เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พรหมชาลสูตร (เถรวาท)

ดัชนี พรหมชาลสูตร (เถรวาท)

รหมชาลสูตร มีทั้งของฝ่ายเถรวาทและฝ่ายมหายาน (ดู พรหมชาลสูตร (มหายาน)) ในพระไตรปิฎกภาษาบาลี พรหมชาลสูตรเป็นพระสูตรแรกในทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บรรดาพระสาวกที่พระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา โดยสังเขปพระสูตรนี้ มีเนื้อหาว่าด้วยศีลทั้งหลาย คือจุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล อันเป็นแนวทางการปฏิบัติตนของพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังทรงตรัสถึงทัศนะทางปรัชญาและแนวทางการปฏิบัติของลัทธิต่างๆ ในสมัยพุทธกาล ทั้งหมด 62 ลัทธิ หรือที่เรียกว่า ทิฏฐิ 62 ประการ.

สารบัญ

  1. 5 ความสัมพันธ์: พรหมชาลสูตร (มหายาน)มหาศีลมัชฌิมศีลจุลศีลทีฆนิกาย

พรหมชาลสูตร (มหายาน)

รหมชาลสูตร ในพระไตรปิฎกภาษาจีนของฝ่ายมหายาน ไม่มีความเกี่ยวข้องอันใดกับพรหมชาลสูตร ในสีลขันธวรรค ของทีฆนิกาย พระไตรปิฎกภาษาบาลี ของเถรวาท พรหมชาลสูตรของฝ่ายมหายาน เรียกว่า ฟั่นวั่งจิง (梵網經) ในสารบบพระไตรปิฎกภาษาจีนฉบับไทโช อยู่ในลำดับที่ 1418 หรือ CBETA T24 No.

ดู พรหมชาลสูตร (เถรวาท)และพรหมชาลสูตร (มหายาน)

มหาศีล

มหาศีล แปลว่า ศีลอย่างใหญ่ หมายถึงศีลที่มีระดับสูงสุด ที่ควรประพฤติงดเว้น และเพื่อเป็นการขัดเกลาจริยวัตรให้มีความละเอียดปลอดจากอกุศลอย่างยิ่ง เพื่อยังประโยชน์แก่การดำรงสมณเพศ โดยทรงเตือนมิให้ภิกษุทั้งหลาย เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ คือถ้อยคำที่พระไม่ควรพูด จึงจัดเป็นติรัจฉานกถา คือถ้อยคำที่ขวาง หรือขัดกับสมณสารูป และวิชาที่ขวาง หรือขัดกับความเป็นพระ มหาศีล นี้ คือศีลที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงในพรหมชาลสูตร (เถรวาท) โดยมีที่มา จากการที่ทรงเตือนมิให้โกรธเมื่อมีผู้ติเตียนพระรัตนตรัย มิให้ยินดีหรือเหลิงเมื่อมีผู้สรรเสริญ แล้วตรัสว่า คนอาจกล่าวชมเชยพระองค์ด้วยศีล 3 ชั้น คือศีลอย่างเล็กน้อย (จุลศีล) ศีลอย่างกลาง (มัชฌิมศีล) และศีลอย่างใหญ่ (มหาศีล) โดยทรงชี้ว่า พระองค์ปฏิบัติศีลเหล่านี้จนเป็นที่สรรเสริญของชาวโลก และศีลเหล่านี้จะเป็นแนวทางการปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ได้ปฏิบัติตอ่ไป มหาศีล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงในพรหมชาลสูตร (เถรวาท) มีรายละเอียดดังที่ปรากฏในพรหมชาลสูตร (เถรวาท) ของพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค มีดังต่อไปนี้.

ดู พรหมชาลสูตร (เถรวาท)และมหาศีล

มัชฌิมศีล

มัชฌิมศีล แปลวว่า ศีลอย่างกลาง หมายถึงศีลที่มีระดับกลาง ที่ควรประพฤติงดเว้น มีความละเอียดขึ้นมาจากจุลศีล เช่น เว้นจากการการละเล่นต่างๆ การร้องรำทำเพลงเป็นต้น รวมถึงขัดเกลากาย วาจา ใจ ที่ปลอดจากอกุศลอย่างหยาบแล้วให้ละเอียดผ่องใสยิ่งขึ้น เช่นเมื่องดเว้นจากการพูดปด, พูดส่อเสียดให้แตกกัน, พูดคำหยาบ ๆ และพูดเพ้อเจ้อ ดังที่ปรากฏในจุลศีลแล้ว ก็ควรเว้นจากการพูดหลอกลวง พูดเลียบเคียง เป็นลำดับต่อมา เป็นอาทิ มัชฌิมศีลนี้ คือศีลที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงในพรหมชาลสูตร (เถรวาท) โดยทรงเตือนมิให้โกรธเมื่อมีผู้ติเตียนพระรัตนตรัย มิให้ยินดีหรือเหลิงเมื่อมีผู้สรรเสริญ แล้วตรัสว่า คนอาจกล่าวชมเชยพระองค์ด้วยศีล 3 ชั้น คือศีลอย่างเล็กน้อย (จุลศีล) ศีลอย่างกลาง (มัชฌิมศีล) และศีลอย่างใหญ่ (มหาศีล) โดยทรงชี้ว่า พระองค์ปฏิบัติศีลเหล่านี้จนเป็นที่สรรเสริญของชาวโลก และศีลเหล่านี้จะเป็นแนวทางการปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ได้ปฏิบัติต่อไป มัชฌิมศีล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงในพรหมชาลสูตร (เถรวาท) มีรายละเอียดดังที่ปรากฏในพรหมชาลสูตร (เถรวาท) ของพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค มีดังต่อไปนี้.

ดู พรหมชาลสูตร (เถรวาท)และมัชฌิมศีล

จุลศีล

ลศีล แปลว่า ศีลอย่างเล็กน้อย หมายถึงศีลที่มีระดับพื้นฐาน ที่ควรประพฤติงดเว้น เพื่อขจัดอกุศลอย่างหยาบ เช่นการงดเว้นจากฆ่าสัตว์ เป็นต้น จุลศีลนี้ คือศีลที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงในพรหมชาลสูตร (เถรวาท) โดยทรงเตือนมิให้โกรธเมื่อมีผู้ติเตียนพระรัตนตรัย มิให้ยินดีหรือเหลิงเมื่อมีผู้สรรเสริญ แล้วตรัสว่า คนอาจกล่าวชมเชยพระองค์ด้วยศีล 3 ชั้น คือศีลอย่างเล็กน้อย (จุลศีล) ศีลอย่างกลาง (มัชฌิมศีล) และศีลอย่างใหญ่ (มหาศีล) จุลศีล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงในพรหมชาลสูตร (เถรวาท) มีรายละเอียดดังที่ปรากฏในพรหมชาลสูตร (เถรวาท) ของพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค มีดังต่อไปนี้.

ดู พรหมชาลสูตร (เถรวาท)และจุลศีล

ทีฆนิกาย

ทีฆนิกาย เป็นนิกายแรกในพระสุตตันตปิฎกของพระไตรปิฎกภาษาบาลี เป็นชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว 34 สูตร ครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 9-11 แบ่งเป็น 3 วรรค คือ จาก.

ดู พรหมชาลสูตร (เถรวาท)และทีฆนิกาย