โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 2225

ดัชนี พ.ศ. 2225

ทธศักราช 2225 ใกล้เคียงกั.

32 ความสัมพันธ์: บาร์โตโลเม เอสเตบัน มูริโยพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษพระเจ้าคาร์ลที่ 12 แห่งสวีเดนมหาสงครามเหนือราชวงศ์โรมานอฟรายพระนามพระประมุขทิเบตรายพระนามผู้ปกครองรัสเซียรายพระนามจักรพรรดิเวียดนามรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์รัสเซียรายนามจุฬาราชมนตรีวัดบุปผาราม (จังหวัดตราด)วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารสังฆนายกแห่งนิชิเร็งโชชูหลวงปู่ทวดอาณาจักรอาหมจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซียทะไลลามะดัชเชสมาเรีย อันนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรียซาร์ฟิโอดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซียซาร์อีวานที่ 5 แห่งรัสเซียประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสประวัติศาสตร์รัสเซียประเทศรัสเซียใน ค.ศ. 1682ปารีสโฮมกโซฟี โดโรเทอา แห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์คเจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งบูร์กอญเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)เซ็สโซและคัมปะกุ17 มิถุนายน6 มีนาคม

บาร์โตโลเม เอสเตบัน มูริโย

“เด็กขายผลไม้” (The Little Fruit Seller) - ค.ศ. 1670 บาร์โตโลเม เอสเตบัน มูริโย (Bartolomé Esteban Murillo) รับศีลล้างบาปเมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1618 ที่เซบิยา ประเทศสเปน และเสียชีวิตที่เซบิยาเช่นกันเมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1682 เป็นจิตรกรสมัยศิลปะบาโรกคนสำค้ญของประเทศสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน แม้ว่ามูริโยจะมีชื่อเสียงในการเขียนภาพทางศาสนาแต่ก็ได้เขียนภาพชีวิตชาวบ้านทั้งผู้หญิงและเด็กร่วมสมัยไว้มาก เป็นภาพของเด็กขายดอกไม้ เด็กเกเร ขอทาน ซึ่งทำให้เราเห็นภาพชีวิตประจำวันในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และบาร์โตโลเม เอสเตบัน มูริโย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าคาร์ลที่ 12 แห่งสวีเดน

มเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลที่ 12 แห่งสวีเดน (Konung Karl XII) ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์ในช่วงมหาสงครามเหนือ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1682 ทรงครองราชย์เมื่อพระชนมายุ 15 พรรษา พระองค์มีพระปรีชาสามารถในเรื่องการทหารและด้านการเมือง พระองค์ได้นำทัพสวีเดนเข้ารบโจมตีกองทัพของรัสเซียซึ่งมีพระเจ้าปีเตอร์มหาราชเป็นแม่ทัพและได้รับชัยชนะที่ยุทธการนาร์วาเมื่อปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และพระเจ้าคาร์ลที่ 12 แห่งสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

มหาสงครามเหนือ

มหาสงครามเหนือ (Great Northern War; Северная война; Stora nordiska kriget) เป็นสงครามครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ปีคริสต์ศักราชที่ 1700 ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 10 กันยายน ปีคริสต์ศักราช 1721 รวมระยะเวลาทั้งหมดเป็น 21 ปี นำโดยจักรวรรดิรัสเซียแห่งฝ่ายพันธมิตรเข้าปะทะกับจักรวรรดิสวีเดนในภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปเหนือ ก่อนจะนำมาด้วยชัยชนะของฝ่ายพันธมิตรและการก้าวขึ้นมามีอำนาจสูงสุดของรัสเซียเหนือคาบสมุทรบอลติก รวมถึงการเข้ามามีอิทธิพลในยุโรปของรัสเซียจวบจนปัจจุบัน ส่วนสวีเดนต้องตกอยู่ใต้ "ยุคแห่งเสรีภาพ" อันมีระบบรัฐสภาปกครองประเทศอันเนื่องมาจากเหตุสวรรคตของพระเจ้าชาลส์ที่ 12นำไปสู่ยุคไร้พระมหากษัตริย์ของสวีเดนถึง 54 ปี สงครามนี้นำด้วยกองทหารสองเหล่าทัพ โดยมีฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้เปิดฉากต่อสู้ก่อน นำโดยพระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งรัสเซีย พระเจ้าเฟรเดอริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์ และพระเจ้าออกัสตัสที่ 2 แห่งแซกซ์-โปแลนด์-ลิทัวเนีย ซึ่งต่อมาได้ถอนกำลังออกในปี ค.ศ. 1700 และปี ค.ศ. 1706 ตามลำดับ แต่ในปี ค.ศ. 1709ก็ได้นำกองทัพเข้ามาสมทบต่อจนสิ้นสงคราม นอกจากนี้ยังมี พระเจ้าจอร์จที่ 1นำทัพจากฮาโนเวอร์เข้ามาร่วมสงครามในปี ค.ศ. 1714 และได้นำทัพจากบริเตนใหญ่เข้ามาสมทบภายหลังในปี ค.ศ. 1717 รวมทั้งพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งบรานเดนบูร์ก-ปรัสเซียที่นำกองทัพเข้ามาสมทบในปี ค.ศ. 1715 อีกด้วย ส่วนทางด้านฝ่ายสวีเดนนั้นนำด้วยพระเจ้าชาลส์ที่ 12 โดยมีกองทัพแห่งโฮลชไตน์-ก็อธธอร์ป รวมทั้งทัพโปแลนด์-ลิทัวเนียที่นำโดยกษัตริย์สตานิสลอว เลซซิงสกีในปี ค.ศ. 1704 ถึงปี ค.ศ. 1710 และกองทัพคอสแซคภายใต้การนำทัพของอีวาน มาเซปปา รองผู้บัญชาการทัพสูงสุดแห่งชนชาติยูเครน รวมถึงสุลต่านอาห์เมดที่นำทัพออตโตมันร่วมสงครามกับฝ่ายสวีเดนแล้วมุ่งหน้าปะทะกับกองทัพรัสเซียเป็นหลักอีกด้วย สงครามเปิดฉากด้วยการที่กองทัพพันธมิตรแห่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์ แซกโซนี โปแลนด์-ลิทัวเนีย และรัสเซียกรีฑาทัพเข้าโจมตีโฮลชไตน์-ก็อธธอร์ป ลิโวเนีย และอินเกรียอันเป็นดินแดนของจักรวรรดิสวีเดนซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าชาลส์ที่ 12ที่ในสมัยนั้นยังทรงพระเยาว์ จึงขาดความรู้และประสบการณ์เป็นอย่างมาก ฝ่ายสวีเดนจึงได้แต่ตั้งหน้ารับการโจมตีของฝ่ายพันธมิตรอยู่ท่าเดียว จนกระทั่งยุทธการนั้นจบลงด้วยสนธิสัญญาสงบศึกแห่งทราเวนดอล นับตั้งแต่นั้นมหาสงครามเหนือก็ได้เริ่มขึ้น และกลายเป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์ยุโรปเลยทีเดียว หลังจากระยะสงครามที่ยืดเยื้อมาถึง 21 ปีแล้ว จักรวรรดิสวีเดนได้เริ่มทำสนธิสัญญาสตอกโฮล์มเพื่อสงบศึกกับฮาโนเวอร์และปรัสเซียในปี ค.ศ. 1719 ต่อมาในปี ค.ศ. 1720 ได้ทำสนธิสัญญาสงบศึกเฟรเดริกส์เบิร์กกับฝั่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์ แต่ก็ยังยืนกรานที่จะเปิดสงครามกับรัสเซียต่อไป จนกระทั่งปี ค.ศ. 1721 สวีเดนแพ้สงครามในที่สุด จนสวีเดนต้องทำสนธิสัญญาสงบศึกนีสตาดกับรัสเซีย โดยสนธิสัญญาทั้งสามฉบับสวีเดนต้องเสียสินทรัพย์และดินแดนเป็นจำนวนไม่น้อยเป็นค่าปฏิกรรมสงครามเลยทีเดียว ท้ายที่สุดแล้วสวีเดนจึงต้องสูญเสียอำนาจในการปกครองดินแดนหลายๆ ส่วน นอกจากนั้นยังโดนลดอำนาจในคาบสมุทรบอลติกลงและยังต้องเปลี่ยนระบอบการปกครองเพราะสิ้นราชวงศ์ในสงครามอีกด้วย ส่วนรัสเซียนั้นหลังจบสงครามก็ได้เริ่มต้นยุคแห่งการแผ่ขยายอำนาจออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ก่อนที่จะหยุดลงในสองศตวรรษหลังจากนั้นเอง แต่อิทธิพลของรัสเซียที่มีต่อยุโรปและต่อประชาคมโลกยังคงมีอยู่ แม้จะน้อยลงบ้างก็ตาม.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และมหาสงครามเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โรมานอฟ

งราชวงศ์โรมานอฟ ตราแผ่นดินของจักรวรรดิรัสเซีย ตราประจำพระราชวงศ์ ราชวงศ์โรมานอฟ ตามสำเนียงอังกฤษ หรือ รามานาฟ ตามสำเนียงรัสเซีย (Romanov) เป็นราชวงศ์ที่สองและราชวงศ์สุดท้ายของรัสเซีย โดยราชวงศ์นี้ปกครองจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ ค.ศ. 1613 ถึง ค.ศ. 1917 กษัตริย์โรมานอฟพระองค์แรก คือพระเจ้าซาร์มิฮาอิลที่ 1 ได้รับแต่งตั้งใน ค.ศ. 1613 ภายหลังสมัยแห่งความวุ่นวาย (Time of Troubles) ราชวงศ์นี้ปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เกือบตลอดเวลา โดยได้มีความพยายามร่างรัฐธรรมนูญ โดยพระจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แต่พระองค์ก็ถูกลอบปลงพระชนม์เสียก่อน แม้ว่าจักรพรรดินีโคไลที่ 2 จะทรงตั้งสภาดูมาใน ค.ศ. 1905 ก็มิได้มีสิทธิในการออกกฎหมายอย่างเต็มที่ จนเกิดการปฏิวัติใหญ่ในรัสเซีย จักรพรรดินิโคสัสที่ 2 ต้องทรงสละราชสมบัติในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 และถูกปลงพระชนม์โดยกำลังของฝ่ายบอลเชวิกในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1918 ซึ่งสาเหตุของการปลงพระชนม์เนื่องด้วย พระจักรพรรดินิโคสัสที่ 2 เข้าร่วมสงครามและทุ่มงบประมาณไปกับสงครามมาก ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลให้ประชาชนก่อการปฏิวัติ และทางราชวงศ์ได้พยายามหลบหนีแต่ไม่สำเร็จ ได้ถูกนำมากักตัวและถูกลอบปลงพระชนม.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และราชวงศ์โรมานอฟ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระประมุขทิเบต

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และรายพระนามพระประมุขทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามผู้ปกครองรัสเซีย

ักรพรรดิแห่งรัสเซีย หรือที่มักเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่าพระเจ้าซาร์ เป็นตำแหน่งที่ปกครองอาณาจักรซาร์รัสเซีย และจักรวรรดิรัสเซีย โดยนับตั้งแต่ ค.ศ. 1721 จะทรงใช้พระยศว่า "จักรพรรดิ" จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายคือ จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 โดยนับตั้งแต่การยกฐานะเป็นจักรวรรดิมีพระจักรพรรดิเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์โรมานอฟทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังดำรงพระอิสริยยศเป็นแกรนด์ดยุคแห่งฟินแลนด์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1809 - ค.ศ. 1917, พระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1815 - ค.ศ. 1916.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และรายพระนามผู้ปกครองรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดิเวียดนาม

้านล่างนี้คือ รายพระนามจักรพรรดิเวียดนาม.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และรายพระนามจักรพรรดิเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์รัสเซีย

รายพระนามคู่สมรสในพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น "ซารีนา" หรือ "จักรพรรดินี".

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์รัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

รายนามจุฬาราชมนตรี

รายนามจุฬาราชมนตรี.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และรายนามจุฬาราชมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

วัดบุปผาราม (จังหวัดตราด)

วัดบุปผาราม เดิมชื่อ วัดปลายคลอง ตั้งอยู่ เนินหย่อง หมู่ที่ 3 บ้านปลายคลอง ถนนพัฒนาการปลายคลอง ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดตร.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และวัดบุปผาราม (จังหวัดตราด) · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ปัจจุบันมี พระเทพวรมุนี เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ ปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สังฆนายกแห่งนิชิเร็งโชชู

ระนิชิเนียว โชนิง สังฆนายกรูปปัจจุบันแห่งนิชิเรนโชชู ในนิกายนิชิเร็งโชชู สังฆนายก เป็นตำแหน่งของผู้นำและประมุขสุงสุดของนิกาย ซึ่งมีสานุศิษย์อยู่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย มีผู้นับถือส่วนมากในประเทศ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน กานา มาเลเซีย บราซิล ศรีลังกา และประเทศไทย สังฆนายกรูปปัจจุบันคือ พระนิชิเนียว โชนิง สังฆนายกรูปที่ 68.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และสังฆนายกแห่งนิชิเร็งโชชู · ดูเพิ่มเติม »

หลวงปู่ทวด

thumb หลวงปู่ทวด (หรือ สมเด็จเจ้าพะโคะ, หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด, สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์) เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทยจากตำนานท้องถิ่นซึ่งยังไม่ปรากฏหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ยืนยันความมีอยู่จริง ประวัติที่พิมพ์เผยแพร่กล่าวว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รูปสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้ที่ศรัทธาในหลวงปู่ทวดเชื่อกันว่าพระเครื่องที่สร้างเนื่องด้วยท่านจะมีอานุภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองผู้มีพระเครื่องหลวงปู่ทวดในครอบครอง ปัจจุบันหลวงปู่ทวดถือได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ในตำนานที่มีผู้ศรัทธาจำนวนมาก รูปสำคัญ 1 ใน 2 มหาเกจิอาจารย์ของเมืองไทย คู่กับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (หลวงปู่โต) ที่มีตัวตนจริง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และหลวงปู่ทวด · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอาหม

อาณาจักรอาหม (আহোম ৰাজ্য; อาโหมะ ราชยะ; Ahom Kingdom) บ้างเรียก อาณาจักรอัสสัม (Kingdom of Assam) มีชื่อในภาษาอาหมว่า เมืองถ้วนสวนคำจิตร ภูมิศัก.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และอาณาจักรอาหม · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย

ักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย หรือ ปีเตอร์มหาราช (Пётр I Великий, 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2215 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2268) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2225 จนกระทั่งสวรรคต และถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอำนาจของยุโรปในสมัยนั้น ในช่วงระยะเวลาของรัชสมัยจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 มหาราช พระองค์ได้ทรงสร้างประเทศเป็น “จักรวรรดิ” ที่เป็นที่น่าเกรงขามได้สำเร็จ การติดต่อด้านการค้าและการทูตกับต่างประเทศ การรับเอาความเจริญทางด้านการทหาร การช่างและวิทยาศาสตร์มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาประเทศ ในสมัยต้นราชวงศ์โรมานอฟล้วนแต่เป็นการแผ้วทางไปสู่ความยิ่งใหญ่ของการเป็นมหาอํานาจของรัสเซีย เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตใน..

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะไลลามะ

ทะไลลามะ (ทิเบต: ཏཱ་ལའི་བླ་མ་, taa la’i bla ma, จีนตัวเต็ม: 達賴喇嘛; จีนตัวย่อ: 达赖喇嘛; พินอิน: Dálài Lǎmā) เป็นตำแหน่งประมุขหัวหน้าคณะสงฆ์ในพุทธศาสนานิกายมหายานแบบทิเบตเกลุก (นิกายหมวกเหลือง) เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณสูงสุดของชาวทิเบต ทะไลลามะ มาจากภาษามองโกเลีย dalai แปลว่า มหาสมุทร และภาษาทิเบต བླ་མ ་bla-ma แปลว่า พระชั้นสูง (ทะไลลามะ บางครั้งหรือนิยมออกเสียว่า ดาไลลามะ) ตามประวัติศาสตร์ของทิเบต เชื่อว่าองค์ทะไลลามะเป็นอวตารในร่างมนุษย์ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และเมื่อองค์ทะไลลามะองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ไป จะกลับชาติมาประสูติใหม่เป็นองค์ทะไลลามะองค์ต่อไป โดยเรทิงรินโปเช ซึ่งเป็นพระสงฆ์ระดับรองลงมาจะเป็นผู้ใช้นิมิตสรรหาเด็กคนที่เชื่อว่าเป็นทะไลลามะกลับชาติมาเกิด ปัจจุบัน ดาไลลามะ เป็นองค์ที่ 14 ชื่อ เทนซิน เกียตโซ(Tenzin Gyatso)..

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และทะไลลามะ · ดูเพิ่มเติม »

ดัชเชสมาเรีย อันนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรีย

ัชเชสมาเรีย อันนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรีย, โดฟินแห่งฝรั่งเศส (ประสูติ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1660 — สิ้นพระชนม์ 20 เมษายน ค.ศ. 1690) พระชายาในเจ้าชายหลุยส์ เลอกร็องโดฟิน รัชทายาทของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และดัชเชสมาเรีย อันนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ซาร์ฟิโอดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย

ฟิโอดอร์ที่ 3 อะเลคเซเยวิช (Фёдор III Алексеевич,9 มิถุนายน พ.ศ. 2204 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2225) เป็นพระราชโอรสในซาร์อะเลคเซย์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ที่ประสูติจากพระมเหสีองค์แรกเสด็จขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2219 ขณะพระชนม์เพียง 14 พรรษาแต่เนื่องจากพระพลานามัยไม่แข็งแรงและทรงพิการมาแต่ทรงพระเยาว์จึงทำให้ทรงบริหารราชการแผ่นดินได้ไม่สะดวกและในวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1681 พระมเหสีองค์แรกมีพระประสูติกาลพระราชโอรสองค์แรกและองค์เดียวแต่หลังจากนั้น 3 วัน พระมเหสีก็สิ้นพระชนม์และในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2224 พระราชโอรสพระองค์เดียวของพระองค์ก็สิ้นพระชนม์ตามกันไปอีกพระองค์สวรรคตในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2225 ขณะพระชนม์เพียง 20 พรรษาสวรรคตโดยไร้รัชทายาท ราชสมบัติจึงตกแก่พระราชอนุชา 2 พระองค์คือ เจ้าชายอีวาน และ เจ้าชายปีเตอร์ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2204 หมวดหมู่:ราชวงศ์โรมานอฟ หมวดหมู่:ซาร์แห่งรัสเซีย หมวดหมู่:บุคคลจากมอสโก หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ขณะทรงพระเยาว์ในสมัยใหม่.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และซาร์ฟิโอดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ซาร์อีวานที่ 5 แห่งรัสเซีย

พระเจ้าซาร์อีวานที่ 5 แห่งรัสเซีย (Tsar Ivan V of Russia, 6 กันยายน พ.ศ. 2209 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2239) เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 11 ในพระเจ้าซาร์อเล็กซีที่ 1 แห่งรัสเซีย ประสูติเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2209ทรงขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1682ขณะพระชนม์เพียง 15 พรรษา ตลอด 14 ปีในรัชกาลทรงบริหารราชการแผ่นดินร่วมกับ พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซียพระราชอนุชาต่างพระราชมารดาสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1696 ขณะพระชนม์เพียง 29 พรรษา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2209 หมวดหมู่:ซาร์แห่งรัสเซีย หมวดหมู่:ราชวงศ์โรมานอฟ หมวดหมู่:บุคคลจากมอสโก หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ขณะทรงพระเยาว์ในสมัยใหม่.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และซาร์อีวานที่ 5 แห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสเป็นดินแดนที่เคยอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันมาก่อน โดยรู้จักกันในชื่อของชนเผ่า หรือแคว้นกอล ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่าขนาดใหญ่ที่พูดภาษาเคลท์ ในช่วงท้ายก่อนที่จักรวรรดิโรมันจะล่มสลายลง ดินแดนกอลถูกรุกรานจากทั้งการโจมตีของกลุ่มอนารยชนและการอพยพของกลุ่มคนเร่ร่อน โดยเฉพาะชาวแฟรงก์เชื้อสายเจอร์มานิค พระมหากษัตริย์แฟรงก์นามว่า โคลวิสที่ 1 ได้ทรงรวบรวมดินแดนส่วนมากของกอลภายใต้การปกครองของพระองค๋ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 นับเป็นจุดเริ่มต้นของอิทธิพลชาวแฟรงก์ในภูมิภาคนี้ที่ดำเนินต่อไปอีกหลายร้อยปี อำนาจของแฟรงก์ดำเนินมาถึงจุดสูงสุดในช่วงของพระเจ้าชาร์เลอมาญ ราชอาณาจักรฝรั่งเศสยุคกลางก็ได้ถือกำเนิดขึ้นจากการเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งทางทิศตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงของชาร์เลอมาญ ซึ่งรู้จักกันในนาม ฟรังเกียตะวันตก และเพิ่มพูนอิทธิพลของตนขึ้นเรื่อยมาภายใต้การปกครองของตระกูลกาแปซึ่งก่อตั้งโดยอูก กาแปในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์รัสเซีย

ประวัติศาสตร์รัสเซีย เริ่มต้นขึ้นเมื่อชาวสลาฟตะวันออกก่อตั้งจักรวรรดิเคียฟรุส และรับเอาศาสนาคริสต์มาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ในปี พ.ศ. 1531 ในปีพ.ศ. 1783 อาณาจักรคีวานรุสล่มสลายโดยการรุกรานจากจักรวรรดิมองโกล หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 มอสโกได้ค่อยพัฒนาเป็นศูนย์กลางของศิลปะและวัฒนธรรมทีละน้อย ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 รัฐมอสโกได้เป็นใหญ่ในจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งได้มีการขยายอาณาเขตถึงโปแลนด์ ทางด้านตะวันออกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก จนถึงสมัยพระเจ้าซาร์อีวานที่ 3 ในปี พ.ศ. 2023 พระองค์หยุดส่งเครื่องบรรณาการให้มองโกเลีย และประกาศเอกราชไม่เป็นเมืองขึ้นของมองโกเลียอีกต่อไป หลังจากการเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่งผลให้รัสเซียเผชิญปัญหาในการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรม ความเป็นอยู่ประชาชนลำบากแร้นแค้น กำลังทหารและเศรษฐกิจรัสเซียเข้าขั้นวิกฤต ในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์จึงได้ก่อการปฏิวัติขึ้นในปี พ.ศ. 2460 นำไปสู่การก่อตั้งสหภาพโซเวียต เป็นประเทศแรกของโลกที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง สหภาพโซเวียตกลายมาเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกคู่กับสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามเย็น ในสมัยนั้น นโยบายของสหภาพโซเวียตได้เน้นการป้องกันประเทศและพัฒนาด้านอุตสาหกรรม แต่การเน้นพัฒนาทหารขนานใหญ่ ส่งผลทำให้เศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง ต่อมา เมื่อมิคาอิล กอร์บาชอฟ ขึ้นสู่อำนาจ เขาได้เริ่มนโยบายปฏิรูปด้านต่าง ๆ ทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลายใน พ.ศ. 2534 สาธารณรัฐต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียจึงแยกตัวออกมาเป็นเป็นสหพันธรัฐรัสเซียในปัจจุบัน โดยที่รัสเซียได้รับสถานภาพตามกฎหมายในเวทีระหว่างประเทศมาจากสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และประวัติศาสตร์รัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซียใน ค.ศ. 1682

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1682 ในประเทศรัสเซี.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และประเทศรัสเซียใน ค.ศ. 1682 · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และปารีส · ดูเพิ่มเติม »

โฮมก

โฮมก (1595-1682) เป็นขุนนาง,นักเขียนคนสำคัญในสมัย ราชวงศ์โชซอน ได้ดำรงตำแหน่งรองมหาเสนาบดีในช่วงต้นรัชสมัย พระเจ้าซุกจง ระหว่างปี ค.ศ. 1675-78 โฮมก เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1595 ในรัชสมัย พระเจ้าซอนโจ เป็นหัวหน้าขุนนางฝ่ายใต้ในรัชสมัย พระเจ้าซุกจง และเป็นคู่แข่งทางการเมืองของ ซงซียอล หัวหน้าขุนนางฝ่ายตะวันตก โฮมก ถึึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ. 1682 ขณะอายุได้ 87 ปี หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2138 หมวดหมู่:ขุนนางเกาหลี หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์โชซ็อน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และโฮมก · ดูเพิ่มเติม »

โซฟี โดโรเทอา แห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค

ซฟี โดโรเทอา แห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค (Sophie Dorothea von Braunschweig-Lüneburg) หรือในอังกฤษรู้จักกันในชื่อ โซเฟีย โดโรเธียแห่งเซลล์ (Sophia Dorothea of Celle) เป็นเจ้าหญิงเยอรมันซึ่งอภิเษกเข้าสู่พระราชวงศ์อังกฤษ ประสูติ ณ เมืองเซลเลอ ราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์ เป็นพระธิดาของเกออร์ก วิลเฮล์ม เบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์คและพระสนมเอเลนอร์ เดสเมียร์ โดลบรูส เคานเทสแห่งวิลเลียมสเบิร์ก (Eleonore d'Esmier d'Olbreuse) ต่อมาโซเฟีย โดโรเธียแห่งเซลล์ทรงเสกสมรสกับจอร์จ หลุยส์พระญาติซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่ เมื่อปี ค.ศ. 1682 และทรงหย่าจากพระสวามีเมื่อปี ค.ศ. 1694 โซเฟีย โดโรเธียสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1726 ที่อาห์ลเด็น เยอรมนี โซเฟีย โดโรเธียเป็นพระมารดาของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ และโซเฟีย โดโรเธียแห่งฮาโนเวอร์ พระราชินีแห่งปรัสเซียผู้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าฟรีดริช วิลเลียมที่ 1 แห่งปรัสเซียผู้เป็นพระมารดาและบิดาของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซี.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และโซฟี โดโรเทอา แห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์

้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ (Rupert, Count Palatine of the Rhine, Duke of Bavaria; Ruprecht Pfalzgraf bei Rhein, Herzog von Bayern หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า Prince Rupert of the Rhine; 17 ธันวาคม ค.ศ. 1619 - 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1682) ประสูติเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1619 ที่ปราก ราชอาณาจักรโบฮีเมีย (ในสาธารณรัฐเช็กปัจจุบัน) เป็นพระราชโอรสองค์รองของเฟรเดอริคที่ 5 เจ้าชายอีเล็คเตอร์แห่งพาเลไทน์และเอลิซาเบธ สจวต สมเด็จพระราชินีแห่งโบฮีเมีย และเป็นพระนัดดาของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษผู้ที่พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้พระองค์เป็นดยุกแห่งคัมบาลันด์ และเอิร์ลแห่งโฮลเดอร์เนส เจ้าชายรูเพิร์ตทรงเป็นนักการทหาร, นักประดิษฐ์ และศิลปินสมัครเล่นในการทำภาพพิมพ์มัชฌิมรงค์ (mezzotint) เจ้าชายรูเพิร์ตทรงเป็นทหารมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงเริ่มด้วยการเข้าต่อสู้ต่อต้านสเปนในเนเธอร์แลนด์และในเยอรมนี เมื่อพระชนมายุได้ 23 พรรษาก็ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพผู้บังคับบัญชากองทหารม้าระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ แต่มาทรงพ่ายแพ้ในยุทธการเนสบีย์และทรงถูกขับจากเกาะอังกฤษ หลังจากนั้นก็ทรงเข้าร่วมกับฝ่ายกษัตริย์นิยมผู้ลี้ภัยอยู่ระยะหนี่ง ต่อมาก็ทรงไปเป็นโจรสลัดอยู่ในบริเวณคาริบเบียน หลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษเจ้าชายรูเพิร์ตก็เสด็จกลับอังกฤษและได้รับตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาราชนาวี, นักประดิษฐ์, ศิลปิน และทรงเป็นข้าหลวงคนแรกของบริษัทฮัดสันเบย์ (Hudson's Bay Company) เจ้าชายรูเพิร์ตมิได้ทรงเสกสมรสแต่ทรงมีโอรสธิดานอกสมรสสองคน และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1682 ที่เวสต์มินสเตอร์ในอังกฤษ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และเจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งบูร์กอญ

เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งบูร์กอญ และในเวลาต่อมาคือ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส (Louis de France, duc de Bourgogne; 16 สิงหาคม ค.ศ. 1682 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1712) ทรงเป็นพระราชโอรสในเจ้าฟ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งใหญ่แห่งฝรั่งเศส, และเป็นพระราชบิดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส ทรงเริ่มดำรงตำแหน่งเป็น โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศสหลังการสิ้นพระชนม์ของพระบิดาในปี ค.ศ. 1711 ซึ่งพระองค์ทรงเรียกขานกันในนามว่า เลอเปอติโดแฟ็ง หรือ โดแฟ็งน้อย (Le Petit Dauphin) เพื่อแยกพระนามจากพระราชบิดาซึ่งเป็นรู้จักกันในฐานะ เลอกร็องโดแฟ็ง หรือ โดแฟ็งใหญ่ (Le Grand Dauphin).

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และเจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งบูร์กอญ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)

้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) (Κωνσταντίνος Γεράκης, กอนสตันตีโนส เยราจิส; Constantine Phaulkon) เป็นนักผจญภัยชาวกรีก ผู้กลายมาเป็นสมุหนายกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา นอกจากภาษากรีกซึ่งเป็นภาษาแม่แล้ว ฟอลคอนยังสามารถพูดภาษาต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาโปรตุเกส และภาษามลายู.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) · ดูเพิ่มเติม »

เซ็สโซและคัมปะกุ

งราชวงศ์สำหรับผู้สำเร็จราชการ ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เซ็สโซ เป็นยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สำหรับจักรพรรดิที่ยังทรงพระเยาว์เกินกว่าจะปกครองก่อนที่พระองค์จะเจริญพรรษาพอที่จะปกครองประเทศ เซ็สโซจะว่าราชการแทน และ คัมปะกุ เป็นตำแหน่งผู้สำเร็จราชการสำหรับจักรพรรดิที่ทรงเจริญพระชนพรรษาแล้ว โดยอ้างว่าพระจักรพรรดิทรงไม่รู้เรื่องงานบริหารประเทศ จึงต้องให้คัมปะกุ คอยช่วยบริหารจัดการ ตลอดสมัยเฮอัง อำนาจการบริหารประเทศอยู่ในสองตำแหน่งนี้ คือ เซ็สโซ และคัมปะกุตลอด 500 ปี ผูกขาดโดยคนของตระกูลฟุจิวะระ และสายย่อยของตระกูลนี้ตลอด โดยเราจะเรียกตระกูลเหล่านี้ว่า เซ็สกัง หรือตระกูลผู้สำเร็จราชการนั่นเอง ภายหลังจากสมัยเฮอังอำนาจอยู่ในมือของรัฐบาลทหาร โดยโชกุนปกครองประเทศแทน โดยผู้สำเร็จราชการของโชกุนจะเรียกว่า ชิกเก็ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และเซ็สโซและคัมปะกุ · ดูเพิ่มเติม »

17 มิถุนายน

วันที่ 17 มิถุนายน เป็นวันที่ 168 ของปี (วันที่ 169 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 197 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และ17 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

6 มีนาคม

วันที่ 6 มีนาคม เป็นวันที่ 65 ของปี (วันที่ 66 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 300 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2225และ6 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1682

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »