โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 1977

ดัชนี พ.ศ. 1977

ทธศักราช 1977 ใกล้เคียงกั.

10 ความสัมพันธ์: พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระเจ้าววาดือสวัฟที่ 2 ยากีลโลแห่งโปแลนด์การสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน (ฟราอันเจลีโก)ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนียุคมุโระมะชิรายพระนามพระมหากษัตริย์ลาวอะชิกะงะ โยะชิโนะริอาสนวิหารน็องต์23 กันยายน

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

ระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนเนไฟรต์สีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ ตำบลเวียง เมืองเชียงราย (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว เชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย) ในปี พ.ศ. 1977 (หรือ ค.ศ. 1434) ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์ หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้ จึงเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่ไปทางลำปางหากช้างนั้นมีพระแก้วมรกตอยู่บนหลังช้าง เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราช ได้เชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จกลับหลวงพระบาง ก็เชิญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์ เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาเวียงจันทน์ก็เชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางได้คืนให้แก่ลาว.

ใหม่!!: พ.ศ. 1977และพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าววาดือสวัฟที่ 2 ยากีลโลแห่งโปแลนด์

กลา หรือ พระเจ้าววาดือสวัฟที่ 2 ยากีลโลแห่งโปแลนด์He is known under a number of names: Jogaila Algirdaitis; Władysław II Jagiełło; Jahajła (Ягайла) (Jogaila) (ราว ค.ศ. 1362 – 1 มิถุนายน ค.ศ. 1434) โยไกลาเป็นแกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนียและต่อมาพระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์ โยไกลาปกครองลิทัวเนียตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 1977และพระเจ้าววาดือสวัฟที่ 2 ยากีลโลแห่งโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

การสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์

การสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์เป็นวิธีการประหารพระราชวงศ์ไทยโดยการใช้ท่อนจันทน์เป็นอุปกรณ์ วิธีการดังกล่าวไม่มีการปฏิบัติอีกต่อมาตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้เลิกเสียอย่างเป็นทางการตั้งแต่มีการประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร..

ใหม่!!: พ.ศ. 1977และการสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ · ดูเพิ่มเติม »

การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน (ฟราอันเจลีโก)

ูบทความหลักที่ ชะลอร่างจากกางเขน ชะลอร่างจากกางเขน (ภาษาอังกฤษ: Deposition of Christ) เป็นจิตรกรรมที่มาจากฉากชะลอร่างจากกางเขนจากฉากชุดชีวิตของพระเยซูที่เขียนโดยฟราอันเจลิโคผู้เป็นจิตรกรสมัยสมัยเรอเนซองส์ตอนต้นคนสำคัญชาวอิตาลี “ชะลอร่างจากกางเขน” เป็นงานที่เขียนระหว่างปี ค.ศ. 1432 ถึงปี ค.ศ. 1434 ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ซานมาร์โคที่ฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี จอร์โจ วาซารีบรรยายว่าเป็นภาพที่ “เขียนโดยนักบุญหรือเทวดา” ฟราอันเจลิโคเขียนภาพนี้ต่อจากลอเร็นโซ โมนาโค (Lorenzo Monaco) ที่เริ่มไว้ก่อนหน้านั้นสำหรับชาเปลสตรอซซิ (Strozzi Chapel) ในวัดซานตาทรินิตา เป็นภาพของการประคองร่างของพระเยซูลงจากกางเขนโดยมีนักบุญแมรี แม็กดาเลนคุกเข่าโศรกเศร้าอยู่ข้างล่างทางด้านซ้ายของภาพ และทางด้านขวามีชายสวมหมวกแดงใส่เสื้อยาวขาวยืนถือตาปูและมงกุฏหนามอยู่ในมือที่เป็นสัญลักษณ์ของทุกขกิริยาและความเสียสละ พระแม่มารีสรวมเสื้อสีเข้มในท่าสำรวมอยู่ข้างหลังนักบุญแมรี แม็กดาเลน.

ใหม่!!: พ.ศ. 1977และการอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน (ฟราอันเจลีโก) · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี

หมือนอาร์นอลฟีนี (Arnolfini Portrait), การแต่งงานของอาร์นอลฟีนี (The Arnolfini Wedding) หรือ ภาพเหมือนของโจวันนี อาร์นอลฟีนี และภรรยา (Portret van Giovanni Arnolfini en zijn vrouw; Portrait of Giovanni Arnolfini and his Wife) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันบนไม้โอ๊กที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ จิตรกรเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ยัน ฟัน ไอก์เขียนภาพ "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" ในปี ค.ศ. 1434 เป็นภาพที่เชื่อกันว่าเป็นภาพเหมือนของโจวันนี อาร์นอลฟีนี (Giovanni Arnolfini) พ่อค้าจากเมืองลุกกาในอิตาลีและภรรยาในห้องที่อาจจะเป็นที่บ้านที่พำนักอยู่ในเมืองบรูชในฟลานเดอส์ เป็นภาพที่ถือกันว่าเป็นภาพที่มีความเป็นต้นตอและความซับซ้อนมากที่สุดภาพหนึ่งของจิตรกรรมตะวันตก ฟัน ไอก์ลงชื่อและวันที่ว่าวาดในปี ค.ศ. 1434 ต่อมาหอศิลป์แห่งชาติแห่งลอนดอนซื้อภาพเขียนนี้ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 1977และภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี · ดูเพิ่มเติม »

ยุคมุโระมะชิ

มุโระมะชิ ตรงกับค.ศ. 1336 - ค.ศ. 1568 ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 14 อะชิคะงะ โยะชิมิสึ ได้ปราบปรามชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบ และตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นอีกครั้งที่ เคียวโตะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนนี้ได้ปกครองญี่ปุ่นต่อมาเป็นเวลานานถึงสองศตวรรษเศษอันเป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมของชนชั้นนักรบก็ได้กลืนวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลโชกุนของตระกูลอะชิคะงะ เกิดจากการรวมตัวของขุนศึกสำคัญ ๆ ตามหัวเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จึงเป็นธรรมดาที่การรวบอำนาจให้รัฐบาลมีเสถียรภาพนั้นเป็นไปได้อย่างลำบาก ดังนั้นในครึ่งหลังศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ขุนศึกตามหัวเมืองต่าง ๆ จึงเริ่มทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน จนทั้งประเทศญี่ปุ่นตกเข้าสู่ยุคสงคราม ภายในยุคนี้เป็นยุคที่ชนชั้นนักรบมีอำนาจเหนือเกษตรกรและมีกรรมสิทธิเหนือที่ดินจึงเป็นการปกครองระบบศักดินาโดยสมบูรณ์ ด้านเศรษฐกิจก็เจริญรุ่งเรืองมาก เนื่องจากทำการค้ากับจีนสมัยหมิงด้านวัฒนธรรม ลัทธิเซนเป็นส่วนเพิ่มเติมให้กับวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองและชนชั้นนักรบ ซึ่งเห็นรูปแบบได้จากตำหนักทอง (Kinkaku) ในปลายศตวรรษที่ 14 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมคิตะยะมะ (Kitayama) และตำหนักเงิน (Ginkaku) ในปลายศตวรรษที่ 15 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมฮิงะชิยะมะ (Higashiyama) การละคร อย่างเช่น โน เคียวเง็น และการต่อเพลง ก็เริ่มแพร่หลายสู่ประชาชนภายนอก ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น อย่างเช่น พิธีชงชา การจัดดอกไม้ ก็เริ่มมีรากฐานมาจากยุคนี้ และในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 พวกฝรั่ง เช่น ชาติโปรตุเกส และสเปนก็ได้นำอาวุธปืนยาวและศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ที่ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: พ.ศ. 1977และยุคมุโระมะชิ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์ลาว

ระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร (เจ้าอุ่นคำ) กษัตริย์อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง ประทับบนพระราชบัลลังก์ ในพระราชวังหลวงเมืองหลวงพระบาง ลำดับกษัตริย์ลาว อ้างอิงตามพงศาวดารหลวงพระบาง ชินกาลมาลีปกรณ์ และ ตำนานพระแก้วมรกต กรณีศักราชไม่ตรงกัน จะยึดตามตำนานพระแก้วมรกตเป็นหลัก ขุนบรมราชาธิราช (พ.ศ. 1240 - พ.ศ. 1293) ได้ย้ายจากหนองแส (เมืองหลวงของอาณาจักรน่านเจ้า) มาอยู่ที่ใหม่เรียกว่า นาน้อยอ้อยหนู (เมืองแถนหรือเมืองกาหลง) ปัจจุบันเรียกว่าเชียงรุ่งเขตสิบสองพันนา พร้อมทั้งขยายอาณาเขตออกไปโดยส่งโอรส 7 องค์ไปครองเมืองต่าง ๆ คือ.

ใหม่!!: พ.ศ. 1977และรายพระนามพระมหากษัตริย์ลาว · ดูเพิ่มเติม »

อะชิกะงะ โยะชิโนะริ

อะชิกะงะ โยะชิโนะริ โชกุน ลำดับที่ 6 แห่ง รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะ ดำรงตำแหน่งช่วงปี ค.ศ. 1428 ถึง ค.ศ. 1441.

ใหม่!!: พ.ศ. 1977และอะชิกะงะ โยะชิโนะริ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารน็องต์

อาสนวิหารน็องต์ (Cathédrale de Nantes) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโลแห่งน็องต์ (Cathédrale Saint-Pierre-et-Saint-Paul de Nantes) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลน็องต์ ตั้งอยู่ที่ปลัสแซ็ง-ปีแยร์ (Place Saint-Pierre) ในเขตเมืองน็องต์ จังหวัดลัวรัตล็องติก ในแคว้นเปอีเดอลาลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่สองอัครทูตสำคัญ คือ นักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล อาสนวิหารน็องต์ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1862.

ใหม่!!: พ.ศ. 1977และอาสนวิหารน็องต์ · ดูเพิ่มเติม »

23 กันยายน

วันที่ 23 กันยายน เป็นวันที่ 266 ของปี (วันที่ 267 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 99 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 1977และ23 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1434

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »