โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ป่าพรุ

ดัชนี ป่าพรุ

ป่าพรุ ป่าพรุ (Swamp forest, Peat swamp forest) เป็นประเภทของป่าดิบชื้นประเภทหนึ่ง ที่อยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดจากแอ่งน้ำจืดเกิดขังตัวติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีการสะสมของชั้นดินอินทรีย์วัตถุ เช่น ซากพืช, ซากสัตว์, เศษซากของต้นไม้ ใบไม้ ต่าง ๆ จนย่อยสลายช้า ๆ กลายเป็นดินพีตหรือดินอินทรีย์ที่มีลักษณะหยุ่นยวบเหมือนฟองน้ำที่มีความหนาแน่นน้อยอุ้มน้ำได้มาก และพบว่ามีการสะสมระหว่างดินพีตกับดินตะกอนทะเลสลับกันชั้นกัน 2-3 ชั้น เนื่องจากน้ำทะเลเคยมีระดับสูงขึ้นจนท่วมป่าพรุ เกิดการสะสมของตะกอนน้ำทะเลถูกขังอยู่ด้านใน พันธุ์ไม้ในป่าพรุตายลงไป และเกิดเป็นป่าชายเลนขึ้นมาแทนที่ เมื่อระดับน้ำทะเลลดลง และมีฝนตกลงมาสะสมน้ำที่ขังอยู่จึงจืดจางลง และเกิดป่าพรุขึ้นมาอีกครั้ง ดินพรุชั้นล่างมีอายุถึง 6,000-7,000 ปี ส่วนดินพรุชั้นบนอยู่ระหว่าง 700-1,000 ปี สภาพโดยทั่วไปของป่าพรุ นั้น คือ พื้นด้านล่างจะเป็นพรุมีน้ำขังตลอดทั้งปี น้ำจะมีสีเขียวหรือน้ำตาลเข้ม อันเกิดจากการหมักหมมตัวมาอย่างยาวนานของซากพืช ซากสัตว์ น้ำจะมีสภาพเป็นกรดมากกว่าค่าของน้ำปกติ (pH ต่ำกว่า 7) ระบบนิเวศในป่าพรุนั้นมีความหลากหลาย และเกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันกัน ไม้ยืนต้นจะมีระบบรากแขนงแข็งแรงแผ่ออกไปเกาะเกี่ยวกันเพื่อจะได้ช่วยพยุงลำต้นของกันและกัน และให้ยืนตัวทรงอยู่ได้ ดังนั้นต้นไม้ในป่าพรุจึงอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หากต้นใดต้นหนึ่งล้ม ต้นอื่นจะล้มตามไปด้วย สำหรับในประเทศไทย พื้นที่ที่มีป่าพรุเกิดขึ้นนั้น มักจะเป็นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป และพบในบางส่วนบ้างของภาคกลาง ในปัจจุบัน พื้นที่ป่าพรุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ป่าพรุสิรินธร หรือป่าพรุโต๊ะแดง ในจังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่กว่า 125,625 ไร่ ในอดีต เคยมีป่าพรุในประเทศไทยมากถึงกว่า 400,000 ไร่ กินเนื้อที่กว่า 50 ล้านไร่ แต่ได้ค่อย ๆ ลดปริมาณลงจากการถูกบุกรุกแผ้วถางทำการเกษตร จนปัจจุบันเหลือไม่ถึง 60,000 ไร.

45 ความสัมพันธ์: กระรอกสามสีกระจงควายกระซู่กงมนุษย์กิ้งก่าแห่งบึงสเกปออร์ระบบนิเวศป่าไม้วงศ์ปลากะแมะวงศ์ปลาดุกวงศ์ปลาตะพัดวงศ์ปลาใบไม้อเมริกาใต้สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย)อำเภอชะอวดอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างอุทยานแห่งชาติซาบาเงาอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมืองอีเห็นน้ำมลายูทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทยค่างเทางูหลามต้นไม้สีเขียวปลาชะโอนหินปลาช่อนบานคานปลาช่อนเข็มปลากระดี่มุกปลากริมแรดปลาหวีเกศพรุปลาอะโรวาน่าเอเชียปลาดุกลำพันปลาตะเพียนลายปลาตะเพียนลายมาเลย์ปลาตะเพียนหยดน้ำปลาตะเพียนแคระปลาซิวหนูปลาซิวใบไผ่มุกปลาเสือหกขีดปลาเสือดำนกฟินฟุตนกตะกรุมนกเปล้าใหญ่แมวป่าหัวแบนเสือปลาเหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทาเทศบาลตำบลทางพูนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองทุ่งทอง

กระรอกสามสี

กระรอกสามสี (อังกฤษ: Prevost's squirrel, Asian tri-colored squirrel) กระรอกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Callosciurus prevostii จัดเป็นกระรอกขนาดกลาง มีความยาวของลำตัวประมาณ 25 เซนติเมตร หาง 27 เซนติเมตร มีลักษณะเด่นที่สีของขนคลุมตัวโดยขนที่หูหลังและหัวมีสีดำ ขนหางครึ่งหนึ่งเป็นสีดำ ส่วนครึ่งปลายหางมีสีน้ำตาล ขนท้องและขามีสีแดงปนน้ำตาลแก่ ขนที่โคนขาหลังด้านบนมีสีขาวหว่างขนหลังสีดำกับขนท้องสีน้ำตาลปนแดง มีแถบสีขาวพาดจากโคนขาหลังไปยังขาหน้าส่วนบน ใบหน้าด้านข้าง และที่จมูกมีขนสีเทาดำ ทำให้ดูคล้าย กระรอกหลากสี (C. finlaysonii) ซึ่งเป็นกระรอกที่อยู่ในสกุลเดียวกัน เว้นแต่ตัวเมียของกระรอกสามสีจะมีเต้านม 3 คู่ กระรอกสามสี พบได้ในคาบสมุทรมลายู ตั้งแต่ภาคใต้ของประเทศไทยลงไป พบได้แม้กระทั่งในป่าพรุ เช่น ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส โดยมีทั้งหมด 6 ชนิดย่อย กินอาหาร เช่น ผลไม้, แมลง, ไข่นก ปัจจุบัน กระรอกสามสีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็มีการนิยมซื้อขายและเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเหมือนกระรอกชนิดอื่น.

ใหม่!!: ป่าพรุและกระรอกสามสี · ดูเพิ่มเติม »

กระจงควาย

กระจงควาย หรือ กระจงใหญ่ (Greater mouse-deer, Napu) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tragulus napu อยู่ในวงศ์ Tragulidae มีขาเล็กเรียว ซึ่งมีนิ้วเท้าข้างละ 4 นิ้ว ทั้งตัวผู้และตัวเมียไม่มีเขา แต่ตัวผู้จะมีเขี้ยวบนยาวเลยริมฝีปากบนลงมา เมื่อโตเต็มวัยมีน้ำหนักตัวประมาณ 5 กิโลกรัม ขนบนตัวสีน้ำตาลออกเทา มีจุดสีเข้มกว่ากระจายอยู่ทั่วไป ที่ใต้คอและบนหน้าอกมีลายพาดตามยาวสีขาว 5 ลาย ด้านใต้ท้องสีขาว หางค่อนข้างสั้นสีน้ำตาลอ่อนด้านบนและสีขาวด้านล่าง ปกติชอบอยู่โดดเดี่ยว นอกจากในฤดูผสมพันธุ์จึงจะอยู่เป็นคู่ ออกหากินในเวลากลางคืน กินอาหารได้แก่ หญ้าอ่อน ๆ, ผลไม้, ยอดไม้ และใบไม้อ่อน ในเวลากลางวันจะหลบพักนอนตามหลืบหินและโพรงไม้ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว แต่บางครั้งก็พบออกลูกแฝด ระยะตั้งท้องนานประมาณ 5-6 เดือน พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศพม่า, เทือกเขาตะนาวศรี ไปจนถึงแหลมมลายู, เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่ภาคตะวันออกของไทยไปจนถึงตอนใต้ของกัมพูชาและเวียดนาม จัดเป็นกระจงอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทยนอกจาก กระจงเล็ก (T. kanchil) ที่มีขนาดตัวเล็กกว่า โดยมักอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ บางครั้งยังอาจพบได้ที่พื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าพรุหรือป่าชายเลนได้อีกด้วย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: ป่าพรุและกระจงควาย · ดูเพิ่มเติม »

กระซู่

กระซู่, แรดสุมาตรา หรือ แรดขน (Sumatran RhinocerosWilson, D. E., and Reeder, D. M. (eds), ed (2005).; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dicerorhinus sumatrensis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคี่จำพวกแรด กระซู่เป็นแรดที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก และเป็นแรดเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Dicerorhinus มีลักษณะเด่นคือมี นอ 2 นอ เหมือนแรดแอฟริกา โดยนอจะไม่ตั้งยาวขึ้นมาเหมือนแรดชวา นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง โดยทั่วไปยาว 15-25 ซม.

ใหม่!!: ป่าพรุและกระซู่ · ดูเพิ่มเติม »

กง

กง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hanguana malayana) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในวงศ์กง เป็นพืชจำพวกไม้ล้มลุก เมื่อโตเต็มที่อาจสูงถึง 2 เมตร มีไหลลอยน้ำได้ ใบเป็นรูปใบหอกเรียว ยาว 20-120 เซนติเมตร ปลายใบแหลมยาว โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบเรียงขนานกัน มีเส้นแขนงใบย่อยตัดขวางจำนวนมาก กาบใบยาวหุ้มลำต้น ก้านใบช่วงล่างยาวกว่าช่วงปลายต้น ช่อดอกแบบแยกแขนง ยาวได้ถึง 120 เซนติเมตร จากสารานุกรมพืชในประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, สืบค้นวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ดอกของกงจะออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุกเล็ก ๆ บนช่อแยกแขนง มีกลีบรวม 6 กลีบ วงนอก 3 กลีบ ยาว 2-2.5 มิลลิเมตร วงใน 3 วงยาวกว่าวงนอกเล็กน้อย มีสีเหลืองอมเขียวหรือสีขาว มีจุดสีแดงด้านใน เกสรเพศผู้ติดอยู่ที่โคนกลีบรวม ยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันขนาดเล็กในดอกเพศเมีย เกสรเพศเมียติดทน ส่วนผล เมื่อสุกจะมีสีแดง รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ต้นกงมีการกระจายพันธุ์กว้าง พบตั้งแต่ประเทศศรีลังกา เวียดนาม และแถบคาบสมุทรมลายู ส่วนในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้ ขึ้นในน้ำตามลำห้วย ป่าพรุ ที่ชื้นแฉะ หรือขึ้นตามพื้นดินที่ลาดชันในป่าดิบชื้น ขึ้นตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 700 เมตร.

ใหม่!!: ป่าพรุและกง · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์กิ้งก่าแห่งบึงสเกปออร์

มนุษย์กิ้งก่าแห่งบึงสเกปออร์ (Lizard Man of Scape Ore Swamp) หรือ มนุษย์กิ้งก่าแห่งลีเคาน์ตี (Lizard Man of Lee County) สิ่งมีชีวิตลึกลับขนาดใหญ่ตัวหนึ่ง มีรูปร่างเหมือนกึ่งมนุษย์กึ่งสัตว์เลื้อยคลาน ที่มีผู้อ้างว่าพบเห็นที่เมืองบิชอปวิลล์ ในลีเคาน์ตี เทศมณฑลแห่งหนึ่งในรัฐเซาท์แคโรไลนา โดยอาศัยอยู่ในป่าที่มีสภาพเป็นป่าพรุและบึงน้ำThe Washington Post (1988-08-14) "'Lizard Man' Claims a Casualty", The Washington Post มนุษย์กิ้งก่าแห่งบึงสเกปออร์ มีรายงานว่าถูกพบเห็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน..

ใหม่!!: ป่าพรุและมนุษย์กิ้งก่าแห่งบึงสเกปออร์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบนิเวศป่าไม้

ระบบนิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศป่าไม้ (Forest ecosystem) ระบบนิเวศป่าไม้เป็นศูนย์รวมความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญที่สุดในโลก และเป็นปัจจัยหลักที่เกื้อกูลการดำรงชีวิตของประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในบริเวณป่า ทั้งยังช่วยควบคุมสภาพอากาศให้เหมาะสม เนื่องจากเป็นแหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอน การที่มนุษย์ตัดไม้ทำลายป่าการแบ่งป่าเป็นผืนเล็กผืนน้อย และทำให้ป่าเสื่อมสภาพลง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในป่าเขตร้อนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง.

ใหม่!!: ป่าพรุและระบบนิเวศป่าไม้ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากะแมะ

วงศ์ปลากะแมะ (Chaca, Squarehead catfish, Frogmouth catfish, Angler catfish) เป็นวงศ์ปลาในอันดับปลาหนัง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Chacidae (/ชา-คิ-ดี้/) มีรูปร่างแปลกอย่างเห็นได้ชัด มีส่วนหัวที่แบนราบ ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังสั้นมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้าน และก้านครีบแขนง 3-4 ก้าน ครีบท้องใหญ่แล ครีบหางแผ่กว้างปลายหางยกขึ้น เห็นสะดุดตา ครีบก้นสั้นประมาณ 8-10 ครีบ ไม่มีก้านครีบแข็ง ผิวหนังย่นและมีตุ่มขนาดต่างๆ เป็นติ่งหนังอยู่โดยรอบ โดยเฉพาะบริเวณปาก เพื่อหลอกล่อเหยื่อ ตัวมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลคล้ำ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณไม่เกิน 20 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในน้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 6.5-8.0 ในป่าพรุ พบตั้งแต่อินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักกบดานอยู่นิ่ง ๆ กับพื้น เพื่อดักรออาหารได้แก่ ลูกปลาและลูกกุ้งขนาดเล็ก มีทั้งหมด 1 สกุล คือ Chaca (/ชา-คา/) แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: ป่าพรุและวงศ์ปลากะแมะ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาดุก

วงศ์ปลาดุก (Walking catfish, Airbreathing catfish) เป็นวงศ์ปลาจำพวกหนึ่ง ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clariidae (/คลา-ริ-อาย-ดี้/) มีลักษณะเด่นชัดคือ ส่วนหัวกลมแบราบ ตาเล็กอยู่ด้านข้างของหัว ปากเล็กอยู่ตอนปลายสุดของจะงอยปาก มีหนวดรอบปาก 4 คู่ ยาวเท่า ๆ กัน ครีบอกมีก้านแข็งแหลมคม มีพิษแรงปานกลาง ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็งและยาวเกือบเท่าความยาวลำตัวเช่นเดียวกับครีบก้น ครีบหลังและครีบท้องเล็กปลายมน ปลาดุกมีอวัยวะพิเศษรูปร่างคล้ายก้อนฟองน้ำสีแดงสดอยู่ในช่องเหงือกตอนบนสำหรับช่วยหายใจโดยใช้อากาศเหนือน้ำได้ จึงทำให้ปลาในวงศ์นี้สามารถอยู่เหนือน้ำได้นานกว่าปลาชนิดอื่น ๆ และยังสามารถแถก คืบคลานบนบกได้เมื่อฝนตกน้ำไหลหลาก และเป็นที่ของชื่อภาษาอังกฤษว่า "Walking catfish" มีการวางไข่โดยขุดโพรงหรือทำรัง บางชนิด ตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่จนฟักเป็นตัว ไข่เป็นแบบไข่ติด ปลาในวงศ์นี้มีการกระจายพันธุ์กว้างไกลตั้งแต่ทวีปแอฟริกาจนถึงเอเชีย พบในประเทศไทยราว 10 ชนิด เป็นปลาน้ำจืดที่ใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ที่คนไทยรู้จักดี ได้แก่ ปลาดุกด้าน (Clarias batrachus) และปลาดุกอุย (C. macrocephalus).

ใหม่!!: ป่าพรุและวงศ์ปลาดุก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะพัด

วงศ์ปลาตะพัด (Bonytongues fish, Arowana) วงศ์ปลาวงศ์หนึ่งในอันดับ Osteoglossiformes มีลักษณะสำคัญที่วิวัฒนาการจากปลาในยุคโบราณคือ มีส่วนกระดูกที่หัวแข็ง หรือลิ้นแข็งเป็นกระดูก คำว่า Osteoglossidae (/ออส-ที-โอ-กลอส-ซิ-ดี้/) เป็นภาษากรีกหมายถึง "ลิ้นกระดูก" อธิบายลักษณะของปลาในกลุ่มนี้.

ใหม่!!: ป่าพรุและวงศ์ปลาตะพัด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาใบไม้อเมริกาใต้

วงศ์ปลาใบไม้อเมริกาใต้ (Leaffish) เป็นวงศ์ปลากระดูกแข็งในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Polycentridae.

ใหม่!!: ป่าพรุและวงศ์ปลาใบไม้อเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย)

นศึกษาเรือนยอดไม้ สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย) - Peninsular Botanical Garden (Thung Khai) เดิมชื่อ สวนรุกขชาติทุ่งค่าย ตั้งอยู่ในพื้นที่ 2,600 ไร่ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าทุ่งค่าย หมู่ที่ 2, 3 และ 9 ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดตรังประมาณ 13 กิโลเมตร สวนรุกขชาติทุ่งค่าย เริ่มจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2529 โดยกรมป่าไม้ ตามนโยบายของนายชวน หลีกภัย (ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 และเป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุ์ไม้ - สัตว์ป่า และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชนทั่วไป ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบและที่ราบบนเนินเขาเตี้ย ๆ สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น และป่าพรุ มีป่าพรุธรรมชาติที่เป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยสายเล็ก ๆ ดินเป็นดินทรายและดินร่วนปนทราย ในปี..

ใหม่!!: ป่าพรุและสวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย) · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอชะอวด

อวด เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมร.

ใหม่!!: ป่าพรุและอำเภอชะอวด · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง

กาะช้าง เกาะช้างดูจากมุมมองหมู่เกาะรัง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 650 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ที่มากถึง 52  เกาะ เรียงตัวกันตั้งแต่เขตอำเภอแหลมงอบ อำเภอเมือง และอำเภอคลองใหญ่ เกาะที่สำคัญที่สุด คือ เกาะช้าง นอกจากนี้ยังมีเกาะอื่น ๆ ที่ยังคงสภาพความสวยงามตามธรรมชาติ ได้แก่ เกาะคลุ้ม เกาะเหลายาใน เกาะง่าม เกาะไม้ซี้ใหญ่ เกาะหวาย เกาะง่าม บางแห่งมีปะการังใต้น้ำที่คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ เช่น เกาะหวาย และหมู่เกาะรัง ฯลฯ ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะช้างใกล้คลองธารมะยม บริเวณด้านหน้ามีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ของอุทยานฯ นอกจากนี้ยังมีหน่วยพิทักษ์อุทยานอีก 3 จุด ซึ่งล้วนอยู่บนเกาะช้าง คือ บริเวณอ่าวคลองสน  บริเวณทางเข้าน้ำตกคลองพลู  และบริเวณหมู่บ้านสลักเพชร เกาะช้าง เดิมเป็นเกาะที่ไม่มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัย แต่มีความสำคัญในฐานะที่เป็นท่าจอดเรือหลบลมมรสุม แหล่งเสบียงอาหาร และน้ำจืด โดยเฉพาะที่บริเวณอ่าวสลักเพชร หรืออ่าวสลัด เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่โจรสลัด ชาวจีนไหหลำ และชาวญวน ปัจจุบันบนเกาะช้างมีประชาชนอาศัยอยู่ 8 หมู่บ้าน เกาะช้างเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากเกาะภูเก็ต มีเนื้อที่ 429 ตารางกิโลเมตร   ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเขาสูงมีผาหินสลับซับซ้อน ยอดเขาที่สูงที่สุดได้แก่ เขาสลักเพชร มีความสูงประมาณ 744 เมตร สภาพป่าโดยทั่วไปมีอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา เป็นต้นกำเนิดของต้นน้ำลำธาร ทำให้มีน้ำตกหลายแห่งบนเกาะ ด้านฝั่งตะวันออกของเกาะนั้น มีชายฝั่งที่สวยงามอย่างมาก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง เป็นพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เมื่อปี..

ใหม่!!: ป่าพรุและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติซาบาเงา

อุทยานแห่งชาติซาบาเงา (Taman Nasional Sebangau) เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดกาลีมันตันกลาง บนเกาะบอร์เนียวส่วนของประเทศอินโดนีเซีย ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: ป่าพรุและอุทยานแห่งชาติซาบาเงา · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง

อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีถนนเพชรเกษมตัดผ่าน แบ่งอุทยานแห่งชาติออกเป็นสองส่วนคือ เขาลำปีทางฝั่งตะวันออก และหาดท้ายเหมืองทางฝั่งตะวันตก.

ใหม่!!: ป่าพรุและอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นน้ำมลายู

อีเห็นน้ำมลายู หรือ อีเห็นน้ำซุนดา (Otter civet) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีรูปร่างอ้วน ขาสั้น ขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือดำสนิท ลักษณะเด่นคือ หัวค่อนข้างแบน จมูกและปากยื่นออกมามีสีขาว จมูกมีขนาดใหญ่ รูจมูกด้านบนเปิดขึ้นและสามารถปิดได้เมื่ออยู่ใต้น้ำ ใบหูมีขนาดเล็กและมีลิ้นปิดหูไม่ให้น้ำเข้าขณะว่ายน้ำ ห่างค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกับความยาวลำตัว มีพังผืดยืดระหว่างนิ้วคล้ายกับนิ้วเท้าของนากเล็กเล็บสั้น (Amblonyx cinerea) มีความยาวลำตัวและหัว 70-80 เซนติเมตร ความยาวหาง 12-20 เซนติเมตร น้ำหนัก 3-5 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำของภาคใต้ของไทย, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวาและเกาะบอร์เนียว มีพฤติกรรมอาศัยและหากินตามลำพัง โดยล่าพวกสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เช่น กุ้ง, หอย, ปู, ปลา และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น หนู สามารถปรับตัวให้อาศัยแบะหากินอยู่ในน้ำได้ดีเช่นเดียวกับนาก มักอาศัยอยู่ในป่าพรุหรือพื้นที่ชุ่มน้ำอื่น ๆ ปีนต้นไม้ได้เก่ง บางครั้งพบว่าอาจปีนต้นไม้เพื่อกินผลไม้สุกได้.

ใหม่!!: ป่าพรุและอีเห็นน้ำมลายู · ดูเพิ่มเติม »

ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่อย่างมากมาย และยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ แบ่งออกเป็น ทรัพยากรดิน ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ำ และทรัพยากรแร่ธาต.

ใหม่!!: ป่าพรุและทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ค่างเทา

งเทา หรือ ค่างหงอก (อังกฤษ: Silvered langur, Silvery lutung, Silvered leaf monkey) ค่างชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trachypithecus cristatus จัดเป็นลิงโลกเก่าชนิดหนึ่ง ค่างเทามีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับค่างดำมลายู (Presbytis femoralis) ขนตามลำตัวเป็นสีเทาเข้ม ปลายขนเป็นสีขาวหรือสีเงิน ทำให้แลดูคล้ายผมหงอกของมนุษย์ อันเป็นที่มาของชื่อ บนหัวจะมีขนยาวเป็นหงอนแหลม ใบหน้ามีสีดำไม่มีวงแหวนสีขาวรอบดวงตา มือและเท้าเป็นสีดำ ลูกค่างที่เกิดใหม่ขนตามลำตัวจะเป็นสีเหลืองทอง มีความยาวลำตัวถึงหัว 49-57 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 72-84 เซนติเมตร น้ำหนัก 6-8 กิโลกรัม มีชนิดย่อยด้วยกัน 2 ชนิด มีพฤติกรรมอาศัยอยู่บนต้นไม้สูง ในบางครั้งอาจพบในป่าพรุด้วย อาหารของค่างชนิดนี้ได้แก่ ใบอ่อนของต้นไม้, ผลไม้ และแมลงตัวเล็ก ๆ จะออกหากินในเวลากลางวัน มักอยู่รวมเป็นฝูงประมาณ 10-15 ตัว มีการกระจายพันธุ์ในแถบภาคตะวันตก, ภาคเหนือของไทย, ภาคใต้ของลาว, พม่า, เวียดนาม, ตอนใต้ของจีน, กัมพูชา, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวาและเกาะบอร์เนียว.

ใหม่!!: ป่าพรุและค่างเทา · ดูเพิ่มเติม »

งูหลามต้นไม้สีเขียว

งูหลามต้นไม้สีเขียว (Green tree python) เป็นงูไม่มีพิษชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morelia viridis อยู่ในวงศ์งูเหลือม (Pythonidae) งูเมื่อโตเต็มวัยแล้วจะมีสีของช่วงหลังเป็นสีเขียวสดใสหรือสีฟ้าเป็นแต้ม และช่วงท้องเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวตลอดแนวกระดูกสันหลัง ในขณะที่ยังเป็นตัวอ่อนส่วนใหญ่จะเป็นสีเหลืองสดใสตลอดลำตัว แต่ในบางพื้นที่อาจจะมีช่วงหลังเป็นสีแดง, ส้มหรือเขียว ร่างกายมีกล้ามเนื้อแข็งแรงมีส่วนหัวและลำตัวสั้น ตามีขนาดใหญ่โดยที่มีม่านตาอยู่ในแนวตั้ง และมีแอ่งจับคลื่นความร้อนบริเวณริมฝีปากเช่นเดียวกับงูในวงศ์เดียวกันนี้ชนิดอื่น ๆ โดยใช้เป็นเครื่องมือตรวจจับคลื่นความร้อนจากสัตว์เลือดอุ่นโดยเฉพาะในเวลากลางคืนเพื่อจับเป็นอาหาร มีความยาวเต็มที่ประมาณ 150-200 เซนติเมตร เป็นงูที่สามารถพบได้ในหลายพื้นที่ของเกาะนิวกินีตลอดจนหลายเกาะของอินโดนีเซียจนถึงรัฐควีนส์แลนด์ ของออสเตรเลีย สามารถพบได้ทั้งในป่าพรุ, ป่าดิบแล้ง ตลอดจนถึงพื้นที่ทำการเกษตร โดยสามารถพบได้จนถึงพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 2,000 เมตร โดยมากจะหาอาหารในเวลากลางคืน ได้แก่ กิ้งก่าและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก โดยจะหากินหลักบนต้นไม้ แต่บางครั้งก็จะลงพื้นดินมาหาอาหารได้ด้วย จัดเป็นงูชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง.

ใหม่!!: ป่าพรุและงูหลามต้นไม้สีเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาชะโอนหิน

ปลาชะโอนหิน (Leaf catfish) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Silurichthys (/ไซ-เลอร์-อิค-ธีส/) มีลักษณะสำคัญ คือ นัยน์ตามีเยื่อเหมือนวุ้นคลุม ปลายของครีบหางแยกเป็นสองแฉกและยาวไม่เท่ากัน ครีบก้นยาวและติดต่อรวมกันกับครีบหาง ครีบหลังอยู่หน้าครีบท้อง ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 7 ก้าน ฟันที่เพดานปากชิ้นกลางมีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นกลุ่มกลม มีหนวดค่อนข้างยาว 2 คู่ ที่ริมฝีปากบน 1 คู่ และที่คาง 1 คู่ มีสีลำตัวคล้ำ มีขนาดยาวเต็มที่ประมาณ 14-15 เซนติเมตร พบในทวีปเอเชีย ในลำธารน้ำตกหรือพื้นที่ป่าพร.

ใหม่!!: ป่าพรุและปลาชะโอนหิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนบานคาน

ปลาช่อนบานคาน หรือ ปลาช่อนบังกา (Bangka snakehead) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) ปลาช่อนบานคาน เป็นปลาช่อนชนิดหนึ่ง มีลักษณะเหมือนปลากระสง (C. lucius) แต่ส่วนหัวไม่เรียวแหลมเหมือนปลากระสง และรูปทรงลำตัวค่อนข้างจะกลมเป็นทรงกระบอกมากกว่า มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 23.5 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในตอนใต้ของมาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะกาลิมันตัน และเกาะบังกาในอินโดนีเซีย ในแหล่งน้ำในป่าพรุที่มีค่าพีเอช (pH) ไม่เกิน 4 เป็นปลาสวยงามที่หาได้ยาก ในประเทศไทยเคยมีเข้ามาจำหน่ายเพียงครั้งเดียวเท่านั้น โดยการเลี้ยงในตู้ปลาสามารถปรับค่าพีเอชของน้ำให้อยู่ที่ราว 5.5-6 ได้ สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในตู้กระจก โดยวางไข่แบบไข่ลอย แม่ปลาคอยดูแลลูกปลา กินอาหารจำพวกแมลง และปลาขนาดเล็ก มีอุปนิสัยดุร้.

ใหม่!!: ป่าพรุและปลาช่อนบานคาน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนเข็ม

ปลาช่อนเข็ม (Giant pikehead) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luciocephalus pilcher ในวงศ์ Osphronemidae มีรูปร่างคล้ายปลาช่อนผสมกับปลาเข็ม กล่าวคือ มีส่วนหัวและปากแหลมยาว มีลำตัวสีน้ำตาลเข้มและน้ำตาลเขียว หลังสีจางกว่า กลางลำตัวมีแถบดำใหญ่ขอบสีพางพาดยาวและมีแถบสีจางพาดบริเวณด้านหลัง โคนครีบหางมีจุดสีดำขอบสีขาว ท้องสีจาง ครีบหลังสีดำ ครีบหางมีลายประสีคล้ำ ครีบล่างใสโปร่งแสง มีขนาดความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร โดยจะหากินบริเวณผิวน้ำ โดยอาหารได้แก่ แมลงน้ำขนาดเล็กและสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นปลาที่พบได้เฉพาะในป่าพรุตั้งแต่ภาคใต้ตอนล่างของไทย ไปจนถึงแหลมมลายู เป็นปลาที่พบได้ไม่บ่อยนัก นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ทว่าเลี้ยงให้รอดได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากมักจะปรับตัวไม่ได้ เพราะเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำที่มีสภาพเป็นความกรด (pH) ต่ำมาก.

ใหม่!!: ป่าพรุและปลาช่อนเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดี่มุก

ปลากระดี่มุก ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichopodus leerii ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ (T. trichopterus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่กระดี่มุกมีลำตัวกว้างกว่าเล็กน้อย ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นมีขนาดใหญ่และมีก้านครีบอ่อนยาวเป็นเส้นริ้ว ลำตัวสีเงินจาง มีแถบสีดำจางพาดยาวไปถึงโคนครีบหาง ท้องมีสีส้มหรือสีจาง และมีจุดกลมสีเงินมุกหรือสีฟ้าเหลือบกระจายไปทั่ว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ครีบท้องเป็นสีส้มสดหรือสีเหลือง มีความยาวเต็มที่เฉลี่ย 10-12 เซนติเมตร มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำที่มีค่าของน้ำมีความเป็นกรด (pH) ต่ำกว่าค่าของน้ำปกติ (ต่ำกว่า 7.0) เช่น ในป่าพรุ เป็นต้น เป็นปลาจำพวกปลากระดี่ที่พบในธรรมชาติได้น้อยที่สุดในประเทศไทย โดยจะพบในเฉพาะพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ตอนล่างเท่านั้น นิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ เป็นปลาที่สามารถเพาะพันธุ์ในสถานที่เลี้ยงได้ และมีการแข่งขันประกวดความสวยงามอีกด้ว.

ใหม่!!: ป่าพรุและปลากระดี่มุก · ดูเพิ่มเติม »

ปลากริมแรด

ปลากริมแรด (Licorice gourami) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่อยู่ในสกุล Parosphromenus ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาที่อยู่ในสกุล Trichopsis หรือปลากริม แต่มีฐานครีบหลังกว้างกว่า และมีขอบครีบสีฟ้า ตามลำตัวมีลวดลายหรือลายแถบแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิด ปลากริมแรด กระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ไปตลอดแหลมมลายู จนถึงอินโดนีเซีย มักอาศัยอยู่ในพื้นที่ ๆ เป็นป่าพรุ หรือน้ำที่มีสภาพเป็นกรด มีสีชา (ค่า pH ต่ำกว่า 7) ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จัดเป็นปลาที่หายาก และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ.

ใหม่!!: ป่าพรุและปลากริมแรด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหวีเกศพรุ

ปลาหวีเกศพรุ เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในอันดับปลาหนัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudeutropius indigens อยู่ในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) ปลาหวีเกศพรุนับเป็นปลาน้ำจืดชนิดใหม่ของโลก ที่เพิ่งจะได้รับการค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 2011 มีลักษณะไปทั่วคล้ายกับปลาแขยงทอง หรือปลาอิแกลาเอ๊ะ (P. moolenburghae) มาก โดยตั้งชื่อชนิดเป็นภาษาละตินมีความหมายว่า "มีน้อยกว่า" จากลักษณะของจำนวนซี่กรองเหงือกและก้านครีบเมื่อเทียบกับปลาอีแกลาเอ๊ะ โดยลักษณะเด่นที่ใช้สำหรับการจำแนก คือ มีส่วนหัวที่มีความกว้างมากกว่าปลาอิแกลาเอ๊ะ ประมาณ 10.5-11.0 % ของความยาวมาตรฐาน ซี่กรองเหงือกมีจำนวน 33-35 อันที่โครงแรก มีก้านครีบก้น 37-41 ก้าน ขากรรไกรบนและล่างเท่ากัน มีฟันเป็นซี่เล็กแหลม จำนวนมาก หนวดเส้นยาวเรียวทั้งหมด 4 คู่ ยาวอย่างน้อยที่สุดยาวไปจนถึงครีบท้อง มีขนาดใหญ่สุดที่พบความยาวลำตัว มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 7 เซนติเมตร มีการกระจายพันธุ์อยู่ในแหล่งน้ำรอบ ๆ ป่าพรุโต๊ะแดง ของจังหวัดนราธิวาส และในแม่น้ำสุโหง-โกลก และยังพบบริเวณต้นน้ำของแม่น้ำตาปี ปลาหวีเกศพรุเป็นปลาที่พบน้อย แต่ก็ถูกจับไปขายเป็นปลาสวยงามเป็นครั้งคราวรวมกับปลาที่พบในป่าพรุชนิดอื่น ๆ หรือถูกจับปนไปกับปลาที่กินได้ขนาดเล็กต่าง ๆ โดยมักจะถูกเรียกรวม ๆ กันกับปลาก้างพระร่วง (Kryptopterus macrocephalus) ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์กัน.

ใหม่!!: ป่าพรุและปลาหวีเกศพรุ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอะโรวาน่าเอเชีย

ปลาอะโรวาน่าเอเชีย หรือ ปลาตะพัดเอเชีย (Asian arowana) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในสกุล Scleropages (/สะ-เคอ-โอ-พา-กิส/) ในวงศ์ Osteoglossidae ถือเป็นปลาโบราณที่สืบเผ่าพันธุ์มาจากปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีลักษณะรูปร่างไม่ต่างจากบรรพบุรุษในยุคก่อนประวัติศาสตร์มากนัก เป็นปลาที่มีวิวัฒนาการแยกออกจากปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน เมื่อกว่า 140 ล้านปีก่อน ในยุคครีเตเชียสตอนต้น.

ใหม่!!: ป่าพรุและปลาอะโรวาน่าเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุกลำพัน

ปลาดุกลำพัน (Slender walking catfish, Nieuhof's walking catfish) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลาดุกชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาดุก (Clariidae).

ใหม่!!: ป่าพรุและปลาดุกลำพัน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนลาย

ปลาตะเพียนลาย หรือ ปลาตะเพียนม้าลาย (Striped barb, Zebra barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเรียวยาว มีลายสีดำทั้งหมด 4 แถบ ยาวตามแนวนอนตามลำตัว ลายแต่ละเส้นขนานกัน ลำตัวสีเหลืองจาง ๆ เกล็ดเป็นเงามันสะท้อนแสงแวววาว เม่อยังเป็นลูกปลาวัยอ่อน ลายตามลำตัวจะเป็นแนวขวาง และค่อย ๆ กลายเป็นแนวนอนเมื่อปลาโตขึ้นหน้า 70, ตะเพียน Update, "คุยเฟื่องเรื่องปลาไทย" โดย อ.ชัยวุฒิ กรุดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ใหม่!!: ป่าพรุและปลาตะเพียนลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนลายมาเลย์

ปลาตะเพียนลายมาเลย์ ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Striuntius โดยเป็นสกุลใหม่ที่ตั้งขึ้นมาเมื่อปี..

ใหม่!!: ป่าพรุและปลาตะเพียนลายมาเลย์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนหยดน้ำ

ปลาตะเพียนหยดน้ำ (Snakeskin barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาเสือสุมาตรา (Puntigrus tetrazona) หรือปลาเสือข้างลาย (P. partipentazona) ซึ่งเดิมเคยอยู่ร่วมสกุลเดียวกัน แต่ปลาตะเพียนหยดน้ำมีรูปร่างที่ยาวกว่าอย่างเห็นได้ชัดเจน มีสีลำตัวน้ำตาลออกส้ม มีสีดำเป็นรูปหยดน้ำ 4-5 แถบ เป็นลักษณะเด่น มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 5 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงเหมือนปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน โดยแพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ติดกับใบของไม้น้ำ ไข่ฟักเป็นตัวภายใน 24-36 ชั่วโมง พบเฉพาะในแหล่งน้ำที่มีสีชา ด้วยมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (Ph) ของน้ำต่ำกว่า 7 เช่น น้ำในป่าพรุ บนเกาะบอร์เนียว เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะการเลี้ยงในตู้ไม้น้ำ รวมกับปลาชนิดอื่น ๆ จัดเป็นปลาที่เลี้ยงได้ง่ายมาก สามารถกินได้ทั้งอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป.

ใหม่!!: ป่าพรุและปลาตะเพียนหยดน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนแคระ

ปลาตะเพียนแคระ (Pygmy barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายคล้ายกับปลาตะเพียน แต่ลำตัวเรียวยาวกว่า ตาโต ปากมีขนาดเล็ก ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวใสมีสีเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อน ครีบใส ปลายครีบมีสีดำคล้ำ ตัวผู้มีครีบหลังใหญ่กว่าตัวเมีย ครีบก้นมีแต้มสีดำ ด้านหลังมีสีจาง ๆ มีขนาดความยาว 3-4 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำที่มีพืชน้ำขึ้นอย่างหนาแน่นในป่าที่ราบต่ำหรือป่าพรุ พบในภาคตะวันออกและภาคใต้ไทย โดยพบได้ตั้งแต่ตอนเหนือของแหลมมลายู จัดเป็นปลาที่พบได้น้อย กินอหารจำพวก สัตว์น้ำหน้าดินและอินทรียสารต่าง ๆ เป็นอาหาร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ป่าพรุและปลาตะเพียนแคระ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวหนู

ปลาซิวหนู (Least rasbora, Exclamation-point rasbora) เป็นปลาซิวชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะคล้ายปลาซิวชนิดอื่น แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก หัวและตามีขนาดโต ปากมีขนาดเล็ก ครีบและเกล็ดมีขนาดใหญ่ หัวและลำตัวมีสีส้มหรือแดงอมส้ม มีแถบสีดำพาดตามแนวยาวกลางลำตัว โคนหางมีจุดสีคล้ำ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงขนาดใหญ่และว่ายขึ้นมาใกล้ผิวน้ำ ในแหล่งน้ำที่นิ่งมีหญ้าและพืชน้ำขึ้นหนาแน่น และน้ำมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย (pH ต่ำกว่า 7 เล็กน้อย) เช่น น้ำในป่าพรุ เป็นต้น จัดเป็นปลาที่พบได้น้อยในแหล่งที่อยู่ในธรรมชาติ โดยพบกระจายทั่วไปในภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยพบเพียงไม่กี่แห่ง อาทิ พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเลใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ในที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศ เป็นต้น นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ซึ่งสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง.

ใหม่!!: ป่าพรุและปลาซิวหนู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวใบไผ่มุก

ปลาซิวใบไผ่มุก หรือ ปลาซิวใบไผ่เล็ก หรือ ปลาซิวเจ็ดสี (Pearl danio, White-lined danio, Rearing danio) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิว อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเรียวยาวแบนข้าง หัวและจะงอยปากมน ปากกว้าง มีหนวดยาวที่ริมฝีปากบน 1 คู่ และที่มุมปาก 1 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่มีลักษณะบางและหลุดง่าย ครีบหลังค่อนไปทางทางด้านหาง ครีบก้นสั้น ครีบหางเว้าตื้น เส้นข้างลำตัวไม่สมบูรณ์ ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 2 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 13 ก้าน มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 3.5 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางทั้งในแม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง และแม่น้ำต่าง ๆ ในภาคใต้ รวมถึงแหล่งน้ำในป่าพรุด้วย โดยมักซ่อนอยู่ใต้ซากใบไม้ และพบเรื่อยไปจนถึงเกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซีย เป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เป็นปลาที่มีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง จึงนิยมเก็บรวบรวมจากธรรมชาติเพื่อส่งขายเป็นปลาสวยงาม ซึ่งปัจจุบันสามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว.

ใหม่!!: ป่าพรุและปลาซิวใบไผ่มุก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเสือหกขีด

ปลาเสือหกขีด หรือ ปลาเสือป่าพรุ (Six-band barb) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะและรูปร่างคล้ายกับปลาเสือห้าขีด (D. pentazona) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังโค้ง หัวมีขนาดเล็ก ตาโต ปากมีขนาดเล็ก มีหนวดที่มุมปาก 1 คู่ จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่กลางตัว และอยู่หลังครีบท้อง ครีบหางแฉกเว้าลึก สีพื้นของลำตัวเป็นสีขาวเงิน มีแถบสีดำบนลำตัว 6 แถบ โดยมีที่ลำตัว 5 แถบ และที่ส่วนหัวอีก 1 แถบ พาดผ่านตา เกล็ดบางเกล็ดมีสีขาวเงินสะท้อนแสง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5.5 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของประเทศไทยในป่าพรุต่าง ๆ เช่น ป่าพรุโต๊ะแดง และพบเรื่อยไปจนถึงแหลมมลายู, เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเป็นปลาที่เลี้ยงได้ง่ายมาก นิยมเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงหรือรวมกับปลาขนาดใกล้เคียงกันในตู้ไม้น้ำ.

ใหม่!!: ป่าพรุและปลาเสือหกขีด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเสือดำ

ปลาเสือดำ หรือ ปลากะพงเล็ก (ชื่อท้องถิ่นจันทบุรี) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nandus nebulosus อยู่ในวงศ์ปลาเสือดำ (Nandidae) มีรูปร่างคล้ายปลาดุมชี (N. oxyrhynchus) ซึ่งอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกัน แต่มีจะงอยปากสั้นกว่าปลาดุมชี มีลำตัวแบนข้าง หัวและตาโต ปากมน บนฝาปิดเหงือกมีหนามชิ้นเล็ก ๆ 1 ชิ้น ลำตัวสีน้ำตาลแดง มีลายบั้งและประสีคล้ำพาดขวาง 5-6 บั้ง มีแถบยาวสีดำจากปลายปากจนถึงท้ายทอย ครีบหลังตอนแรกสีเหมือนลำตัว ตอนหลังใส ครีบอกใส มีขนาดประมาณ 6 เซนติเมตร-10 เซนติเมตร มีพฤติกรรมชอบซ่อนตัวอยู่นิ่ง ๆ ใต้กองไม้หรือใบไม้ใต้น้ำ เพื่อล่าเหยื่อซึ่งเป็นซึ่งมีชีวิตเล็ก ๆ กินเป็นอาหาร ปลาเสือดำพบได้ในบริเวณภาคตะวันออกของประเทศ และป่าพรุในภาคใต้ มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลานางคง" หรือ "ปลาดุมชี" ในวงการปลาสวยงามนิยมเรียกว่า "ปลาเสือลายเมฆ".

ใหม่!!: ป่าพรุและปลาเสือดำ · ดูเพิ่มเติม »

นกฟินฟุต

นกฟินฟุต (Finfoot, Masked finfoot, Asian finfoot) เป็นนกชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Heliopais นกฟินฟุตจัดเป็นนกที่หากินในน้ำและอาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าชายเลน, ป่าพรุ ด้วยเป็นนกที่จับสัตว์น้ำ, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ กินเป็นอาหาร มีขนหนาแน่นสีน้ำตาล แลดูคล้ายเป็ด ปากแหลมสีเหลือง ส่วนหน้าสีดำคล้ายสวมหน้ากาก คอยาวเรียวเล็ก ขาสีเขียว นิ้วเท้ามีทั้งหมด 4 นิ้ว มีพังผืดเชื่อมติดกัน ปกติมักอาศัยเพียงตัวเดียว หรือเป็นคู่ นกตัวผู้กับตัวเมียคล้ายคลึงกัน แต่มีส่วนต่างกันที่สี โดยที่ตัวผู้จะมีสีที่เข้มกว่า ขณะที่ตัวเมียจะมีเส้นสีขาวผ่านจากใต้คอลงมาถึงหน้าด้านของลำคอ มีเส้นสีดำจากหลังตามาล้อมกรอบแถบสีขาว ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 52-54.5 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย นกฟินฟุตเป็นนกที่มีถิ่นอาศัยในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ แต่โดยปกติแล้วไม่ใช่นกประจำถิ่นของไทย แต่จะอพยพผ่านเพื่อหากินและแพร่ขยายพันธุ์วางไข่เท่านั้น โดยจะพบในพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ของภาคใต้ อาทิ เกาะตะรุเตา, ป่าพรุโต๊ะแดง, ทะเลบัน, ป่าชายเลนที่จังหวัดกระบี่ เป็นต้น และพบได้น้อยในพื้นที่ภาคกลาง จัดเป็นนกที่หายากมากชนิดหนึ่ง โดยมีสถานะใน IUCN อยู่ในสถานะสิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์ คาดว่าทั่วทั้งโลกมีจำนวนประชากรราว 2,500-9,900 ตัว ขยายพันธุ์ในช่วงฤดูฝน วางไข่ในรังครั้งละ 5-7 ฟอง ไข่มีสีขาวเจือด้วยสีเขียวจาง ๆ มีจุดกลมเล็ก ๆ สีน้ำตาลกระจายไปทั่ว รังทำมาจากกิ่งไม้หรือเศษไม้ขัดกันในพื้นที่สูงจากพื้นราว 3 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 37 เซนติเมตร ลึกประมาณ 20 เซนติเมตร จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: ป่าพรุและนกฟินฟุต · ดูเพิ่มเติม »

นกตะกรุม

นกตะกรุม (Lesser adjutant stork) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Leptoptilos javanicus เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ในวงศ์นกกระสา (Ciconiidae) มีถิ่นที่อยู่อาศัยในทวีปเอเชียทางตอนใต้ ตั้งแต่อินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงจีนตอนใต้ และเกาะชวา มีรูปร่างคล้ายคลึงกับนกตะกราม แต่มีขนาดเล็กกว่า และไม่มีถุงใต้คอ ขณะยืนมีความสูงบนหัวประมาณ 110-120 เซนติเมตร ความกว้างของปีกทั้งสองข้างประมาณ 210 เซนติเมตร ลำตัวด้านบนสีดำเหลือบเป็นมัน ใต้ท้องสีออกขาว มีจุดเด่น คือ ส่วนหัวและลำคอเป็นหนังสีเหลืองแกมแดง มีขนเป็นเส้นๆ ขึ้นกระจายอยู่ห่าง ๆ ทำให้แลดูล้านเลี่ยน จะงอยปากมีขนาดใหญ่สีออกเหลืองเลอะ ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์จะมีแต้มสีแดงตรงบริเวณโคนปาก แข้งและเท้าสีน้ำตาลแกมเขียวจนถึงสีคล้ำเกือบดำ นกอายุน้อยขนสีดำค่อนข้างด้าน บนส่วนหัวและลำคอมีขนปกคลุมมากกว่านกโตเต็มวัย นกตะกรุม เป็นนกที่หากินสัตว์เล็ก ๆ ตามแหล่งน้ำเป็นอาหาร เช่น กุ้ง, หอย, ปู, ปลา รวมถึงสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่าง งู หรือ กบ, เขียด แต่จะไม่กินซากสัตว์เหมือนนกตะกราม มีพฤติกรรมทำรังบนยอดไม้สูง ตามป่าชายเลนหรือป่าริมน้ำร่วมกับนกตะกรามและนกกระทุง วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ในช่วงปลายปี คือ เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ส่วนหัวที่ล้านเลี่ยนเป็นจุดเด่น นกตะกรุม เป็นนกที่หาได้ยากมากในประเทศไทย เดิมเคยมีรายงานพบที่ จังหวัดศรีสะเกษ, ราชบุรี, ชุมพร, ตรัง, ประจวบคีรีขันธ์ และนราธิวาส และมีรายงานการทำรังแพร่ขยายพันธุ์ที่บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ที่จังหวัดพัทลุง และป่าพรุ ในเขตจังหวัดนราธิวาส ในปี..

ใหม่!!: ป่าพรุและนกตะกรุม · ดูเพิ่มเติม »

นกเปล้าใหญ่

นกเปล้าใหญ่ หรือ นกพิราบเขียวใหญ่ (Large green pigeon) เป็นนกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายนกในวงศ์นี้ส่วนใหญ่ จัดเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ ปากหนาใหญ่สีขาวแกมเขียว หน้าสีเทา หนังรอบตาสีเหลือง ขนลำตัวเขียวแกมเทา มีแถบสีเหลืองที่ปีก ขนปีกสีดำ แข้งและตีนสีเหลือง นกเพศผู้ที่อกมีแถบสีส้มแกมน้ำตาลอ่อน ก้นและขนคลุมใต้โคนหางสีน้ำตาลเข้ม ในขณะที่นกเพศเมีย ที่อกมีแถบเหลือง ก้นและขนคลุมใต้โคนหางสีน้ำตาลอ่อน มีน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 400 กรัม จัดเป็นนกที่กระจายพันธุ์ในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ปัจจุบันเป็นนกที่อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต เนื่องจากสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย ในประเทศไทยจะพบได้ในป่าดิบและป่าพรุ อาทิ ป่าพรุโต๊ะแดง และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: ป่าพรุและนกเปล้าใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

แมวป่าหัวแบน

แมวป่าหัวแบน (Flat-headed cat) แมวป่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prionailurus planiceps อยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) โดยเป็นแมวป่าขนาดเล็ก ขาและหางสั้น ใบหูเล็ก ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดงหรือส้ม ส่วนปลายของขนแต่ละเส้นมีขาวปนเทาหรือเหลืองอ่อน ลักษณะเด่นคือ หัวที่มีรูปร่างยาวและแบน อันเป็นที่มาของชื่อ ลูกแมวป่าหัวแบนจะมีจุดสีขาวบริเวณหลังหู อุ้งเท้าแคบและยาว มีขนากลำตัวและหัวยาว 46.5 - 48.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 12.8 - 13 เซนติเมตร น้ำหนัก 1.5 - 2.2 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย, มาเลเซีย, เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว โดยอาศัยและหากินอยู่ตามพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าพรุ หรือป่าที่น้ำท่วมขังหรือพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ อาหารได้แก่ สัตว์ขนาดเล็ก เช่น กบ, ปลา, สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ รวมถึงผลไม้บางประเภทด้วย จัดเป็นเสือชนิดที่หายากชนิดหนึ่งของโลก เนื่องจากพบเห็นตัวได้ยากและมีรายงานพบเห็นในธรรมชาติเพียงไม่กี่ครั้ง แม้แต่ภาพถ่ายก็ยังมีเพียงไม่กี่รูปเท่านั้น ปัจจุบัน สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว.

ใหม่!!: ป่าพรุและแมวป่าหัวแบน · ดูเพิ่มเติม »

เสือปลา

ือปลา หรือ เสือแผ้ว (ชื่อเรียกเสือปลาในตัวที่มีขนาดใหญ่; Fishing cat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือขนาดเล็ก จัดเป็นแมวป่าขนาดกลาง รูปร่างอ้วนป้อม ขนตามลำตัวค่อนข้างสั้นและหนา ขนสีเทาอมน้ำตาล หรือขนสีเทาอมมะกอก มีจุดสีน้ำตาลเข้มแกมดำเรียงเป็นลายแนวขนานไปกับความยาวลำตัว โดยขนแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ซึ่งพัฒนามาเพื่อหากินกับน้ำโดยเฉพาะ ขนชั้นในสั้นเกรียนและแน่นมากจนน้ำซึมผ่านไม่ได้ ทำให้ตัวของเสือปลาแห้ง และช่วยรักษาความอบอุ่นเอาไว้ในขณะลงจับปลาในน้ำ ขนชั้นในสั้นกว่าขนชั้นนอก มีความหนาและยาวกว่าขนชั้นใน ขนชั้นนอกเป็นชั้นที่มีลวดลายและหนามันวาว หางยาวเพียงหนึ่งในสามของลำตัว มีพังผืดบาง ๆ ยึดระหว่างนิ้วเท้าหน้า ยังไม่พัฒนา เก็บเล็บไม่ได้เหมือนเสือชนิดอื่น ๆ เสือปลามีหัวขนาดใหญ่ หูสั้นมีกรอบสีดำ ดวงตาสีเขียว มีความยาวตั้งแต่หัวถึงลำตัว 70–90 เซนติเมตร หรือเกินกว่านั้น หางสั้น 20–30 เซนติเมตร น้ำหนัก 7–11 กิโลกรัม ขนาดของเสือปลาอาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของอาหารซึ่งก็คือความสมบูรณ์ของป่า ลูกเสือปลาขนาดเล็กมีลักษณะคล้ายแมวดาว (P. bengalensis) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันมาก มีการกระจายพันธุ์กว้างขวาง ในภูมิประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น มักอาศัยใกล้แหล่งน้ำตามธรรมชาติ เข่น ลำธาร, แม่น้ำ, ทะเลสาบ, ป่าชายเลน พบได้ตั้งแต่ตะวันตกเฉียงเหนือ, เหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, และตะวันตกเฉียงใต้ ของอินเดีย, บังกลาเทศ, เนปาล, ภูฏาน, จีน, รัสเซีย, พม่า, ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เกาะสุมาตรา และเกาะชวา เสือปลามักอาศัยหากินอยู่ตามป่าเบญจพรรณ, ป่าพรุหรือป่าละเมาะ และป่าชายเลน เพราะอาหารหลัก คือ ปลา จึงเป็นที่มาของชื่อ สามารถจับปลาหรือสัตว์น้ำ เช่น อึงอ่าง, คางคก, กบ, เขียด, ปาด, ปลาไหล, ปู และสัตว์บกขนาดเล็ก เช่น หนู, กระรอก, กระต่าย, พังพอน, ชะมดเช็ด, ไก่ป่า และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น งู, นาก, ตุ่น, เป็ดน้ำ กินได้เก่งมาก โดยจะนั่งรอตะปบ หรือตะครุบปลาในแหล่งน้ำตื้น สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว โดยใช้ขาหลังตีน้ำ ปีนต้นไม้ได้เก่ง มักอยู่บนต้นไม้ แต่ไม่ทำรังอาศัยอยู่บนต้นไม้ มักทำรังอยู่ในโพรงใต้ต้นไม้ เสือปลามีการผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ ตั้งท้อง 60–65 วัน ออกลูกในเดือนมีนาคม–เมษายน มีการผสมพันธุ์ช่วงเดือนพฤษภาคม–มิถุนายน ออกลูกในเดือนกันยายน–ตุลาคม ออกลูกครั้งละ 1–4 ตัว 1–15 วันแรกตายังปิดอยู่ 55–60 วัน กินปลาหรือสัตว์น้ำและสัตว์บกขนาดเล็ก 120–180 วัน ยังไม่หย่านม จนเมื่ออายุได้ 10–12 เดือน แม่จะแยกจากไป เพื่อฝึกให้หากินเองลำพังตามธรรมชาติ บางครั้ง (บางปี) ฤดูร้อนอากาศแห้งแล้งฝนขาดช่วงตกเป็นระยะเวลานาน น้ำในแหล่งน้ำตามธรรมชาติแห้งขอด มีผลทำให้ปลาและสัตว์น้ำไม่มีที่อยู่อาศัย อาหารของเสือปลาหมดไป จึงทำให้ต้องออกจากป่ามาหาอาหารกินในเขตชุมชนมนุษย์ และอาศัยอยู่ใกล้กับชุมนุมมนุษย์ เช่น ในเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร มีวัดแห่งหนึ่งชื่อ "วัดกระทุ่มเสือปลา" แสดงถึงในอดีตเคยมีเสือปลาชุกชุม ซึ่งในตัวขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเสือแผ้วอาจคุกคามปศุสัตว์ขนาดใหญ่ของมนุษย์ได้ เช่น ลูกวัว การเลี้ยงเพื่อให้เชื่องในสถานที่เลี้ยง ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเสือปลาเป็นสัตว์ป่าที่มีอุปนิสัยดุมาก.

ใหม่!!: ป่าพรุและเสือปลา · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา

หยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา (Grey-headed fish eagle) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae) จัดเป็นเหยี่ยวขนาดใหญ่ลำตัวยาวถึง 72 เซนติเมตร มีลักษณะสังเกตได้ง่าย คือ ส่วนหัวสีเทา ลำตัวสีน้ำตาล ส่วนท้องตอนล่างและหางสีขาว เฉพาะที่หางตอนปลายมีแถบสีดำคาด นกอายุน้อยลำตัวสีน้ำตาลอ่อน มีลายขีดน้ำตาลใต้ท้องและลายประสีน้ำตาลบนส่วนหาง จะงอยปากสีน้ำตาลปนเทา แข้งและเท้าสีเทาอ่อน ชอบเกาะอยู่ตามยอดไม้สูง คอยจ้องลงโฉบจับปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ กินเป็นอาหาร สร้างรังอยู่ตามต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ใกล้แหล่งน้ำ รังอยู่สูง 10-30 เมตรหรืออยู่บนยอดของต้นไม้ วางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง ตัวผู้ขณะบิน พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงสุลาเวสี มีพฤติกรรมอาศัยอยู่โดดเดี่ยวตามลำน้ำใหญ่ในป่า, อ่างเก็บน้ำ, นาข้าวตามชายฝั่งทะเล และในป่าพรุที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ หรือน้ำนิ่ง ในประเทศในอดีตพบได้ทั่วทุกภาค แต่ในปัจจุบัน มีรายงานพบในบริเวณเขตรักษาพันธุสัตวปาหวยขาแขง จังหวัดอุทัยธานี และเขตหามลาสัตวปาปาพรุ จังหวัดนราธิวาส และพบจำกัดอยูในเฉพาะบริเวณปาระดับต่ำและอยูในสภาวะใกลสูญพันธุไปจากธรรมชาติแลว ยังไมมีรายงานยืนยันแนชัดวาเหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทาจะสามารถใชแหลงน้ำที่มนุษยสรางขึ้นโดยการทำเขื่อนเก็บน้ำเพื่อการชลประทานและการผลิตพลังงานไฟฟาไดหรือไม่ ในประเทศสิงคโปรพบวาทำรังอยูริมอางเก็บน้ำในเดือนมกราคม.

ใหม่!!: ป่าพรุและเหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลตำบลทางพูน

ทศบาลตำบลทางพูน ตั้งอยู่ใน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ระยะทางจากอำเภอ 10 กม.

ใหม่!!: ป่าพรุและเทศบาลตำบลทางพูน · ดูเพิ่มเติม »

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

ตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หรือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี และมีพื้นที่ติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรในพื้นที่จังหวัดตากและจังหวัดกาญจนบุรี ที่อยู่ทางทิศตะวันตก ถือเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของผืนป่าตะวันตกของประเทศไทย และเป็นผืนป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ โดยองค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม..

ใหม่!!: ป่าพรุและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง · ดูเพิ่มเติม »

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ทางเดินศึกษาธรรมชาติ ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรือ ป่าพรุโต๊ะแดง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ป่าพรุโต๊ะแดง หรือ ป่าพรุสิรินธร เป็นป่าพรุที่มีเนื้อที่มากที่สุดที่ยังเหลืออยู่ในประเทศไทย เนื้อที่ของป่ามีความกว้างประมาณ 8 กิโลเมตร และมีความยาวประมาณ 28 กิโลเมตร มีพื้นที่ครอบคลุมอาณาเขตของอำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอเจาะไอร้อง และอำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส คิดเป็นเนื้อที่กว่า 125,625 ไร่ (แต่ส่วนที่สมบูรณ์จริง ๆ มีประมาณ 50,000 ไร่) มีแหล่งน้ำสำคัญ 3 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำบางนรา, คลองสุไหงปาดี และคลองโต๊ะแดง (อันเป็นที่มาของชื่อเรียก) ป่าแห่งนี้เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ป่าหลากหลายชนิด ซึ่งหลายชนิดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ และพื้นที่รอบๆป่าก็เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าว ยาง และผลไม้ต่าง ๆ โดยมีศูนย์วิจัยและศึกษาพันธ์ป่าพรุสิรินธร ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโกลก ใช้เวลาเดินทางจากตัวเมืองสุไหงโกลก ผ่านทางหลวงสายสุไหงโกลก - ตากใบ แล้วเลี้ยวซ้ายตรงแยกชวนันท์ ด้วยระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตรจากตัวเมืองสุไหงโกลก เดินศึกษาธรรมชาติยาวกว่า 1,200 เมตร ภายในศูนย์ฯมีเส้นทางเดินศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของป่าผ่าใจกลางป่าพรุ มีหอคอย และศูนย์บริการข้อมูล ตลอดจนซุ้มแสดงประวัติและข้อมูลขอลพืช พันธ์ และสัตว์ต่างๆในพื้นที่ป่าพรุโดยรอบ ใช้เวลาเดินประมาณ 45 - 60 นาที.

ใหม่!!: ป่าพรุและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี · ดูเพิ่มเติม »

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองทุ่งทอง

ตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองทุ่งทอง เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศกำหนดให้หนองทุ่งทอง ในท้องที่ตำบลเคียนซา อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เมื่อวันที่ 25 กันยายน..

ใหม่!!: ป่าพรุและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองทุ่งทอง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »