เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ป้อมสนาม

ดัชนี ป้อมสนาม

กำแพงเมืองจีน ที่มีหอสังเกตการณ์ประเป็นระยะๆ เป็น “ระบบป้อมปราการ” ชนิดหนึ่ง ป้อมสนาม (Fortification) คือสิ่งก่อสร้างทางยุทธศาสตร์หรือตึกที่ออกแบบเพื่อการป้องกันตนเองในยามสงครามหรือใช้เป็นที่มั่น การสร้างระบบป้อมปราการเป็นการก่อสร้างที่เริ่มทำกันมาเป็นเวลาหลายพันปีในรูปแบบที่เริ่มตั้งแต่เพียงโครงสร้างง่ายๆ มาจนเป็นระบบที่สลับซับซ้อน เช่นในการสร้างป้อมดาวในยุคกลาง ในภาษาอังกฤษ “Fortification” แผลงมาจากภาษาลาติน “Fortis” ที่แปลว่า “แข็งแรง” และคำว่า “Facere” ที่แปลว่า “สร้าง”.

สารบัญ

  1. 51 ความสัมพันธ์: ชัยปุระพระราชวังวินด์เซอร์พะสิมกบฏโพกผ้าเหลืองการทลายคุกบัสตีย์การ์กาซอนกำแพงป้องกันกำแพงเมืองเชียงใหม่มุขป้อมยาโรสลาฟล์รายชื่อป้อมยุทธนาวีในจังหวัดสมุทรปราการลุ่มแม่น้ำลัวร์สะพานมหาดไทยอุทิศสถาปัตยกรรมนอร์มันสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์หอคอยแห่งลอนดอนหอคอยเล็กอัศวินเทมพลาร์อัคระอาสนวิหารการ์กาซอนอาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแลจังหวัดกาญจนบุรีถนนพระอาทิตย์ครักเดเชอวาลีเยคูเมืองซอกเดียนร็อกปฏิบัติการบาร์บารอสซาประวัติศาสตร์ลักเซมเบิร์กประเทศเวียดนามปราสาทปราสาทชั้นในปราสาทญี่ปุ่นป้อมชยครห์ป้อมพระสุเมรุป้อมพระจุลจอมเกล้าป้อมริบาตป้อมอัคราป้อมอาเมร์ป้อมดาวป้อมนาหรครห์ป้อมแดงแม็กแน็สโซะ ระ โนะ โวะ โตะเกาะอัลคาทราซเรือนเฝ้าประตูเวียงเชียงใหม่เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกเทศบาลนครนครราชสีมาเซบัสเตียง เลอ แพร็สทร์ เดอ โวบ็อง... ขยายดัชนี (1 มากกว่า) »

ชัยปุระ

ัยปุระ (जयपुर, Jaipur) เป็นเมืองหลักของรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย และยังเป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศอินเดีย (3.1 ล้านคน) ก่อตั้งเมื่อ 17 พฤศจิกายน..

ดู ป้อมสนามและชัยปุระ

พระราชวังวินด์เซอร์

ระราชวังวินด์เซอร์ (ภาษาอังกฤษ: Windsor Castle) เป็นพระราชวังตั้งอยู่ที่วินด์เซอร์, มลฑลบาร์คเชอร์ในสหราชอาณาจักร สร้างโดยสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษเมื่อปี..

ดู ป้อมสนามและพระราชวังวินด์เซอร์

พะสิม

ม (ဖာသဳ พะแซม) หรือ บัสเซียน (Bassein) เป็นเมืองท่าสำคัญและเป็นเมืองศูนย์กลางของเขตอิรวดี ห่างจากนครย่างกุ้งมาทางตะวันตกเฉียงใต้ ริมแม่น้ำพะสิม ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาฝั่งตะวันตกของแม่น้ำอิรวดี เมืองนี้มีประชากร 237,089 คน (ค.ศ.

ดู ป้อมสนามและพะสิม

กบฏโพกผ้าเหลือง

กบฏโพกผ้าเหลือง (Yellow Turban Rebellion) เป็นกลุ่มผู้ก่อการกบฏประมาณหลายล้านคนใน..

ดู ป้อมสนามและกบฏโพกผ้าเหลือง

การทลายคุกบัสตีย์

การทลายคุกบัสตีย์ (Prise de la Bastille; Fall of the Bastille) คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเช้าวันที่ 14 กรกฎาคม..

ดู ป้อมสนามและการทลายคุกบัสตีย์

การ์กาซอน

การ์กาซอน (Carcassonne) เป็นเมืองที่มีกำแพงป้องกันเมืองล้อมรอบที่ตั้งอยู่จังหวัดโอดในอดีตแคว้นล็องก์ด็อกในประเทศฝรั่งเศส เมืองการ์กาซอนแยกออกเป็นสองส่วน “Cité de Carcassonne” ซึ่งเป็นบริเวณเมืองที่ล้อมรอบด้วยกำแพงเมือง และ “ville basse” ซึ่งเป็นบริเวณปริมณฑลรอบตัวเมืองเก่า ที่มาของการ์กาซอนมาจากตำนานพื้นบ้านที่กล่าวว่าหลังจากประมุขของปราสาทชื่อ “การ์กัส” สามารถยุติการล้อมเมืองได้ก็ทำการสั่นระฆังเพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง “Carcas sona” แต่การสร้างเป็นประติมากรรมฟื้นฟูกอธิคบนคอลัมน์บนประตูนาร์บอนเป็นของใหม่ ป้อมปราการที่บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่หมดในปี..

ดู ป้อมสนามและการ์กาซอน

กำแพงป้องกัน

วนหนึ่งของกำแพงเมืองจีน กำแพงป้องกัน (Defensive wall) คือระบบป้อมปราการที่ใช้ในการป้องกันเมืองหรือชุมชนจากผู้รุกราน ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงสมัยปัจจุบันการสร้างกำแพงป้องกันมักจะสร้างล้อมรอบบริเวณชุมชนที่อยู่อาศัย โดยทั่วไปแล้วก็จะเรียกว่า กำแพงเมือง แต่ก็มีกำแพงที่ไม่ล้อมเมืองแต่จะยืดยาวเลยออกไปจากตัวเมืองเป็นอันมากที่ก็ยังถือว่าเป็นกำแพงป้องกัน เช่นกำแพงเมืองจีน, กำแพงเฮเดรียน หรือ กำแพงแห่งแอตแลนติก กำแพงเหล่านี้ใช้ในการป้องกันภูมิภาคหรือบ่งเขตแดนของอาณาจักร นอกจากวัตถุประสงค์โดยตรงในใช้ในการป้องกันจากข้าศึกศัตรูแล้วกำแพงป้องกันยังเป็นสัญลักษณ์ของฐานะและความเป็นอิสระของหมู่ชน หรือ เมือง หรือ ภูมิภาค ภายในกำแพงที่ล้อมเอาไว้ กำแพงป้องกันที่ยังคงเหลืออยู่มักจะเป็นกำแพงที่สร้างด้วยหิน และก็มีกำแพงที่สร้างด้วยอิฐ และ ไม้ที่ยังคงมีเหลืออยู่ให้เห็น การสร้างกำแพงก็ขึ้นอยู่กับภูมิลักษณ์ (topography) ของที่ตั้งและองค์ประกอบของพื้นที่ เช่นบริเวณริมฝั่งทะเล หรือ แม่น้ำ ซึ่งอาจจะเป็นองค์ประกอบที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบป้องกันที่ผสานไปกับหรือเสริมกำแพงป้องกันได้อย่ามีประสิทธิภาพ กำแพงอาจจะเข้าออกได้โดยการใช้ประตูเมืองที่มักจะเสริมด้วยหอ ในยุคกลางสิทธิของผู้ตั้งถิ่นฐานในการสร้างกำแพงป้องกันเป็นอภิสิทธิ์ที่มักจะต้องได้รับจากประมุขของราชอาณาจักรที่เรียกว่า “สิทธิในการสร้างกำแพงป้องกัน” (Right of crenellation) การสร้างกำแพงป้องกันวิวัฒนาการมาเป็นกำแพงอันใหญ่โต และมาพัฒนากันอย่างจริงจังในสมัยสงครามครูเสด และต่อมาในยุคของความรุ่งเรืองของนครรัฐในยุโรป.

ดู ป้อมสนามและกำแพงป้องกัน

กำแพงเมืองเชียงใหม่

วเทียมแสดงแนวกำแพงเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2556 (ด้านบนคือทิศเหนือ) ภาพกำแพงเมืองเชียงใหม่ ไม่ปรากฏปีถ่าย กำแพงเมืองเชียงใหม่ หรือ กำแพงเวียงเชียงใหม่ ปัจจุบันหมายถึงกำแพงเมืองชั้นในของเวียงเชียงใหม่ (ในขณะที่กำแพงเมืองชั้นนอกคือแนวกำแพงดิน) สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนาอาณาจักรล้านนา ในรัชสมัยพญามังราย เพื่อเป็นเมืองหลวงของล้านนา โดยขั้นแรกได้ขุดคูเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความยาวด้านละประมาณ 1.63 กิโลเมตร และนำดินที่ได้จากการขุดคูเมืองนั้นขึ้นไปถมเป็นแนวกำแพงเมือง โดยเริ่มขุดที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือคือแจ่งศรีภูมิอันเป็นทิศมงคลก่อน แล้วก่ออิฐขนาบสองข้างกันดินพังทลาย ข้างบนกำแพงปูอิฐตลอดแนวทำเสมาไว้บนกำแพงทั้งสี่ด้านและประตูเมืองอีกทั้งสี่แห่ง เดิมประตูเมืองทั้งชั้นนอกชั้นในหนึ่งประตูก็ทำเป็นสองชั้น บานประตูวางเยื้องกัน เพื่อป้องกันข้าศึกเอาปืนใหญ่ยิงกรอกประตูเมือง ปัจจุบันถูกรื้อหมดแล้ว กำแพงด้านทิศเหนือ มีความยาวมากที่สุด วัดได้ประมาณ 1.67 กิโลเมตร รองลงมาเป็นกำแพงด้านทิศใต้ วัดได้ 1.63 กิโลเมตร ส่วนกำแพงด้านทิศตะวันออกมีความยาวเท่ากับทิศตะวันตก คือ 1.62 กิโลเมตร หลังจากที่เชียงใหม่ได้รับอิสรภาพจากพม่า เจ้ากาวิละได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์แรก ก็โปรดให้บูรณะกำแพงเมืองเป็นครั้งใหญ่ เป็นกำแพงอิฐที่มีความมั่นคงทนทาน และบูรณะอีกครั้งในปี..

ดู ป้อมสนามและกำแพงเมืองเชียงใหม่

มุขป้อม

วาดแสดงส่วนที่ยื่นออกมาจากกำแพงที่เรียกว่า “มุขป้อม” บูร์แตงจ์ (Bourtange), โกรนนิงเก็น, เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเภทป้อมที่ใช้ระบบ “มุขป้อม” อย่างเต็มที่ มุขป้อม (Bastion) คือโครงสร้างที่ยื่นออกมาจากกำแพงเมืองหรือกำแพงปราสาทที่แบนราบของป้อมปราการ ที่ช่วยในการป้องกันการโจมตีจากข้าศึก และเป็นเครื่องมือสำหรับผู้ป้องกันปราสาทหรือเมืองในการโจมตีข้าศึกตรงที่เป็นกำแพงม่าน (Curtain wall) ระหว่างมุขป้อมสองมุข มุขป้อมสร้างขึ้นเพื่อทำให้การป้องกันเมืองหรือปราสาทจากผู้รุกรานเป็นไปได้ง่ายขึ้น ป้อมปราการก่อนหน้าที่จะมีมุขป้อมจำกัดการป้องกันการโจมตีได้เพียงช่วงสั้นๆ ที่ผู้ป้องกันไม่อาจะมองเห็นจากกำแพงที่แบนราบได้ไกลเท่าใดนัก มุขป้อมแก้ปัญหาดังกล่าวโดยใช้ปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่บนป้อมในการยิงโจมตีในรัศมีของกำแพงม่าน.

ดู ป้อมสนามและมุขป้อม

ยาโรสลาฟล์

รสลาฟล์ (Yaroslavl Ярославль) เป็นเมืองเอกศูนย์กลางการปกครองของเขตปกครองย่อย ยาโรสลาฟโอบลาสต์ (Yaroslavl Oblast Яросла́вская о́бласть) ในประเทศรัสเซีย ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือห่างจากกรุงมอสโกไปราว 258 กิโลเมตร โดยมีแม่น้ำวอลกาไหลผ่านกลางเมือง มีประชากรราวๆเกือบหกแสนคนและนับเป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากรเยอะที่สุดในกลุ่มเมืองที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำวอลกาตอนบนก่อนจะถึงเมืองนิซนีนอฟโกรอด มีชื่อเสียงในด้านการเป็นเมืองวัฒนธรรม เมืองท่องเที่ยว และเคยเป็นเมืองท่าค้าขายทางน้ำรวมถึงเป็นฐานอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศรัสเซียในอดีต ยาโรสลาฟล์นั้นถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของรัสเซีย ได้รับการบันทึกการก่อตั้งตั้งแต่ในสมัยของเคียฟรุส ในปี..

ดู ป้อมสนามและยาโรสลาฟล์

รายชื่อป้อมยุทธนาวีในจังหวัดสมุทรปราการ

ป้อมยุทธนาวีในจังหวัดสมุทรปราการ (A Naval Battle Fortress of Samut Prakan) คือ ป้อมยุทธนาวีในจังหวัดสมุทรปราการ ที่คอยปกป้องราชอาณาจักรไทยจากเหล่าอริราชศัตรูมาเป็นระยะเวลาช้านาน ซึ่งมีทั้งหมด 24 ป้อมปราการ ดังต่อไปนี้.

ดู ป้อมสนามและรายชื่อป้อมยุทธนาวีในจังหวัดสมุทรปราการ

ลุ่มแม่น้ำลัวร์

ลุ่มแม่น้ำลัวร์ (Loire Valley หรือ Garden of France, Vallée de la Loire) เป็นบริเวณทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีจากคุณค่าของสถาปัตยกรรมและเมืองโบราณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่รวมทั้งเมืองอองบัวส์, อองแชร์, บลัวส์, ชินง, นานต์ส์, ออร์เลอองส์, โซมัวร์ และ ตูร์ แต่ที่สำคัญคือพระราชวัง, วัง, ปราสาท และึคฤหาสน์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วโลกที่รวมทั้งพระราชวังชองบอร์ด หรือ วังเชอนงโซซื่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของฝรั่งเศสในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและยุคเรืองปัญญาที่มีต่อการออกแบบและการสร้างสถาปัตยกรรม ในปี ค.ศ.

ดู ป้อมสนามและลุ่มแม่น้ำลัวร์

สะพานมหาดไทยอุทิศ

นมหาดไทยอุทิศ สะพานมหาดไทยอุทิศ หรือชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า สะพานร้องไห้ เปิดใช้เป็นทางการเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.

ดู ป้อมสนามและสะพานมหาดไทยอุทิศ

สถาปัตยกรรมนอร์มัน

องทางเดินกลางของมหาวิหารเดอแรมที่ใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลมสองข้างแม้ว่าจะมีการใช้โค้งแหลมบนเพดานเหนือช่องทางเดินกลางที่เป็นการนำทางของสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมนอร์มัน (Norman architecture) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่วิวัฒนาการโดยนอร์มันในดินแดนต่างๆ ที่ได้เข้าปกครองหรือมีอิทธิพลในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 โดยเฉพาะในการบรรยายถึงสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์แบบอังกฤษ นอร์มันเป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้างปราสาท, ป้อมปราการที่รวมทั้งหอกลางแบบนอร์มัน, สำนักสงฆ์, แอบบี, คริสต์ศาสนสถาน และมหาวิหารเป็นจำนวนมากในอังกฤษ ในลักษณะการใช้โค้งกลม (โดยเฉพาะรอบหน้าต่างและประตู) และมีลักษณะหนาหนักเมื่อเทียบกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่กล่าวนี้เริ่มขึ้นในนอร์ม็องดีและแผ่ขยายไปทั่วยุโรปโดยเฉพาะในอังกฤษซึ่งเป็นที่ที่มีการวิวัฒนาการมากที่สุดและยังคงมีสิ่งก่อสร้างจากยุคนั้นที่ยังหลงเหลืออยู่มากกว่าประเทศอื่น ในขณะเดียวกันตระกูลโอตวิลล์ (Hauteville family) ซึ่งเป็นตระกูลนอร์มันที่ปกครองซิซิลีก็สร้างลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์อีกลักษณะหนึ่งที่มีอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์และซาราเซ็นที่ก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” เช่นกันหรือบางครั้งก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ซิซิลี”.

ดู ป้อมสนามและสถาปัตยกรรมนอร์มัน

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ดู ป้อมสนามและสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

หอคอยแห่งลอนดอน

หอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London) เป็นพระราชวังหลวงและป้อมปราการตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอนในอังกฤษ เป็นพระราชวังที่เดิมสร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ.

ดู ป้อมสนามและหอคอยแห่งลอนดอน

หอคอยเล็ก

“หอคอยเล็ก” ที่ยื่นออกมาจากหอ หอคอยเล็ก (turret) คือส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างที่เป็นหอขนาดเล็ก คำว่า turret ในภาษาอังกฤษ มาจากคำภาษาอิตาลีว่า torretta ที่แปลว่า "หอขนาดเล็ก" ที่มีรากมาจากภาษาละตินว่า turris ที่แปลว่า "หอ" หอคอยเล็กเป็นหอที่ยื่นออกมาจากกำแพงของสิ่งก่อสร้างเช่นปราสาทในยุคกลาง เดิมวัตถุประสงค์ของหอเล็กก็เพื่อใช้ในการเพิ่มระบบการป้องกันที่สามารถป้องกันตัวสิ่งก่อสร้างจากการถูกโจมตีจากกำแพงที่ติดกันโดยการสาดอาวุธไปยังจุดที่ต้องการบนกำแพงของป้อมปราการ แต่เมื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์หมดความสำคัญลงไป หอเล็กก็สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการตกแต่งเท่านั้น.

ดู ป้อมสนามและหอคอยเล็ก

อัศวินเทมพลาร์

ทหารผู้ยากแห่งพระคริสต์และพระวิหารแห่งโซโลมอน (Pauperes commilitones Christi Templique Solomonici) หรือที่รู้จักกันในชื่ออัศวินเทมพลาร์ หรือคณะแห่งพระวิหาร (Ordre du Temple หรือ Templiers) เป็นคณะทหารคริสตชนที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดMalcolm Barber, The New Knighthood: A History of the Order of the Temple.

ดู ป้อมสนามและอัศวินเทมพลาร์

อัคระ

อัคระ (आगरा Āgrā, آگرہ, Agra) อดีตเมืองหลวงของอินเดียในสมัยที่ยังเรียกว่า "ฮินดูสถาน" (Hindustan) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยมนา (Yomuna) ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย ในรัฐอุตตรประเทศ ตั้งอยู่ห่างจากเมืองลัคเนา (Lucknow) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐอุตตรประเทศไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทาง และ ทางทิศใต้ของกรุงนิวเดลี เมืองอัคระมีประชากรทั้งหมด 1,686,976 คน (ปีค.ศ.

ดู ป้อมสนามและอัคระ

อาสนวิหารการ์กาซอน

อาสนวิหารการ์กาซอน (Cathédrale de Carcassonne) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญมีคาเอลแห่งการ์กาซอน (Cathédrale Saint-Michel de Carcassonne) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิกประจำมุขมณฑลการ์กาซอนและนาร์บอน ตั้งอยู่ที่เมืองการ์กาซอน จังหวัดโอด ในแคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญมีคาเอลอัครทูตสวรรค์ อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู ป้อมสนามและอาสนวิหารการ์กาซอน

อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์

อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์ (Cathédrale de Saint-Flour) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งแซ็ง-ฟลูร์ (Cathédrale Saint-Pierre de Saint-Flour) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก และเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลมุขมณฑลแซ็ง-ฟลูร์ ตั้งอยู่ที่เมืองแซ็ง-ฟลูร์ จังหวัดก็องตาล ในแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร อาสนวิหารแห่งนี้เป็นหนึ่งในอาสนวิหารทั้งหมดสี่แห่งของภูมิภาคโอแวร์ญ ตั้งอยู่กลางใจเมืองเก่าของแซ็ง-ฟลูร์ และเป็นอาสนวิหารที่สร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมกอทิกสร้างเสร็จในคริสต์ศตวรรษที่ 15 บนที่ตั้งของบาซิลิกาแบบโรมาเนสก์เดิม หินที่ใช้สร้างมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับสิ่งก่อสร้างทางคริสต์ศาสนาในแถบนี้ ซึ่งเป็นหินภูเขาไฟมีสีดำสนิทอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญของอาสนวิหาร ต่อมาภายหลังอาสนวิหารได้ถูกปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรมลงมากในช่วงของการปฏิวัติฝรั่งเศส อาสนวิหารแห่งนี้ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.

ดู ป้อมสนามและอาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์

อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล

อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล (Cathédrale du Puy-en-Velay) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับสารแห่งเลอปุย-อ็อง-เวอแล (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Annonciation du Puy-en-Velay) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลเลอปุย-อ็อง-เวอแล ตั้งอยู่ที่เมืองเลอปุย-อ็อง-เวอแล จังหวัดโอต-ลัวร์ แคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่แม่พระรับสาร และยังได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นบาซิลิกาเมื่อปีค.ศ.

ดู ป้อมสนามและอาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล

จังหวัดกาญจนบุรี

ังหวัดกาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ทิศเหนือ จรดจังหวัดตากและจังหวัดอุทัยธานี ทิศใต้ จรดจังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ทิศตะวันตก จรดประเทศพม.

ดู ป้อมสนามและจังหวัดกาญจนบุรี

ถนนพระอาทิตย์

ป้ายชื่อถนนพระอาทิตย์บริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ (Thanon Phra Athit) เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ในท้องที่แขวงพระบรมมหาราชวังและแขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีระยะทางระหว่างประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงบริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระสุเมรุ ชื่อของถนนพระอาทิตย์นำมาจากป้อมพระอาทิตย์ซึ่งเป็นป้อมปราการ 1 ใน 14 ป้อม ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อสถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานี ปัจจุบันป้อมพระอาทิตย์ถูกรื้อไปแล้ว.

ดู ป้อมสนามและถนนพระอาทิตย์

ครักเดเชอวาลีเย

รักเดเชอวาลีเย (Krak des Chevaliers, Crac des Chevaliers) หรือ ก็อลอะฮ์อัลฮิศน์ (قلعة الحصن) เป็นปราสาทครูเสดที่ตั้งอยู่ในประเทศซีเรีย ครักเดเชอวาลีเยเป็นปราสาทที่มีความสำคัญในการเป็นปราสาททางการทหารจากยุคกลางที่อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดในโลก คำว่า "Krak" ในชื่อมาจากภาษาซีรีแอก "karak" ที่แปลว่าป้อมปราการ ปราสาทอยู่ห่างจากเมืองฮอมส์ไปทางตะวันตกราว 65 ใกล้กับพรมแดนเลบานอน.

ดู ป้อมสนามและครักเดเชอวาลีเย

คูเมือง

หาสน์แบดเดสลีย์คลินตันในวอริคเชอร์ในอังกฤษ คูเมือง หรือ คูปราสาท (moat) คือร่องน้ำกว้างและลึกที่อาจจะเป็นคูแห้งหรือที่มีน้ำขังที่ขุดขึ้นรอบปราสาท, สิ่งก่อสร้าง หรือ เมือง เพื่อใช้เป็นระบบการป้องกันจากการโจมตีจากบุคคลภายนอก ในบางกรณีคูก็อาจจะวิวัฒนาการไปเป็นระบบการป้องกันทางน้ำอันซับซ้อนที่อาจจะรวมทั้งทะเลสาบขุดหรือธรรมชาติ, เขื่อน หรือประตูน้ำ แต่ในปราสาทสมัยต่อมาคูรอบปราสาทอาจจะเป็นเพียงสิ่งตกแต่งเพื่อความงามเท่านั้น.

ดู ป้อมสนามและคูเมือง

ซอกเดียนร็อก

ซอกเดียนร็อก (Sogdian Rock) หรือ ร็อกออฟแอเรียมาซีส (Rock of Ariamazes) เป็นป้อมปราการที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแบกเตรีย ในซอกเดีย ใกล้กับเมืองซามาร์คันด์ ป้อมแห่งนี้ถูกกองทัพพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยึดครองในฤดูใบไม้ผลิของปีที่ 327 ก่อนคริสต์ศักราช โดยเป็นส่วนหนึ่งของการทัพกับจักรวรรดิอะคีเมนิด ก่อนการล้อม ออกซิอาร์ตีส (Oxyartes) หนึ่งในหัวหน้าชาวแบกเตรียได้ให้ภรรยาและบุตรหลายคนรวมถึงโรซานา (Roxana) ลี้ภัยไปอยู่ภายในซอกเดียนร็อก ซึ่งเชื่อกันว่าไม่มีกองทัพใดตีให้แตกได้ เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยกทัพมาถึง พระองค์ได้สั่งให้ผู้ป้องกันป้อมยอมจำนน แต่ได้รับการปฏิเสธและส่งมาบอกว่ามีแต่ "มนุษย์ติดปีก" เท่านั้นที่ขึ้นมาถึงป้อมได้ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชจึงรวบรวมอาสาสมัคร 300 นายเพื่อปีนหน้าผาขึ้นไปยังป้อมโดยใช้หมุดปักเต็นท์กับเชือกปอป่าน ทหารอาสาสมัครเริ่มปีนในเวลากลางคืน โดยเสียอาสาสมัครไป 30 นายก่อนจะขึ้นถึงป้อม พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้นำสาสน์ไปถึงผู้ป้องกันเมืองว่า "บัดนี้พระองค์ได้ส่งมนุษย์ติดปีกขึ้นไปแล้ว" ด้วยความตกใจและไม่เชื่อว่าคนธรรมดาจะขึ้นมาถึงป้อมได้ ผู้ป้องกันเมืองจึงยอมจำนนในที่สุด หลังการล้อมครั้งนี้ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ตกหลุมรักกับโรซานา กองทัพของพระองค์ได้เดินหน้าเข้าสู่พาร์เซทาคีนี (Parsetakene) และแบกตรา (เมืองบัลค์ในปัจจุบัน) โดยที่เมืองแบกตรา พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้อภิเษกสมรสกับโรซานา ก่อนจะข้ามเทือกเขาฮินดูกูชเข้าสู่อินเดี.

ดู ป้อมสนามและซอกเดียนร็อก

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Unternehmen Barbarossa, Operation Barbarossa, รัสเซีย: Оперенация Барбарросса) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ.

ดู ป้อมสนามและปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ประวัติศาสตร์ลักเซมเบิร์ก

น์ตี ดัชชี และแกรนด์ดัชชีลักเซมเบิร์ก (County, Duchy and Grand Duchy of Luxembourg) ภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ของ ลักเซมเบิร์ก เป็นมณฑลของโรมันเบลจิคาพรีมา หลังจากการรุกรานของกลุ่มชนเจอร์มานิคจากทางตะวันออกลักเซมเบิร์กก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิแฟรงก์และต่อมาก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิแฟรงค์กลาง.

ดู ป้อมสนามและประวัติศาสตร์ลักเซมเบิร์ก

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ดู ป้อมสนามและประเทศเวียดนาม

ปราสาท

ปราสาทคาร์คาโซนในฝรั่งเศส ปราสาท คือสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกซึ่งเป็นสัญลักษณ์หลักของสมัยกลาง ความหมายของคำว่าปราสาทยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการถึงความหมายที่แท้จริง แต่โดยทั่วไปแล้วปราสาทมีความหมายต่างจากคำว่า “ป้อม” (fort) และ “ป้อมปราการ” (fortress) ตรงที่ปราสาทเป็นที่ประทับหรือที่พำนักของพระมหากษัตริย์หรือขุนนางในบริเวณที่เป็นจุดที่ต้องมีการป้องกันจากข้าศึก สิ่งก่อสร้างที่เป็นที่มาของปราสาทคือป้อมโรมัน (Roman fort) และ ป้อมเนิน (Hill fort) ที่สร้างกันทั่วยุโรปที่มาจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในสมัยจักรวรรดิคาโรลินเจียน แต่การวิวัฒนาการของปืนใหญ่และดินปืนในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นการเปลี่ยนลักษณะการสงครามในยุโรปและทำให้สมรรถภาพของปราสาทในการใช้เป็นสิ่งป้องกันการโจมตีจากข้าศึกลดลง และทำให้การสร้างป้อมเป็นที่นิยมกันมากขึ้น สิ่งก่อสร้างในรัสเซียที่เรียกว่า “เคร็มลิน” (Kremlin) หรือในญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ชิโร” (Shiro) ก็ถือว่าเป็นปราสาท.

ดู ป้อมสนามและปราสาท

ปราสาทชั้นใน

แวงแซนน์ ปราสาทชั้นใน (Enceinte) คือบริเวณภายในสุดของระบบป้อมปราการที่มักจะหมายถึงบริเวณรอบหอกลางซึ่งเป็นระบบป้องกันด่านสุดท้ายของปราสาท “Enceinte” มาจากภาษาละติน “cinctus” ที่แปลว่า “ภายใน” เมื่อใช้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมหมายถึงบริเวณติดกับมหาวิหาร, แอบบี หรือปราสาท.

ดู ป้อมสนามและปราสาทชั้นใน

ปราสาทญี่ปุ่น

ปราสาทฮิเมะจิ, มรดกโลกแห่งหนึ่งในจังหวัดเฮียวโงะ เป็นปราสาทที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ปราสาทญี่ปุ่น เป็นป้อมสนามมักสร้างขึ้นจากไม้และหิน ปราสาทมีวิวัฒนาการจากคุกทหารสร้างด้วยไม้เมื่อศตวรรษต้น ๆ และกลายมาเป็นปราสาทที่เป็นที่รู้จักกันในศตวรรษที่ 16 ปราสาทในประเทศญี่ปุ่นสร้างขึ้นเพื่อคุ้มกันบริเวณพื้นที่สำคัญหรือพื้นที่ยุทธศาสตร์ เช่น ท่าเรือ สะพานข้ามแม่น้ำ สะพานลอย และเกือบจะคุ้มกันทั้งภูมิประเทศ แม้ว่าปราสาทจะถูกสร้างให้คงอยู่และใช้หินในการก่อสร้างมากกว่าอาคารทั่ว ๆ ไป ปราสาทส่วนใหญ่ยังสร้างด้วยไม้ และปราสาทหลายแห่งพังทลายอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในยุคเซ็งโงะกุ (1467–1603) เนื่องจากปราสาทเพิ่งถูกสร้างใหม่ ๆ ในยุคนั้น แต่ในเวลาต่อมา ปราสาทได้รับการบูรณะใหม่ ทั้งในยุคเซ็งโงะกุ ยุคเอะโดะ (1603–1867) หรือในยุคปัจจุบัน โดยกลายเป็นโบราณสถานหรือพิพิธภัณฑ์ ปัจจุบัน ในประเทศญี่ปุ่นมีปราสาทมากกว่า 100 แห่งที่ยังคงสภาพเดิมหรือเหลือเพียงบางส่วน มีการประมาณไว้ที่ 5,000 แห่ง ปราสาทบางแห่งเช่นที่มะสึเอะ และโคชิ ทั้งสองแห่งสร้างใน..

ดู ป้อมสนามและปราสาทญี่ปุ่น

ป้อมชยครห์

ป้อมชยครห์ (ราชสถานและजयगढ़ क़िला; Jaigarh Fort) ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาชีลกาทีลา (เขาแห่งอินทรี) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาอะระวัลลี โดยตั้งอยู่สูงเหนือกว่าป้อมอาเมร์ ซึ่งเบื้องล่างนั้นเป็นทะเลสาบเมาตา ซึ่งใกล้กับเมืองอาเมร์ ชานเมืองชัยปุระ ในรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย สร้างโดยมหาราชาสะหวายจัย สิงห์ที่ 2 ในปีค.ศ.

ดู ป้อมสนามและป้อมชยครห์

ป้อมพระสุเมรุ

ป้อมพระสุเมรุ เป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ในสมัยนั้นได้มีการสร้างป้อมปราการ 14 แห่งเพื่อป้องกันพระนคร แต่เมื่อเวลาผ่านไป ป้อมปราการหมดความจำเป็น จึงถูกรื้อถอนไป ป้อมพระสุเมรุเป็น 1 ใน 2 ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ อีกป้อมหนึ่งคือป้อมมหากาฬ ชื่อป้อมพระสุเมรุได้นำมาตั้งเป็นชื่อถนนพระสุเมรุ ป้อมพระสุเมรุซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 มีลักษณะสวยงามและเป็นประโยชน์ใช้สอยมากมาย มีเชิงเทิน ช่องยิงปืน ห้องเก็บกระสุนดินดำ และอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ แต่ก็ชำรุดทรุดโทรมเป็นธรรมดา จนถึง พ.ศ.

ดู ป้อมสนามและป้อมพระสุเมรุ

ป้อมพระจุลจอมเกล้า

ป้อมพระจุลจอมเกล้า หรือเรียกสั้นๆว่า "ป้อมพระจุล" เป็นป้อมปราการทางน้ำ ตั้งอยู่ที่ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สร้างขึ้นเมื่อใด ไม่พบหลักฐานแน่ชัด แต่คาดว่าสร้างขึ้นในราวเดือน มีนาคม พ.ศ.

ดู ป้อมสนามและป้อมพระจุลจอมเกล้า

ป้อมริบาต

ริบาตที่โมนาสเตียร์ในตูนิเซีย ป้อมริบาต (Ribat, رباط) มาจากภาษาอาหรับว่า “رباط” ที่แปลว่า “ที่พัก” หมายถึงป้อมขนาดเล็กที่สร้างตามพรมแดนในช่วงปีแรกของการพิชิตแอฟริกาเหนือโดยอุมัยยะห์เพื่อเป็นที่พักของทหารอาสาสมัครที่เรียกว่า “murabitun” ป้อมเหล่านี้ต่อมากลายเป็นสถานที่สำหรับพิทักษ์เส้นทางการค้า และ ศูนย์กลางของประชาคมมุสลิมที่อยู่ห่างไกล ต่อมาป้อมริบาตก็กลายมาเป็นที่พักสำหรับนักเดินทางบนเส้นทางการค้า (สถานีคาราวาน) ที่พักหลบภัยสำหรับนักรหัสยิก (mystic) ในข้อหลังนี้อาจจะเป็นบ่อเกิดของลัทธิซูฟีย์ และโรงเรียนสอนศาสนาของซูฟีย์ที่แพร่ขยายไปทั่วทางตอนเหนือของแอฟริกาไปยังซาฮารา และ แอฟริกาตะวันตก.

ดู ป้อมสนามและป้อมริบาต

ป้อมอัครา

ป้อมอัครา (Agra Fort, आगरा का किला, آگرہ قلعہ) เป็นอนุสรณ์สถานสำคัญ และมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก ตั้งอยู่ที่เมืองอัครา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย โดยอยู่ห่างจากอีกหนึ่งอนุสรณ์สถานสำคัญที่อยู่ใกล้เคียง คือ ทัชมาฮาล เป็นระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร ป้อมอัครานั้นถือเป็นเมืองขนาดเล็กๆที่ห้อมล้อมด้วยป้อมปราการอันใหญ่โต.

ดู ป้อมสนามและป้อมอัครา

ป้อมอาเมร์

ป้อมอาเมร์ (आमेर क़िला, Amer Fort) หรือ ป้อมแอมเบอร์ (Amber Fort) ตั้งอยู่ที่เมืองอาเมร์ ชานเมืองชัยปุระ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย (เป็นเมืองเล็กๆที่มีขนาดเพียง) ห่างจากชัยปุระเป็นระยะทาง ป้อมอาเมร์นั้นเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของชัยปุระ โดยที่ตั้งนั้นโดดเด่นอยู่บนผาหินเหนือทะเลสาบ สร้างโดยมหาราชา มาน สิงห์ที่ 1 ป้อมปราการแห่งนี้มีชื่อเสียงทางด้านสถาปัตยกรรมซึ่งผสมผสานกันระหว่างศิลปะฮินดูและศิลปะราชปุตอันเป็นเอกลักษณ์ สามารถมองเห็นได้จากระยะทางไกลเนื่องจากมีขนาดกำแพงปราการที่ใหญ่และแน่นหนา พร้อมประตูทางเข้าหลายแห่ง ถนนที่ปูด้วยหินหลายสาย ซึ่งเมื่ออยู่บนป้อมแล้วสามารถมองเห็นทะเลสาบเมาตาได้อย่างชัดเจนบริเวณด้านหน้า ความสวยงามของบรรยากาศของป้อมอาเมร์นั้นซ่อนอยู่ภายในกำแพงเมืองที่แบ่งเป็นทั้งหมด 4 ชั้น (แต่ละชั้นคั่นด้วยทางเดินกว้าง) โดยภายในเป็นหมู่พระที่นั่งซึ่งสร้างจากหินทรายสีแดงและหินอ่อน หมู่พระที่นั่งภายในป้อมอาเมร์ประกอบด้วย "ดิวัน-อิ-อัม" หรือท้องพระโรง, "ดิวัน-อิ-กัส" หรือท้องพระโรงส่วนพระองค์, "ชีชมาฮาล" (พระตำหนักซึ่งเป็นห้องทรงประดับกระจกสำหรับมหาราชา) และ "จัย มานดีร์" ซึ่งเป็นตำหนักอยู่บนชั้นสอง, "อารัม บักห์" ซึ่งเป็นสวนสวยจัดเป็นรูปดาวแฉกแบบโมกุลคั่นกลางระหว่างอาคาร และ "สุกห์นิวาส" ซึ่งเป็นพระตำหนักที่ใช้การปรับอากาศภายในพระตำหนักให้เย็นลงด้วยการทำให้ลมเป่าผ่านรางน้ำตกที่มีอยู่โดยรอบภายในพระตำหนัก ทำให้ภายในตำหนักนี้มีอากาศเย็นอยู่เสมอ จากลักษณะโดยรวมอันสวยงามของบริเวณภายในป้อม จึงนิยมเรียกป้อมแห่งนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "พระราชวังอาเมร์" พระราชวังในป้อมอาเมร์นี้เคยเป็นที่ประทับของราชปุต มหาราชา และพระราชวงศ์ของอาเมร์ในอดีต นอกจากนี้บริเวณประตูทางเข้าพระราชวังใกล้กับประตูกาเนช (Ganesh Gate "ประตูพระคเณศ") เป็นที่ตั้งของวัดชิลาเทวี (Sila Devi) ซึ่งภายในมีศาลบูชาพระแม่ทุรคา ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม ซึ่งมหาราชา มาน สิงห์ทรงเคารพบูชาอย่างสูง เนื่องจากพระองค์ได้ทรงพระสุบินถึงพระแม่ทุรคาทูลให้ทราบว่าพระองค์จะชนะสงครามกับมหาราชาแห่งเบงกอลในปีค.ศ.

ดู ป้อมสนามและป้อมอาเมร์

ป้อมดาว

ป้อมบูร์แตงจ์ (Bourtange), โกรนนิงเก็น, เนเธอร์แลนด์ บูรณะให้เหมือนในปี ค.ศ. 1750 ป้อมดาว (Star fort หรือ trace italienne) คือระบบป้อมปราการที่วิวัฒนาการขึ้นระหว่างสมัยที่การใช้ดินปืนในการต่อสู้โดยการใช้ปืนใหญ่ที่เริ่มแพร่หลายมากขึ้น ที่เริ่มสร้างเป็นครั้งแรกราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในอิตาลี รูปทรงป้อมที่สร้างกันในยุคกลางไม่สามารถทนทานต่อการถูกโจมตีด้วยปืนใหญ่ได้ แรงระเบิดของปืนใหญ่สามารถทำลายกำแพงดิ่งได้อย่างง่ายดาย ขณะที่ป้อมดาวใช้กำแพงราบและเป็นโครงสร้างที่ใช้ระบบมุขป้อม (bastion) สามเหลี่ยม ที่ยื่นซ้อนกันออกมาซ้อนกันเป็นชั้นๆ ที่เป็นการช่วยป้องกันซึ่งกันและกัน และคูรอบป้อม ต่อมาป้อมดาวก็วิวัฒนาการมาใช้โครงสร้างเช่นระบบป้องกันแบบสามเหลี่ยม (ravelin), การสร้างเสริมส่วนบนของกำแพง (crownwork) และเพิ่มป้อมที่เป็นอิสระจากตัวป้อมหลัก เพื่อเพิ่มความซับซ้อนให้แก่โครงสร้างเพิ่มขึ้น ป้อมดาววิวัฒนาการต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อเป็นการตอบโต้การรุกรานของฝรั่งเศสในคาบสมุทรอิตาลี ฝ่ายฝรั่งเศสมีอาวุธปืนใหญ่แบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพพอที่จะทำลายป้อมปราการที่สร้างตามแบบโบราณในยุคกลางได้อย่างง่ายดาย เพื่อเป็นการโต้ตอบความรุนแรงของการทำลายของอาวุธใหม่กำแพงป้องกันก็ถูกสร้างให้เตี้ยลงแต่หนาขึ้น ตัวกำแพงสร้างด้วยวัสดุการก่อสร้างหลายอย่างแต่มักจะเป็นดินและอิฐ เพราะอิฐจะไม่แตกกระจายเมื่อถูกโจมตีโดยปืนใหญ่เช่นหิน องค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ในการก่อสร้างป้อมดาวคือการใช้มุขป้อมที่กลายมาเป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของป้อมปราการแบบใหม่ การวิวัฒนาการมาเป็นรูปดาวที่บางครั้งก็จะซ้อนกันหลายชั้นทำให้สามารถต้านทานจากการถูกโจมตีโดยปืนใหญ่ได้ ไมเคิล แอนเจโลใช้ลักษณะป้อมดาวในการออกแบบแนวป้องกันที่ทำด้วยดิน (defensive earthworks) ของฟลอเรนซ์ ที่มาได้รับการปรับปรุงในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยบัลดัสซาเร เปรูซซิ (Baldassare Peruzzi) และ วินเช็นโซ สคามอซซิ (Vincenzo Scamozzi) ป้อมดาวเผยแพร่จากอิตาลีในคริสต์ทศวรรษ 1530 และ 1540 และใช้กันมากในทวีปยุโรปเป็นเวลาราวสามร้อยปีหลังจากนั้น สถาปนิก/วิศวกรอิตาเลียนเป็นที่ต้องการตัวไปทั่วยุโรปในการสร้างป้อมแบบใหม่นี้ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 เม็นโน ฟาน โคฮูร์น (Menno van Coehoorn) และเซบาสเตียง เลอ เพรส์เทรอ เดอ โวบองผู้เป็นสถาปนิกทางสถาปัตยกรรมทางทหารในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ยิ่งยกลักษณะการออกแบบป้อมดาวขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมการก่อสร้างป้อมปราการทุกสิ่งทุกอย่าง จนทำให้กลายเป็นระบบการป้องกันอันซับซ้อนเท่าที่สามารถทำกันได้ ระบบป้อมรูปดาววิวัฒนาการมาจากการวางผังเมืองของเมืองในอุดมคติของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา: “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาถูกสะกดด้วยผังเมืองแบบหนึ่งเป็นเวลาร้อยห้าสิบปี—ตั้งแต่ฟิลาเรเตจนถึงสคามอซซิ—ที่ต่างก็มีความประทับใจในแผนอันเป็นอุดมคติ: รูปร่างของเมืองที่ว่านี้คือรูปดาว” ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 การวิวัฒนาการลูกระเบิดแบบใหม่ที่มีพลังสูงขึ้นแบบที่เรียกว่าexplosive shell ทำให้สถาปัตยกรรมการก่อสร้างป้อมปราการต้องเปลี่ยนแปลงไปอีกครั้งหนึ่ง.

ดู ป้อมสนามและป้อมดาว

ป้อมนาหรครห์

ป้อมนาหรครห์ (ราชสถานและनाहरगढ़ का किला; Nahagarh Fort) เป็นป้อมปราการที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาของเทือกเขาอะระวัลลี โดยตั้งอยู่สูงตระหง่านเหนือนครชัยปุระ ในรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย เมื่อร่วมกันกับป้อมอาเมร์และป้อมชยครห์แล้ว ทั้งสามปราการนี้เคยเป็นเสาหลักในการป้องกันการรุกรานจากข้าศึกต่าง ๆ ต่อชัยปุระ โดยแรกป้อมปราการแห่งนี้มีชื่อว่า "สุทรรศนครห์" (Sudarshangarh) แต่ในภายหลังได้กลายมาเป็น "นาหรครห์" ซึ่งหมายความว่า "ถ้ำเสือ" โดยเชื่อกันว่าที่มาของคำว่า "นาหระ" นั้นมาจาก "Nahar Singh Bhomia" ซึ่งวิญญาณนั้นได้หลอกหลอนในระหว่างก่อสร้างและเป็นอุปสรรคสำคัญในการก่อสร้างป้อมแห่งนี้ จึงได้มีการสร้างศาลภายในบริเวณวัดเพื่อเป็นที่สถิตวิญญาณภายในป้อมแห่งนี้ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อป้อมนาหรครห.

ดู ป้อมสนามและป้อมนาหรครห์

ป้อมแดง

ป้อมแดง (Red Fort, रक्तदुर्गम्) (ชื่อแปลตามศัพท์จากภาษาอินเดียจาก ลา คิลลาห์ (Lal Qil'ah) หรือ ลาล คิลา (Lal Qila) คือป้อมปราการในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในสมัยจักรวรรดิโมกุล โดยสมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮัน ซึ่งตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองของเดลีเก่า (Old Delhi) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเดลี ประเทศอินเดีย โดยป้อมปราการแห่งนี้ใช้เป็นที่ประทับของจักรพรรดิแห่งราชวงศ์โมกุล และยังเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงแห่งใหม่ในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮัน ที่มีชื่อว่า "ชาห์ชะฮันนาบาด" (Shahjahanabad) ซึ่งเป็นเมืองแห่งที่ 7 ที่ก่อตั้งภายในบริเวณเขตเดลี โดยพระองค์ทรงย้ายมาจากอัคราเพื่อที่จะสร้างความสวยงามและอลังการในรัชสมัยของพระองค์ โดยใช้โอกาสนี้ในการสร้างสรรค์สิ่งก่อสร้างและอาคารใหม่ๆได้ตามที่สนพระทัย ซึ่งเมืองหลวงแห่งใหม่นี้ตั้งอยู่ที่เดลีจนถึงปีค.ศ.

ดู ป้อมสนามและป้อมแดง

แม็กแน็ส

แม็กแน็ส (Meknès) หรือ มักนาส (مكناس; เบอร์เบอร์: ⵎⴽⵏⴰⵙ) เป็นเมืองทางตอนเหนือของประเทศโมร็อกโก ตั้งอยู่ห่างจากกรุงราบัตเมืองหลวงของประเทศ 130 กิโลเมตร (81 ไมล์) และห่างจากเมืองแฟ็ส 60 กิโลเมตร (37 ไมล์) เมืองแม็กแน็สเคยเป็นเมืองหลวงของประเทศ (ปี ค.ศ.

ดู ป้อมสนามและแม็กแน็ส

โซะ ระ โนะ โวะ โตะ

ซะ ระ โนะ โวะ โตะ เป็นการ์ตูนแอนิเมชันซีรีส์สร้างโดยสตูดิโอ A-1 Pictures และ Aniplex ของญี่ปุ่น โดยเป็นโครงงานเปิดตัวของ Anime no Chikara (ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของ TV Tokyo และ Aniplex) ออกอากาศทางเครือข่ายโทรทัศน์ TV Tokyo ในช่วง 5 มกราคม พ.ศ.

ดู ป้อมสนามและโซะ ระ โนะ โวะ โตะ

เกาะอัลคาทราซ

กาะอัลคราทราซ เกาะอัลคาทราซ (บางครั้งเรียกว่า อัลคาทราซ หรือ เดอะร็อค) เป็นเกาะเล็กๆ ที่ตั้งอยู่กลางอ่าวซานฟรานซิสโก ในแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เกาะนี้เคยเป็นสถานที่ตั้งประภาคาร ป้อมปราการของกองทัพ และยังเป็นคุกทหารจนถึงปี 1963 หลังจากนั้น เกาะอัลคาทราซก็กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ปัจจุบันนี้ เกาะอัลคาทราซเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์จากการอนุมัติโดยหน่วยงานอุทยาน แห่งชาติ ที่เป็นส่วนหนึ่งของ "Golden Gate National Recreation Area" และเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวสามารถไปเยี่ยมชมโดยเรือเฟอร์รี่จากท่าเรือ 33 ใกล้กับ ฟิชเชอร์แมนวาร์ฟ (Fisherman's Wharf) ในซานฟรานซิสโก นอกจากนี้เกาะแห่งนี้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในปี 1986 ชื่อของเกาะได้รับการตั้งขึ้นเมื่อปี 1775 เมื่อนักสำรวจชาวสเปน ฮวน มานูเอล เดอ อยาลา ทำการสำรวจอ่าวซานฟานซิสโก และตั้งชื่อตามขนาดของเกาะว่า ลา อิสลา เดอ ลอส อัลคาทราซ ซึ่งแปลว่า "เกาะแห่งนกกระทุง" เกาะแห่งนี้ไม่เหมาะที่จะอยู่อาศัย เนื่องจากกระแสน้ำทะเล พืชผักที่มีปริมาณน้อยมาก และพื้นดินที่แห้งแล้ง เนื่องจากเกาะแห่งนี้ตั้งอยู่โดดเดี่ยวกลางอ่าวตามธรรมชาติ ล้อมรอบด้วยน้ำที่มีอุณหภูมิเยือกแข็งและคลื่นลมแรง เกาะอัลคาทราซ จึงได้รับการพิจารณาให้ใช้เป็นที่คุมขังนักโทษ ในปี 1861 เกาะนี้ได้เป็นที่รองรับนักโทษจากสงครามกลางเมืองจากรัฐต่างๆ และผลพวงจากสงครามสเปน-อเมริกัน ในปี 1898 ทำให้จำนวนนักโทษเพิ่มขึ้นจาก 26 คน เป็น 450 คน จากนั้นในปี 1906 ได้เกิดแผ่นดินไหวในซานฟานซิสโก (ที่ทำลายเมืองนี้อย่างรุนแรง) บรรดานักโทษจึงถูกย้ายไปบนเกาะเพื่อความปลอดภัย ในปี 1912 มีการก่อสร้างคุกขนาดใหญ่ที่ใจกลางเกาะ และในปลายทศวรรษ 1920 อาคารสามชั้นนี้ก็เสร็จสมบูรณ์ กองทัพสหรัฐใช้เกาะอัลคาทราซมามากว่า 80 ปี คือจากปี 1850 จนถึงปี 1933 จากนั้นเกาะนี้ได้ย้ายไปอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงยุติธรรมเพื่อใช้เป็น ที่คุมขังนักโทษ รัฐบาลได้ใช้เป็นสถานที่ดัดสันดานที่มีระบบรักษาความปลอดภัยสูงสุด ปราศจากสิทธิพิเศษใดๆ เพื่อจัดการกับบรรดานักโทษ และแสดงถึงประสิทธิภาพทางกฎหมายที่รัฐบาลต้องการลดคดีอาชญากรรมที่มีมากมาย ในช่วงปี 1920 และปี 1930 เกาะอัลคาทราซ ไม่ใช่ "เกาะแห่งความชั่วร้ายของอเมริกา" อย่างที่ปรากฏในหนังสือและภาพยนตร์ต่างๆ จำนวนนักโทษโดยเฉลี่ยประมาณคือ 260-275 คน (จำนวนนักโทษนี้ยังไม่ถึงปริมาณที่รองรับได้สูงสุด 336 คน ซึ่งนับได้ว่าจำนวนนักโทษของเกาะมีสัดส่วนน้อยกว่า 1% ของจำนวนนักโทษทั่วประเทศ) มีนักโทษมากมายถูกพิพากษาไว้ชีวิต และมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีกว่านักโทษที่อื่น (ยกตัวอย่างเช่น นักโทษหนึ่งคนต่อหนึ่งห้องขัง) ซึ่งมีนักโทษหลายคนขอย้ายไปอยู่ที่เกาะอัลคาทราซ.

ดู ป้อมสนามและเกาะอัลคาทราซ

เรือนเฝ้าประตู

ประตูบาร์บิคันของปราสาทเกล็นนาร์มในไอร์แลนด์ เรือนเฝ้าประตู (Gatehouse) เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของปราสาท, คฤหาสน์มาเนอร์ และคฤหาสน์อื่นๆ ของยุโรป เดิมเรือนเฝ้าประตูเป็นสิ่งก่อสร้างแบบระบบป้อมปราการ ที่ตั้งอยู่เหนือประตูทางเข้าเมืองหรือปราสาท ในด้านสถาปัตยกรรมเรือนเฝ้าประตูหมายถึงสิ่งก่อสร้างที่อยู่ภายในหรือสร้างติดกับประตูของปราสาท, คฤหาสน์มาเนอร์ หรือสิ่งก่อสร้างในประเภทเดียวกันที่มีความสำคัญ เรือนเฝ้าประตูปรากฏเป็นครั้งแรกในสมัยต้นยุคกลางเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันทางเข้าของเมืองหรือปราสาท ต่อมาเรือนเฝ้าประตูก็วิวัฒนาการมาเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนขึ้นที่เต็มไปด้วยระบบการป้องกันหลายชั้นขึ้น เรือนเฝ้าประตูแบบสร้างเสริมมักจะมีระบบการป้องกันอื่นๆ ที่รวมทั้งสะพานชักรอก, ประตูชักรอก (portcullis), ช่องเชิงเทิน, ช่องธนู และอาจจะมีช่องสังหารที่ใช้ในการหย่อนสิ่งต่างๆ ลงมายังผู้รุกราน ในปลายยุคกลางช่องธนูก็อาจจะแปลงเป็นช่องสำหรับยิงปืน บางครั้งเรือนเฝ้าประตูก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบการป้องกันเมืองที่อาจจะใช้ในการป้องกันสะพานข้ามแม่น้ำหรือคูเมืองเช่นเรือนเฝ้าประตูกลางสะพานมอนเนาว์ในมอนมอธในเวลส์ ยอร์คมีเรือนเฝ้าประตูสำคัญสี่เรือนเช่นเรือนที่มิคเคิลเกตบาร์ ภาษาฝรั่งเศสเรียกเรือนเฝ้าประตูว่า “logis-porche” ที่อาจจะมีขนาดใหญ่และมีโครงสร้างซับซ้อนที่ใช้เป็นทั้งประตูและที่พักอาศัย ถ้ามีขนาดใหญ่มากบางครั้งก็เรียกว่า “châtelet” หรือ “ปราสาทน้อย” เมื่อมาถึงปลายยุคกลางเรือนเฝ้าประตูในอังกฤษและฝรั่งเศสก็แปลงมาเป็นเรือนขนาดย่อมที่สร้างอย่างสวยงามที่ตั้งอยู่ตรงทางเข้าของคฤหาสน์หรือคฤหาสน์ที่ดินใหญ่ๆ และกลายมาเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระจากกำแพงหรือติดกับคฤหาสน์เพียงการสร้างติดกับกำแพงล้อมรอบคฤหาสน์ เมื่อมาถึงยุคนี้ความสำคัญในการเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกก็หมดความสำคัญลงไป และกลายมาเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างให้กลมกลืนไปกับลักษณะของตัวสิ่งก่อสร้างหลักที่อาจจะมองไม่เห็นจากทางเข้า บนแผ่นดินใหญ่ยุโรปเรือนเฝ้าประตูจากยุคกลางยังมีเหลือให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในฝรั่งเศส และเยอรมนี.

ดู ป้อมสนามและเรือนเฝ้าประตู

เวียงเชียงใหม่

วียงเชียงใหม่ หรือชื่อในรัชสมัยพระเจ้ากาวิละคือ เมืองรัตนตึงษาอภิณบุรี หมายถึงเขตเมืองนครหลวงของเชียงใหม่ (เขตเมืองเก่าในปัจจุบัน) แบ่งออกเป็นสองชั้น คือ เวียงชั้นนอก เป็นเขตเมืองโบราณรูปวงกลม ไม่เป็นที่แน่ชัดถึงปีสร้างและผู้สร้าง แต่จากตำนานคาดว่าสร้างโดยพญาลั๊วะ ซึ่งต่อมาถูกทิ้งร้าง และเวียงชั้นใน เป็นเขตเมืองรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สถาปนาเมื่อ 12 เมษายน..

ดู ป้อมสนามและเวียงเชียงใหม่

เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก

ออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก (Eugène Viollet-le-Duc,; 27 มกราคม ค.ศ. 1814 - 17 กันยายน ค.ศ. 1879) เป็นสถาปนิกและนักทฤษฎีคนสำคัญชาวฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีชื่อเสียงจากงานบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างจากยุคกลาง วียอแล-เลอ-ดุกเป็นสถาปนิกผู้มีบทบาทสำคัญของขบวนการสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิคในฝรั่งเศสที่อยู่บนพื้นฐานของปรัชญาที่ว่าสถาปัตยกรรมควรจะเป็นสิ่งที่แสดงออกอย่าง “ซื่อตรง” ที่ในที่สุดก็กลายมาเป็นปรัชญาของขบวนการของการฟื้นฟูสถาปัตยกรรมทั้งหมดและเป็นรากฐานของลัทธิสมัยใหม่นิยมที่เริ่มก่อตัวขึ้น.

ดู ป้อมสนามและเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก

เทศบาลนครนครราชสีมา

นครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เป็นเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กำหนดให้เป็นเมืองหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นศูนย์กลางการค้า การพาณิชย์ การคมนาคมทางบก และอุตสาหกรรม โดยปี..

ดู ป้อมสนามและเทศบาลนครนครราชสีมา

เซบัสเตียง เลอ แพร็สทร์ เดอ โวบ็อง

ซบัสเตียง เลอ แพร็สทร์ เดอ โวบ็อง และต่อมา มาร์ควิสแห่งโวบ็อง หรือเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อว่า โวบ็อง (Sébastien Le Prestre de Vauban) (15 พฤษภาคม ค.ศ.

ดู ป้อมสนามและเซบัสเตียง เลอ แพร็สทร์ เดอ โวบ็อง

เนินปราสาท

ซิสเตอรงที่ตั้งอยู่เหนือตัวเมืองที่ตั้งอยู่ต่ำลงมารอบ ๆ ปราสาท โวบ็อง ซิทาเดลลาที่ตั้งอยู่บนเนินเหนือแม่น้ำดานูบที่บูดาเปสต์ในฮังการี เนินปราสาท (citadel) คือป้อมปราการสำหรับป้องกันเมือง บางครั้งก็จะมีปราสาทรวมอยู่ด้วย หรือบางครั้งก็อาจจะหมายถึงบริเวณที่สูงที่สุดของตัวเมือง ในภาษาอังกฤษคำว่า "citadel" มีรากจากภาษาละตินเช่นเดียวกับคำว่า "city" ว่า "civis" ที่แปลว่า "พลเมือง" ในระบบป้อมปราการที่มีมุขป้อมยื่นออกไป เนินปราสาทคือส่วนที่มั่นคงที่สุดของระบบ บางครั้งก็จะตั้งลึกเข้าไปจากกำแพงนอกและมุขป้อม แต่ก็มักจะมีส่วนหนึ่งที่ติดกับกำแพงด้านนอกเพื่อเป็นการประหยัดการสร้างกำแพงใหม่สำหรับตัวสิ่งก่อสร้างหลัก เนินปราสาทจะเป็นระบบการป้องกันขั้นสุดท้ายถ้าข้าศึกสามารถบุกเข้าในปราสาทจากกำแพงชั้นต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่รอบนอกได้ นอกจากนั้นในยุคกลาง "เนินปราสาท" เป็นคำที่ใช้เรียกส่วนที่สามของปราสาทที่มีกำแพงที่สูงกว่ากำแพงอื่น ๆ ของเมือง ซึ่งเป็นที่มั่นสุดท้ายของระบบการป้องกันก่อนที่จะถึงตัวหอกลาง โครงสร้างที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ทราบที่ใช้เป็นเนินปราสาทสร้างในสมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเมื่อเนินปราสาทถือว่าเป็นศูนย์กลางของการบริหาร แต่วัตถุประสงค์ของโครงสร้างก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แม้ว่าโครงสร้างที่พบที่ซากโมเฮนโจ-ดาโร (ภาษาสินธี: मोइन जो दड़ो) หรือ "เนินมรณะ" จะเป็นโครงสร้างที่มีกำแพงล้อมรอบ แต่ก็ไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่าจะเป็นกำแพงที่สร้างขึ้นเพื่อการป้องกันการโจมตีจากข้าศึกหรือไม่ ข้อสันนิษฐานข้อหนึ่งคือเป็นกำแพงที่สร้างขึ้นเพื่อเปลี่ยนทิศทางการไหลของกระแสน้ำท่วม ในสมัยกรีกโบราณ เนินปราสาทอะโครโพลิสตั้งเด่นอยู่บนเนินสูงที่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้แต่ไกล อะโครโพลิสแห่งเอเธนส์ประกอบด้วยสถานที่สำหรับหลบภัย และ ที่มั่น ที่เป็นที่เก็บเสบียงและอาวุธ, เทวสถานสำหรับเทพเจ้า และ พระราชวัง อะโครโพลิสที่มีชื่อเสียงที่สุดคืออะโครโพลิสแห่งเอเธนส์ แต่อะโครโพลิสเป็นองค์ประกอบของการสร้างเมืองแทบทุกเมืองในสมัยกรีกโบราณ เช่นอะโครโพลิสแห่งคอรินท์ (Acrocorinth) ที่มีชื่อเสียงว่ามีระบบป้อมปราการที่มั่นคงที่แข็งแรง ในสมัยต่อมาเมื่อกรีซปกครองโดยจักรวรรดิละติน องค์ประกอบนี้ก็ได้รับการนำไปใช้โดยผู้ปกครองใหม่โดยมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกัน เนินปราสาทมีชื่อเรียกกันไปต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาคเช่น "เครมลิน" (kremlin) ในรัสเซีย หรือ "อัลกาซาร์" (alcázar) ในคาบสมุทรไอบีเรีย ในเมืองในยุโรปคำว่า "citadel" และ "city castle" มักจะใช้สลับความหมายกันได้ หรือบางครั้งก็อาจจะใช้คำว่า "tower" แทนได้เช่น ทาวเวอร์ออฟลอนดอน หรือ ทาวเวอร์ออฟเดวิดในเยรูซาเลม ในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ โดยเฉพาะในยุคกลาง เนินปราสาทที่มีระบบการป้องกันทางการทหารอิสระจากกำแพงเมืองเป็นระบบการป้องกันขั้นสุดท้ายของข้าศึกที่มาล้อมเมือง เมืองจะเสียก็ต่อเมื่อเสียเนินปราสาท เช่นในปี..

ดู ป้อมสนามและเนินปราสาท

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Field fortificationField fortificationsFortFortificationFortificationsFortifiedFortressFortressesFortsMilitary fortificationsระบบป้อมปราการป้อมป้อมยุทธนาวีป้อมปราการ

เนินปราสาท