โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 2219

ดัชนี พ.ศ. 2219

ทธศักราช 2219 ใกล้เคียงกั.

17 ความสัมพันธ์: พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งสวีเดนราชวงศ์โรมานอฟรายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนรายพระนามผู้ปกครองรัสเซียรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์รัสเซียวิลเลียม คาเว็นดิช ดยุคแห่งนิวคาสเซิล-อัพพอน-ไทน์ที่ 1สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 10ซาร์ฟิโอดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซียซาร์อะเลคเซย์ที่ 1 แห่งรัสเซียประวัติศาสตร์ฟิสิกส์ประเทศรัสเซียใน ค.ศ. 1676นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ (กอลลี)13 กรกฎาคม21 กุมภาพันธ์23 เมษายน

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2219และพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งสวีเดน

ระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งสวีเดน (Fredrik I; 23 เมษายน พ.ศ. 2219 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2294) เป็นพระมหากษัตริย์สวีเดนตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2263 จนเสด็จสวรรคต และทรงดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองเฮสส์-คัสเซิลเมื่อปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2219และพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โรมานอฟ

งราชวงศ์โรมานอฟ ตราแผ่นดินของจักรวรรดิรัสเซีย ตราประจำพระราชวงศ์ ราชวงศ์โรมานอฟ ตามสำเนียงอังกฤษ หรือ รามานาฟ ตามสำเนียงรัสเซีย (Romanov) เป็นราชวงศ์ที่สองและราชวงศ์สุดท้ายของรัสเซีย โดยราชวงศ์นี้ปกครองจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ ค.ศ. 1613 ถึง ค.ศ. 1917 กษัตริย์โรมานอฟพระองค์แรก คือพระเจ้าซาร์มิฮาอิลที่ 1 ได้รับแต่งตั้งใน ค.ศ. 1613 ภายหลังสมัยแห่งความวุ่นวาย (Time of Troubles) ราชวงศ์นี้ปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เกือบตลอดเวลา โดยได้มีความพยายามร่างรัฐธรรมนูญ โดยพระจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แต่พระองค์ก็ถูกลอบปลงพระชนม์เสียก่อน แม้ว่าจักรพรรดินีโคไลที่ 2 จะทรงตั้งสภาดูมาใน ค.ศ. 1905 ก็มิได้มีสิทธิในการออกกฎหมายอย่างเต็มที่ จนเกิดการปฏิวัติใหญ่ในรัสเซีย จักรพรรดินิโคสัสที่ 2 ต้องทรงสละราชสมบัติในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 และถูกปลงพระชนม์โดยกำลังของฝ่ายบอลเชวิกในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1918 ซึ่งสาเหตุของการปลงพระชนม์เนื่องด้วย พระจักรพรรดินิโคสัสที่ 2 เข้าร่วมสงครามและทุ่มงบประมาณไปกับสงครามมาก ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลให้ประชาชนก่อการปฏิวัติ และทางราชวงศ์ได้พยายามหลบหนีแต่ไม่สำเร็จ ได้ถูกนำมากักตัวและถูกลอบปลงพระชนม.

ใหม่!!: พ.ศ. 2219และราชวงศ์โรมานอฟ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน

แผนที่แสดงมหาวิทยาลัยในยุโรปยุคกลาง รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน ในบทความนี้ต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณสมบัติตรงตามนิยามมหาวิทยาลัย ณ วันที่ก่อตั้ง และจะต้องก่อตั้งก่อน พ.ศ. 2043 (ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 หลังสถาปนากรุงศรีอยุธยามาแล้ว 150 ปี) และจะต้องมีการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้หยุดกิจกรรมอย่างสำคัญมาถึงปัจจุบัน เนื่องจากการให้ปริญญาสำหรับการศึกษาขั้นสูงในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นในยุโรปและตะวันออกกลางเป็นส่วนใหญ่ และนิยามมหาวิทยาลัยสมัยใหม่หมายถึงสถานศึกษาที่มีความสามารถในการให้ปริญญา มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีคุณสมบัติตรงนิยามสมัยใหม่ดังกล่าวจึงอยู่ในยุโรปหรือ ตะวันออกใกล้ แต่หากขยายนิยามให้กว้างขึ้นรวมไปถึงมหาวิทยาลัยโบราณที่เดิมไม่ได้มีการให้ปริญญาในขณะนั้นแต่ให้ในปัจจุบันด้วยแล้ว รายชื่อนี้อาจมีมากขึ้นโดยรวมไปถึงสถาบันอื่นๆ ทั้งในยุโรปและส่วนอื่นของโลกอีกหลายมหาวิทยาลัย สุดท้าย แม้ด้วยบทบัญญัติของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในยุโรปก็ยังมีข้อโต้เถียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการกำหนดว่ามหาวิทยาลัยใดกันแน่ที่เป็นมหาวิทยาลัยของแผ่นดินใหญ่ยุโรป มหาวิทยาลัยโบโลญญาที่เกิดก่อน มหาวิทยาลัยปารีสเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งโดยนักศึกษาที่รวมตัวกันหาครูผู้สอน ในขณะที่มหาวิทยาลัยปารีสก่อตั้งโดยคณะผู้สอนแล้วจึงหานักศึกษามาเรียน บางแห่ง (โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยปารีส) ก็ยังพยามยามอ้างว่าตนเองเริ่มต้นด้วยการเป็นมหาวิทยาลัยแท้มาแต่ต้น แต่ก็ยังเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามหาวิทยาลัยโบโลนาตั้งขึ้นก่อนมหาวิทยาลัยปารีส การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่ามีกิจกรรมต่างๆ ในลักษณะของมหาวิทยาลัยได้มีมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 1621 (ก่อนสถาปนากรุงสุโขทัย 170 ปี) ซึ่งหมายความว่ามหาวิทยาลัยแห่งแรกของยุโรปอาจเป็นมหาวิทยาลัยซาลามังกา (University of Salamanca) ซึ่งเก่าแก่มากกว่าทั้งสองมหาวิทยาลัยที่กล่าวมาแล้ว.

ใหม่!!: พ.ศ. 2219และรายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามผู้ปกครองรัสเซีย

ักรพรรดิแห่งรัสเซีย หรือที่มักเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่าพระเจ้าซาร์ เป็นตำแหน่งที่ปกครองอาณาจักรซาร์รัสเซีย และจักรวรรดิรัสเซีย โดยนับตั้งแต่ ค.ศ. 1721 จะทรงใช้พระยศว่า "จักรพรรดิ" จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายคือ จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 โดยนับตั้งแต่การยกฐานะเป็นจักรวรรดิมีพระจักรพรรดิเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์โรมานอฟทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังดำรงพระอิสริยยศเป็นแกรนด์ดยุคแห่งฟินแลนด์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1809 - ค.ศ. 1917, พระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1815 - ค.ศ. 1916.

ใหม่!!: พ.ศ. 2219และรายพระนามผู้ปกครองรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์รัสเซีย

รายพระนามคู่สมรสในพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น "ซารีนา" หรือ "จักรพรรดินี".

ใหม่!!: พ.ศ. 2219และรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์รัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม คาเว็นดิช ดยุคแห่งนิวคาสเซิล-อัพพอน-ไทน์ที่ 1

วิลเลียม คาเว็นดิช ดยุคแห่งนิวคาสเซิล-อัพพอน-ไทน์ที่ 1 (William Cavendish, 1st Duke of Newcastle-upon-Tyne) (6 ธันวาคม ค.ศ. 1592 - 25 ธันวาคม ค.ศ. 1676) วิลเลียม คาเว็นดิชเป็นนายทหารฝ่ายนิยมกษัตริย์และนักการเมืองชาวอังกฤษ ผู้มีความสามารถหลายด้านที่รวมทั้งการเป็นนักประพันธ์, นักขี่ม้า, นักเขียนบทละคร, นักดาบ, สถาปนิก และนักการทูต วิลเลียม คาเว็นดิชเกิดที่แฮนสเวิร์ธ, ยอร์คเชอร์เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1592 ในครอบครัวของผู้มาฐานะดีของตระกูลคาเว็นดิช วิลเลียมเป็นบุตรของเซอร์ชาร์ลส์ คาเว็นดิชและแคทเธอริน โอเกิล บารอนเนสโอเกิล ตระกูลคาเว็นดิชมีความสัมพันธ์อันดีกับราชวงศ์สจวตและเริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นอัศวินแห่งบาธ (Knight of the Bath) และต่อมาก็ได้รับอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินจากบิดาทางตอนเหนือของอังกฤษ วิลเลียมเริ่มเข้ารับราชการในราชสำนักของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ และต่อมาก็ได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและสมเด็จพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรีย ต่อมาวิลเลียมก็ได้รับแต่งตั้งเป็นมาร์ควิสแห่งนิวคาสเซิล-อัพพอน-ไทน์และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอาจารย์ของพระราชโอรสของพระเจ้าชาร์ลส์ผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 วิลเลียมเป็นฝ่ายสนับสนุนฝ่ายนิยมกษัตริย์อย่างเต็มตัวและช่วยในด้านการเงินในสงครามบาทหลวง ในสงครามกลางเมืองอังกฤษวิลเลียมก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายพลในการต่อสู้กับฝ่ายรัฐสภาทางตอนเหนือของอังกฤษ หลังจากที่ได้รับความพ่ายแพ้ในยุทธการมาร์สตันมัวร์แล้ววิลเลียมก็ตัดสินใจลี้ภัยตัวเองแต่ก็กลับมาอีกในสมัยการฟื้นฟูราชวงศ์และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2219และวิลเลียม คาเว็นดิช ดยุคแห่งนิวคาสเซิล-อัพพอน-ไทน์ที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 (อังกฤษ: Innocent XI) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1676 ถึง ค.ศ. 1689 ประสูติเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1611 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1869 รวมพระชนมายุได้ 78 พรรษา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2154 อินโนเซนต์ที่ 11 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นลอมบาร์เดีย.

ใหม่!!: พ.ศ. 2219และสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 10

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 10 (อังกฤษ: Clement X) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1670 ถึง ค.ศ. 1676 ประสูติเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1590 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1676 รวมพระชนมายุได้ 86 พรรษา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2133 คลีเมนต์ที่ 10 หมวดหมู่:บุคคลจากโรม.

ใหม่!!: พ.ศ. 2219และสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 10 · ดูเพิ่มเติม »

ซาร์ฟิโอดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย

ฟิโอดอร์ที่ 3 อะเลคเซเยวิช (Фёдор III Алексеевич,9 มิถุนายน พ.ศ. 2204 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2225) เป็นพระราชโอรสในซาร์อะเลคเซย์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ที่ประสูติจากพระมเหสีองค์แรกเสด็จขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2219 ขณะพระชนม์เพียง 14 พรรษาแต่เนื่องจากพระพลานามัยไม่แข็งแรงและทรงพิการมาแต่ทรงพระเยาว์จึงทำให้ทรงบริหารราชการแผ่นดินได้ไม่สะดวกและในวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1681 พระมเหสีองค์แรกมีพระประสูติกาลพระราชโอรสองค์แรกและองค์เดียวแต่หลังจากนั้น 3 วัน พระมเหสีก็สิ้นพระชนม์และในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2224 พระราชโอรสพระองค์เดียวของพระองค์ก็สิ้นพระชนม์ตามกันไปอีกพระองค์สวรรคตในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2225 ขณะพระชนม์เพียง 20 พรรษาสวรรคตโดยไร้รัชทายาท ราชสมบัติจึงตกแก่พระราชอนุชา 2 พระองค์คือ เจ้าชายอีวาน และ เจ้าชายปีเตอร์ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2204 หมวดหมู่:ราชวงศ์โรมานอฟ หมวดหมู่:ซาร์แห่งรัสเซีย หมวดหมู่:บุคคลจากมอสโก หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ขณะทรงพระเยาว์ในสมัยใหม่.

ใหม่!!: พ.ศ. 2219และซาร์ฟิโอดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ซาร์อะเลคเซย์ที่ 1 แห่งรัสเซีย

พระเจ้าซาร์อเล็กซีที่ 1 (Аляксей Міхайлавіч; Tsar Alexis I of Russia, 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2172 - 29 มกราคม พ.ศ. 2219) พระเจ้าซาร์องค์ที่ 2 แห่งรัสเซียทรงประสูติเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2172 เป็นพระราชโอรสใน พระเจ้าไมเคิลที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โรมานอฟเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2188 ขณะพระชนม์เพียง 16 พรรษา สวรรคตเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2219 ขณะพระชนม์เพียง 47 พรรษา ภาพพระเจ้าซาร์อเล็กซีที่ 1 ทรงเลือกพระมเหสี หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2172 หมวดหมู่:ซาร์แห่งรัสเซีย หมวดหมู่:ราชวงศ์โรมานอฟ หมวดหมู่:บุคคลจากมอสโก.

ใหม่!!: พ.ศ. 2219และซาร์อะเลคเซย์ที่ 1 แห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์

''Table of Mechanicks'', 1728 ''Cyclopaedia''. ประวัติศาสตร์ของฟิสิกส์ คือ การศึกษาการเติบโตของฟิสิกส์ไม่ได้นำมาเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับโลกแห่งวัตถุ คณิตศาสตร์ และ ปรัชญา เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และการเปลี่ยนรูปแบบของสังคม ฟิสิกส์ถูกพิจารณาในแง่ของทั้งตัวเนื้อความรู้และการปฏิบัติที่สร้างและส่งผ่านความรู้ดังกล่าว การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเริ่มต้นประมาณปี ค.ศ. 1600 เป็นขอบเขตง่าย ๆ ระหว่างแนวคิดโบราณกับฟิสิกส์คลาสสิก ในปี ค.ศ. 1900 จึงเป็นจุดเริ่มต้นของฟิสิกส์ยุคใหม่ ทุกวันนี้วิทยาศาสตร์ยังไม่มีอะไรแสดงถึงจุดสมบูรณ์ เพราะการค้นพบที่มากขึ้นนำมาซึ่งคำถามที่เกิดขึ้นจากอายุของเอกภพ ไปถึงธรรมชาติของสุญญากาศ และธรรมชาติในที่สุดของสมบัติของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ทฤษฎีบางส่วนเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ฟิสิกส์ได้เสนอในปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ตามรายนามของปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ของฟิสิกส์ ก็ยังคงมีมากอยู.

ใหม่!!: พ.ศ. 2219และประวัติศาสตร์ฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซียใน ค.ศ. 1676

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1676 ในประเทศรัสเซี.

ใหม่!!: พ.ศ. 2219และประเทศรัสเซียใน ค.ศ. 1676 · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ (กอลลี)

นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ (St.) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจิโอวานนี บัตติสตา กอลลีจิตรกรคนสำคัญชาวอิตาลีของสมัยบาโรก ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์ของเทศบาลเมืองแมนเชสเตอร์ที่เมืองแมนเชสเตอร์ในสหราชอาณาจักร ภาพ “นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์” ที่เขียนโดยจิโอวานนี บัตติสตา กอลลี ราวระหว่างปี ค.ศ. 1676 ที่ภาพของนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์เขียนเลียนแบบภาพ "นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์" โดยคาราวั.

ใหม่!!: พ.ศ. 2219และนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ (กอลลี) · ดูเพิ่มเติม »

13 กรกฎาคม

วันที่ 13 กรกฎาคม เป็นวันที่ 194 ของปี (วันที่ 195 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 171 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2219และ13 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

21 กุมภาพันธ์

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 52 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 313 วันในปีนั้น (314 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: พ.ศ. 2219และ21 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

23 เมษายน

วันที่ 23 เมษายน เป็นวันที่ 113 ของปี (วันที่ 114 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 252 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2219และ23 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1676

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »