สารบัญ
14 ความสัมพันธ์: ชื่อสามัญพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)พืชน้ำพืชใบเลี้ยงเดี่ยวรายชื่อพืชที่สะสมโลหะได้ดีลอว์โซนวงศ์ผักตบผักเขียดจักษ์ พันธ์ชูเพชรคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ปลาปักเป้าสมพงษ์แม่น้ำบางขามเขียดจิก
ชื่อสามัญ
ื่อสามัญ (Common name) หมายถึง ชื่อที่เรียกกันทั่วไปในการอนุกรมวิธานสิ่งมีชีวิต ใช้ชื่ออาจให้ชื่อตามลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เช่น ต้นแปรงขวด, ว่านหางจระเข้ หรืออาจเรียกชื่อตามถิ่นกำเนิด เช่น ผักตบชวา, มันฝรั่ง หรืออาจเรียกตามชื่อที่อยู่ เช่น ดาวทะเล, ทากบก นอกจากนี้ในแต่ละถิ่นยังเรียกชื่อต่างกันเช่น แมลงปอ ภาคใต้เรียกว่า "แมงพี้" ภาคเหนือเรียก "แมงกะบี้" เป็นต้น ซึ่งชื่อสามัญอาจจะซ้ำซ้อนกันได้ จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อระบุให้ถูกต้อง.
พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)
ระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2414 — 30 เมษายน พ.ศ. 2479) เป็นอดีตข้าราชการไทยสังกัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า มีชื่อเสียงจากความรอบรู้ในประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา และการเป็นผู้บุกเบิกการค้นคว้าทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์กรุงศรีอ.
ดู ผักตบชวาและพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)
พืชน้ำ
ัวทั่วไป ใบอยู่ผิวน้ำ ดอกอยู่เหนือน้ำ พืชน้ำ หรือ พรรณไม้น้ำ (aquatic plant, aquatic weed, water plant) เป็นพืชที่อาศัยหรือเจริญเติบโตในน้ำ หรือมีช่วงหนึ่งที่เจริญเติบโตอยู่ในน้ำ อาจอยู่ใต้น้ำทั้งหมดหรือมีบางส่วนขึ้นสู่บริเวณผิวน้ำ ลอยอยู่ตามผิวน้ำ เจริญเติบโตบริเวณที่มีน้ำตามแนวชายฝั่ง พืชที่เจริญเติบโตในที่มีน้ำขัง พื้นที่ชื้นแฉะ ทั้ง น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม โดยสามารถแยกเป็นสี่ประเภทหลัก พืชใต้น้ำ (submerged plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตใต้น้ำทั้งหมด หรือหมายถึงพืชที่ทั้งราก ลำต้น ใบ อยู่ใต้น้ำทั้งหมด ทั้งนี้รากอาจยึดกับพื้นดินใต้น้ำหรือไม่ก็ได้ โครงสร้างลำต้นและใบจะมีช่องว่างมากสำหรับใช้เป็นที่สะสมก๊าซ และช่วยให้ลอยตัวอยู่ในน้ำได้ ส่วนใบมักจะกรอบและบาง ไม่มีปากใบและคิวติน พืชจำพวกนี้พบมากในกลุ่มสาหร่ายต่าง ๆ พืชโผล่เหนือน้ำ (emerged plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตในน้ำเพียงบางส่วน เช่น รากและลำต้น ส่วนรากอาจยึดพื้นดินใต้น้ำหรือไม่ก็ได้ มีใบหรือดอกโผล่พ้นน้ำหรืออาจอยู่ที่ผิวน้ำ บางชนิดอาจมีทั้งใบใต้น้ำและใบเหนือน้ำในลำต้นเดียวกัน ลำต้นมีลักษณะแข็งแรงกว่าพืชใต้น้ำมีคิวตินมีปากใบและคิวติน พบมากในพืชกลุ่มบัวต่าง ๆ ผักตับเต่า แว่นแก้ว สาหร่ายญี่ปุ่น พืชลอยน้ำ (floating plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้โดยลอยอยู่บริเวณผิวน้ำ รากจะอยู่ใต้น้ำ ส่วนของลำต้น ใบ และดอก อยู่เหนือน้ำหรือผิวน้ำ สามารถลอยไปมาได้ หากพืชเหล่านี้อยู่บริเวณน้ำตื้นรากของพืชชนิดนี้อาจยึดอยู่กับพื้นดินใต้น้ำได้ พืชจำพวกนี้ได้แก่ ผักตบไทย ผักตบชวา จอกหูหนู กระจับ ผำ ผักบุ้ง พืชชายน้ำ (merginal plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตบริเวณริมน้ำหรือริมตลิ่ง ทั้งบริเวณหนองน้ำ ริมคลอง บริเวณที่มีน้ำขัง โดยรากจะฝังในดิน ส่วนลำต้น ใบ และดอก จะอยู่เหนือน้ำ.
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon หรือ Liliopsida) เป็นชั้นหนึ่งในส่วนพืชดอกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกลุ่มหนึ่ง ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นโลก และเป็นพื้ชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงอีกด้วย พืชใบเลี้ยงเดี่ยววงศ์ใหญ่ที่สุด คือ กล้วยไม้ (Orchidaceae) โดยมีดอกที่ซับซ้อน และสวยงาม เพื่อดึงดูดแมลงชนิดต่างให้ช่วยในการผสมพันธุ์ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีปริมาณมากเป็นอันดับสอง และอาจจะเป็นวงศ์ที่โดดเด่นกว่า ก็คือ หญ้า (Poaceae หรือ Gramineae) โดยมีวิวัฒนาการอีกทางหนึ่ง มีลักษณะพิเศษคือ การแพร่ขยายพันธุ์โดยอาศัยลม พืชในวงศ์หญ้านั้นมีดอกขนาดเล็ก แต่เมื่อรวมเป็นกลุ่มอาจปรากฏเป็นช่อดอกที่มองเห็นชัดเจนและสวยงาม.
ดู ผักตบชวาและพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
รายชื่อพืชที่สะสมโลหะได้ดี
ต่อไปนี้เป็นรายชื่อพืชที่สะสมโลหะหนักบางชนิดได้ดี (hyperaccumulators) ในตารางแสดงพืชที่สามารถสะสมโลหะดังนี้ Al, Ag, As, Be, Cr, Cu, Mn, Hg, Mo, Pb, Se, Zn ได้ดี.
ดู ผักตบชวาและรายชื่อพืชที่สะสมโลหะได้ดี
ลอว์โซน
ลอว์โซน (lawsone) บางครั้งเรียก กรดเฮนโนแทนนิก (hennotannic acid) มีชื่อทางเคมีว่า 2-ไฮดรอกซี-1,4-แนฟโทควิโนน (2-hydroxy-1,4-naphthoquinone) เป็นสีย้อมสีส้มแดง พบในใบของเทียนกิ่งขาว (Lawsonia inermis) และในดอกของผักตบชวา (Eichhornia crassipes) ใช้สารสกัดจากเทียนกิ่งขาวที่มีลอว์โซนเป็นสีย้อมผมและผิวหนังมานานกว่า 5000 ปี ลอว์โซนจะทำปฏิกิริยากับโปรตีนเช่น เกราทิน ในผิวหนังและผม โดยกระบวนการที่เรียกว่า Michael addition ทำให้สีย้อมติดทนจนกว่าจะถูกเช็ดออก ลอว์โซนสามารถดูดซึมรังสียูวี และสารสกัดมีประสิทธิภาพในการเป็นสารกันแดด ในทางเคมี ลอว์โซนมีความคล้ายจักโลนที่พบในวอลนัท.
วงศ์ผักตบ
วงศ์ผักตบ หรือ Pontederiaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก ในระบบ APG II และ APG จัดให้อยู่ในอันดับ Commelinales เป็นวงศ์ขนาดเล็กของพืชน้ำ ตัวอย่างเช่น ผักตบไทย, ผักตบชว.
ผักเขียด
ต้นขาเขียด ส่วนต่าง ๆ ของต้นขาเขียด ผักเขียด มีชื่อสามัญหลายชื่อ เช่น heartleaf false pickerelweed, oval-leafed pondweed เป็นต้น เป็นพืชชนิดหนึ่งจัดเป็นวัชพืชน้ำ พบทั่วไปในบริเวณที่มีน้ำขัง หนอง คลอง บึง ชื่อเรียกอื่น ๆ ได้แก่ ขากบขาเขียด ขาเขียด ผักเป็ด ผักเผ็ด ผักริ้น ผักหิน ผักฮิ้น ผักฮิ้นน้ำ ผักขี้เขียด กันจ้อง ผักลิ่น ผักลิ้น ริ้น ผักอีฮิน ผักอีฮินใหญ่ ในภาษาอีสาน และ ขี้ใต้ ในภาษาใต้.
จักษ์ พันธ์ชูเพชร
รองศาสตราจารย์ จักษ์ พันธ์ชูเพชร ชื่อเดิม:ประจักษ์ พันธ์ชูเพชร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษาต่อเนื่อง และรักษาการผู้อำนวยการสถานการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นอาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยากรให้กับสถาบันพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ บริษัท ทุนมนุษย์ จำกัด อดีตวิทยากรคณะกรรมการการเลือกตั้ง วิทยากรคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการการอำนวยการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร เป็นผู้ดำเนินรายการ "ชวนพี่น้องมองบ้านเมือง" และรายการ "เวทีประชาคมเพื่อชุมชุนเข้มแข็ง" ทางสถานีโทรทัศน์ NBT นักจัดรายการวิทยุ รายการ "คุยกัยอาจารย์จักษ์" ที่ FM 107.25 MHz.
ดู ผักตบชวาและจักษ์ พันธ์ชูเพชร
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร (Faculty of Archaeology, Silpakorn University) ตั้งขึ้นเป็นคณะที่ 3 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ..
ดู ผักตบชวาและคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์
ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ (Freshwater pipefish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ม้าน้ำและปลาจิ้มฟันจระเข้ (Syngnathidae) วงศ์ย่อย Syngnathinae มีรูปร่างแปลกไปจากปลาทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายกิ่งไม้ สัณฐานเป็นเหลี่ยม เกล็ดได้เปลี่ยนรูปกลายเป็น แผ่นกระดูกแข็ง เป็นข้อรอบตัว จะงอยปากยื่นแหลม ปลายปากคล้ายปากแตร ไม่มีฟัน ใช้ปากดูดอาหาร ลำตัวมีสีน้ำตาลเขียว และมีลายดำเป็นวงทั่วตัว ว่ายน้ำเชื่องช้า อาหารได้แก่ แมลงน้ำ, ลูกกุ้ง, ลูกปลาขนาดเล็ก และแพลงก์ตอนสัตว์ มีความยาวประมาณ 16-47 เซนติเมตร ปลาในวงศ์นี้ โดยมากเป็นปลาทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด มีลักษณะเฉพาะ คือ เมื่อวางไข่ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายอุ้มท้องโดยตัวเมียจะวางไข่ไว้ที่หน้าท้องตัวผู้ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลจนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัว ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ พบอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ ในแม่น้ำลำคลองและหนอง, บึง ทางน้ำติดต่อกับแม่น้ำ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย สำหรับภาคใต้พบมากในส่วนของทะเลน้อยของทะเลสาบสงขลา โดยมักหลบซ่อนอยู่ใต้กอพืชน้ำหรือผักตบชวา ไม่ใช้สำหรับการบริโภค แต่ในสูตรยาจีน ใช้ตากแห้งเพื่อเป็นสมุนไพรทำยาเช่นเดียวกับม้าน้ำ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ก็เป็นชนิดที่เลี้ยงยากมาก เนื่องจากปากมีขนาดเล็ก ผู้เลี้ยงจึงหาอาหารให้กินได้ลำบาก.
ดู ผักตบชวาและปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์
ปลาปักเป้าสมพงษ์
ปลาปักเป้าสมพงษ์ (Redeye puffer, Sompong's puffer) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) มีพื้นลำตัวสีเทาอมเขียว ใต้ท้องสีขาว มีลวดลายสีเทาเข้มขนาดใหญ่พาดบนแผ่นหลังและข้างลำตัว สามารถปรับเปลี่ยนสีลำตัวให้เข้มหรือจางได้ตามสภาพแวดล้อม ตามีสีแดงสามารถกรอกกลิ้งไปมาได้ ตัวผู้และตัวเมียความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยปลาตัวผู้จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า ตัวสีแดง ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็ก มีลำตัวสีเขียวมีลาดพาดตามลำตัว มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 3 นิ้ว พบกระจายอยู่ทั่วไปตามแม่น้ำลำคลองทั่วประเทศ โดยมักหลบอยู่ใต้กอผักตบชวา หรือในบริเวณน้ำกร่อยตามชายฝั่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้แม้แต่ในพื้นที่ฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว มักกัดกันเองเสมอ ๆ ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในตู้เลี้ยง โดยจะวางไข่ในน้ำกร่อย ปลาชนิดนี้ถูกค้นพบโดยคนไทย จึงตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ คือ นายสมพงษ์ เล็กอารีย์ ซึ่งเป็นนักธุรกิจส่งออกปลาสวยงาม นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และมีชื่อเรียกอื่น เช่น "ปลาปักเป้าตาแดง" เป็นต้น.
ดู ผักตบชวาและปลาปักเป้าสมพงษ์
แม่น้ำบางขาม
ลุ่มน้ำบางขาม ลพบุรี แม่น้ำบางขาม เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ มีความยาวเพียง 20 กิโลเมตร ซึ่งมีต้นกำเนิดจากคลอง ในเขตอำเภอบ้านหมี่ ไหลไปรวมกับแม่น้ำลพบุรี ในเขตอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ลุ่มแม่น้ำบางขาม ลพบุรี เป็นสายน้ำแห่งวิถีชีวิตของผู้คนซึ่งนักโบราณคดีเชือว่า เดิมชุมชนแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศักราช 1100- 1600 เป็นแหล่งอารยธรรมของมอญอาศัยอยู่ชื่อว่า "เมืองราม" เมื่ออิทธิพลขอมเรืองอำนาจ อาณาจักรทวารวดีล่มสลายลง และต่อมาชนเผ่าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นผู้คนจาก จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดลพบุรี ได้พากันอพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ำบางขามและเนื่องจากริมแม่น้ำดังกล่าวมีต้นไผ่ซึ่งชาวบ้านปลูกไว้เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน และป้องกันลมจากชายน้ำ และมีจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกขานกันว่าเป็น บ้านวังไผ่ ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่บริเวณหมู่ที่ 4 ตำบลบางพึ่ง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ลุ่มแม่น้ำบางขาม ประกอบด้วย ต.มหาสอน ต.บางพึ่ง ต.บ้านชี ต.บางขาม อ.บ้านหมี่ และต.
เขียดจิก
ียดจิก หรือ กบบัว หรือ เขียดเขียว หรือ เขียดบัว (Green paddy frog, Red-eared frog, Leaf frog, Common green frog) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก ชนิดหนึ่ง ในวงศ์กบนา (Ranidae) มีลำตัวด้านหลังและด้านข้างลำตัวสีเขียว ขอบด้านล่างของด้านข้างลำตัวสีน้ำตาลเข้ม และมีจุดสีเข้มกระจายอยู่ที่ด้านข้างลำตัวกับบนหลังทางส่วนท้ายของลำตัว ขอบปากบนสีขาว ด้านท้องสีขาว แผ่นเยื่อแก้วหูสีน้ำตาล ขาหน้าและขาหลังสีน้ำตาลและมีแถบสีเข้มพาดตามความยาวของขา ขาหน้าเรียวและนิ้วตีนยาว ขาหลังเรียวยาวและนิ้วตีนยาว เมื่อพับขาหลังแนบกับลำตัวไปทางด้านหน้า ข้อตีนอยู่ในตำแหน่งช่องเปิดจมูก นิ้วตีนหน้าไม่มีแผ่นหนังระหว่างนิ้ว นิ้วตีนหลังมีแผ่นหนังเกือบเต็มความยาวนิ้ว มีขนาดจากปลายปากถึงรูก้นประมาณ 70 มิลลิเมตร ลำตัวเรียว ผิวหนังลำตัวเรียบ มีแผ่นหนังหนา สีขาวหรือสีครีมขอบสีน้ำตาลเข้มค่อนข้างกว้างอยู่ที่ขอบด้านนอกลำตัว แผ่นหนังนี้เริ่มต้นจากด้านท้ายตาไปที่ส่วนต้นขาหลัง ลูกอ๊อดมีขนาดตัวปานกลาง ลำตัวยาวและหัวแบน ด้านหลังสีเขียว ท้องและด้านข้างลำตัวสีน้ำตาลและมีลายร่างแหสีน้ำตาลเข็มที่ข้างตัว หางยาวและมีกล้ามเนื้อแข็งแรง แผ่นครีบหางใหญ่และมีลวดลายเป็นร่างแหสีน้ำตาลเข้ม ปากอยู่ด้านล่างแต่ค่อนข้างสูงขึ้นมาทางด้านหน้าของส่วนหัว ช่องปากเล็ก มีตุ่มฟัน ขอบของจะงอยปากบนและของจะงอยปากล่างมีรอยหยัก จะงอยปากล่างใหญ่กว่าจะงอยปากบน ลูกอ๊อดมีนิสัยการกินอาหารแบบผู้ล่าและมีพฤติกรรมล่าเหยื่อที่อยู่ในน้ำ จัดได้ว่าเป็นสมาชิกในวงศ์นี้ที่มีขนาดเล็ก มักอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีกอพืชน้ำขึ้นหนาแน่น เช่น บัว, จอกแหน, ผักตบ เป็นต้น หากินในเวลากลางคืน มีความว่องไวมาก พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค เขียดจิก มีเสียงร้อง "จิ๊ก ๆๆๆๆๆ" ประกอบกับมักหลบซ่อนอยู่ตามกอบัว อันเป็นที่มาของชื่อ.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Eichhornia crassipesWater Hyacinthตบชวา