โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 2114

ดัชนี พ.ศ. 2114

ทธศักราช 2114 ใกล้เคียงกั.

27 ความสัมพันธ์: ชาห์อับบาสที่ 1 แห่งเปอร์เซียพระยาสุมังคละโพธิสัตว์พระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปนกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์กรมพระราชวังบวรสถานมงคลการาวัจโจมิเกล เด เซร์บันเตสยุทธการที่เลปันโตรายพระนามพระมหากษัตริย์ลาวลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1500 ถึง ค.ศ. 1599สันนิบาตศักดิ์สิทธิ์ (ค.ศ. 1571)สุลัยมานผู้เกรียงไกรสปาอาณาจักรล้านช้างฮะมะมะสึจอห์นแห่งออสเตรียจักรพรรดิโกะ-โยเซจักรวรรดิโปรตุเกสธงชาติไซปรัสทะเกะดะ ชิงเง็นซารีนามาร์ฟา โซบาคินาแห่งรัสเซียซาลอมง เดอ บร็อสประวัติศาสตร์สเปนประเทศลาวใน ค.ศ. 1571โยฮันเนส เคปเลอร์24 มิถุนายน29 กันยายน

ชาห์อับบาสที่ 1 แห่งเปอร์เซีย

ห์อับบาสที่ 1 แห่งเปอร์เซีย (เปอร์เซีย:شاه عباس بزرگ) หรือที่รู้จักกันในนาม พระเจ้าอับบาสมหาราช (ค.ศ. 1571 - 1629) เป็นชาห์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งในราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ โดยเป็นพระราชโอรสองค์ที่สามในชาห์โมฮัมหมัด โคดาบันดา พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี ค.ศ. 1571 ณ เมืองเฮรัต (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศอัฟกานิสถาน) เมื่อพระราชบิดาสวรรคตในปี ค.ศ. 1588 เจ้าชายอับบาสจึงเสด็จขึ้นครองราชย์แทน ขณะที่พระองค์เองมีพระชนม์เพียง 17 พรรษา โดยตลอด 41 ปีในรัชกาล ทรงสร้างความแข็งแกร่งให้กับเปอร์เซียอย่างมาก ทรงขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ภายหลังจากการครองราชย์มายาวนาน พระองค์ได้เสด็จสวรรคตเมื่อ..

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และชาห์อับบาสที่ 1 แห่งเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

พระยาสุมังคละโพธิสัตว์

ระยาสุมังคละโพธิสัตว์สุรศักดิ์ ศรีสำอาง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และพระยาสุมังคละโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน

ระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน (Felipe II de España; พ.ศ. 2070-พ.ศ. 2141) ทรงสืบเชื้อสายมาจาก ราชวงศ์ฮับสบูร์กแห่งออสเตรีย ทรงดำรงฐานะเป็นทั้งกษัตริย์แห่งสเปนและโปรตุเกส โดยทรงเป็นกษัตริย์แห่งโปรตุเกสในพระนาม พระเจ้าฟีลีเปที่ 1 (Filipe I) รัชสมัยของพระองค์เป็นช่วงเวลาที่สเปนสามารถดำรงฐานะความเป็นชาติมหาอำนาจที่ทรงอิทธิพลทางทะเลมากที่สุดในโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายขยายอำนาจของสเปนในรัชสมัยของพระอง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน · ดูเพิ่มเติม »

กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์

แสดงกฎ 3 ข้อของเคปเลอร์ที่มีวงโคจรดาวเคราะห์ 2 วง (1) วงโคจรเป็นวงรีด้วยจุดโฟกัส ''f1'' และ ''f2'' สำหรับดาวเคราะห์ดวงแรกและ ''f1'' และ ''f3'' สำหรับดาวเคราะห์ดวงที่ 2 ดวงอาทิตย์อยู่ที่จุด ''f1'' (2) ส่วนแรเงา 2 ส่วน ''A1'' และ ''A2'' มีผิวพื้นเท่ากันและเวลาที่ดาวเคราะห์ 1 ทับพื้นที่ ''A1'' เท่ากับเวลาที่ทับพื้นที่ ''A2''. (3) เวลารวมของวงโคจรสำหรับดาวเคราะห์ 1 และดาวเคราะห์ 2 มีสัดส่วนเท่ากับ a1^3/2:a2^3/2. กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร์ (Kepler's laws of planetary motion) คือกฎทางคณิตศาสตร์ 3 ข้อที่กล่าวถึงการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ โยฮันเนส เคปเลอร์ (พ.ศ. 2114 – พ.ศ. 2173) เป็นผู้ค้นพบ เคปเลอร์ได้ศึกษาการสังเกตการณ์ของนักดาราศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงชาวเดนมาร์กชื่อไทโค บราห์ (Tycho Brahe) โดยประมาณ พ.ศ. 2148 เคปเลอร์พบว่าการสังเกตตำแหน่งของดาวเคราะห์ของบราห์เป็นไปตามกฎง่ายๆ ทางคณิตศาสตร์ กฎของเคปเลอร์ท้าทายดาราศาสตร์สายอริสโตเติลและสายทอเลมีและกฎทางฟิสิกส์ในขณะนั้น เคปเลอร์ยืนยันว่าโลกเคลื่อนที่เป็นวงรีมากกว่าวงกลม และยังได้พิสูจน์ว่าความเร็วการเคลื่อนที่มีความผันแปรด้วย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้ทางดาราศาสตร์และฟิสิกส์ อย่างไรก็ดี คำอธิบายเชิงฟิสิกส์เกี่ยวกับพฤติกรรมของดาวเคราะห์ก็ได้ปรากฏชัดเจนได้ในอีกเกือบศตวรรษต่อมา เมื่อไอแซก นิวตันสามารถสรุปกฎของเคปเลอร์ได้ว่าเข้ากันกับกฎการเคลื่อนที่และกฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตันเองโดยใช้วิชาแคลคูลัสที่เขาคิดสร้างขึ้น รูปจำลองแบบอื่นที่นำมาใช้มักให้ผลผิดพล.

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่เรียกกันเป็นสามัญว่าวังหน้า เป็นตำแหน่งที่พระมหากษัตริย์สยามทรงสถาปนาขึ้นสำหรับพระมหาอุปราช และมีฐานะเป็นองค์รัชทายาทผู้มีสิทธิ์ที่จะขึ้นครองราชสมบัติต่อไป ตำแหน่งพระมหาอุปราชปรากฏครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ต่อมาสมเด็จพระเพทราชาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" ภายหลังจากการเสด็จทิวงคตของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เลิกธรรมเนียมตั้งพระมหาอุปราช แล้วทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชแทน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และกรมพระราชวังบวรสถานมงคล · ดูเพิ่มเติม »

การาวัจโจ

ูรายชื่องานที่ รายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจ; มีเกลันเจโล เมรีซี ดา การาวัจโจ (Michelangelo Merisi da Caravaggio ค.ศ. 1571 - 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1610) เป็นจิตรกรสมัยบาโรกคนสำค้ญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้มีผลงานส่วนใหญ่ที่ โรม เนเปิลส์ ซิซิลี และประเทศมอลตา ระหว่างปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และการาวัจโจ · ดูเพิ่มเติม »

มิเกล เด เซร์บันเตส

มิเกล เด เซร์บันเตส ซาอาเบดรา (Miguel de Cervantes Saavedra; 29 กันยายน ค.ศ. 1547 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เป็นนักเขียนชาวสเปน มีผลงานที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ดอนกิโฆเต้ แห่งลามันช่า ขุนนางต่ำศักดิ์นักฝัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และมิเกล เด เซร์บันเตส · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เลปันโต

ทธการเลอพานโต (ค.ศ. 1571) (Ναύπακτος, Naupaktos, Battle of Lepanto) เป็นยุทธการในสงครามออตโตมัน-เวนิสครั้งที่ห้า และ สงครามออตโตมัน-ฮับส์บวร์กที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1571 ในอ่าวพาทราสในทะเลไอโอเนียน เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพเรือของฝ่ายจักรวรรดิออตโตมัน และฝ่ายสันนิบาตศักดิ์สิทธิ์แห่งเมดิเตอเรเนียนที่ประกอบด้วยอาณาจักรพระสันตะปาปา สาธารณรัฐเวนิส สาธารณรัฐเจนัว อาณาจักรดยุคแห่งซาวอย สเปน และ อัศวินแห่งมอลตา ผลของยุทธการครั้งนี้ฝ่ายสันนิบาตศักดิ์สิทธิ์เป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ การพ่ายแพ้ครั้งนี้เป็นจุดสำคัญของจักรวรรดิออตโตมันที่ไม่เคยได้รับการพ่ายแพ้ทางการยุทธการทางนาวีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ที่ถือกันว่าเป็นแรงบันดาลจากเบื้องบน (act of Divine Will) ที่นักบันทึกพงศาวดารบรรยายว่า "กองเรือหลวงเผชิญหน้ากับผู้นอกศาสนาอันชั่วร้าย แต่พระเจ้าก็หันพระพันตร์ไปทางอื่น" แต่สำหรับผู้เป็นคริสเตียนเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เกิดความหวังของโอกาสที่จะล่มสลายของตุรกีผู้ที่ถือว่าเป็น "ศัตรูของคริสเตียน" ออตโตมันเหลือเรือเพียง 30 ลำจากกองเรือเกือบ 300 ลำ และทหารและทาสอีกราว 30,000 คนA History Of Warfare - John Keegan, Vintage, 1993 นักประวัติศาสตร์ตะวันตกถือการได้รับชัยชนะครั้งนี้ว่าเป็นชัยชนะที่เด็ดขาดทางราชนาวีที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยุทธการอัคเทียม (Battle of Actium) ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 31 ก่อนคริสต์ศักร.

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และยุทธการที่เลปันโต · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์ลาว

ระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร (เจ้าอุ่นคำ) กษัตริย์อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง ประทับบนพระราชบัลลังก์ ในพระราชวังหลวงเมืองหลวงพระบาง ลำดับกษัตริย์ลาว อ้างอิงตามพงศาวดารหลวงพระบาง ชินกาลมาลีปกรณ์ และ ตำนานพระแก้วมรกต กรณีศักราชไม่ตรงกัน จะยึดตามตำนานพระแก้วมรกตเป็นหลัก ขุนบรมราชาธิราช (พ.ศ. 1240 - พ.ศ. 1293) ได้ย้ายจากหนองแส (เมืองหลวงของอาณาจักรน่านเจ้า) มาอยู่ที่ใหม่เรียกว่า นาน้อยอ้อยหนู (เมืองแถนหรือเมืองกาหลง) ปัจจุบันเรียกว่าเชียงรุ่งเขตสิบสองพันนา พร้อมทั้งขยายอาณาเขตออกไปโดยส่งโอรส 7 องค์ไปครองเมืองต่าง ๆ คือ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และรายพระนามพระมหากษัตริย์ลาว · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1500 ถึง ค.ศ. 1599

ลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อังกฤษระหว่างปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1500 ถึง ค.ศ. 1599 · ดูเพิ่มเติม »

สันนิบาตศักดิ์สิทธิ์ (ค.ศ. 1571)

งของ “สันนิบาตศักดิ์สิทธิ์” ที่ใช้ในยุทธการที่เลปันโต สันนิบาตศักดิ์สิทธิ์ (Holy League) ของปี ค.ศ. 1571 คือกลุ่มรัฐโรมันคาทอลิกที่มีทางออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เพื่อต่อต้านอิทธิพลของจักรวรรดิออตโตมันในบริเวณทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 5 ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1571 สมาชิกของสันนิบาตประกอบด้วยรัฐสันตะปาปา ราชอาณาจักรสเปน เนเปิลส์ และซิซิลีของฮับส์บูร์ก สาธารณรัฐเวนิส สาธารณรัฐเจนัว แกรนด์ดัชชีทัสกานี ดัชชีซาวอย ดัชชีปาร์มา ดัชชีอูร์บีโน และอัศวินแห่งมอลตา รัฐต่าง ๆ เหล่านี้มีกองเรือประเภทต่างๆ ด้วยกันทั้งหมดด้วยกัน 300 ลำ ทหารราบ 50,000 คน และทหารม้า 4,500 คน และมีปืนที่พร้อมที่จะต่อสู้ในวันที่ 1 ของทุกปี โดยมีเจ้าชายจอห์นแห่งออสเตรีย พระอนุชาต่างพระมารดาในพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน เป็นผู้บังคับบัญชาการสูงสุด ทุนทรัพย์ในการบำรุงกองเรือมาจากรัฐสันตะปาปา สเปน และสาธารณรัฐเวนิส สันนิบาตศักดิ์สิทธิ์เปิดโอกาสการเป็นสมาชิกแก่จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ฝรั่งเศส และโปรตุเกส แต่ไม่มีผู้ใดเข้าร่วม จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ประสงค์ที่จะรักษาสันติภาพกับอิสตันบุล ขณะที่ฝรั่งเศสเป็นพันธมิตรกับออตโตมันในการต่อต้านอิทธิพลของกลุ่มพันธมิตรสเปน และโปรตุเกสมัวแต่ยุ่งอยู่กับโมร็อกโกและการเผชิญความขัดแย้งโดยตรงกับออตโตมันในทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดียซึ่งทำให้ไม่มีกำลังพอที่ส่งคนไปช่วยสันนิบาตได้ สันนิบาตเริ่มด้วยการรวมกองทัพเรือเข้าด้วยกันเพื่อช่วยเวนิสต่อต้านการรุกรานของออตโตมันที่นำโดยลาลา คารา มุสตาฟา ปาชาในไซปรัสในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 1570 แต่ไปถึงไม่ทันที่จะช่วยให้ไซปรัสรอดจากการยึดครองโดยออตโตมัน แต่เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1571 สันนิบาตก็สามารถได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อกองทัพเรือของออตโตมันในยุทธการที่เลปันโต ริมฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกของกรีซ หลังจากการลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกในปี ค.ศ. 1573 แล้วสันนิบาตก็สิ้นสุดลง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และสันนิบาตศักดิ์สิทธิ์ (ค.ศ. 1571) · ดูเพิ่มเติม »

สุลัยมานผู้เกรียงไกร

ลต่านสุลัยมานที่ 1 (ตุรกีออตโตมัน: سلطان سليمان اول‎) พระองค์เป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกว่า สุลัยมานผู้เกรียงไกร และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันออกว่า สุลัยมานผู้ตรากฎหมาย ทรงเป็นประมุขของจักรวรรดิออตโตมันสมัยราชวงศ์ออสมันระหว่างปี ค.ศ. 1520 จนเสด็จสวรรคตเมื่อต้นเดือนกันยายนปี ค.ศ. 1566 เป็นสุลต่านพระองค์ที่ 10 และเป็นสุลต่านที่ทรงราชย์นานที่สุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นเวลานานถึง 46 ปี สุลต่านสุลัยมานเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1494 ที่ทราบซอนในประเทศตุรกี เป็นพระราชโอรสในสุลต่านเซลิมที่ 1 และฮาฟซา ฮาทุน (Hafsa Hatun) ทรงเสกสมรสตามกฎหมายกับร็อกเซลานา หรือเฮอร์เรมสุลต่าน พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อราววันที่ 5/6 กันยายน ค.ศ. 1566 ที่ Szigetvár ในประเทศฮังการีปัจจุบัน หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต พระราชโอรสของพระองค์กับเฮอร์เรมสุลต่านก็ขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านเซลิมที่ 2 สุลต่านสุลัยมานเป็นพระมหากษัตริย์องค์สำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีบทบาทสำคัญไม่เพียงแต่ในจักรวรรดิออตโตมันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงททวีปยุโรปด้วย พระองค์มีพระบรมราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ทางการทหารและทางเศรษฐกิจ ทรงเป็นผู้นำทัพด้วยพระองค์เองในการสงครามหลายครั้งและทรงได้รับชัยชนะในสงครามหลายครั้งที่รวมทั้งต่อเบลเกรด โรดส์ และ ฮังการีเกือบทั้งหมด แต่มาทางพ่ายแพ้ในการล้อมกรุงเวียนนาในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และสุลัยมานผู้เกรียงไกร · ดูเพิ่มเติม »

สปา

ปาแห่งหนึ่งที่ประเทศอินเดีย สปา (spa) เป็นชื่อเรียกการบำบัดด้วยน้ำ ซึ่งมีหลายความหมายด้วยกัน โดยชื่อของสปานั้นมาจากชื่อเมืองสปาในประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และสปา · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรล้านช้าง

อาณาจักรล้านช้าง (ອານາຈັກລ້ານຊ້າງ) เป็นอาณาจักรของชนชาติลาวซึ่งตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง มีอาณาเขตอยู่ในบริเวณประเทศลาวทั้งหมด ตลอดจนพื้นที่บางส่วนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งการเมืองการปกครอง ด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนพระพุทธศาสนา ที่มีพัฒนาการเคียงคู่มาพร้อมกันอาณาจักรอื่น ๆ ใกล้เคียง ทั้งล้านนา สยาม พม่า และเขมร อาณาจักรแห่งนี้ได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นปึกแผ่นมั่งคงอย่างแท้จริงในปี พ.ศ. 1896 สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม มีความรุ่งเรืองสลับกับความร่วงโรยต่อมาหลายสมัย ซึ่งยุคที่นับได้ว่าเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านช้างคือรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2091- พ.ศ. 2114 และรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. 2181- พ.ศ. 2238) หลังจากนั้นอาณาจักรลาวก็เสื่อมอำนาจลงและแตกแยกเป็น 3 ราชอาณาจักร และในปี พ.ศ. 2321 ทั้ง 3 อาณาจักรก็ได้สูญเสียเอกราชแก่ราชอาณาจักรสยามในที.

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และอาณาจักรล้านช้าง · ดูเพิ่มเติม »

ฮะมะมะสึ

นครฮามามัตสึ ตั้งอยู่ในทางตะวันตกของจังหวัดชิซุโอะกะ ประเทศญี่ปุ่น นครฮามามาสึได้ควบรวมพื้นที่เข้ากับเมืองและอำเภอโดยรอบจำนวน 11 เมืองและอำเภอ ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 และได้ยกระดับเป็นนครอันตั้งขึ้นโดยข้อบัญญัติรัฐบาลญี่ปุ่น ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2007.

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และฮะมะมะสึ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์นแห่งออสเตรีย

อห์น แห่งออสเตรีย (John of Austria) (24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1547 – 1 ตุลาคม ค.ศ. 1578) หรือที่รู้จักกันดีตามชื่อธรรมเนียม คือ ดอน จอห์น แห่งออสเตรีย, ในภาษาสเปน ดอน จัน เด ออสเตรีย เป็นพระราชบุตรนอกกฎหมายของจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ได้กลายเป็นผู้นำกองทัพในบริการของครึ่งพี่ชายของพระองค์ พระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน และเป็นที่รู้จักดีที่สุดเพื่อชัยชนะเรือที่รบที่เลในปี ค.ศ. 1571 ในการต่อต้านจักรวรรดิออตโตมัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และจอห์นแห่งออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโกะ-โยเซ

ักรพรรดิโกะ-โยเซ เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 107 ของญี่ปุ่นครองราชย์ระหว่างปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และจักรพรรดิโกะ-โยเซ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโปรตุเกส

ักรวรรดิโปรตุเกส (Portuguese Empire, Império Português) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิอาณานิคมของโลกจักรวรรดิแรกที่มีดินแดนในหลายทวีปที่รวมทั้งอเมริกาใต้, แอฟริกา, อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้การปกครอง และเป็นจักรวรรดิอาณานิคมที่รุ่งเรืองอยู่นานที่สุดในยุโรปที่รุ่งเรืองอยู่เป็นเวลาเกือบห้าร้อยปีตั้งแต่การพบบราซิลในปี ค.ศ. 1500 จนกระทั่งถึงการคืนมาเก๊าในปี ค.ศ. 1999 ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานกว่าจักรวรรดิสเปน และ จักรวรรดิฝรั่งเศส ความต้องการที่จะขยายดินแดนไปทั่วโลกของโปรตุเกสเริ่มขึ้นอย่างจริงจังเมื่อนักสำรวจเริ่มดินทางไปสำรวจทางฝั่งทะเลของแอฟริกาในปี ค.ศ. 1419 หลังจากที่ได้รับชัยชนะต่อเมืองเซวตา (Ceuta) ทางตอนเหนือของแอฟริกาในปี ค.ศ. 1415 โปรตุเกสใช้ความก้าวหน้าล่าสุดทางการเดินเรือ, การเขียนแผนที่ และเทคโนโลยีทางทะเลเช่นการใช้เรือคาราเวล (Caravel) ในการแสวงหาเส้นทางการค้าขายเครื่องเทศซึ่งเป็นสินค้าที่มีค่าที่สุดในยุคนั้น ในปี ค.ศ. 1488 บาร์ตูลูเมว ดีอัช (Bartolomeu Dias) เดินทางรอบแหลมกูดโฮปสำเร็จ และในปี ค.ศ. 1498 วาสโก ดา กามาก็เดินทางรอบอินเดีย ขณะที่การสำรวจเหล่านี้เป็นการแสดงถึงอำนาจของโปรตุเกสในต่างประเทศแต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของการสำรวจก็เพื่อเป็นการขยายเส้นทางการค้าที่เน้นการแสวงหาเส้นทางใหม่ไปยังตะวันออกไกล โดยไม่ต้องเดินทางผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่ขณะนั้นอยู่ภายใต้อิทธิพลของอำนาจของฝ่ายปฏิปักษ์โดยเฉพาะจักรวรรดิออตโตมัน ความเปลี่ยนแปลงในปี ค.ศ. 1500 เกิดขึ้นเมื่อมีผู้พบฝั่งทะเลอเมริกาใต้โดยบังเอิญ และเมื่อเปดรู อัลวาเรซ กาบรัลเป็นผู้เดินทางสำรวจไปพบและยึดบราซิลเป็นอาณานิคม นโยบายที่เคยเป็นการสำรวจเพื่อการค้าจึงเริ่มเปลี่ยนไปเป็นการสำรวจเพื่อแสวงหาอาณานิคม ในช่วงเวลาหลายสิบปีต่อมานักเดินเรือชาวโปรตุเกสก็ดำเนินการสำรวจฝั่งทะเลและเกาะต่างๆ ในเอเชียตะวันออกต่อไป ก่อตั้งป้อม และ สถานีการค้า (trading post) ขึ้นตามสถานที่ต่างๆ ที่พบ ภายในปี ค.ศ. 1571 โปรตุเกสก็มีสถานีการค้าระไปตั้งแต่ลิสบอนเองไปจนถึงนะงะซะกิในญี่ปุ่น การขยายดินแดนทำให้โปรตุเกสกลายเป็นจักรวรรดิโลกที่มีความมั่งคั่งอันมหาศาล ระหว่างปี ค.ศ. 1580 ถึงปี ค.ศ. 1640 โปรตุเกสก็กลายเป็นพันธมิตรรองของสเปนของสองราชบัลลังก์ในการรวมตัวกันเป็นสหภาพไอบีเรีย (Iberian Union) แม้ว่าสองราชอาณาจักรนี้จะมีการบริหารแยกกันแต่อาณานิคมของโปรตุเกสก็กลายเป็นเป้าในการโจมตีโดยศัตรูของสเปนในยุโรปผู้มีความไม่พึงพอใจต่อความสำเร็จในอำนาจทางทะเลในต่างประเทศของจักรวรรดิในคาบสมุทรไอบีเรียที่รวมทั้งจักรวรรดิดัตช์ (ผู้ในที่สุดก็เข้าสงครามสงครามอิสรภาพต่อต้านสเปน), จักรวรรดิอังกฤษ และ จักรวรรดิฝรั่งเศส แต่โปรตุเกสเป็นประเทศเล็กและมีประชากรเพียงจำนวนไม่มากนักซึ่งทำให้ไม่สามารถป้องกันอาณานิคมในการปกครองของตนเองในดินแดนต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ซึ่งในที่สุดก็เป็นผลทำให้อำนาจของโปรตุเกสเริ่มลดถอยลง นอกจากนั้นการสูญเสียบราซิลซึ่งเป็นอาณานิคมที่ใหญ่ที่สุดและสร้างผลกำไรให้มากที่สุดแก่โปรตุเกสในปี ค.ศ. 1822 ในช่วงการปลดปล่อยอาณานิคมในอเมริกา (Decolonization of the Americas) เป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวงที่ทำให้โปรตุเกสไม่อาจฟื้นตัวขึ้นได้หลังจากนั้น การล่าอาณานิคมในแอฟริกาที่เริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้โปรตุเกสพอจะได้ดินแดนมาบ้าง ดินแดนส่วนใหญ่ในแอฟริกาที่ได้มาตกอยู่ภายใต้การบริหารและอิทธิพลของโปรตุเกสเป็นเวลาหลายร้อยปี เมืองเช่นลูอันดา (Luanda) และ เบงเกลา (Benguela) และที่ตั้งถิ่นฐานต่างๆ หลายแห่งได้รับการก่อตั้งขึ้นและปกครองโดยโปรตุเกสมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง อันโตนิโอ เดอ โอลิเวรา ซาลาซาร์ (António de Oliveira Salazar) ผู้นำของโปรตุเกสก็ยังพยายามรักษาจักรวรรดิโปรตุเกสไว้โดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลงในขณะที่ประเทศต่างๆ ในยุโรปเริ่มถอนตัวจากอาณานิคมต่างๆ ในปี ค.ศ. 1961 กองกำลังจำนวนเพียงเล็กน้อยของโปรตุเกสที่ประจำอยู่ที่รัฐกัวก็ไม่สามารถต้านทานกองทหารอินเดียที่รุกเข้ามาในอาณานิคมได้ ซาลาซาร์จึงเริ่มสงครามอาณานิคมโปรตุเกสอันเป็นสงครามนองเลือดอันยาวนานเพื่อที่จะปราบปรามนักต่อต้านอาณานิคมในอาณานิคมแอฟริกา สงครามอันไม่เป็นที่นิยมมาสิ้นสุดลงเมื่อคณะรัฐบาลของซาลาซาร์ถูกโค่นอำนาจในปี ค.ศ. 1974 ที่เรียกกันว่าการปฏิวัติคาร์เนชัน (Carnation Revolution) หลังจากนั้นรัฐบาลโปรตุเกสก็เปลี่ยนนโยบายทันทีและอนุมัติอิสรภาพของประเทศต่างๆ ในอาณานิคมโปรตุเกสทั้งหมดยกเว้นมาเก๊าที่มาคืนให้แก่ประเทศจีนในปี ค.ศ. 1999 ซึ่งเท่ากับเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิโปรตุเก.

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และจักรวรรดิโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติไซปรัส

งชาติไซปรัส (ΣημαίατηςΚύπρου; Kıbrıs bayrağı) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้อย่างเป็นทางการนับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1960 ตามข้อตกลงซูริคและลอนดอน ซึ่งกำหนดให้ไซปรัสมีสถานะเป็นรัฐเอกราชและมีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเอง ลักษณะของธงชาติไซปรัสเป็นรูปแผนที่ของเกาะไซปรัสทั้งหมด รองรับด้วยช่อมะกอกสองช่อบนพื้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีขาวอันเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ส่วนช่อมะกอกคู่นอกจากจะหมายถึงสันติภาพโดยทั่วไปแล้ว ยังมีความหมายเฉพาะเจาะจงถึงสันติภาพระหว่างชาวเติร์กและชาวกรีก ซึ่งเป็นประชากรสองกลุ่มใหญ่ของประเทศ สีของแผนที่เกาะไซปรัสนั้นเป็นสีเหลืองทองแดง มีความหมายถึงแร่ทองแดงซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่มากภายในเกาะ (โดยหลักแล้วมักอยู่ในรูปของชาลโคไพไรต์ (chalcopyrite) ซึ่งมีสีเหลือง) อันเป็นที่มาแห่งนามของเกาะนี้ ไซปรัสเดินเป็นดินแดนที่มีชาวกรีกอาศัยอยู่ ต่อมาได้ถูกจักรวรรดิออตโตมาน (ปัจจุบันคือประเทศตุรกี) พิชิตได้ในปี ค.ศ. 1571 นำมาซึ่งการตั้งถิ่นฐานของชาวเติร์กในไซปรัส หลังจากนั้นไซปรัสก็ได้ตกอยู่ในความปกครองของสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1878 การออกแบบธงชาติไซปรัสซึ่งได้มีการยอมรับอย่างเป็นทางการเมื่อมีการประกาศเอกราชในปี ค.ศ. 1960 เป็นความพยายามที่จะเลือกใช้สัญลักษณ์ของชาติที่สื่อถึงสันติภาพและความปรองดองระหว่างประชาคมชาวกรีกและชาวเติร์กซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งกันมาโดยตลอด ทว่าแนวคิดดังกล่าวก็มิได้เป็นจริง ในปี ค.ศ. 1974 กองทัพตุรกีได้เข้ารุกรานและยึดครองดินแดนภาคเหนือของเกาะไซปรัส พร้อมทั้งจัดตั้งสาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ ซึ่งเป็นรัฐชาติที่มีเพียงตุรกีเพียงชาติเดียวเท่านั้นที่ให้การยอมรับในทางพฤตินัย สาธารณรัฐดังกล่าวได้กำหนดธงชาติของตนเองขึ้นให้คล้ายกับธงชาติตุรกี โดยที่ใช้สีสลับกันกับธงชาติตุรกีและแถบสีแดงพาดบนธง 2 แถบ ในดินแดนไซปรัสเหนือนั้นมักจะชักธงชาติของตนขึนร่วมกับธงชาติตุรกี ในขณะที่ดินแดนที่เหลือทางตอนใตนิยมจะชักธงชาติไซปรัสร่วมกับธงชาติกรีซ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และธงชาติไซปรัส · ดูเพิ่มเติม »

ทะเกะดะ ชิงเง็น

ทะเกะดะ ชิงเง็น ไดเมียวแห่งแคว้นคะอิ ผู้นำตระกูลทะเกะดะ เป็นไดเมียวคนสำคัญในยุคเซงโงะกุ ได้รับยกย่องว่าเป็นไดเมียวที่ยิ่งใหญ่และกล้าหาญที่สุดคนหนึ่ง และเป็นคู่แข่งคนสำคัญของโอดะ โนะบุนะงะในแถบภาคตะวันออกของญี่ปุ่น ได้รับฉายาว่า "พยัคฆ์แห่งคะอิ".

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และทะเกะดะ ชิงเง็น · ดูเพิ่มเติม »

ซารีนามาร์ฟา โซบาคินาแห่งรัสเซีย

ซารีนามาร์ฟา โซบาคินาแห่งรัสเซีย (Marfa Sobakina; Марфа Васильевна Собакина; ค.ศ. 1552 – ค.ศ. 1571) เป็นซารีนาแห่งอาณาจักรซาร์รัสเซีย และเป็นพระมเหสีพระองค์ที่สามในซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซี.

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และซารีนามาร์ฟา โซบาคินาแห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ซาลอมง เดอ บร็อส

ซาลอมง เดอ บร็อส (Salomon de Brosse; ค.ศ. 1571 - 9 ธันวาคม ค.ศ. 1626) เป็นสถาปนิกของสมัยบาโรกชาวฝรั่งเศสผู้มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 17 งานชิ้นสำคัญของซาลอมง เดอ บร็อสก็ได้แก่พระราชวังลุกซ็องบูร์สำหรับสมเด็จพระราชินีนาถมารี เดอ เมดิชิที่ออกแบบตามแบบวังพิตติที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ซาลอมง เดอ บร็อสมาจากครอบครัวที่มีหน้ามีตาของอูกโนเป็นหลานทางแม่ของช่างออกแบบฌักที่ 1 อ็องดรูแอ ดูว์ แซร์โซ (Jacques I Androuet du Cerceau) และลูกของสถาปนิกฌ็อง เดอ บร็อส เดอ บร็อสก่อตั้งสำนักงานสถาปนิกในกรุงปารีสในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และซาลอมง เดอ บร็อส · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์สเปน

ตราสัญลักษณ์ของประเทศสเปน โบสถ์ซานตามารีอาเดลนารังโก เมืองโอเบียโด ภาคเหนือ อารามหลวงเอลเอสโกเรียล กรุงมาดริด ภาคกลาง พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ เมืองบาเลนเซีย ภาคตะวันออก ปราสาทอาลัมบรา เมืองกรานาดา ภาคใต้ ประวัติศาสตร์สเปน คือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับอาณาบริเวณส่วนใหญ่บนคาบสมุทรไอบีเรียในภูมิภาคยุโรปใต้ซึ่งมีพัฒนาการสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ผ่านยุครุ่งเรืองและยุคตกต่ำของจักรวรรดิสากลแห่งแรกของโลกจนกลายมาเป็นราชอาณาจักรสเปนในปัจจุบัน อันเป็นช่วงฟื้นฟูตนเองหลังสมัยการปกครองแบบเผด็จการของนายพลฟรังโกได้ผ่านพ้นไป มีอยู่หลายช่วงที่ประวัติศาสตร์การเมืองและการทหารของสเปนเต็มไปด้วยความวุ่นวายและความรุนแรง ส่วนใหญ่เกิดจากนโยบายและความพยายามที่จะจัดการกับความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และความคิดความเชื่อในดินแดนของตนนั่นเอง มนุษย์สมัยใหม่เข้ามาในคาบสมุทรไอบีเรียเป็นเวลานานกว่า 35,000 ปีมาแล้ว ตามมาด้วยคลื่นผู้รุกรานและผู้ตั้งอาณานิคมชนชาติต่าง ๆ ได้แก่ ชาวเคลต์ ชาวฟินิเชีย ชาวคาร์เทจ และชาวกรีกตลอดระยะเวลานับพัน ๆ ปี เมื่อถึงประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทั้งคาบสมุทรจึงตกเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐโรมัน ก่อนจะตกไปอยู่ภายใต้การปกครองจากชาววิซิกอท และในปี ค.ศ. 711 ชาวแอฟริกาเหนือซึ่งเป็นชาวมุสลิม (ชาวมัวร์) ก็เริ่มเข้ามามีอำนาจ ในที่สุดอาณาจักรอิสลามก็ได้รับการสถาปนาขึ้นบนคาบสมุทรแห่งนี้และยืนหยัดได้เป็นเวลาประมาณ 750 ปี ซึ่งพื้นที่ที่ชาวมุสลิมครอบครองนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อัลอันดะลุส แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ยังเป็นช่วงที่เรียกว่า "เรกองกิสตา" หรือการยึดดินแดนคืนของชาวคริสต์ซึ่งค่อย ๆ รุกลงไปทางใต้ เหตุการณ์เหล่านี้ดำเนินไปถึงจุดสิ้นสุดเมื่อชาวคริสต์สามารถพิชิตที่มั่นแห่งสุดท้ายของชาวมุสลิมที่กรานาดาได้ในปี ค.ศ. 1492 จากนั้นราชอาณาจักรและรัฐคาทอลิกต่าง ๆ บนคาบสมุทรไอบีเรียก็ได้พัฒนาขึ้น รวมทั้งราชอาณาจักรคาสตีลและราชอาณาจักรอารากอนด้วย ซึ่งการรวมกันของอาณาจักรทั้งสองนี้จะนำไปสู่ความเป็นปึกแผ่นของรัฐชาติสเปนในเวลาต่อมา ปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และประวัติศาสตร์สเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาวใน ค.ศ. 1571

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1571 ในประเทศลาว.

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และประเทศลาวใน ค.ศ. 1571 · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันเนส เคปเลอร์

ันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler; 27 ธันวาคม ค.ศ. 1571 - 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1630) นักดาราศาสตร์ นักโหราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้มีส่วนสำคัญในการปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์ เขาค้นพบกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในงาน Astronomia nova, Harmonice Mundi ของเขา และได้แต่งหนังสือชื่อ Epitome of Copernican Astronomy โยฮันเนส เคปเลอร์ ประกอบอาชีพเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียน Graz (ภายหลังเปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัย Graz) และเป็นผู้ช่วยของ ไทโค บราเฮ นักคณิตศาสตร์ในความอุปถัมภ์ของจักรพรรดิรูดอร์ฟที่ 2 ผู้ซึ่งรวบรวมรวมข้อมูลของดาวเคราะห์มาตลอดชีวิต และปูทางให้เคปเลอร์ค้นพบกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในเวลาต่อมา เขาทำงานด้านทัศนศาสตร์ และช่วยสนับสนุนการค้นพบกล้องโทรทรรศน์ของกาลิเลโอ กาลิเลอี เขาถูกยกย่องว่าเป็น "นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทฤษฎีคนแรก" แต่คาร์ล ซาแกน ยกย่องเขาในฐานะ "นักโหราศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์คนสุดท้าย".

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และโยฮันเนส เคปเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

24 มิถุนายน

วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันที่ 175 ของปี (วันที่ 176 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 190 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และ24 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

29 กันยายน

วันที่ 29 กันยายน เป็นวันที่ 272 ของปี (วันที่ 273 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 93 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2114และ29 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1571

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »