โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฝรั่งเศสเสรี

ดัชนี ฝรั่งเศสเสรี

ฝรั่งเศสเสรี (ฝรั่งเศส: France Libre และ Forces françaises libres) เป็นรัฐบาลพลัดถิ่นภายใต้การนำของนายพลชาร์ล เดอ โกล ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และมี กองทัพฝรั่งเศสเสรี เพื่อต่อสู้กับกองทัพ ฝ่ายอักษะ ร่วมกับ ฝ่ายสัมพันธมิตร หลัง ยุทธการที่ฝรั่ง.

15 ความสัมพันธ์: กองทัพฝรั่งเศสเสรีกองทัพรบนอกประเทศภาคพื้นตะวันออกไกลฝรั่งเศสการบุกครองอียิปต์ของอิตาลีการประชุมกาซาบล็องกาฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองมาร์แซล-มอริส การ์ป็องตีเยลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1940)ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)สงครามแปซิฟิกสงครามเวียดนามปฏิบัติการคบเพลิงปฏิบัติการเข็มทิศนอร์มานดียา — เนมานแนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)ให้ยืม-เช่า

กองทัพฝรั่งเศสเสรี

กองทัพฝรั่งเศสเสรี (Free French Forces, Forces Françaises Libres ย่อว่า FFL) คือกลุ่มต่อต้านชาวฝรั่งเศส ผู้ซึ่งยังต่อสู้กับกองกำลังฝ่ายอักษะของรัฐบาลฝรั่งเศสเสรี หลังจากการยอมแพ้ของประเทศฝรั่งเศสต่อนาซีเยอรมนี และยอมรับการปกครองภายใต้รัฐบาลนาซี ซึ่งก็คือ รัฐบาลวีชี และผู้ให้ความร่วมมือกับนาซีเยอรมนีในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และมีฐานบัญชาการอยู่ที่ประเทศอังกฤษ กรุงลอนดอน.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเสรีและกองทัพฝรั่งเศสเสรี · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพรบนอกประเทศภาคพื้นตะวันออกไกลฝรั่งเศส

กองทัพเรืออยู่ในเครื่องหมายด้วย กองทัพรบนอกประเทศภาคพื้นตะวันออกไกลฝรั่งเศส (Corps Expéditionnaire Français en Extrême-Orient, CEFEO) เป็นหน่วยรบนอกประเทศในอาณานิคมของกองทัพสหภาพฝรั่งเศส ซึ่งถูกส่งออกไปปฏิบัติหน้าที่ในอินโดจีนฝรั่งเศสตั้งแต..

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเสรีและกองทัพรบนอกประเทศภาคพื้นตะวันออกไกลฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองอียิปต์ของอิตาลี

การรุกรานอียิปต์ของอิตาลี เป็นการรุกรานที่ของราชอาณาจักรอิตาลีต่อดินแดนอียิปต์ของสหราชอาณาจักรและฝ่ายสัมพันธมิตร.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเสรีและการบุกครองอียิปต์ของอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

การประชุมกาซาบล็องกา

การประชุมกาซาบล็องกา(รหัสนามว่า ซิมโบล) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นที่โรงแรม Anfa ในกาซาบล็องกา ฝรั่งเศสโมร็อกโก ตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 24 มกราคม..

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเสรีและการประชุมกาซาบล็องกา · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง

"สามผู้ยิ่งใหญ่": (ซ้าย) โจเซฟ สตาลิน แห่งโซเวียต(กลาง) แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐ(ขวา) วินสตัน เชอร์ชิล แห่งสหราชอาณาจักรในการประชุมเตหะราน เมื่อ ค.ศ. 1943 ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นกลุ่มประเทศที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งที่สองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน ถูกคุกคามโดยตรงจากการรุกรานของฝ่ายอักษะหรือเพราะประเทศเหล่านี้กังวลว่าฝ่ายอักษะจะควบคุมโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง แนวร่วมต่อสู้เยอรมนีช่วงสงครามเริ่มต้น (1 กันยายน ค.ศ. 1939) ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ (กำลังสหภาพแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สู้รบภายใต้การบัญชาของเครือจักรภพแม้จะเป็นชาติอธิปไตยนับแต่ ค.ศ. 1931) หลัง..

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเสรีและฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

มาร์แซล-มอริส การ์ป็องตีเย

มาร์แซล-มอริส การ์ป็องตีเย (Marcel-Maurice Carpentier; 2 มีนาคม ค.ศ. 1895 — 14 กันยายน ค.ศ. 1977) เป็นนายพลฝรั่งเศสซึ่งปฏิบัติหน้าที่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง เขาเกิดในปี..

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเสรีและมาร์แซล-มอริส การ์ป็องตีเย · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1940)

รียงลำดับเหตุการณ์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม จนถึง 31 ธันวาคม 1940 ทหารสกีของฟินแลนด์ - 12 มกราคม 1940 ทหารโซเวียตเสียชีวิตหลังจากถูกโจมตีที่ถนนราเต เส้นทางการรุกของกองทัพเยอรมันและกองทัพอังกฤษในการทัพนอร์เวย์ การรุกสายฟ้าแลบระหว่างยุทธการแห่งฝรั่งเศส - กลางเดือนพฤษภาคม 1940 อพยพจากดันเคิร์กระหว่างปฏิบัติการไดนาโม อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในกรุงปารีส - 23 มิถุนายน 1940 เครื่องบินรบเยอรมันเตรียมทำการรบในยุทธการแห่งบริเตน เดอะบลิตซ์: กรุงลอนดอนถูกทิ้งระเบิดทางอากาศโดยกองทัพอากาศเยอรมัน.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเสรีและลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1940) · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)

รียงลำดับเหตุการณ์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม จนถึง 31 ธันวาคม 1941 แผนที่ของเขตปฏิบัติการปฏิบัติการเข็มทิศ - ธันวาคม 1940 - กุมภาพันธ์ 1941 นายพลรอมเมลในแอฟรีกาเหนือ ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ลงนามในกฤษฎีกาให้เช่า-ยืม ภายหลังจากได้รับการลงคะแนนเสียงจากรัฐสภาแล้ว ทหารเยอรมันขณะทำการรบในกรีซ - เมษายน 1941 พลร่มเยอรมันถูกส่งไปยังเกาะครีต - พฤษภาคม 1941 รถถังแพนเซอร์ของเยอรมนีรุดหน้าผ่านทะเลทรายเปิด เส้นทางการรุกรานของกองทัพฝ่ายอักษะในปฏิบัติการบาร์บารอสซา - มิถุนายน 1941 เชลยศึกทหารโซเวียตถูกจับกุมหลังจากยุทธการแห่งมินสก์ ทหารเกณฑ์โซเวียตในมณฑลทหารบกเลนินกราด ประธานาธิบดีโรสเวลต์และนายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลล์พบกันบนดาดฟ้าของเรือรบหลวง ''พรินซ์ออฟเวลส์'' ระหว่างการประชุมเพื่อลงนามกฎบัตรแอตแลนติก - 10-12 สิงหาคม 1941 สตรีชาวโซเวียตขุดสนามเพลาะรอบกรุงมอสโกเพื่อเตรียมรับการโจมตีของกองทัพเยอรมนี กองทัพเยอรมันรุกไปตามท้องถนนของเมืองคาร์คอฟ - ตุลาคม 1941 การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์: เรือประจัญบาน ''แอริโซนา'' ถูกเพลิงไหม้หลังจากถูกโจมตีโดยเครื่องบินรบญี่ปุ่น - 7 ธันวาคม 1941.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเสรีและลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941) · ดูเพิ่มเติม »

สงครามแปซิฟิก

งครามแปซิฟิก (Pacific War) หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพา (Greater East Asia War; 大東亜戦争, Dai Tō-A Sensō) เป็นเขตสงครามหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง สู้รบกันในมหาสมุทรแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเป็นหลัก มีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าสงครามแปซิฟิกเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 หรือ 8 ธันวาคม 1941 เมื่อญี่ปุ่นบุกครองประเทศไทยและโจมตีอาณานิคมของบริติช ได้แก่ มาลายา สิงคโปร์และฮ่องกง ตลอดจนฐานทัพสหรัฐในหมู่เกาะฮาวาย หมู่เกาะเวก เกาะกวมและฟิลิปปินส์ ทว่า สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่นและสาธารณรัฐจีนมีมาต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 1937 โดยมีความเป็นปรปักษ์ย้อนหลังไปถึงวันที่ 19 กันยายน 1931 เมื่อประเทศญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรีย จักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มนโยบายชาตินิยมโดยใช้คำขวัญที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" (Asia for Asiatics) วันที่ 3 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเสรีและสงครามแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเสรีและสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการคบเพลิง

ปฏิบัติการคบเพลิง (Operation Torch) เดิมเคยเรียกว่า ปฏิบัติการจิมแนสต์ (Operation Gymnast) เป็นปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยกองกำลังผสมอังกฤษ-อเมริกัน เพื่อรุกรานอาณานิคมแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศสเขตวีชี ปฏิบัติการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทัพแอฟริกาเหนือ เนื่องจากสหภาพโซเวียตได้กดดันให้รัฐบาลอเมริกาและอังกฤษเปิดแนวรบที่สองในทวีปยุโรปเพื่อกดดันกองทัพเยอรมันต่อกองทัพโซเวียตในแนวรบตะวันออก ผู้บัญชาการทหารของสหรัฐอเมริกาจึงเห็นพ้องกันว่าจะเริ่มปฏิบัติการ "ค้อนยักษ์" (Sledgehammer) เพื่อยกพลขึ้นบกในยุโรปที่ถูกยึดครองโดยกองทัพนาซีให้เร็วที่สุด แต่ปฏิบัติการนี้ถูกผู้บัญชาการทหารของอังกฤษคัดค้านว่าจะทำให้พันธมิตรตะวันตกต้องเจอกับความสูญเสียอย่างหนัก การโจมตีอาณานิคมแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศสเขตวีชีจึงถูกเสนอมาแทนโดยมีเป้าหมายเพื่อกำจัดกองกำลังฝ่ายอักษะในแอฟริกาเหนือและทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรครองการควบคุมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้มากขึ้นเพื่อเตรียมการบุกยุโรปใต้ต่อไปในปี ค.ศ. 1943.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเสรีและปฏิบัติการคบเพลิง · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการเข็มทิศ

ปฏิบัติการเข็มทิศ เป็นปฏิบัติการใหญ่ครั้งแรกของฝ่ายสัมพันธมิตรในการทัพทะเลทรายตะวันตกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กำลังอังกฤษและเครือจักรภพอื่นโจมตีกองทัพอิตาลีทางตะวันตกของอียิปต์และทางตะวันออกของลิเบียระหว่างเดือนธันวาคม..

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเสรีและปฏิบัติการเข็มทิศ · ดูเพิ่มเติม »

นอร์มานดียา — เนมาน

นอร์มานดียา — เนมาน (Нормандия — Неман Normandie-Niémen) เป็นภาพยนตร์เรื่องยาวแนวชีวิตและสงครามร่วมมือกันระหว่างสหภาพโซเวียต และ ฝรั่งเศส กำกับโดย Jean Dréville อำนวยการสร้างโดย Alexandre Kamenka ภาพยนตร์เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับหน่วยนอร์ม็องดี - เนมาน หน่วยรบทางอากาศของกองทัพฝรั่งเศสเสรีที่ปฏิบัติงานในสหภาพโซเวียตระหว่างแนวรบด้านตะวันออก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ภาพยนตร์เข้าฉายที่ฝรั่งเศสในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1960 และที่สหภาพโซเวียตในวันที่ 9 มีนาคม ปีเดียวกัน.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเสรีและนอร์มานดียา — เนมาน · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันตก ของการสู้รบบนภาคพื้นทวีปยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สองโอบล้อมบริเวณพื้นที่ตั้งแต่เดนมาร์ก นอร์เวย์ ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และภาคตะวันตกของเยอรมนี ปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สองบริเวณยุโรปตอนใต้และบริเวณอื่นๆ ถูกจัดว่าไม่เกี่ยวกับแนวรบด้านตะวันตกนี้ การต่อสู้ในแนวรบด้านตะวันตกถูกแบ่งโดยปฏิบัติการสู้รบครั้งใหญ่ๆ ด้วยกันสองครั้ง คือ ช่วงแรกที่เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศส ยอมจำนนต่อกองทัพนาซีเยอรมนีในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ค.ศ. 1940 ภายหลังจากที่พ่ายแพ้การสู้รบในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำและในพื้นที่กึ่งหนึ่งของฝรั่งเศสตอนเหนือ จากนั้นสงครามจึงดำเนินเข้าสู่การสู้รบทางอากาศระหว่างเยอรมนีกับสหราชอาณาจักร ซึ่งทวีความรุนแรงมากที่สุดในช่วงยุทธการที่บริเตน ช่องที่สองคือช่วงของการสู้รบภาคพื้นดินขนาดใหญ่ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 จากการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี และดำเนินไปจนกระทั่งสามารถปลดปล่อยกรุงปารีสและฝรั่งเศลให้พ้นจากนาซีเยอรมัน ต่อมาสามารถเอาชนะเยอรมนีได้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 แม้ว่าพลทหารเยอรมันส่วนมากจะเสียชีวิตในแนวรบด้านตะวันออก แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในแนวรบด้านตะวันตกแทบจะไม่สามารถทดแทนกลับคืนมาได้ เนื่องจากทรัพยากรสงครามส่วนมากของเยอรมนีถูกโยกย้ายไปใช้ในแนวรบด้านตะวันตก ซึ่งหมายความได้ว่าในแนวรบด้านตะวันออกมีการเสริมกำลังและทรัพยากรเพื่อยืดระยะเวลาการสู้รบออกไปได้ ในขณะที่แนวรบด้านตะวันตกมีการส่งกำลังเสริมและทรัพยากรทดแทนเพื่อหยุดยั่งการรุกคืบของฝ่ายสัมพันธมิตรได้เพียงน้อยนิด การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีนับได้ว่าส่งสัญญาณเชิงจิตวิทยาในแง่ลบให้แก่กองทัพและผู้นำของนาซีเยอรมนีอย่างมาก เนื่องจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เกรงกลัวสถานการณ์ที่เยอรมนีถูกขนาบด้วยการสู้รบจากแนวรบทั้งสองด้าน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเสรีและแนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

ให้ยืม-เช่า

ประธานาธิบดีโรสเวลต์ลงนามร่างรัฐบัญญัติให้ยืม-เช่าเพื่อมอบความช่วยเหลือแก่บริเตนและจีน (ค.ศ. 1941) นโยบายให้ยืม-เช่า (Lend-Lease) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "รัฐบัญญัติส่งเสริมการป้องกันสหรัฐ" (An Act to Promote the Defense of the United States), (Pub.L. 77–11, H.R. 1776, 55 Stat. 31, ตรา 11 มีนาคม ค.ศ. 1941) เป็นโครงการซึ่งสหรัฐจัดหาอาหาร น้ำมันและยุทโธปกรณ์แก่ฝรั่งเศสเสรี สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐจีน และต่อมาสหภาพโซเวียตและชาติสัมพันธมิตรอื่นระหว่าง..

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเสรีและให้ยืม-เช่า · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Free Franceเสรีฝรั่งเศส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »