โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 2020

ดัชนี พ.ศ. 2020

ทธศักราช 2020 ใกล้เคียงกั.

28 ความสัมพันธ์: ชาร์ลผู้อาจหาญฟรันเชสโก เดล กอสซาพระนางช็องฮีพระไตรปิฎกภาษาบาลีพระเจ้าติโลกราชการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยยุคมุโระมะชิรายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนรายพระนามพระมหากษัตริย์บอสเนียรายพระนามพระมหากษัตริย์โปรตุเกสรายพระนามเจ้าผู้ครองราชรัฐลักเซมเบิร์กวัดโพธารามมหาวิหารศาสนาพุทธในประเทศไทยสังคายนาในศาสนาพุทธสงครามโอนินอะชิกะงะ โยะชิมะซะฮันส์ แม็มลิงจอร์โจเนจักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีทิเชียนซันตามาเรียเดลโปโปโลแมรีแห่งเบอร์กันดีแอนน์แห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสเพดานโบสถ์น้อยซิสทีนเคาน์ตีอาร์ตัวเคาน์ตีแอโนเนเธอร์แลนด์ของเบอร์กันดี

ชาร์ลผู้อาจหาญ

ร์ลผู้อาจหาญ (Charles le Téméraire; Charles the Bold) หรือ ชาลส์เดอะแรช (10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1433 - 5 มกราคม ค.ศ. 1477) เป็นขุนนางชาวฝรั่งเศส ผู้เป็นบุตรของฟิลลิปเดอะกูดและอินฟันตาอิซาเบลลาแห่งโปรตุเกส เมื่อแรกเกิดได้รับชื่อว่า “ชาร์ล มาร์แต็ง” ต่อมามีบรรดาศักดิ์เป็นดยุกแห่งบูร์กอญ ระหว่างปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และชาร์ลผู้อาจหาญ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันเชสโก เดล กอสซา

ฟรานเชสโค เดล คอสสา (Francesco del Cossa) (ราว ค.ศ. 1430 - ราว ค.ศ. 1477) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีตอนต้นของตระกูลการเขียนภาพแบบเฟอร์ราราของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และฟรันเชสโก เดล กอสซา · ดูเพิ่มเติม »

พระนางช็องฮี

มเด็จพระราชินีจองฮี (Hangeul:정희왕후, Hanja:貞熹王后, Revised Romanization: Jeonghui Wanghu) (8 ธันวาคม 1418 – 6 พฤษภาคม 1483) เป็นพระมเหสีของพระเจ้าเซโจกษัตริย์พระองค์ที่เจ็ดแห่งราชอาณาจักรโชซอนและยังเป็นพระราชมารดาของพระเจ้าเยจงแห่งโชซอนกษัตริย์พระองค์ที่แปดแห่งราชอาณาจักรโชซอน ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระราชสวามีในปี ค.ศ. 1468 พระนางทรงขึ้นดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการให้กับพระราชโอรสในปี ค.ศ. 1468 ถึง ค.ศ. 1469 และยังทรงเป็นผู้สำเร็จราชการให้กับพระราชนัดดาซึ่งก็คือพระเจ้าซองจงแห่งโชซอนในปี ค.ศ. 1469 ถึง ค.ศ. 1477 พระนางทรงเป็นธิดาจากตระกูลยุนแห่งพาพยอง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และพระนางช็องฮี · ดูเพิ่มเติม »

พระไตรปิฎกภาษาบาลี

ปรากฏพระพุทธดำรัสในมหาปรินิพพานสูตรว่า "เมื่อทรงปรินิพานไปแล้ว พระธรรมวินัยที่ได้ทรงสั่งสอนไว้แล้ว จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย"พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. ออนไลน์. เข้าถึงได้จากhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และพระไตรปิฎกภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าติโลกราช

ระเจ้าติโลกราช (120px) (พ.ศ. 1952 – พ.ศ. 2030) พระมหากษัตริย์ล้านนาแห่งราชวงศ์มังรายพระองค์ที่ 9 ครองราชย์ พ.ศ. 1985 – พ.ศ. 2030 พระนามเดิมคือ "เจ้าลก" เนื่องจากเป็นพระโอรสองค์ที่ 6 ในพญาสามฝั่งแกน (ลก ในภาษาไทเดิม มีความหมายว่า ลำดับที่ 6) ร่วมรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และพระเจ้าติโลกราช · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย

ษาบาลี หรือภาษามคธ เป็นภาษาที่จารึกพระไตรปิฎก ด้วยเป็นภาษาที่คนชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลนิยมใช้กันทั่วไป จึงเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าใช้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น หลังจากพุทธปรินิพพานมีการทำปฐมสังคายนา พระเถระได้ตกลงกันใช้ภาษาบาลีสำหรับจดจำพระไตรปิฎก พระสงฆ์สายเถรวาทจึงต้องศึกษาภาษาบาลีให้เข้าใจลึกซึ้งและสามารถเทียบเคียงสอบทานกับพระไตรปิฎกที่เก็บไว้ในสถานที่ต่างกันได้ เพื่อรักษาการแปลความหมายจากพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกให้ถูกต้องไม่บิดเบือน และหน้าที่นี้ก็เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ในประเทศไทยเช่นเดียวกันเทวประภาส มากคล้าย เปรียญ..

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ยุคมุโระมะชิ

มุโระมะชิ ตรงกับค.ศ. 1336 - ค.ศ. 1568 ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 14 อะชิคะงะ โยะชิมิสึ ได้ปราบปรามชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบ และตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นอีกครั้งที่ เคียวโตะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนนี้ได้ปกครองญี่ปุ่นต่อมาเป็นเวลานานถึงสองศตวรรษเศษอันเป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมของชนชั้นนักรบก็ได้กลืนวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลโชกุนของตระกูลอะชิคะงะ เกิดจากการรวมตัวของขุนศึกสำคัญ ๆ ตามหัวเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จึงเป็นธรรมดาที่การรวบอำนาจให้รัฐบาลมีเสถียรภาพนั้นเป็นไปได้อย่างลำบาก ดังนั้นในครึ่งหลังศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ขุนศึกตามหัวเมืองต่าง ๆ จึงเริ่มทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน จนทั้งประเทศญี่ปุ่นตกเข้าสู่ยุคสงคราม ภายในยุคนี้เป็นยุคที่ชนชั้นนักรบมีอำนาจเหนือเกษตรกรและมีกรรมสิทธิเหนือที่ดินจึงเป็นการปกครองระบบศักดินาโดยสมบูรณ์ ด้านเศรษฐกิจก็เจริญรุ่งเรืองมาก เนื่องจากทำการค้ากับจีนสมัยหมิงด้านวัฒนธรรม ลัทธิเซนเป็นส่วนเพิ่มเติมให้กับวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองและชนชั้นนักรบ ซึ่งเห็นรูปแบบได้จากตำหนักทอง (Kinkaku) ในปลายศตวรรษที่ 14 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมคิตะยะมะ (Kitayama) และตำหนักเงิน (Ginkaku) ในปลายศตวรรษที่ 15 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมฮิงะชิยะมะ (Higashiyama) การละคร อย่างเช่น โน เคียวเง็น และการต่อเพลง ก็เริ่มแพร่หลายสู่ประชาชนภายนอก ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น อย่างเช่น พิธีชงชา การจัดดอกไม้ ก็เริ่มมีรากฐานมาจากยุคนี้ และในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 พวกฝรั่ง เช่น ชาติโปรตุเกส และสเปนก็ได้นำอาวุธปืนยาวและศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ที่ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และยุคมุโระมะชิ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน

แผนที่แสดงมหาวิทยาลัยในยุโรปยุคกลาง รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน ในบทความนี้ต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณสมบัติตรงตามนิยามมหาวิทยาลัย ณ วันที่ก่อตั้ง และจะต้องก่อตั้งก่อน พ.ศ. 2043 (ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 หลังสถาปนากรุงศรีอยุธยามาแล้ว 150 ปี) และจะต้องมีการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้หยุดกิจกรรมอย่างสำคัญมาถึงปัจจุบัน เนื่องจากการให้ปริญญาสำหรับการศึกษาขั้นสูงในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นในยุโรปและตะวันออกกลางเป็นส่วนใหญ่ และนิยามมหาวิทยาลัยสมัยใหม่หมายถึงสถานศึกษาที่มีความสามารถในการให้ปริญญา มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีคุณสมบัติตรงนิยามสมัยใหม่ดังกล่าวจึงอยู่ในยุโรปหรือ ตะวันออกใกล้ แต่หากขยายนิยามให้กว้างขึ้นรวมไปถึงมหาวิทยาลัยโบราณที่เดิมไม่ได้มีการให้ปริญญาในขณะนั้นแต่ให้ในปัจจุบันด้วยแล้ว รายชื่อนี้อาจมีมากขึ้นโดยรวมไปถึงสถาบันอื่นๆ ทั้งในยุโรปและส่วนอื่นของโลกอีกหลายมหาวิทยาลัย สุดท้าย แม้ด้วยบทบัญญัติของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในยุโรปก็ยังมีข้อโต้เถียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการกำหนดว่ามหาวิทยาลัยใดกันแน่ที่เป็นมหาวิทยาลัยของแผ่นดินใหญ่ยุโรป มหาวิทยาลัยโบโลญญาที่เกิดก่อน มหาวิทยาลัยปารีสเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งโดยนักศึกษาที่รวมตัวกันหาครูผู้สอน ในขณะที่มหาวิทยาลัยปารีสก่อตั้งโดยคณะผู้สอนแล้วจึงหานักศึกษามาเรียน บางแห่ง (โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยปารีส) ก็ยังพยามยามอ้างว่าตนเองเริ่มต้นด้วยการเป็นมหาวิทยาลัยแท้มาแต่ต้น แต่ก็ยังเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามหาวิทยาลัยโบโลนาตั้งขึ้นก่อนมหาวิทยาลัยปารีส การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่ามีกิจกรรมต่างๆ ในลักษณะของมหาวิทยาลัยได้มีมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 1621 (ก่อนสถาปนากรุงสุโขทัย 170 ปี) ซึ่งหมายความว่ามหาวิทยาลัยแห่งแรกของยุโรปอาจเป็นมหาวิทยาลัยซาลามังกา (University of Salamanca) ซึ่งเก่าแก่มากกว่าทั้งสองมหาวิทยาลัยที่กล่าวมาแล้ว.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และรายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์บอสเนีย

นี่คือ รายพระนามพระมหากษัตริย์บอสเนี.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และรายพระนามพระมหากษัตริย์บอสเนีย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์โปรตุเกส

รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกส พระอิศริยยศเริ่มขึ้นตั้งแต่โปรตุเกสประกาศอิสรภาพจากราชอาณาจักรเลออน ภายใต้การนำของอัลฟอนโซ เฮนริเก ผู้ซึ่งประกาศตั้นตนเป็นกษัตริย์แห่งโปรตุเกสในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และรายพระนามพระมหากษัตริย์โปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามเจ้าผู้ครองราชรัฐลักเซมเบิร์ก

ประเทศลักเซมเบิร์กปกครองโดยเจ้าผู้ครองราชรัฐซึ่งมีฐานันดรศักดิ์เป็นเคานต์ ดยุก และแกรนด์ดยุก ตามลำดับ ในอดีตเป็นรัฐนี้ส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเยอรมนีและจากนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จนกระทั่งได้ปกครองตนเองในปี พ.ศ. 2358.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และรายพระนามเจ้าผู้ครองราชรัฐลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

วัดโพธารามมหาวิหาร

วัดโพธารามมหาวิหาร พระอารามหลวง เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ (เดิมชื่อวัดเจดีย์เจ็ดยอด หรือ วัดเจ็ดยอด) ตั้งอยู่ที่ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 1998 พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์ที่ 11 แห่งราชวงศ์มังราย ทรงสร้างวัดโพธารามมหาวิหาร สร้างด้วยศิลาแลงประดับลวดลายปูนปั้น เป็นเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในปี พ.ศ. 2020 วัดโพธารามมหาวิหาร เป็นสถานที่สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลก ปัจจุบันเจดีย์เจ็ดยอดหักพังไปเกือบหม.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และวัดโพธารามมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธในประเทศไทย

ระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 สมัยเดียวกันกับประเทศศรีลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ 9 สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ทั้ง 7 ประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ตามยุคสมัยต่อไปนี้.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และศาสนาพุทธในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สังคายนาในศาสนาพุทธ

ในศาสนาพุทธ สังคายนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 487-8 (สํคายนา) คือการประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า วางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามศัพท์ "สังคายนา" หมายถึง สวดพร้อมกัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สังคีติ” แปลว่า สวดพร้อมกัน มาจากคำว่า คายนา หรือ คีติ แปลว่า การสวด สํ แปลว่า พร้อมกัน คำนี้มีมูลเหตุมาจากวิธีการสังคายนาพระธรรมวินัย ที่เรียกว่าวิธีการร้อยกรองหรือรวบรวมพระธรรมวินัย หรือประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีวิธีการคือนำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงจำไว้มาแสดงในที่ประชุมพระสงฆ์ จากนั้นให้มีการซักถามกัน จนกระทั่งที่ประชุมลงมติว่าเป็นอย่างนั้นแน่นอน เมื่อได้มติร่วมกันแล้วในเรื่องใด ก็ให้สวดขึ้นพร้อมกัน การสวดพร้อมกันแสดงถึงการลงมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ และเป็นการทรงจำกันไว้เป็นแบบแผนต่อไป.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และสังคายนาในศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโอนิน

สงครามโอนิน (Ōnin War) สงครามกลางเมือง ระหว่าง ค.ศ. 1467 - ค.ศ. 1477 ในช่วง ยุคมุโระมะชิ อันเป็นต้นกำเนิดของ ยุคเซ็งโงะกุ สาเหตุของสงครามครั้งนี้เกิดขึ้นมาจากความขัดแย้งเรื่องทายาททางการเมืองของโชกุน อะชิกะงะ โยะชิมะซะ ระหว่าง โฮะโซะกะวะ คะสึโมะโตะ ผู้ดำรงตำแหน่ง คันเร หรือผู้แทนโชกุนที่สนับสนุน อะชิกะงะ โยะชิมิ น้องชายของโชกุนโยะชิมะซะและ ยะมะนะ โซเซ็น พ่อตาของคะสึโมะโตะที่สนับสนุนบุตรชายคนเดียวของโชกุนโยะชิมะซะคือ อะชิกะงะ โยะชิฮิซะ ทำให้ทั้งสองฝ่ายรวบรวมกองทัพจากแคว้นต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตรเข้าสู้รบจนทำให้ นครหลวงเฮอัง หรือ นครหลวงเคียวโตะ ในปัจจุบันได้รับความเสียหายอย่างหนักประชาชนหลบหนีจากเมืองหลวงทำให้เฮอังกลายสภาพเป็นเมืองร้าง ในปี ค.ศ. 1469 โชกุนโยะชิมะซะตัดสินใจตั้งโยะชิฮิซะบุตรชายเป็นทายาททางการเมือง ถึงแม้โซเซ็นและคะสึโมะโตะจะเสียชีวิตทั้งคู่ในปี ค.ศ. 1473 แต่สงครามก็ยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายยอมสงบศึกเมื่อปี ค.ศ. 1477 หมวดหมู่:ยุคเซงโงะกุ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และสงครามโอนิน · ดูเพิ่มเติม »

อะชิกะงะ โยะชิมะซะ

อะชิกะงะ โยะชิมะซะ โชกุนคนที่ 8 แห่ง ตระกูลอะชิกะงะ ดำรงตำแหน่งช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1449 ถึง ค.ศ. 1473 ในสมัยของโชกุนโยะชิมะซะได้ชื่อว่าเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความเสื่อมถอยของรัฐบาลโชกุนอะชิกะงะจากเหตุการณ์สงครามโอนิง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และอะชิกะงะ โยะชิมะซะ · ดูเพิ่มเติม »

ฮันส์ แม็มลิง

ันส์ แม็มลิง (Hans Memling; ราว ค.ศ. 1430 - 11 สิงหาคม ค.ศ. 1494) เป็นจิตรกรชาวดัตช์คนสำคัญของจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา คริสต์ศตวรรษที่ 15.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และฮันส์ แม็มลิง · ดูเพิ่มเติม »

จอร์โจเน

“ภาพเหมือนตนเอง?” (ราว ค.ศ. 1500-1510) “ลอรา” (ค.ศ. 1506) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์, เวียนนา จอร์โจเน (ภาษาอังกฤษ: Giorgione หรือ Giorgio Barbarelli da Castelfranco) (ราว ค.ศ. 1477 - ค.ศ. 1510) เป็นจิตรกรสมัยศิลปะเรอเนซองส์คนสำคัญของเวนิสในประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 16 มีชื่อเสียงว่าเขียนภาพอย่างมีอรรถรส (elusive poetic quality) ทั้งๆ ที่มีภาพที่เป็นที่ทราบแน่นอนว่าเขียนโดยจอร์โจเนเพียงประมาณ 6 ภาพไม่นับภาพอื่นที่สันนิษฐานว่าเขียนโดยจอร์โจเนด้วย เพราะความที่ไม่ทราบว่าเป็นใครแน่และความหมายของภาพเขียนจึงทำให้งานเขียนของจอร์โจเนเป็นงานที่ยังลึกลับต่อการตีความหมายที่สุดในบรรดางานจิตรกรรมตะวันตก.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และจอร์โจเน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิมักซีมีเลียน(หรือมักซิมิเลียน) ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Maximilian I, Kaiser des Heiligen Römischen Reiches) (เกิด 22 มีนาคม ค.ศ. 1459 - ตาย12 มกราคม ค.ศ. 1519) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1508 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1519 มักซีมีเลียนทรงปกครองร่วมกับพระราชบิดาระหว่างช่วงสิบปีสุดท้ายของรัชสมัยตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1483 พระองค์ทรงขยายอิทธิพลของราชวงศ์ฮับส์บูร์กทั้งในด้านการเสกสมรสและการสงครามWorld Book Encyclopedia, Field Enterprises Educational Corporation, 1976.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และจักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

การแต่งงานของเวอร์จินแมรี” ภาพ “พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (Italian Renaissance painting) คือสมัยประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมที่เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เกิดขึ้นในบริเวณของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นแบ่งการปกครองเป็นอาณาบริเวณต่างๆ จิตรกรในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับราชสำนักหรือสำนัก หรือเมือง แต่ก็มีโอกาสได้ท่องเที่ยวอย่างกว้างไกลไปทั่วอิตาลี และมักจะได้รับฐานะเป็นทูตในการเผยแพร่อิทธิพลความคิดทั้งทางศิลปะและปรัชญา เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและโดยเฉพาะในสาขาจิตรกรรมก็คือเมืองฟลอเรนซ์ที่อ่านประกอบได้ในบทความ “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา”, ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และ “สถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา” จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีแบ่งเป็นสี่สมัย.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ทิเชียน

“ภาพเหมือน” (ราว ค.ศ. 1488) ภาพเหมือนดยุ๊คแห่งเวนิสมาร์คานโตนิโอ เทรวิซานิ (Marcantonio Trevisani) ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่บูดาเพช ประเทศฮังการี เทพดานาเอ” (Danaë) ภาพหนึ่งจากหลายภาพจากตำนานเทพที่ทิเชียนเขียน จ้างโดยพระเจ้าฟิลลิปที่ 2 แห่งสเปนใน ค.ศ. 1554 แม้ว่าไมเคิล แอนเจโลจะติจากมุมมองของการวาดเส้นแต่ทิเชียนก็เขียนภาพนี้อีกหลายภาพให้กับผู้อุปถัมภ์อื่นๆ ทิเซียโน เวเชลลี หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ทิเชียน หรือ ทิชัน (Tiziano Vecelli หรือ Tiziano Vecellio หรือ Titian.) (ค.ศ. 1485 - 27 สิงหาคม ค.ศ. 1576) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีความสำคัญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน ทิเชียนเป็นจิตรกรผู้นำของศิลปะเรอเนซองส์ของตระกูลการเขียนแบบเวนิส ทิเชียนเกิดที่พิเว ดี คาดอเร (Pieve di Cadore) ใกล้เมืองเบลลูโน ในรัฐอาณาจักรเวนิส จึงรู้จักกันในนามว่า “ดา คอเดเร” ตามเมืองเกิดด้วย ทิเชียน เป็นจิตรกรที่มีความสามารถหลายด้าน ผู้เขียนได้ทั้งภาพเหมือนและภาพภูมิทัศน์อันเป็นสองลักษณะที่ทำให้มีชื่อเสียง และการเขียนตำนานเทพ และศิลปะคริสต์ศาสนา ถ้าทิเชียนเสียชีวิตเมื่ออายุได้เพียง 40 ปีก็ยังถือเป็นจิตรกรที่มีอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในสมัยนั้น แต่ทิเชียนก็อยู่ต่อมาอีก 50 ปีในขณะที่เปลี่ยนแปลงวิธีเขียนภาพจากเดิมไปเป็นอย่างมาก นักวิจารณ์บางคนไม่เชื่อว่างานที่สร้างเมื่อสมัยต้นและสมัยปลายของทิเชียนเป็นงานของจิตรกรคนเดียวกัน ลักษณะที่ทำให้ทราบว่าเป็นคนเดียวกันคือความสนใจอย่างลึกซึ้งในการใช้สี งานในสมัยหลังแม้จะไม่ใช้สีสดและเรืองอย่างสมัยแรก แต่ฝีแปรงที่พริ้วที่แฝงให้เห็นความที่จะเป็นสีต่างๆ เพียงเล็กน้อยเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และทิเชียน · ดูเพิ่มเติม »

ซันตามาเรียเดลโปโปโล

ซันตามาเรียเดลโปโปโล (Santa Maria del Popolo) เป็นโบสถ์ออกัสติเนียนที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในกรุงโรม ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของปีอัซซาเดลโปโปโล ซึ่งเป็นจัตุรัสที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงโรม อยู่ระหว่าง Porta Flaminia (หนึ่งในประตูของกำแพง Aurelian และเป็นจุดเริ่มต้นของ Via Flaminia ซึ่งเป็นเส้นทางสู่ Ariminum และเป็นเส้นทางสู่ทิศเหนือที่สำคัญที่สุดของโรมยุคโบราณ) และสวน Pincio ในปี พ.ศ. 1642 สมเด็จพระสันตะปาปาปาสคาลที่ 2 โปรดให้สร้างวิหารเพื่อสักการะแด่พระแม่มารีขึ้นเหนือสุสานของตระกูล Domitia ด้วยเหตุที่ประชาชนชาวโรมได้บริจาคเงินสมทบทุนก่อสร้างวิหาร จึงได้ชื่อว่า เดล โปโปโล (del Popolo: แห่งประชาชน) แต่แหล่งข้อมูลบางแหล่งระบุว่า ชื่อ "โปโปโล" นั้นมีที่มาจากคำในภาษาละตินคำว่า populus ซึ่งหมายถึง ต้นสน (Poplor) และอาจอ้างอิงถึงต้นไม้ที่ยืนต้นอยู่ในบริเวณใกล้เคียงนั้น ต่อมาช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 9 ทรงยกฐานะของวิหารแห่งนี้ให้เป็นโบสถ์ และประทานให้แก่คณะออกัสติเนียน ซึ่งเป็นคณะผู้ดูแลโบสถ์มาจนถึงปัจจุบัน ช่วงปี พ.ศ. 2015-2020 Baccio Pontelli และ Andrea Bregno ได้รับมอบหมายจากสมาคม Lombards of Rome ให้บูรณะโบสถ์ซันตามาเรียเดลโปโปโลขึ้นใหม่ ผลจากการบูรณะครั้งนี้ส่งผลให้โบสถ์แห่งนี้เป็นตัวอย่างสำคัญของสถาปัตยกรรมยุคเรอเนสซองค์แบบอิตาลี ต่อมาในปี พ.ศ. 2198-พ.ศ. 2203 สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 7 โปรดให้จานลอเรนโซ เบร์นินีปรับปรุงส่วนด้านหน้าของโบสถ์ เพื่อปรับเปลี่ยนจากโบสถ์เรอเนสซองค์ให้เป็นโบสถ์แบบบารอคที่มีความทันสมัยมากขึ้น โดมของโบสถ์ซันตามาเรียเดลโปโปโล ภายในโบสถ์เป็นที่ตั้งของวิหาร Cerasi ซึ่งเป็นบริเวณที่เก็บรักษาภาพเขียน 2 ภาพของคาราวัจโจ คือ Cruxifixion of St.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และซันตามาเรียเดลโปโปโล · ดูเพิ่มเติม »

แมรีแห่งเบอร์กันดี

แมรีแห่งเบอร์กันดี หรือ แมรีผู้มั่งคั่ง (Mary of Burgundy หรือ Mary the Rich) (13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1457 - 27 มีนาคม ค.ศ. 1482) แมรีแห่งเบอร์กันดีเป็นบุตรีของชาร์ลส์เดอะโบลด์ ดยุกแห่งเบอร์กันดีและอิซาเบลลาแห่งบูร์บอง และมีบรรดาศักดิ์เป็นดัชเชสแห่งแห่งเบอร์กันดี ระหว่างปี ค.ศ. 1477 จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1482 แมรีเป็นธิดาคนเดียวของชาร์ลส์เดอะโบลด์ซึ่งทำให้มีสิทธิเป็นทายาทของดินแดนเบอร์กันดีอันใหญ่โตในฝรั่งเศสและในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำเมื่อบิดาเสียชีวิตในยุทธการนองซี (Battle of Nancy) เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1477 แม่ของแมรีเสียชีวิตก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 1465 แต่แมรีมีความสัมพันธ์อันดีกับแม่เลี้ยงมาร์กาเร็ตแห่งยอร์คผู้ที่ชาร์ลส์เดอะโบลด์สมรสด้วยในปี ค.ศ. 1468.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และแมรีแห่งเบอร์กันดี · ดูเพิ่มเติม »

แอนน์แห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

แอนน์แห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (Anne de Bretagne; ภาษาเบรตอง: Anna Vreizh;Anne of Brittany) (25 มกราคม ค.ศ. 1477 - 9 มกราคม ค.ศ. 1514) แอนน์แห่งบริตานีเป็นสมเด็จพระราชินีในสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ระหว่างวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1488 ถึงวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1514; ในพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1491 ถึงวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1498 และในพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1499 ถึงวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1514 แอนน์ประสูติเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1477 ที่นองซ์ในฝรั่งเศสเป็นพระธิดาของฟรองซัวส์ที่ 2 ดยุกแห่งบริตานี และมาร์กาเร็ตแห่งฟัวซ์ ดัชเชสแห่งบริตานี (Margaret of Foix) เมื่อพระบิดาเสียชีวิตแอนน์ก็เป็นดัชเชสแห่งบริตานีอย่างเต็มตัว และเป็นเคานเทสแห่งนองซ์, มงท์ฟอร์ต และริชมงท์ และไวท์เคานเทสแห่งลีมอชส์ ซึ่งทำให้ทรงเป็นสตรีผู้มีอำนาจและฐานะมั่งคั่งที่สุดในยุโรป.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และแอนน์แห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

เพดานโบสถ์น้อยซิสทีน

มือของพระเจ้าจรดกับมือของอาดัม เพดานโบสถ์น้อยซิสติน (Sistine Chapel ceiling) เป็นจิตรกรรมฝาผนังบนเพดานของโบสถ์น้อยซิสตินที่เขียนโดยไมเคิล แอนเจโลระหว่าง ค.ศ. 1508 ถึง ค.ศ. 1512 ที่ได้รับการจ้างโดยสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 เป็นงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของยุคทองของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เพดานที่เขียนภาพอยู่ภายในโบสถ์น้อยของพระสันตะปาปาภายในพระราชวังวาติกันที่สร้างขึ้นในระหว่าง ค.ศ. 1477 ถึง ค.ศ. 1480 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 4 ที่กลายมาเป็นชื่อโบสถ์น้อย โบสถ์น้อยเป็นที่ตั้งของห้องประชุมพระสันตะปาปาและสถานที่ที่ใช้ในการทำพิธีทางศาสนาของพระสันตะปาปาShearman 1986, pp. 22-36 ภาพเขียนบนเพดานเป็นส่วนหนึ่งของหัวข้อใหญ่ในการตกแต่งภายในทั้งหมดของโบสถ์น้อยที่รวมทั้งจิตรกรรมฝาผนัง “การตัดสินครั้งสุดท้าย” บนผนังด้านพิธีโดยไมเคิล แอนเจโลเช่นกัน และภาพเขียนอื่น ๆ โดยกลุ่มจิตรกรชั้นนำของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ที่รวมทั้งซานโดร บอตติเชลลี และเปียโตร เปรูจิโน และพรมทอแขวนผนังชุดใหญ่โดยราฟาเอล หัวใจของภาพทั้งหมดสะท้อนปรัชญาของโรมันคาทอลิกShearman 1986b, pp. 38-87O'Malley 1986, pp. 92-148 หัวใจของภาพเขียนบนเพดานเป็นฉากเก้าฉากจากพระธรรมปฐมกาล ในบรรดาเก้าภาพ ๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคือภาพพระเจ้าสร้างอาดัม (Creation of Adam) ที่กลายมาเป็นรูปสัญลักษณ์ที่เป็นที่รู้จักกันดีพอ ๆ กับ “โมนาลิซา” ของเลโอนาร์โด ดา วินชี โดยเฉพาะส่วนที่เป็นนิ้วมือของพระเจ้าที่แทบจะมาจรดกับนิ้วมือของอาดัมที่เป็นภาพที่กลายมาเป็นภาพที่แปลงไปเป็นงานศิลปะในรูปแบบต่าง ๆ มากม.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และเพดานโบสถ์น้อยซิสทีน · ดูเพิ่มเติม »

เคาน์ตีอาร์ตัว

น์ตีอาร์ตัว (graafschap Artesië, Comté d'Artois, County of Artois) เป็นอาณาจักรเคานท์คาโรแล็งเชียงที่ก่อตั้งขึ้นในราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันตก ในสมัยโรมันอาร์ตัวตั้งอยู่ในจังหวัดเบลจิคาและเจอร์มาเนียใต้และเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของเคลต์ จนกระทั่งมาแทนด้วยชนเจอร์มานิคเมื่ออำนาจของจักรวรรดิโรมันเสื่อมลง เคาน์ตีอาร์ตัวตั้งอยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศสปัจจุบันติดกับพรมแดนเบลเยียม มีเนื้อที่ราว 4000 ตารางกิโลเมตรและมีประชากรราวหนึ่งล้านคน เมืองสำคัญก็ได้แก่ อารัส, กาแล, บูลอญ-ซูร์-แมร์, แซ็งตอแมร์ ล็องส์ (Lens) และเบตูน (Béthune) ในปัจจุบันอาร์ตัวตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัดปาดกาแล.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และเคาน์ตีอาร์ตัว · ดูเพิ่มเติม »

เคาน์ตีแอโน

อาณาจักรเคานต์แห่งแอโน (County of Hainaut; Comté de Hainaut; Graafschap Henegouwen) เป็นดินแดนในประวัติศาสตร์ในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำในเครือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ปกครองโดยเคานต์แห่งแอโน อาณาจักรเคานต์แห่งแอโนประกอบด้วยจังหวัดแอโนในเบลเยียมปัจจุบันและทางตอนใต้ของจังหวัดนอร์ของฝรั่งเศส ในสมัยโรมันแอโนตั้งอยู่ในจังหวัดโรมันชื่อแกลเลียเบลจิกาและโลว์เออร์เจอร์เมเนีย และเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนเคลต์จนกระทั่งมาแทนด้วยชนเจอร์มานิคที่เป็นการยุติอำนาจการปกครองของจักรวรรดิโรมัน ในปัจจุบันอาณาจักรเคานต์แห่งแอโนเดิมตั้งอยู่ในเบลเยียมและฝรั่ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และเคาน์ตีแอโน · ดูเพิ่มเติม »

เนเธอร์แลนด์ของเบอร์กันดี

นเธอร์แลนด์ของเบอร์กันดี (Burgundian Netherlands) ในประวัติศาสตร์ของกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ “เนเธอร์แลนด์ของเบอร์กันดี” เป็นสมัยประวัติศาสตร์ในช่วงที่ดยุคแห่งเบอร์กันดีปกครองบริเวณนี้ รวมทั้ง ลักเซมเบิร์ก และทางตอนเหนือของฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 1384 จนถึง ค.ศ. 1530.

ใหม่!!: พ.ศ. 2020และเนเธอร์แลนด์ของเบอร์กันดี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1477

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »