โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พดด้วง

ดัชนี พดด้วง

พดด้วง เป็นเงินตราของไทยโบราณ ใช้แลกเปลี่ยนหมุนเวียนในประเทศไทยเป็นเวลายาวนาน ประมาณกว่า 600 ปี ตั้งแต่กรุงสุโขทัย อยุธยาจนถึง กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยทำจากแท่งเงินบริสุทธิ์ตามน้ำหนักพิกัดของราคา ทุบปลายทั้งสองข้างให้งอเข้าหากัน มีรูปร่างคล้ายลูกปืนโบราณ ชาวต่างประเทศเรียกเงินชนิดนี้ว่า “Bullet Coin” ในสมัยสุโขทัย ยังไม่มีการผูกขาดการผลิต เงินพดด้วง จึงมีความหลากหลายในเนื้อเงินที่ใช้ทำ ตลอดจนน้ำหนักและขนาด ต่อมา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทางการจึงห้ามราษฎรผลิตเงินตราขึ้นเอง เงินพดด้วงจึงได้มาตรฐาน และมีตราประทับ 2 ดวงเป็นสำคัญ คือ ตราประจำแผ่นดินและตราประจำรัชกาล เงินพดด้วงใช้หมุนเวียนอยู่เป็นระยะเวลายาวนาน จนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) การค้าเฟื่องฟู การผลิตเงินพดด้วงด้วยแรงงานคน ไม่สามารถจะผลิตได้ทันความต้องการ ด้วยความจำเป็นต้องรีบผลิตเงินตราจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สั่งเครื่องทำเหรียญกษาปณ์เข้ามา แต่ก็ยังให้ใช้เงินพดด้วงต่อไป จนมีการประกาศยกเลิก วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2447 และให้ใช้เหรียญกษาปณ์กลมแบนตามแบบของยุโรปเป็นเงินตราของประเทศไทย หมวดหมู่:เงินตรา.

15 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2447พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)พระเมรุมาศพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภาพดด้วง (แก้ความกำกวม)ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์หมายตราแผ่นดินของไทยประเทศไทยใน พ.ศ. 2447เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสเหรียญเหรียญกษาปณ์ไทย27 ตุลาคม

พ.ศ. 2447

ทธศักราช 2447 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1904 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พดด้วงและพ.ศ. 2447 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: พดด้วงและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: พดด้วงและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)

ระปรีชากลการ มีชื่อตัวว่า สำอาง อมาตยกุล (15 สิงหาคม พ.ศ. 2384 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2422) ขุนนางชาวไทย สมรสกับสตรีลูกครึ่งอังกฤษ คือ แฟนนี่ น็อกซ์ ท่านถูกกล่าวหาว่า "ฆ่าคนตายและทารุณกรรม แก่คนไทยที่เมืองกบินทร์บุรี" โทมัส ยอร์ช น็อกซ์ ผู้เป็นพ่อตา ซึ่งเป็นกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย จึงได้ข่มขู่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และสมุหพระกลาโหม ว่าจะนำเรือรบอังกฤษมาข่มขู่ให้ปล่อยลูกเขยของตน แต่กลับไม่สำเร็จ และปิดท้ายด้วยการประหารพระปรีชากลการ เรื่องราวของพระปรีชากลการถูกแต่งเป็นนิยายเรื่อง Fanny & Regent of Siam ("แฟนนี่และผู้สำเร็จราชการแห่งสยาม") ซึ่งรจนาโดยอาร.

ใหม่!!: พดด้วงและพระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) · ดูเพิ่มเติม »

พระเมรุมาศ

ระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระเมรุมาศ และพระเมรุ คือ สถาปัตยกรรมชั่วคราว หรือสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจที่สร้างขึ้น ณ ใจกลางเมือง เพื่อใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพหรือพระราชพิธีพระศพโดยเฉพาะ มีลักษณะเป็น "กุฎาคาร หรือ เรือนยอด" คือเรือนซึ่งหลังคาต่อเป็นยอดแหลม โดยในอดีตนิยมสร้างเป็นแบบ ยอดปรางค์ อาจมีพรหมพักตร์หรือไม่มีก็ได้ พระเมรุมาศ เป็นพระเมรุขนาดสูงใหญ่ ใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพ พระมหากษัตริย์ พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระราชชนนี พระบวรราชเจ้า พระยุพราช สำหรับการตายที่ใช้ราชาศัพท์ว่าสวรรคต ภายในพระเมรุมาศมี “พระเมรุทอง” ลักษณะของพระเมรุมาศที่ปรากฏการสร้างมี 2 รูปแบบคือพระเมรุมาศทรงปราสาท ที่สร้างมาแต่โบราณ มีขนาดใหญ่โตมโหฬาร และพระเมรุมาศทรงบุษบก ส่วนพระเมรุ เช่นเดียวกับพระเมรุมาศ แต่มีขนาดเล็กลง และไม่มีพระเมรุทองภายใน ใช้สำหรับราชวงศ์ที่ทรงฐานานุศักดิ์ใช้ราชาศัพท์ว่า “ทิวงคต” หรือ “สิ้นพระชนม์” การออกแบบสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศ พระเมรุ ต้องอาศัยการสร้างสรรค์ออกแบบจากผู้รอบรู้เจนจบงานศิลปกรรมของชาติ ช่างที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ทั้งงานออกแบบรูปลักษณ์ ก่อสร้างอาคาร การคิดลวดลายขึ้นประดิษฐ์ตกแต่งทุกส่วนให้เข้ากับอาคาร โดยมีหลักเกณฑ์ที่คำนึงถึงว่าพระเมรุมาศของพระองค์ใด ที่แสดงลักษณะของพระองค์นั้น ภายหลังจากการถวายพระเพลิงแล้ว ชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ ของพระเมรุที่ถูกรื้อถอนบางส่วนจะนำไปถวายวัด เพื่อเป็นการกุศลแด่ผู้วายชนม.

ใหม่!!: พดด้วงและพระเมรุมาศ · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา

ัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา (อังกฤษ: Wat Kungtapao Local Museum) เป็นแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่ วัดคุ้งตะเภา หมู่ 4 หมู่บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จัดแสดงเอกสารโบราณและโบราณวัตถุของวัดและชุมชนหมู่บ้านคุ้งตะเภา บริหารจัดการในรูปแบบกรรมการโดยวัดและชุมชน ในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิ 250 ปี วัดคุ้งตะเภา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยดำริของพระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ (แสงสิน) และพระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี ที่ได้เก็บรวบรวมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุของวัด เพื่อเป็นสถานที่จัดแสดงเอกสารโบราณและวัตถุโบราณของวัด และที่ทางวัดได้รับบริจาคจากชาวบ้าน เช่น พระพุทธรูปโบราณ สมุดไทย สมุดข่อย ใบลาน เพื่อให้คนในท้องถิ่นได้ศึกษาขนบวัฒนธรรมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในอดีตของบรรพบุรุษ และเพื่อให้คนในท้องถิ่นได้รับรู้และเกิดความภาคภูมิใจในมรดกและความเป็นมาของชุมชนบ้านคุ้งตะเภาที่มีอายุความเป็นมายาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา ตั้งอยู่ที่อาคารอสีติวัสสายุมงคลมหาศาลาการเปรียญ ภายในวัดคุ้งตะเภา ใกล้กับจุดตัดสี่แยกคุ้งตะเภา ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ทางผ่านสำคัญก่อนขึ้นสู่จังหวัดแพร่ เปิดให้ประชาชนได้เข้าชมทุกวันธรรมสวนะ ตั้งแต่เวลา 8.20 - 17.30 น. โดยไม่เก็บค่าเข้าชม.

ใหม่!!: พดด้วงและพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

พดด้วง (แก้ความกำกวม)

้วง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พดด้วงและพดด้วง (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์

ลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเงินตราไทย ปัจจุบันอยู่ในการกำกับดูแลของสำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลรักษา (อนุรักษ์ จัดเก็บ จัดทำทะเบียน) ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน อันได้แก่ เครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเงินตราไทย ฯลฯ ให้ปลอดภัยอยู่ในสภาพที่ดีตามหลักการอนุรักษ์ และนำออกจัดแสดงเพื่อเผยแพร่ให้คนไทยได้รับรู้ และเกิดความภาคภูมิใจในมรดกของชาติ รวมทั้งให้ชาวต่างชาติได้รู้จักศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ ตั้งอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง บริเวณทางเข้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเปิดให้ประชาชนได้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.00 น.

ใหม่!!: พดด้วงและศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ · ดูเพิ่มเติม »

หมาย

หมาย เป็นเงินกระดาษชนิดแรกในระบบเงินตราของประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ทำขึ้นในปี..

ใหม่!!: พดด้วงและหมาย · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของไทย

ตราแผ่นดินของไทย คือตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ เทพพาหนะของพระนารายณ์ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจแห่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของชาติและเป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ตามแนวคิดสมมุติเทพ โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่หลัง พ.ศ. 2436 เป็นต้นมา แต่มาใช้อย่างเต็มที่แทนตราแผ่นดินเดิมทั้งหมดเมื่อ พ.ศ. 2453 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ใช้ตราอาร์มเป็นตราแผ่นดินใน พ.ศ. 2416 ต่อมาพระองค์มีพระราชดำริว่า ตราอาร์มที่ใช้เป็นตราแผ่นดินในเวลานั้นเป็นอย่างฝรั่งเกินไป และทรงระลึกได้ว่า พระเจ้าแผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยาเคยใช้ตราพระครุฑพ่าห์มาก่อน (ตราที่กล่าวถึงคือตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์องค์เดิม) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเขียนพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ขึ้นเป็นตราแผ่นดินเพื่อใช้แทนตราอาร์ม โดยครั้งแรกทรงเขียนเป็นรูปตราพระนารายณ์ทรงครุฑจับนาค ตรานี้ได้ใช้อยู่ระยะหนึ่งก็โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเขียนตราครุฑขึ้นใหม่อีกครั้งเป็นตราวงกลม โดยยกรูปพระนารายณ์และนาคออกเสีย คงเหลือแต่รูปครุฑ ซึ่งเขียนเป็นรูปครุฑรำตามแบบครุฑขอม พื้นเป็นลายเปลวไฟ เมื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายก็ชอบพระราชหฤทัย และมีพระราชประสงค์ที่จะให้ใช้ตรานี้เป็นตราแผ่นดินถาวรสืบไป จะได้ไม่ต้องสร้างขึ้นใหม่เมื่อเปลี่ยนรัชกาล ไฟล์:Emblem_of_Thailand_(ancient).png|พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์องค์เดิม ไฟล์:Emblem_of_Thailand_(1893).png|พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์องค์กลาง ฝีพระหัตถ์สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ไฟล์:Garuda Seal of Thailand.svg|พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ ฝีพระหัตถ์สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไฟล์:Seal garuda thailand rama9.jpg|พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ รัชกาลที่ 9 จำลองจากพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ รัชกาลที่ 5 ไฟล์:Royal Garuda Seal for HM King Vajiralongkorn.jpg|พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ รัชกาลที่ 10 อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทียมศิลปชัย) เป็นผู้เขียนตราครุฑถวายใหม่ โดยยังคงใช้ตราครุฑเดิมแบบสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพียงแต่เพิ่มพระปรมาภิไธยตามขอบพระราชลัญจกร และเปลี่ยนพระปรมาภิไธยที่ขอบพระราชลัญจกรให้ตรงตามรัชกาล และให้ยึดถือเป็นแบบอย่างต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประจำรัชกาลจะสร้างขึ้นใหม่เมื่อพระมหากษัตริย์ได้รับการบรมราชาภิเษกแล้วเท่านั้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล จึงไม่มีการสร้างพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประจำรัชกาลขึ้น เนื่องจากพระองค์มิได้กระทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คงมีแต่พระราชลัญจกรประจำรัชกาลเท่านั้น และเชิญพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์สมัยรัชกาลที่ 5 ออกประทับแทน แต่ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ปรากฏว่าได้มีการสร้างพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ตั้งแต่ยังไม่ได้รับการบรมราชาภิเษก โดยมีพระปรมาภิไธยที่ขอบพระราชลัญจกรตามพระปรมาภิไธยของพระองค์ นับเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ก่อนการบรมราชาภิเษก.

ใหม่!!: พดด้วงและตราแผ่นดินของไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทยใน พ.ศ. 2447

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2447 ในประเทศไท.

ใหม่!!: พดด้วงและประเทศไทยใน พ.ศ. 2447 · ดูเพิ่มเติม »

เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

มรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เป็นฌาปนสถานสำหรับพระราชวงศ์ซึ่งไม่ได้สร้างพระเมรุมาศ ที่ท้องสนามหลวง และ พระศพเจ้านายฝ่ายในราชนิกูล ขุนนาง ข้าราชการผู้ใหญ่ ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายของแต่ละตระกูล และ ได้รับพระราชทานโกศเป็นเกียรติยศ โดยเมื่อใช้ในการพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านายจะออกหมายเรียกว่า "พระเมรุ" และถ้าเป็นเจ้านายที่มีพระเกียรติยศสูง เป็นที่นับถือของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาจมีการปรับปรุงประดับตกแต่งโดยรอบให้สมพระเกียรติยศ เช่น กางกั้นด้วยฉัตรตามพระเกียรติยศ มีการประดับด้วยฉัตรดอกไม้สดโดยรอบ สร้างซ่างไว้สำหรับพระพิธีธรรมสวด จัดตกแต่งสวนหย่อมให้เป็นป่าหิมพานต์ นอกจากนี้ ยังใช้เป็นพระเมรุพระบุพโพของพระบรมวงศ์สำคัญที่บรรจุพระศพลงพระโกศ เพื่อจะได้ไม่ต้องไปสร้างพระเมรุดาดผ้าขาวที่วัดมหาธาตุ เช่น พระบุพโพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 พระบุพโพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และ พระบุพโพ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6.

ใหม่!!: พดด้วงและเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส · ดูเพิ่มเติม »

เหรียญ

หรียญสตางค์อะลูมิเนียม มูลค่า 1, 5 และ10 สตางค์ ซึ่งยังคงผลิตใช้ในปัจจุบัน เหรียญ เป็น วัตถุชนิดแข็ง ส่วนใหญ่ทำด้วยโลหะ หรือ พลาสติก และมีลักษณะเป็น แผ่นกลม มีการนำเหรียญ มาใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น ใช้เป็นเงินตรามีมูลค่าสำหรับแลกเปลี่ยน เรียกว่า เหรียญกษาปณ์ ผลิตแจกจ่ายโดยรัฐบาล เหรียญถูกใช้ในรูปของเงินสดในระบบการเงินสมัยใหม่เช่นเดียวกับธนบัตร แต่ใช้ในหน่วยที่มีมูลค่าต่ำกว่า ขณะที่ธนบัตรจะถูกใช้ในหน่วยที่มีมูลค่าสูงกว่า โดยปกติ ค่าสูงสุดของเหรียญจะต่ำกว่าค่าต่ำสุดของธนบัตร มูลค่าอัตราแลกเปลี่ยนของเหรียญมาจากมูลค่าทางด้านประวัติของมัน และ/หรือ มูลค่าที่แท้จริงของโลหะที่เป็นส่วนประกอบ (ตัวอย่างเช่น เหรียญทอง, เหรียญเงิน หรือเหรียญแพลทินัม) เหรียญ นำมาใช้ในรูปของ ของรางวัล หรือ ของที่ระลึกได้ ก็จะเรียก เหรียญรางวัล และ เหรียญที่ระลึก.

ใหม่!!: พดด้วงและเหรียญ · ดูเพิ่มเติม »

เหรียญกษาปณ์ไทย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) มีการใช้หอยเบี้ยและพดด้วง ในการชำระเงิน การค้าระหว่างไทยกับต่างประเทศ มีการใช้เบี้ยทองแดงในต่างประเทศ จึงมีพระราชดำริให้ทำเบี้ยทองแดงจากประเทศอังกฤษมาเป็นตัวอย่าง 3 ชนิด ในปี..1835 หรือ..

ใหม่!!: พดด้วงและเหรียญกษาปณ์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

27 ตุลาคม

วันที่ 27 ตุลาคม เป็นวันที่ 300 ของปี (วันที่ 301 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 65 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พดด้วงและ27 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เงินพดด้วง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »