โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 2018

ดัชนี พ.ศ. 2018

ทธศักราช 2018 ใกล้เคียงกั.

25 ความสัมพันธ์: พระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง (แวร์รอกกีโอ)พระแม่มารีแห่งพาร์โตพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนการล่าสัตว์ในป่า (อูเชลโล)การนมัสการของโหราจารย์ (บอตตีเชลลี)ภาพเหมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส (บอตติเชลลี)ภาพเหมือนของชายหนุ่ม (บอตติเชลลี-พิตติ)มีเกลันเจโลรายชื่อธงในประเทศสเปนรายพระนามพระมหากษัตริย์โปรตุเกสรายพระนามพระประมุขทิเบตฮือโค ฟัน เดอร์คุสฌอง เฮย์จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกทะไลลามะทะไลลามะ องค์ที่สองดีร์ก เบาตส์ฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารีปากนรกภูมินักบุญเจอโรมในห้องศึกษา (เมสสินา)แม่พระรับสาร (ดา วินชี)เอ็ดเวิร์ด แพลนทาเจเน็ท เอิร์ลแห่งวอริคที่ 17เซบาสเตียโน แซร์ลิโอเปตรึส คริสตึส

พระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง (แวร์รอกกีโอ)

ูบทความหลักที่ พระเยซูรับศีลจุ่ม พระเยซูรับศีลจุ่ม (The Baptism of Christ) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยอันดรีย เดล เวอร์โรชชิโอและห้องเขียนภาพ เวอร์โรชชิโอเป็นจิตรกรสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี ภาพเขียนปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี เวอร์โรชชิโอเขียนภาพ “พระเยซูรับศีลจุ่ม” เสร็จราวปี ค.ศ. 1475 เป็นภาพที่ได้รับจ้างโดยวัดซานซาลวิในฟลอเรนซ์ และตั้งอยู่ที่วัดจนปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และพระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง (แวร์รอกกีโอ) · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่มารีแห่งพาร์โต

ระแม่มารีแห่งพาร์โต (ภาษาอิตาลี: Madonna del Parto) เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยเปียโร เดลลา ฟรานเชสกา จิตรกรสมัยสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์มาดอนนาเดลพาร์โตที่มอนเตร์ชิในประเทศอิตาลี “พระแม่มารีแห่งพาร์โต” เป็นงานที่เขียนหลังปี ค.ศ. 1457 เปียโรใช้เวลาเขียนเพียงเจ็ดวัน ใช้สีที่มีคุณภาพดีและส่วนใหญ่เป็นสี “blu oltremare” ซึ่งทำจากหินลาพิส ลาซูริ (lapis lazuli) ซึ่งเป็นหินสีน้ำเงินที่มีค่าที่ใช้กันในยุคกลางที่มาจาก ประเทศอัฟกานิสถานผ่านทางสาธารณรัฐเวนิส จิตรกรรมเดิมอยู่บนผนังของวัดซานตามาเรีย ดิ โมเมนตานาซึ่งเป็นวัดเล็กๆ ที่เมืองมอนเตร์ชิบนเขา แต่วัดมาถูกทำลายเมื่อเกิดแผ่นดินไหวในปี ค.ศ. 1785 ซึ่งทำให้ต้องเลาะงานเขียนออกจากผนังและนำไปตั้งเหนือแท่นบูชาเอกภายในชาเปลใหม่ในสุสาน ในปี ค.ศ. 1992 ภาพเขียนก็ถูกย้ายไปตั้งที่พิพิธภัณฑ์มาดอนนาเดลพาร์โตที่มอนเตร์ชิ งานนี้เพิ่งได้รับการยืนยันว่าเป็นงานของเปียโร เดลลา ฟรานเชสกาในปี ค.ศ. 1889 แต่เวลาที่เขียนยังไม่เป็นที่ตกลงกันได้ซึ่งประมาณว่าอาจจะระหว่างปี ค.ศ. 1450 ถึงปี ค.ศ. 1475 จอร์โจ วาซารีจิตรกรและนักประพันธ์จากคริสต์ศตวรรษที่ 16 บ่งว่าเขียนเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1459 เมื่อเปียโตรกลับไปซานเซพอลโครในโอกาสที่แม่เสียชีวิต ภาพเขียนนี้มีบทบาทสำคัญในนวนิยายของริชาร์ด เฮเยอร์ “Visus”, ในภาพยนตร์โดยอันเดร ทาร์คอฟสกี “Nostalghia” และโคลง “ซานเซพอลโคร” โดย โจรี แกรม.

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และพระแม่มารีแห่งพาร์โต · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน

ระเจ้าเฟรนานโดที่ 2, พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอน หรือ พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 5 แห่งคาสตีล (สเปน: Fernando II de Aragón, อังกฤษ: Ferdinand II of Aragon; 10 มีนาคม พ.ศ. 1995 - 23 มกราคม พ.ศ. 2059) เป็นกษัตริย์แห่งอารากอน (พ.ศ. 2022 - พ.ศ. 2059), กษัตริย์แห่งซิชิลี (พ.ศ. 2011 - พ.ศ. 2059) กษัตริย์แห่งเนเปิลส์ (พ.ศ. 2047 - พ.ศ. 2059) กษัตริย์แห่งวาเลนเซีย ซาร์ดิเนีย เคานท์แห่งบาร์เซโลนา, กษัตริย์แห่งคาสตีล (พระสวามีในพระราชินีนาถแห่งคาสตีล) (พ.ศ. 2017 - พ.ศ. 2047) และหลังจากนั้นก็เป็นกษัตริย์อย่างแท้จริงแต่แท้จริงแล้วผู้ที่ได้เป็นกษัตริย์แห่งคาสตีลคือพระธิดาของพระองค์ เจ้าหญิงโจแอนนาผู้วิปล.

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน · ดูเพิ่มเติม »

การล่าสัตว์ในป่า (อูเชลโล)

การล่าสัตว์ในป่า หรือ การล่าสัตว์ยามค่ำ หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า การล่าสัตว์ (The Hunt in the Forest หรือ The Hunt by Night หรือ The Hunt) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยเพาโล อูเชลโลจิตรกรคนสำคัญชาวอิตาลีของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แอชโมเลียน, อ๊อกซฟอร์ดในสหราชอาณาจักร ภาพ “การล่าสัตว์ในป่า” ที่เขียนโดยเพาโล อูเชลโลราวปี ค.ศ. 1470 เป็นภาพแรกๆ ที่เริ่มการใช้การเขียนแบบทัศนมิติของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่เนื้อหาเป็นภาพของผู้ล่าสัตว์, ม้า, สุนัข และ กวาง ที่ค่อยกลืนหายเข้าไปในความมืดของป่าที่ไกลออกไป ภาพนี้เป็นภาพสุดท้ายเท่าที่ทราบที่เขียนโดยอูเชลโลก่อนที่จะมาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1475.

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และการล่าสัตว์ในป่า (อูเชลโล) · ดูเพิ่มเติม »

การนมัสการของโหราจารย์ (บอตตีเชลลี)

การนมัสการของโหราจารย์ (Adoration of the Magi) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยซันโดร บอตตีเชลลี ผู้เป็นจิตรกรคนสำคัญของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่ปัจจุบันอยู่แสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อุฟฟีซีในเมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี หัวเรื่องการนมัสการของโหราจารย์เป็นหัวข้อที่นิยมเขียนกันในสมัยยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี เป็นงานที่กาสปาเร ดิ ซาโนบิ เดล ลามาเป็นผู้จ้าง เดล ลามาเป็นนายธนาคารที่มีเบื้องหลังออกจะลึกลับและมีความเกี่ยวข้องกับตระกูลเมดีชี สำหรับชาเปลส่วนตัวในโบสถ์ซันตามาเรียโนเวลลา (ทำลายไปแล้ว) ภาพนี้ประกอบด้วยบุคคลหลายคนในภาพจากตระกูลเมดีชีที่รวมทั้ง: โกซีโม เด เมดีชี (โหราจารย์ที่คุกเข่าต่อหน้าพระแม่มารีย์ที่บรรยายโดยวาซารีว่า “the finest of all that are now extant for its life and vigour”), ลูกชายสามคนปีเอโร (โหราจารย์คนที่สองที่คุกเข่าตรงกลางสวมเสื้อคลุมแดง) และโจวันนี (โหราจารย์คนที่สาม) และหลานจูเลียโน ดิ เปียโร เดอ เมดิชิ และโลเรนโซ เด เมดีชี เมดีชีสามคนที่เป็นโหราจารย์เสียชีวิตไปแล้วเมื่อบอตตีเชลลีเขียนภาพนี้ และขณะนั้นโลเรนโซเป็นผู้ปกครองฟลอเรนซ์ ในหนังสือ “ชีวิตศิลปิน” จอร์โจ วาซารีบรรยายภาพนี้ว่า: “ความงามของภาพเหมือนของบุคคลต่างๆ ในภาพนี้เกินกว่าที่จะบรรยายได้, แต่ละคนก็ต่างกันออกไป, บางก็ด้านหน้าตรง, บ้างก็เป็นด้านข้าง, บ้างก็เป็นสามส่วน, บ้างก็ก้มลง และท่าทางอื่นๆ ขณะที่ความรู้สึกที่แสดงออกบนใบหน้าทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ก็ต่างกันออกไป ที่เป็นการแสดงความสามารถของจิตรกรผู้มีความเชี่ยวชาญในงานที่สร้าง ซานโดรแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งถึงความแตกต่างของชุดที่มากับกษัตริย์แต่ละองค์ งานชิ้นนี้เป็นงานที่มีคุณค่าทั้งในการใช้สี, การออกแบบ และการวางองค์ประกอบของภาพ” เดล ลามาในภาพเป็นชายสูงอายุที่มีผมขาวสวมเสื้อสีฟ้าอ่อนที่มองมายังผู้สังเกตการณ์และชี้ไปอีกทางหนึ่งด้วยมือขวา นอกจากนั้นกล่าวกันว่าซานโดรเขียนตัวเองในภาพด้วย เป็นชายที่สวมเสื้อเหลืองทางขวาสุดของภาพ รายละเอียดต่างของภาพเช่นเครื่องแต่งกายแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของซานโดรที่ได้รับจากตระกูลการเขียนแบบเฟล็มมิชในช่วงเวลานี้.

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และการนมัสการของโหราจารย์ (บอตตีเชลลี) · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส (บอตติเชลลี)

หมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส (ภาษาอังกฤษ: Portrait of a Man with a Medal of Cosimo the Elder) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิที่ฟลอเร็นซ์ในประเทศอิตาลี ซานโดร บอตติเชลลีเขียนภาพ “ภาพเหมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส” ระหว่างปี ค.ศ. 1474 ถึงปี ค.ศ. 1475 เมื่อบอตติเชลลีเขียนภาพเสร็จก็จะเห็นอิทธิพลของอันโตนิโอ พอลลาอูโล (Antonio Pollaiuolo) ได้อย่างชัดเจนและในการใช้ความอ่อนไหวของเส้นที่ทำให้เห็นความกระวนกระวายของความรู้สึกที่ออกมาจากภาพ ชายที่เป็นแบบไม่ทราบกันว่าเป็นใครแต่เป็นภาพเหมือนที่ไม่เหมือนภาพเหมือนใดในสมัยต้นเรอเนซองส์ ผู้นั่งแบบมองตรงมายังผู้ชมภาพในมือถือเหรียญที่เป็นภาพด้านข้างของโคสิโม เดอ เมดิชิผู้ที่เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1464 บอตติเชลลีทำตัวเหรียญด้วยพลาสเตอร์หล่อปิดทอง ภาพเหมือนเป็นภาพครึ่งตัวที่ฉากหลังเป็นภูมิทัศน์กว้างไกลที่เห็นแม่น้ำอยู่ลิบๆ ที่สว่างซึ่งเป็นลักษณะการเขียนแบบเฟล็มมิช ศีรษะของตัวแบบอยู่เหนือขอบฟ้าโดยมีแสงส่องจากทางด้านซ้ายของภาพทำให้เน้นใบหน้าที่คมคาย เงาเข้มทางด้านข้างของใบหน้าอยู่ใกล้กับผู้ชมภาพ ฝีมือวาดมือที่ไม่ค่อยดีนักแสดงให้เห็นว่ายังเป็นการทดลองเขียนและเป็นภาพเหมือนภาพแรกๆ ของภาพเหมือนที่เขียนในอิตาลีที่รวมการวาดมือในภาพด้วย เหรียญที่ระลึกของโคสิโมสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1465 ถึงปี ค.ศ. 1470 ซึ่งทำให้เกิดการสันนิษฐานกันไปต่างๆ ว่าผู้นั่งเป็นแบบเป็นใครแต่ก็ยังสรุปไม่ได้ว่าจะเป็นญาติสนิทหรือผู้สนับสนุนตระกูลเมดิชิ (ภาพเป็นของงานสะสมชิ้นหนึ่งของคาร์ดินัลคาร์โล เดอ เมดิชิ) หรืออาจจะเป็นน้องชายของบอตติเชลลีผู้เป็นช่างทองและช่างทำเหรียญของตระกูลเมดิชิก็ได้ นักวิชาการบางคนเสนอว่าอาจจะเป็นบอตติเชลลีเองเพราะใบหน้าแบบคล้ายคลึงกับภาพเหมือนตนเองในภาพ “การประสูติของพระเยซู” ที่บาซิลิกาซานตามาเรียโนเวลลาที่ฟลอเรนซ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และภาพเหมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส (บอตติเชลลี) · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนของชายหนุ่ม (บอตติเชลลี-พิตติ)

หมือนของชายหนุ่ม (Portrait of Young Man) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่วังพิตติที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ภาพ “ภาพเหมือนของชายหนุ่ม” ที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีราวระหว่างปี ค.ศ. 1470 ถึงปี ค.ศ. 1475 เป็นภาพที่เดิมมีการถกเถียงกันว่าผู้ใดเป็นผู้เขียนอยู่เป็นเวลานานจนในที่สุดจึงตกลงกันว่าเป็นงานเขียนของบอตติเชลลี ซึ่งเป็นภาพเหมือนภาพแรกของท่าสามส่วนสี่ของศิลปะตะวันตก.

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และภาพเหมือนของชายหนุ่ม (บอตติเชลลี-พิตติ) · ดูเพิ่มเติม »

มีเกลันเจโล

มีเกลันเจโล หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ ไมเคิลแองเจโล มีชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บูโอนาร์โรตี ซีโมนี (Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดัง ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) มีเกลันเจโลเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1475 ที่หมู่บ้านคาปรีส (ปัจจุบันอยู่ในทัสกานี, อิตาลี) เขาเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ หลังจากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโลสร้างประติมากรรมรูปสลัก เดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมัน ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโล เดิมทีเป็นคนที่เกลียดเลโอนาร์โด ดา วินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก ในช่วงนี้ (ค.ศ. 1497 - ค.ศ. 1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี ค.ศ. 1545 ต่อมาในปี ค.ศ. 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะภาพ คำพิพากษาครั้งสุดท้าย (The Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี เสียชีวิตที่กรุงโรม เมื่อปี ค.ศ. 1564 รวมอายุได้ 88 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจากสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของมิเกลันเจโลให้ยืนยาวออกไปอีก".

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และมีเกลันเจโล · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศสเปน

นี้คือธงต่างๆ ที่ใช้ในประเทศสเปน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของธงชาติ ดูที่ ธงชาติสเปน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และรายชื่อธงในประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์โปรตุเกส

รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกส พระอิศริยยศเริ่มขึ้นตั้งแต่โปรตุเกสประกาศอิสรภาพจากราชอาณาจักรเลออน ภายใต้การนำของอัลฟอนโซ เฮนริเก ผู้ซึ่งประกาศตั้นตนเป็นกษัตริย์แห่งโปรตุเกสในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และรายพระนามพระมหากษัตริย์โปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระประมุขทิเบต

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และรายพระนามพระประมุขทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ฮือโค ฟัน เดอร์คุส

ือโค ฟัน เดอร์คุส (Hugo van der Goes; ราว ค.ศ. 1440 - ราว ค.ศ. 1482) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (เรอแนซ็องส์) ของตระกูลการเขียนภาพแบบเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 เขาเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมันและบานพับภาพ ฮือโค ฟัน เดอร์คุสเกิดเมื่อราว ค.ศ. 1440 ที่เมืองเกนต์ เสียชีวิตที่ใกล้เมืองบรัสเซลส์เมื่อราว ค.ศ. 1482 ฮือโคเป็นสมาชิกของสมาคมช่างเขียนแห่งเกนต์ในฐานะมาสเตอร์ในปี ค.ศ. 1467 ในปี ค.ศ. 1468 ฮือโคก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตกแต่งเมืองบรูชเพื่อเตรียมการฉลองการเสกสมรสระหว่างชาร์ลพระเศียรล้าน ดุ๊กแห่งเบอร์กันดี (Charles the Bold) กับมาร์กาเรตแห่งยอร์ก (Margaret of York) และเป็นผู้ตกแต่งตราประจำพระองค์สำหรับขบวนการเสด็จเข้าเมืองเกนต์ของพระเจ้าชาร์ลในปี ค.ศ. 1469 และต่อมาในปี ค.ศ. 1472 ฮือโคก็ได้รับเลือกให้เป็นอธิการของสมาคมในปี ค.ศ. 1473 หรือปี ค.ศ. 1474 ในปี ค.ศ. 1475 หรือหลายปีต่อมา ฮือโคก็บวชเป็นพระที่สำนักสงฆ์โรดโกลสเตอร์ (Rood Klooster) ไม่ไกลจากบรัสเซลส์ที่เป็นของนิกายวินเดิสไฮม์ (Windesheim Congregation) และยังคงทำงานจิตรกรรมต่อจนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1482 หรือในปี ค.ศ. 1483 ในปี ค.ศ. 1480 ฮือโคถูกเรียกตัวไปเมืองเลอเฟินเพื่อไปเขียน "Justice Scenes" ที่ดีร์ก เบาตส์ เขียนค้างไว้ก่อนที่จะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1475 หลังจากนั้นไม่นานขณะที่ฮือโคเดินทางกลับจากโคโลญกับพระในสำนักก็เกิดความรู้สึกอยากจะฆ่าตัวตายและประกาศตัวเองว่าเป็นผู้ที่ถูกแช่ง แต่เมื่อกลับมาถึงโรดโกลสเตอร์ ฮือโคก็หายและเสียชีวิตที่นั่น ระยะเวลาที่พำนักที่สำนักสงฆ์ถูกบันทึกโดยคัสปาร์ โอฟเฮยส์ (Gaspar Ofhuys) นักบวชอีกองค์หนึ่ง รายงานโดยแพทย์ชาวเยอรมันฮีเยโรนือมุส มึนเซอร์ (Hieronymus Münzer) ในปี ค.ศ. 1495 ทีกล่าวถึงจิตรกรชาวเกนต์ตกอยู่ในอารมณ์เศร้าเพราะความกดดันที่จะเขียนภาพให้ดีเท่าฉากแท่นบูชาเกนต์ อาจจะหมายถึงฮือโค งานเขียนชิ้นที่สำคัญที่สุดที่ยังเหลืออยู่คือฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี (หอศิลป์อุฟฟีซี เมืองฟลอเรนซ์) ที่เป็นงานที่จ้างสำหรับวัดซานเอจีดีโอในโรงพยาบาลของวัดซานตามารีอานูโอวาในฟลอเรนซ์ โดยตอมมาโซ ปอร์ตีนารี (Tommaso Portinari) ผู้จัดการสาขาบรูชของธนาคารเมดีชี ฉากแท่นบูชามาถึงฟลอเรนซ์ในปี ค.ศ. 1483 หลายปีหลังจากที่ฮือโคเขียนเสร็จ เป็นงานที่ชื่นชมกันในฟลอเรนซ์ จอร์โจ วาซารีในหนังสือ "ชีวิตศิลปิน" ของปี ค.ศ. 1550 เรียกฮือโคว่า "Ugo d'Anversa" (ฮือโคแห่งแอนต์เวิร์ป) ซึ่งเป็นหลักฐานเดียวที่ยืนยันว่าฮือโคเป็นผู้เขียนภาพ งานชิ้นอื่นใช้การวิจัยลักษณะการเขียนโดยการเปรียบเทียบกับฉากแท่นบูชานี้ในการบ่งว่าฮือโคเป็นผู้วาด ดูเหมือนว่าฮือโคจะทิ้งงานร่างไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะใช้โดยผู้นิยมในการสร้างงานเขียนที่ฮือโคไม่ได้วาดด้วยตนเอง ร่างภาพ "เจค็อบและเรเชล" อยู่ที่ไครสต์เชิร์ช เชื่อเป็นงานที่ลงชื่อในจำนวนไม่กี่ชิ้นที่เหลืออยู.

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และฮือโค ฟัน เดอร์คุส · ดูเพิ่มเติม »

ฌอง เฮย์

อง เฮย์ (ภาษาอังกฤษ: Jean Hey หรือ Jean Hay) (ราว ค.ศ. 1475 - ราว ค.ศ. 1505) เป็นจิตรกรที่เดิมรู้จักกันในนามว่า “มาสเตอร์แห่งมูแลงส์” เฮย์เป็นจิตรกรชาวเนเธอร์แลนด์ของยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพศิลปะคริสต์ศาสนา และจิตรกรรมหนังสือวิจิตร ฌอง เฮย์ทำงานในฝรั่งเศสและในอาณาบริเวณของดยุคแห่งเบอร์กันดีและมีส่วนเกี่ยวข้องกับดยุคแห่งบูร์บอง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และฌอง เฮย์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

การแต่งงานของเวอร์จินแมรี” ภาพ “พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (Italian Renaissance painting) คือสมัยประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมที่เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เกิดขึ้นในบริเวณของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นแบ่งการปกครองเป็นอาณาบริเวณต่างๆ จิตรกรในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับราชสำนักหรือสำนัก หรือเมือง แต่ก็มีโอกาสได้ท่องเที่ยวอย่างกว้างไกลไปทั่วอิตาลี และมักจะได้รับฐานะเป็นทูตในการเผยแพร่อิทธิพลความคิดทั้งทางศิลปะและปรัชญา เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและโดยเฉพาะในสาขาจิตรกรรมก็คือเมืองฟลอเรนซ์ที่อ่านประกอบได้ในบทความ “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา”, ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และ “สถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา” จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีแบ่งเป็นสี่สมัย.

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก

ตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก (Early Netherlandish painting) เป็นงานจิตรกรรมของจิตรกรในบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ของสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาตอนเหนือโดยเฉพาะในบริเวณเมืองบรูชและเกนต์ ที่เริ่มในช่วงเวลาเดียวกับที่ยัน ฟัน ไอก์ เริ่มอาชีพเป็นจิตรกร ฟัน ไอก์มีชื่อเสียงจนกระทั่งได้รับชื่อว่าเป็นจิตรกรอะเพลลีสคนใหม่ของยุโรปตอนเหนือ เรื่อยมาจนถึงภาพเขียนโดยกาเริล ฟัน มันเดอร์ (Karel van Mander) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาจบลงด้วยเคราร์ด ดาฟิด ราว ค.ศ. 1520 ยุคนี้เป็นช่วงเวลาไล่เลี่ยกับสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีตอนต้นและตอนสูง แต่เป็นขบวนการศิลปะที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ต่างจากลัทธิมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ที่รุ่งเรืองในเวลาเดียวกันในตอนกลางของอิตาลีJanson, H.W. Janson's History of Art: Western Tradition.

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก · ดูเพิ่มเติม »

ทะไลลามะ

ทะไลลามะ (ทิเบต: ཏཱ་ལའི་བླ་མ་, taa la’i bla ma, จีนตัวเต็ม: 達賴喇嘛; จีนตัวย่อ: 达赖喇嘛; พินอิน: Dálài Lǎmā) เป็นตำแหน่งประมุขหัวหน้าคณะสงฆ์ในพุทธศาสนานิกายมหายานแบบทิเบตเกลุก (นิกายหมวกเหลือง) เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณสูงสุดของชาวทิเบต ทะไลลามะ มาจากภาษามองโกเลีย dalai แปลว่า มหาสมุทร และภาษาทิเบต བླ་མ ་bla-ma แปลว่า พระชั้นสูง (ทะไลลามะ บางครั้งหรือนิยมออกเสียว่า ดาไลลามะ) ตามประวัติศาสตร์ของทิเบต เชื่อว่าองค์ทะไลลามะเป็นอวตารในร่างมนุษย์ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และเมื่อองค์ทะไลลามะองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ไป จะกลับชาติมาประสูติใหม่เป็นองค์ทะไลลามะองค์ต่อไป โดยเรทิงรินโปเช ซึ่งเป็นพระสงฆ์ระดับรองลงมาจะเป็นผู้ใช้นิมิตสรรหาเด็กคนที่เชื่อว่าเป็นทะไลลามะกลับชาติมาเกิด ปัจจุบัน ดาไลลามะ เป็นองค์ที่ 14 ชื่อ เทนซิน เกียตโซ(Tenzin Gyatso)..

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และทะไลลามะ · ดูเพิ่มเติม »

ทะไลลามะ องค์ที่สอง

ทะไลลามะ องค์ที่สอง (ทิเบต: དགེ་འདུན་རྒྱ་མཚོ།, ไวลี: DGE-'dun rgya-mtsho "ผู้มีจิตวิญญาณมหาสมุทรรุ่งโรจน์ประเสริฐของ อัสปีรันส์ " layname: Yonten Phuntsok) (2018 – 2084) เป็นองค์ทะไลลามะองค์ที่สอง แม้ว่าพระองค์จะไม่เป็นที่รู้จักโดยใช้พระนามว่าในช่วงพระชนม์ของพระองค์ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2018 หมวดหมู่:ทะไลลามะ หมวดหมู่:ชาวทิเบต.

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และทะไลลามะ องค์ที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ดีร์ก เบาตส์

ีร์ก เบาตส์ (Dirk Bouts; ราว ค.ศ. 1410/ค.ศ. 1420 - ค.ศ. 1475) เป็นจิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกของประเทศเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมันและการเขียนบานพับภาพ จากหนังสือ Het Schilderboeck (ค.ศ. 1604) โดยกาเริล ฟัน มันเดอร์ (Karel van Mander) เบาตส์เกิดที่เมืองฮาร์เลมและทำงานส่วนใหญ่ที่เมืองเลอเฟิน มันเดอร์เขียนชีวประวัติของจิตรกรสองคน "ดีร์กแห่งฮาร์เลม" และ "ดีร์กแห่งเลอเฟิน" ซึ่งเป็นคนคนเดียวกัน ชีวิตเบื้องต้นไม่มีหลักฐานเท่าใดนัก แต่ดีร์ก เบาตส์ได้รับอิทธิพลจากยัน ฟัน ไอก์ และโรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน ซึ่งอาจจะเป็นผู้ที่ดีร์กศึกษาด้วย หลักฐานครั้งแรกเกี่ยวกับดีร์กพบครั้งแรกที่เลอเฟินเมื่อปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และดีร์ก เบาตส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี

ฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี (Portinari-triptiek; Trittico Portinari; Portinari Altarpiece) เป็นบานพับภาพที่เขียนโดยฮือโค ฟัน เดอร์คุส จิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวดัตช์ของตระกูลการเขียนภาพแบบเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟีซี เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ฟัน เดอร์คุสเขียนภาพ "ฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี" ราวปี ค.ศ. 1475 เป็นภาพการชื่นชมของคนเลี้ยงแกะ เป็นงานที่ได้รับจ้างสำหรับวัดโรงพยาบาลซานตามารีอานูโอวาในฟลอเรนซ์โดยนายธนาคารชาวอิตาลี ตอมมาโซ ปอร์ตีนารี ที่พำนักอยู่ที่เมืองบรูชเป็นเวลากว่าสี่สิบปีในฐานะผู้แทนของธนาคารเมดีชีของตระกูลเมดีชี ปอร์ตีนารีเองปรากฏในแผงซ้ายของฉากแท่นบูชากับลูกชายสองคน คือ อันโตนีโอและปีเจลโล ส่วนมารีอา ดี ฟรันเชสโก บารอนเชลลี (ภรรยา) กับมาร์การีตา (ลูกสาว) อยู่บนแผงขวา ทุกคนในภาพมีนักบุญผู้พิทักษ์ของแต่ละคน (ยกเว้นปีเจลโล) กล่าวคือ บนแผงซ้ายเป็นนักบุญทอมัสอัครสาวกถือหอกและนักบุญแอนโทนีอธิการถือกระดิ่ง บนแผงซ้ายนักบุญมารีย์ชาวมักดาลาถือผอบน้ำมันหอม และนักบุญมาร์กาเรตแห่งแอนติออกถือหนังสือและมีมังกรที่เท้า แผงกลางประกอบด้วยคนเลี้ยงแกะสามคนคุกเข่าทำความเคารพพระบุตร ฟัน เดอร์คุสเขียนฉากบ้าน ๆ อย่างเป็นจริงเป็นจังและได้บรรยากาศ นอกจากนั้นในภาพก็มีเทวดาที่ลอยอยู่เหนือและที่คุกเข่ารอบพระแม่มารีและพระบุตรผู้ที่มิได้นอนในกองฟางแต่นอนอยู่กลางลานโดยมีรัศมีรอบ การเขียนที่มีลักษณะแปลกเช่นนี้อาจจะเขียนตามทิพยทัศน์ของนักบุญบริจิตแห่งสวีเดนก่อนที่จะเสียชีวิตที่บรรยายถึงการเห็นแสงสว่างส่องออกมาจากร่างของพระบุตร แจกันดอกไม้ ในฉากหลัง ฟัน เดอร์คุสเขียนฉากที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลัก กล่าวคือ บนแผงซ้ายฉากหลังเป็นภาพนักบุญโจเซฟพาพระแม่มารีผู้ทรงครรภ์เดินทางหนีไปอียิปต์; แผงกลางทางด้านขวาเป็นภาพเทวดาที่ประกาศข่าวการกำเนิดของพระเยซูแก่คนเลี้ยงแกะ และแผงขวาเป็นภาพการเดินทางของแมไจสามคนมายังเบทเลเฮม ด้านหน้าของภาพเป็นภาพนิ่งขนาดเล็กของแจกันดอกไม้สองแจกันและข้าวสาลีกำมือหนึ่ง (ซึ่งหมายถึงเบทเลเฮม "เมืองแห่งขนมปัง") ที่อาจจะเป็นนัยถึงศีลมหาสนิทหรือทุกขกิริยาของพระเยซู กำข้าวสาลีอาจจะหมายถึงพระกระยาหารมื้อสุดท้าย ที่พระเยซูแบ่งขนมปังกับอัครสาวก ดอกลิลลีสีส้มในแจกันเป็นสัญลักษณ์ของทุกขกิริยาของพระเยซูที่จะมาถึง ดอกไอริสสีขาวเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ขณะที่ดอกไอริสสีม่วงและก้านดอกแอควิลีเจีย (Aquilegia caerulea) เป็นสัญลักษณ์ของความเศร้าเจ็ดอย่างของพระแม่มารี (Seven sorrows of the Virgin) ฉะนั้นภาพการกำเนิดนี้จึงเป็นภาพที่เป็นเหตุการณ์ที่จะนำมาซึ่งความตายของพระเยซูในที่สุด เมื่องานชิ้นนี้ไปถึงฟลอเรนซ์ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี · ดูเพิ่มเติม »

ปากนรกภูมิ

ปากนรกภูมิ (Hellmouth หรือ Mouth of Hell) คือทางเข้าสู่ขุมนรกที่เป็นภาพปากที่อ้ากว้างของยักษาตัวใหญ่ ซึ่งเป็นภาพพจน์ที่เริ่มเขียนกันขึ้นเป็นครั้งแรกในศิลปะแองโกล-แซ็กซอน และต่อมาก็เผยแพร่ไปทั่วยุโรป และเป็นภาพที่นิยมวาดเป็นองค์ประกอบของภาพ “การตัดสินครั้งสุดท้าย” และ “ลงสู่ขุมนรก” (Harrowing of Hell) จนกระทั่งมาถึงปลายยุคกลาง และบางครั้งก็เลยมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและหลังจากนั้น การเขียน “ปากนรกภูมิ” มาฟื้นฟูกันอีกครั้งในภาพพิมพ์สมัยนิยม (Popular print) หลังการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ เมื่อรูปลักษณ์ของผู้ที่เป็นศัตรูจะเป็นผู้ที่กำลังจะถูกกลืนหายเข้าไปในปาก งานชิ้นสำคัญในสมัยหลังเป็นงานเขียนสองชิ้นของเอลเกรโกที่เขียนราวปี ค.ศ. 1578 หรือการ์ตูนล้อการเมืองที่เป็นภาพของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 นำหน้ากองทัพไปสู่ความหายนะในปากนรก การละครของยุคกลางมักจะใช้ปากนรกภูมิเป็นฉาก หรือ เครื่องชัก เพื่อที่จะสร้างความหวั่นกลัวให้แก่ผู้ชม ในการสร้างภาพพจน์อันสยดสยองของทางเข้าสู่ขุมนรก ลักษณะที่สร้างก็มักจะเป็นทางเข้าปราสาทโบราณที่มีเชิงเทิน โดยเพราะเมื่อต้องการที่จะเปรียบเทียบกับสวรรค์ งานชิ้นโบราณที่สุดของปากนรกภูมิที่เป็นปากสัตว์เท่าที่ทราบโดยนักประวัติศาสตร์ศิลป์ชาวอเมริกันเมเยอร์ ชาพิโรเป็นงานสลักงาช้างที่สลักขึ้นราว ค.ศ. 800 (พิพิธภัณฑ์วิคตอเรียและอัลเบิร์ต, ลอนดอน) ชาพิโรกล่าวว่างานส่วนใหญ่ที่สร้างก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นงานที่ทำในอังกฤษ ชาพิโรสันนิษฐานว่ารูปลักษณ์ดังกล่าวอาจจะมาจากตำนานปรัมปรา “แครคเดอะดูม” ของเพกัน ที่เป็นปากของหมาป่ายักษ์เฟนเรียร์ ผู้ถูกสังหารโดยวิดาร์ ผู้ใช้สัญลักษณ์ของไครสต์บนกางเขนกอสฟอร์ธ และจากงานศิลปะแองโกล-สแกนดิเนเวียชิ้นอื่นๆ ในการผสานกลืนเข้ากับไวกิงที่ถือคริสต์ศาสนาของประชาชนทางตอนเหนือของอังกฤษ สถาบันศาสนาก็ดูเหมือนพร้อมที่จะยอมรับรูปสัญลักษณ์ที่ใช้ในประเพณีนิยมของท้องถิ่นเข้ามาผสานกับรูปสัญลักษณ์ที่ใช้ในคริสต์ศาสนาโดยมิได้ทำการขัดขวาง เช่นในการใช้หินสลักสำหรับที่หมายหลุมศพแบบไวกิงเป็นต้น ที่กล่าวถึงในวรรณกรรม “เบวูล์ฟ” ในหนังสือแองโกล-แซ็กซอน “Vercelli Homilies” (4:46-8) กล่าวถึงความเกี่ยวข้องระหว่างซาตานกับมังกรที่กลืนผู้ที่ชั่วร้าย: “...

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และปากนรกภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญเจอโรมในห้องศึกษา (เมสสินา)

นักบุญเจอโรมในห้องศึกษา (St.) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยอันโตเนลโล ดา เมสสินาจิตรกรคนสำคัญสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอนในอังกฤษ อันโตเนลโล ดา เมสสินาเขียนภาพ “นักบุญเจอโรมในห้องศึกษา” ระหว่างปี ค.ศ. 1474 ถึงปี ค.ศ. 1475 ระหว่างที่ไปพำนักอยู่ในเวนิสที่อาจจะเป็นภาพของอันโตนิโอ พาสคาลิโน left ภาพนี้เป็นภาพเขียนที่มีขนาดเล็กเป็นภาพของนักบุญเจอโรมกำลังทำงานอยู่ในห้องที่ไม่มีผนังและเพดานก็ดูจะมีลักษณะของประตูชัยซึ่งอาจจะเป็นลักษณะของคริสต์ศาสนสถานแบบอารากอน ภาพนี้ก็เช่นเดียวกับภาพอื่นของเมสสินาที่เต็มไปด้วยรายละเอียดที่คล้ายกับศิลปะเฟล็มมิชที่รวมทั้งหนังสือ สัตว์ สิ่งของที่เขียนอย่างละเอียดและตรงตามความจริงที่เห็นได้ด้วยการมองด้วยตา (optical truth) แสงในภาพนี้ตัดกันพอดีตรงส่วนบนและมือของนักบุญ สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือภูมิทัศน์เมดิเตอเรเนียนนอกหน้าต่างสองด้านของห้อง สัตว์ในภาพก็มี ไก่ฟ้าและนกยูงตรงด้านหน้าของภาพ และแมวและสิงห์โตในเงาด้านขวาของ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และนักบุญเจอโรมในห้องศึกษา (เมสสินา) · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระรับสาร (ดา วินชี)

ูบทความหลักที่ แม่พระรับสาร แม่พระรับสาร (ภาษาอังกฤษ: Annunciation) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี เลโอนาร์โดเขียนภาพ “แม่พระรับสาร” ระหว่างปี ค.ศ. 1472 ถึงปี ค.ศ. 1475 เป็นภาพเหตุการณ์เทวดาเกเบรียลต่อพระแม่มารีย์ว่าจะทรงให้กำเนิดแก่พระเยซู เป็นฉากที่ดา วินชีตั้งในลานในสวนในวิลลาที่ฟลอเรนซ์ เทวดาถือดอกลิลลิ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ของพระแม่มารี กล่าวกันว่าปีกที่วาดดาวิชิวาดจากปีกของนกที่กำลังบิน แต่ปีกถูกวาดให้ยาวขึ้นโดยจิตรกรรุ่นต่อมา เมื่อหอศิลป์อุฟฟิซิได้ภาพมาในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และแม่พระรับสาร (ดา วินชี) · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดเวิร์ด แพลนทาเจเน็ท เอิร์ลแห่งวอริคที่ 17

อ็ดเวิร์ด แพลนทาเจเน็ท เอิร์ลแห่งวอริคที่ 17 (Edward Plantagenet, 17th Earl of Warwick) (25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1475 - 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1499) เอ็ดเวิร์ดเป็นบุตรของจอร์จ แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งแคลเรนซ์ที่ 1 และอิสซาเบลลา แพลนทาเจเน็ท ดัชเชสแห่งแคลเรนซ์ และเป็นผู้อาจจะมีสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษทั้งในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 และ สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7.

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และเอ็ดเวิร์ด แพลนทาเจเน็ท เอิร์ลแห่งวอริคที่ 17 · ดูเพิ่มเติม »

เซบาสเตียโน แซร์ลิโอ

ซบาสเตียโน แซร์ลิโอ (Sebastiano Serlio) (6 กันยายน ค.ศ. 1475 - ราว ค.ศ. 1554) เป็นสถาปนิกของยุคแมนเนอริสม์ชาวอิตาลีของคริสต์ศตวรรษที่ 16 งานชิ้นสำคัญของชาญเซบาสเตียโน แซร์ลิโอก็ได้แก่การเป็นผู้นำทีมงานอิตาลีในการสร้างพระราชวังฟงแตนโบลในฝรั่งเศส แซร์ลิโอมีส่วนในการวางรากฐานของลำดับสถาปัตยกรรมคลาสสิกในศาสตรนิพนธ์ “I sette libri dell'architettura” หรือ “Tutte l'opere d'architettura et prospettiva”.

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และเซบาสเตียโน แซร์ลิโอ · ดูเพิ่มเติม »

เปตรึส คริสตึส

ปตรึส คริสตึส (Petrus Christus; ราว ค.ศ. 1410/ค.ศ. 1420 - ราว ค.ศ. 1475/ค.ศ. 1476) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมสีน้ำมันในหัวข้อที่เกี่ยวกับศิลปะคริสเตียนและการเขียนภาพเหมือน เปตรึส คริสตึสเกิดเมื่อราวระหว่างปีค.ศ. 1410-ค.ศ. 1420 ที่เมืองบาร์เลอ-แฮร์โตค (Baarle-Hertog) ใกล้กับแอนต์เวิร์ปในประเทศเบลเยียมปัจจุบัน คริสตึสทำงานส่วนใหญ่ที่บรูชตั้งแต่ปี ค.ศ. 1444 เป็นที่เชื่อกันมานานแล้วว่าคริสตึสเป็นลูกศิษย์และทำงานต่อจากยัน ฟัน ไอก์ งานบางชิ้นก็สับสนกันว่าเป็นงานของฟัน ไอก์ เมื่อฟัน ไอก์เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1441 คริสตึสก็รับช่วงทำโรงฝึกงานต่อและซื้อสัญชาติในปี ค.ศ. 1444 สามปีหลังจากที่ฟัน ไอก์เสียชีวิต อันที่จริงแล้วคริสตึสก็ควรจะได้สัญชาติหลังจากที่ทำงานในโรงฝึกงานของฟัน ไอก์ มาได้หนึ่งปีและหนึ่งวันตามธรรมเนียม หรืออาจจะว่าได้ว่าแม้ว่าจะเป็นผู้รับช่วงต่อในการเขียนภาพแบบบรูช แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นลูกศิษย์ และอันที่จริงแล้วจากการค้นคว้าเมื่อไม่นานมานี้พบว่าคริสตึสเป็นจิตรกรอิสระที่มีผลงานที่แสดงว่ามีอิทธิพลจากศิลปินหลายคนรวมทั้งดีร์ก เบาตส์, โรเบิร์ต กัมปิน และโรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2018และเปตรึส คริสตึส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1475

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »