โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 2032

ดัชนี พ.ศ. 2032

ทธศักราช 2032 ใกล้เคียงกั.

10 ความสัมพันธ์: มาร์กาเร็ต ทิวดอร์สมเด็จพระราชินีนาถสมเด็จพระราชินีนาถแคทเทอรีนแห่งไซปรัสสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1494-1498)อะชิกะงะ โยะชิฮิซะอาสนวิหารอ็อชอำเภอปายแม่พระรับสารแห่งเชสเตลโลแคว้นโยนก5 มีนาคม

มาร์กาเร็ต ทิวดอร์

มาร์กาเร็ต ทิวดอร์ (Margaret Tudor; 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1489 - 18 ตุลาคม ค.ศ. 1541) หรือที่รู้จักกันในพระนามว่า "มาร์กาเร็ต ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งชาวสกอต" (Margaret, Queen of Scots) ทรงประสูติที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์โตที่ทรงพระชนม์ในพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษกับพระนางเอลิซาเบธแห่งยอร์ก และทรงเป็นพระเชษฐภคินีในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2032และมาร์กาเร็ต ทิวดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถ

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตยแบบรัฐสภา สมเด็จพระราชินีนาถ (Queen Regnant) คือ พระมหากษัตริย์หญิงผู้ครองราชสมบัติด้วยสิทธิ์ของพระองค์เอง ต่างจาก "สมเด็จพระราชินี" (Queen Consort) ซึ่งเป็นพระมเหสีในพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติ และไม่ทรงมีอำนาจในการบริหารราชกิจของบ้านเมืองอย่างเป็นทางการใด ๆ โดยหลักการแล้ว พระมหากษัตริย์มีทั้ง "สมเด็จพระราชาธิบดี" (King Regnant) และ "พระมหากษัตริย์พระราชสวามี" (King Consort) แต่เกิดขึ้นได้ยาก และมีการใช้พระอิสริยยศเพียงสองครั้งในประวัติศาสตร์ราชวงศ์อังกฤษ ระบอบราชาธิปไตยในปัจจุบันที่ให้สมเด็จพระราชินีนาถทรงครองราชบัลลังก์ พระสวามีของพระองค์จะไม่ได้มีพระอิสริยยศเป็นพระราชา แต่เป็นเพียงแค่ชั้นเจ้าชายเท่านั้น พระราชสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระสวามีคนที่สองของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสก็อตแลนด์ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชสวามีในอาณาจักรของพระองค์เอง แต่ไม่เป็นที่ชื่นชอบของพสกนิกรและการอภิเษกสมรสกินเวลาเพียงไม่นาน พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระราชินีนาถแห่งชาวสก็อต ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี พระมหากษัตริย์ที่ปกครองร่วมกันเป็น พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ ที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ และที่ 1 แห่งไอร์แลนด์ แต่ถือเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองร่วมกันครั้งเดียว และเป็นทางการที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ แต่หลังจากนั้นมา พระสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถในประเทศอังกฤษได้รับการสถาปนาเป็น "เจ้าชายพระราชสวามี" (Prince Consort) (มีเพียงคนเดียวที่ได้รับการแต่งตั้งพระอิสริยยศนี้อย่างเป็นทางการคือ เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย) การเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระราชินีนาถจะเกิดขึ้นเมื่อลำดับการสืบราชบัลลังก์เอื้ออำนวย วิธีการสืบราชสมบัติ (เป็นพระมหากษัตริย์ หัวหน้าเผ่า ฯลฯ) และรวมถึงการแต่งตั้ง (พระมหากษัตริย์ในรัฐสภา หรือ คณะมนตรีแต่งตั้งรัชทายาท) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติก่อนที่สุด (primogeniture) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติหลังที่สุด (ultimogeniture) ขอบเขตในการสืบราชสมบัติอาจยึดจากสายทางพระชนก สายทางพระชนนีหรือทั้งสองฝ่าย หรือที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น (เมื่อถึงคราวจำเป็น) มาจากการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิในการสืบราชสมบัติโดยตามเพศ อาจจะให้ทั้งชายและหญิง จำกัดแต่เพศชายเท่านั้น หรือจำกัดแต่เพศหญิงเท่านั้น การสืบราชบัลลังก์ที่เป็นแบบแผนมากที่สุดตั้งแต่สมัยกลางตอนปลายตลอดจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นแบบการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดา (male-preference primogeniture) กล่าวคือ ลำดับการสืบราชบัลลังก์อยู่ในบรรดาพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ตามลำดับการประสูติก่อนแล้วจึงตามมาด้วยของพระราชธิดา ในบางอาณาจักรทางประวัติศาสตร์ห้ามมิให้มีการสืบราชสมบัติโดยผู้หญิงหรือผ่านทางเชื้อสายของผู้หญิง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางแห่งที่ยังคงยึดถือหลักเกณฑ์นี้ตามกฎหมายแซลิก ดังตัวอย่างเช่น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนเธอร์แลนด์เป็นแกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก แต่เมื่อกษัตริย์ดัตช์พระองค์สุดท้ายเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2433 และสืบราชบัลลังก์ต่อมาโดยพระราชธิดา กฎหมายแซลิกจึงไม่ยอมให้ลักเซมเบิร์กยอมรับพระองค์ในฐานะเป็นแกรนด์ดัชเชสผู้ปกครองตามพระราชสิทธิของพระองค์เอง เช่นเดียวกับตอนที่ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ พระองค์ไม่ได้เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งแฮโนเวอร์ด้วย ถึงแม้ว่าสมเด็จพระปิตุลาธิราชของพระองค์ทรงเคยเป็นกษัตริย์ของทั้งสองประเทศมาก่อน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประเทศสวีเดน นอร์เวย์ เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ได้แก้ไขพระราชบัญญัติการสืบราชบัลลังก์จากการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดามาเป็นมีสิทธิสืบราชสมบัติเท่ากันตามลำดับการประสูติโดยไม่จำกัดเรื่องเพศ ในบางกรณี การเปลี่ยนแปลงอาจยังไม่ส่งผลอะไรมากมายจนกว่ารุ่นต่อจากรุ่นปัจจุบันเกิดขึ้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงการยึดตำแหน่งของบุคคลที่อยู่ในลำดับการสืบราชบัลลังก์มาก่อน โดยเฉพาะในพระอิสริยยศพิเศษ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2032และสมเด็จพระราชินีนาถ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถแคทเทอรีนแห่งไซปรัส

มเด็จพระราชินีนาถแคทเทอรีนแห่งไซปรัส หรือ โนบิล ดอนน่า แคทเทอรีน คอร์นาโร (Catherine Cornaro; ภาษาเวนีเชียน: Catarina) (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 1997 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2053) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรไซปรัสระหว่างปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2032และสมเด็จพระราชินีนาถแคทเทอรีนแห่งไซปรัส · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอิตาลี (ค.ศ. 1494-1498)

งครามอิตาลีครั้งที่ 1 หรือ สงครามอิตาลี (ค.ศ. 1494-1498) หรือ สงครามอิตาลีของชาร์ลส์ที่ 8 (First Italian War หรือ Italian War of 1494–1498 หรือ Italian War of 1494 หรือ Charles VIII's Italian War) เป็นสงครามที่เริ่มต้นมหาสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1494-1559) ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1494 จนถึง ค.ศ. 1498 สงครามอิตาลีครั้งนี้เป็นความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศสฝ่ายหนึ่ง และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, สเปน และพันธมิตรอิตาลีที่นำโดยสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 อีกฝ่ายหนึ่ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2032และสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1494-1498) · ดูเพิ่มเติม »

อะชิกะงะ โยะชิฮิซะ

อะชิกะงะ โยะชิฮิซะ (Ashikaga Yoshihisa) (11 ธันวาคม ค.ศ. 1465 - 26 เมษายน ค.ศ. 1489, 1473 - 26 เมษายน ค.ศ. 1489) โชกุนลำดับที่ 9 แห่ง รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะ ใน ยุคมุโระมะชิ ดำรงตำแหน่งระหว่าง ค.ศ. 1473 - ค.ศ. 1489 เป็นบุตรชายคนเดียวของ อะชิกะงะ โยะชิมะซะ โชกุนลำดับที่ 8 ในปี ค.ศ. 1464 โชกุนโยะชิมะซะได้แต่งตั้ง อะชิกะงะ โยะชิมิ ผู้เป็นน้องชายขึ้นเป็นทายาทแต่ในปีต่อมาคือปี ค.ศ. 1465 โยะชิฮิซะบุตรชายคนเดียวของโยะชิมะซะถือกำเนิดทำให้โยะชิมิไม่พอใจและได้ก่อกบฏที่เรียกว่า สงครามโอนิน อันเป็นจุดกำเนิดของ ยุคเซ็งโงะกุ และในปี ค.ศ. 1469 โชกุนโยะชิมะซะได้แต่งตั้งโยะชิฮิซะในวัยเพียง 4 ปีขึ้นเป็นทายาท.

ใหม่!!: พ.ศ. 2032และอะชิกะงะ โยะชิฮิซะ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารอ็อช

อาสนวิหารอ็อช (Cathédrale d'Auch) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญมารีย์แห่งอ็อช (Cathédrale Sainte-Marie d'Auch) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำอัครมุขมณฑลอ็อช ตั้งอยู่ที่เมืองอ็อช จังหวัดแฌร์ แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระนางมารีย์พรหมจารี อาสนวิหารแห่งนี้ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ถึง 3 ด้าน ด้วยความยาวถึง 102 เมตร และกว้าง 35 เมตร เริ่มการก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1489 โดยการสนับสนุนของฟร็องซัว เดอ ซาวัว โดยสร้างบนซากปรักหักพังของอาสนวิหารโรมาเนสก์เก่าซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของอาสนวิหารนักบุญอ็อสแต็งด์ และมีการเสกขึ้นเป็นอาสนวิหารเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1548 ในขณะที่งานก่อสร้างทั้งหมดยังไม่เสร็จสิ้น จนกระทั่งอีกราวสองร้อยกว่าปีต่อมา ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบกอธิกวิจิตร (ฟล็องบัวย็อง) ที่ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ทั้งหมดสร้างเสร็จสมบูรณ์ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ด้วยหน้าบันหลัก และมุขทางเข้าตกแต่งด้วยเสาแบบคอรินเทียน ภายในประกอบด้วยชาเปลกว่า 21 หลัง งานตกแต่งภายในมีความโดดเด่นด้วยงานกระจกสีถึง 18 ชิ้น โดยศิลปินอาร์โน เดอ มอล บริเวณร้องเพลงสวดได้รับการประดับประดาด้วยงานไม้ถึง 115 ชิ้น ซึ่งไม่ทราบผู้ออกแบบ ซึ่งต่อเป็นฉากในพระคัมภีร์ไบเบิลซึ่งเล่าเรื่องต่อมาจากงานกระจกสีโดยรอบ อาสนวิหารอ็อชได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1906 รวมทั้งยังอยู่ในรายชื่อแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางซานเตียโกเดกอมโปสเตลาในประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998.

ใหม่!!: พ.ศ. 2032และอาสนวิหารอ็อช · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอปาย

อำเภอปาย (25px) เป็นอำเภอขนาดเล็กทางตอนเหนือของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นที่รู้จักกันดีในด้านความงามของธรรมชาต.

ใหม่!!: พ.ศ. 2032และอำเภอปาย · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระรับสารแห่งเชสเตลโล

แม่พระรับสารแห่งเชสเตลโล (Annunciazione di Cestello) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยซันโดร บอตตีเชลลี จิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟีซีที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ภาพ “แม่พระรับสารแห่งเชสเตลโล” เขียนราวระหว่างปี ค.ศ. 1489 ถึง ค.ศ. 1490 ภาพนี้เป็นงานจ้างของคอนแวนต์เชสเตลโลในฟลอเรนซ์ (ปัจจุบันคือโบสถ์ซันตามาเรียมัดดาเลนาแห่งปัซซี (Santa Maria Maddalena de'Pazzi)) บอตตีเชลลีสามารถใช้ทัศนมิติในการมองลึกเข้าไปในโครงสร้างของห้องข้ามพื้นกระเบื้องตามแนวเส้นที่แคบลง ออกไปยังภูมิทัศน์ภายนอก ท่าทางที่อ่อนไหวอย่างมีชีวิตจิตใจของทั้งพระแม่มารีย์ขัดกับช่องไดนามิค (spatial dynamics) ที่ดึงสายตาไปยังฉากหลัง ลักษณะสามเหลี่ยมเริ่มจากชายเสื้อของทูตสวรรค์กาเบรียลต่อไปยังมือที่ยกขึ้น ขึ้นไปยังพระหัตถ์ของพระแม่มารีย์ที่ยกขึ้นขวางพระอุระ เครื่องทรงของทูตสวรรค์ที่จีบพับเป็นลอนใหญ่ทำให้มีความรู้สึกว่าเหมือนจะเพิ่งบินลงมา ทูตสวรรค์เกเบรียลคุกเข่าต่อหน้าพระแม่มารีย์เผยอปากพร้อมที่จะแจ้งสารที่เขียนเป็นภาษาละตินที่เขียนไว้บนกรอบเดิมว่า “พระจิตเจ้าจะเสด็จลงมาเหนือท่านและพระอานุภาพของพระผู้สูงสุดจะแผ่เงาปกคลุมท่าน” (ลูกา 1:35).

ใหม่!!: พ.ศ. 2032และแม่พระรับสารแห่งเชสเตลโล · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นโยนก

แคว้นโยนก (พ.ศ. 1835–2435) เป็นรัฐของชาวไทยวนที่ตั้งอยู่แถบลุ่มน้ำโขงตอนกลาง อันเป็นที่ราบลุ่มของน้ำแม่กก เป็นที่ตั้งของชุมชนที่มีมาช้านาน เช่น เมืองเงินยาง เมืองรอย และเมืองเชียงแสน แม้จะเป็นรัฐชายขอบที่ตั้งอยู่ใกล้กับอาณาจักรขนาดใหญ่ ขอม พุกาม และยูนนาน แต่ก็มีพัฒนาการที่รวดเร็วช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 ก่อนที่จะพัฒนาจนสถาปนาอาณาจักรล้านนาในกาลต่อม.

ใหม่!!: พ.ศ. 2032และแคว้นโยนก · ดูเพิ่มเติม »

5 มีนาคม

วันที่ 5 มีนาคม เป็นวันที่ 64 ของปี (วันที่ 65 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 301 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2032และ5 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1489

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »