โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 777

ดัชนี พ.ศ. 777

ทธศักราช 777 ใกล้เคียงกั.

15 ความสัมพันธ์: พระเจ้ากูซูพระเจ้าซาบานพัวเจี้ยงลำดับเหตุการณ์สำคัญในสามก๊กลิเงียมศึกอู่จั้งหยวนสามก๊กหองจูเหียบอุยเอี๋ยนจูกัดเหลียงประเทศจีนใน ค.ศ. 234โกะหยงเจียวอ้วน21 เมษายน23 สิงหาคม

พระเจ้ากูซู

ระเจ้ากูซู (Gusu) (ค.ศ. 214-ค.ศ. 234)กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรแพกเจหนึ่งในสามก๊กแห่งเกาหลี ทรงครองราชย์ระหว่าง..

ใหม่!!: พ.ศ. 777และพระเจ้ากูซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าซาบาน

ระเจ้าซาบาน (Saban) (ค.ศ. 234-ค.ศ. 234)กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งอาณาจักรแพกเจหนึ่งในสามก๊กแห่งเกาหลี ทรงครองราชย์ระหว่าง..

ใหม่!!: พ.ศ. 777และพระเจ้าซาบาน · ดูเพิ่มเติม »

พัวเจี้ยง

พัวเจี้ยง (Pan Zhang) เป็นชาวเมืองตงฉวินฟาเซียนฉายาว่า อุยกุ๋ย เป็นคนเคร่งครัดในระเบียบวินัย แต่ขี้โอ่ ยิ่งแก่ยิ่งขี้โอ่มาก รับราชการอยู่กับซุนกวนมีความชอบมาก ได้ยศมหารเป็นผิงเป่ยเจีบงจวิน (นายพล) ความชอบครั้งสำคัญคือ การรบที่ซอกเขาเจาสัน ซึ่งพัวเจี้ยงได่ขุดหลุมพลางไว้และจับกวนอูได้ที่นั่นพร้อมด้วยกวนเป๋ง(บุตรบุญธรรม) พัวเจี้ยงได้เอาง้าวของกวนอูมาเป็นอาวุธของตน เป็นผู้ออกรบลวงฮองตง ทหารเอกของพระเจ้าเล่าปี่ให้ตกเข้าไปในที่ล้อมหน้าเมืองอิเหลง แล้วให้ทหารระดมยิงเกาทัณฑ์ ถูกซอกคอฮองตงกลับไปตายที่ทัพหลวง ในที่สุดได้รบพุ่งกับกวนหินบุตรกวนอูตัวต่อตัว ถูกกวนหินฟันตาย กวนหินได้ง้าวของกวนอูจากพัวเจี้ยงคืนไป ตำแหน่งสุดท้ายของพัวเจี้ยง เป็นเจ้าเมืองเซียงหยัง (ซงหยง)และมียศทหารเป็นอิ้วเจียงจวิน (นายพล) พัวเจี้ยง พัวเจี้ยง.

ใหม่!!: พ.ศ. 777และพัวเจี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในสามก๊ก

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในสามก๊ก แสดงลำดับเหตุการณ์ในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์จีนเรื่องสามก๊ก โดยเรียงลำดับตามเหตุการณ์ในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) และระบุปีที่เกิดเหตุการณ์เป็นพุทธศักราช (พ.ศ.) เหตุการณ์บางเหตุการณ์อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แต่มีระบุไว้ในวรรรณกรรม.

ใหม่!!: พ.ศ. 777และลำดับเหตุการณ์สำคัญในสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ลิเงียม

ลิเงียม (Li Yan; ถึงแก่กรรม พ.ศ. 777) ชื่อรอง เจิ้งฟาง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิง ประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงตาม ประวัติศาสตร์ ขุนพลฝ่าย จ๊กก๊ก แต่เดิมเคยรับใช้เล่าเจี้ยงเป็นคนที่มีความรู้แต่ โลภมากและเห็นแก่ตัวเมื่อ เล่าเจี้ยง สละมณฑลเสฉวนให้เล่าปี่แล้ว ลิเงียมก็ได้มาอยู่กับเล่าปี่ โดยได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการคลังเสบียง ในเวลาต่อมา ในสมัยพระเจ้าเล่าเสี้ยน ลิเงียมซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคลังเสบียง ไม่คิดจะส่งเสบียงมาให้ทหารของจ๊กก๊ก ขงเบ้งคิดว่าลิเงียมทรยศจึงได้แจ้งพระเจ้าเล่าเสี้ยน พระเจ้าเล่าเสี้ยนได้ยินดังนั้นก็คิดจะกำจัดลิเงียม แต่บิฮุย ได้บอกแก่พระเจ้าเล่าเสี้ยนว่า ลิเงียมเป็นคนที่ พระเจ้าเล่าปี่ โปรด อยากใหพระองค์ไว้ชีวิตลิเงียม พระเจ้าเล่าเสี้ยนจึงปลดออกจากตำแหน่งแล้วไล่ลิเงียมออกไปนอกเมือง แล้วลิเงียมก็ตรอมใจตายที่นอกเมืองในเวลาต่อมา หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ฮั่น หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: พ.ศ. 777และลิเงียม · ดูเพิ่มเติม »

ศึกอู่จั้งหยวน

ึกอู่จั้งหยวน (Battle of Wuzhang Plains) เป็นหนึ่งในศึกสงครามในสามก๊ก จากวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊ก เกิดขึ้นในระหว่างเดือนเมษายนถึงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 234 บริเวณที่ราบอู่จั้ง ในมณฑลส่านซี ศึกอู่จั้งหยวนเป็นหนึ่งในศึกสงครามการบุกทางเหนือของขงเบ้ง โดยมีขงเบ้งและสุมาอี้เป็นแม่ทัพ ซึ่งผลของศึกอู่จั้งหยวนคือวุยก๊กเป็นฝ่ายชนะ จ๊กก๊กแตกพ่ายถอยหนีและเป็นการบัญชาการสงครามครั้งสุดท้ายของขงเบ้ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 777และศึกอู่จั้งหยวน · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: พ.ศ. 777และสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

หองจูเหียบ

ักรพรรดิฮั่นเซี่ยน หรือ ฮั่นเซี่ยนตี้ สำเนียงจีนฮกเกี้ยนว่า ฮั่นเหี้ยนเต้ พระนามเดิม เสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ เหียบ ตามสำเนียงจีนฮกเกี้ยน หรือมักเรียกกันว่า หวังเช่าเสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเหียบ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ("เสียเจ้าชายน้อย") หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม พระเจ้าเหี้ยนเต้ (ตามที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)) เป็นพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้พระองค์หนึ่งของราชวงศ์ฮั่น และเป็นหนึ่งในตัวละครตามวรรณกรรมสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 724 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้ และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระเจ้าเซ่าเต้ ขึ้นครองราชย์จากการที่ ตั๋งโต๊ะ ต้องการสร้างบารมีแก่ตน โดยการเปลี่ยนองค์พระจักรพรรดิ โดยปลดพระเจ้าเซ่าเต้ออกจากพระราชบัลลังก์ แล้วอัญเชิญหองจูเหียบ ซึ่งเห็นว่ามีสติปัญญาดีขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน หองจูเหียบจึงได้ขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งต้าฮั่นในปี พ.ศ. 732 ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา โดยการครองราชย์นั้นในช่วงแรกแทบไม่ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจใด ๆ เพราะหลังจากตั๋งโต๊ะตั้งพระองค์เป็นฮ่องเต้ ก็กุมอำนาจเบ็ดเสร็จในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำอะไรไม่ปรึกษาใคร เหมือนว่าตั๋งโต๊ะไม่เห็นพระเจ้าเหี้ยนเต้อยู่ในสายตา แม้ว่าตั๋งโต๊ะจะถึงขนาดเผาเมืองหลวง สร้างราชธานีขึ้นใหม่ก็ทรงทำอะไรไม่ได้ จนตั๋งโต๊ะสิ้นชีพไปในปี พ.ศ. 735 ทรงเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจไปบ้างเล็กน้อย แต่การจะให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษาปกครองประเทศจีน ดูจะยากเกินไป พระเจ้าเหี้ยนเต้เริ่มกลายเป็นเหมือนหุ่นเชิดของเหล่าขุนนางและสิบขันที ดังนั้น ในปี พ.ศ. 739 โจโฉ ก็เข้ามาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเริ่มที่จะสร้างอิทธิพลครอบงำราชสำนัก พระองค์ก็มิอาจทำอะไรได้ แม้จะทรงมีหนังสือลับที่เขียนด้วยพระโลหิตของพระองค์เองส่งไปหาเล่าปี่ ซึ่งทรงถือเป็นพระปิตุลา (พระเจ้าอา) ให้กำจัดโจโฉ เพราะทรงเริ่มเห็นถึงความกำเริบของโจโฉ แม้โจโฉบางครั้งอาจจะทำตัวเทียบบารมีพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่ก็ไม่เคยคิดตั้งตนเป็นพระจักรพรรดิเอง และเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงบรรลุนิติภาวะ โจโฉก็กลับไปทำหน้าที่เดิมของตน และความสัมพันธ์ระหว่างโจโฉกับพระเจ้าเหี้ยนเต้ก็เริ่มบั่นทอน เพราะโจโฉเริ่มมีการแสวงหาอำนาจ จนกระทั่งขอเป็นอ๋องแห่งแคว้นเว่ย พระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงกริ่งพระทัย แต่เมื่อโจโฉได้ยกโจเฮา บุตรีคนหนึ่งให้เป็นพระมเหสี ในปี พ.ศ. 757 พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงทรงพระราชทานตำแหน่งอ๋องหรือ ผู้ปกครองแคว้น ให้ แล้วโจโฉก็พอพระทัย ไม่ต้องการอะไรเพิ่ม ครองแคว้นเว่ยไปอย่างสงบ แต่ตลอดเวลาตั้งแต่นั้น พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็ทรงเป็นเหมือนหุ่นเชิดของก๊กทั้งสามแคว้น (สามก๊ก) ไป ๆ มา ๆ จนวุยอ๋องโจโฉสิ้นพระชนม์ โจผี พระโอรสในพระเจ้าโจโฉขึ้นเป็นอ๋องครองแคว้นเว่ยต่อจากโจโฉผู้เป็นพระบิดา วุยอ๋องโจผีมีพระทัยที่เหิมเกริมจนขับไล่พระเจ้าเหี้ยนเต้ออกไปจากราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 763 และขึ้นเป็นพระจักรพรรดิแห่งแคว้นเว่ยเสีย แต่ว่าราชวงศ์ฮั่นยังไม่สิ้นสุดเมื่อฮันต๋งอ๋องเล่าปี่ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหาจักรพรรดิในแดนเสฉวนเพื่อรักษาราชวงศ์ฮั่นและเชื้อสายราชตระกูลเล่า และในปี พ.ศ. 772 ง่ออ๋องซุนกวนก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิในแดนกังตั๋งเช่นกัน นับแต่นั้นมาแผ่นดินจีนก็แตกออกเป็นสามอาณาจักรอย่างแท้จริง พระเจ้าเหี้ยนเต้ถูกลดพระอิสริยยศจากพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ เป็น ชนชั้นสูง และมีชีวิตอย่างสงบสุขเรื่อยมา จนพระเจ้าเหี้ยนเต้เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 777 ขณะมีพระชนมายุ 53 พรรษ.

ใหม่!!: พ.ศ. 777และหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

อุยเอี๋ยน

อุยเอี๋ยน (Wei Yan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งจ๊กก๊กรูปร่างสูงใหญ่ ชื่อรองบุ้นเตีย ใช้ง้าวคู่เป็นอาวุธ ปรากฏบทบาทครั้งแรกที่เมืองเกงจิ๋ว เมื่อเล่าปี่ได้อพยพราษฎรจากซินเอี๋ยและอ้วนเสียข้ามน้ำมาจากการตามล่าของโจโฉขอให้ชาวบ้านอยู่ในเมืองด้วย พวกทหารและเสนาธิการจะแยกไปทันที แต่ชัวมอที่บังคับเล่าจ๋องอยู่ไม่ยอมเปิดประตูให้ อุยเอี๋ยนซึ่งเป็นทหารเกงจิ๋วกลับนำทหารส่วนหนึ่งมาเปิดประตูให้เล่าปี่ยกเข้าเมือง แต่บุนเพ่งแม่ทัพคนหนึ่งของเกงจิ๋วได้ออกมาขัดขวาง พร้อมด่าว่า เจ้าจะเป็นกบฏหรือ อุยเอี๋ยนกับบุนเพ่งจึงได้สู้กัน เล่าปี่อนาถใจที่เห็นทั้งคู่มาสู้กันเอง จึงยกทัพแยกไป.

ใหม่!!: พ.ศ. 777และอุยเอี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

ใหม่!!: พ.ศ. 777และจูกัดเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีนใน ค.ศ. 234

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 234 ในประเทศจีน.

ใหม่!!: พ.ศ. 777และประเทศจีนใน ค.ศ. 234 · ดูเพิ่มเติม »

โกะหยง

กะหยง (Gu Yong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เสนาธิการง่อก๊ก มีนิสัยตรงไปตรงมา ยึดมั่นในกฎระเบียบ เคร่งครัดเป็นนิสัย โกะหยงเป็นขุนนาง ที่บริหารบ้านเมืองได้ดีเยี่ยม ตำแหน่งสุดท้ายคือเฉิงเซี่ยง หรือตำแหน่งขุนนางยศสูงที่สุดของฝ่ายง่อ โดยโกะหยงเป็นเฉิงเสี่ยง คนที่สองต่อจากซุนเสียว โกะหยงตายเพราะถูกอาของตนวางยาพิษในอาหารด้วยความอิจฉ.

ใหม่!!: พ.ศ. 777และโกะหยง · ดูเพิ่มเติม »

เจียวอ้วน

ียวอ้วน (Jiang Wan) เป็นเสนาบดีคนสำคัญแห่งจ๊กก๊ก มีชื่อรองว่า กงเหยี่ยน เป็นชาวบ้านเซียงเซียง เมืองหลิงหลิง มณฑลหูหนาน เป็นคนซื่อสัตย์ เมตตากรุณา ขงเบ้งมีความเชื่อถือในตัวเจียวอ้วนมาก เมื่อออกศึกก็มักจะให้เจียวอ้วนดูแลในแนวหลัง เมื่อขงเบ้งใกล้จะตายได้มอบหมายให้เจียวอ้วนดำรงตำแหน่งสมุหนายกแทนตนสืบต่อไป.

ใหม่!!: พ.ศ. 777และเจียวอ้วน · ดูเพิ่มเติม »

21 เมษายน

วันที่ 21 เมษายน เป็นวันที่ 111 ของปี (วันที่ 112 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 254 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 777และ21 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

23 สิงหาคม

วันที่ 23 สิงหาคม เป็นวันที่ 235 ของปี (วันที่ 236 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 130 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 777และ23 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 234

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »