โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 1661

ดัชนี พ.ศ. 1661

ทธศักราช 1661 ใกล้เคียงกั.

20 ความสัมพันธ์: ฟุจิวะระ โนะ ทะมะโกะพระเจ้าบอลดวินที่ 1 แห่งเยรูซาเลมพระเจ้าบอลดวินที่ 2 แห่งเยรูซาเลมราชอาณาจักรอารากอนรายพระนามพระมหากษัตริย์สวีเดนสมเด็จพระสันตะปาปาปาสคาลที่ 2สมเด็จพระสันตะปาปาเจลาซีอุสที่ 2สถาปัตยกรรมนอร์มันอารามฟงต์แนอาสนวิหารปีเตอร์บะระจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 1 โคมเนนอสจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอสจักรพรรดิจอห์นที่ 2 โคมเนนอสทอมัส แบ็กกิตประเทศพม่าใน ค.ศ. 1118แคว้นอารากอนไทระ โนะ คิโยะโมะริ1 พฤษภาคม21 มกราคม

ฟุจิวะระ โนะ ทะมะโกะ

ฟุจิวะระ โนะ ทะมะโกะ (Fujiwara no Tamako) จักรพรรดินีใน จักรพรรดิโทะบะ จักรพรรดิองค์ที่ 74 และเป็นพระราชมารดาของ จักรพรรดิซุโตะกุ จักรพรรดิองค์ที่ 75 และ จักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะ จักรพรรดิองค์ที่ 77.

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และฟุจิวะระ โนะ ทะมะโกะ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบอลดวินที่ 1 แห่งเยรูซาเลม

มเด็จพระเจ้าบอลวินด์ที่ 1 แห่งเยรูซาเลม เดิม บอลวินด์ที่ 1 เคานท์แห่งเอเดสสา เมื่อประสูติ บอลวินด์แห่งบูลอญ (Baldwin I of Jerusalem หรือ Baldwin I of Edessa) (ราว ค.ศ. 1058 - 2 เมษายน ค.ศ. 1118) ทรงเป็นเคานท์แห่งเอเดสสาคนแรกมาก่อนที่จะขึ้นครองราชย์เป็นประมุของค์ที่สองแห่งราชอาณาจักรเยรูซาเลม แต่เป็นองค์แรกที่มีตำแหน่งเป็นพระมหากษัตริย์ บอลวินด์เป็นพระอนุชาของกอดฟรีย์แห่งบูลิยอง ผู้เป็นประมุขคนแรกของราชอาณาจักรเยรูซาเลม แต่ไม่ได้มีตำแหน่งเป็นกษัตริย์ บอลวินด์ครองเยรูซาเลมระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1100 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1118 บอลวินด์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ราว ค.ศ. 1058 เป็นพระราชโอรสของยูสตัซที่ 2 เคานต์แห่งบูลอญ และไอดาแห่งลอร์แรน (บุตรีของกอดฟรีย์ที่ 3 ดยุคแห่งโลเวอร์ลอร์แรนและโดดา) ทรงเป็นผู้นำคนหนึ่งผู้มีบทบาทในสงครามครูเสดครั้งที่ 1.

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และพระเจ้าบอลดวินที่ 1 แห่งเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบอลดวินที่ 2 แห่งเยรูซาเลม

มเด็จพระเจ้าบอลวินด์ที่ 2 แห่งเยรูซาเลม เดิม บอลวินด์ที่ 2 เคานท์แห่งเอเดสสา เมื่อประสูติ บอลวินด์แห่งเรเธล (Baldwin II of Jerusalem หรือ Baldwin II of Edessa หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า Baldwin of Bourcq) (สวรรคต 21 สิงหาคม ค.ศ. 1131) ทรงเป็นเคานท์แห่งเอเดสสาคนที่สองมาก่อนที่จะขึ้นครองราชย์เป็นประมุของค์ที่สามแห่งราชอาณาจักรเยรูซาเลมที่ครองราชย์ระหว่างวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1118 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1131.

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และพระเจ้าบอลดวินที่ 2 แห่งเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอารากอน

ราชอาณาจักรอารากอน (Reino de Aragón; Kingdom of Aragon) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสเปนระหว่างปี ค.ศ. 1035 ถึงปี ค.ศ. 1707 โดยมีพระเจ้ารามีโรที่ 1 แห่งอารากอนแห่งราชวงศ์อารากอนเป็นกษัตริย์องค์แรก อาณาจักรอารากอนเป็นอาณาจักรแบบราชาธิปไตย อาณาบริเวณเป็นบริเวณเดียวกับแคว้นอารากอนในประเทศสเปนปัจจุบัน ราชอาณาจักรอารากอนเดิมเป็นส่วนหนึ่งของ “ราชบัลลังก์อารากอน” (Crown of Aragon) ซึ่งรวมทั้งราชอาณาจักรบาเลนเซียและราชรัฐคาเทโลเนีย ซึ่งมีประมุขร่วมกัน อารากอนกอร์เตส (รัฐสภา) ราชอาณาจักรเดิมเป็นแคว้นฟิวดัลของชาวแฟรงก์รอบเมืองคากาซึ่งรวมตัวกับราชอาณาจักรปัมโปลนาที่ต่อมาเป็นราชอาณาจักรนาวาร์ในปี ค.ศ. 925 แคว้นอารากองแยกตัวจากราชอาณาจักรนาวาร์ในปี ค.ศ. 1035 และเลื่อนฐานะขึ้นเป็นอาณาจักรเต็มตัวโดยพระเจ้ารามีโรที่ 1 อาณาจักรอารากอนขยายตัวไปทางใต้ทางอวยสกา ในปี ค.ศ. 1096 และต่อมาซาราโกซา ในปี ค.ศ. 1118 จนกระทั่งปี ค.ศ. 1285 พรมแดนทางใต้ที่สุดของอารากอนเป็นดินแดนจากมัวร์ อาณาจักรอารากอนรวมกับราชบัลลังก์อารากอนหลังจากการเสกสมรสระหว่างสองราชวงศ์ในปี ค.ศ. 1150 ระหว่างรามอน เบเรงเกร์ที่ 4 เคานต์แห่งบาร์เซโลนา และเปโตรนีลาแห่งอารากอน พระราชินีแห่งอารากอน พระโอรสของทั้งสองพระองค์ได้รับดินแดนของทั้งสองอาณาจักร นอกจากนั้นพระเจ้าแผ่นดินแห่งอารากอนยังได้รับตำแหน่งเพิ่มเป็นเคานต์แห่งบาร์เซโลนา ปกครองดินแดนเดิมและราชรัฐคาเทโลเนีย และต่อมาหมู่เกาะแบลีแอริก ราชอาณาจักรบาเลนเซีย ราชอาณาจักรซิซิลี ราชอาณาจักรเนเปิลส์ และราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย พระเจ้าแผ่นดินแห่งอารากอนเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกที่ทรงปกครองบริเวณอารากอนโดยตรงและทรงดำรงตำแหน่งพระเจ้าแผ่นดินแห่งบาเลนเซีย พระเจ้าแผ่นดินแห่งมายอร์กา (ชั่วระยะหนึ่ง) เคานต์แห่งบาร์เซโลนา ลอร์ดแห่งมงเปลีเย และดุ๊กแห่งเอเธนส์ (ชั่วระยะหนึ่ง) แต่ละตำแหน่งที่ได้มาหรือเสียไปก็เป็นการเพื่มหรือลดดินแดนภายใต้การปกครองในคริสต์ศตวรรษที่ 14 อำนาจของพระมหากษัตริย์แห่งอารากอนก็จำกัดลงเพียงบริเวณอารากอนเองตามข้อตกลง “สหภาพอารากอน” (Union of Aragon) ราชบัลลังก์อารากอนถูกยุบเลิกโดยปริยายหลังจากการรวมกับราชบัลลังก์คาสตีล แต่หลังจากการรวมตัวอารากอนก็ยังรักษาอำนาจบางอย่างอยู่บ้างจนกระทั่งมาสิ้นสุดลงทั้งหมดตามพระราชกฤษฎีกานวยบาปลันตา (Nueva Planta decrees) ที่ออกในปี ค.ศ. 1707.

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และราชอาณาจักรอารากอน · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์สวีเดน

ตราแห่งสวีเดน พระมหากษัตริย์สวีเดน (Monarki i Sverige) เป็นประมุขของราชอาณาจักรสวีเดนมายาวนาน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันประเทศสวีเดนมีการปกครองเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและองค์กษัตริย์เองมิได้มีพระราชอำนาจทางการเมือง กระนั้นก็ยังทรงเป็นสถาบันสูงสุดรวมถึงได้รับความเคารพจากสังคมของราชอาณาจักรสวีเดนมาโดยตลอด ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และรายพระนามพระมหากษัตริย์สวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาปาสคาลที่ 2

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาปาสชาลที่ 2 (อังกฤษ: Paschal II) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1099 ถึง ค.ศ. 1118 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 11 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 11 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปาสชาลที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา.

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และสมเด็จพระสันตะปาปาปาสคาลที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเจลาซีอุสที่ 2

สมเด็จพระสันตะปาปาเกลาซิอุสที่ 2 (อังกฤษ: Gelasius II) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1118 ถึง ค.ศ. 1119 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1060 กเลาซิอุสที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นลัตซีโย.

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และสมเด็จพระสันตะปาปาเจลาซีอุสที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมนอร์มัน

องทางเดินกลางของมหาวิหารเดอแรมที่ใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลมสองข้างแม้ว่าจะมีการใช้โค้งแหลมบนเพดานเหนือช่องทางเดินกลางที่เป็นการนำทางของสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมนอร์มัน (Norman architecture) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่วิวัฒนาการโดยนอร์มันในดินแดนต่างๆ ที่ได้เข้าปกครองหรือมีอิทธิพลในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 โดยเฉพาะในการบรรยายถึงสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์แบบอังกฤษ นอร์มันเป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้างปราสาท, ป้อมปราการที่รวมทั้งหอกลางแบบนอร์มัน, สำนักสงฆ์, แอบบี, คริสต์ศาสนสถาน และมหาวิหารเป็นจำนวนมากในอังกฤษ ในลักษณะการใช้โค้งกลม (โดยเฉพาะรอบหน้าต่างและประตู) และมีลักษณะหนาหนักเมื่อเทียบกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่กล่าวนี้เริ่มขึ้นในนอร์ม็องดีและแผ่ขยายไปทั่วยุโรปโดยเฉพาะในอังกฤษซึ่งเป็นที่ที่มีการวิวัฒนาการมากที่สุดและยังคงมีสิ่งก่อสร้างจากยุคนั้นที่ยังหลงเหลืออยู่มากกว่าประเทศอื่น ในขณะเดียวกันตระกูลโอตวิลล์ (Hauteville family) ซึ่งเป็นตระกูลนอร์มันที่ปกครองซิซิลีก็สร้างลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์อีกลักษณะหนึ่งที่มีอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์และซาราเซ็นที่ก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” เช่นกันหรือบางครั้งก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ซิซิลี”.

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และสถาปัตยกรรมนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

อารามฟงต์แน

อารามฟงต์แน (Abbaye de Fontenay) เป็นแอบบีย์ของคณะซิสเตอร์เชียนที่สมบูรณ์และเก่าแก่ที่สุดของยุโรป ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองมงบาร์ ประเทศฝรั่งเศส อารามฟงต์แนก่อตั้งโดยนักบุญแบร์นาร์แห่งแกลร์โวในปี ค.ศ. 1118 เพียงสองสามปีหลังจากที่ออกจากอารามซีโต (Cîteaux Abbey) เพื่อไปก่อตั้งอารามแกลร์โว อารามตั้งอยู่ในป่าโปร่งขนาดย่อมราว 60 กิโลเมตรจากดีฌง (Dijon) และมารุ่งเรืองในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และ 13 แม้ว่าฟงต์แนได้รับการพิทักษ์จากพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสแต่ก็มาถูกปล้นระหว่างสงครามร้อยปีและสงครามศาสนาของฝรั่งเศส ต่อมาฟงต์แนก็เสื่อมโทรมลง ครัวอาราม (refectory) ถูกรื้อทิ้งในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และอารามฟงต์แน · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารปีเตอร์บะระ

อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์ หรือ อาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์ (Peterborough Cathedral หรือ Cathedral Church of St Peter, St Paul and St Andrew) มีชื่อเต็มว่า "อาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์, เซนต์พอล และเซนต์แอนดรูว์" ที่อุทิศให้แก่นักบุญปีเตอร์ นักบุญพอล และนักบุญแอนดรูว์ นักบุญทั้งสามองค์มีรูปปั้นอยู่บนจั่วสามจั่วด้านหน้าของอาสนวิหาร อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์เป็นคริสต์ศาสนสถานระดับอาสนวิหาร ของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ของสังฆมณฑลปีเตอร์บะระห์ในสังฆเขตแคนเตอร์บรีที่ตั้งอยู่ที่เมืองปีเตอร์บะระห์ในอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมาเนสก์ และ กอธิค อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์เดิมก่อตั้งขึ้นในสมัยแซ็กซอนสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เป็นแบบนอร์มันหลังจากการก่อสร้างใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปีเตอร์บะระห์ก็เช่นเดียวกับอาสนวิหารเดอแรม และ อาสนวิหารอีลีที่เป็นสิ่งก่อสร้างจากคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในอังกฤษที่ไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมมากนักแม้ว่าจะได้รับการขยายต่อเติมและการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อมาหลายครั้งก็ตาม อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์มีชื่อเสียงว่ามีด้านหน้าที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษตอนต้นอย่างเด่นชัด ที่มีประตูโค้งใหญ่มหึมาที่ไม่มีสิ่งก่อสร้างใดที่สร้างเช่นเดียวกันนั้นมาก่อน หรือสร้างตามมา ลักษณะที่ปรากฏเป็นเชิงที่ไม่สมมาตร เพราะหอหนึ่งในสองหอที่สูงขึ้นมาหลังด้านหน้านสร้างไม่เสร็จ แต่จะมองเห็นได้ก็จากระยะทางไกลจากตัวอาสนวิหารเท่านั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และอาสนวิหารปีเตอร์บะระ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอส

ักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอส หรือ โคมเนนัส (Manuel I Komnenos หรือ Comnenus, Μανουήλ Α' Κομνηνός) (28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1118 – 24 กันยายน ค.ศ. 1180) มานูเอลที่ 1 โคมเนนอสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ของราชวงศ์โคมเนนอส ผู้ทรงครองราชย์ระหว่างวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1143 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1180 โดยมีจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 2 โคมเนนอสเป็นผู้ครองราชย์ต่อมา มานูเอลที่ 1 โคมเนนอสเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1118 เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิจอห์นที่ 2 โคมเนนอส มานูเอล โคมเนนอสทรงปกครองในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของจักรวรรดิและของบริเวณเมดิเตอเรเนียน พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะฟื้นฟูจักรวรรดิให้รุ่งเรืองเช่นในอดีตในฐานะมหาอำนาจของบริเวณเมดิเตอเรเนียนโดยทรงดำเนินนโยบายทางการต่างประเทศอันทะเยอทะยาน ที่รวมทั้งการสร้างพันธมิตรกับพระสันตะปาปา, ทรงรุกรานคาบสมุทรอิตาลี, และทรงสามารถดำเนินสงครามครูเสดครั้งที่ 2 ฝ่าอันตรายของจักรวรรดิของพระองค์ได้ และทรงก่อตั้งระบบการพิทักษ์แก่อาณาจักรครูเสดต่างๆ เมื่อฝ่ายมุสลิมนำทัพเข้ามายังดินแดนศักดิ์สิทธิ์พระองค์ก็เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับราชอาณาจักรเยรูซาเลมในไปการรุกรานฟาติมิดอียิปต์ มานูเอล โคมเนนอสทรงมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงแผนที่เขตแดนทางการเมืองของคาบสมุทรบอลข่านและเมดิเตอเรเนียนตะวันออกโดยทรงทำให้ราชอาณาจักรฮังการีและอาณาจักรครูเสดมาอยู่ภายใต้อิทธิพลของพระองค์ และทรงรณรงค์อย่างเอาจริงเอาจังในอาณาจักรที่อยู่ใกล้เคียงทั้งทางด้านตะวันออกและตะวันตก แต่ในปลายรัชสมัยความสำเร็จของพระองค์ทางด้านตะวันออกก็ต้องมาเสียไปกับความพ่ายแพ้ในยุทธการไมริโอเคฟาลอน (Battle of Myriokephalon) ซึ่งเป็นความเพลี่ยงพล้ำของพระองค์เองในการพยายามโจมตีที่มั่นของฝ่ายเซลจุคที่มีการป้องกันอย่างแข็งแรง มานูเอลทรงได้รับการขนานพระนามว่า “ho Megas” หรือ “มหาราช” (ὁ Μέγας) โดยกรีก และทรงเป็นผู้นำผู้ทรงสามารถสร้างความจงรักภักดีจากผู้ตามอย่างเหนียวแน่น นักประวัติศาสตร์จอห์น คินนามอส (John Kinnamos) กล่าวว่ามานูเอลทรงเป็นผู้มีคุณลักษณะสมกับเป็นวีรบุรุษในประวัติศาสตร์ นอกจากนั้นก็ยังทรงเป็นผู้ที่ได้รับความนับถือจากนักรบครูเสดจากตะวันตกว่าเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมแห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิลP.

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 1 โคมเนนอส

ักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 1 โคมเนนอส (Andronikos I Komnenos) (ราว ค.ศ. 1118 – 12 กันยายน ค.ศ. 1185) อันโดรนิคอสที่ 1 โคมเนนอสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ของราชวงศ์โคมเนนอส ผู้ทรงครองราชย์ระหว่างวันที่ ค.ศ. 1183 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1185.

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 1 โคมเนนอส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอส

ักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอส (Alexios I Komnenos, Ἀλέξιος Α' Κομνηνός) (ค.ศ. 1048 – 15 สิงหาคม ค.ศ. 1118) อเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ผู้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากจักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 3 โบตาเนอาตีสเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1081 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1118 โดยมีพระราชโอรสจักรพรรดิจอห์นที่ 2 โคมเนนอสเป็นผู้ครองราชย์ต่อมา อเล็กซิออสทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์โคมเนนอส รัชสมัยของอเล็กซิออสเป็นรัชสมัยที่เต็มไปด้วยการสงครามทั้งจากฝ่ายเซลจุคตุรกี (Seljuk Turks) ในเอเชียไมเนอร์และจากนอร์มันทางตะวันตกของคาบสมุทรบอลข่าน พระองค์ทรงสามารถหยุดยั้งความเสื่อมของจักรวรรดิและทรงเริ่มการเปลี่ยนแปลงทางการทหาร, ทางการเศรษฐกิจ และทางการได้ดินแดนคืนที่เรียกว่่าสมัย “การปฏิรูปโคมีเนียน” (Komnenian restoration) อเล็กซิออสทรงยื่นคำร้องไปยังยุโรปตะวันตกให้มาช่วยต่อต้านฝ่ายตุรกีและทรงเป็นผู้มีส่วนในการเริ่มสงครามครู.

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิจอห์นที่ 2 โคมเนนอส

จักรพรรดิจอห์นที่ 2 โคมเนนอส (John II Komnenos) จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ทรงเป็น พระราชโอรสใน จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอส เสด็จขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาเมื่อปี ค.ศ. 1118 ขณะพระชนม์ได้ 31 พรรษาตลอดรัชสมัยของจอห์นที่ 2 เต็มไปด้วยสงครามมากมายที่สืบเนื่องมาจากรัชสมัยพระราชบิดารวมทั้งสงครามครูเสด สวรรคตเมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1143 ขณะพระชนม์ได้ 56 พรรษา หมวดหมู่:เสียชีวิตจากยาพิษ หมวดหมู่:จักรพรรดิไบแซนไทน์ หมวดหมู่:บุคคลในสงครามครูเสด.

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และจักรพรรดิจอห์นที่ 2 โคมเนนอส · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส แบ็กกิต

นักบุญทอมัส แบ็กกิต (Thomas Becket) ต่อมารู้จักกันในชื่อ Thomas à Becket เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เกิดใน..

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และทอมัส แบ็กกิต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่าใน ค.ศ. 1118

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1118 ในประเทศพม.

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และประเทศพม่าใน ค.ศ. 1118 · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นอารากอน

แผนที่การกระจายภาษาในแคว้นอารากอน ภาษาสเปนใช้พูดทั่วไปในแคว้น และเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียว อารากอน (สเปนและAragón) หรือ อะราโก (Aragó) เป็นแคว้นปกครองตนเองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสเปน มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส ทางทิศตะวันออกติดต่อกับแคว้นกาตาลุญญา ทางทิศใต้ติดต่อกับแคว้นบาเลนเซีย และทางทิศตะวันตกติดต่อกับแคว้นกัสติยา-ลามันชา แคว้นกัสติยาและเลออน แคว้นลารีโอคา และแคว้นนาวาร์ ประกอบด้วยจังหวัดซาราโกซา จังหวัดอูเอสกา และจังหวัดเตรูเอล มีแม่น้ำเอโบรไหลผ่านในพื้นที่ ตอนเหนือเป็นภูเขาสูง มีหุบเขาที่อุดมสมบูรณ์และสวยงาม ส่วนตอนใต้ค่อนข้างแห้งแล้ง นอกจากจังหวัดทั้งสามแล้ว แคว้นอารากอนยังแบ่งย่อยออกเป็น 33 เทศมณฑล (comarcas) อีกด้ว.

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และแคว้นอารากอน · ดูเพิ่มเติม »

ไทระ โนะ คิโยะโมะริ

ทระ โนะ คิโยะโมะริ (ญี่ปุ่น: たいら の きよもり Taira no Kiyomori หรือ 平清盛 Taira Kiyomori ค.ศ. 1118 - ค.ศ. 1181) หรือ คิโยะโมะริแห่งไทระ ซะมุไรซึ่งเรืองอำนาจขึ้นปกครองญี่ปุ่นในช่วงปลายยุคเฮอังในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถือเป็นชนชั้นซะมุไรคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้ขึ้นปกครองประเท.

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และไทระ โนะ คิโยะโมะริ · ดูเพิ่มเติม »

1 พฤษภาคม

วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันที่ 121 ของปี (วันที่ 122 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 244 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และ1 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

21 มกราคม

วันที่ 21 มกราคม เป็นวันที่ 21 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 344 วันในปีนั้น (345 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: พ.ศ. 1661และ21 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1118

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »