โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระผู้สร้าง

ดัชนี พระผู้สร้าง

ระยาห์เวห์ทรงสร้างอาดัม พระผู้สร้าง (Creator) หมายถึง พระเป็นเจ้า (ตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม) หรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ (ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม) ที่มีอำนาจบันดาลให้โลก (ทั้งเอกภพและจักรวาล) เกิดขึ้น.

22 ความสัมพันธ์: พระพรหมพระคัมภีร์คนยากพระแม่องค์ธรรมพระเจ้าพระเป็นเจ้าลัทธิบัวขาวลัทธิอนุตตรธรรมลัทธิเซียนเทียนเต้าวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ศาสนาพุทธศาสนาฮินดูสรรพเทวนิยมสังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่งหลักข้อเชื่อของอัครทูตหลักข้อเชื่อไนซีนอัลลอฮ์อาทิพุทธะอนุตตรธรรมตรีมูรติในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ไญยนิยมเต๋า

พระพรหม

ระพรหม (ब्रह्मा; Brahma; బ్రహ్మ) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์ หรือ ห่าน พระชายา คือ พระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้ ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์ เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากส่วนท้อง และศูทรเกิดจากเท้า ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่างๆอยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่างๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลังๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่" โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้น.

ใหม่!!: พระผู้สร้างและพระพรหม · ดูเพิ่มเติม »

พระคัมภีร์คนยาก

หน้าต่าง “พระคัมภีร์คนยาก” ที่ มหาวิหารแคนเทอร์เบอรีจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่อาจจะสร้างจากชิ้นส่วนของบานหน้าต่างเดิมสองบาน รายละเอียดจากหน้าต่างสองหน้าต่างจากมหาวิหารแคนเทอร์เบอรีที่เป็นเรื่องสองเรื่องที่ต่างกัน แต่ตัวแบบสองตัวในภาพทางด้านซ้ายเป็นตัวเดียวกัน และเสา โต๊ะ เชิงเทียน และหนังสือ ภาพซ้ายสร้างในสมัยกลาง และภาพขวาในสมัยวิกตอเรีย พระคัมภีร์คนยาก (Poor Man's Bible) คำว่า “พระคัมภีร์คนยาก” ในปัจจุบันหมายถึงงานศิลปะภายในคริสต์ศาสนสถานที่อาจจะเป็นงานชิ้นเดียวหรืองานชุดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนสาระของคัมภีร์ไบเบิลต่อประชากรส่วนใหญ่ที่ไร้การศึกษา ศิลปะ “พระคัมภีร์คนยาก” อาจจะเป็นงานประติมากรรม งานแกะสลัก จิตรกรรม งานโมเสก หรือหน้าต่างประดับกระจกสี ในโบสถ์บางแห่งหน้าต่างบานเดียวก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “พระคัมภีร์คนยาก” ขณะที่ในโบสถ์อื่นทั้งโบสถ์อาจจะตกแต่งด้วยบทบรรยายพระคัมภีร์ไบเบิลอันซับซ้อนภายใต้หัวใจของเรื่องที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ใหม่!!: พระผู้สร้างและพระคัมภีร์คนยาก · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่องค์ธรรม

อักษร 母 ''หมู่'' หมายถึง ''''พระแม่องค์ธรรม'''' พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิเซียนเทียนเต้าและอีก 5 ลัทธิที่แตกแขนงออกมา พระแม่องค์ธรรม (老母 เหลาหมู่)สายทอง (พงศาธรรม ๑), ศุภนิมิต ผู้แปล, กรุงเทพฯ: ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, ม.ป.ป., หน้า 9 คือพระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว รวมถึงลัทธิศาสนาต่าง ๆ ในประเทศจีนที่สืบมาจากลัทธินี้ด้วย เช่น ลัทธิเซียนเทียนเต้า ลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิถงซั่นเซ่อ ลัทธิฉือฮุ่ยถัง ลัทธิเทียนเต๋อเซิ่ง และลัทธิเต้าเยวี่ยน, Division of Religion and Philosophy, University of Cumbria, เรียกข้อมูลวันที่ 7 มกราคม..

ใหม่!!: พระผู้สร้างและพระแม่องค์ธรรม · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้า

ระเจ้า อาจหมายถึง; ศาสน.

ใหม่!!: พระผู้สร้างและพระเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเป็นเจ้า

ระนามพระยาห์เวห์ในภาษาฮีบรู พระเป็นเจ้า (God) หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ถือเป็นเทวดาเพียงพระองค์เดียวตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม หรือเป็นเทวดาผู้เป็นสารัตถะเดียวของเอกภพตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยมSwinburne, R.G. "God" in Honderich, Ted.

ใหม่!!: พระผู้สร้างและพระเป็นเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิบัวขาว

ลัทธิบัวขาว (白蓮教 ไป๋เหลียนเจี้ยว) เป็นขบวนการทางศาสนาและการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์หยวน เป็นลัทธิบูชาพระแม่องค์ธรรมเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด และรอคอยยุคพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งเป็นอุตมรัฐที่เชื่อว่าสังคมจะรุ่งเรืองสงบสุขตลอดไป.

ใหม่!!: พระผู้สร้างและลัทธิบัวขาว · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอนุตตรธรรม

อักษร ''หมู่'' หมายถึง "พระแม่องค์ธรรม" พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว ลัทธิเซียนเทียนเต้า และลัทธิอื่น ๆ ที่แตกแขนงมาภายหลัง รวมทั้งลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิอนุตตรธรรม (一貫道 Yīguàn Dào อีก้วนเต้า) ในประเทศไทยเรียกว่า วิถีอนุตตรธรรม เป็นศาสนาที่หวัง เจฺว๋อี ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิงเมื่อปี..

ใหม่!!: พระผู้สร้างและลัทธิอนุตตรธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเซียนเทียนเต้า

อักษร 母 ''หมู่'' หมายถึง ''''พระแม่องค์ธรรม'''' พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิเซียนเทียนเต้าและอีก 5 ลัทธิที่แตกแขนงออกมา ลัทธิเซียนเทียนเต้า (先天道 Xiāntiān Dào) เป็นลัทธิศาสนาหนึ่งที่หวง เต๋อฮุย ก่อตั้งขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง โดยสืบความเชื่อมาจากลัทธิบัวขาวในสมัยราชวงศ์หยวน นอกจากนี้ยังรับคำสอนมาจากลัทธิหลัวด้วย ลัทธิเซียนเทียนเต้าเป็นต้นกำเนิดของอีก 5 ลัทธิที่แยกตัวออกมาภายหลัง ได้แก่ ลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิถงซั่นเซ่อ ลัทธิฉือฮุ่ยถัง ลัทธิเทียนเต๋อเซิ่ง และลัทธิเต้าเยวี่ยน, Division of Religion and Philosophy, University of Cumbria, เรียกข้อมูลวันที่ 7 มกราคม..

ใหม่!!: พระผู้สร้างและลัทธิเซียนเทียนเต้า · ดูเพิ่มเติม »

วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์

วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ (Scientific skepticism, Scientific scepticism) เป็นหลักปฏิบัติในการที่จะสืบหาว่า เรื่องที่อ้างว่าเป็นจริงนั้นมีหลักฐานโดยงานวิจัยเชิงประสบการณ์ (เชิงประจักษ์) หรือไม่ สามารถทำซ้ำได้หรือไม่ เป็นหลักปฏิบัติที่ใช้เป็นปกติในการ "เพิ่มขยายความรู้ที่ยืนยันได้พิสูจน์ได้" ยกตัวอย่างเช่น.

ใหม่!!: พระผู้สร้างและวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: พระผู้สร้างและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: พระผู้สร้างและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

สรรพเทวนิยม

รรพเทวนิยม (Pantheism) เป็นแนวคิดซึ่งเชื่อว่าเอกภพ (ธรรมชาติ) กับพระเป็นเจ้านั้นเป็นสิ่งเดียวกัน ดังนั้นผู้ที่เชื่อในสรรพเทวนิยมจึงไม่เชื่อในแนวคิดพระเจ้าที่เป็นตัวบุคคล มีรูปร่างแบบมนุษย์ (anthropomorphism) หรือพระผู้สร้าง สรรพเทวนิยมยังได้แสดงแนวคิดที่ว่า "พระเจ้า" นั้นควรถูกมองในวิถีทางที่เกี่ยวข้องกับเอกภพจึงจะดีที่สุดOwen, H. P. Concepts of Deity.

ใหม่!!: พระผู้สร้างและสรรพเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง

ังคายนาไนเซียครั้งที่ 1 สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง (First Council of Nicaea) เป็นสภาสังคายนาสากลครั้งแรกในศาสนาคริสต์ โดยจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชทรงเรียกประชุมบรรดามุขนายกทั่วจักรวรรดิโรมันมาประชุมกันที่เมืองไนเซีย เพื่อหาข้อสรุปความเชื่อเกี่ยวกับสถานะของพระบุตร และความสัมพันธ์ระหว่างพระบุตรกับพระบิดา, pp.

ใหม่!!: พระผู้สร้างและสังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

หลักข้อเชื่อของอัครทูต

หลักข้อเชื่อของอัครทูต, คริสตจักรแองลิกันในประเทศไทย (Symbolum Apostolorum/Symbolum Apostolicum;Apostle’s creed) หรือ “หลักข้อเชื่อของอัครธรรมทูต” บางครั้งเรียกว่า “สัญลักษณ์ของอัครทูต” ชาวคาทอลิกเรียกว่า "บทข้าพเจ้าเชื่อ" เป็นคำแถลงเกี่ยวกับความเชื่อในศาสนาคริสต์ยุคแรก ซึ่งคำแถลงลักษณะนี้เรียกว่า creed (หลักข้อเชื่อ) หรือ symbol (สัญลักษณ์) หลักข้อเชื่อนี้มีปรากฏใช้ในหลายนิกายทั้งในพิธีกรรมและตำราคำสอน และมักพบมากที่สุดในคริสตจักรตะวันตกที่เน้นพิธีกรรม คือคริสตจักรละติน ลูเทอแรน แองกลิคัน และออทอร์ดอกซ์ตะวันตก ตลอดจนเพรสไบทีเรียน เมทอดิสต์ และคริสตจักรคองกริเกชันแนล หลักข้อเชื่อของอัครทูตเป็นข้อความเชื่อที่อิงกับแนวคิดทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ จดหมายต่าง ๆ ในพันธสัญญาใหม่ และบางส่วนจากพันธสัญญาเดิม หลักข้อเชื่อนี้น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากหลักข้อเชื่อโรมัน เพราะในเนื้อหาไม่ได้กล่าวถึงหรือแก้ปัญหาประเด็นปัญหาทางคริสตวิทยาดังที่ปรากฏในหลักข้อเชื่อไนซีนและหลักข้อเชื่ออื่น ๆ ของคริสตชนที่เกิดขึ้นในยุคหลัง เช่น ปัญหาความเป็นพระเจ้าของพระเยซูหรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ ชาวคริสต์ยุคแรก ๆ ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตอย่างลัทธิเอเรียสและลัทธิเอกภาพนิยมจึงยอมรับหลักข้อเชื่อนี้ด้วย ชื่อ “หลักข้อเชื่อของอัครทูต” อาจจะเกิดขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ตามความเชื่อของคริสตชนที่ว่าอัครทูตทั้งสิบสองคนเป็นผู้แต่งข้อต่าง ๆ ขึ้นมาด้วยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์หลังจากเทศกาลเพนเทคอสต์ แต่ยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดยืนยันได้ว่าความเชื่อนี้เป็นเรื่องจริงMcGrath, Alister E., Christian Theology: An Introduction", Singapore: Blackwell Publisher, 2007, p. 14.

ใหม่!!: พระผู้สร้างและหลักข้อเชื่อของอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

หลักข้อเชื่อไนซีน

ักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และเหล่ามุขนายกสมาชิกสภาสังคายนาถือคำประกาศหลักข้อเชื่อไนซีน หลักข้อเชื่อไนซีนราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 177 (Nicene Creed; Symbolum Nicaenum) คือการประกาศศรัทธาและหลักข้อเชื่อที่ถูกใช้มากที่สุดในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ และเป็นบรรทัดฐานความเชื่อในคริสต์ศาสนากระแสหลักในปัจจุบัน แม้หลักข้อเชื่อฉบับนี้จะถูกเรียบเรียงขึ้นโดยสภาสังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่งเมื่อปี..

ใหม่!!: พระผู้สร้างและหลักข้อเชื่อไนซีน · ดูเพิ่มเติม »

อัลลอฮ์

นาอิสลามเรียกพระเป็นเจ้าว่า อัลลอฮ์ บ้างก็สะกดว่า อัลลอฮฺ, อัลลอหฺ หรือ อัลเลาะห์ ตรงกับภาษาอังกฤษ "God" เชื่อว่าทรงเป็นพระผู้สร้างมนุษย์ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต และทุกสรรพสิ่งในจักรวาล พระองค์ทรงมีโดยไร้จุดเริ่มต้น และทรงมีอยู่นิรันดร์โดยไม่มีจุดจบ พระองค์แตกต่างกับทุกสรรพสิ่งอย่างสิ้นเชิง ทรงดำรงด้วยพระองค์เอง มิต้องทรงพึ่งพาสิ่งใด พระองค์เป็นพระผู้เป็นเจ้าเอกองค์เดียว ไม่มีพระผู้เป็นเจ้าอื่นใดอีกนอกเหนือจากพระองค์ ตามความเชื่อของอิสลาม อัลลอฮ์ทรงมีความสามารถในการบันดาลทุกสรรพสิ่ง ทรงรอบรู้โดยไม่จำกัดขอบเขต อัลลอฮ์เป็นพระปฐมนามแห่งพระองค์ พระองค์มีพระนามอันวิจิตรอื่น ๆ อีกมากถึง 99 พระนาม ซึ่งบ่าวของพระองค์สามารถใช้นามเหล่านั้นเรียกพระองค์ได้ พระองค์ทรงบริสุทธิ์ ไม่มีบุตร ไร้ภาคี ทรงอยู่นอกเหนือกาละและเทศะ เพราะทั้งสองสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง พระองค์ทรงกำหนดระบบและปัจจัยของทุกสรรพสิ่ง อีกทั้งยังได้กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดจบของสรรพสิ่งที่พระองค์สร้างทั้งมวล อัลลอฮ์ คืออัตมันที่ทรงสิทธิในการได้รับการเคารพบูชาอย่างแท้จริง ไม่มีสิ่งใดอย่างเด็ดขาดที่ควรแก่การเคารพบูชานอกเหนือจากพระองค์ ชาวมุสลิมถือว่าอัลลอฮ์คือพระยาห์เวห์ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห.

ใหม่!!: พระผู้สร้างและอัลลอฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

อาทิพุทธะ

ระวัชรธารพุทธะ พระอาทิพุทธะเป็นพระพุทธเจ้าที่พบในคติความเชื่อของพุทธศาสนามหายานบางกลุ่ม ไม่พบในฝ่ายเถรวาท โดยเชื่อว่าอาทิพุทธะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรก กำเนิดขึ้นพร้อมกับโลก อยู่ในโลกชั่วนิรันดร์ เป็นพระผู้สร้างสรรพสิ่งในโลก และเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ประทับบนพรหมโลกชั้นอกนิฏฐ์ มีสถานะเสมอปรมาตมันในศาสนาฮินดูราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 15-16.

ใหม่!!: พระผู้สร้างและอาทิพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

อนุตตรธรรม

อนุตตรธรรม หมายถึง ธรรมที่ไม่มีสิ่งใดยิ่งไปกว่า; ในศาสนาพุทธ: อนุตตรธรรม หมายถึง.

ใหม่!!: พระผู้สร้างและอนุตตรธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ตรีมูรติ

ทวรูปตรีมูรติในศาลเคารพ บริเวณหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ที่เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก ตรีมูรติ เมื่อแยกออกเป็น 3 (จากซ้าย พระพรหม, พระวิษณุ, พระศิวะ) ตรีมูรติ (Trimurati, Trinity; त्रिमूर्ति) คือ การอวตารรวมของพระเป็นเจ้าสูงสุดทั้งสามองค์ในศาสนาฮินดู อันได้แก่ พระพรหม (พระผู้สร้าง) พระวิษณุ (ผู้ปกป้องรักษา) และ พระศิวะ (ผู้ทำลาย) คำว่า ตรีมูรติ มาจากภาษาสันสกฤต ตรี หมายถึง สาม มูรติ หมายถึง รูปแบบ ตรีมูรติ หมายถึง รูปแบบทั้งสามหรือรูปแบบของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ อันประกอบไปด้วย พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ เป็นหลักสำคัญในศาสนาฮินดู หากมองตามหลักปรัชญาสามารถหมายถึง พระผู้สร้าง พระผู้รักษา และพระผู้ทำลาย หรือสามารถเปรียบได้กับหลักธรรมที่ว่า เกิดขึ้น คงอยู่ และ ดับไป.

ใหม่!!: พระผู้สร้างและตรีมูรติ · ดูเพิ่มเติม »

ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์

การกล่าวถึงพระตรีเอกภาพ (Trinitarian formula) ว่า "ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ "เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต" (ศัพท์โรมันคาทอลิก) (In the name of the Father, and of the Son, and of the Holy Spirit; in nomine Patris, et Filii, et Spiritus Sancti; εἰς τὸ ὄνομα τοῦ Πατρὸς καὶ τοῦ Υἱοῦ καὶ τοῦ Ἁγίου Πνεύματος) มีที่มาจากพระวรสารนักบุญมัทธิว ความว่า "เพราะ‍ฉะนั้น ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​จง​ออก​ไป​และ​นำ​ชน​ทุก​ชาติ​มา​เป็น​สาวก​ของ​เรา จง​บัพ‌ติศ‌มา​พวก‍เขา​ใน​พระ‍นาม​ของ​พระ‍บิดา พระ‍บุตร และ​พระ‍วิญ‌ญาณ‍บริ‌สุทธิ์" (มัทธิว 28:19) คริสต์ศาสนิกชนกล่าวคำนี้ในโอกาส เช่น การอธิษฐาน ในการประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ เช่น พิธีบัพติศมา และการทำเครื่องหมายกางเขน หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ได้มีความพยายามที่จะเปลี่ยนบทนี้เนื่องจากคิดว่าเป็นการยกย่องเพศชายแต่ฝ่ายเดียว ทั้งที่จริง ๆ แล้วพระเจ้าทรงไม่มีเพศ บางกลุ่มเลือกที่จะใช้ "ในนามพระผู้สร้าง พระผู้ไถ่ และพระผู้ทำให้บริสุทธิ์" ทั้งนี้คริสตจักรโรมันคาทอลิกและคริสตจักรตะวันออกบางแห่งถือว่าเป็นการไม่ถูกต้อง.

ใหม่!!: พระผู้สร้างและในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไญยนิยม

ญยนิยม หรือลัทธินอสติก (gnosticism; γνῶσις gnōsis ความรู้; الغنوصية‎) คือแนวคิดทางศาสนารูปแบบหนึ่งในสมัยโบราณ ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์ควรสละโลกวัตถุ เพื่อมุ่งเน้นเรื่องจิตวิญญาณ แนวคิดเช่นนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อศาสนาสมัยโบราณ ดังเห็นได้จากการถือพรต ถือพรหมจรรย์ เพื่อให้ถึงการหลุดพ้น การตรัสรู้ ความรอด การกลับไปรวมกับพระเป็นเจ้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รายละเอียดการปฏิบัติอาจแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม ไญยนิยมเริ่มปรากฏรูปแบบชัดเจนขึ้นเมื่ออยู่ในบริบทของศาสนาคริสต์ ในอดีตนักวิชาการบางคนเชื่อว่าไญยนิยมเกิดขึ้นก่อนศาสนาคริสต์ และเป็นต้นกำเนิดของความเชื่อและการปฏิบัติหลายอย่างที่แพร่หลายอยู่แล้วในสมัยนั้น ทั้งในศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนายูดาห์แบบเฮลเลนิสต์ ศาสนาโรมันโบราณ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ และลัทธิเพลโต แต่เมื่อค้นพบหอสมุดนักฮัมมาดี กลับไม่ปรากฏตำราไญยนิยม จึงได้ข้อสรุปว่าไญยนิยมที่เป็นระบบ เป็นเอกภาพ เพิ่งถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2.

ใหม่!!: พระผู้สร้างและไญยนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เต๋า

ปากว้า เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเต๋าและการก่อกำเนิดสรรพสิ่ง เต๋า (道. เต้า) มีความหมายตามตัวอักษรว่า วิถี หรือ วิธี ต่อมาคัมภีร์เต๋ายุคแรก ได้ใช้คำว่า เต๋า ในความหมายใหม่ว่า เป็นสัจภาวะสูงสุด เป็นอุตรภาพ อัพภันตรภาพ ซึ่งปราศจากรูปร่าง พ้นวิสัยภาษา ความคิด และความเข้าใจของมนุษย์ เชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดและจุดหมายปลายทางของสรรพสิ่ง แม้ความเชื่อนี้จะมีที่มาจากลัทธิเต๋า แต่ก็ได้แพร่หลายไปยังคตินิยมอื่น ๆ ด้วยทั้ง ลัทธิขงจื๊อ ตลอดจนศาสนาและปรัชญาตะวันออกโดยรวม.

ใหม่!!: พระผู้สร้างและเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »