โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 1393

ดัชนี พ.ศ. 1393

ทธศักราช 1393 ใกล้เคียงกั.

11 ความสัมพันธ์: พระเจ้าชัยวรมันที่ 2มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชารายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่นลายอาหรับสนธิสัญญาแวร์เดิงจักรพรรดิลุดวิจที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต้นสมัยกลางแซรอสดวงอาทิตย์ที่ 119โบโรบูดูร์เจ็ดอาณาจักร

พระเจ้าชัยวรมันที่ 2

* พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (ជ័យវរ្ម័នទី២, Jayavarman II) คือผู้รวมอาณาจักรขะแมร์ทางใต้ให้เป็นปึกแผ่นขึ้นมา และประกาศให้เขมรเป็นเอกราชไม่อยู่ใต้อำนาจของชวาอีกต่อไป เป็นผู้วางรากฐานการปกครองที่มีกษัตริย์ อยู่ในฐานะอันสูงส่ง ที่เรียกว่า เทวราชา ในสมัยของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 770 – ค.ศ. 835 นั้น มีการโยกย้ายราชธานีถึง 4 ครั้ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 1393และพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์

อัลคอวาริซมีย์ บนแสตมป์ของสหภาพโซเวียต ในโอกาสระลึกถึงชาตกาลครบรอบ 1,200 ปี อะบู อับดัลลาหฺ มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ (Abū ʿAbdallāh Muḥammad ibn Mūsā al-Khwārizmī) (ค.ศ. 780-ค.ศ. 850) เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักโหราศาสตร์ นักภูมิศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นนักเขียน และนักแปล.

ใหม่!!: พ.ศ. 1393และมุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา

250px หน้านี้เป็นรายพระนามพระมหากษัตริย์ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 1393และรายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พ.ศ. 1393และรายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ลายอาหรับ

“ลายอาหรับ” ที่อาลัมบรา ลายอาหรับ หรือ ลายอะราเบสก์ (Arabesque) คือลวดลายตกแต่งที่มีลักษณะเป็นลวดลายเรขาคณิต หรือลวดลายวิจิตรที่ทำซ้ำซ้อนเรียงกันเป็นแนวที่มักจะเลียนแบบพรรณไม้หรือสัตว์ “ลายอาหรับ” หรือ “Arabesques” ตามชื่อแล้วคือลักษณะลวดลายของศิลปะอิสลามที่พบในการตกแต่งผนังมัสยิด ลวดลายที่เป็นทรงเรขาคณิตเป็นลวดลายที่เลือกใช้จากพื้นฐานทัศนของอิสลามที่มีต่อโลก สำหรับชาวมุสลิมแล้วลวดลายทรงการตกแต่งดังว่าเป็นลวดลายที่ต่อเนื่องเลยไปจากโลกที่เราอยู่ หรือเป็นลวดลายที่เป็นสัญลักษณ์ของความไม่สิ้นสุด ฉะนั้นศิลปินอาหรับจึงสื่อความหมายของจิตวิญญาณโดยไม่ใช้ไอคอนเช่นที่ใช้ในศิลปะของคริสต์ศาสนา ถ้ามีลวดลายที่ผิดไปก็อาจจะเป็นการจงใจทำของศิลปินเพื่อที่จะแสดงถึงความถ่อมตัวของศิลปินผู้ที่มีความเชื่อว่าอัลลอฮ์เท่านั้นที่จะทรงเป็นผู้ที่สามารถสร้างความสมบูรณ์แบบได้ แต่สมมุติฐานนี้ก็ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู.

ใหม่!!: พ.ศ. 1393และลายอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาแวร์เดิง

นธิสัญญาแวร์เดิง (Treaty of Verdun) เป็นสนธิสัญญาระหว่างพระราชโอรสสามพระองค์ของหลุยส์เดอะไพอัส (พระราชนัดดาของชาร์เลอมาญ) ในการแบ่งจักรวรรดิแฟรงค์ออกเป็นสามอาณาจักร แม้ว่าบางครั้งการแบ่งจักรวรรดิครั้งนี้จะเห็นกันว่าเป็นการทำลายจักรวรรดิมหาอำนาจที่ก่อตั้งขึ้นโดยชาร์เลอมาญ แต่อันที่จริงแล้วเป็นการทำตามประเพณีเจอร์มานิคในการแบ่งทรัพย์ให้แก่ทายาทแต่ละคนเท่าๆ กันแทนที่จะใช้กฎการสืบสมบัติโดยสิทธิของบุตรคนแรก (primogeniture) ที่มอบสมบัติทั้งหมดให้แก่บุตรชายคนโตเท่านั้น เมื่อหลุยส์เดอะไพอัสสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 840 โลแธร์ที่ 1 พระราชโอรสองค์โตก็อ้างสิทธิเหนือราชอาณาจักรของพระอนุชาอีกสองพระองค์และสนับสนุนสิทธิของพระนัดดาเปแปงที่ 2 ในการเป็นกษัตริย์แห่งอากีแตน หลังจากที่ทรงพ่ายแพ้ต่อพระอนุชาลุดวิกเดอะเยอรมันและชาร์ลส์เดอะบอลด์ในยุทธการฟงเตอแน (Battle of Fontenay) ในปี ค.ศ. 841 และทั้งสองพระองค์ทรงสาบานความเป็นพันธมิตรกันในคำสาบานสตราซบูร์ (Oaths of Strasbourg) ในปี ค.ศ. 842 แล้ว โลแธร์ที่ 1 ก็ทรงเต็มพระทัยมากขึ้นที่จะเข้าร่วมในการเจรจาต่อรอง พี่น้องแต่ละคนต่างก็มีอาณาจักรเป็นของตนเองแล้ว โลแธร์ครองอิตาลี, ลุดวิกเดอะเยอรมันครองบาวาเรีย และ ชาร์ลส์เดอะบอลด์ครองอากีแตน ผลของการเจรจาทำให้: เมื่อโลแธร์สละราชสมบัติอิตาลีให้แก่พระราชโอรสองค์โตจักรพรรดิลุดวิกที่ 2 ในปี ค.ศ. 844 ลุดวิกก็ทรงแต่งตั้งให้พระราชบิดาขึ้เป็นจักรพรรดิร่วมในปี ค.ศ. 850 เมื่อโลแธร์เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 855 อาณาจักรก็ถูกแบ่งเป็นสามส่วนดินแดนที่จักรพรรดิลุดวิกครองอยู่ก็ยังเป็นของพระองค์ ราชอาณาจักรเบอร์กันดีเดิมก็มอบให้แก่พระราชโอรสองค์ที่สามชาร์ลส์แห่งพรอว็องส์และดินแดนที่เหลือแก่โลแธร์ที่ 2 ที่เรียกอาณาจักรของพระองค์ว่าโลธาริงเกีย เมื่อจักรพรรดิลุดวิกที่ 2 ไม่ทรงพอใจที่ไม่ทรงได้รับดินแดนเพิ่มเมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ทรงหันไปเป็นพันธมิตรกับพระปิตุลาลุดวิกเดอะเยอรมัน ในการต่อต้านพระอนุชาโลแธร์และพระปิตุลาชาร์ลส์เดอะบอลด์ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 1393และสนธิสัญญาแวร์เดิง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิลุดวิจที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิลุดวิจที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ หลุยส์ที่ 2 แห่งอิตาลี หรือ หลุยส์ผู้เยาว์วัย (Louis II of Italy หรือ Louis II the YoungerHis ordinal and nickname comes from the fact that he was the second Louis to be emperor after his grandfather Louis the Pious.) (ค.ศ. 825 - 12 สิงหาคม ค.ศ. 875) ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งราชวงศ์การอแล็งเฌียงผู้ทรงครองราชบัลลังก์ระหว่างปี ค.ศ. 850 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 875 ลุดวิจเป็นพระราชโอรสองค์โตในจักรพรรดิโลทาร์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงได้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอิตาลีในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 1393และจักรพรรดิลุดวิจที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ต้นสมัยกลาง

ักรพรรดินีธีโอโดรา พระอัครมเหสีในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ในงานโมเสกของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายในมหาวิหารซันวีตาเล เมืองราเวนนา หนังสือสำหรับพิธีศาสนาจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 (หอสมุดวาติกัน, Reg. Lat. 316. foll. 131v/132r) ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages) เป็นสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุโรป เริ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณห้าร้อยปีโดยเริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 500 จนกระทั่งมาถึงราวปี ค.ศ. 1000 ต้นสมัยกลางสิ้นสุดแล้วจึงต่อด้วยสมัยกลางยุครุ่งโรจน.

ใหม่!!: พ.ศ. 1393และต้นสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

แซรอสดวงอาทิตย์ที่ 119

แซรอสชุดที่ 119 ของสุริยุปราคา เว้นช่วงของแต่ละเหตุการณ์ทุก ๆ 18 ปี 11 วัน มีสุริยุปราคาในชุดแซรอสนี้ทั้งหมด 71 ครั้ง ซึ่งชุดแซรอสที่ 119 ประกอบไปด้วยสุริยุปราคาบางส่วน 8 ครั้ง สุริยุปราคาเต็มดวง 2 ครั้ง สุริยุปราคาผสม 1 ครั้ง สุริยุปราคาวงแหวน 51 ครั้ง และสุริยุปราคาบางส่วน 9 ครั้ง ตามลำดับ ทั้งหมดนี้จะดำเนินอยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 850 - ค.ศ. 2112 กินเวลาทั้งสิ้น 1,262 ปี.

ใหม่!!: พ.ศ. 1393และแซรอสดวงอาทิตย์ที่ 119 · ดูเพิ่มเติม »

โบโรบูดูร์

มหาสถูปโบโรบูดูร์ (Borobudur) หรือ บาราบูดูร์ (Barabudur) คนไทยรู้จักในชื่อ บุโรพุทโธ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย บริเวณภาคกลางของเกาะชวา ตั้งอยู่ที่เมืองมาเกอลังบุโรพุทโธ คู่มือท่องเที่ยวจาริกแสวงบุญบุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย, รภัสสา เขมจิรันตากร,.อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จก.

ใหม่!!: พ.ศ. 1393และโบโรบูดูร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ็ดอาณาจักร

อังกฤษแสดงที่ตั้งของแองโกล-แซ็กซอนราวปี ค.ศ. 600 อังกฤษราวปี ค.ศ. 800 แสดงให้เห็นบริเวณเวสเซ็กซ์ทางตะวันตกเฉียงใต้; เมอร์เซียตอนกลาง; นอร์ทธัมเบรียทางตะวันออกเฉียงเหนือ; และ อีสแองเกลีย เอสเซ็กซ์ เค้นท์ และ ซัสเซ็กซ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เจ็ดอาณาจักร หรือ เครือจักรภพแองโกล-แซ็กซอน (ภาษาอังกฤษ: Heptarchy) Heptarchy (ภาษากรีก: ἑπτά + ἀρχή หรือ “เจ็ด” + “อาณาจักร”) เป็นชื่อที่ใช้เรียกรวมอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนต่างๆ ในบริเวณทางใต้ ตะวันออก และตอนกลางของสหราชอาณาจักรในปลายสมัยโบราณและต้นสมัยยุคกลาง ซึ่งต่อมารวมตัวกันเป็นดินแดนแองเกิล (อังกฤษ) (ในขณะนั้นดินแดนที่รู้จักกันในนาม สกอตแลนด์ และ เวลส์ ยังแยกตัวเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย) หลักฐานแรกที่กล่าวถึง เครือจักรภพแองโกล-แซ็กซอนเป็นหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่บันทึกโดยนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ เฮนรี ฮันทิงดัน (Henry of Huntingdon) และเป็นคำที่ใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เครือจักรภพแองโกล-แซ็กซอนครอบคลุมระยะเวลาระหว่าง ค.ศ. 500 ถึง ค.ศ. 850 ซึ่งเป็นระยะเวลาตั้งแต่ทหารโรมันถอนตัวจากอังกฤษไปจนกระทั่งถึงรัชสมัยของการรวมอาณาจักรต่างๆ เข้าด้วยกันโดยพระเจ้าเอ็กเบิร์ตแห่งเวสเซ็กซ์ คำว่า “เจ็ดอาณาจักร” หมายถึงราชอาณาจักรเจ็ดราชอาณาจักรซึ่งต่อมารวมตัวกันเป็นราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วยราชอาณาจักร: นอร์ทธัมเบรีย, เมอร์เซีย, อีสต์แองเกลีย, เอสเซ็กซ์, เค้นท์, ซัสเซ็กซ์ และ เวสเซ็กซ์ ในช่วงเวลานี้แต่ละอาณาจักรก็รวบรวมแคว้นเล็กแคว้นน้อยให้เป็นอาณาจักรที่มั่นคงขึ้นแต่เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงนั้นยังเป็นที่ถกเถึยงกันอยู่ นอกจากนั้นแต่ละอาณาจักรประมุขบางคนเช่นประมุขของนอร์ทธัมเบรีย เมอร์เซีย และ เวสเซ็กซ์ก็พยายามอ้างสิทธิในดินแดนอื่นของอังกฤษ แม้ว่าจะรวมตัวกันแล้วแต่ในภาษาพูดในหมู่ประชาชนก็ยังมีการกล่าวถึงอาณาจักรต่างๆ เหล่านี้อย่างอิสระต่อกันมาจนถึงรัชสมัยของ พระเจ้าเอ็ดวี และ พระเจ้าเอ็ดการ์ ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 10 ตามความเป็นจริงแล้วการรวมเจ็ดอาณาจักรเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ไวกิงเข้ามารุกรานปล้นสดมภ์อังกฤษและตั้งถิ่นฐานบริเวณยอร์คซึ่งกลายมาเป็นบริเวณเดนลอว์ซึ่งมีความแข็งแกร่งพอที่จะเป็นอันตรายต่ออาณาจักร์ทางใต้ที่มักจะมีความขัดแย้งกัน อาณาจักรจึงจำเป็นต้องพยายามรวมตัวกันเพื่อต่อต้านศัตรูร่วมกัน ฉะนั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชทรงต่อต้านชนเดนมาร์กเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก็ทรงทำในฐานะผู้นำของแองโกล-แซ็กซอน พระเจ้าแผ่นดินแห่งเวสเซ็กซ์องค์ต่อๆ มาโดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าเอเธลสตันแห่งอังกฤษทรงเน้นความสำคัญของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนกระทั่งการแยกเป็นอาณาจักรเล็กอาณาจักรน้อยอย่างที่เป็นมาก่อนหมดความหมายลง เมื่อไม่นานมานี้จากหลักฐานการค้นคว้าพบว่าบางอาณาจักรในเครือจักรภพแองโกล-แซ็กซอนโดยเฉพาะเอสเซ็กซ์ และ ซัสเซ็กซ์ ไม่มีฐานะเท่าเทียมกับอาณาจักรอื่นๆ นอกไปจากนั้นในบรรดาสมาชิกของเครือจักรภพก็มิได้มีเพียงเจ็ดแต่ยังมีอาณาจักรย่อยอีกหลายอาณาจักรที่มีบทบาทสำคัญมากกว่าที่เคยคาดไว้ เช่นอนุอาณาจักรเบอร์นิเซีย (Bernicia) และ อนุอาณาจักรไดรา (Deira) ภายในราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย หรือ อาณาจักรลินด์ซีย์ (Lindsey) ในลิงคอล์นเชอร์ และอื่นๆ อีกมาก ฉะนั้นคำว่า “เจ็ดอาณาจักร” จึงเป็นคำที่ไม่เหมาะสมที่จะใช้เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และนักประวัติศาสตร์บางคนก็ไม่ใช้คำนี้กันแล้วเนื่องด้วยเห็นว่าความหมายของคำไม่ตรงกับความเป็นจริง แต่ก็ยังมีการใช้เพื่อความสะดวกในการบรรยายการก่อตั้งราชอาณาจักรอังกฤษในสมัยนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 1393และเจ็ดอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 850

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »