โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ผักบุ้งทะเล

ดัชนี ผักบุ้งทะเล

ผักบุ้งทะเลริมหาด อ่าวต้นไทร เกาะพีพีดอน ผักบุ้งทะเล เป็นไม้ล้มลุกเถาเลื้อย ลำต้นทอดไปตามยาวบนพื้นดิน มักขึ้นใกล้ทะเล ผิวเถาเรียบสีเขียวและม่วง ใบเป็นรูปหัวใจปลายเว้าเข้าหากัน ตามเถาและใบมียางสีขาว ดอกจะออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 2 - 6 ดอก แต่จะทยอยกันบานทีละดอกเท่านั้น ลักษณะของดอกเป็นรูปปากแตรยาวประมาณ 2.5 นิ้ว มีสีม่วงอมชมพู ม่วงอมแดง ชมพูหรือม่วง ผักบุ้งทะเลมีพิษ ถ้ารับประทานจะเกิดอาการเมา คลื่นไส้ วิงเวียน และ เสียชีวิตได้.

8 ความสัมพันธ์: พญายอการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์สกุลผักบุ้งอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมืองถั่วคล้าทะเลป่าชายหาดแมงกะพรุนเกาะแคโรไลน์

พญายอ

ญายอ หรือ เสลดพังพอนตัวเมีย มีชื่อท้องถิ่นหรือชื่ออื่นอีก คือ: ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) พญาปล้องดำ (ลำปาง) พญาปล้องทอง (ภาคกลาง) ลิ้นมังกร โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง)และ พญายอ (แม่ฮ่องสอน) เสลดพังพอนมีชื่อพ้องกัน คือ เสลดพังพอนตัวผู้ และเสลดพังพอนตัวเมีย แต่ต่างกันที่เสลดพังพอนตัวผู้มีหนาม สรรพคุณอ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย เพื่อไม่ให้สับสนจึงเรียกเสลดพังพอนตัวเมียว่า "พญายอ" ส่วนมากนำมาทำเป็นยาสมุนไพรไทยจัดอยู่ในกลุ่มพืชถอนพิษ.

ใหม่!!: ผักบุ้งทะเลและพญายอ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: ผักบุ้งทะเลและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สกุลผักบุ้ง

กุลผักบุ้ง (Ipomoea, มาจากคำภาษากรีก ipos แปลว่า หนอน และ homoios แปลว่า คล้าย) เป็นสกุลที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์ผักบุ้ง มีมากกว่า 500 ชนิด กระจายพันธุ์ในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ชื่อสามัญของสกุลนี้คือ มอร์นิงกลอรี (morning glory) สกุลนี้มีลักษณะเป็นไม้เถาล้มลุกหรือไม้พุ่ม ใบเรียงเวียน เรียบหรือจักเป็นพู ดอกออกเป็นแบบช่อกระจุก ส่วนมากออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ติดทน ดอกรูปแตรหรือรูประฆัง ปลายจักตื้น ๆ หรือเกือบเรียบ มีแถบกลางกลีบชัดเจน เกสรเพศผู้ 5 อัน ส่วนมากขนาดไม่เท่ากัน จุดติดก้านชูอับเรณูกับหลอดกลีบมีขนหรือต่อม อับเรณูไม่บิดเวียน เรณูเป็นหนามละเอียด จานฐานดอกรูปวงแหวน รังไข่มี 2-4 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรจัก 2 พู เป็นตุ่ม เกสรเพศผู้และเพศเมียส่วนมากไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบ ผลแห้งแตก ส่วนมากมี 4 หรือ 6 ซีก แต่ละซีกมีเมล็ดเดียว รูปสามเหลี่ยมหรือคล้ายครึ่งวงกลม พืชหลายชนิดในสกุลผักบุ้งนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ บางชนิดนิยมนำมารับประทาน เช่น มันเทศ (Ipomoea batatas) และผักบุ้ง (Ipomoea aquatica) ชาวพื้นเมืองในทวีปอเมริกาใช้พืชบางชนิดในสกุลนี้เป็นสมุนไพรพื้นบ้านและยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท.

ใหม่!!: ผักบุ้งทะเลและสกุลผักบุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง

อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีถนนเพชรเกษมตัดผ่าน แบ่งอุทยานแห่งชาติออกเป็นสองส่วนคือ เขาลำปีทางฝั่งตะวันออก และหาดท้ายเหมืองทางฝั่งตะวันตก.

ใหม่!!: ผักบุ้งทะเลและอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วคล้าทะเล

อกของถั่วคล้าทะเล ''Canavalia rosea'' ถั่วคล้าทะเล (Sea bean) เป็นไม้เลื้อยในพืชตระกูลถั่วที่พบในบริเวณชายหาด พบได้ทั่วไปในเขตร้อน ลำต้นทอดเลื้อยไปตามทราย ได้ไกล ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาล แข็งและเหนียว ใบหนาและอวบน้ำ ใบประกอบแบบฝ่ามือ มีใบย่อยสามใบ โดยสองใบแรกมีก้านใบสั้น ส่วนใบที่สามจะมีก้านยาวยื่นออกไปต่างหาก ดอกแบบดอกถั่ว ดอกช่อ สีม่วงอมชมพู ติดฝัก ผลเดี่ยวเป็นฝัก เมื่ออ่อนแบนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปลายเฉียงไปข้างใดข้างหนึ่ง พอแก่แล้วจะพองออกเป็นก้อนเท่าจำนวนเมล็ดภายในฝัก สีกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม แก่ต็มที่จะแตก เมล็ดมีเยื่อสีขาวหุ้ม แต่ละฝักมีราว 3-4 เมล็ด เมล็ดสามารถแพร่กระจายไปกับกระแสน้ำได้ ลักษณะถั่วคล้าจะคล้ายผักบุ้งทะเล ต่างกันที่ใบของถั่วคล้าทะเลเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อยสามใบ ส่วนผักบุ้งทะเลเป็นใบเดี่ยว เป็นพืชที่ทนเค็มและชอบดินทร.

ใหม่!!: ผักบุ้งทะเลและถั่วคล้าทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ป่าชายหาด

ป่าชายหาดที่มีสนทะเลขึ้น ที่รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย ป่าชายหาด (Beach Forest) เป็นลักษณะของป่าประเภทหนึ่ง จัดเป็นป่าละเมาะหรือป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายหรือเนินทรายริมทะเล หรือชายฝั่ง เป็นป่าที่มีขนาดเล็กเกิดขึ้นด้านหลังของสันทรายตามแนวชายฝั่ง น้ำทะเลท่วมไม่ถึง สภาพดินเป็นดินทรายและมีความเค็มสูง เป็นป่าที่มีความแตกต่างจากป่าทั่ว ๆ ไปอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ สภาพโดยทั่วไปแห้งแล้ง ใบไม้ในป่าจะเป็นลักษณะหงิกงอ แต่นี่คือลักษณะของป่าชายหาดที่สมบูรณ์ ป่าชายหาดเป็นป่าที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสลม, กระแสคลื่น รวมถึงไอเค็มจากทะเล, แสงแดดร้อนจัด, สภาพความชื้นสุดขั้วทั้งชื้นจัด, ชื้นน้อย และชื้นปานกลาง ระบบนิเวศจึงประกอบด้วยเนินทรายหรือหาดทรายและมีพืชประเภท ไม้เถาหรือไม้เลื้อย, ไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นที่มีลำต้นคดงอ และมีความสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออยู่ห่างจากชายหาดออกไป ไม้ที่เป็นประเภทหญ้าหรือไม้เลื้อยได้แก่ หญ้าลิงลม, ผักบุ้งทะเล, หญ้าทะเล, เตย ซึ่งรากของไม้เหล่านี้จะช่วยในการยึดเกาะพื้นทรายทำให้พื้นทรายมีความแน่นหนาแข็งแรงมากขึ้น เพื่อที่จะให้รากของไม้ที่ใหญ่กว่า เช่น ไม้พุ่มได้เกาะต่อไป ประเภทของไม้พุ่ม ได้แก่ รักทะเล, ปอทะเล, เสมา, ซิงซี่, หนามหัน, กำจาย ขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ช่วยบังลมทะเลเป็นปราการให้แก่ไม้ชนิดที่ไม่สามารถทนเค็มได้ ประเภทของไม้ยืนต้น เช่น กระทิง, หูกวาง, โพทะเล, ตีนเป็ดทะเล, หยีน้ำ, มะนาวผี, ข่อย แต่ลำต้นไม่สูงมากนัก ใบมีความหงิกงอตามกระแสลม เรือนยอดอยู่ติดกัน และมักมีหนามแหลม บางพื้นที่อาจมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เช่น ยางนา หรือตะเคียน ขึ้นอยู่ด้วยก็ได้ ในฤดูมรสุมช่วงที่เป็นเนินทรายอาจมีน้ำท่วมขังเป็นบ่อหรือแอ่ง จึงกลายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกขนาดเล็ก และกลายเป็นแหล่งน้ำจืดที่เชื่อมโยงกับลำธาร ประโยชน์ของป่าชายหาด คือ ช่วยรักษาความสมดุลระหว่างนิเวศวิทยาชายฝั่งกับนิเวศวิทยาบนบก ช่วยป้องกันการกัดเซาะชายหาดและการทับถมกันของตะกอนชายหาดซึ่งเกิดจากการหมุนเวียนตามสภาพของฤดูกาล ในประเทศไทย พบป่าชายหาดได้ทั่วไปตามฝั่งทะเลอ่าวไทย ในภาคตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชลบุรีไปจนถึงตราด ทางภาคใต้ตั้งแต่เพชรบุรีไปจนถึงมาเลเซีย รวมถึงตามเกาะแก่งต่าง ๆ กลางทะเล จนอาจกล่าวได้ว่า มีป่าชายหาดอยู่ทุกพื้นที่ ๆ มีทะเล ปัจจุบัน ป่าชายหาดถูกบุกรุกทำลายจากมนุษย์ สาเหตุมาจากการไม่เห็นค่าความสำคัญ ด้วยเห็นว่าเป็นเพียงพื้นที่รกร้างหรือเป็นวัชพืช โดยการนำเอาพื้นที่ไปใช้ประโยชน์ในเชิงท่องเที่ยว เช่น ปลูกบังกะโล, รีสอร์ต หรือบุกรุกเพื่อพื้นที่ทำการเกษตร เช่น ปาล์มน้ำมัน หรือนากุ้ง.

ใหม่!!: ผักบุ้งทะเลและป่าชายหาด · ดูเพิ่มเติม »

แมงกะพรุน

แมงกะพรุน หรือ กะพรุน จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว แบ่งออกเป็นอันดับได้ 5 อันดับ (ดูในตาราง) ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในอันดับไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในอันดับคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน.

ใหม่!!: ผักบุ้งทะเลและแมงกะพรุน · ดูเพิ่มเติม »

เกาะแคโรไลน์

กาะแคโรไลน์ (Caroline Island) หรือ แคโรไลน์อะทอลล์ (Caroline Atoll) บ้างเรียก เกาะมิลเลนเนียม (Millennium Island) และ เกาะเบสซีซา (Beccisa Island) เป็นเกาะปะการังวงแหวนไร้คนอาศัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะไลน์ใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง ชาวยุโรปพบเกาะนี้ครั้งแรกเมื่อประมาณ..

ใหม่!!: ผักบุ้งทะเลและเกาะแคโรไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

I. pes-capraeIpomoea pes-caprae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »