สารบัญ
12 ความสัมพันธ์: บิสกอตตีพุงออ-ปังอาปัมบาลิก์ขนมฝรั่งกุฎีจีนขนมปังขนมปังทอดอินเดียนแดงแป้งพายโมโม (อาหาร)โซเดียมไบคาร์บอเนตเสี่ยวหลงเปาเค้กฟองน้ำเค้กเนยสด
บิสกอตตี
กอตตีแห่งปราโต บิสกอตตี (biscotti) คือคำในภาษาอิตาลีซึ่งมีความหมายว่า "ขนมปังกรอบ" (บิสกิต) แต่ในอเมริกาเหนือ คำนี้ถูกนำไปเรียกขนมปังกรอบชนิดหนึ่ง.
พุงออ-ปัง
งออ-ปัง เป็นขนมเกาหลีชนิดหนึ่ง เป็นเค้กรูปปลาสอดไส้ถั่วแดงกวน มักพบตามร้านข้างถนนหรือแผงลอยในประเทศเกาหลี ประกอบอาหารในเตาลักษณะคล้ายเตาวาฟเฟิลที่มีเบ้ารูปปลา โดยมากจะสอดไส้ถั่วแดงกวน แต่ปัจจุบันหลาย ๆ ร้านได้ดัดแปลงสอดไส้ต่าง ๆ เช่น คัสตาร์ด (เกาหลีเรียกชูแครม), เครื่องโรยหน้าพิซซา, ช็อกโกแลต และอื่น.
อาปัมบาลิก์
อาปัมบาลิก์ (apam balik) เป็นขนมชนิดหนึ่งในมาเลเซีย มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น Ban Jian Kuih, Chin Loong Pau, Martabak Manis, Terang Bulan, Apam Pulau Pinang หรือ Kuih Haji ในบางพื้นที่ เป็นขนมที่นิยมขายริมถนนทั่วมาเลเซีย ลักษณะขนมจะกรอบด้านนอก ขนมนี้แบบของเปอรานากันจะคล้ายเซอราบีของอินโดนีเซี.
ขนมฝรั่งกุฎีจีน
นมฝรั่งกุฎีจีน ขนมฝรั่งกุฎีจีน เป็นขนมไทยอย่างหนึ่ง ที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่กรุงธนบุรีเป็นราชธานี โดยเป็นขนมที่อยู่คู่กับชุมชนกุฎีจีน ชุมชนของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส ที่ตั้งอยู่ที่บริเวณใกล้เคียงกับโบสถ์ซางตาครู้ส โบสถ์คาทอลิกเก่าแก่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านฝั่งธนบุรี ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ที่นี่มาตั้้งแต่ยุคกรุงธนบุรี ขนมฝรั่งกุฎีจีน เป็นขนมที่ได้รับอิทธิพลมาจากขนมโปรตุเกสเช่นเดียวกับขนมไทยหลายอย่าง เช่น ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง หรือลูกชุบ ตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ ตัวขนมเป็นตำรับของขนมแบบโปรตุเกส โดยใช้วัตถุดิบสามอย่าง คือ แป้งสาลี, ไข่เป็ด และน้ำตาลทราย ตีให้ส่วนผสมเข้ากันจนขึ้นฟูและเทลงแม่พิมพ์ โดยไม่ผสมผงฟู, ยีสต์ หรือสารกันบูด จากนั้นโรยด้วยลูกเกด, ลูกพลับอบแห้ง, ฟักเชื่อม และน้ำตาลทราย ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากขนมของจีน โดยชาวจีนเชื่อว่าเมื่อรับประทานฟักเชื่อมแล้วจะก่อให้เกิดความร่มเย็น ส่วนน้ำตาลทรายจะเกิดความมั่งคั่งไม่รู้จบเหมือนกับน้ำตาลทรายที่นับเม็ดไม่ได้ ส่วนลูกพลับอบแห้งและลูกเกด ก็เป็นผลไม้ที่มีราคาและมีคุณค่าทางอาหารอีกด้วย แล้วจึงนำไปเทใส่แม่พิมพ์แล้วอบจนสุกโดยใช้วิธีอบแบบโบราณด้วยเตาถ่าน รสชาติมีความกรอบนอก นุ่มใน เดิมที ขนมฝรั่งกุฎีจีนจะทำกันเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญทางศาสนาและแจกจ่ายรับประทานกันเองในครอบครัวหรือชุมชน เช่น คริสต์มาส ต่อมาเมื่อได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น จึงมีการทำออกมาขาย จนมีคำร้องคล้องจองกันของผู้ค้า เมื่อนำขนมออกไปเร่ขายเพื่อดึงดูดความสนใจผู้ซื้อว่า "อ้อยจีนบางใหญ่ อ้อยไทยบางคูวัด ข้าวหลามตัดวัดระฆัง ขนมฝรั่งกุฎีจีน แม่เอ๊ย" อันบ่งบอกได้ถึงอดีตที่เคยรุ่งเรืองของอาหารพื้นถิ่นและการค้าขายในแถบนี้ ซึ่งในอดีตก็จะมีขายเฉพาะในช่วงปลายปีเท่านั้น อันตรงกับช่วงเทศกาลคริสต์มาส ปัจจุบัน ที่ชุมนุมกุฎีจีนเหลือร้านที่ทำและจำหน่ายขนมฝรั่งกุฎีจีนเพียงไม่กี่รายเท่านั้น.
ขนมปัง
นมปัง ขนมปัง หรือ ปัง เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสาลีที่ผสมกับน้ำและยีสต์ หรือผงฟู นอกจากนี้ยังมีการใช้ส่วนผสมอื่น ๆ เพื่อแต่งสี รสชาติและกลิ่น แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของขนมปัง และ แต่ละประเทศที่ทำ โดยนำส่วนผสมมาตีให้เข้ากันและนำไปอบ ขนมปังมีหลายประเภท เช่น ขนมปังฝรั่งเศส ขนมปังไรย์ หรือแม้กระทั่งเพรตเซิล ของขึ้นชื่อประเทศเยอรมนี เป็นต้น ชาวสวิสที่อาศัยอยู่ตามทะเลสาบในยุคหินเป็นผู้ริเริ่มนำเมล็ดข้าวสาลีมาบดโดยใช้ครกหยาบ ๆ ตำ แล้วนำไปผสมน้ำ แล้วนำไปเทลงบนหินร้อนๆเพื่อให้สุก ผลที่ได้คือขนมปังที่ขึ้นฟูโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งค้นพบมากว่า 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ประวัติที่ยอมรับสืบเนื่องกันมาก็คือพวกทาสในสมัยราชวงศ์อียีปต์ ได้ผสมก้อนแป้งที่ลืมทิ้งไว้ลงไปในแป้งที่ผสมเสร็จใหม่ๆ ผลที่ได้คือแป้งที่เบาและรสชาติดี.
ขนมปังทอดอินเดียนแดง
นมปังทอดอินเดียนแดง หรือ ฟรายเบรด (frybread หรือ สะกด fry bread) เป็นก้อนแป้งรูปแบนทอดในน้ำมันพืช หรือ น้ำมันหมู โดยมีผงฟูหรือยีสต์เป็นส่วนผสมของตัวแป้ง ขนมปังทอดอินเดียนแดงสามารถนำรับประทานเดี่ยว ๆ หรือนำรับประทานกับน้ำผึ้ง แยม หรือเนื้อวัว.
ดู ผงฟูและขนมปังทอดอินเดียนแดง
แป้งพาย
แป้งพาย (pastry dough) คือส่วนผสมของแป้ง (dough) ชนิดหนึ่ง ใช้เป็นฐานของพาย ทาร์ต และ คีช ประกอบด้วย แป้ง เนย เนยขาว ผงฟู ไข่ เป็นต้น แป้งพายมีสัดส่วนไขมันมากกว่าขนมปังมาก จึงมีลักษณะร่วนกรอบ แป้งพายที่ดีต้องเบา เนื้อไม่แน่น และมีส่วนประกอบของไขมันอยู่มาก ทว่าก็ต้องแข็งพอที่จะรับน้ำหนักของไส้พายได้ ในการผสมแป้งพายร่วนกรอบ มีข้อควรระวังอยู่ว่า ต้องผสมแป้งกับไขมันให้เข้ากันทั่วถึง แล้วจึงเติมน้ำหรือของเหลว เพื่อให้ไขมันเคลือบเม็ดแป้ง ลดโอกาสเกิดกลูเต็นที่ทำให้แป้งเหนียว อย่างไรก็ตาม การผสมแป้งนานเกินไปก็ทำให้เกิดกลูเต็นสายยาว ทำให้แป้งแข็งได้เช่นกัน นอกจากใช้กรุพายแล้ว ยังมีแป้งพายอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แป้งพายชั้น ใช้ในการทำเดนิช และครัวซอง มีลักษณะเป็นแผ่นแป้งบางกรอบหลายชั้นซ้อนกัน ชั้นเหล่านี้เกิดจากเนยที่แทรกอยู่เป็นชั้นภายในแป้ง (ดูรายละเอียดในหัวข้อ แป้งพายชั้น) การอบแป้งพายโดยทั่วไปมีสองแบบ คืออบพร้อมไส้ และแป้งพายและพักให้เย็นก่อนใส่ไส้ (en:blind-baking).
โมโม (อาหาร)
มโม (མོག་མོག་; Wylie: mog mog) เป็นเกี๊ยวหรือขนมจีบที่มีต้นกำเนิดในทิเบต กลายเป็นอาหารประจำชาติของชาวเนวาร์ ชาวเชอร์ปา ชาวลิมบู Gurungs และ Magars ของเนปาลและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ของประเทศเนปาล คล้ายกับ buuz ของมองโกเลียและ jiaozi ของจีน คำว่า "โมโม" ในภาษาทิเบตเป็นคำยืมจากภาษาจีน mómo (馍馍).
โซเดียมไบคาร์บอเนต
ซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate; ชื่อตาม IUPAC: โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต) หรือ โซดาทำขนม (baking soda) เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมีคือ NaHCO3 มีเลขอีคือ E500 ลักษณะเป็นผงสีขาว มีรสเค็มคล้ายโซเดียมคาร์บอเนต มีการใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตมีมาสมัยนกฮูกที่ชื่อชวินได้กินสารXอุฟุฟวยเข้าไปจนตัวระเบิด ในรูปของเนตรอน (natron).
เสี่ยวหลงเปา
ี่ยวหลงเปา (Xiaolongbao; จีนตัวเต็ม: 小籠包; จีนตัวย่อ: 小笼包) เป็นติ่มซำแบบหนึ่งของจีน แปลตรงตัวว่าซาลาเปาในเข่งเล็ก เป็นอาหารเซี่ยงไฮ้ที่ได้รับความนิยมมากทางตอนใต้ของจีน มีต้นกำเนิดในสมัยซ่งเหนือ โดยแต่เดิมเป็นซาลาเปาลูกใหญ่ มีน้ำซุปอยู่ข้างใน เรียกทางเปา เมื่อราชสำนักซ่งเหนืออพยพหนีชนเผ่าจินลงใต้ ย้ายเมืองหลวงจากเมืองไคฟงมาเมืองหางโจว ทางเปาก็เป็นที่นิยมในหางโจว และปรับรูปแบบให้มีขนาดเล็กลงจนกลายเป็นเสี่ยวหลงเปาในปัจจุบัน เสี่ยวหลงเปาทำจากแป้งขนมปังผสมกับแป้งสาลีอเนกประสงค์ ไม่ใส่ผงฟูหรือยีสต์ ไส้เป็นหมูสับมีน้ำซุปอยู่ข้างใน ซึ่งมาจากการใส่วุ้นที่มาจากการเคี่ยวหนังหมู หนังไก่ แล้วพักให้เย็นจนแข็งตัวเป็นวุ้น ตักวุ้นนี้วางบนไส้หมู แล้วห่อด้วยแป้ง จับจีบให้ได้ 18 จีบ เมื่อนึ่งสุกวุ้นจะละลาย กลายเป็นน้ำซุปอยู่ข้างใน.
เค้กฟองน้ำ
้กฟองน้ำ หรือ สปันจ์เค้ก (sponge cake) เป็นเค้กที่ทำจากแป้ง (โดยมากแป้งสาลี) น้ำตาล ไข่ และบางครั้งผงฟู เพื่อให้ฟูและมีฟองอากาศอย่างผิวฟองน้ำ (สัตว์ทะเล).
เค้กเนยสด
เค้กเนยสด เป็นเค้กที่มีส่วนผสมหลักคือเนยสด ส่วนผสมหลักคือเนยสด แป้ง น้ำตาล และไข่ เพื่อให้ได้เค้กที่มีเนื้อหนักและมีกลิ่นหอม จากการคิดค้นผงฟูในศตวรรษที่ 19ทำให้ส่วนผสมของเค้กมีเนื้อเบาและนุ่มขึ้น เค้กเนยหรือเค้กที่มีไขมันเป็นส่วนผสมหลัก มีแป้ง นม ไข่ เป็นโครงสร้าง โดยปริมาตรของเค้กขึ้นฟูด้วยการตีเนยกับน้ำตาลซึ่งทำให้ไขมันเก็บกักอากาศระหว่างตี จนมีลักษณะเป็นครีม ดังนั้นขั้นตอนการผสมแป้งจึงต้องทำอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้สูญเสียอาการภายในส่วนผสม เนื้อเค้กมีความนุ่ม แน่นละเอียดเสมอกัน เช่น เค้กเนยสด เค้กผลไม้ เค้กสินอ่อน คัพเค้ก เค้กเนยสดใช้วิธีการตีครีม โดยนำเอาเนยและน้ำตาลมาตีจนเนื้อเนียนเพื่อเก็บอากาศลงไปในเนย จากนั้นใส่ไข่ลงไป ตามด้วยการทยอยใส่ส่วนผสมเปียกและแห้งสลับกัน เค้กเนยสดไม่สามารถคงสภาพความแน่นและความชุ่มได้เมื่ออยู่ในตู้เย็น จึงต้องเพิ่มส่วนผสมเพื่อให้ทนต่อการแช่เย็นได้ เช่น ครีมชีส น้ำตาลไอซิ่ง และ pastry cream หมวดหมู่:ขนมหวาน หมวดหมู่:เค้ก.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Baking powderผงฟูทำขนมปัง