โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน

ดัชนี พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน

ระที่นั่งศิวโมกขพิมาน เป็นพระที่นั่งเดิมภายในพระราชวังบวรสถานมงคล สร้างขึ้นครั้งแรกโดย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ต่อมารื้อสร้างใหม่โดย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.

11 ความสัมพันธ์: พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีพระราชวังบวรสถานมงคลพระที่นั่งสนามจันทร์ (พระราชวังบวรสถานมงคล)พระที่นั่งในประเทศไทยพระตำหนักแดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครวังบูรพาภิรมย์หมู่บ้านคุ้งตะเภาจังหวัดอุตรดิตถ์ขรัวอินโข่งโรงละครแห่งชาติ (ประเทศไทย)

พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี

ระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี หรือ หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ มีพุทธลักษณะปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์บริสุทธิ์ หน้าตักกว้างศอกเศษ มีพุทธลักษณะงดงามตามแบบอย่างสกุลช่างสุโขทัย-เชียงแสน ซึ่งเป็นแบบที่พบได้น้อยมากและหายากที่สุด พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี เดิมองค์พระถูกพอกปูนลงรักปิดทองอารักขาภัยไว้ ตัวองค์พระสำริดดังปรากฏในปัจจุบันนั้นสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยแรกก่อตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 สกุลช่างเชียงแสนยุคปลายผสมสกุลช่างสุโขทัยยุคต้น หรือในช่วงยุครอยต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย เป็นรัชสมัยระหว่างพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับพญาลิไท มีอายุประมาณ 7-800 ปี มีประวัติความเป็นมาและอภินิหารที่น่าสนใจยิ่ง หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี ประดิษฐานอยู่ที่ วัดคุ้งตะเภา หมู่บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมนั้นทางวัดไม่เปิดเผยสถานที่ประดิษฐาน และไม่ให้บุคคลทั่วไปเข้าสักการะได้ถึงองค์พระ เนื่องด้วยปัญหาด้านการรักษาความปลอดภัย โดยจะอัญเชิญหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีออกให้ประชาชนทั่วไปนมัสการได้ถึงตัวองค์พระเพียงในช่วงเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น ปัจจุบัน วัดคุ้งตะเภา ได้สร้างห้องตู้กระจกนิรภัย พร้อมทั้งติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยอิเล็กทรอนิกส์แล้ว จึงทำให้สามารถเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสักการะได้ทุกวัน โดยปัจจุบันหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีประดิษฐานอยู่ที่หอพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี บนอาคารศาลาการเปรียญเฉลิมพระเกียรติฯ วัดคุ้งต.

ใหม่!!: พระที่นั่งศิวโมกขพิมานและพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังบวรสถานมงคล

ระราชวังบวรสถานมงคล หรือ พระบวรราชวัง ตั้งอยู่ที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระราชวังที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทซึ่งทรงดำรงพระอิสริยยศกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดให้สร้างขึ้น โดยเริ่มสร้างพร้อม ๆ กับพระบรมมหาราชวังใน พ.ศ. 2325 การก่อสร้างพระราชวังแห่งนี้ใช้พื้นที่ตั้งแต่ทิศเหนือของวัดสลัก (ปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร) ขึ้นไปจรดคลองคูเมืองเดิม และได้ทำผาติกรรมที่ดินส่วนหนึ่งทางด้านเหนือของวัดสลัก เข้ามาเป็นเขตพระราชวังบวรสถานมงคลด้วย อาณาเขตของพระราชวังบวรสถานมงคลเดิมกว้างขวางมาก แต่ปัจจุบันได้ดัดแปลงส่วนหนึ่งเป็นสนามหลวง และถนน และเป็นที่ตั้งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โรงละครแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

ใหม่!!: พระที่นั่งศิวโมกขพิมานและพระราชวังบวรสถานมงคล · ดูเพิ่มเติม »

พระที่นั่งสนามจันทร์ (พระราชวังบวรสถานมงคล)

ระที่นั่งสนามจันทร์ เป็นพระที่นั่งภายในพระบวรราชวัง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบัน พระที่นั่งองค์นี้ได้รื้อลงแล้ว.

ใหม่!!: พระที่นั่งศิวโมกขพิมานและพระที่นั่งสนามจันทร์ (พระราชวังบวรสถานมงคล) · ดูเพิ่มเติม »

พระที่นั่งในประเทศไทย

ระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่ง มีหลายความหมาย ความหมายแรกนั้น หมายถึง เรือนที่ประทับหรือที่สำหรับทรงงานสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน ทั้งประเภทเรือนยอด (หรือที่เรียกว่าปราสาท) และเรือนหลังคาจั่ว พระที่นั่งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งสถานที่ภายในองค์ปราสาทที่ใช้สำหรับประกอบกิจต่าง ๆ หรืออาจหมายถึง พระราชอาสน์หรือที่นั่งที่มีชื่อเฉพาะในแต่ละองค์ โดยถ้าใช้คำว่าพระที่นั่งประกอบกับคำอื่น ๆ ก็มีความหมายว่าเป็นพาหนะที่จัดเฉพาะพระเจ้าแผ่นดินหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เช่น รถพระที่นั่ง เรือพระที่นั่ง โดยพระที่นั่งที่สำคัญในประเทศไทย ได้แก.

ใหม่!!: พระที่นั่งศิวโมกขพิมานและพระที่นั่งในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

พระตำหนักแดง

ระตำหนักแดงภายในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร พระตำหนักแดง สร้างขึ้นภายในพระบรมมหาราชวังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เพื่อพระราชทานเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางพระองค์น้อยในพระองค์ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรื้อพระตำหนักฝ่ายในภายในเขตพระราชฐานชั้นในเพื่อเปลี่ยนเป็นตำหนักตึกทั้งหมด ดังนั้น จึงโปรดให้รื้อตำหนักแดงไปปลูกที่พระราชวังเดิม เพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ โดยตำหนักแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกนั้นเป็นที่ประทับสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา ปัจจุบัน ตำหนักส่วนนี้ได้ถูกรื้อไปปลูกเป็นกุฏิเจ้าอาวาสวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี ส่วนที่สองเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบัน ตั้งอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.

ใหม่!!: พระที่นั่งศิวโมกขพิมานและพระตำหนักแดง · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล หรือส่วนหนึ่งของที่ประทับวังหน้า ซึ่งก็คือพื้นที่พระราชวังของสมเด็จพระบวรราชเจ้าตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา มีอาณาเขตตั้งแต่บริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงตอนตะวันตก อนุสาวรีย์ทหารอาสา และโรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน ภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยหมู่พระที่นั่งต่าง ๆ ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย หมู่พระวิมาน พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ และ อาคารมหาสุรสิงหนาท เดิมพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ที่หอคองคอเดีย (ศาลาสหทัยสมาคม ในปัจจุบัน) เรียกว่า "มิวเซียม" หรือ "พิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย" โดยมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน..

ใหม่!!: พระที่นั่งศิวโมกขพิมานและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร · ดูเพิ่มเติม »

วังบูรพาภิรมย์

วังบูรพาภิรมย์ นักเรียนโรงเรียนภานุทัต สมัยที่อยู่วังบูรพาภิรมย์ วังบูรพาภิรมย์ เป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์สุดท้องในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เมื่อ..

ใหม่!!: พระที่นั่งศิวโมกขพิมานและวังบูรพาภิรมย์ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่บ้านคุ้งตะเภา

หมู่บ้านคุ้งตะเภา หรือ บ้านคุ้งตะเภา เดิมชื่อว่า "ทุ่งบ้านคุ้งตะเภา" เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ในตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ นับเป็นหมู่บ้านในแถบลุ่มแม่น้ำน่านฝั่งขวาตอนบนที่เคยอยู่ในการปกครองของหัวเมืองพิชัยที่เก่าแก่ที่สุดหมู่บ้านหนึ่ง รองจากเมืองฝางสว่างคบุรีที่มีที่ตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำน่านฝั่งขวาตอนบนเช่นเดียวกัน หมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นชุมชนคนไทยดั้งเดิมที่ตั้งอยู่ปลายเหนือสุดของวัฒนธรรมที่ราบลุ่มภาคกลางตอนบน ตัวหมู่บ้านอยู่ติดริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสองระดับ โดยพื้นที่ติดริมแม่น้ำน่านจะเป็นที่ระดับต่ำมีชั้นลดจากที่ราบปกติ เดิมตัวหมู่บ้านตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มชั้นลดดินตะกอนแม่น้ำพัดดังกล่าว แต่ในปัจจุบันบ้านเรือนส่วนใหญ่ได้ย้ายขึ้นมาตั้งอยู่บนที่ราบภาคกลางริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 โดยพื้นที่เกษตรกรรมของหมู่บ้านส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ทิศตะวันออกของหมู่บ้านและที่ราบลุ่มตะกอนแม่น้ำพัดริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกของหมู่บ้าน ชาวบ้านคุ้งตะเภาในปัจจุบันส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีประเพณีและวัฒนธรรมคล้ายกับหมู่บ้านชนบททั่วไปในแถบภาคกลางตอนบน โดยมีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง สถานีอนามัย 1 แห่ง และ โรงเรียนระดับพื้นฐาน 1 โรง เส้นทางคมนาคมหลักคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีนายสมชาย สำเภาทอง เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านคุ้งต.

ใหม่!!: พระที่นั่งศิวโมกขพิมานและหมู่บ้านคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุตรดิตถ์

ังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมสะกดว่า อุตรดิฐ เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนล่าง โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัย แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น.

ใหม่!!: พระที่นั่งศิวโมกขพิมานและจังหวัดอุตรดิตถ์ · ดูเพิ่มเติม »

ขรัวอินโข่ง

ตรกรรมฝาผนังโดยขรัวอินโข่ง ขรัวอินโข่ง มีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3-4 (ไม่ปรากฏวันเดือนปีเกิด) ศิลปินผู้ได้รับการยกย่องเป็นจิตรกรเอกประจำรัชกาลที่ 4 แห่งสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นศิลปินในสมณเพศ ศิลปินไทยคนแรกที่ใช้เทคนิคการเขียนภาพฝาผนังแบบตะวันตกที่แสดงปริมาตรใกล้ไกล นับเป็นศิลปินก้าวหน้าแห่งยุคที่ผสมผสานแนวดำเนินชีวิตแบบไทยกับตะวันตกเข้าด้วยกัน ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงยกย่องว่า ขรัวอินโข่งเป็นช่างเขียนไม่มีตัวสู้ในสมัยนั้น ในระยะแรกขรัวอินโข่งยังยึดแนวความคิดแบบเดิม คือวาด ภาพเกี่ยวกับพุทธศาสนาตามคตินิยม ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นเขียนภาพเรื่องราวเกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา จนกระทั่งหลุดพ้นมาเป็นงานในรูปแบบปริศนาธรรม ความสามารถพิเศษเฉพาะตัวคือการ วาดภาพธรรมชาติโดยเฉพาะต้นไม้ และการควบคุมอารมณ์ของสีในภาพให้มีความกลมกลืนและ เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด ผลงานที่สร้างชื่อเสียงคือภาพปริศนาธรรมที่ฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศและวัดบรมนิว.

ใหม่!!: พระที่นั่งศิวโมกขพิมานและขรัวอินโข่ง · ดูเพิ่มเติม »

โรงละครแห่งชาติ (ประเทศไทย)

รงละครแห่งชาติ (ประเทศไทย) โรงละครแห่งชาติ (The National Theatre) เป็นโรงละครแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคลหรือ พระบวรราชวัง (เดิม) ข้างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: พระที่นั่งศิวโมกขพิมานและโรงละครแห่งชาติ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »