โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ผักโขม

ดัชนี ผักโขม

ผักโขม (Amaranth) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaranthus viridis จัดอยู่ในวงศ์ Amaranthaceae ผักโขมจะขึ้นอยู่ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติเช่น ป่าละเมาะ ริมทาง ชายป่าที่รกร้าง เป็นต้น และยังขึ้นเป็นวัชพืชในบริเวณสวนผัก สวนผลไม้ ไร่นาของชาวบ้าน ผักโขมเป็นพืชที่ขึ้นง่ายชาวบ้านจึงมักเก็บมาบริโภคในช่วงหน้าฝน รักษ์ พฤษชาติ,ผักพื้นบ้าน ครบเครื่องเรื่องผักพื้นบ้าน ทั้งการปลูกและการตลาด,สำนักพิมพ์ นีออน บุ๊ค มีเดีย,พิมพ์ครั้งที่ 4 มีนาคม 2553 ผักโขมมีชื่ออื่นๆ อีกคือ ผักขม (กลาง), ผักโหม, ผักหม (ใต้), ผักโหมเกลี้ยง (แม่ฮ่องสอน), กระเหม่อลอเตอ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน) ผักโขมมักจะถูกเข้าใจผิดหรือแปลผิดว่าเป็นผักที่ป๊อบอายใช้เพิ่มพลัง ความจริงแล้วคือผักปวยเล้ง (Spinach) ซึ่งในการ์ตูนป๊อบอายจะปรากฏคำว่า Spinach อย่างชัดเจน.

25 ความสัมพันธ์: ชับแชบาวบาบพิวรีนพีบิมบับกรดโฟลิกการขาดธาตุเหล็กการตั้งครรภ์กีนัวราวีโอลีลาลับออกซาเลตอาหารกัมพูชาอาหารอินโดนีเซียอาหารเยอรมันอูรัปผักโขมคะน้าเม็กซิโกคิมบับตีนูตูวันซาโปนินประยงค์นาซีจัมปูร์แกงกุรุหม่าโฟโตเพอริโอดิซึมเต่าดาวพม่า

ชับแช

ับแช เป็นอาหารเกาหลีชนิดหนึ่ง ได้จากการนำวุ้นเส้นที่ทำจากแป้งมันเทศไปผัดในน้ำมันงากับผักชนิดต่าง ๆ (ตามปกติจะใช้แคร์รอต, หัวหอม, ผักโขม และเห็ดหั่นเป็นเส้นบาง ๆ) ปรุงรสด้วยซีอิ๊วและน้ำตาลทราย ตกแต่งด้วยเมล็ดงาและพริกหั่นแฉลบ จะเสิร์ฟขณะร้อนหรือเย็นก็ได้ ชาวเกาหลีมักทำชับแชรับประทานกันในงานเลี้ยงและโอกาสพิเศษ โดยเพิ่มเนื้อวัวและผักตามฤดูกาลเข้าไป โดยทั่วไปมักเสิร์ฟอาหารจานนี้เป็นกับข้าว แต่จะเสิร์ฟเป็นอาหารจานหลักก็ได้ บ่อยครั้งจะเสิร์ฟกับข้าวสวย หากมีข้าวด้วยจะเรียกอาหารจานนี้ว่า ชับแชบับ (잡채밥) โดยคำว่า พับ (밥) แปลว่า "ข้าว".

ใหม่!!: ผักโขมและชับแช · ดูเพิ่มเติม »

บาวบาบ

ผลบาวบาบใช้ทำเครื่องดื่มได้ บาวบาบ หรือ บาวแบบ (Kremetart, Hausa: Kuka, Seboi, Mowana, Shimuwu, Muvhuyu)เป็นพืชในสกุล Adansoniaที่แพร่หลายมากที่สุด พบในทวีปแอฟริกา ในบริเวณที่ร้อนแล้งหรือทุ่งหญ้าสะวันนา ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษของบาวบาบมีหลายชื่อ เช่น dead-rat tree (จากลักษณะของผล), monkey-bread tree (ผลที่นุ่ม แห้งและรับประทานได้) upside-down tree (กิ่งที่แตกทรงพุ่มคล้ายราก) และ cream of tartar tree เป็นไม้ผลัดใบ ไม่มีหนาม ลำต้นโป่งพองคล้ายขวด ผลเป็นแคปซูลแห้ง รูปร่างยาวหรือกระบอง ไม่แตก เนื้อมีลักษณะเป็นเยื่อ รสเปรี้ยวเล็กน้อย บาวบาบเป็นไม้ยืนต้นที่โคนบวมพองออก มองคล้ายขวดแชมเปญ ใช้สะสมน้ำ กิ่งก้านสาขาบิดเบี้ยวไปมา ทรงคล้ายราก ชาวแอฟริกาเชื่อว่าต้นไม้ชนิดนี้ถูกพระเจ้าสาปแช่ง จึงต้องเอารากชี้ฟ้ามีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของแอฟริกา ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปลูกในเกาะชวาและฟิลิปปินส์ บาวบาบเป็นพืชสมุนไพรในแอฟริกา ผลมีแคลเซียมมากกว่าผักโขม มีสารต้านอนุมูลอิสระ และมีวิตามินซีมากกว่าส้ม.

ใหม่!!: ผักโขมและบาวบาบ · ดูเพิ่มเติม »

พิวรีน

#Traube purine synthesis --> พิวรีน (purine) เป็นสารประกอบอินทรีย์ประเภทเฮเตอโรไซคลิกและอะโรมาติก ที่มีวงแหวนไพริมิดีน (pyrimidine) เชื่อมกับวงแหวนอิมิดาโซล และให้ชื่อของมันกับกลุ่มโมเลกุลที่เรียกว่า พิวรีน ซึ่งรวมพิวรีนที่มีการแทนที่โครงสร้างและเทาโทเมอร์ ต่าง ๆ ของพิวรีน เป็นสารประกอบเฮเตอโรไซคลิกแบบมีไนโตรเจนที่มีมากที่สุดในธรรมชาติ และละลายน้ำได้ พิวรีนพบอย่างเข้มข้นในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อ โดยเฉพาะเครื่องในรวมทั้งตับไต โดยทั่วไปแล้ว พืชผักจะมีพิวรีนต่ำ ตัวอย่างของอาหารที่มีพิวรีนสูงรวมทั้ง ต่อมไทมัส ตับอ่อน ปลาแอนโชวี่ ปลาซาร์ดีน ตับ ไตของวัวควาย สมอง สารสกัดจากเนื้อ ปลาเฮร์ริง ปลาแมกเคอเรล หอยเชลล์ เนื้อสัตว์ที่ล่าเพื่ออาหารหรือเพื่อการกีฬา เบียร์ (โดยได้จากยีสต์) และน้ำเกรวี อาหารที่มีพิวรีนกลาง ๆ รวมทั้ง เนื้อวัวควาย เนื้อหมู ปลาและอาหารทะเล ผักแอสพารากัส ต้นกะหล่ำดอก ผักโขมจีน เห็ด ถั่วลันเตา ถั่วเล็นทิล ถั่ว ข้าวโอ๊ต รำข้าวสาลี และจมูกข้าวสาลี พิวรีนและไพริมิดีนเป็นกลุ่มสองกลุ่มของเบสไนโตรเจน (nitrogenous base) และก็เป็นกลุ่มสองกลุ่มของเบสนิวคลีโอไทด์ (nucleotide base/nucleobase) ด้วย deoxyribonucleotide 2 อย่างใน 4 อย่าง คือ deoxyadenosine และ guanosine, ribonucleotide 2 อย่างใน 4 อย่าง คือ adenosine/adenosine monophosphate (AMP) และ guanosine/guanosine monophosphate (GMP) ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอตามลำดับ ก็เป็นพิวรีน เพื่อจะสร้างดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ เซลล์จำเป็นต้องใช้พิวรีนและไพรมิดีนเป็นจำนวนพอ ๆ กัน ทั้งพิวรีนและไพริมิดีนต่างก็เป็นสารยับยั้งและสารก่อฤทธิ์ต่อพวกตนเอง คือ เมื่อพิวรีนก่อตัวขึ้น มันจะยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้สร้างพิวรีนเพิ่ม พร้อมกับก่อฤทธิ์ของเอนไซม์ที่ใช้สร้างไพริมิดีน และไพริมิดีนก็ทั้งยับยั้งตนเองและออกฤทธิ์ให้สร้างพิวรีนในลักษณะเช่นเดียวกัน เพราะเหตุนี้ จึงมีสารทั้งสองอยู่ในเซลล์เกือบเท่า ๆ กันตลอดเวล.

ใหม่!!: ผักโขมและพิวรีน · ดูเพิ่มเติม »

พีบิมบับ

ีบิมบับ หรือที่เรียกกันในภาษาไทยว่า ข้าวยำเกาหลี เป็นอาหารเกาหลีประเภทข้าวชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคำว่า "พีบิม" (비빔) แปลว่า "ยำ" หรือ "คลุกเคล้า" และ "พับ" (밥) แปลว่า "ข้าว" โดยอาหารชนิดนี้จะเสิร์ฟมาเป็นชามข้าวสวยร้อน โรยหน้าด้วยนามุล (ผักที่ผัดและปรุงรสแล้ว), โคชูจัง (น้ำพริก) และ/หรือทเว็นจัง (เต้าเจี้ยว) นอกจากนี้ยังนิยมใส่ไข่ดิบ ไข่ดาว หรือไข่ลวก และเนื้อสัตว์ที่หั่นบาง ๆ เช่นกัน จากนั้นคลุกส่วนผสมต่าง ๆ ให้เข้ากันดีก่อนรับประทาน พีบิมบับเป็นอาหารที่แบ่งออกได้เป็น 5 สี ตามส่วนประกอบ ซึ่งมีความหมายเชิงสัญลักษณ์เกี่ยวกับทิศและสุขภาพตามตำราการแพทย์แบบโบราณ กล่าวคือ สีขาวเป็นตัวแทนของทิศตะวันตกหรือปอด (ถั่วงอก, ข้าว, หัวไชเท้า), สีดำเป็นตัวแทนของทิศเหนือและไต (เห็ดหอม, ผักกูด, สาหร่ายโนริ) สีแดงหรือสีส้มเป็นตัวแทนของทิศใต้และหัวใจ (พริก, แคร์รอต, ลูกพุทรา) สีเหลือง ตัวแทนของตอนกลางและระบบลำไส้หรือท้อง (ฟักทอง, มันฝรั่ง, ไข่) และสีเขียว ตัวแทนของทิศตะวันออกและตับ (แตงกวา, ผักโขม) จึงถือว่าเป็นอาหารที่มีความสมดุลและมีสารอาหารครบถ้วน เพราะประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์และผักสารพัดชนิด ผู้ที่รับประทานจะได้รับประโยชน์ด้วยมิใช่แค่อิ่มอย่างเดียว อาหารชนิดนี้มีประวัติย้อนไปได้ถึงสมัยราชวงศ์โชซ็อน แต่คำว่า "พีบิมบับ" เพิ่งได้รับการกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในชีอึยจ็อนซอ (시의전서) ตำราอาหารไม่ทราบชื่อผู้แต่งสมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยตำรานั้นเรียกพีบิมบับว่า "พูบีมบับ" (부븸밥) ต้นตำรับของพีบิมบับอยู่ที่เมืองช็อนจูในภูมิภาคโฮนัมของเกาหลีใต้ ในปี..

ใหม่!!: ผักโขมและพีบิมบับ · ดูเพิ่มเติม »

กรดโฟลิก

ฟเลต หรืออีกรูปแบบหนึ่งที่รู้จักคือ กรดโฟลิก และ วิตามินบี9 (folate, folic acid, vitamin B9) เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง มีปริมาณที่แนะนำต่อวันอยู่ที่ 400 ไมโครกรัม และมักใช้เป็นอาหารเสริมในช่วงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารก (ซึ่งรวมการไม่มีสมองใหญ่ สมองโป่ง กระดูกสันหลังโหว่) --> และยังใช้รักษาภาวะเลือดจางจากการขาดกรดโฟลิก กว่า 50 ประเทศเสริมกรดโฟลิกในอาหารเพื่อเป็นมาตรการลดอัตรา NTDs ในประชากร การเสริมกรดโฟลิกในอาหารเป็นประจำสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจเล็กน้อย เป็นวิตามินที่สามารถใช้ทานหรือฉีดก็ได้ ยาไม่มีผลข้างเคียงที่สามัญ ยังไม่ชัดเจนว่าการทานในขนาดสูงเป็นระยะเวลายาวนานมีปัญหาหรือไม่ แต่การใช้ขนาดสูงสามารถอำพรางการขาดวิตามินบี12ได้ --> โฟเลตเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อผลิต DNA RNA และกระบวนการสร้างและย่อยสลายกรดอะมิโนซึ่งจำเป็นต่อการแบ่งเซลล์ เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถสร้างกรดโฟลิก ดังนั้นจำต้องได้จากอาหาร การไม่ได้โฟเลตเพียงพอก็จะทำให้เกิดภาวะขาดโฟเลต --> ซึ่งอาจมีผลเป็นภาวะเลือดจางที่มีเม็ดเลือดขนาดใหญ่ (megaloblastic) เป็นจำนวนน้อย --> อาการอาจรวมความล้า หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ทัน แผลบนลิ้นไม่หาย สีผิวหรือผมเปลี่ยน --> การขาดในช่วงตั้งครรภ์เบื้องต้นเชื่อว่าเป็นเหตุของภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารกเกินครึ่ง การขาดในเด็กอาจเกิดภายในเดือนเดียวที่ทานอาหารไม่ดี ในผู้ใหญ่ระดับโฟเลตทั้งหมดในร่างกายอยู่ที่ระหว่าง 10,000-30,000 ไมโครกรัม (µg) โดยมีระดับในเลือดเกิน 7 nmol/L (3 ng/mL) กรดนี้ค้นพบในระหว่างปี..

ใหม่!!: ผักโขมและกรดโฟลิก · ดูเพิ่มเติม »

การขาดธาตุเหล็ก

การขาดธาตุเหล็ก หรือ ภาวะขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency) เป็นการขาดสารอาหารที่สามัญที่สุดในโลก ธาตุเหล็กมีอยู่ในเซลล์ทั้งหมดของร่างกายมนุษย์และมีหน้าที่สำคัญมากหลายอย่าง เช่น การนำเอาออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ จากปอด โดยเป็นองค์ประกอบกุญแจสำคัญของโปรตีนเฮโมโกลบินในเลือด, การเป็นสื่อนำอิเล็กตรอนภายในเซลล์ในรูป cytochrome, การอำนวยการใช้และการเก็บออกซิเจนภายในกล้ามเนื้อโดยเป็นส่วนของไมโยโกลบิน, และเป็นสิ่งที่จำเป็นในปฏิกิริยาของเอนไซม์ในอวัยวะต่าง ๆ การมีธาตุเหล็กน้อยเกินไปสามารถรบกวนหน้าที่จำเป็นต่าง ๆ เหล่านี้ โดยทำให้เกิดโรค และอาจให้ถึงตายได้ ปริมาณธาตุเหล็กทั้งหมดในร่างกายมีประมาณ 3.8 ก. ในชาย และ 2.3 ก. ในหญิง ส่วนในน้ำเลือด เหล็กจะเวียนไปกับเลือดโดยยึดกับโปรตีน transferrin อย่างแน่น มีกลไกหลายอย่างที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของเหล็กในมนุษย์ และป้องกันไม่ให้ขาด กลไกควบคุมหลักอยู่ในทางเดินอาหาร แต่ถ้าการสูญเสียเหล็กไม่สามารถชดเชยได้จากการทานอาหาร ภาวะขาดเหล็กก็จะเกิดขึ้นในที่สุด และถ้าไม่รักษา ก็จะลามไปเป็นภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency anemia) แต่ก่อนจะถึงภาวะโลหิตจาง ภาวะการขาดธาตุเหล็กโดยที่ยังไม่ถึงภาวะโลหิตจางเรียกว่า Latent Iron Deficiency (LID) หรือ Iron-deficient erythropoiesis (IDE) การขาดธาตุเหล็กที่ไม่รักษาอาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจากเหตุขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นภาวะโลหิตจางที่สามัญ โดยมีเม็ดเลือดแดง (erythrocytes) หรือเฮโมโกลบิน ไม่พอ คือ ภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีเหล็กไม่พอ มีผลลดการผลิตโปรตีนเฮโมโกลบิน ซึ่งเป็นตัวจับออกซิเจนและทำให้เม็ดเลือดแดงสามารถส่งออกซิเจนให้กับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เด็ก หญิงช่วงวัยเจริญพันธุ์ และบุคคลที่มีอาหารไม่สมบูรณ์เสี่ยงต่อโรคมากที่สุด กรณีโดยมากของภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเล็กไม่รุนแรง แต่ถ้าไม่รักษาก็อาจสามารถสร้างปัญหาเช่นหัวใจเต้นเร็วหรือไม่ปกติ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ การโตช้าสำหรับทารกหรือเด็ก 75-381 refend more than 1000 refend.

ใหม่!!: ผักโขมและการขาดธาตุเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ คือ การเจริญของลูกตั้งแต่หนึ่ง ที่เรียก เอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ ในมดลูกของหญิง เป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์แฝดเกี่ยวข้องกับการมีเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งในการตั้งครรภ์ครั้งเดียว เช่น ฝาแฝด การคลอดปกติเกิดราว 38 สัปดาห์หลังการเริ่มตั้งท้อง หรือ 40 สัปดาห์หลังเริ่มระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายในหญิงซึ่งมีความยาวรอบประจำเดือนสี่สัปดาห์ การร่วมเพศหรือเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการเริ่มตั้งท้อง เอ็มบริโอเป็นลูกที่กำลังเจริญในช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังเริ่มตั้งท้อง จากนั้นใช้คำว่า ทารกในครรภ์ จนกระทั่งคลอด นิยามทางการแพทย์หรือกฎหมายของหลายสังคมมีว่า การตั้งครรภ์ของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ไตรมาสเพื่อง่ายต่อการอ้างอิงช่วงการเจริญก่อนเกิด ไตรมาสแรกมีความเสี่ยงการแท้งเอง (การตายธรรมชาติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์) สูงสุด ในไตรมาสที่สองเริ่มเฝ้าสังเกตและวินิจฉัยการเจริญของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น ไตรมาสที่สามมีการเจริญของทารกในครรภ์เพิ่มและการเจริญของแหล่งสะสมไขมันของทารกในครรภ์ จุดความอยู่รอดได้ของทารกในครรภ์ (point of fetal viability) หรือจุดเวลาที่ทารกในครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้นอกมดลูก ปกติตรงกับปลายไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 ทารกที่คลอดก่อนจุดนี้มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางการแพทย์หรือตาย ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 40% ของการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ และระหว่าง 25% ถึง 50% ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจเหล่านี้เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา หญิง 60% ใช้การคุมกำเนิดระหว่างเดือนที่เกิดการตั้งครร.

ใหม่!!: ผักโขมและการตั้งครรภ์ · ดูเพิ่มเติม »

กีนัว

กีนัวสีแดง สุกแล้ว กีนัว (quinoa) เป็นพืชในวงศ์ Chenopodiaceae มีความใกล้ชิดกับผักโขมและปวยเล้ง ที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน เป็นไม้ล้มลุกปีเดียว โคนต้นกลม ส่วนที่แตกใบต้นจะเป็นเหลี่ยม ต้นแก่เป็นสีเหลืองอ่อนหรือแดง ต้นอ่อนมีได้หลายสี สีแดงของพืชชนิดนี้เกิดจากเบตาไซยานิน ต้นอายุน้อยใบสีเขียวมีขนละเอียด เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แดง หรือม่วง ดอกช่อผลมีกลีบดอกห่อหุ้ม สามารถถูออกได้ ผลมีหลายสี เมล็ดสีขาว น้ำตาลหรือดำ ลำต้นสูง 1–2 เมตร พืชชนิดนี้เป็นพืชที่ปลูกในแถบเทือกเขาแอนดีส และกระจายไปทั่วอเมริกาใต้ จากนั้นจึงแพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ ถือเป็นธัญพืชชนิดหนึ่ง โดยชาวอินคาได้บริโภคกีนัวกันมาอย่างยาวนานแล้วด้วยเป็นพืชที่มีประโยชน์ เมล็ดนำไปคั่วแล้วบดละเอียดทำเป็นแป้ง นำไปต้มใส่ในซุปหรือทำพาสตา เมล็ดรสชาติมันแต่อบแล้วไม่ขยายตัว นำไปทดแทนแป้งสาลีในการทำขนมปังได้บางส่วน ใบและลำต้นรับประทานเป็นผักได้ทั้งสดหรือนำไปต้ม หรือใช้เป็นอาหารสัตว์ เมล็ดคีนัวให้โปรตีนโดยเฉลี่ยร้อยละ 16 ของน้ำหนัก มีแป้งร้อยละ 60 เม็ดแป้งขนาดเล็กมาก โดยเป็นอะมิโลสร้อยละ 20 และเปลี่ยนรูปเป็นวุ้นเหนียวที่ 55 องศาเซลเซียส เปลือกหุ้มเมล็ดมีสารซาโปนินที่เป็นพิษ กำจัดออกโดยการล้าง กวน และขัดถูอย่างรุนแรง พันธุ์ที่มีรสขมมีซาโปนินสูงถึงร้อยละ 4 ในปี..

ใหม่!!: ผักโขมและกีนัว · ดูเพิ่มเติม »

ราวีโอลี

ราวีโอลีทรงสี่เหลี่ยม ราวีโอลี (Ravioli) เป็นพาสตาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นแป้งแผ่นบางประกบกันและห่อไส้ข้างใน รูปแบบเดียวกับเกี๊ยวของประเทศจีน ซึ่งสามารถทำได้ในหลายรูปทรง เช่น ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทรงครึ่งวงกลม หรือทรงกลมก็ได้ การใส่ไส้ในของราวีโอลีสามารถใส่ได้หลายชนิด เช่น ไส้เนื้อ ไส้ไก่ ไส้ปลา หรือไส้เนยก็ได้ แต่ต้นตำหรับดั้งเดิมของอิตาเลียนจะใช้เนยรีกอตตาขูดผสมกับผักต่าง ๆ เช่น ผักโขม ผักกาด หรืออาจจะผสมมันบด เห็ด ฟักทอง เกาลัด อาร์ทิโชกก็ได้ แต่ขณะในประเทศอิสราเอลนิยมเลือกที่จะใช้มันเทศมากกว.

ใหม่!!: ผักโขมและราวีโอลี · ดูเพิ่มเติม »

ลาลับ

ลาลับ (Lalab,lalap) เป็นอาหารซุนดา ที่ประกอบด้วยผักดิบหลายชนิดกินกับน้ำพริกกะปิแบบพื้นบ้านหรือซัมบัลเตอราซี มีจุดกำเนิดที่ชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย แต่ดั้งเดิม อาหารชนิดนี้ปรุงจากผักที่รับประทานได้ในท้องถิ่นของซุนดา ในปัจจุบันลาลับจะประกอบด้วย กะหล่ำปลี แตงกวา ผักกาดหอม, ถั่วแขก ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ มะเขือ, แมงลัก, ผักโขม, ผักบุ้ง, ใบมันสำปะหลัง ใบมะละกอ ฟักแม้วและมะเขือพวง ในบางครั้งจะใส่ สะตอ และลูกเนียง ผักส่วนใหญ่ที่รับประทานในลาลับจะเตรียมด้วยการล้างในน้ำสะอาดแล้วรับประทานดิบ แต่บางชนิดก็นำไปต้ม นึ่งหรือผัดก่อน เช่น สะตอ อาจจะรับประทานดิบหรือผัด ส่วนฟักแม้ว ผักบุ้ง และใบมันสำปะหลัง มักจะต้มก่อน รับประทานกับซัมบัลเตอราซี ซึ่งมีรสเผ็ด ในปัจจุบัน ลาลับเป็น อาหารอินโดนีเซียที่ได้รับความนิยมทั่วประเทศ โดยรับประทานถัดจากอาหารจานหลัก เช่น ไก่ย่างหรือไก่ทอด ปลาดุกทอด ปลากระดี่ทอด หรือปลาย่าง อาหารจานนี้ใกล้เคียงกับอูลัมในมาเลเซี.

ใหม่!!: ผักโขมและลาลับ · ดูเพิ่มเติม »

ออกซาเลต

รงสร้างทางเคมีของออกซาเลต ออกซาเลต (oxalate) เป็นสารมีฤทธิ์ในการยับยั้งการดูดซึมของแคลเซียมและแร่ธาตุสำคัญหลายชนิดในกระแสเลือด มีผลเสียต่อร่างกายคือ หากรับประทานเป็นประจำทุกวันในปริมาณมาก ออกซาเลตจะเข้าไปตกผลึกสะสมในไตและกระเพาะปัสสาวะทำให้เป็นนิ่ว.

ใหม่!!: ผักโขมและออกซาเลต · ดูเพิ่มเติม »

อาหารกัมพูชา

อะม็อก อาหารกัมพูชาที่มีชื่อเสียง อาหารกัมพูชา หรือ อาหารเขมร เป็นอาหารที่บริโภคกันอย่างแพร่หลายในประเทศกัมพูชา อาหารของกัมพูชามีทั้งผลไม้ ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เครื่องดื่ม ขนมและซุปต่างๆ ที่รับประทานเกือบทุกมื้อ แต่ก๋วยเตี๋ยวยังเป็นที่นิยม กับข้าวมีความหลากหลายทั้งที่เป็นแกง ซุป ทอดและผัด มีพันธุ์ข้าวจำนวนมากในประเทศกัมพูชารวมทั้งข้าวหอมและข้าวเหนียว ข้าวเหนียวนิยมรับประทานเป็นของหวานกับกับผลไม้ เช่น มะม่วง อาหารเขมรส่วนมากมีความคล้ายคลึงกับอาหารของเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทยแม้ว่าโดยทั่วไปจะไม่เผ็ดเท่า และเวียดนามที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกันในการเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนและฝรั่งเศสที่เคยมีอิทธิพลต่อกัมพูชาในประวัติศาสตร์ อาหารประเภทแกงหรือที่เรียกว่าการี (ការី) แสดงร่องรอยของอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาหารอินเดีย ก๋วยเตี๋ยวเส้นหลายรูปแบบแสดงอิทธิพลของอาหารจีน กะทิเป็นส่วนผสมหลักของแกงกะหรี่เขมรและของหวาน ขนมปังฝรั่งเศสเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากยุคอาณานิคม ซึ่งชาวกัมพูชามักจะกินกับปลากระป๋องหรือไข่ กาแฟปรุงด้วยนมข้นหวาน เป็นตัวอย่างของอาหารเช้ากัมพูชาในกัมพูชาแบบหนึ่ง.

ใหม่!!: ผักโขมและอาหารกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

อาหารอินโดนีเซีย

ตัวอย่างของอาหารซุนดาหนึ่งมื้อ; ''อีกันบาการ์'' (ปลาย่าง), ''นาซีติมเบ็ล'' (ข้าวห่อใบตอง), ''อายัมโกเร็ง'' (ไก่ทอด), ''ซัมบัล'', ''เต็มเปทอด'' และเต้าหู้, และ ''ซายูร์อาเซ็ม''; ชามใส่น้ำและมะนาวคือโกโบกันใช้ล้างมือ สะเต๊ะในอินโดนีเซีย อาหารอินโดนีเซีย (Masakan Indonesia) เป็นอาหารทีมีความหลากหลายทางด้านรูปลักษณ์และสีสันเพราะประกอบด้วยประชากรจากเกาะต่าง ๆ ที่มีคนอยู่อาศัยประมาณ 6,000 เกาะจากทั้งหมด 18,000 เก.

ใหม่!!: ผักโขมและอาหารอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

อาหารเยอรมัน

อาหารการกินของชาวเยอรมันจะต่างกันไปตามภูมิภาค แคว้นทางใต้ เช่น บาวาเรีย (Bavaria) อาหารจะคล้ายกับประเทศเพื่อนบ้านทางตอนใต้ คือ สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย ส่วนทางตะวันตกจะกรุ่นไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมฝรั่งเศส ในขณะที่อาหารทางตะวันออกจะใกล้เคียงกับอาหารทางยุโรปตะวันออก และอาหารบริเวณชายฝั่งทางตอนเหนือจะใกล้เคียงกับอาหารแถบสแกนดิเนเวี.

ใหม่!!: ผักโขมและอาหารเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

อูรัป

อูรัป (ล่างขวา) ซึ่งกินกับนาซีกูนิง อูรัป (urap) หรือ อูรัป-อูรัป (urap-urap) หรือยำมะพร้าว เป็นยำผักสุกตามฤดูกาลและใส่มะพร้าวแห้ง เป็นอาหารอินโดนีเซียที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะในอาหารชวา สามารถกินเดี่ยว ๆ ในรูปของอาหารมังสวิรัติได้ หรือเป็นเครื่องเคียงของอาหารจานเนื้อ เช่นในอาหารชวาใช้กินกับตุมเปิง (ข้าวพูนสูงเป็นรูปกรวย) หรือนาซีกูนิง (ข้าวหุงกับกะทิ ใส่ขมิ้น).

ใหม่!!: ผักโขมและอูรัป · ดูเพิ่มเติม »

ผักโขม

ผักโขม (Amaranth) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaranthus viridis จัดอยู่ในวงศ์ Amaranthaceae ผักโขมจะขึ้นอยู่ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติเช่น ป่าละเมาะ ริมทาง ชายป่าที่รกร้าง เป็นต้น และยังขึ้นเป็นวัชพืชในบริเวณสวนผัก สวนผลไม้ ไร่นาของชาวบ้าน ผักโขมเป็นพืชที่ขึ้นง่ายชาวบ้านจึงมักเก็บมาบริโภคในช่วงหน้าฝน รักษ์ พฤษชาติ,ผักพื้นบ้าน ครบเครื่องเรื่องผักพื้นบ้าน ทั้งการปลูกและการตลาด,สำนักพิมพ์ นีออน บุ๊ค มีเดีย,พิมพ์ครั้งที่ 4 มีนาคม 2553 ผักโขมมีชื่ออื่นๆ อีกคือ ผักขม (กลาง), ผักโหม, ผักหม (ใต้), ผักโหมเกลี้ยง (แม่ฮ่องสอน), กระเหม่อลอเตอ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน) ผักโขมมักจะถูกเข้าใจผิดหรือแปลผิดว่าเป็นผักที่ป๊อบอายใช้เพิ่มพลัง ความจริงแล้วคือผักปวยเล้ง (Spinach) ซึ่งในการ์ตูนป๊อบอายจะปรากฏคำว่า Spinach อย่างชัดเจน.

ใหม่!!: ผักโขมและผักโขม · ดูเพิ่มเติม »

คะน้าเม็กซิโก

ตามัลที่ผสมใบคะน้าเม็กซิโก จากรัฐตาบัสโก คะน้าเม็กซิโก, ผักโขมต้น หรือ ชายา (chaya) เป็นไม้พุ่มหลายปีชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์เดียวกับยางพาราและสบู่ดำ เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรยูกาตันของประเทศเม็กซิโก มีลำต้นอวบน้ำซึ่งจะคายน้ำยางขาวออกมาเมื่อถูกตัด ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่ โตเร็ว สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร แต่มักถูกลิดกิ่งก้านออกให้สูงประมาณ 2 เมตรเพื่อให้เด็ดใบมาใช้ประโยชน์ง่ายขึ้น ใบกว้าง มีแฉกตั้งแต่ 3 แฉกขึ้นไป คะน้าเม็กซิโกเป็นผักกินใบยอดนิยมชนิดหนึ่งในตำรับอาหารเม็กซิโก กัวเตมาลา และอเมริกากลาง (บริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากตำรับอาหารมายา) คะน้าเม็กซิโกเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน, วิตามิน, แคลเซียม, โพแทสเซียม และเหล็ก และยังเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ของสารต้านอนุมูลอิสระ ที่จริงแล้ว ใบคะน้าเม็กซิโกยังมีระดับสารอาหารสูงกว่าผักใบเขียวชนิดใด ๆ ที่ปลูกบนดินถึง 2-3 เท่าอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ใบคะน้าเม็กซิโกดิบนั้นมีพิษเนื่องจากมีสารกลูโคไซด์ซึ่งจะปลดปล่อยสารพิษจำพวกไซยาไนด์ออกมา จึงจำเป็นต้องทำให้สุกก่อนรับประทาน โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาทีในการทำให้สุกเพื่อลดฤทธิ์ของสารที่เป็นพิษให้อยู่ในระดับปลอดภัย การต้มในภาชนะอะลูมิเนียมอาจทำให้น้ำต้มเป็นพิษและก่อให้เกิดอาการท้องร่วงได้ คะน้าเม็กซิโกสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง วิธีปรุงดั้งเดิมอย่างหนึ่งในเม็กซิโกและอเมริกากลางจะนำใบไปแช่น้ำแล้วต้มไฟอ่อนประมาณ 20 นาที จากนั้นเสิร์ฟกับน้ำมันหรือเนย นอกจากนี้ยังมีการนำใบที่หั่นและทำให้สุกแล้วไปคลุกข้าวรับประทานกับอาหารรสจัด, นวดผสมกับมันฝรั่งบดแล้วทอด, นวดผสมกับแป้งข้าวโพดแล้วจี่เป็นตอร์ตียาหรือนึ่งเป็นตามัล, ผสมกับมะเขือเทศ หัวหอม ผักชี และพริกหั่นลูกเต๋าทำเป็นเครื่องจิ้ม หรือนำใบอ่อนและยอดอ่อนที่หนานุ่มไปต้มแล้วปรุงรับประทานอย่างผักโขม เป็นต้น.

ใหม่!!: ผักโขมและคะน้าเม็กซิโก · ดูเพิ่มเติม »

คิมบับ

มบับ เป็นอาหารเกาหลีชนิดหนึ่ง ทำจากข้าวสุกและเครื่องปรุงอื่น ๆ หลากชนิด เช่น แตงกวา แคร์รอต ผักโขม ไข่เจียว ปูอัด แฮม เป็นต้น วางแผ่บนแผ่นสาหร่ายแล้วม้วน จากนั้นหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ ชาวเกาหลีนิยมรับประทานคิมบับระหว่างการปิกนิกหรืองานกิจกรรมกลางแจ้ง หรือรับประทานเป็นอาหารกลางวันเบา ๆ โดยเสิร์ฟกับหัวไชเท้าดองและกิมจิ นอกจากนี้คิมบับยังเป็นอาหารนำกลับบ้านที่เป็นที่นิยมทั้งในเกาหลีและต่างประเท.

ใหม่!!: ผักโขมและคิมบับ · ดูเพิ่มเติม »

ตีนูตูวัน

ตีนูตูวัน (tinutuan) หรือ บูบูร์มานาโด (bubur manado) เป็นโจ๊กของชาวมานาโด กินกับผักเช่นผักโขม ผักบุ้ง ข้าวโพด ฟักทอง มันเทศ หรือมันสำปะหลัง ตีนูตูวันเป็นอาหารที่มีจุดกำเนิดที่มานาโด จังหวัดซูลาเวซีเหนือ แต่บางคนก็บอกว่ามาจากมีนาฮาซา จังหวัดซูลาเวซีเหนือ ไม่ทราบที่มาของคำว่าตีนูตูวัน และไม่ทราบจุดกำเนิดแต่เริ่มเป็นที่นิยมระหว่างช่วง..

ใหม่!!: ผักโขมและตีนูตูวัน · ดูเพิ่มเติม »

ซาโปนิน

รงสร้างทางเคมีของโซลานีน ซาโปนิน (saponin) เป็นสารกลุ่มไกลโคไซด์ที่มีสมบัติเป็นแอมฟิฟิล (amphiphile) สามารถละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน จะเกิดเป็นฟองเมื่อนำมาผสมกับสารละลายในน้ำ สารกลุ่มซาโปนินมักมีโครงสร้างเป็นไกลโคไซด์ชนิดไฮโดรฟิลิก (ละลายน้ำ) จับกับสารอนุพันธ์ไตรเทอร์พีนชนิดไลโพฟิลิก (ละลายในไขมัน).

ใหม่!!: ผักโขมและซาโปนิน · ดูเพิ่มเติม »

ประยงค์

ประยงค์ เป็นไม้ในวงศ์ Meliaceae อยู่ในสกุลเดียวกับลางสาด ลองกอง ใบมีสีเขียวเข้ม หนา มีใบย่อย 5 ใบ ใบรูปร่างโค้งมนปลายแหลม ออกดอกเป็นช่อ ดอกขนาดเล็กรูปร่างเป็นเม็ดกลม ๆ มี 20-30 ดอกต่อช่อ ดอกมีสีเหลือง พบในกัมพูชา จีน อินโดนีเซีย พม่า ไต้หวัน ไทย เวียดนาม และอาจจะมีในลาว ในประยงค์มีสารออกฤทธิ์หลายชนิด เช่น สารกลุ่ม Cyclopentabenzofuran ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของสาร Rocaglamide, Odorine, Aglain, Lignanes และ Triterpenes สารเหล่านี้มีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงวันผลไม้ได้ สารสกัดด้วยน้ำจากกิ่งอ่อนยับยั้งการเจริญเติบโตของผักโขมและหญ้าข้าวนกได้ ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซียนำดอกไปแช่น้ำใช้ลดไข้.

ใหม่!!: ผักโขมและประยงค์ · ดูเพิ่มเติม »

นาซีจัมปูร์

นาซีจัมปูร์ (อินโดนีเซียและnasi campur) หรือ นาซีเบอร์เลาก์ (nasi berlauk) เป็นอาหารประเภทข้าวที่วางเนื้อสัตว์ ผัก ถั่วลิสง ไข่ และข้าวเกรียบกุ้งไว้ด้านบน นาซีจัมปูร์กินกับเครื่องเคียงหลายอย่าง ทั้งผัก ปลา และเนื้อสัตว์ เป็นอาหารจานหลักในหลายพื้นที่ทั้งในอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเนเธอร์แลนด์ ในจังหวัดโอะกินะวะของญี่ปุ่นมีอาหารที่คล้ายกัน เรียกจัมปุรู.

ใหม่!!: ผักโขมและนาซีจัมปูร์ · ดูเพิ่มเติม »

แกงกุรุหม่า

แกงกุรุหม่า หรือ แกงมัสล่า (കുറുമ) เป็นแกงแบบน้ำแห้งที่เป็นเอกลักษณ์ของอาหารอินเดียเหนือ บางครั้งเรียกว่ากาเลีย แกงชนิดนี้ใช้เครื่องเทศเป็นหลัก ใส่เนย นมเปรี้ยว โยเกิร์ต ไม่ใส่น้ำมากแต่อาศัยน้ำจากเนื้อและผักที่เคี่ยว นิยมแกงด้วยเนื้อแพะ แกะ ไก่และเป็ด ชาวไทยมุสลิมนิยมปรุงแกงชนิดนี้ในวันสำคัญทางศาสนา แกงกุรุหม่ากับเนื้อสัตว์ต่างๆเช่น ไก่ แพะ นิยมนำมาหุงรวมกับข้าวเป็นข้าวหมกแบบต่างๆ บางครั้งใส่เส้นกวยจั๊บลงไปปรุงกับกุรุหม่าแทนข้าวก็มี แกงกุรุหม่าไก่แบบปากีสถาน.

ใหม่!!: ผักโขมและแกงกุรุหม่า · ดูเพิ่มเติม »

โฟโตเพอริโอดิซึม

ฟโตเพอริโอดิซึม (Photoperiodism)หรือการตอบสนองต่อช่วงแสง เป็นปฏิกิริยาทางสรีรวิทยาของสิ่งมีชีวิตในการตอบสนองต่อความยาวของกลางวันหรือกลางคืน เกิดขึ้นทั้งในพืชและสัตว.

ใหม่!!: ผักโขมและโฟโตเพอริโอดิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เต่าดาวพม่า

ต่าดาวพม่า (Burmese star tortoise; ชื่อวิทยาศาสตร์: Geochelone platynota) เป็นเต่าบกที่มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 11 นิ้ว มีลวดลายบริเวณกระดองหลังเป็นรูปดาว ความเข้มของสีกระดองจะผันแปรไปตามสภาพแวดล้อม มีช่วงวัยเจริญพันธุ์ 10-15 ปี ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูฝน มักวางไข่ใต้พื้นทรายหรือทรายที่ปนดิน ระยะเวลาฟักไข่ 130-148 วัน มีถิ่นอาศัยในป่าผลัดใบ, ป่าดิบแล้ง ทุ่งหญ้าทางตอนเหนือของประเทศพม่า อาหารที่เต่าดาวพม่าชอบคือ ผักชนิดต่าง ๆ อาทิ คะน้า, กะหล่ำปลี, ผักโขม, ตำลึง, หน่อไม้ และมะเขือเทศ ปัจจุบันเต่าดาวพม่าได้ถูกขึ้นบัญชีอนุสัญญา CITES ห้ามล่า ห้ามซื้อขายในตลาดค้าสัตว์ ทำให้เต่าดาวพม่าเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นและเป็นสัตว์หายาก ในประเทศไทยสวนสัตว์นครราชสีมา หรือสวนสัตว์โคราช ที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ เต่าดาวพม่า ได้เป็นครั้งแรกในโลก.

ใหม่!!: ผักโขมและเต่าดาวพม่า · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Amaranthus viridisSpinachผักโขมจีน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »