โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 1949

ดัชนี พ.ศ. 1949

ทธศักราช 1949 ใกล้เคียงกั.

15 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2012พระราชวังต้องห้ามราชวงศ์สจวตราชวงศ์ฮาพส์บวร์ครายชื่อธงในประเทศอิตาลีรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษรายพระนามพระมหากษัตริย์เดนมาร์กสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 7สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 12สังฆนายกแห่งนิชิเร็งโชชูอิบน์ ค็อลดูนอิซาเบลลาแห่งวาลัว สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษจักรพรรดิหย่งเล่อจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเอ็ดมันด์ โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 1

พ.ศ. 2012

ทธศักราช 2012 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พ.ศ. 1949และพ.ศ. 2012 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังต้องห้าม

อู่เหมิน ไท่เหอเหมิน ตงหวาเหมิน แม่น้ำทอง 280px 190px พระราชวังต้องห้าม (จีน: 紫禁城; พินอิน: Zǐjìn Chéng จื่อจิ้นเฉิง; อังกฤษ: Forbidden City) หรือพระราชวังกู้กง จากชื่อภาษาจีน แปลตามตัวอักษรได้ว่า "เมืองต้องห้ามสีม่วง" พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ใจกลางของกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน เป็นพระราชวังหลวงมาตั้งแต่สมัยกลางราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง พระราชวังต้องห้ามยังรู้จักกันในนาม พิพิธภัณฑ์พระราชวัง (ภาษาจีน: 故宫博物院; พินอิน: Gùgōng Bówùyùan) ครอบคลุมพื้นที่ 720,000 ตารางเมตร อาคาร 800 หลัง มีห้องทั้งหมด 9,999 ห้อง และมีพระที่นั่ง 75 องค์ หอพระสมุด ห้องหับต่างๆอีกมาก รวมทั้งยังมีสวน ลานกว้าง ทางเดินเชื่อมกันโดยตลอด มีคูและกำแพงที่สูงถึง 11 เมตร ล้อมรอบ ใช้ระยะก่อสร้างประมาณ 14 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1949 จนถึง พ.ศ. 1963 พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจตุรัสเทียนอันเหมิน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าสู่พระราชวังต้องห้ามได้ทางจตุรัสนี้ ผ่านประตูเทียนอันเหมิน บริเวณรอบจตุรัสเทียนอันเหมิน เรียกว่า อาณาเขตหลวง โดยมีสิ่งก่อสร้างสำคัญอยู่โดยรอบ เช่น มหาศาลาประชาคม ในอดีต พระราชวังแห่งนี้ เป็นเขตหวงห้ามไม่ไห้ประชาชนเข้า แม้ข้าราชการชั้นสูง ยังต้องขออนุญาต เป็นกรณีพิเศษ จึงเรียกพระราชวังนี้ว่า "พระราชวังต้องห้าม" จักรพรรดิจะทรงประทับอยู่ในพระราชวังแห่งนี้ กั้นพระองค์จากโลกภายนอก โดยมีสนมกำนัล ขันที และข้าหลวงรับใช้ซึ่งคนเหล่านี้ต้องอาศัยอยู่ในนครต้องห้ามตลอดชีวิต เพื่อความสำราญของจักรพรรดิ ในวังจะมีวิเสท 6,000 คน ประกอบพระกระยาหาร มีสนมกำนัล 9,000 นาง ซึ่งมีขันที 70,000 คน คอยดูแลให้ มีคำเล่าลือกันว่า พระนางซูสีไทเฮา เวลาเสวยก็จะมีพระกระยาหารถึง 148 ชุด และทรงส่งขันทีไปเสาะหาชายหนุ่มซึ่งเข้าวังแล้วจะไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย แม้ว่าประเทศจีนจะไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว พระราชวังต้องห้ามก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีน และภาพประตูเทียนอันเหมินก็ยังปรากฏอยู่ในตราประจำสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย นอกจากนี้ พระราชวังต้องห้ามยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งไม่นานมานี้ ทางรัฐบาลจีนได้มีนโยบายจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวเพื่อจะอนุรักษ์สภาพของอาคารและสวนหย่อมไว้ ยูเนสโกได้ประกาศให้พระราชวังต้องห้ามร่วมกับพระราชวังเสิ่นหยางเป็นหนึ่งในมรดกโลกในนาม พระราชวังหลวงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในปักกิ่งและเสิ่นหยาง เมื่อ พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987).

ใหม่!!: พ.ศ. 1949และพระราชวังต้องห้าม · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์สจวต

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ กษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์สจวต ราชวงศ์สจวต อังกฤษ: House of Stuart หรือ Stewart) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ซึ่งภายหลังได้ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษ และได้ปกครองราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ได้ทรงรับเอาการสะกดชื่อพระราชวงศ์ว่า Stuart มาจากภาษาฝรั่งเศส ในขณะที่ในฝรั่งเศสยืนยันว่าในภาษาสกอต Stewart นั้นออกเสียงได้ถูกต้องแล้ว ชื่อราชวงศ์มาจากพระอิสสริยยศโบราณของสกอตแลนด์ สจวตสูงแห่งสกอตแลนด์ (High Steward of Scotland) ราชวงศ์สจวตปกครองราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นเวลานาน 336 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 1914 ถึงปี พ.ศ. 2250 องค์รัชทายาทที่ใกล้ชิดกับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งราชอาณาจักรอังกฤษคือสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษโดยผ่านทางสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ทิวดอร์ เจมส์ สจวตสืบทอดราชบัลลังก์ทั้งราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรไอร์แลนด์ พระองค์ทรงครองราชบัลลังก์ของทั้ง 3 ชาติ (Home Nations) (และยังสืบทอดการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของกษัตริย์อังกฤษด้วย) ในระหว่างปี พ.ศ. 2146 ถึง พ.ศ. 2250 ในระยะหลังราชวงศ์สจวตได้สถาปนาตนเองเป็น กษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่ (Kings/Queens of Great Britain) จนถึงรัชสมัยของราชินีองค์สุดท้ายของราชวงศ์สจวตคือสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ราชวงศ์ฮาโนเวอร์ได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อเนื่องจากพระราชบัญญัติการสืบสันตติวงศ์ พ.ศ. 2244 (Act of Settlement 1701) ที่กำหนดให้ผู้ที่สามารถขึ้นครองราชย์ต่อไปต้องเป็นโปรเตสแตนต์เพื่อประโยชน์ในการรวมไอร์แลนด์ให้อยู่ภายใต้รัฐบาลลอนดอน ในปัจจุบันยังคงมีสมาชิกของราชวงศ์ที่สืบเชื้อสายราชวงศ์สจวตมีชีวิตอยู่ และยังคงมีผู้ที่ยังคงสนับสนุนราชวงศ์สจวตอยู่ เรียกขานกันว่า พวกจาโคไบท์ (Jacobite) โดยขบวนการนี้ถือเอา ฟรานซ์ ดยุคแห่งบาวาเรีย เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ, สกอตแลนด์, ไอร์แลนด์ และ ฝรั่งเศสโดยชอบธรรม.

ใหม่!!: พ.ศ. 1949และราชวงศ์สจวต · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (Haus de Habsburg) (House of Habsburg, บางครั้งเขียนว่า Hapsburg) เป็นราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดราชวงศ์หนึ่งในทวีปยุโรป ราชวงศ์นี้ได้ปกครองประเทศสเปนและประเทศออสเตรีย รวมเวลาทั้งหมดถึง 6 ศตวรรษ แต่ที่รู้จักกันดีมากที่สุดคือ การปกครองในตำแหน่งของ จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หลังจากได้มีการสถาปนาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา พระราชวงศ์นี้ได้ปกครองรัฐและประเทศต่าง ๆ ถึง 1,800 รั.

ใหม่!!: พ.ศ. 1949และราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศอิตาลี

ทความนี้ว่าด้วยธงต่างๆ ในประเทศอิตาลีโดยสังเขป สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับธงชาติ สามารถศึกษาได้จากบทความธงชาติอิตาลี.

ใหม่!!: พ.ศ. 1949และรายชื่อธงในประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พ.ศ. 1949และรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์เดนมาร์ก

ระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก และ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก พระอิศริยยศนี้รวมด้ว.

ใหม่!!: พ.ศ. 1949และรายพระนามพระมหากษัตริย์เดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 7

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 7 (อังกฤษ: Innocent VII) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1404 ถึง ค.ศ. 1406 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 1879 อินโนเซนต์ที่ 7 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 14 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นอาบรุซโซ.

ใหม่!!: พ.ศ. 1949และสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 7 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 12

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 12 (Gregory XII) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1406 ถึง ค.ศ. 1415 พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาองค์ที่ 2 ที่ทรงประกาศสละตำแหน่งพระสันตะปาปาเพื่อยุติ "ความแตกแยกครั้งใหญ่ในคริสต์ศาสนา" หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 14 หมวดหมู่:พระสันตะปาปาชาวอิตาลี หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 14 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:บุคคลจากเวนิส หมวดหมู่:พระสันตะปาปาผู้ทรงสละตำแหน่ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 1949และสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 12 · ดูเพิ่มเติม »

สังฆนายกแห่งนิชิเร็งโชชู

ระนิชิเนียว โชนิง สังฆนายกรูปปัจจุบันแห่งนิชิเรนโชชู ในนิกายนิชิเร็งโชชู สังฆนายก เป็นตำแหน่งของผู้นำและประมุขสุงสุดของนิกาย ซึ่งมีสานุศิษย์อยู่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย มีผู้นับถือส่วนมากในประเทศ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน กานา มาเลเซีย บราซิล ศรีลังกา และประเทศไทย สังฆนายกรูปปัจจุบันคือ พระนิชิเนียว โชนิง สังฆนายกรูปที่ 68.

ใหม่!!: พ.ศ. 1949และสังฆนายกแห่งนิชิเร็งโชชู · ดูเพิ่มเติม »

อิบน์ ค็อลดูน

อะบู ซัยด์ อับดุรเราะห์มาน บิน มุฮัมมัด บิน ค็อลดูน อัลฮัฎเราะมี (أبو زيد عبد الرحمن بن محمد بن خلدون الحضرمي; 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1332 – 19 มีนาคม ค.ศ. 1406) เป็นนักประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์นิพนธ์มุสลิมชาวตูนิเซียเชื้อสายอัลอันดะลุส และได้รับการยกย่องจากนักวิชาการหลายคนว่าเป็นหนึ่งในบิดาแห่งองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์นิพนธ์ สังคมวิทยา และเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ อิบน์ ค็อลดูน เป็นที่รู้จักมากที่สุดจากผลงานที่มีชื่อว่า อัลมุก็อดดิมะฮ์ ซึ่งได้รับการค้นพบ ประเมินค่า และตระหนักถึงคุณค่าเป็นครั้งแรกในวงวิชาการของยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ผลงานชิ้นดังกล่าวก็มีอิทธิพลอย่างมากต่อนักประวัติศาสตร์ชาวออตโตมันในคริสต์ศตวรรษที่ 17 อย่างฮัจญี เคาะลีฟะฮ์ และมุศเฏาะฟา นะอีมา ซึ่งอาศัยทฤษฎีของเขาในการวิเคราะห์ความเจริญรุ่งเรืองและความเสื่อมถอยของจักรวรรดิออตโตมันเช่นกัน ภายหลังในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักวิชาการตะวันตกจึงยอมรับว่าอิบน์ ค็อลดูน เป็นหนึ่งในบรรดานักปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจากโลกมุสลิม.

ใหม่!!: พ.ศ. 1949และอิบน์ ค็อลดูน · ดูเพิ่มเติม »

อิซาเบลลาแห่งวาลัว สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

อิสซาเบลลาแห่งวาลัวส์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: Isabella of Valois) (9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1389 – 13 กันยายน ค.ศ. 1409) อิสซาเบลลาแห่งวาลัวส์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1389 ที่ปารีสในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระมเหสีองค์ที่สองของสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ อิสซาเบลลา เสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ เมื่อพระชนมายุเพียง 7 ชันษา ดังนั้นอิสซาเบลลาและพระเจ้าริชาร์ดไม่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน เนื่องจากอิสซาเบลลา อภิเษกสมรสเมื่อพระชนมายุเพียง 7 ชันษา ดังนั้นจึงไม่มีพิธีที่สมบูรณ์ พระเจ้าริชาร์ด กับอิสซาเบลลาเป็นสวามี แมเหสีที่เอาใจใส่กัน พระเจ้าริชาร์ด จะนำของขวัญมาให้อิสซาเบลลาเสมอ คำตรัสสุดท้ายของพระเจ้าริชาร์ด ที่ตรัสกับพระมเหสี คือ " ลาก่อน มาดาม เราคงจะพบกันอีกครั้ง " หลังจากที่พระสวามีถูกปลงพระชนม์ (ไม่แน่ชัด) อิสซาเบลลาก็ทรงเสกสมรสกับชาร์ลส์ ดยุคแห่งออร์ลีออง (Charles, Duke of Orléans) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1406 อิสซาเบลลาสิ้นพระชนม์ในการให้กำเนิดพระราชธิดา จองแห่งวาลัวส์ (Jeanne of Valois) เมื่อวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1409 ที่ปราสาทคิมโบลตัน ในราชอาณาจักรอังกฤษ เมื่อพระชนมายุได้ 21 พรรษ.

ใหม่!!: พ.ศ. 1949และอิซาเบลลาแห่งวาลัว สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิหย่งเล่อ

มเด็จพระจักรพรรดิหย่งเล่อ ภาพวาดขณะหย่งเล่อฮ่องเต้ทอดพระเนตรเหล่าขันทีขณะกำลังเล่นคูจู่หรือตะกร้อ โบราณของจีน สมเด็จพระจักรพรรดิหย่งเล่อ (2 พฤษภาคม พ.ศ. 1903 - 12 สิงหาคม พ.ศ. 1967) พระนามเดิม จู ตี้ (朱 棣) คือฮ่องเต้พระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์หมิงของจีน.

ใหม่!!: พ.ศ. 1949และจักรพรรดิหย่งเล่อ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

การแต่งงานของเวอร์จินแมรี” ภาพ “พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (Italian Renaissance painting) คือสมัยประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมที่เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เกิดขึ้นในบริเวณของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นแบ่งการปกครองเป็นอาณาบริเวณต่างๆ จิตรกรในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับราชสำนักหรือสำนัก หรือเมือง แต่ก็มีโอกาสได้ท่องเที่ยวอย่างกว้างไกลไปทั่วอิตาลี และมักจะได้รับฐานะเป็นทูตในการเผยแพร่อิทธิพลความคิดทั้งทางศิลปะและปรัชญา เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและโดยเฉพาะในสาขาจิตรกรรมก็คือเมืองฟลอเรนซ์ที่อ่านประกอบได้ในบทความ “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา”, ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และ “สถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา” จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีแบ่งเป็นสี่สมัย.

ใหม่!!: พ.ศ. 1949และจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดมันด์ โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 1

อ็ดมันด์ โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 1 หรือ เอ็ดมันด์ โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 2 (Edmund Beaufort, 1st Duke of Somerset หรือ 2nd Duke of Somerset) (ค.ศ. 1406 - 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1455) เอ็ดมันด์ โบฟอร์ทเป็นขุนนางชาวอังกฤษผู้มีบทบาทสำคัญในสงครามร้อยปีและสงครามดอกกุหลาบ เอ็ดมันด์ โบฟอร์ทเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1406 เป็นบุตรของจอห์น โบฟอร์ท เอิร์ลแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 1 และมาร์กาเร็ต โบฟอร์ท เคานเทสแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 1 ปู่ของเอ็ดมันด์คือจอห์นแห่งกอนท์ ดยุคแห่งแลงคาสเตอร์ที่ 1 และตาคือทอมัส ฮอลแลนด์ เอิร์ลแห่งเค้นท์ที่ 2 เมื่อยังหนุ่มเอ็ดมันด์ โบฟอร์ทถูกจับเป็นนักโทษในยุทธการโบจ์ (Battle of Baugé) ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 1949และเอ็ดมันด์ โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1406

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »