตุการณ์จึงเข้ามาสกัดไว้ ผลสุดท้าย พระยาสดายุหรือ นกสดายุถูกขว้างด้วยแหวนของนางสีดาปีกหักตกลงมายังพื้นดินแต่ยังไม่ตาย ทศกัณฐ์พานางสีดาหนีไปได้ สดายุรอคอยแจ้งเหตุกับ พระรามที่ออกติดตามหานางสีดา เมื่อพระรามมาเจอสดายุก็ได้มอบแหวนของนางสีดาให้แล้วจึงสิ้นชีพไป.

ดู พระรามและสดายุ

หมากรุก

ตุรังกา หมากรุก เป็นเกมกระดานชนิดหนึ่ง มีลักษณะจำลองจากการสงคราม ใช้เล่นระหว่างผู้เล่น 2 คน แต่ละฝ่ายต้องพยายามรุกจนขุนของอีกฝ่ายให้ได้(ทำให้อีกฝ่ายไม่สามารถเดินต่อไปได้) โดยกติกาและตัวหมากอื่นๆ จะแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของหมากรุก.

ดู พระรามและหมากรุก

หนุมาน

1.

ดู พระรามและหนุมาน

หนุมาน สงครามมหาเทพ

หนุมาน สงครามมหาเทพ (Mahabali Hanuman, Sankatmochan Mahabali Hanuman) เป็นละครโทรทัศน์ที่กล่าวถึงสงครามครั้งสำคัญในวรรณกรรมเรื่องยิ่งใหญ่ รามายณะ ที่กล่าวการยกทัพของพระรามกับพญาทศกัณฐ์ เพื่อชิงเอานางสีดาคืนมา โดยเรื่องนี้จะเน้นตัวละคร หนุมาน เป็นตัวละครหลัก นำแสดงโดย นิรภัย วัทวา, เกกัน มาลิค ออกอากาศทาง ช่อง 8 ออกอากาศ ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 19.00 น.

ดู พระรามและหนุมาน สงครามมหาเทพ

อวัธ

อวัธ (Awadh; अवध, اودھ) หรืออูธเป็นแคว้นที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ทางตอนเหนือของอินเดียตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำระหว่างแม่น้ำยมุนาทางตะวันตกเฉียงใต้และแม่น้ำคันทักทางตะวันออก คำว่าอวัธมาจากอโยธยางเป็นชื่อเมืองของพระราม อังกฤษเข้ามายึดแคว้นนี้ไปทีละส่วนใน..

ดู พระรามและอวัธ

อวตาร

กัลกยาวตาร (อัศวินม้าขาว) อวตาร (अवतार, avatāra) คือการที่เทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูแบ่งภาคมาเกิดบนโลกมนุษย์ โดยเทพแบ่งพลังงานส่วนหนึ่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด ในลัทธิไวษณพถือว่าเมื่อศีลธรรมของมนุษย์เสื่อมลง จนเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว พระวิษณุจะอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ การอวตารส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพระวิษณุ แต่ก็ยังมีที่เชื่อมโยงกับเทวดาอื่น ๆ รายชื่อของพระนารายณ์อวตารปรากฏในคัมภีร์ฮินดูจำนวนมากรวมทั้งอวตารทั้งสิบในครุฑ ปุราณะ และอวตาร 22 ปางในภควัตปุราณะ รวมทั้งที่เพิ่มอีกภายหลังจนนับไม่ถ้วน พระวิษณุอวตารเป็นความเชื่อหลักของลัทธิไวษณพ หลักฐานเกี่ยวกับอวตารยุคแรก ๆ อยู่ในภควัทคีตา มีเรื่องราวเกี่ยวกับอวตารของพระศิวะและพระพิฆเนศ และเทพีต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่ผู้นับถือลัทธิศักติ อย่างไรก็ตาม อวตารของพระนารายณ์เป็นที่รู้จักมากที.

ดู พระรามและอวตาร

อสุรผัด

ฟล์:OPR050108Arsurapat-DS.jpg อสุรผัด เป็นบุตรของหนุมานกับนางเบญกาย มีหน้าเป็นลิง แต่มีหัวและตัวเป็นยักษ์ มีสีเหลืองเลื่อม เป็นหลานของพิเภก เมื่อพิเภกผู้เป็นตา ถูกท้าวจักรวรรดิกับไพนาสุริยวงศ์จับไปขังไว้ อสุรผัดจึงหนีมาหาหนุมาน เล่าเรื่องราวให้ฟัง พระรามจึงโปรดให้พระพรตกับพระสัตรุต ยกกองทัพไปปราบ ซึ่งเป็นการทำศึกกับกรุงลงกาครั้งที่สอง เมื่อเสร็จศึกแล้ว พระรามได้แต่งตั้งให้อสุรผัดมีตำแหน่งเป็นพระยามารนุราช มหาอุปราชแห่งกรุงลงก.

ดู พระรามและอสุรผัด

อาศีษ ศรรมา

อาศีษ ศรรมา (Ashish Sharma) เป็นนักแสดงชายชาวอินเดีย มีชื่อเสียงโด่งดังจากบท พระราม จากซีรีส์เรื่อง สีดา ราม ศึกรักมหาลงกา บทรุทระ ประตาป ราณาวัต จากซีรีส์เรื่อง ลิขิตแค้นแสนรัก และบทบาท พระเจ้าวัลลภ ในซีรีส์เรื่อง วัลลภ มหากษัตริย์ชาตินักร.

ดู พระรามและอาศีษ ศรรมา

อาณาจักรในอินเดียโบราณ

อาณาจักรในอินเดียโบราณ หรือ มหาชนบททั้งสิบหก เป็นอาณาจักรในอินเดียโบราณ 16 อาณาจักร.

ดู พระรามและอาณาจักรในอินเดียโบราณ

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

ปราสาทพนมรุ้ง เมื่อมองจากทางขึ้นด้านหน้า ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นหนึ่งในปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่ ปัจจุบัน ปราสาทหินพนมรุ้งกำลังอยู่ในเกณฑ์กำลังพิจารณาเป็นมรดกโลก เช่นเดียวกับ ปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นหนึ่งในปราสาทหินขอมของไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ และถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงเป็นภาพพื้นหลังตราสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดอีกด้วย ตัวปราสาทหินพนมรุ้ง ความสวยงามของปราสาท.

ดู พระรามและอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

องคต

องคต (Angada จากअङ्गद องฺคท) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งของเรื่อง รามเกียรติ์ เป็นลูกของพญาพาลี กับนางมณโฑ เป็นทหารเอกของพระรามมีอาวุธเป็นธนู ที่แม้แต่ใครก็ตามที่มาสู้กับองคตก็ต้องตายหมด องคตเกิดมาจาก เมื่อพาลีแย่งนางมณโฑมาจากทศกัณฐ์แล้ว นางต้องเป็นภรรยาของพาลีจนกระทั่งตั้งครรภ์ ทศกัณฐ์จึงไปฟ้องฤๅษีอังคัตผู้เป็นอาจารย์ของพาลีให้มาว่ากล่าวพาลี จนพาลียอมคืนนางมณโฑให้แต่ขอลูกเอาไว้ ฤๅษีอังคัตจึงทำพิธีเอาลูกออกจากท้องนางมณโฑไปใส่ในท้องแพะ เมื่อครบกำหนดคลอดพระฤๅษีก็ทำพิธีให้ออกจากท้องแพะให้ชื่อว่า องคต ทศกัณฐ์ยังผูกใจเจ็บ จึงแปลงกายเป็นปูยักษ์ คอยอยู่ก้นแม่น้ำเพื่อที่จะฆ่าองคตขณะทำพิธีลงสรง แต่ถูกพาลีจับได้ แล้วเอามาผูกไว้ให้ลูกลากเล่นอยู่เจ็ดวันจึงปล่อยไป เมื่อสุครีพขอให้พระรามมาช่วยปราบพาลี ก่อนที่พาลีจะสิ้นใจตาย ได้สำนึกว่าตนทำผิดต่อสุครีพ ทั้งไม่รักษาคำสัตย์สาบาน จึงได้ทูลฝากฝังสุครีพและองคตไว้กับพระราม องคตได้ช่วยทำศึกกับกองทัพของทศกัณฐ์อย่างเต็มความสามารถ พระรามเคยส่งองคตเป็นทูตไปเจรจากับทศกัณฐ์ เพื่อทวงนางสีดาคืนกลับมา แม้จะไม่สำเร็จ แต่ก็ได้แสดงความเฉลียวฉลาดและความกล้าหาญ ให้ประจักษ์แก่ตาของทศกัณฐ์ องคตเป็นผู้ที่มีสัมมาวาจา สามารถพูดจาให้คนหลงเชื่อได้ ดังจะเห็นได้จากตอนที่พระรามให้องคตแปลงกายเป็นยักษ์พิจิตรไพรีไปทูลขอแว่นแก้วสุรกานต์จากพระพรหม.

ดู พระรามและองคต

อโยธยา

อโยธยา (เทวนาครี: अयोध्या, อูรดู: ایودھیا) เป็นเมืองเก่าแก่ในประเทศอินเดีย อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ชาวฮินดูเชื่อว่าพระรามเคยครองราชย์ที่เมืองนี้ อโยธยาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสรยุ ทุกปีในเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นเดือนประสูติของพระรามและเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเดือนที่พระรามอภิเษกกับนางสีดาจะมีชาวฮินดูมาแสวงบุญที่อโยธยา ตามความเชื่อของชาวฮินดู อโยธยาเป็นสถานที่ประสูติของพระราม ในปีพ.ศ.

ดู พระรามและอโยธยา

จังหวัดลพบุรี

ังหวัดลพบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นถึง 8 จังหวัด วนตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลพบุรีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้.

ดู พระรามและจังหวัดลพบุรี

ทศกัณฐ์

ระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) ทศกัณฐ์ทรงศร ทศกัณฐ์ทรงหอกกบิลพัท ทศกัณฐ์ (ผู้มีสิบคอ คือ มีสิบหัว) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ ดัดแปลงมาจากตัวละคร ราวณะ ในมหากาพย์ฮินดูเรื่อง รามายณ.

ดู พระรามและทศกัณฐ์

ทศกัณฐ์ (ละครโทรทัศน์)

ทศกัณฐ์ (Raavan, Ravana) เป็นละครโทรทัศน์อินเดียที่กล่าวถึงประวัติของพญาทศกัณฐ์ ออกอากาศทางช่อง Zee TV ในอินเดีย ต่อมาสหมงคลฟิล์มได้ซื้อลิขสิทธิ์ แล้วก็นำมาออกอากาศทางช่อง มงคลแชนแนล ในประเทศไทย โดยมีทีมพากย์พันธมิตรใให้เสียงพากย์ภาษาไทย นำแสดงโดย นาเรนดร้า จา, ปาราส ออโรรา รับบทเป็น พญาทศกัณฐ์ ซึ่งละครเรื่องนี้ออกอากาศต่อจากละครโทรทัศน์เรื่อง พระศิวะ ที่อวสานลงไป.

ดู พระรามและทศกัณฐ์ (ละครโทรทัศน์)

ทศาวตาร

อวตารของพระวิษณุ โดยราชา รวิ วรรมา วาดในช่วงศตวรรษที่ 19. ทศาวตาร () หมายถึง อวตารหลักทั้งสิบปางของพระวิษณุ เทพเจ้าในศาสนาฮินดู คำว่าทศาวตาร เป็นคำสมาสของคำว่า ทศ หมายถึง สิบ และ อวตาร หมายถึง การแบ่งภาคมาเก.

ดู พระรามและทศาวตาร

ทศคีรีวัน ทศคีรีธร

ทศคีรีวันและทศคีรีธร เป็นยักษ์ฝาแฝดที่เกิดจากทศกัณฐ์กับนางช้างพัง ทศคีรีวันเป็นพี่ ทศคีรีธรเป็นน้อง ทศกัณฐ์ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ ท้าวอัศกรรมมาลา เจ้าเมืองดุรัม วันหนึ่งคิดถึงบิดาตนจึงไปหาและทราบเรื่องราวที่บิดาตนทำศึกกับพระรามจึงอาสาออกรบ เมื่อสองตนนี้ยกทัพมาถึง พระรามรับสั่งให้พระลักษมณ์เป็นทัพหน้า เข้าสู้กับกองทัพลงกาซึ่งทศกัณฐ์อยู่ตรงกลาง พระลักษมณ์แผลงศรพลายวาตถูกม้าศึกทั้งสองตายคาที่ สองยักษ์พี่น้องจึงกระโดดเข้าหักงอนรถพระลักษมณ์ พระลักษมณ์หวดด้วยคันศร ทั้งสองแผลงศรเป็นอาวุธเก้าอย่างถูกพลลิงตายมากมาย พระลักษมณ์จึงแผลงศรไปแก้เป็นลมพัด จนวานรฟื้นคืนหมดแล้วศรก็พุ่งไปเสียบอกยักษ์พี่น้องสองตนขาดใจต.

ดู พระรามและทศคีรีวัน ทศคีรีธร

ท้าวมหาชมพู

ท้าวมหาชมพู เป็นพญาวานรครองกรุงชมพูมีนางแก้วอุดรเป็นมเหสีมี นิลพัท เป็นหลานบุญธรรม เป็นพื่อนรักกับพาลี เจ้าเมืองขีดขิน มีฤทธิ์มากไม่ยอมไหว้ใครนอกจากพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม ภายหลังเมื่อรู้ว่าพระนารายณ์อวตารมาเป็นพระรามจึงเข้าร่วมทัพด้ว.

ดู พระรามและท้าวมหาชมพู

ท้าวอัศกรรมมาลา

รูปปั้นท้าวอัศกรรมมาลา ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ท้าวอัศกรรณมาลาสูร เจ้าเมืองดุรัม เป็นเพื่อนอีกตนหนึ่งของทศกัณฐ์ ได้ขอทศคีรีวัน ทศคีรีธร โอรสฝาแฝดของทศกัณฐ์ที่เกิดกับนางช้าง ไปเป็นลูกบุญธรรม เมื่อลูกบุญธรรมทั้งสองและทศกัณฐ์ตาย ท้าวอัศกรรณมาลาสูรก็ยกทัพไปช่วยแก้แค้น จึงถูกพระรามแผลงศรตัดตัวขาด แต่แทนที่จะตายกลับมีร่างกายทวีคูณขึ้นเรื่อย ๆ พิเภกจึงบอกความลับว่าท้าวอัศกรรณมาลาสูรได้พรจากพระอิศวร ถึงร่างกายจะถูกตัดเป็นกี่ท่อนก็จะทวีคูณขึ้นมา ไม่มีวันตาย วิธีฆ่าคือ ต้องนำร่างทั้งหมดไปทิ้งน้ำ พระรามจึงแผลงศรพรหมมาศไปตัดหัวขาด และนำร่างไปทิ้งน้ำ ท้าวอัศกรรณมาลาสูร เป็นหนึ่งในทวารบาลในพระบรมมหาราชวัง.

ดู พระรามและท้าวอัศกรรมมาลา

ท้าวทศรถ

ท้าวทศรถ เป็นพระราชโอรสของท้าวอัชบาล กับพระนางเทพอัปสร ครองกรุงอโยธยาต่อจากพระราชบิดา ท้าวทศรถได้กำหราบยักษ์หลายตน เช่น ปทูตทันต์ ในการศึกนั้นท้าวทศรถต่อสู้ด้วยศร จนปทูตทันต์กระเด็นไป ปทูตทันต์โมโหก็ขว้างกระบองแก้ว ทำให้เกิดเสียงดังกัมปนาท และบังเกิดเปลวไฟ ท้าวทศรถเห็นเพลิงจึงขว้างพระขรรค์ เกิดเป็นฝนตกลงมาดับไฟ ทำให้เพลารถหัก พระนางไกษเกษีเห็นดังนั้น จังนำแขนมาเทียมรถ ได้รับความเจ็บปวดอย่างมาก ปทูตทันต์โมโหโทโส กระโดดเข้ามาใหม่ ท้าวทศรถจึงขว้างพระขรรค์ไปใหม่ ด้วยอำนาจอันเรืองฤทธิ์ของพระขรรค์ ปทูตทันต์จึงกระเด็นตกยังพื้นพสุธาคอหักตายคาที และท้าวทศรถจึงได้ให้รางวัลแก่พระนางไกษเกษี ว่าในวันข้างหน้า หากนางขออะไร ก็จะให้ตามที่นางขอ ท้าวทศรถอยู่ในราชสมบัติได้หกหมื่นปี ก็มาคิดเรื่องโอรสทั้งสี่ที่จะแบ่งสมบัติให้ โดยพระพรตและพระสัตรุตจะได้ครองกรุงไกยเกษ ส่วนพระรามและพระลักษมณ์จะให้ครองเมืองอโยธยาแต่การนี้พระนางไกยเกษีมเหสีองค์รองขัดขวาง โดยยกเรื่องของรางวัลในอดีตมาเป็นข้อต่อรอง ให้พระรามไปอยู่ในป่าสิบสี่ปี และให้พระพรตขึ้นครองราชย์แทน ท้าวทศรถเสียใจมากจึงสวรรคตด้วยความตรอมพระทั.

ดู พระรามและท้าวทศรถ

ปริภัณฑ์ วัชรานนท์

ปริภัณฑ์ วัชรานนท์ ปริภัณฑ์ วัชรานนท์ (ชื่อเล่น โต๊ะ) เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 เป็นนักพากย์ภาพยนตร์จีน ที่เป็นที่รู้จักคนหนึ่งของเมืองไทย ในนามทีมพากย์พันธมิตร จะเป็นผู้ให้เสียงพากย์ โจว ซิงฉือ, เจ็ต ลี และ เฉินหลง ต่อจากทีมพากย์อินทรี เป็นผู้ก่อตั้งทีมพากย์พันธมิตร และเป็นหัวหน้าทีม เขาเริ่มงานพากย์จากการพากย์หนังกลางแปลง สถานที่แรกที่เขาเริ่มพากย์ คือ อ่าวลึกเหนือ จังหวัดกระบี่ โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่เขาพากย์คือ ภาพยนตร์อินเดียเรื่อง สายน้ำวิปโยค และต่อมาก็ได้พากย์หนังในโรงภาพยนตร์ ต่อมา เขาก็มาเริ่มพากย์ให้กับทางช่อง 3ในปี..

ดู พระรามและปริภัณฑ์ วัชรานนท์

ปักหลั่น

ปักหลั่น เป็นชื่อของยักษ์ตนหนึ่งในตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีหน้าที่เฝ้าสระโบกขรณีชื่อ "พันตา" ตั้งอยู่ระหว่างทางที่ทัพพระรามจะเคลื่อนทัพไปกรุงลงกา ปักหลั่นคอยดักสัตว์กินเป็นอาหาร เมื่อพบกับ หนุมาน องคต และชมพูพาน ที่มานอนหลับริมสระ จึงคิดจะกินลิงทั้สาม แต่ต่อสู้กันปักหลั่นก็แพ้ และบอกที่มาว่าของตนเดิมว่าเป็น เทวดาแต่ลักลอบเป็นชู้กับนางเกสรมาลา จึงถูกสาปมาเป็นยักษ์เฝ้าสระ แต่ถ้าได้พบกับทหารขององค์พระนารายณ์เข้าลูบกายก็จะพ้นคำสาป องคตจึงเข้าลูบหลังทำให้ พ้นคำสาปกลับไปเป็นเทวดา ปักหลั่น อยู่ในสำนวนไทยที่ใช้เปรียบเทียบคนตัวใหญ่ว่า ใหญ่โตราวกับยักษ์ปักหลั่น.

ดู พระรามและปักหลั่น

นักสิทธิ์

นักสิทธิ์ หมายถึง ผู้สำเร็จด้านจิตวิญญาณ เพราะมีศรัทธาแรงกล้าและคุณธรรมสูงราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 236-7 มาจากคำว่า สิทฺธ ในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่าผู้สำเร็.

ดู พระรามและนักสิทธิ์

นางกวัก (เทพปกรณัม)

นางกวัก เป็นเทพีแห่งโชคลาภตามคติไทย มีลักษณะเป็นรูปศักดิ์สิทธิ์ทำเป็นรูปหญิงสวมเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับอย่างธรรมเนียมไทย นั่งพับเพียบ มือซ้ายวางลงแตะข้างลำตัวหรือวางบนตัก ส่วนมือขวายกขึ้นระดับไหล่ทำท่ากวักมือหรือเรียกเข้ามาหาทิพยประติมา, หน้า 201 เชื่อว่าเทพีองค์นี้จะกวักมือเรียกทรัพย์ เป็นที่นับถืออย่างยิ่งในหมู่พ่อค้าแม่ขายชาวไทยเพราะถือว่าเทพีองค์นี้จะเรียกลูกค้าเข้ามาอุดหนุนสินค้าในร้านทิพยประติมา, หน้า 203.

ดู พระรามและนางกวัก (เทพปกรณัม)

นางสำมนักขา

นางสำมนักขา (शूर्पणखा ศูรฺปณขา) เป็นตัวละครหนึ่งในมหากาพย์รามายณ.

ดู พระรามและนางสำมนักขา

นางสุพรรณมัจฉา

นางสุพรรณมัจฉา (ความหมาย: "ปลาทอง") เป็นตัวละครจากวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ อันเป็นธิดาของทศกัณฑ์ ที่ต่อมาได้ตกเป็นภรรยาคนหนึ่งของหนุมาน ทหารเอกของพระราม อันเป็นตัวเอกของวรรณคดีเรื่องดังกล่าว นางปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อครั้งที่พระรามให้หนุมานถมมหาสมุทรข้ามไปยังกรุงลงกา ทศกัณฑ์จึงให้นางสุพรรณมัจฉาและบริวารที่เป็นปลาลอบขนหินถมทะเลดังกล่าวไปทิ้ง หนุมานสงสัยจึงดำลงไปใต้ท้องทะเลจึงพบนางสุพรรณมัจฉา ภายหลังทั้งสองได้ร่วมรักกันและมีบุตรคือ มัจฉานุ ที่ตัวเป็นลิงมีหางเป็นปลา เช่นเดียวกับนางสีดา ที่มีบิดาเป็นยักษ์ แต่ก็มีรูปโฉมที่สวยงาม แม้นางสุพรรณมัจฉาจะเป็นตัวละครที่มีบทบาทไม่มากนัก แต่ก็เป็นที่กล่าวขานถึงรูปลักษณ์ที่งดงามที่ปรากฏตามจิตรกรรมฝาผนัง จนเป็นหนึ่งในนางในวรรณคดีที่มีชื่อเสียงนางหนึ่ง ทั้งนี้นางสุพรรณมัจฉาปรากฏอยู่ในรามายณะของภูมิภาคอุษาคเนย์บางประเทศเท่านั้น.

ดู พระรามและนางสุพรรณมัจฉา

นางสีดา

นางสีดา จากการแสดง รามายณะ ที่ยอกจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งสีดาในรามายณะฉบับอินโดนีเซีย แต่งตัวด้วยการนำเอาใบหญ้ามาคลุมตัวหน้า 13 ประชาชื่น, ''''เยี่ยมบ้าน ส.พลายน้อย 88 ปี วันนี้...สบายดี "สนุกกับการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ในทะเลหนังสือ"'' โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช.

ดู พระรามและนางสีดา

นางเบญกาย

นางเบญกาย เป็นตัวละครในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ เป็นธิดาของพิเภก และเป็นหลานของทศกัณฐ์ ที่ต่อมาได้ตกเป็นภรรยาคนหนึ่งของหนุมาน (ตอนนี้ไม่ปรากฏในรามายณะ) นางปรากฏตัวในตอนนางลอย ที่ทศกัณฐ์ผู้เป็นลุงได้สั่งให้เธอแปลงกายนางสีดาแสร้งเป็นศพลอยน้ำไปยังค่ายของพระราม หวังที่จะทำให้พระรามหมดกำลังใจและถอนทัพกลับ แต่หนุมานได้เห็นพิรุธบางประการจึงทูลพระรามก่อนนำไปสู่การเปิดเผ.

ดู พระรามและนางเบญกาย

นิลพัท

นิลพัท (Nila, สันสกฤต: नील) เป็นบุตรพระกาฬ พระกาฬมอบให้พระอิศวร พระอิศวรมอบให้เป็นบุตรบุญธรรมของท้าวมหาชมพู เจ้าเมืองชมพู มีฤทธิ์มากเทียบเท่ากับหนุมาน ไม่ถูกกับหนุมาน จึงกลั่นแกล้งหนุมานตอนพระรามสั่งให้กองทัพลิงไปขนหินถมถนนไปสู่กรุงลงกา หนุมานกับนิลพัทเลยต่อสู้กัน พระรามจึงมาสงบศึกและตัดสิน เมื่อทราบความว่านิลพัทเป็นฝ่ายหาเรื่องก่อน พระรามกริ้วนิลพัทมาก เนรเทศให้ไปอยู่เมืองขีดขินสั่งให้คอยส่งเสบียงอาหารให้แก่กองทัพ เมื่อเสร็จศึกลงกาพระรามแต่งตั้งให้เป็นอุปราชเมืองชมพูมีนามใหม่ว่า พระยาอภัยพัทวงค์ นิลพัทมีลักษณะเหมือนหนุมานทุกอย่าง เพียงแต่มีกายสีดำ มีกุณฑล ขนเพชร เขี้ยวแก้ว สี่หน้า แปดกร ในทางวิชาการละคร อาจกล่าวได้ว่า ตัวละคร เช่น นิลพัทเป็นด้านที่อยู่ตรงข้ามกับหนุมานก็ว่าได้ (Split personality).

ดู พระรามและนิลพัท

แมลงภู่

''แมลงภู่'' เกาะอยู่บนสภาพแวดล้อมในเมืองเขตร้อน เอลเดอร์ แมลงภู่เจาะรูทำรัง แมลงภู่ เป็นสายพันธ์ุผึ้งไม้ซึ่งแพร่หลายในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผึ้งชนิดนี้อาศัยอยู่ในป่าเขตร้อนอบอุ่น และสร้างรังโดยการเจาะเข้าไปในเนื้อไม้ แมลงภู่มักจะสร้างโพรงยาวลึกในไม้ผุ ต้นไม้ที่โค่นล้ม โทรศัพท์ หรือสิ่งอื่น ๆ ที่คล้าย ๆ กัน แต่ไม่พบว่าสร้างรังอยู่ในต้นไม้ที่ยังมีชีวิตอยู่ แมลงภู่ถูกบรรยายในทางวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกโดยนักกีฏวิทยาชาวอังกฤษ ใน..

ดู พระรามและแมลงภู่

แสงอาทิตย์ (รามเกียรติ์)

แสงอาทิตย์ เป็นตัวละครฝ่ายอธรรมจากเรื่องรามเกียรติ์ โอรสองค์ที่สองของพญาขร เป็นน้องของมังกรกัณฐ์ มีแว่นแก้วสุรกานต์ที่พระพรหมประทานให้เป็นอาวุธ และได้ฝากเก็บไว้ที่พระพรหม หากใช้ส่องไปที่ใครจะทำให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ทศกัณฐ์ใช้ให้แสงอาทิตย์ยกทัพออกไปรบกับพระราม พิเภกทูลพระรามว่าแสงอาทิตย์มีแว่นแก้วสุรกานต์เป็นอาวุธฝากไว้ที่พระพรหม พระรามจึงให้องคตแปลงกายเป็นแสงอาทิตย์ และให้พิเภกแปลงกายเป็นจิตรไพรี พี่เลี้ยงของแสงอาทิตย์ แล้วไปขอแว่นแก้วมาจากพระพรหม เมื่อแสงอาทิตย์สู้พระรามไม่ได้ จึงใช้ให้จิตรไพรีไปขอแว่นแก้วสุรกานต์จากพระพรหม พระพรหมจึงว่ามาเอาไปแล้วทำไมจึงมาขออีก จิตรไพรีรีบกลับมาบอกแสงอาทิตย์ แสงอาทิตย์รู้ตัวว่าหลงกลแล้วก็แข็งใจสู้กับพระรามและถูกศรพรหมมาศของพระรามตายกลางสนามร.

ดู พระรามและแสงอาทิตย์ (รามเกียรติ์)

โขน

น เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม, มหรสพสามอย่างของชาวสยาม,จดหมายเหตุ ลา ลู แบร์ ราชอาณาจักรสยาม, เขียนโดย: มองซิเอร์ เดอ ลาลูแบร์, แปลโดย: สันต์ ท.

ดู พระรามและโขน

โคราฆปุระ

ตำแหน่งที่ตั้งเมืองโคราฆปุระในประเทศอินเดีย โคราฆปุระ (Gorakhpur, เทวนาครี: गोरखपुर, อูรดู: گۋڙکھ پور) เป็นเมืองหลวงของอำเภอโคราฆปุระในภาคตะวันออกของรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ใกล้กับพรมแดนประเทศเนปาล โคราฆปุระเป็นเมืองศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญและมีชื่อเสียงไม่ว่าจะเป็น ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาเชน หรือศาสนาสิกข์ โดยชื่อเมืองในปัจจุบันเรียกตามชื่อ โยคีโคราฆชนาถ (Gorakshanath) บริเวณแคว้นนี้เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของอารยธรรมอารยันตามคัมภีร์พระเวท ผู้ปกครองดินแดนในบริเวณนี้ในอดีต คือ กษัตริย์ราชวงศ์ สุริยวงศ์ (Solar Dynasty) โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่อโยธยา กษัตริย์สุริยวงศ์นี้ได้ปกครองติดต่อกันอย่างยาวนาน โดยเฉพาะที่รู้จักกันดี คือ พระรามในเรื่อง รามเกียรติ์เป็นหนึ่งในกษัตริย์ราชวงศ์นี้ ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีเมืองนี้ เมืองสำคัญในขณะนั้นคือ เวสาลี โกสัมพี พาราณสี และราชคฤห์ ในขณะที่อโยธยากลายเป็นเมืองเล็ก แคว้นนี้ในสมัยพุทธกาลเป็นอาณาเขตของแคว้นโกศล (Kosala) พระพุทธเจ้าทรงถือครองเพศบรรพชิตที่ริมแม่น้ำในบริเวณใกล้ที่ตั้งเมืองในปัจจุบันนี้ ก่อนที่เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ และพระมหาวีระศาสดาของศาสนาเชนได้เดินทางผ่านบริเวณนี้เช่นเดียวกัน ปัจจุบันเมืองโคราฆปุระเป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจ อุตสาหกรรม และการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่งของรัฐอุตตรประเท.

ดู พระรามและโคราฆปุระ

ไชยามพวาน

มพวาน หรือ ไชยามพวาร เป็นหนึ่งในเทวดา 18 องค์ที่อาสาอวตารลงมาเป็นวานรสิบแปดมงกุฎทหารเอกของพระราม (หัวโขนของวานรสิบแปดมงกุฎจะมีวงกลมสีเหลือทองหรือมงกุฎครอบอยู่) เทวดาผู้อวตารลงมาเป็นไชยามพวาน คือ พระอีศาณหรือพระวิศาลเทวบุตร แบ่งภาคลงมา ในทัพเมืองขีดขินของสุครีพ ไชยามพวานได้รับพรจากพระอิศวรให้เป็นผู้ถือธงชัยนำกองทัพ เพราะมีนามเป็นมงคลข่มศัตรู เมื่อเสร็จศึกได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาฝ่ายขวาเมืองขีดขิน.

ดู พระรามและไชยามพวาน

ไกยเกษี

ระนางไกยเกษี เป็นพระธิดาของท้าวไกยเกษ กับพระมหาเทวีเจ้าประไภวดีหรือเกศินี เป็นพระอัครมเหสีองค์หนึ่งของท้าวทศรถ มีพระโอรสชื่อพระพรต เมื่อครั้งพระอินทร์เชิญท้าวทศรถขึ้นไปปราบอสูรปทูตทันต์ที่ขึ้นไปรุกรานสวรรค์ ปทูตทันต์แผลงศรถูกเพลารถพระที่นั่งหักลง พระนางไกยเกษีเอาแขนสอดแทนเพลาที่หัก และสังหารอสูรตนนั้น ท้าวทศรถจึงพระราชทานพร เมื่อท้าวทศรถจะมอบราชบัลลังก์ให้พระราม นางจึงใช้โอกาสขอพรนั้น ให้พระพรตครองราชย์ก่อน และขอให้พระรามออกผนวชเป็นเวลา ๑๔ ปี นางจึงเป็นต้นเหตุให้พระรามเดินป่า และท้าวทศรถสิ้นพระชนม์ด้วยความตรอมพระทัยที่พรากจากโอรส นางถูกห้ามไม่ให้จุดไฟพระเพลิง หลังจากพิธีบรมศพ นางไปทูลขอลุแก่โทษและกราบทูลให้พระรามกลับมาครองร.

ดู พระรามและไกยเกษี

ไมยราพ

มยราพ เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ พญายักษ์เจ้าแห่งเมืองบาดาล กายสีม่วงอ่อน มงกุฏยอดกระหนก ปากขบ นัยน์ตาจระเข้ มีเวทมนตร์สะกดทัพ และเครื่องสรรพยาเป่ากล้องล่องหนเป็นอาวุธ ในต้นฉบับภาษาสันสกฤตชื่อว่า อหิรภัณ อหิรภณะ ไมยราพเป็นยักษ์ที่มีนิสัยดุร้ายเป็นอย่างมาก.

ดู พระรามและไมยราพ

ไวยวิก

วยวิก เป็นโอรสของนางพิรากวนพี่สาวของไมยราพณ์ ก่อนไมยราพณ์จะรบกับพระรามได้ฝันร้าย โหรทำนายว่าเมืองบาดาลนี้จะมีพระญาติวงศ์ขึ้นเสวยสมบัติ เมื่อโหรดูอย่างละเอียดก็รู้ว่าไวยวิกจะขึ้นครองสมบัติไมยราพณ์จึงรับสั่งให้นนทสูรจับไวยวิกกับนางพิรากวนขัง ต่อมาเมื่อจะรบกับกองทัพพระราม ไมยราพณ์สะกดทัพแล้วจับพระรามไปขังไว้ยังเมืองบาดาล หนุมานรู้ก็รีบตามไปช่วยและพบกับนางพิรากวนได้ช่วยเหลือหนุมานจนช่วยพระรามออกมาได้สำเร็จ และฆ่าไมยราพณ์ตาย หลังจากนั้นจึงปล่อยไวยวิกออกจากที่คุมขัง ทำการมอบสมบัติให้ครองสืบไป ภายหลังได้ไปเข้าเฝ้าพระราม.

ดู พระรามและไวยวิก

ไทยโยเดีย

วโยดายา หรือ ชาวอยุธยาในพม่า (โยดายา หลุ มฺโย) เป็นคำที่เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีบรรพบุรุษเป็นเป็นชาวไทยสยามจากอาณาจักรอยุธยา ซึ่งอพยพเข้ามาประเทศพม่า มีทั้งอพยพไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารกษัตริย์พม่าโดยสมัครใจ บ้างก็เป็นเชลยซึ่งถูกกวาดต้อนเมื่อเกิดสงคราม เมื่อเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ ชาวอยุธยาในพม่าค่อย ๆ ผสมปนเปไปกับสังคมพม่า บ้างก็โยกย้ายจากถิ่นฐานเดิม พวกเขาเลิกพูดภาษาไทยและหันไปพูดภาษาพม่า จนกระทั่งทิน มอง จี นักวิชาการชาวพม่าผู้มีเชื้อสายโยดายาเขียนบทความสั้นชื่อ "สุสานกษัตริย์ไทย" (A Thai King’s Tomb) ก่อนปี..

ดู พระรามและไทยโยเดีย

เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)

ระอาชญาเจ้าขุนรามราชรามางกูร (ลาว: ພຣະອາດຊະຢາເຈົ້າຂຸນຣາມມະຣາຊຣາມາງກູຣ, ราว พ.ศ. ๒๓๐๐-๒๔๐๐) ทรงเป็นเจ้าเมืองพนม (เมืองธาตุพนม) อันเป็นเมืองกัลปนาหรือเมืองพุทธศาสนานครพระองค์แรกจากราชวงศ์เวียงจันทน์ เมื่อครั้งธาตุพนมยังเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ ก่อนตกเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม และทรงเป็นเจ้าขุนโอกาส (ขุนโอกลาษ) ผู้รักษากองข้าอุปัฏฐากพระบรมมหาธาตุเจ้าเจดีย์พระนม (พระธาตุพนม วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร) พระองค์แรกแห่งราชวงศ์เวียงจันทน์ ระหว่างราวปี..

ดู พระรามและเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)

เทวสถานสีตาอัมมัน

ทวสถานและยอดมณฑปของโบสถ์พราหมณ์ในสวนพฤกษศาสตร์หักกาลา เทวสถานสีตาอัมมัน (சீதா அம்மன் கோயில் สีตาอัมมัน โกยิล) หรือ วัดพระแม่สีดา เป็นโบสถ์พราหมณ์ซึ่งสร้างอุทิศถวายแด่นางสีดา ตั้งอยู่ในเขตสวนพฤกษศาสตร์หักกาลา ประเทศศรีลังก.

ดู พระรามและเทวสถานสีตาอัมมัน

เขาวงพระจันทร์

ตำนานของยักษ์ไปอย่างไรมาอย่างไรจึงเล่ากันว่า มาสถิตอยู่บนถ้ำยอดเขาวงพระจันทร์นี้ และตามตำนานว่า ยักษ์ที่ว่านี้คือ ท้าว"กกขนาก" ยักษ์ตนสุดท้ายที่ไม่ยอมแพ้พระรามที่อยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ จึงถูกพระรามแผลงศร โดนยักษ์กระเด็นลอยละลิ่วข้ามมหาสมุทรอินเดียมาตกที่ยอดเขาลูกนี้ แล้วพระรามก็สาปให้ศรปักอกเอาไว้หากวันใดที่ศรเขยื้อนให้หนุมานลูกพระพาย(ลูกลม ถ้าตายเมื่อต้องลมพัดผ่าน จะกลับฟื้นคืนชีพ หนุมานจึงไม่รู้จักตาย) เอาค้อนมาตอกย้ำลูกศร ให้ปักอกไว้เช่นเดิม แต่ยักษ์โดนเข้าขนาดนี้ก็ยังไม่ตายนอนรอความตาย ฝ่ายนางนงประจันทร์ลูกสาวยักษ์ก็เหาะตามพ่อมา เพื่อปฏิบัติพ่อ เพราะพ่อยังไม่ตาย นอนอยู่ในถ้ำยอดเขานางพระจันทร์นี้และนางทราบว่าหากได้น้ำส้มสายชูมารดที่โคนศรแล้วศรจะเขยื้อนหลุดออกมาได้ แต่หากศรเขยื้อน ไก่แก้วก็จะขันเรียกหนุมานเอาค้อนมาตอกศร เมื่อนางนงประจันทร์ช่วยพ่อยักษ์ไม่ได้ ก็ตรอมใจตาย ฝ่ายยักษ์กกขนากเมื่อลูกสาวตายก็เลยตายตามไปด้วย จากตำนานนี้จึงเรียกเขาลูกนี้ว่า เขานงประจันต์หรือนางพระจันทร์ ตำนานนี้เป็นผลให้ลพบุรีไม่มีน้ำส้มสายชูขายมานาน ต่อมาเมื่อปี..

ดู พระรามและเขาวงพระจันทร์

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Ramaราม

วงศ์ปลากดศาลลูกศรศิวะ พระมหาเทพศึกกุมภกรรณ 2527สมาคมฮินดูสมาชสมาคมฮินดูธรรมสภาสหัสเดชะสาวเอ๊าะเดือดร้อนสุครีพสีดา ราม ศึกรักมหาลงกาสดายุหมากรุกหนุมานหนุมาน สงครามมหาเทพอวัธอวตารอสุรผัดอาศีษ ศรรมาอาณาจักรในอินเดียโบราณอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งองคตอโยธยาจังหวัดลพบุรีทศกัณฐ์ทศกัณฐ์ (ละครโทรทัศน์)ทศาวตารทศคีรีวัน ทศคีรีธรท้าวมหาชมพูท้าวอัศกรรมมาลาท้าวทศรถปริภัณฑ์ วัชรานนท์ปักหลั่นนักสิทธิ์นางกวัก (เทพปกรณัม)นางสำมนักขานางสุพรรณมัจฉานางสีดานางเบญกายนิลพัทแมลงภู่แสงอาทิตย์ (รามเกียรติ์)โขนโคราฆปุระไชยามพวานไกยเกษีไมยราพไวยวิกไทยโยเดียเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)เทวสถานสีตาอัมมันเขาวงพระจันทร์