โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 1899

ดัชนี พ.ศ. 1899

ทธศักราช 1899 ใกล้เคียงกั.

11 ความสัมพันธ์: รัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ครัฐผู้คัดเลือกพาลาทิเนตราชอาณาจักรโบฮีเมียรายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนรายพระนามพระมหากษัตริย์สวีเดนอาณาจักรล้านช้างอาณาจักรอยุธยาอำเภอสิงหนครจักรพรรดินีคีประวัติศาสตร์เยอรมนีประเทศลาวใน ค.ศ. 1356

รัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค

รัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค (Markgrafschaft Brandenburg) เป็นรัฐมาร์เกรฟที่สำคัญของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1157 และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1806 อีกชื่อหนึ่งของอาณาจักรคือ “อาณาจักรชายแดนแห่งบรันเดินบวร์ค” (March of Brandenburg หรือ Mark Brandenburg) มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของเยอรมนี และยุโรปตอนกลาง รัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์คเกิดจากอาณาจักรชายแดนตอนเหนือ (Northern March) ที่ก่อตั้งโดยชนสลาฟเวนด์ (Wends) มาเกรฟผู้ปกครองอาณาจักรได้รับการเลื่อนฐานะขึ้นเป็นเจ้าชายผู้คัดเลือกโดยพระราชบัญญัติทอง ค.ศ. 1356 ผู้เป็นผู้มีสิทธิในการเลือกตั้งจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ฉะนั้นบางครั้งจึงรู้จักกันในชื่อว่า “อาณาจักรเลือกตั้งแห่งบรันเดินบวร์ค” ด้วย (Electorate of Brandenburg หรือ Kurfürstentum Brandenburg) ในปี ค.ศ. 1415 ราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์นก็ขึ้นมามีอำนาจปกครองบรันเดินบวร์ค บรันเดินบวร์คเจริญอำนาจขึ้นอย่างรวดเร็วระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 และในที่สุดก็ได้อาณาจักรดยุคแห่งปรัสเซีย เข้ามาอยู่ในครอบครอง บรันเดินบวร์ค-ปรัสเซียกลายมาเป็นต้นกำเนิดของราชอาณาจักรปรัสเซียที่กลายมาเป็นรัฐผู้นำของเยอรมนีระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 แม้ว่าตำแหน่งสูงสุดของผู้มีสิทธิเลือกตั้งคือตำแหน่ง “พระมหากษัตริย์แห่งปรัสเซีย” แต่อำนาจที่แท้จริงก็จำกัดอยู่ในบรันเดินบวร์ค และในเมืองหลวงเบอร์ลิน และพอทสดัม แม้ว่ารัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์คจะสิ้นสุดลงด้วยการยุบตัวของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1806 แต่ก็มาแทนด้วยจังหวัดบรันเดินบวร์คของปรัสเซียในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 1899และรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

รัฐผู้คัดเลือกพาลาทิเนต

รัฐผู้คัดเลือกพาลาทิเนต (Pfalzgrafschaft bei Rhein ต่อมาเป็น Kurpfalz, Palatinate of the Rhine ต่อมาเป็น Electoral Palatinate) เป็นภูมิภาคในประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดินแดนพาลาทิเนตปกครองโดยเคานต์พาเลไทน์ ผู้มีตำแหน่งเป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 1899และรัฐผู้คัดเลือกพาลาทิเนต · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรโบฮีเมีย

ราชอาณาจักรโบฮีเมีย (Kingdom of Bohemia; České království; Königreich Böhmen; Regnum Bohemiae) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในตอนกลางของทวีปยุโรปที่ได้รับการก่อตั้งโดยสารตราทองแห่งซิซิลีที่ออกโดยจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1212 ที่เป็นพระราชโองการที่ยกฐานะดัชชีโบฮีเมียขึ้นเป็นราชอาณาจักร ราชอาณาจักรโบฮีเมียจึงเป็นสมาชิกอิสระของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรียและมาถูกยุบในปี ค.ศ. 1918 เมื่อจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลายลง เมื่อพระเจ้าคาร์ลที่ 3 แห่งโบฮีเมียทรงสละราชสมบัติ การประชุมสภาแห่งชาติปลดราชวงศ์ฮับส์บูร์ก-โลทริงเงินและประกาศให้เป็นสาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 1 ราชอาณาจักรโบฮีเมียเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของพระมหากษัตริย์โบฮีเมีย (Lands of the Bohemian Crown) ที่รวมทั้ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 1899และราชอาณาจักรโบฮีเมีย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน

แผนที่แสดงมหาวิทยาลัยในยุโรปยุคกลาง รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน ในบทความนี้ต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณสมบัติตรงตามนิยามมหาวิทยาลัย ณ วันที่ก่อตั้ง และจะต้องก่อตั้งก่อน พ.ศ. 2043 (ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 หลังสถาปนากรุงศรีอยุธยามาแล้ว 150 ปี) และจะต้องมีการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้หยุดกิจกรรมอย่างสำคัญมาถึงปัจจุบัน เนื่องจากการให้ปริญญาสำหรับการศึกษาขั้นสูงในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นในยุโรปและตะวันออกกลางเป็นส่วนใหญ่ และนิยามมหาวิทยาลัยสมัยใหม่หมายถึงสถานศึกษาที่มีความสามารถในการให้ปริญญา มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีคุณสมบัติตรงนิยามสมัยใหม่ดังกล่าวจึงอยู่ในยุโรปหรือ ตะวันออกใกล้ แต่หากขยายนิยามให้กว้างขึ้นรวมไปถึงมหาวิทยาลัยโบราณที่เดิมไม่ได้มีการให้ปริญญาในขณะนั้นแต่ให้ในปัจจุบันด้วยแล้ว รายชื่อนี้อาจมีมากขึ้นโดยรวมไปถึงสถาบันอื่นๆ ทั้งในยุโรปและส่วนอื่นของโลกอีกหลายมหาวิทยาลัย สุดท้าย แม้ด้วยบทบัญญัติของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในยุโรปก็ยังมีข้อโต้เถียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการกำหนดว่ามหาวิทยาลัยใดกันแน่ที่เป็นมหาวิทยาลัยของแผ่นดินใหญ่ยุโรป มหาวิทยาลัยโบโลญญาที่เกิดก่อน มหาวิทยาลัยปารีสเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งโดยนักศึกษาที่รวมตัวกันหาครูผู้สอน ในขณะที่มหาวิทยาลัยปารีสก่อตั้งโดยคณะผู้สอนแล้วจึงหานักศึกษามาเรียน บางแห่ง (โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยปารีส) ก็ยังพยามยามอ้างว่าตนเองเริ่มต้นด้วยการเป็นมหาวิทยาลัยแท้มาแต่ต้น แต่ก็ยังเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามหาวิทยาลัยโบโลนาตั้งขึ้นก่อนมหาวิทยาลัยปารีส การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่ามีกิจกรรมต่างๆ ในลักษณะของมหาวิทยาลัยได้มีมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 1621 (ก่อนสถาปนากรุงสุโขทัย 170 ปี) ซึ่งหมายความว่ามหาวิทยาลัยแห่งแรกของยุโรปอาจเป็นมหาวิทยาลัยซาลามังกา (University of Salamanca) ซึ่งเก่าแก่มากกว่าทั้งสองมหาวิทยาลัยที่กล่าวมาแล้ว.

ใหม่!!: พ.ศ. 1899และรายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์สวีเดน

ตราแห่งสวีเดน พระมหากษัตริย์สวีเดน (Monarki i Sverige) เป็นประมุขของราชอาณาจักรสวีเดนมายาวนาน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันประเทศสวีเดนมีการปกครองเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและองค์กษัตริย์เองมิได้มีพระราชอำนาจทางการเมือง กระนั้นก็ยังทรงเป็นสถาบันสูงสุดรวมถึงได้รับความเคารพจากสังคมของราชอาณาจักรสวีเดนมาโดยตลอด ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 1899และรายพระนามพระมหากษัตริย์สวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรล้านช้าง

อาณาจักรล้านช้าง (ອານາຈັກລ້ານຊ້າງ) เป็นอาณาจักรของชนชาติลาวซึ่งตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง มีอาณาเขตอยู่ในบริเวณประเทศลาวทั้งหมด ตลอดจนพื้นที่บางส่วนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งการเมืองการปกครอง ด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนพระพุทธศาสนา ที่มีพัฒนาการเคียงคู่มาพร้อมกันอาณาจักรอื่น ๆ ใกล้เคียง ทั้งล้านนา สยาม พม่า และเขมร อาณาจักรแห่งนี้ได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นปึกแผ่นมั่งคงอย่างแท้จริงในปี พ.ศ. 1896 สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม มีความรุ่งเรืองสลับกับความร่วงโรยต่อมาหลายสมัย ซึ่งยุคที่นับได้ว่าเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านช้างคือรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2091- พ.ศ. 2114 และรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. 2181- พ.ศ. 2238) หลังจากนั้นอาณาจักรลาวก็เสื่อมอำนาจลงและแตกแยกเป็น 3 ราชอาณาจักร และในปี พ.ศ. 2321 ทั้ง 3 อาณาจักรก็ได้สูญเสียเอกราชแก่ราชอาณาจักรสยามในที.

ใหม่!!: พ.ศ. 1899และอาณาจักรล้านช้าง · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 1899และอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสิงหนคร

งหนคร เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขล.

ใหม่!!: พ.ศ. 1899และอำเภอสิงหนคร · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีคี

มเด็จพระจักรพรรดินีตระกูลคี หรือ สมเด็จพระจักรพรรดินีตระกูลฉี (ภาษาจีน: 奇皇后; ภาษาเกาหลี: 기황후; ค.ศ. 1315 - ค.ศ. 1369) หรือ สมเด็จพระจักรพรรดินีโอลชีคูตูค (ภาษาจีน: 完者忽都; ภาษามองโกล: Ölǰei Khutugh) เป็นพระจักรพรรดินีในพระจักรพรรดิหยวนฮุ่ยจง (ภาษาจีน: 惠宗 Huizong) ทอคอนเตมูร์ (ภาษามองโกล: toγan temür) มีพื้นเพเดิมเป็นชาวเกาหลีในสมัยอาณาจักรโครยอ เป็นสตรีที่ทรงอำนาจของจีนในสมัยราชวงศ์หยวนตอนปลาย นางสาวคีเกิดที่เมืองแฮงจู (ภาษาเกาหลี: Haengju; ปัจจุบันอยู่ทางตอนเหนือของโซล) ในค.ศ. 1315 เป็นบุตรสาวของคีจาโอ (ภาษาเกาหลี: Ki Ja-o 奇子敖) ขุนนางฝ่ายทหารคนหนึ่งของอาณาจักรโครยอ ไม่ปรากฏว่านางสาวคีนั้นมีชื่อเดิมเป็นภาษาเกาหลีว่าอย่างไร นางสาวคีมีพี่ชายชื่อว่า คี ชอล (ภาษาเกาหลี: Ki Cheol 奇轍) ในค.ศ. 1332 ทางฝ่ายราชวงศ์หยวนมีพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์คือ พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ นางสาวคีอายุสิบเจ็ดปีได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในบรรดาสาวดรุณีที่ราชสำนักโครยอต้องส่งมอบให้แก่ราชสำนักหยวนเป็นบรรณาการ นางสาวคีจึงจำต้องจากบ้านเกิดของตนเองไปยังกรุงต้าตู (Dadu) อันเป็นราชธานีของราชวงศ์หยวน หรือปักกิ่งในปัจจุบัน เพื่อเป็นนางในคอยปรนนิบัติรับใช้พระจักรพรรดิโทคนเตมือร์ ด้วยความช่วยเหลือของโคยงโบ (ภาษาเกาหลี: Go Yongbo 고용보) ขันทีชาวเกาหลีในราชสำนักหยวน ทำให้นางในคีได้มีโอกาสทำหน้าที่ถวายเครื่องดื่มและน้ำชาแด่พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์อย่างใกล้ชิด จนเป็นที่ต้องพระเนตรของจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ ในค.ศ. 1340 พระสนมตระกูลคีได้ให้กำเนิดพระโอรสองค์แรกแด่พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ คือ เจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์ (ภาษามองโกล: Ayushiridara) พระสนมตระกูลคีจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระจักรพรรดินีตระกูลคี หรือ พระจักรพรรดินีโอลชีคูตูค แม้ว่าในขณะนั้นพระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์จะทรงมีพระจักรพรรดินีอยู่แล้วก็ตามคือ พระจักรพรรดินี บายันคูตูค (ภาษามองโกล: Bayan Khutugh) เท่ากับว่าในเวลานั้นราชวงศ์หยวนมีพระจักรพรรดินีในเวลาเดียวกันสองพระองค์ พระจักรพรรดินีดีทรงมีขันทีชาวเกาหลีคนสนิทคือ พัคบุลฮวา (ภาษาเกาหลี: Bak Bulhwa 박불화) ที่คอบรับใช้พระจักรพรรดินีทำงานต่างๆ ในค.ศ. 1353 พระจักรพรรดินีคีวางแผนร่วมกับพัคบุลฮวา และขุนนางมองโกลชื่อว่าฮามา (Hama) ทำการโน้มน้าวให้พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์แต่งตั้งเจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์พระโอรสของพระนางเป็นไท่จื่อหรือเจ้าชายรัชทายาท แต่แผนการนี้ถูกอัครเสนาบดีทอคตอค (Toghtogha) คัดค้าน พระจักรพรรดินีคีจึงทรงกำจัดทอคตอคด้วยการสร้างข้อกล่าวทุจริตฉ้อฉลแก่โทคตา เป็นเหตุให้ทอคตอคถูกปลดจากตำแหน่งและเนรเทศออกไปในค.ศ. 1354 และเจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าชายรัชทายาทในปีเดียวกัน ด้วยฐานะพระจักรพรรดินีแห่งหยวน ทำให้ตระกูลคีของพระนางเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรโครยอบ้านเกิด พระเชษฐาคีชอลกลายเป็นผู้กุมอำนาจการปกครองที่แท้จริงและมีชื่อเสียงในด้านความทุจริตฉ้อฉล เป็นตัวแทนของมองโกลคอยกำกับดูแลให้ราชสำนักโครยอปฏิบัติตามนโยบายของหยวน แม้แต่พระมารดาของจักรพรรดินีคีนั้นก็มีศักดิ์สูงกว่าพระเจ้าคงมินแห่งโครยอ (Gongmin of Goryeo) จนกษัตริย์เกาหลีต้องทรงทำความเคารพมารดาของพระนาง พระเจ้าคงมินทรงตัดสินพระทัยนำทัพเข้ายึดอำนาจจากตระกูลคี สังหารคีชอลรวมทั้งมารดาและสมาชิกครอบครัวคีไปจนหมดสิ้นในค.ศ. 1356 สร้างความพิโรธแค้นให้แก่จักรพรรดินีคีเป็นอย่างมากจึงส่งทัพบุกไปยังอาณาจักรโครยอเพื่อปลดพระเจ้าคงมินจากบัลลังก์แล้วตั้งเจ้าชายทัชเตมูร์ (Tash Temür) เป็นกษัตริย์เกาหลีพระองค์ใหม่ แต่ทัพมองโกลก็ได้ถูกทัพเกาหลีตีแตกพ่ายไป ในค.ศ. 1364 เจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์เจริญชันษาขึ้นมาจึงคิดชิงราชบัลลังก์หยวนจากพระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์พระบิดา แต่ทว่าแผนการล่วงรู้ไปถึงพอดลัดเตมูร์ (Bolad Temür) ผู้เป็นพระบิดาของพระจักรพรรดินีบายันคูตูค พอดลัดเตมูร์จึงนำกองกำลังเข้ายึดเมืองต้าตูข่านบาลิกเป็นเหตุให้เจ้าชายรัชทายาทต้องเสด็จหนีออกจากเมือง พอดลัดเตมูร์จับองค์จักรพรรดินีคีไว้เป็นตัวประกันและสังหารขันทีพัคบุลฮวา เมื่อทราบว่าเจ้าชายอายูร์ชีรีดาด้วยการสนับสนุนของโคเกเตมูร์ (Köke Temür) หมายจะยกทัพเข้ามายึดเมืองคืน พอดลัดเตมูร์จึงได้บังคับให้พระจักรพรรดินีดีออกพระราชเสาวนีย์เรียกให้พระโอรสมาเข้าเฝ้าตัวเปล่า แต่เจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์ก็มิได้ทำตาม ยกทัพเข้ายึดเมืองต้าตูคืนได้สำเร็จ พอดลัดเตมูร์ถูกลอบสังหารโดยคนที่พระจักรพรรดิทรงส่งมา พระจักรพรรดินีคีและเจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์ประสงค์จะให้พระจักรพรรดิโทคนเตมือร์สละราชบัลลังก์ ซึ่งพระจักรพรรดิไม่ทรงยอมแต่มอบตำแหน่งทางทหารให้แก่พระโอรสจนเป็นที่พอพระทัย ในค.ศ. 1365 พระจักรพรรดินีบายันคูตูคสิ้นพระชนม์ พระจักรพรรดินีคีจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระจักรพรรดินีเพียงหนึ่งเดียวของราชวงศ์หยวน อีกเพียงสามปีต่อมาค.ศ. 1368เมืองต้าตูข่านบาลิกเสียให้แก่พระจักรพรรดิหงหวู่ (Hongwu Emperor) จูหยวนจาง (ภาษาจีน: 朱元璋 Zhu Yuanzhang) แห่งราชวงศ์หมิง พระจักรพรรดิตอคอนเตมูร์พร้อมทั้งพระจักรพรรดินีคีและพระโอรสเจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์ทั้งสามพระองค์เสด็จหนีไปยังเมืองซ่างตู (ภาษาจีน: 上都 Shangdu ปัจจุบันอยู่ในเขตมองโกเลียใน) ต่อมาค.ศ. 1370 เมืองซ่างตูเสียให้แก่ราชวงศ์หมิง ทั้งสามพระองค์จึงเสด็จหนีต่อไปยังเมืองอิงชาง (ภาษาจีน: 應昌 Yingchang) ซึ่งพระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ประชวรสวรรคตที่นั่น ในปีเดียวกันทัพราชวงศ์หมิงตามมาถึงเมืองอิงชาง พระจักรพรรดินีคีพร้อมพระโอรสจึงเสด็จหนีต่อไปยังเมืองคาราโครุม (Karakorum) หลังจากที่เสด็จหนีไปยังมองโกเลียแล้วไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับพระจักรพรรดินีคีอีกเลย นักประวัติศาสตร์คาดการณ์ว่าหลังจากที่เจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์ทรงก่อตั้งราชวงศ์หยวนเหนือ ขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิหยวนเจ้าจง (ภาษาจีน: 昭宗 Zhaozong) พระจักรพรรดินีคีน่าจะดำรงตำแหน่งเป็นไทเฮาอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนจะสิ้นพระชนม์ไปโดยที่ไม่ทราบว่าเป็นปีใ.

ใหม่!!: พ.ศ. 1899และจักรพรรดินีคี · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เยอรมนี

ประวัติศาสตร์เยอรมนี เริ่มต้นด้วยการต้านทานการยึดครองโดยชาวโรมันของชนเจอร์มานิค ซึ่งเมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลายชนชาติเยอรมันก็กลายเป็นกลุ่มชนผู้มีอำนาจในยุโรปเข้าแทนที่ชาวโรมัน จนนำไปสู่กำเนิดจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ จักรวรรดิที่ 1 ในสมัยกลาง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ธำรงอยู่กว่าพันปีแต่ก็เป็นเพียงจักรวรรดิที่มองไม่เห็น เพราะรัฐต่าง ๆ ในเยอรมันร้อยกว่ารัฐต่างแยกตัวเป็นอิสระจากพระจักรพรรดิ จนนโปเลียนยกเลิกจักรวรรดินี้ไปกลายเป็นสมาพันธรัฐเยอรมัน เป็นกลุ่มของรัฐต่าง ๆ จนราชอาณาจักรปรัสเซียสามารถรวมประเทศเยอรมนีได้โดยการนำของบิสมาร์ก ก็กลายเป็นจักรวรรดิเยอรมัน หรือ จักรวรรดิที่ 2 แต่ด้วยการปฏิวัติล้มระบอบกษัตริย์หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้เยอรมนีกลายเป็นสาธารณรัฐไวมาร์ แต่ถูก อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำลัทธินาซียึดอำนาจเปลี่ยนเป็นระบอบเผด็จการและแผ่ขยายดินแดนไปทั่วยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สองหรือ จักรวรรดิที่ 3 แต่ฮิตเลอร์พ่ายแพ้สงคราม เยอรมนีจึงถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือ เยอรมนีตะวันออก และ เยอรมนีตะวันตก จนรวมกันกลายเป็นประเทศเยอรมนีอีกครั้งใน ค.ศ. 1990.

ใหม่!!: พ.ศ. 1899และประวัติศาสตร์เยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาวใน ค.ศ. 1356

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1356 ในประเทศลาว.

ใหม่!!: พ.ศ. 1899และประเทศลาวใน ค.ศ. 1356 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1356

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »