โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 2223

ดัชนี พ.ศ. 2223

ทธศักราช 2223 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1680 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

28 ความสัมพันธ์: พระนางอินกย็องรัฐบาลเอโดะรายชื่อทุพภิกขภัยรายพระนามสมเด็จพระราชินีและจักรพรรดินีแห่งเกาหลีรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์รัสเซียวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารวิลเลิม กลาสโซน เฮดาศาสนาพุทธแบบทิเบตสังฆนายกแห่งนิชิเร็งโชชูหมู่เกาะเติกส์และเคคอสอาสนวิหารอ็อชอาณาจักรอยุธยาอำเภอสิงหนครจักรวรรดิสวีเดนจัน โลเรนโซ แบร์นีนีดัชชีมักเดบูร์กดัชเชสมาเรีย อันนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรียดาวหางคาร์ลที่ 1 ลุดวิจ ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนตประวัติศาสตร์ทิเบตแฟร์ดีนันด์ อัลเบร็คท์ที่ 2 ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-โวลเฟนบึทเทิลแฟร์ดีนันด์ โบลแฮ็นดริก ดังเกิตส์โยฮันน์ แบพทิสท์ ซิมเมอร์มันน์โทกูงาวะ สึนาโยชิโทกูงาวะ อิเอสึนะเครื่องจักรไอน้ำ21 สิงหาคม

พระนางอินกย็อง

ระมเหสีอินกย็อง สกุลคิม แห่งควางซาน (1661–1680) เป็นพระมเหสีพระองค์แรกของพระเจ้าซุกจง พระนางเป็นธิดาของ คิม มัน กี สกุลคิม แห่งควางซาน กับท่านผู้หญิงฮัน สกุลฮัน แห่งช็องจู เมื่อพระชนมพรรษา 10 พรรษา พระนางอภิเษกสมรสกับพระเจ้าซุกจงขณะดำรงตำแหน่งองค์ชายรัชทายาท (王世子 왕세자 วังเซจา) พระนางจึงได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นวังเซจาบิน หรือเจ้าหญิงพระชายาขององค์ชายรัชทายาท (王世子嬪; 왕세자빈) ต่อมาในปีค.ศ. 1674 พระสวามีขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรโชซอน ทรงพระนามว่าพระเจ้าซุกจง โปรดให้สถาปนาพระชายา สกุลคิมขึ้นดำรงตำแหน่งพระมเหสี (วังบี 王妃) พระนางดำรงตำแหน่งพระมเหสีเป็นเวลา 6 ปีจนกระทั่งเดือนตุลาคม ปีค.ศ. 1680 พระมเหสี สกุลคิมทรงพระประชวร พระอาการหนัก 8 วันให้หลังพระมเหสี สกุลคิมเสด็จสวรรคต ณ พระตำหนักโฮซังจอน (会祥殿) พระราชวังกย็องด็อกกุง (慶德宮) สิริพระชนมพรรษา 20 พรรษา พระบรมศพได้รับการบรรจุฝังที่สุสานหลวงในจังหวัดกย็องกี พระนางมีพระราชธิดา 2 พระองค์แต่สิ้นพระชนม์ภายหลังประสูติทั้งสองพระองค์ พระมเหสี สกุลคิมได้รับพระราชทานพระนามหลังสวรรคตว่า พระมเหสีอินกย็อง วังฮู (仁敬王后 金氏) พระมเหสีอินกย็องยังคงได้รับการเฉลิมพระนามถวายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในรัชกาลต่อๆมา ตามโอกาสสำคัญต่างๆ จนกระทั่งครั้งสุดท้ายในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และพระนางอินกย็อง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลเอโดะ

รัฐบาลเอโดะ หรือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เป็นฝ่ายบริหารของประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้ระบอบศักดินา สถาปนาโดยโทกูงาวะ อิเอะยะสุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน (将軍 shōgun) ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทกูงาวะ (徳川氏 Tokugawa-shi) เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอโดะ (江戸時代 edo-jidai) ตามชื่อเมืองเอโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) มีปราสาทเอโดะ (江戸城 Edo-jō) เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 - 1868 จนกระทั่งถูกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) ล้มล้างไปในการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治維新 Meiji Ishin) หลังจากยุคเซงโงะกุ (戦国時代 Sengoku-jidai) หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนะบุนะงะ (織田 信長 Oda Nobunaga) และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi) ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอะซึจิ-โมะโมะยะมะ (あづちももやまじだい Azuchi momoyama jidai) ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อนยุคเอโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการเซะกิงะฮะระ (関ヶ原の戦い Sekigahara no Tatakai) ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ในค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทกูงาวะ อิเอะยะสุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินะโมะโตะ (源 Minamoto) ในยุคของโทกูงาวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อนๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (侍 Samurai) อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อยๆจากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆรุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ (島津氏 Shimazu-shi) ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบะชิน (戊辰戦争 Boshin Sensō) ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทกูงาวะ โยชิโนบุ (徳川 慶喜 Tokugawa Yoshinobu) เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidai)อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และรัฐบาลเอโดะ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทุพภิกขภัย

แสดงผู้ประสบกับทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1845 ถึงปี ค.ศ. 1849 รายชื่อทุพภิกขภัยข้างล่างเป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ เป็นรายชื่อของเหตุการณ์ทุพภิกขภัยที่ถือว่าเป็นครั้งสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์เท่านั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และรายชื่อทุพภิกขภัย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามสมเด็จพระราชินีและจักรพรรดินีแห่งเกาหลี

มเด็จพระจักรพรรดินีแห่งเกาหลี หรือ สมเด็จพระราชินีแห่งเกาหลี คือตำแหน่งของคู่สมรสของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเกาหลี ตั้งแต่สมัยที่เริ่มก่อตั้งอาณาจักรโชซ็อนและจักรวรรดิเกาหลี.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และรายพระนามสมเด็จพระราชินีและจักรพรรดินีแห่งเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์รัสเซีย

รายพระนามคู่สมรสในพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น "ซารีนา" หรือ "จักรพรรดินี".

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์รัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ปัจจุบันมี พระเทพวรมุนี เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ ปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลิม กลาสโซน เฮดา

วิลเลิม กลาสโซน เฮดา (Willem Claeszoon Heda; 14 ธันวาคม ค.ศ. 1594 - ราว ค.ศ. 1680) เป็นจิตรกรชาวดัตช์คนแรก ๆ ของยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เฮดามีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพนิ่งโดยเฉพาะ วิลเลิม กลาสโซน เฮดาเป็นเพื่อนและจิตรกรร่วมรุ่นกับดีร์ก ฮัลส์ (Dirck Hals) ที่มีลักษณะการเขียนและการใช้เทคนิคที่คล้ายคลึงกัน แต่เฮดาเขียนงานอย่างบรรจงมากกว่าฮัลส์ ที่แสดงให้เห็นถึงความชำนาญและรสนิยมในการจัดและการใช้สีของวัตถุต่าง ๆ ที่ปรากฏในภาพ ลักษณะการเขียนเป็นที่ชวนเชิญผู้ชมภาพแม้ว่าจะเป็นอาหารธรรมดาก็ตาม.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และวิลเลิม กลาสโซน เฮดา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธแบบทิเบต

ระพุทธศาสนาแบบทิเบตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 587-8 (Tibetan Buddhism) คือพุทธศาสนาแบบหนึ่งซึ่งถือปฏิบัติในทิเบต และปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ ดินแดนทิเบตในอดีตมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามาก พุทธศาสนาแบบทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และศาสนาพุทธแบบทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

สังฆนายกแห่งนิชิเร็งโชชู

ระนิชิเนียว โชนิง สังฆนายกรูปปัจจุบันแห่งนิชิเรนโชชู ในนิกายนิชิเร็งโชชู สังฆนายก เป็นตำแหน่งของผู้นำและประมุขสุงสุดของนิกาย ซึ่งมีสานุศิษย์อยู่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย มีผู้นับถือส่วนมากในประเทศ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน กานา มาเลเซีย บราซิล ศรีลังกา และประเทศไทย สังฆนายกรูปปัจจุบันคือ พระนิชิเนียว โชนิง สังฆนายกรูปที่ 68.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และสังฆนายกแห่งนิชิเร็งโชชู · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะเติกส์และเคคอส

หมู่เกาะเติกส์และเคคอส (Turks and Caicos Islands) เป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรประกอบไปด้วยหมู่เกาะย่อยในเขตร้อน 2 หมู่เกาะ ได้แก่ หมู่เกาะเคคอสและหมู่เกาะเติกส์ อาณานิคมนี้ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน และมีชื่อเสียงในด้านสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นแหล่งหลบเลี่ยงภาษีของบริษัทต่างชาติ หมู่เกาะนี้อยู่ห่างจากเมืองไมแอมี รัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 970 กม.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และหมู่เกาะเติกส์และเคคอส · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารอ็อช

อาสนวิหารอ็อช (Cathédrale d'Auch) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญมารีย์แห่งอ็อช (Cathédrale Sainte-Marie d'Auch) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำอัครมุขมณฑลอ็อช ตั้งอยู่ที่เมืองอ็อช จังหวัดแฌร์ แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระนางมารีย์พรหมจารี อาสนวิหารแห่งนี้ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ถึง 3 ด้าน ด้วยความยาวถึง 102 เมตร และกว้าง 35 เมตร เริ่มการก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1489 โดยการสนับสนุนของฟร็องซัว เดอ ซาวัว โดยสร้างบนซากปรักหักพังของอาสนวิหารโรมาเนสก์เก่าซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของอาสนวิหารนักบุญอ็อสแต็งด์ และมีการเสกขึ้นเป็นอาสนวิหารเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1548 ในขณะที่งานก่อสร้างทั้งหมดยังไม่เสร็จสิ้น จนกระทั่งอีกราวสองร้อยกว่าปีต่อมา ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบกอธิกวิจิตร (ฟล็องบัวย็อง) ที่ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ทั้งหมดสร้างเสร็จสมบูรณ์ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ด้วยหน้าบันหลัก และมุขทางเข้าตกแต่งด้วยเสาแบบคอรินเทียน ภายในประกอบด้วยชาเปลกว่า 21 หลัง งานตกแต่งภายในมีความโดดเด่นด้วยงานกระจกสีถึง 18 ชิ้น โดยศิลปินอาร์โน เดอ มอล บริเวณร้องเพลงสวดได้รับการประดับประดาด้วยงานไม้ถึง 115 ชิ้น ซึ่งไม่ทราบผู้ออกแบบ ซึ่งต่อเป็นฉากในพระคัมภีร์ไบเบิลซึ่งเล่าเรื่องต่อมาจากงานกระจกสีโดยรอบ อาสนวิหารอ็อชได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1906 รวมทั้งยังอยู่ในรายชื่อแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางซานเตียโกเดกอมโปสเตลาในประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และอาสนวิหารอ็อช · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสิงหนคร

งหนคร เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขล.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และอำเภอสิงหนคร · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิสวีเดน

ักรวรรดิสวีเดน หรือ ราชอาณาจักรสวีเดน ในช่วงระหว่างปีค.ศ. 1561 (หลังจากสวีเดนยึดเอสโตเนีย) และในปีค.ศ. 1721 (เมื่อสวีเดนยกพื้นที่ขนาดใหญ่ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ต่อมหาอำนาจรัสเซีย) ระหว่างนั้น สวีเดนเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของยุโรป ในสวีเดน สมัยก่อนจะเรียกว่า stormaktstiden ซึ่งหมายถึง มหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ โดยเริ่มต้นในปี 1611 (เมื่อ กุสตาวัส อาดอลฟัส ขึ้นเป็นกษัตริย์) และจบลงในปีค.ศ. 1718 (การสวรรคตของพระเจ้าคาร์ลที่ 12 แห่งสวีเดน และจุดจบของมหาสงครามเหนือ) โดยการเพิ่มอำนาจทางการเมือง จุดประเด็นสำคัญคือการกลายเป็นหนึ่งในสองอำนาจเพื่อค้ำประกันสันติภาพแห่งเวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia) ซึ่งถูกเข้าร่วมเพื่อเพิ่มดินแดนที่อนุญาตให้อยู่ใกล้ได้อย่างสมบูรณ์ตามแนวคิดทะเลบอลติก เป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของระยะเวลาที่แตกต่างกันในประวัติศาสตร์ยุโรป หลังจากการตายของกุสตาวัส อดอลฟัส ในปี 1632 จักรวรรดิที่ยืนยาวนี้ถูกควบคุมโดยพวกขุนนางชั้นสูง โดยส่วนมากเป็นพวกของตระกูลออกเซนสเตียร์นาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ความน่าสนใจของขุนนางชั้นสูงตรงกันข้ามกับวิถีทางแห่งเท่าเทียมกัน เช่น การส่งเสริมความเท่าเทียมกันแบบดั้งเดิมในที่ดินภายในสวีเดนถูกเห็นชอบโดยพระมหากษัตริย์และชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับในช่วงระหว่างสมัยกฎตระกูลเดอ แฟคโต ระบบข้าแผ่นดินไม่ถูกยกเลิก และมีแนวโน้มที่จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมถูกกฎหมายในสวีเดนอย่างชอบธรรม แต่การปรับปรุงครั้งใหญ่ในปีค.ศ. 1680 ผลักดันให้ความพยายามของชนชั้นสูงสิ้นสุดลง และเรียกร้องพวกเขาให้คืนนิคมอุตสาหกรรมที่พวกเขาได้รับจากมกุฎกษัตริย์ ระบบข้าแผ่นดินนี้ อย่างไรก็ตาม ยังคงถูกบังคับใช้ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และชาวสวีดิชในเอสโตเนีย ที่ที่ใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ของวิถีทางแห่งความเท่าเทียมกันถูกขัดขวางโดนสนธิสัญญาจากสิ่งที่พวกเขาได้รั.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และจักรวรรดิสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

จัน โลเรนโซ แบร์นีนี

ีอันโลเรนโซ แบร์นินี (Gian Lorenzo Bernini) (Giovanni Lorenzo Bernini, 7 ธันวาคม พ.ศ. 2141 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2223) เป็นประติมากรและสถาปนิกบาโรกที่มีชื่อเสียงในกรุงโรม เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และจัน โลเรนโซ แบร์นีนี · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีมักเดบูร์ก

ัชชีมักเดบูร์ก (Herzogtum Magdeburg, Duchy of Magdeburg) เป็นมณฑลหนึ่งของบรันเดนบูร์ก-ปรัสเซียระหว่าง ค.ศ. 1680 จนถึง ค.ศ. 1807 เป็นดัชชีที่มาแทนที่ราชรัฐอัครมุขนายกมักเดบูร์กหลังจากที่ถูกเปลี่ยนฐานะจากรัฐคริสตจักรมาเป็นรัฐฆราวาสโดยบรันเดนบูร์ก เมืองหลวงของรัฐคือมักเดบูร์ก และ ฮอลล์ มักเดบูร์กมาถูกยุบระหว่างสงครามนโปเลียนใน ค.ศ. 1807 ดินแดนของรัฐถูกรวมเข้ากับมณฑลแซกโซนีใน ค.ศ. 1815.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และดัชชีมักเดบูร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ดัชเชสมาเรีย อันนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรีย

ัชเชสมาเรีย อันนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรีย, โดฟินแห่งฝรั่งเศส (ประสูติ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1660 — สิ้นพระชนม์ 20 เมษายน ค.ศ. 1690) พระชายาในเจ้าชายหลุยส์ เลอกร็องโดฟิน รัชทายาทของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และดัชเชสมาเรีย อันนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ดาวหาง

ดาวหางเฮล-บอปป์ ดาวหางเวสต์ ดาวหาง คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีส่วนที่ระเหิดเป็นแก๊สเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ และทอดเหยียดออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหาง นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางเป็น "ก้อนหิมะสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร คาบการโคจรของดาวหางมีความยาวนานแตกต่างกันได้หลายแบบ ตั้งแต่คาบโคจรเพียงไม่กี่ปี คาบโคจร 50-100 ปี จนถึงหลายร้อยหรือหลายพันปี เชื่อว่าดาวหางบางดวงเคยผ่านเข้ามาในใจกลางระบบสุริยะเพียงครั้งเดียว แล้วเหวี่ยงตัวเองออกไปสู่อวกาศระหว่างดาว ดาวหางที่มีคาบการโคจรสั้นนั้นเชื่อว่าแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในแถบไคเปอร์ที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ส่วนดาวหางที่มีคาบการโคจรยาวอาจมาจากแหล่งอื่น ๆ ที่ไกลจากดวงอาทิตย์ของเรามาก เช่นในกลุ่มเมฆออร์ตซึ่งประกอบด้วยเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากการบีบอัดตัวของเนบิวลา ดาวหางเหล่านี้ได้รับแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวเคราะห์รอบนอก (กรณีของวัตถุในแถบไคเปอร์) จากดวงดาวอื่นใกล้เคียง (กรณีของวัตถุในกลุ่มเมฆออร์ต) หรือจากการชนกัน ทำให้มันเคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อยมีกำเนิดจากกระบวนการที่ต่างไปจากนี้ อย่างไรก็ดี ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มากจนกระทั่งส่วนที่สามารถระเหิดเป็นแก๊สได้สูญสลายไปจนหมดก็อาจมีสภาพคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยก็ได้ เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกหลายดวงเคยเป็นดาวหางมาก่อน นับถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และดาวหาง · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ลที่ 1 ลุดวิจ ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนต

ร์ลที่ 1 ลุดวิจ เจ้าชายอีเล็คเตอร์แห่งพาเลไทน์ (Karl I. Ludwig, Charles I Louis, Elector Palatine; 22 ธันวาคม ค.ศ. 1617 - 28 สิงหาคม ค.ศ. 1680) คาร์ลที่ 1 ลุดวิจ ทรงเป็นเจ้าชายอีเล็คเตอร์แห่งอาณาจักรเลือกตั้งแห่งพาเลไทน์ คาร์ลเป็นพระโอรสองค์รองของฟรีดริชที่ 5 เจ้าชายอีเล็คเตอร์แห่งพาเลไทน์ และเอลิซาเบธ สจวตพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ และ แอนน์แห่งเดนมาร์ก.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และคาร์ลที่ 1 ลุดวิจ ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนต · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ทิเบต

ทิเบต ตั้งอยู่ในใจกลางของทวีปเอเชียระหว่างประเทศจีนกับอินเดีย ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร ในบริเวณที่มีภูเขาและที่ราบสูงที่สุดในโลก มีอากาศแห้งและหนาวเย็น รวมทั้งที่ราบกลางหุบเขาริมแม่น้ำอันกว้างใหญ่หลายสาย อันเป็นที่พำนักพิงของชาวธิเบต ผู้ซึ่งมีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง มาเป็นเวลาช้านาน และมีชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างจากผู้คนในประเทศเพื่อนบ้าน ชาวธิเบตได้มีการพัฒนาทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ในตนเอง ทั้งยังมีการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ได้แก่ การมีภาษาที่โดดเด่น มีวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ และมีผลงานศิลปะที่น่ามหัศจรรย์ นอกจากนี้ อารยธรรมของชาวธิเบต ซึ่งสืบเนื่องมาเป็นเวลาหลายพันปีนั้น ยังเป็นอารยธรรมที่สูงส่ง และมีคุณค่าสืบทอดต่อกันมา เป็นมรดกของมนุษยชาต.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และประวัติศาสตร์ทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

แฟร์ดีนันด์ อัลเบร็คท์ที่ 2 ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-โวลเฟนบึทเทิล

แฟร์ดีนันด์ อัลเบร็คท์ที่ 2 (Ferdinand Albrecht II) เป็นทหารในกองทัพแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และเจ้าชายแห่งโวลเฟนบึทเทิลในปีค.ศ. 1735 พระองค์ได้รับราชการทหารในราชสำนักออสเตรีย ได้ทรงร่วมรบในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนและได้ร่วมต่อสู้ขับไล่ชาวเติร์กภายในการนำของเจ้าชายยูจีนแห่งซาวอ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และแฟร์ดีนันด์ อัลเบร็คท์ที่ 2 ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-โวลเฟนบึทเทิล · ดูเพิ่มเติม »

แฟร์ดีนันด์ โบล

แฟร์ดีนันด์ โบล (Ferdinand Bol; 24 มิถุนายน ค.ศ. 1616 - 24 สิงหาคม ค.ศ. 1680) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ของยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 แม้ว่าจะมีงานของโบลเหลืออยู่เพียงไม่กี่ชิ้นแต่ก็ยังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่ได้รับจากแร็มบรันต์ โบลมีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมประวัติศาสตร์ ภาพเหมือน และภาพเหมือนตนเอง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และแฟร์ดีนันด์ โบล · ดูเพิ่มเติม »

แฮ็นดริก ดังเกิตส์

แฮ็นดริก ดังเกิตส์ (Hendrick Danckerts; ราว ค.ศ. 1625 - ค.ศ. 1680) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ของยุคทองของเนเธอร์แลนด์ของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ดังเกิตส์ได้รับการศึกษาเบื้องต้นในเฮก และพักอยู่ที่นั่นจนปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และแฮ็นดริก ดังเกิตส์ · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ แบพทิสท์ ซิมเมอร์มันน์

ตรกรรมเขียนสีปูนเปียกที่วัดเซ็นต์ไมเคิล ที่เมืองเบิร์ก อัม เลม (St. Michael, Berg am Laim) จิตรกรรมปูนเปียก ที่ วังนิมเฟ็นเบิร์ก ภายในสำนักสงฆ์อ็อตโตบิวเร็น ภายในวัดวีส์ เซ็นต์ไมเคิล ที่เบิร์ก อัม เลม โยฮันน์ แบพทิสท์ ซิมเมอร์มันน์ (Johann Baptist Zimmermann) เกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1680 ที่หมู่บ้านไกส์พ้อยน์ (Gaispoint) ใกล้เมืองเวสโซบรุน (Wessobrunn) เสียชีวิตวันที่ 2 มีนาคม..

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และโยฮันน์ แบพทิสท์ ซิมเมอร์มันน์ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ สึนาโยชิ

ทะกุงะวะ สึนะโยะชิ เป็น โชกุน คนที่ 5 แห่ง ตระกูลโทะกุงะวะ (ช่วงสมัย: พฤษภาคม ค.ศ. 1680 - 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1709) โทะกุงะวะ สึนะโยะชิ เกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และโทกูงาวะ สึนาโยชิ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ อิเอสึนะ

ทะกุงะวะ อิเอะสึนะ เป็น โชกุน คนที่ 4 แห่ง ตระกูลโทะกุงะวะ ในยุคสมัยของเขานี้เอง..

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และโทกูงาวะ อิเอสึนะ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องจักรไอน้ำ

รื่องจักรไอน้ำ เครื่องจักรไอน้ำ (Steam engine) ประดิษฐ์โดย โทมัส นิวโคเมน (Thomas Newcomen) เมื่อ พ.ศ. 2248 (ค.ศ. 1705) ต่อมา เจมส์ วัตต์ ได้พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำขึ้น ซึ่งหลังจากนั้น ได้มีการนำเอาชื่อท่านมาตั้งเป็นหน่วยของกำลังไฟฟ้า เช่น กำลังไฟฟ้า 400 วัตต์ เป็นต้น เครื่องจักรไอน้ำเป็นเครื่องจักรแรกๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น รถจักรไอน้ำ เรือกลไฟ ฯลฯ เครื่องจักรไอน้ำ เป็นเครื่องจักรประเภท สันดาปภายนอก ที่ให้ความร้อนผ่านของเหลว (น้ำ) และทำการเปลี่ยนไอของของเหลวเป็นพลังงานกล ซึ่งสามารถนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ โดยการนำไอน้ำมาหมุนกังหันของ เครื่องปั่นไฟ (ไดนาโม) เครื่องจักรไอน้ำต้องมีหม้อต้มในการต้มน้ำในการทำให้เกิดไอน้ำ ไอน้ำที่ได้จากการต้ม จะนำไปเป็นแรงในการดันกระบอกสูบหรือกังหัน ข้อดีของเครื่องจักรไอน้ำประการหนึ่งคือการที่สามารถใช้แหล่งความร้อนจากอะไรก็ได้ เช่น ถ่านหิน, ฟืน, น้ำมันปิโตรเลียม หรือกระทั่ง นิวเคลียร์ และแม้แต่ในปัจจุบัน เครื่องจักรไอน้ำหรือกลไกที่ถูกพัฒนาขึ้นจากเครื่องจักรไอน้ำยังคงปรากฏซ่อนอยู่ในเครื่องจักรเครื่องกลแทบทุกประเภท เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน จนถึง กระบอกสูบในรถยนต์ หรือในเครื่องบินในปัจจุบันนั้นมีการค้นพบรูปแบบใหม่ๆในการนำเครื่องจักรไอน้ำไปใช้งาน การค้นพบครั้งล่าสุดถูกค้นพอโดนลูกชายของโทมัส นิวโครแมน โดยชื่อที่ใช้ในการค้นพบคือ อเล็กซ์ซี่ นิวโครแมน ซึ่งถูกค้นพบเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และเครื่องจักรไอน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

21 สิงหาคม

วันที่ 21 สิงหาคม เป็นวันที่ 233 ของปี (วันที่ 234 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 132 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2223และ21 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1680

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »