สารบัญ
226 ความสัมพันธ์: Acantopsis choirorhynchosม้าน้ำดำวงศ์ย่อยปลากระดี่วงศ์ย่อยปลาแรดวงศ์ปลากรายวงศ์ปลากะแมะวงศ์ปลากัด ปลากระดี่วงศ์ปลากังจีรูวงศ์ปลายอดจากวงศ์ปลาวัววงศ์ปลาสลิดทะเลวงศ์ปลาสวายวงศ์ปลาหมอช้างเหยียบวงศ์ปลาหัวตะกั่ววงศ์ปลาจานวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจวงศ์ปลาดอกหมากวงศ์ปลาดุกทะเลวงศ์ปลาดุกไฟฟ้าวงศ์ปลาฉลามกบวงศ์ปลาปิรันยาวงศ์ปลาแค้วงศ์ปลาแซลมอนวงศ์ปลาเสือพ่นน้ำวงศ์ปลาเสือดำวงศ์ปลาเสือตอสกุลบาร์โบดีสสกุลบาร์โบนีมัสสกุลพุนชัสสกุลพุนทิกรุสสกุลมีสทัสสกุลยาสุฮิโกทาเกียสกุลรัสบอร่าสกุลลาบิโอบาร์บุสสกุลออรีเซียสสกุลซีสโทมัสสกุลปลาหัวโตสกุลปลาทองทะเลสกุลแบร็คอิรัสสกุลโลโบคีลอสสกุลโดรีอิคธีสสกุลไมโครนีมาสกุลไซโนกลอสซัสสกุลเฮมอิบากรัสสกุลเตตราโอดอนอันดับปลาหลังเขียวอันดับปลาฉลามฟันเลื่อยอันดับปลาฉลามหลังหนามตุ๊ดตู่ปลาชะโอน (สกุล)... ขยายดัชนี (176 มากกว่า) »
Acantopsis choirorhynchos
Acantopsis choirorhynchos เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมูแท้ (Cobitidae) มีลำตัวเล็ก ขนาดยาวไม่เกิน 30 เซนติเมตร (แต่ที่พบโดยทั่วไปจะยาวเพียงแค่ 5-14 เซนติเมตร) หัวแหลม ตาเล็ก หางแหลม กลางลำตัวมีเส้นสีเทาจากหัวถึงหางระหว่างเส้นมีจุดสีดำเป็นแนวยาว ครีบหางเว้าตื้น มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในพื้นท้องน้ำที่มีกรวดทรายและมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว สามารถมุดทรายได้อย่างรวดเร็วเมื่อตกใจหรือจะซ่อนตัวจากสัตว์นักล่า A.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และAcantopsis choirorhynchos
ม้าน้ำดำ
ม้าน้ำดำ หรือ ม้าน้ำคูด้า หรือ ม้าน้ำธรรมดา (Common seahorse, Spot seahorse) เป็นม้าน้ำชนิดหนึ่ง มีสีพื้นผิวลำตัวหลากหลายทั้ง ดำ, เหลือง, ม่วง หรือน้ำตาลแดง โดยสามารถเปลี่ยนสีลำตัวได้ตามสภาพแวดล้อม มีขนาดความยาว 25-30 เซนติเมตร พบได้ในทะเลทั่วไปแถบอินโด-แปซิฟิกจนถึงฮาวาย ในน่านน้ำไทยถือว่าเป็นม้าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นม้าน้ำที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว แต่ทว่าอัตราการรอดมีน้อย จึงเพาะพันธุ์เป็นจำนวนมากไม่ได้ ต้องใช้ม้าน้ำจากธรรมชาติที่ท้องแล้ว แต่ในปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในหลายที่ และมีอัตราการรอดสูง โดยเลี้ยงให้ผสมพันธุ์กันเองในที่เลี้ยง ในเดือนพฤศจิกายน..
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และม้าน้ำดำ
วงศ์ย่อยปลากระดี่
วงศ์ย่อยปลากระดี่ เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luciocephalinae สมาชิกในวงศ์ย่อยนี้ ประกอบไปด้วยสกุลต่าง ๆ ได้แก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ย่อยปลากระดี่
วงศ์ย่อยปลาแรด
วงศ์ย่อยปลาแรด (Giant gouramis) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Osphroneminae ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 1 สกุล 4 ชนิด (ดูในตาราง) มีลักษณะร่วมกันคือ ลำตัวป้อมและแบนข้าง เกล็ดสากมือเป็นรูปหยัก มีก้านครีบท้องคู่แรกเป็นเส้นเรียวยาวคล้ายหนวด ใช้สำหรับสัมผัส ปลายหางมนกลม ปากแหลม ริมฝีปากหนา ภายในปากมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคมเรียงอยู่ภายใน ส่วนหัวเล็กและป้าน เมื่อโตขึ้นมาโดยเฉพาะในปลาตัวผู้จะมีโหนกนูนขึ้นมาเรื่อย ๆ จนดูคล้ายนอแรด อันเป็นที่มาของชื่อ โคนหางมีจุดสีดำคล้ำอยู่ทั้ง 2 ข้าง เมื่อโตขึ้นจุดดังกล่าวจะหายไป เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ แต่จะกินพืชเป็นอาหารหลัก นิสัยก้าวร้าวพอสมควร และเป็นปลาที่มีความสามารถพิเศษคือ สามารถฮุบอากาศจากผิวน้ำได้โดยตรง เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษที่อยู่ในช่องเหงือกช่วยในการหายใจ อีกทั้งยังสามารถเก็บความชื้นไว้ได้เมื่อถูกจับพ้นน้ำ มีขนาดโตเต็มที่ราว 90 เซนติเมตร ในชนิด Osphronemus goramy ซึ่งนับว่าเป็นปลาในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) ที่ใหญ่ที่สุด พบกระจายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และที่เป็นหมู่เกาะ ชอบอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหลเอื่อย ๆ มีพืชน้ำขึ้นรก มีทั้งหมด 4 ชนิด (ดูในตาราง).
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ย่อยปลาแรด
วงศ์ปลากราย
วงศ์ปลากราย (Featherback fish, Knife fish) เป็นปลากระดูกแข็งน้ำจืดที่อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes คือ ปลาที่มีกระดูกแข็งบริเวณส่วนหัวและลิ้น อันเป็นอันดับเดียวกับปลาในวงศ์ปลาตะพัดและปลาไหลผีอะบาอะบา ใช้ชื่อวงศ์ว่า Notopteridae (/โน-ท็อป-เทอ-ริ-เด-อา/; มาจากภาษากรีกคำว่า noton หมายถึง "หลัง" และ pteron หมายถึง "ครีบ") เป็นปลาน้ำจืด มีรูปร่างแบนด้านข้างมาก และเรียวไปทางด้านท้าย ครีบหลังเล็ก ครีบก้นและครีบหางยาวติดกัน จึงใช้ครีบก้นที่ยาวติดกันนี้โบกพริ้วในเวลาว่ายน้ำ ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ปากกว้าง เกล็ดเป็นแบบขอบบางเรียบ และมีขนาดเล็กละเอียด บางครั้งอาจจะขึ้นมาผิวน้ำเพื่อฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านซี่กรองเหงือกเหมือนเช่นปลาทั่วไปอื่น ๆ เนื่องจากเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษพัฒนามาจากถุงลมใช้ในการหายใจได้โดยตรง เป็นปลากินเนื้อที่ออกหากินในเวลากลางคืน มีจุดเด่นคือ ครีบก้นที่ต่อกับครีบหาง มีก้านครีบทั้งหมด 85-141 ก้าน เป็นครีบที่ปลาในวงศ์นี้ใช้ในการว่ายน้ำมากที่สุด ไม่ว่าจะเคลื่อนที่ไปทิศทางใด ส่วนที่อยู่เหนือครีบก้นขึ้นไปจะเป็นกล้ามเนื้อหนาทำหน้าที่เช่นเดียวกับครีบก้น ซึ่งส่วนของกล้ามเนื้อตรงนี้ มีชื่อเรียกกันในภาษาพูดว่า "เชิงปลากราย" จัดเป็นส่วนที่มีรสชาติอร่อยมาก พฤติกรรมเมื่อวางไข่ตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่ ไข่เป็นก้อนสีขาวทึบ ติดเป็นกลุ่มกับวัสดุใต้น้ำเช่นตอไม้หรือเสาสะพาน เลี้ยงดูลูกจนโต พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, เอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งสิ้น 4 สกุล 10 ชนิด ได้แก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลากราย
วงศ์ปลากะแมะ
วงศ์ปลากะแมะ (Chaca, Squarehead catfish, Frogmouth catfish, Angler catfish) เป็นวงศ์ปลาในอันดับปลาหนัง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Chacidae (/ชา-คิ-ดี้/) มีรูปร่างแปลกอย่างเห็นได้ชัด มีส่วนหัวที่แบนราบ ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังสั้นมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้าน และก้านครีบแขนง 3-4 ก้าน ครีบท้องใหญ่แล ครีบหางแผ่กว้างปลายหางยกขึ้น เห็นสะดุดตา ครีบก้นสั้นประมาณ 8-10 ครีบ ไม่มีก้านครีบแข็ง ผิวหนังย่นและมีตุ่มขนาดต่างๆ เป็นติ่งหนังอยู่โดยรอบ โดยเฉพาะบริเวณปาก เพื่อหลอกล่อเหยื่อ ตัวมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลคล้ำ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณไม่เกิน 20 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในน้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 6.5-8.0 ในป่าพรุ พบตั้งแต่อินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักกบดานอยู่นิ่ง ๆ กับพื้น เพื่อดักรออาหารได้แก่ ลูกปลาและลูกกุ้งขนาดเล็ก มีทั้งหมด 1 สกุล คือ Chaca (/ชา-คา/) แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด ได้แก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลากะแมะ
วงศ์ปลากัด ปลากระดี่
วงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Labyrinth fishes, Gouramis, Gouramies) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์ใหญ่ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Osphronemidae (/ออฟ-โฟร-นิ-มิ-ดี้/) พบกระจายอย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเกาหลี โดยมากปลาที่อยู่ในวงศ์นี้จะมีลักษณะเป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวป้อมแบน เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ มีสีสันสวยงาม ตัวผู้มีขนาดใหญ่และสีสดสวยกว่าตัวเมีย ครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใช้สำหรับสัมผัส มีความสามารถพิเศษคือ มีอวัยวะช่วยในการหายใจอยู่ในเหงือก เรียกว่า "อวัยวะเขาวงกต" (Labyrinth organ) จึงทำให้สามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป จึงสามารถอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ มักอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งขนาดเล็ก เช่น ห้วย, หนอง, บึง, นาข้าว หรือ ร่องสวนมากกว่าแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น คลอง หรือ แม่น้ำ ในบางสกุล ตัวผู้จะใช้น้ำลายผสมกับอากาศเรียกว่า "หวอด" ก่อติดกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อวางไข่ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ในบางชนิดตัวผู้เมื่อพบกันจะกัดกันจนตายกันไปข้าง ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน 10 เซนติเมตร และมีสีสันสวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าบริโภค เป็นที่รู้จักกันดีเช่น ปลากัด (Betta spendens), ปลากระดี่นางฟ้า (Trichogaster trichopterus) ปลาพาราไดซ์ (Macropodus opercularis) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปลาบางชนิดเป็นปลาเศรษฐกิจที่นำมาบริโภคได้ เช่น ปลาสลิด (Trichogaster pectoralis) และปลาแรด (Osphronemus goramy) สำหรับปลาแรดซึ่งมีขนาดใหญ่ได้ถึง 90 เซนติเมตร และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ตลอดไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซี.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลากัด ปลากระดี่
วงศ์ปลากังจีรู
ปลากังจีรู หรือ ปลาแคนดีรู (Candiru; Candirú; Parasitic catfish, Pencil catfish) เป็นปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่งในกลุ่มปลาไม่มีเกล็ด (Siluriformes) เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Trichomycteridae พบได้ในแม่น้ำแอมะซอน และเป็นที่กล่าวกันในหมู่ชนพื้นเมืองว่าเป็นปลาที่น่ากลัวที่สุด มากกว่าปลาปิรันยาเสียอีก ปลาชนิดนี้มีความยาวเมื่อโตเต็มที่เพียงไม่กี่นิ้ว ลำตัวยาวเหมือนปลาไหล และมีลักษณะโปร่งแสง ทำให้มองแทบไม่เห็นเมื่ออยู่ในน้ำ ปลากังจีรูเป็นปรสิต มันจะว่ายเข้าไปในช่องเหงือกของปลาชนิดอื่น และกินเลือดในเหงือกเป็นอาหาร ชนพื้นเมืองกลัวปลากังจีรูเพราะมันไวต่อปัสสาวะและเลือด ถ้ามีคนเปลือยกายอาบน้ำอยู่ในแม่น้ำ มันจะว่ายเข้าไปทางช่องเปิดของร่างกาย (อาจเป็นทวารหนักหรือช่องคลอด หรือถ้าเป็นปลาที่ตัวเล็กมาก ก็อาจเข้าไปทางอวัยวะเพศชายได้) แล้วก็จะดูดกินเลือดและเนื้อเยื่อในร่างกายมนุษย์เหมือนในช่องเหงือกของปลา การปัสสาวะขณะอาบน้ำก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้ปลาจำพวกนี้เข้าสู่ท่อปัสสาวะของมนุษย์ได้ นอกจากนี้แล้วจากรายงานทางการแพทย์ของบราซิล พบว่า ปลาจำพวกนี้สามารถเจาะชอนไชเข้าไปในร่างกายของมนุษย์ได้ด้วย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต ในบางกรณีพบว่ามีปลาจำนานมากนับเป็นร้อยตัว.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลากังจีรู
วงศ์ปลายอดจาก
วงศ์ปลายอดจาก (Pike congers, False congers) วงศ์ของปลากระดูกแข็งทะเลวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muraenesocidae จัดเป็นปลาไหลแท้อีกจำพวกหนึ่ง เป็นปลาไหลขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่น คือ ลําตัวยาวทรงกระบอก ส่วนหางแบนข้าง ไม่มีเกล็ด ปากกว้าง จะงอยปากบนยาวลํ้ากรามล่าง ฟันแหลมคมแข็งแรง ครีบอกใหญ่ พื้นลําตัวและครีบสีนํ้าตาลอ่อนปนเหลืองหรือคลํ้า ด้านท้องสีขาว ขอบครีบหลัง, ครีบก้น และครีบหางสีดํา ตากลมโตมีขนาดใหญ่ มีความยาวได้ถึง 1.5 เมตร พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน บางชนิดอาจพบได้ตามแหล่งน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน เช่น ปลายอดจากปากสั้น (Congresox talabon) และปลายอดจากปากยาว (C.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลายอดจาก
วงศ์ปลาวัว
วงศ์ปลาวัว หรือ วงศ์ปลางัว หรือ วงศ์ปลากวาง (วงศ์: Balistidae, Triggerfish, ฮาวาย: Humuhumu) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งทะเลวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) มีรูปร่างโดยรวม ลำตัวกว้างแบนเป็นทรงกลมรีคล้ายรูปไข่ ข้างตำแหน่งตาอยู่สูงบริเวณด้านบนของหัว ที่ครีบหลังอันแรกจะมีหนามแข็ง 3 อัน สามารถพับเก็บได้ และจะตั้งขึ้นได้เพื่อใช้ในการข่มขู่ศัตรู มีก้านครีบหางจำนวน 12 ก้าน และ 18 ก้านครีบที่ครีบหลัง มีเกล็ดที่ใหญ่แข็งและหนังหนา ส่วนของใบหน้ายาวและยื่นแหลมออกมา ปากมีขนาดเล็ก ภายในมีฟัน 4 ซี่ที่ด้านนอก และด้านในอีก 3 ซี่ ที่แหลมคมมาก ใช้สำหรับขบกัดสัตว์มีเปลือกต่าง ๆ กินเป็นอาหาร รวมถึงฟองน้ำ, ปะการัง, สาหร่าย หรือเม่นทะเลด้วย เช่นเดียวกับปลาปักเป้า อันเป็นปลาในอันดับเดียวกัน แต่อยู่ต่างวงศ์กัน พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น อินโด-แปซิฟิก, หมู่เกาะฮาวาย, ทะเลแดง, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลฟิลิปปิน และมหาสมุทรแอตแลนติก ตาของปลาวัวสามารถกลอกกลิ้งไปมาได้ อันเป็นลักษณะเฉพาะ โดยปกติแล้ว เป็นปลาที่มีอุปนิสัยดุร้าวก้าวร้าวมาก มักไล่กัดปลาอื่นหรือแม้แต่พวกเดียวกันเองที่รุกล้ำเข้ามาในถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นปลาที่จะหากินและอาศัยอยู่ในแนวปะการัง มีพฤติกรรมหากินโดยซอกซอนหากินเอาในแนวปะการังในเวลากลางวัน และนอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วมากโดยใช้ครีบหลัก ๆ ทั้ง 2 ครีบในด้านบนและด้านล่างของลำตัว ขณะที่ครีบหางใช้เป็นตัวควบคุมทิศทาง เป็นปลาที่มีพฤติกรรมผสมพันธุ์วางไข่ โดยวางไข่ตามพื้นในรังซึ่งตัวผู้จะทำหน้าที่เฝ้าระวัง ซึ่งบางชนิดจะมีนิสัยดุร้ายมากในช่วงนี้ โดยมากแล้วเป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงามสดใสมาก จึงเป็นที่นิยมมากของนักดำน้ำและนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย แต่ว่าเป็นปลาที่ดุร้ายมาก สามารถพุ่งเข้ากัดจนเป็นแผลเหวอะหรือไล่มนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ที่ใหญ่กว่ามากได้อย่างไม่เกรงกลัว มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 25-50 เซนติเมตร โดยมีชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาวัวไททัน (Balistoides viridescens) ที่ใหญ่ได้ถึง 75 เซนติเมตร หรือราว 1 เมตร และนับเป็นชนิดที่อันตรายมาก เพราะมีรายงานการกัดและไล่นักดำน้ำมาแล้วในหลายที.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลาวัว
วงศ์ปลาสลิดทะเล
ระวังสับสนกับ ปลาสลิดหิน ปลาวงศ์อื่น ดูที่ วงศ์ปลากะพงสลิด วงศ์ปลาสลิดทะเล หรือ วงศ์ปลาสลิดหิน (Rabbitfish, Spinefish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siganidae (/ซิ-กะ-นิ-ดี้/) มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวแบบรูปไข่และแบนด้านข้าง หัวมีขนาดเล็ก เกล็ดมีขนาดเล็ก ครีบหางมีทั้งแบบตัดตรงและเว้าลึก ครีบหลังมีหนามแหลมคมและจะกางออก ซึ่งจะมีต่อมพิษที่เงี่ยงของครีบหลัง ครีบก้น และครีบท้อง เพื่อใช้ในการป้องกันตัว เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหารหลัก โดยมีพฤติกรรมการกินแบบแทะเล็มคล้ายกระต่าย อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ มักพบในเขตชายฝั่งตามพื้นท้องทะเล, กองหินหรือแนวปะการัง และในดงหญ้าทะเล เป็นปลาที่สามารถรับประทานได้ แต่จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์เมื่อมือเปล่าจับ หนามเหล่านี้จะทิ่มตำ.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลาสลิดทะเล
วงศ์ปลาสวาย
วงศ์ปลาสวาย (Shark catfish) เป็นปลาหนัง มีรูปร่างเพรียว ส่วนท้องใหญ่ ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวโต ตาโต มีหนวด 2 คู่ รูจมูกช่องหน้าและหลังมีขนาดเท่ากัน ครีบไขมันและครีบท้องเล็ก ฐานครีบก้นยาว กระเพาะขนาดใหญ่รียาว มี 1-4 ตอน ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pangasiidae (/แพน-กา-ซิ-อาย-ดี้/) พบขนาดตั้งแต่ไม่เกิน 40 เซนติเมตร เช่น ปลาสังกะวาดท้องคม หรือ ปลายอนปีก (Pangasius pleurotaenia) จนถึง 3 เมตรใน ปลาบึก (Pangasianodon gigas) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดที่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก การกระจายพันธุ์จากอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาะบอร์เนียวในอินโดนีเชีย เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น กุ้ง หรือ หอยฝาเดียว นอกจากนี้ยังเป็นปลาที่มีพฤติกรรมกินซากอีกด้วย ทั้งซากพืชและซากสัตว์ เช่น ปลาเทพา (Pangasius sanitwongsei) มีทั้งหมด 30 ชนิด และพบในประเทศไทยประมาณ 12 ชนิด ซึ่งปลาที่มีขนาดเล็กจะเรียกชื่อซ้ำซ้อนในแต่ละชนิดว่า "สังกะวาด" หรือ "สังกะวัง" จัดเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภคและรู้จักกันดี และจากการศึกษาล่าสุด พบว่าเนื้อปลาในวงศ์ปลาสวายนี้มีโอเมกา 3 มากกว่าปลาทะเลเสียอีก โดยเฉพาะอย่าง ปลาสวาย (P.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลาสวาย
วงศ์ปลาหมอช้างเหยียบ
วงศ์ปลาหมอช้างเหยียบ (Asian leaffish, Banded leaffish) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pristolepididae มีลักษณะสำคัญ คือ มีรูปร่างแบนข้างมากเป็นรูปไข่หรือวงรี เกล็ดสาก เส้นข้างลำตัวขาดตอนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน มีปากเล็ก มุมปากยาวถึงนัยน์ตา ดวงตากลมโต หนังขอบกระดูกแก้มติดต่อกันถึงส่วนใต้ปาก ริมกระดูกแก้มชิ้นกลางเป็นหนามแหลม 2 ชิ้น มีเพียงสกุลเดียว คือ Pristolepis จำแนกออกได้ทั้งหมด 6 ชน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลาหมอช้างเหยียบ
วงศ์ปลาหัวตะกั่ว
วงศ์ปลาหัวตะกั่ว (Killifish, Rivuline, Egg-laying toothcarp) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยขนาดเล็ก อยู่ในอันดับ Cyprinodontiformes อันเป็นอันดับเดียวกับวงศ์ปลาสอดหรือปลาหางนกยูง (Poeciliidae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Aplocheilidae (/แอ็พ-โล-ไคล-อิ-ดี้/) มีรูปร่างโดยรวมป้อมสั้น ปากแหลม ปากบนยืดหดได้ดี นัยน์ตาโตและอยู่ส่วนบนของหัว ครีบท้องอยู่ใกล้กับครีบก้น เส้นข้างลำตัวไม่สมบูรณ์และปรากฏให้เห็นเฉพาะบริเวณเหนือครีบอก ครีบหลังอยู่ใกล้กับครีบหาง ครีบก้นใหญ่ ครีบหางปลายกลมมน เป็นปลาขนาดเล็ก มีขนาดความยาวเต็มที่ไม่เกิน 10 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ โดยหากินแมลงน้ำ เช่น ลูกน้ำ, ไรแดง เป็นอาหาร มีพฤติกรรมการวางไข่ โดยวางไข่ติดกับไม้น้ำ และไข่ผูกติดกันเป็นแพ บางชนิดอมไข่ไว้ในปาก เป็นปลาที่มีสมาชิกในวงศ์มากมาย หลายสกุล หลายร้อยชนิด จึงแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง โดยพบตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือจนถึงอเมริกาใต้, แอฟริกา, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilus panchax) พบได้ในทุกแหล่งน้ำทั่วประเทศ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมีชื่อเฉพาะในวงการปลาสวยงามว่า "คิลลี่ฟิช".
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลาหัวตะกั่ว
วงศ์ปลาจาน
วงศ์ปลาจาน หรือ วงศ์ปลาอีคุด (Sea bream, Porgie) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Sparidae มีลักษณะโดยทั่วไป คือ ลำตัวค่อนข้างยาวแบนข้าง มีเกล็ดซิเลียเตดขนาดปานกลาง เกล็ดบนหัวเริ่มมีตั้งแต่บริเวณระหว่างตาหรือบริเวณหลังตา ส่วนหน้าของขากรรไกรมีฟันเขี้ยวหรือฟันตัด บริเวณของมุมปากมีฟันรูปกรวยหรือแบบฟันกราม ซึ่งจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ไปทางส่วนท้าย ไม่มีฟันบนกระดูกพาลาทีน ครีบหลังมีตอนเดียวมีก้านครีบแข็ง 11-12 ก้าน ก้านครีบอ่อนที่แตกปลาย 10-15 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแข็งที่ใหญ่และแข็งแรง ก้านครีบแข็งก้านที่สองยาวที่สุด เป็นปลาทะเล พบกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาเศรษฐกิจ ใช้เนื้อในการบริโภค และตกเป็นเกมกีฬา บางชนิดอาจพบได้ในเขตน้ำกร่อยหรือน้ำจืด ในประเทศไทย ปลาที่อยู่ในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันดี เช่น ปลาอีคุด (Acanthopagrus berda) และปลาจานแดง หรือปลาอีคุดครีบยาว (Argyrops spiniferหน้า 110-129, Amphidromous Story สุดยอดนักล่า ปลาสองน้ำ, "Wild Ambition" โดย ชวิน ตันพิทยคุปต์, กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลาจาน
วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ
วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ หรือ วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปลอม (False pipefish, Ghost pipefish, Tubemouth fish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ (Syngnathiformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Solenostomidae (มาจากภาษากรีกคำว่า solen หมายถึง ท่อ, หลอด หรือช่องทาง กับ στομα (stoma) หมายถึง ปาก) มีรูปร่างโดยรวม คือ เหมือนกับปลาจิ้มฟันจระเข้ขนาดเล็ก คือมีลำตัวยาวเหมือนกิ่งไม้ ปากยาวเป็นท่อ แต่มีความแตกต่างกัน คือ มีครีบที่พัฒนาให้มีขนาดกว้างใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว เป็นครีบที่โดดเด่นทั้งครีบข้างลำตัว, ครีบหลัง, ครีบหาง และยังมีครีบพิเศษ คือ ครีบใต้ท้องที่ม้าน้ำและปลาจิ้มฟันจระเข้ทั่วไปไม่มี ซึ่งครีบขนาดใหญ่นี้สามารถจะหุบเก็บแนบกับลำตัว หรือคลี่กางให้กว้างใหญ่ได้คล้ายกับพัด ที่เมื่อคลี่กางครีบสุดตัวแล้วจะแลดูสวยงาม นอกจากนี้แล้วยังมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น คือ ตลอดทั่วทั้งตัวมีติ่งเนื้อหรือสีสันที่กลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม สำหรับการพรางตัวได้เป็นอย่างดี Orr, J.W.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ
วงศ์ปลาดอกหมาก
ระวังสับสนกับปลาวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาแป้น วงศ์ปลาดอกหมาก (Mojarra, Silver biddy) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gerreidae เป็นปลาที่มีลำตัวแบนข้าง ดูผิวเผินคล้ายปลาในวงศ์ปลาแป้น (Leiognathidae) มีขนาดปานกลาง เกล็ดบนหัวเป็นแบบบางขอบเรียบ หรือเกล็ดสาก มีเหงือกเทียม ขอบของกระดูกพรีโอเพอร์เคิลเป็นหยักเล็กน้อย มีฟันบนขากรรไกร และเพดานปาก ไม่มีฟันเขี้ยว ปากยืดหดได้ มีสเกรีชีทที่ฐานครีบหลังและครีบก้น ครีบหลังมีตอนเดียว ครีบหางเว้าแบบส้อม ปกติอยู่เป็นฝูงในทะเลเขตร้อน ตั้งแต่ทะเลแคริเบียน, อเมริกาใต้ จนถึงเอเชีย แต่ก็อาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืด แบ่งออกได้ทั้งหมด 6 สกุล.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลาดอกหมาก
วงศ์ปลาดุกทะเล
วงศ์ปลาดุกทะเล (Eeltail catfishes, Coral catfishes, Eel catfishes, Stinging catfishes) เป็นวงศ์ปลากระดูกแข็ง ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Plotosidae (/โพล-โต-ซิ-ดี/) มีลักษณะสำคัญคือ มีหนวด 4 คู่ คือ หนวดที่บริเวณมุมปากทั้งปากบนและปากล่าง และที่คาง ครีบหลังมีเงี่ยงเป็นฟันเลื่อย ไม่มีครีบไขมัน ครีบหลัง ครีบหางและครีบก้นยาวติดต่อกัน โดยที่ส่วนคอดหางเป็นต้นไปเรียวเล็กลงทำให้แลดูคล้ายปลาไหล อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ เป็นปลาทะเล ที่มักอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่ง ตามแนวปะการังหรือกอสาหร่าย โดยมีพบเข้าไปอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืดด้วย เช่น ปากแม่น้ำ หรือป่าชายเลน ในวัยเล็กมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินในเวลากลางคืน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทะเลแถบมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดีย ตั้งแต่ทะเลญี่ปุ่น จนถึงฟิจิ, ปาปัวนิวกินีและโอเชียเนีย มีทั้งหมด 35 ชนิด ใน 10 สกุล (ดูในตาราง) สำหรับในประเทศไทยพบเป็นชนิดที่สำคัญ 2 ชนิด คือ ปลาดุกทะเลลาย (Plotosus lineatus) และปลาดุกทะเลยักษ์ (P.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลาดุกทะเล
วงศ์ปลาดุกไฟฟ้า
วงศ์ปลาดุกไฟฟ้า (Electric catfish) วงศ์ปลาหนังน้ำจืดจำพวกหนึ่ง พบเฉพาะในทวีปแอฟริกาตอนเหนือและตะวันออกบริเวณแม่น้ำไนล์ มีทั้งหมด 2 สกุล พบทั้งหมด 25 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Malapteruridae ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า "Mala" หมายถึง "นุ่มนิ่ม", "pteron" หมายถึง "ครีบ" และ "oura" หมายถึง "หาง" มีลำตัวมีรูปร่างกลมป้อม หัวหนา ตามีขนาดเล็ก มีครีบ 7 ครีบ แต่ไม่มีครีบหลัง มีเพียงครีบไขมัน ขนาดใหญ่ อยู่ด้านหลังใกล้โคนหาง ครีบอก 1 คู่ ไม่มีเงี่ยง ครีบท้อง 1 คู่มีขนาดเล็ก ครีบก้นอยู่ตรงข้ามกับครีบไขมัน หางมีขนาดใหญ่เป็นรูปพัด มีหนวด 3 คู่ รอบริมฝีปากมีหนังหนา มีอวัยวะสร้างไฟฟ้า 1 คู่โดยฝังอยู่ใต้ ผิวหนังที่หนาบริเวณลำตัวข้างละอันการปล่อยกระแสไฟฟ้าอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาท โดยปกติจะปล่อยกระแสไฟฟ้าเวลาหาอาหารหรือป้องกันตัวเท่านั้น ปลาที่มีขนาดใหญ่สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าขนาด 1 แอมแปร์ และแรงคลื่นกว่า 100 โวลท์ได้ ซึ่งกระแสไฟฟ้าขนาดนี้ในน้ำสามารถ ทำอันตรายต่อศัตรู หรือแม้กระทั่งมนุษย์ได้ แต่แม้กระนั้นกระแสไฟฟ้าของปลาดุกไฟฟ้าเมื่อเทียบกับ ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) ก็ยังจัดว่ามีกำลังอ่อนกว่ามาก เพราะปลาไหลไฟฟ้าขนาดใหญ่บางตัวสามารถสร้างไฟฟ้าที่มีแรงคลื่นสูงถึง 600 โวลท์ ซึ่ง เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสัตว์ทุกชนิด สีตัวของปลาดุกไฟฟฟ้า ด้านหลังเป็นสีน้ำตาลลอมเทา ส่วนด้านท้องมีสีจางกว่า ตามตัว มีปละสีดำกระจายทั่วตัวจะมากหรือน้อยไม่แน่นอน ตามครีบมีสีอ่อน โคนครีบหางมีสีดำจางพาดลงมา โดยเฉพาะในตัวที่มีขนาดเล็ก ปลาดุกไฟฟ้าเป็นปลาที่รู้จักของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณไม่ต่ำกว่า 6,000 ปี ทั้งนี้โดยมีหลักฐานจากภาพแกะสลักบนแผ่นดินที่พบในปิรามิดของอียิปต์ นิยมใช้เนื้อบริโภคในท้องถิ่น เป็นปลากินเนื้อ มักซุกซ่อนตัวอยู่นิ่ง ๆ ตามวัสดุใต้น้ำ เช่น โพรงไม้, สาหร่าย หาเหยื่อในเวลากลางคืนด้วยการสร้างกระแสไฟฟ้าเพื่อสลบเหยื่อ การขยายพันธุ์เชื่อกันว่าเป็นปลาที่ฟักไข่ในปาก ปลาดุกไฟฟ้า ชนิดที่ใหญ่ที่สุดโตเต็มได้ราว 1.22 เมตร คือ ชนิด ''Malapterurus microstoma'' ปัจจุบันนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งต้องเลี้ยงเดี่ยว ๆ เพียงตัวเดียวเนื่องจากเป็นปลาที่ก้าวร้าว ซ้ำยังสามารถปล่อยไฟฟ้าใส่ปลาชนิดอื่นได้อีก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า
วงศ์ปลาฉลามกบ
วงศ์ปลาฉลามกบ หรือ วงศ์ปลาฉลามหิน (Bamboo sharks, Cat sharks, Longtail carpet sharks, Epaulette sharks, Speckled cat sharks) เป็นวงศ์ของปลากระดูกอ่อนในชั้นปลาฉลามวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Hemiscylliidae ในอันดับปลาฉลามกบ (Orectolobiformes).
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลาฉลามกบ
วงศ์ปลาปิรันยา
วงศ์ปลาปิรันยา เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งน้ำจืดวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Serrasalmidae (มีความหมายว่า "วงศ์ปลาแซลมอนที่มีฟันเลื่อย") ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) พบทั้งหมดในปัจจุบัน 16 สกุล (ดูในตาราง) 92 ชนิด ปลาในวงศ์นี้มีชื่อเรียกโดยรวม ๆ กัน เช่น ปลาปิรันยา, ปลาเปคู หรือปลาคู้ และปลาซิลเวอร์ดอลลาร์ เดิมทีเคยเป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) ใช้ชื่อว่า Serrasalminae (ในปัจจุบันบางข้อมูลหรือข้อมูลเก่ายังใช้ชื่อเดิมอยู่).
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลาปิรันยา
วงศ์ปลาแค้
วงศ์ปลาแค้ (Goonch.) เป็นปลาหนังหรือปลาไม่มีเกล็ดวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลาหนัง ที่แตกต่างจากวงศ์อื่นคือ ส่วนหัวโต ปากกว้างมากและอยู่ด้านล่าง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Sisoridae (/ไซ-ซอ-ริ-ดี/).
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลาแค้
วงศ์ปลาแซลมอน
วงศ์ปลาแซลมอน (Salmonidae) เป็นวงศ์ของปลาที่มีก้านครีบ ในปัจจุบัน สายพันธุ์ปลาที่อยู่ในวงศ์นี้มีเพียงแค่ ปลาแซลมอน, ปลาเทราต์, ปลาชาร์, ปลาขาวน้ำจืด และ ปลาเกรย์ลิง โดยปกติปลาในวงศ์นี้จะวางไข่ในน้ำจืด แต่ก็มีหลายกรณี ที่พวกมันใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในทะเลและหวนกลับมาวางไข่ในน้ำจืด ซึ่งทำให้ปลาในวงศ์นี้ถูกจัดอยู่ในประเภทปลาน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้หาอาหารโดยการล่าสัตว์พวกกุ้งกั้งปู, แมลง และปลาขนาดเล็ก แม้ว่าสายพันธุ์ที่เล็กที่สุดของปลาในวงศ์นี้จะมีความยาวเพียง 13 เซนติเมตรเมื่อโตเต็มที่ก็ตามที แต่ก็มีสายพันธุ์ที่สามารถมีความยาวได้ถึง 2 เมตรเมื่อโตเต็มที.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลาแซลมอน
วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ
วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (Archer fishes) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ ในอันดับ Perciformes ใช้ชื่อวงศ์ว่า Toxotidae (/ท็อก-ออท-อิ-ดี้/; มาจากคำว่า "Toxots" เป็นภาษากรีกหมายถึง "นักยิงธนู").
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ
วงศ์ปลาเสือดำ
วงศ์ปลาเสือดำ (Asian leaffish, Nandis) วงศ์ปลาน้ำจืดขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Nandidae (/แนน-ดิ-ดี/) มีรูปร่างกลมเป็นรูปไข่หรือกลมรี แบนข้างมาก หัวค่อนข้างใหญ่ ปากกว้างและยืดหดได้ มุมปากยื่นถึงด้านหลังของนัย์ตา เกล็ดเป็นแบบสาก หนังริมกระดูกแก้มแยกกัน รูจมูกคู่หน้าอยู่ชิดกับจมูกคู่หลัง ขอบกระดูกแก้มอันกลาง มีซี่กระดูกปลายแหลมหนึ่งอัน มีฟันที่กระดูกขากรรไกร กระดูกเพดานปาก และบนลิ้น เส้นข้างลำตัวไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีในบางสกุล ครีบหางมีก้านครีบเดี่ยวที่เป็นซี่แข็งปลายแหลมจำนวน 13 ก้าน และครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยวที่เป็นซี่แข็งปลายแหลมจำนวน 3 ก้าน ครีบหางมนกลม จำแนกออกได้เป็น 3 สกุล พบกระจายพันธุ์ฺในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกและเอเชียใต้จนถึงอาเซียน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลาเสือดำ
วงศ์ปลาเสือตอ
วงศ์ปลาเสือตอ (Siamese tiger fishes) เป็นปลากระดูกแข็งจัดอยู่ในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Datnioididae (/แดท-นี-โอ-นอย-เด-อา/) และมีเพียงสกุลเดียว คือ Datnioides (/แดท-นี-โอ-นอย-เดส/).
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และวงศ์ปลาเสือตอ
สกุลบาร์โบดีส
กุลบาร์โบดีส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Barbodes (/บาร์-โบ-ดีส/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำว่า Barbodes มาจากภาษาละตินคำว่า barbus หมายถึง "หนวดปลา" และภาษากรีกคำว่า oides หมายถึง "เหมือนกับ" หรือ "คล้ายกับ" มีลักษณะสำคัญ คือ เมื่อยังเป็นลูกปลาวัยอ่อนจะมีแต้มกลมเรียงกันในแนวด้านข้างลำตัว 3-5 แต้ม ซึ่งรวมทั้งแต้มบริเวณคอดหาง และมีแต้มที่จุดเริ่มต้นของครีบหลัง ก้านครีบแข็งมีขอบเป็นซี่จักรแข็ง เกือบทุกชนิดมีหนวดบนขากรรไกรบนสองคู่ ยกเว้นในบางชนิด มีเกล็ดที่มีท่อในแนวเส้นข้างลำตัว 22-32 เกล็.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลบาร์โบดีส
สกุลบาร์โบนีมัส
กุลบาร์โบนีมัส (Tinfoil barb) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Barbonymus (/บาร์-โบ-นี-มัส/) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธานคือ มีครีบหลังที่มีก้านครีบเดี่ยวที่ขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ปากล่างมีร่องระหว่างริมปากกับกระดูกขากรรไกร ฐานครีบก้นยาวประมาณร้อยละ 90 ของหัว จะงอยปากไม่มีตุ่มเม็ดสิว มีหนวด 2 คู่ โดยแบ่งเป็นริมฝีปากบน 1 คู่ และมุมปาก 1 คู่ ปลาที่อยู่ในสกุลนี้มีทั้งหมด 10 ชนิด เป็นปลาที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด สกุลนี้ได้รับการตั้งชื่อในปี ค.ศ.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลบาร์โบนีมัส
สกุลพุนชัส
ปลาตะเพียนหน้าแดง (''Sahyadria denisonii'') ซึ่งเดิมเคยอยู่ในสกุลนี้ แต่ปัจจุบันแยกอยู่ในสกุล ''Sahyadria''Raghavan, R., Philip, S., Ali, A.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลพุนชัส
สกุลพุนทิกรุส
กุลพุนทิกรุส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดยใช้ชื่อสกุลว่า Puntigrus เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลพุนทิกรุส
สกุลมีสทัส
กุลมีสทัส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลากด (Bagridae) ในอันดับปลาหนัง (Siluformes) ใช้ชื่อสกุลว่า Mystus (/มีส-ทัส/) เดิมทีสกุลนี้มิได้มีการกำหนดชนิดต้นแบบไว้ ต่อมาภายหลัง ได้มีการการกำหนดให้ Bagrus halapenesis เป็นต้นแบบ แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีนักมีนวิทยาหลายท่านได้ให้การรับรองและนำมาตั้งเป็นชื่อปลาที่ตนเองค้นพบ เช่น เค.ซี.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลมีสทัส
สกุลยาสุฮิโกทาเกีย
กุลยาสุฮิโกทาเกีย เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมู (Botiidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Yasuhikotakia (/ยา-สุ-ฮิ-โก-ทา-เกีย/) มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวยาว แบนข้าง คอดหางใหญ่ มีหนังหนาคลุมเกล็ดมิด มีเขี้ยวพับเก็บได้ในร่องบริเวณด้านหน้าของตา ปากเล็กยื่นแหลมมีหนวด 3 คู่ รอบปาก ปลาในสกุลนี้ เดิมเคยจัดอยู่ในสกุล Botia แต่ในปี ค.ศ.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลยาสุฮิโกทาเกีย
สกุลรัสบอร่า
กุลรัสบอร่า เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งตั้งชื่อโดย ปีเตอร์ บลีกเกอร์ ในปี ค.ศ. 1859 ใช้ชื่อสกุลว่า Rasbora (/รัส-บอ-รา/) มีลักษณะโดยรวม คือ ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน ปากแคบ มีปุ่มในปากล่าง ไม่มีหนวด และจุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัว มีการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำของทวีปแอฟริกา, ทวีปเอเชีย พบตั้งแต่เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก มีสมาชิกในสกุลนี้จำนวนมาก โดยในประเทศไทยจะเรียกปลาในสกุลนี้รวม ๆ กันว่า "ปลาซิว" มีอยู่หลายชนิด สำหรับในประเทศไทย ปลาที่ได้ชื่อว่าปลาซิว คือ ปลาที่อยู่ในสกุลนี้มากที่สุด มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการใช้บริโภคกันในท้องถิ่นและการเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม โดยอาจเรียกทับศัพท์ตามชื่อวิทยาศาสตร์ไปว่า รัสบอร่า โดยรวบรวมปลาได้จากการจับทีละมาก ๆ จากธรรมชาติและเพาะขยายพันธุ์ได้เองในที่เลี้ยง อีกทั้งยังถือเป็นห่วงโซ่อาหารเบื้องต้นตามธรรมชาติอีกด้วย เนื่องจากปลาในสกุลนี้มีขนาดเล็กและกินพืชเป็นอาหาร จึงมักตกเป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำขนาดใหญ่กว่าเสมอ แต่ในปัจจุบัน ได้มีการแบ่งแยกเป็นสกุลใหม่ ได้แก่ Kottelatia 1 ชนิด, Boraras 5 ชนิด, Breviora 2 ชนิด, Microrasbora 7 ชนิด และ Trigonostigma 4 ชน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลรัสบอร่า
สกุลลาบิโอบาร์บุส
ลาบิโอบาร์บุส เป็นสกุลของปลาสร้อยจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โยฮัน กุนราด ฟัน ฮัสเซิลต์ ได้ตั้งสกุลนี้ขึ้นเมื่อปี..
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลลาบิโอบาร์บุส
สกุลออรีเซียส
กุลออรีเซียส เป็นสกุลของปลาในวงศ์ปลาซิวข้าวสาร (Adrianichthyidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Oryzias (/ออ-รี-เซียส/) โดยมาจากภาษากรีกคำว่า ὄρυζα ซึ่งแปลว่า "ข้าว" อ้างอิงมาจากสถานที่ค้นพบครั้งแรก คือ นาข้าว มีลักษณะสำคัญ คือ ขากรรไกรไม่ยืดหด ฐานด้านบนของครีบอกอยู่ใกล้แนวสันหลังของลำตัว ครีบหลังอยู่ใกล้ครีบหาง ครีบก้นมีฐานยาว ครีบหางมีปลายกลมมน เป็นปลาที่เก็บไข่ไว้ใต้ครีบอก มีความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร ขนาดเต็มที่ไม่เกิน 9 เซนติเมตร โดยพบในแหล่งน้ำที่มีพรรณไม้น้ำมากมาย โดยมากพบในอุณหภูมิประมาณ 28 เซนติเมตร บ่อยครั้งที่พบในแหล่งน้ำที่มีค่าแร่ธาตุคาร์บอเนต และมีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ประมาณ 7.5 และอาจพบได้ในน้ำกร่อยได้ด้วย มีการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงญี่ปุ่น, เกาะสุลาเวสี, คาบสมุทรอินโดจีนจนถึงออสเตรเลีย ปัจจุบันพบแล้วประมาณ 32 ชนิด เป็นการพบได้ในประเทศไทย 6 ชนิด หน้า 26-27, สกุล Oryzias ปลาข้าวสาร โดย สุริศา ซอมาดี.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลออรีเซียส
สกุลซีสโทมัส
กุลซีสโทมัส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Systomus (/ซีส-โท-มัส/) เป็นปลาพื้นเมืองที่พบได้ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย เป็นปลาที่มีขอบท้ายก้านครีบแข็งของครีบหลังมีซี่จักรแข็งแรง ริมฝีปากเรียบบาง มีหนวดที่ริมฝีปากบนสองคู่ เกล็ดในแนวเส้นข้างลำตัวพัฒนาเป็นท่อสมบูรณ์จำนวนระหว่าง 27-34 เกล็ด เกล็ดบนลำตัวแต่ละเกล็ดมีฐานเกล็ดสีดำ แลดูเหมือนลายตามยาวจาง ๆ มีแต้มกลมรี ตามแนวยาวที่ฐานครีบหาง หลายชนิดมีจุดกลมสีดำบริเวณจุดเริ่มต้นของครีบหลัง มักพบแถบสีดำบริเวณขอบบนและล่างของครีบหาง หน้า 68, ตะเพียน Update, "คุยเฟื่องเรื่องปลาไทย" โดย อ.ชัยวุฒิ กรุดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลซีสโทมัส
สกุลปลาหัวโต
กุลปลาหัวโต (Silver carp, Bighead carp) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืด 3 ชนิด ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาที่ต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำฮวงโหและแม่น้ำสาขา ได้แก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลปลาหัวโต
สกุลปลาทองทะเล
ปลาทองทะเล เป็นสกุลของปลาทะเลขนาดเล็กที่อยู่ในสกุล Pseudanthias ในวงศ์ย่อย Anthiinae ของวงศ์ปลากะรัง หรือปลาเก๋า (Serranidae) เป็นปลาขนาดเล็กมีสีสันและลวดลายสดใส พบได้ในแนวปะการังของมหาสมุทรอินเดีย และแถบอินโด-แปซิฟิก จึงเป็นที่นิยมของนักประดาน้ำและการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม หลายชนิดจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลปลาทองทะเล
สกุลแบร็คอิรัส
กุลแบร็คอิรัส (Zebra fishes) เป็นสกุลของปลากระดูกแข็ง ในวงศ์ปลาลิ้นหมา (Soleidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Brachirus (/แบร็ค-อิ-รัส/) มีลักษณะสำคัญ คือ ครีบหลัง, ครีบหาง และครีบท้องเชื่อมติดกัน ครีบอกมีขนาดเล็กมาก หรือบางชนิดไม่มีครีบอกเลย หนังขอบกระดูกแก้มแยกออกมาจากครีบอก ไม่มีติ่งกระดูกที่ปลายจะงอยปาก ที่มาของสกุลนี้มีความสับสนมาก เนื่องจาก ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ ใช้ชื่อสกุลว่า Synaptura แต่ต่อมา วอลเตอร์ เรนโบธ ใช้ Euryglossa แต่เมื่อตรวจสอบจากสถาบันวิทยาศาสตร์แคลิฟอร์เนีย พบว่าทั้ง 2 สกุลนั้น มาร์คุส อลิเซอร์ บลอช และโยฮานน์ ก็อทลอบ เทเลนุส ชไนเดอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้กำหนดให้ Pleuronectes orientalis เป็นตัวแทนของสกุลทั้งสิ้น จึงสรุปได้ว่าชื่อที่ถูกต้องตามกฎการตั้งชื่อสัตว์ คือ Brachirus ที่ตั้งชื่อก่อนสกุลอื่น.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลแบร็คอิรัส
สกุลโลโบคีลอส
กุลโลโบคีลอส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในสกุล Lobocheilos ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในวงศ์ย่อยปลาเลียหิน (Labeoninae) เผ่า Banganini มีลักษณะสำคัญ คือ ลำตัวค่อนข้างยาว ปากอยู่ด้านล่าง ริมปากทั้งบนและล่างเรียบ ปากล่างขยายเป็นแผ่นเนื้อหนาแผ่คลุมกระดูกขากรรไกร บนจะงอยปากมีรูเล็ก ๆ และมีตุ่มสิวเป็นกระจุกหรือเรียงกันเป็นแถว ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 8–10 ก้าน ก้านครีบเดี่ยวไม่เป็นหนามแข็ง มีหนวดที่มุมปาก 1 คู่ เป็นสกุลที่มีสมาชิกมาก ในประเทศไทยพบได้ถึง 12 ชน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลโลโบคีลอส
สกุลโดรีอิคธีส
กุลโดรีอิคธีส (Freshwater pipefish) เป็นสกุลของปลาจิ้มฟันจระเข้สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Doryichthys (/โด-รี-อิค-ธีส/; มาจากภาษากรีกคำว่า Dory (δόρυ) หมายถึง "หอก" และ ichthys (Ιχθύς) หมายถึง "ปลา") ในวงศ์ Syngnathidae มีลักษณะโดยรวมของสกุลนี้คือ ขอบเกล็ดด้านนอกแยกออกจากกัน ส่วนเกล็ดด้านในติดกัน ครีบหางเล็กมาก ส่วนใหญ่จะมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน พบทั้งหมด 5 ชนิด พบในประเทศไทยอย่างน้อย 2 ชนิด ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลโดรีอิคธีส
สกุลไมโครนีมา
กุลไมโครนีมา (Sheatfish) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Micronema (/ไม-โคร-นี-มา/) นักมีนวิทยาบางท่าน เช่น ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ ได้จัดให้สกุลนี้เป็นสกุลเดียวกับสกุล Kryptopterus แต่บางท่านได้แยกออกมา เนื่องจากเล็งเห็นว่ามีความแตกต่างกันอยู่ ลักษณะสำคัญของปลาในสกุลนี้คือ มีหนวดที่สั้นมาก 2 คู่ หนวดที่ริมฝีปากบนยาวไม่ถึงช่องเปิดเหงือก หนวดที่คางสั้นและเล็กมาก ไม่มีครีบหลัง ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 9-10 ก้าน และครีบก้นมีก้านครีบแขนง 75-95 ก้าน เป็นปลาที่กระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เป็นปลาที่ใช้ในการบริโภคกัน รู้จักกันดีในชื่อ "ปลาเนื้ออ่อน" แต่ปัจจุบันได้มีสมาชิกบางส่วนแยกออกไปเป็นสกุลต่างหาก คือ Phalacronotus.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลไมโครนีมา
สกุลไซโนกลอสซัส
กุลไซโนกลอสซัส (Tonguefishes) เป็นสกุลของปลากระดูกแข็ง ในวงศ์ปลายอดม่วง (Cynoglossidae) ใช้ชื่อสกุล Cynoglossus (/ไซ-โน-กลอส-ซัส/) เป็นปลาที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในวงศ์นี้ มีลักษณะคือ มีครีบท้องมีเฉพาะด้านซ้าย ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นติดต่อรวมกัน มีเส้นข้างลำตัว 2 หรือ 3 เส้น อยู่ด้านเดียวกับนัยน์ตา ริมฝีปากทั้งสองข้างราบเรียบ ปากงุ้มเป็นตะขอ ช่องเปิดเหงือกอยู่ทางด้านซ้ายของลำตัว เป็นปลาที่พบได้ในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ปกติจะฝังตัวอยู่ใต้พื้นทรายหรือโคลน พบกระจายพันธุ์ในเขตอินโด-แปซิฟิกตั้งแต่ ฟิลิปปิน, ทะเลแดง, อ่าวไทย, ทะเลอันดามัน, ทะเลจีนใต้, คาบสมุทรมลายู, อ่าวเบงกอล และพบได้จรดถึงชายฝั่งแอฟริกา ในประเทศไทยพบได้หลายชนิด อาทิ ปลายอดม่วงเกล็ดใหญ่ (C.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลไซโนกลอสซัส
สกุลเฮมอิบากรัส
กุลเฮมอิบากรัส เป็นสกุลของปลาหนังในวงศ์ปลากด (Bagridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Hemibagrus (/เฮม-อิ-บา-กรัส/) นับว่าเป็นปลากดสกุลหนึ่งที่มีขนาดใหญ่พอสมควร เดิมทีสกุลนี้ผู้ตั้งชื่อ ปีเตอร์ บลีกเกอร์ ชาวดัตช์ ได้ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลเฮมอิบากรัส
สกุลเตตราโอดอน
กุลเตตราโอดอน เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาปักเป้า จัดอยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Tetraodon (/เต-ตรา-โอ-ดอน/) มีรูปร่างโดยรวม ป้อมสั้น อ้วนกลม ครีบทั้งหมดสั้น ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 12-14 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 10-12 ก้าน เยื่อจมูกยื่นออกมาเป็นหลอด ปลายแยกเป็นสองแฉก ใต้ผิวหนังมีเกล็ดที่พัฒนาเป็นหนามเล็ก ๆ ซ่อนอยู่ ผิวหนังมักมีจุดสีดำแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด เมื่อตกใจหรือต้องการป้องกันตัว สามารถพองลมให้ใหญ่ขึ้นมาได้ ในปากมีฟันที่แหลมคมใช้สำหรับขบกัดเปลือกของสัตว์น้ำมีกระดอง ต่าง ๆ ได้ รวมถึงหอย ซึ่งเป็นอาหารหลัก มีอุปนิสัยดุร้าย มักจะชอบกัดกินเกล็ดหรือครีบหางของปลาชนิดต่าง ๆ ที่ติดอวนของชาวประมงอยู่เสมอ ๆ นอกจากนี้แล้วยังสามารถซ่อนตัวใต้พื้นทรายเพื่ออำพรางตัวหาอาหารได้ในบางชนิด ในบางชนิดก็สามารถเปลี่ยนสีลำตัวได้ และยังสามารถเป่าน้ำจากปากเพื่อคุ้ยหาอาหารในพื้นทรายได้ด้วย ภายในตัวและอวัยวะภายในมีสารพิษที่เรียกว่า เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) อยู่ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยรวมแล้ว ปลาในสกุลนี้จะว่ายน้ำได้ช้ากว่าปลาปักเป้าในสกุลอื่น เช่น Takifugu หรือ Auriglobus เนื่องจากมีครีบที่สั้นและรูปร่างที่อ้วนกลมกว่า พบได้ทั้งทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาจนถึงเอเชีย มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและใช้บริโภคในบางท้องถิ่น.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และสกุลเตตราโอดอน
อันดับปลาหลังเขียว
อันดับปลาหลังเขียว (อันดับ: Clupeiformes) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Clupeiformes เป็นปลาที่มีถุงลมมีท่อนิวเมติกเชื่อมต่อไปยังลำไส้ เส้นข้างลำตัวมักขาด แต่มีเกล็ดและครีบเช่นปลาในอันดับอื่น ๆ โดยมากแล้วมักจะมีลำตัวสีเงิน และมีส่วนหลังสีเขียว อันเป็นที่มาของชื่อ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยมากแล้วจะกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร โดยผ่านซี่กรองเหงือก และไม่มีฟัน แต่ก็มีบางชนิดหรือบางวงศ์ที่กินเนื้อเป็นอาหารและมีฟัน เช่นกัน พบทั้งหมด 6 วงศ์ ประมาณ 300 ชนิด ซึ่งปลาในอันดับนี้จะมีชื่อที่เป็นที่รู้จักกันในภาษาไทยเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาหลังเขียว", "ปลาตะลุมพุก", "ปลามงโกรย", "ปลากะตัก", "ปลาไส้ตัน", "ปลาทราย", "ปลากล้วย" เป็นต้น ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า "Herring", "Sardine", "Anchovy" หรือ " Shad" เป็นต้น พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากจะถูกจับนำมาบริโภคในฐานะปลาเศรษฐกิจและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ปลากระป๋องหรือน้ำปลา เป็นต้น โดยคำว่า Clupeiformes นั้นมาจากภาษาละติน "clupea" หมายถึง "ปลาซาร์ดีน" กับคำว่า "forma" หมายถึง "แหลมคม".
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และอันดับปลาหลังเขียว
อันดับปลาฉลามฟันเลื่อย
ปลาฉลามฟันเลื่อย (Sawsharks, Sawfishes) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนอันดับหนึ่ง ในชั้นย่อยปลาฉลาม ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pristiophoriformes มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาฉนาก (Pristiformes) ซึ่งเป็นปลากระดูกอ่อนเช่นเดียวกัน หากแต่ถูกจัดให้อยู่ในชั้นย่อยปลากระเบน (Batoidea) คือ มีจุดเด่น มีอวัยวะที่ยื่นออกมาเป็นกระดูกแข็งจากส่วนหน้าที่มีลักษณะแบนราบแต่มีหนามแหลมอยู่ข้าง ๆ เป็นซี่ ๆ คล้ายฟันเลื่อยหรือกระบองแข็ง แต่ต่างจากปลาฉนากตรงที่มีหนวดยาวอยู่ 2 เส้นอยู่ด้วย และมีซี่กรองเหงือกอยู่หลังตาเหมือนปลาในชั้นย่อยปลาฉลาม มีครีบหลัง 2 ครีบ และครีบก้น แบ่งออกได้เป็น 2 สกุล คือ Pliotrema ซึ่งมีซี่กรองเหงือก 6 ช่อง กับ Pristiophorus มีซี่กรองเหงือก 5 ช่อง เหมือนเช่นปลาฉลามทั่วไป มีความเต็มที่ประมาณ 170 เซนติเมตร ปลาฉลามฟันเลื่อย พบกระจายพันธุ์อยู่ตามพื้นทะเล ในเขตของทะเลญี่ปุ่น, แอฟริกาใต้ จนถึงแอฟริกาใต้ มีพฤติกรรมความเป็นอยู่ทั่วไปคล้ายกับปลาฉนาก โดยหากินสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ตามหน้าดินและปลาต่าง ๆ เป็นอาหาร ออกลูกเป็นตัว อยู่ในความลึกตั้งแต่ 40 เมตรจนถึงลึกกว่านั้น โดยคำว่า Pristis เป็นภาษากรีกแปลว่า "เลื่อย" รวมกับคำว่า pherein แปลว่า "เพื่อนำมา".
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และอันดับปลาฉลามฟันเลื่อย
อันดับปลาฉลามหลังหนาม
อันดับปลาฉลามหลังหนาม (Dogfish shark, วงศ์: Squaliformes) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนในชั้นปลาฉลามอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Squaliformes มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนหัวเป็นรูปกรวยไม่แผ่ออกทางด้านข้าง ช่องรับน้ำด้านหลังตามีขนาดเล็กจนถึงมีขนาดใหญ่ จมูกและปากไม่มีร่องเชื่อมติดต่อกัน ตาอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัว ปากค่อนข้างกว้างและโค้ง มีหนังที่บริเวณมุมปาก ฟันมีขนาดค่อนข้างใหญ่มีหลายขนาด มีครีบหลัง 2 ตอน ด้านหน้าครีบหลังอาจมีหรือไม่มีหนามแข็งหน้าครีบหลัง ไม่มีครีบก้น ส่วนใหญ่เป็นปลาฉลามที่มีขนาดเล็ก แบ่งออกได้เป็น 7 วงศ์ 97 ชน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และอันดับปลาฉลามหลังหนาม
ตุ๊ดตู่
ตุ๊ดตู่ (Dumeril's monitor) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายเหี้ย (V. salvator) ซึ่งเป็นสัตว์ในวงศ์เดียวกัน เมื่อเล็กตั้งแต่ปลายปากถึงคอจะมีสีส้มหรือสีแดงเข้ม เมื่อโตสีจะจางลง มีขีดสีดำตั้งแต่ขอบตาถึงคอ ลำตัวมีขวั้นสีเหลืองตั้งแต่คอถึงปลายหาง เป็นสัตว์ที่มีความเชื่องช้า ไม่ค่อยออกไปหากินไกลจากที่อาศัย เมื่อหิวจึงจะออกหากิน แล้วก็กลับเข้าหลับนอนตามเดิม การวางไข่ วางไข่ครั้งละ 23 ฟอง ระยะฟักไข่ 203–230 วัน ถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่เล็กที่สุดในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทย เป็นสัตว์ไม่มีพิษ โดยเต็มที่จะมีขนาด 50–125 เซนติเมตรเท่านั้น โดยชื่อสามัญในภาษาอังกฤษและชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งขึ้นเป็นเกียรติแก่ อองเดรย์ มารี คอนสแตนต์ ดูเมรีล นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวฝรั่งเศส เป็นสัตว์ขี้อาย มักอาศัยอยู่ในโพรงไม้ จนมีเอ่ยถึงในบทสร้อยสุภาษิตว่า ในประเทศไทยจะพบตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีไปจนถึงคอคอดกระในภาคใต้ และพบไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซียCota, M.; Chan-ard, T.; Mekchai, S.; Laoteaw, S.
ปลาชะโอน (สกุล)
ปลาชะโอน หรือ ปลาสยุมพร เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Ompok (/ออม-พ็อก/) มีลักษณะสำคัญคือ นัยน์ตามีเยื่อใส ๆ คลุม โดยที่เยื่อนี้ติดกับขอบตา ปากแคบและเฉียงขึ้นด้านบน มุมปากยื่นไม่ถึงนัยน์ตา ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 3-4 ก้าน มีหนวด 2 คู่ ที่ริมปากบน 1 คู่ และที่คาง 1 คู่ ฟันที่กระดูกเพดาปากชิ้นล่างมีสองกลุ่มแยกจากกันเห็นได้ชัด ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 7-8 ก้าน พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำของอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาชะโอน (สกุล)
ปลาชะโอนหิน
ปลาชะโอนหิน (Leaf catfish) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Silurichthys (/ไซ-เลอร์-อิค-ธีส/) มีลักษณะสำคัญ คือ นัยน์ตามีเยื่อเหมือนวุ้นคลุม ปลายของครีบหางแยกเป็นสองแฉกและยาวไม่เท่ากัน ครีบก้นยาวและติดต่อรวมกันกับครีบหาง ครีบหลังอยู่หน้าครีบท้อง ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 7 ก้าน ฟันที่เพดานปากชิ้นกลางมีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นกลุ่มกลม มีหนวดค่อนข้างยาว 2 คู่ ที่ริมฝีปากบน 1 คู่ และที่คาง 1 คู่ มีสีลำตัวคล้ำ มีขนาดยาวเต็มที่ประมาณ 14-15 เซนติเมตร พบในทวีปเอเชีย ในลำธารน้ำตกหรือพื้นที่ป่าพร.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาชะโอนหิน
ปลาบู่กล้วย (สกุล)
ปลาบู่กล้วย (Spotted goby, Knight goby) เป็นสกุลของปลาขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Stigmatogobius (/สติก-มา-โท-โก-เบียส/) เป็นปลาบู่ขนาดเล็ก มีขนาดความยาวเต็มที่ไม่เกิน 6 เซนติเมตร มีลำตัวทรงกระบอก หัวมีขนาดใหญ่ มีเกล็ดตามแนวลำตัว 24-36 แถว ครีบหางกลม เกล็ดที่แนวสันหลังยื่นเข้ามาอยู่ระหว่างนัยน์ตา บนกระดูกแก้มมีเกล็ดปกคลุม จัดเป็นปลาทะเลที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งที่ติดต่อกับน้ำจืด เช่น ป่าชายเลน, ชะวากทะเล หรือบางครั้งพบในแอ่งน้ำขังชั่วคราวในช่วงน้ำขึ้นน้ำลง สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้ เป็นปลาที่มีความสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่มีพฤติกรรมลอยตัวหากินอยู่บริเวณกลางน้ำถึงผิวน้ำ พบมากในถิ่นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม พบในประเทศไทย 2 ชน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาบู่กล้วย (สกุล)
ปลาบู่ยาม
ปลาบู่ยาม หรือ ปลาบู่กุ้ง (Watchman goby, Prawn-goby) เป็นปลาทะเลในสกุล Cryptocentrus (/คริป-โต-เซน-ตรัส/) ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) จัดเป็นปลาบู่ทะเลขนาดเล็ก เหตุที่ได้ชื่อว่า "ปลาบู่ยาม" หรือ "ปลาบู่กุ้ง" เนื่องจากปลาบู่ในสกุลนี้มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในโพรงที่พื้นทรายใต้ทะเลร่วมกับกุ้งดีดขัน (Alpheaus spp.) ซึ่งเป็นกุ้งขนาดเล็ก โดยเอื้อประโยชน์ต่อกันด้วยการระมัดระวังภัยให้แก่กันและขุดโพรงทำรัง.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาบู่ยาม
ปลาบู่หมาจู
ปลาบู่หมาจู หรือ ปลาหมาจู (Bumblebee goby) เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งในสกุล Brachygobius (/บรา-ชี่-โก-บิ-อัส/) ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) มีลักษณะโดยรวม เป็นปลาที่มีขนาดเล็กมาก กล่าวคือ มีขนาดโดยเฉลี่ยราว 4-5 เซนติเมตร มีลำตัวเป็นทรงกระบอกคล้ายไม้เบสบอล หัวโต ตาโต ปากกว้าง มีอวัยวะพิเศษคือ มีครีบหนามอยู่ด้านหน้าครีบหลัง และมีการพัฒนาครีบหน้าไปเป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายถ้วย ใช้สำหรับยึดเกาะกับวัตถุต่าง ๆ ใต้น้ำได้เป็นอย่างดี ไม่มีเส้นข้างลำตัว มีสีสันลำตัวเป็นสีเหลืองสลับดำหรือน้ำตาลเข้ม ครีบทุกครีบใสโปร่งแสง มีนิสัยชอบอยู่เป็นฝูง เป็นปลารักสงบ แต่ทว่ามีความก้าวร้าวกันในฝูงพอสมควร โดยจะหวงอาณาเขตตัวเองต่อเฉพาะปลาบู่ด้วยกัน กินอาหารจำพวก สัตว์น้ำขนาดเล็ก ปลาตัวผู้มีสีสันที่สดใสกว่า ส่วนตัวเมียจะมีขนาดลำตัวใหญ่กว่า วางไข่ประมาณ 150-200 ฟอง ภายในวัตถุต่าง ๆ ในน้ำ เช่น ขอนไม้, เปลือกหอย, หิน ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 4-5 วัน โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นผู้ดูแล พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย พบได้ในแม้กระทั่งร่องน้ำในสวนผลไม้ที่มีน้ำกร่อยไหลเข้ามาและแม่น้ำขนาดใหญ่ อย่าง แม่น้ำโขง มีทั้งหมด 9 ชนิด (บางข้อมูลแบ่งเป็น 8 ชนิด) พบในประเทศไทยราว 5 ชนิด เป็นปลาขนาดเล็กที่มีความสวยงามน่ารักจำพวกหนึ่ง จึงนิยมนำมาเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาบู่หมาจู
ปลาบู่จาก
ำหรับปลาบู่จากชนิดอื่น ดูที่ ปลาบู่จักรพรรดิ์ ปลาบู่จาก (Flathead gudgeon) เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Butis (/บู-ติส/) อยู่ในวงศ์ปลาบู่ทราย (Eleotridae) จัดเป็นปลาบู่ขนาดกลาง มีส่วนหัวและปลายปากที่แบนราบ พบอาศัยในแหล่งน้ำกร่อยถึงจืดสนิท เป็นปลาล่าเหยื่อแบบซุ่มโจมตี โดยใช้ลำตัวแปะแนบไปกับวัสดุใต้น้ำ มีพฤติกรรมชอบว่ายกลับหัวหรือใช้ท้องแปะซุ่มอยู่ใต้วัสดุใต้น้ำ พบมากในถิ่นอาศัยที่เหมาะสม พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ชายฝั่งทวีปแอฟริกา, เอเชีย จนถึงออสเตรเลียตอนเหนือ พบในประเทศไทยอย่างน้อย 3 ชน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาบู่จาก
ปลาบู่จุดคู่
ปลาบู่จุดคู่ (Dualspot gobies) เป็นปลาขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ในสกุล Redigobius (/เร-ดิ-โก-บิ-อัส/) ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคตะวันตกของอินโด-แปซิฟิก โดยพบได้ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกของแปซิฟิกจากออสเตรเลียจนถึงทวีปแอฟริกาแต่บางชนิด ก็เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นที่พบได้เฉพาะเกาะฟิจิเท่านั้นโดยพบในแหล่งน้ำจืดบริเวณปากแม่น้ำ, ชะวากทะเล ที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำขึ้นน้ำลง โดยมักหลบซ่อนตัวอยู่ตามพืชน้ำหรือเศษวัสดุต่าง ๆLarson, H.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาบู่จุดคู่
ปลาบู่ทราย
ปลาบู่ทราย หรือ ปลาบู่ทอง (Sleepy goby, Marbled sleeper) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oxyeleotris marmorata ในวงศ์ปลาบู่ทราย (Eleotridae) มีลักษณะลำตัวกลมยาว ความลึกลำตัวประมาณ 1 ใน 3.5 ของความยาวมาตรฐานลำตัว ส่วนหัวยาวเป็น 1 ใน 2.8 ของความยาวมาตรฐานของลำตัว หัวค่อนข้างโต และด้านบนของหัวแบนราบ หัวมีจุดสีดำประปราย ปากกว้างใหญ่เปิด ทางด้านบนตอนมุมปากเฉียงลงและยาวถึงระดับกึ่งกลางตา ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบน ทั้งขากรรไกรบนและล่างมีฟันแหลมซี่เล็ก ๆ ลักษณะฟันเป็นฟันแถวเดียว ลูกตาลักษณะโปนกลมอยู่บนหัวถัดจากริมฝีปากบนเล็กน้อย รูจมูกคู่หน้าเป็นหลอดยื่นขึ้นมาอยู่ติดกับร่องที่แบ่งจะงอยปากกับริมฝีปากบน ครีบหูและครีบหางมีลักษณะกลมมนใหญ่ มีลวดลายดำและสลับขาว มีก้านอ่อนอยู่ 15-16 ก้าน ครีบหลัง 2 ครีบ ครีบอันหน้าสั้นเป็นหนาม 6 ก้าน เป็นก้านครีบสั้นและเป็นหนาม ครีบอันหลังเป็นก้านครีบอ่อน 11 ก้าน ครีบท้องหรือครีบอกอยู่แนวเดียวกับครีบหูและมีก้านครีบอ่อน 5 ก้าน สีลำตัวสีน้ำตาลเหลืองมีรอยปื้นสีดำกระจายไปทั่วตัว ในบางตัวสีอาจกลายเป็นสีเหลืองทองได้ จึงทำให้ได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า "ปลาบู่ทอง" มีขนาดลำตัวประมาณ 30 เซนติเมตร ใหญ่ที่สุด 60 เซนติเมตร จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล Oxyeleotris พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดทุกประเภทของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยด้วย สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค มีพฤติกรรมชอบอยู่นิ่ง ๆ กับพื้นน้ำเพื่อล่าเหยื่อ อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า ปลาบู่ทราย จัดเป็นปลาที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมากชนิดหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากนิทานพื้นบ้านของภาคกลางเรื่อง ปลาบู่ทอง เป็นต้น จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง โดยนิยมใช้เนื้อบริโภคกันมาช้านาน มีราคาขายที่แพง ปัจจุบัน นิยมเพาะเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้แล้วในตัวที่มีสีกลายไปจากสีปกติ เช่น สีทองหรือสีเงิน พบมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วยเช่นในภาคใต้จะมีการเลี้ยงไว้เพราะเชื่อว่าจะนำโชคลาภมาให้ และเรียกปลาชนิดนี้ว่าปลาครีบทอง ตามสีที่ปรากฏนี้เอง.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาบู่ทราย
ปลาบู่ทราย (สกุล)
ปลาบู่ทราย (Sleepy Goby, Gudgeon) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อย ในวงศ์ปลาบู่ทราย (Eleotridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Oxyeleotris (/อ็อก-ซี-ลี-โอ-ทริส/) มีลักษณะสำคัญ คือ มีขอบกระดูกแก้มชิ้นหน้าเรียบ เกล็ดบนลำตัวด้านหน้าเป็นแบบบางเรียบ ส่วนเกล็ดด้านท้ายลำตัวเป็นแบบสาก กระดูกหัวระหว่างลูกนัยน์ตาเรียบ ลำตัวป้อมสั้น จำนวนแถวของเกล็ดบนเส้นข้างลำตัว 60 แถว หรือมากกว่า ฟันในปากแถวนอกมีขนาดใหญ่กว่าแถวใน พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำทั่วไปของทวีปเอเชียจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลี.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาบู่ทราย (สกุล)
ปลาช่อนข้าหลวง
ปลาช่อนข้าหลวง หรือ ปลาช่อนทอง (Emperor snakehead) เป็นปลาช่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa marulioides อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีลักษณะคล้ายปลาช่อนงูเห่า (C.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาช่อนข้าหลวง
ปลาช่อนดำ
ปลาช่อนดำ (Black snakehead, Manu) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa melasoma อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีรูปร่างเหมือนปลาช่อน (C.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาช่อนดำ
ปลาช่อนเอเชีย
ปลาช่อนเอเชีย (Asiatic snakehead) สกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) ปลาในสกุลนี้ มีรูปร่างโดยรวมคือ รูปร่างเรียวทรงกระบอก ส่วนหัวโตจะงอยปากยื่น ปากกว้าง ตาโต มีฟันเป็นเขี้ยวบนขากรรไกร หัวด้านบนราบ ถ้าดูจากตอนบนจะโค้งมนคล้ายงู ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางปลายมน ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเล็ก เกล็ดใหญ่มีขอบเรียบ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นหลืบเนื้อสีแดงอยู่ในคอหอย เรียกว่า "Suprabranchia" จึงสามารถอยู่ในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ ลำตัวมีลวดลายและสีสันแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Channa (/ชาน-นา/) ลักษณะสำคัญของสกุลนี้ คือ หัวและแก้มปกคลุมด้วยเกล็ด ฐานครีบหลังยาวกว่าฐานครีบก้น หัวกว้างและแบน ปากกว้าง มุมปากยาวเลยหลังตา นัยน์ตาอยู่ค่อยมาทางปลายจะงอยปาก แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย พบได้ในภูมิภาคเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก มีขนาดรูปร่างแตกต่างกันอย่างมากตามแต่ละชนิด โดยพบมีความยาวตั้งแต่ 1.5 เมตร เช่น C.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาช่อนเอเชีย
ปลาช่อนเข็ม (สกุล)
ปลาช่อนเข็ม (Pikehead fish) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Luciocephalinae ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae ใช้ชื่อสกุลว่า Luciocephalus (/ลิว-ซิ-โอ-เซฟ-อา-ลัส/) มีรูปร่างแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่นในวงศ์นี้อย่างเห็นได้ชัด โดยกลับมีรูปร่างคล้ายปลาช่อน แต่หัวและปากยื่นยาวแหลมเหมือนปลาเข็ม ลำตัวมีสีน้ำตาลไหม้หรือน้ำตาลเขียว ด้านหลังสีจางกว่า และมีแถบสีดำพาดยาวทางความยาวลำตัวอย่างเห็นได้ชัด ครีบทุกครีบบางใส และไม่มีถุงลม มีขนาดลำตัวตั้งแต่ 20 เซนติเมตร จนถึง 10 เซนติเมตร เป็นปลาที่หากินอยู่ตามผิวน้ำของพรุตั้งแต่ภาคใต้ตอนล่างของไทยไปจนถึงเกาะบอร์เนียว ในอินโดนีเซีย วางไข่โดยตัวผู้จะอมไว้ในปาก และเลี้ยงจนลูกปลาได้ขนาด 1 เซนติเมตร จึงปล่อยออกมา ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ มีอยู่ 2 ชนิดเท่านั้น คือ.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาช่อนเข็ม (สกุล)
ปลาบ้า (สกุล)
ปลาบ้า (Leptobarbus) เป็นสกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะที่สำคัญทางอนุกรมวิธาน คือ มีหัวกว้าง มีหนวดยาว 2 คู่ ปากค่อนข้างกว้าง มุมปากอยู่หน้านัยน์ตา เกล็ดมีขนาดปานกลาง เส้นข้างลำตัวอยู่ต่ำกว่าแนวกลางลำตัว ไปสิ้นสุดลงที่ส่วนล่างของโคนหาง ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 7 ก้าน และที่ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน เป็นปลาที่กินพืช โดยเฉพาะเมล็ดพืชเป็นอาหาร สกุลปลาบ้ามีทั้งหมด 4 ชนิด พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศไทย ไปจนถึงเกาะบอร์เนียว และเกาะสุมาตรา นับเป็นปลาจำพวกปลาซิวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ สำหรับในประเทศไทยพบเพียงแค่ชนิดเดียว.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาบ้า (สกุล)
ปลากระมัง
ปลากระมัง (Smith's barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาตะเพียนทั่วไป แต่ลำตัวแบนข้างกว่ามาก มีครีบหลังยกสูง ก้านครีบอันแรกและครีบก้นเป็นรอยหยัก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงิน ครีบท้องและครีบอกสีเหลืองอ่อน ครีบหางเว้าลึก ตาโต หัวมนกลม ไม่มีหนวด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30-45 เซนติเมตร พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย นิยมใช้เนื้อบริโภคเหมือนปลาตะเพียนทั่วไป และพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ปลากระมัง ยังมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ ด้วย เช่น "มัง" ที่บึงบอระเพ็ด "วี" ที่เชียงราย "เหลี่ยม" หรือ "เลียม" ที่ปากน้ำโพ ขณะที่ภาคใต้เรียก "แพะ" และภาคอีสานเรียก "สะกาง".
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากระมัง
ปลากระทิง (สกุล)
ปลากระทิง เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ในสกุล Mastacembelus (/มาส-ตา-เซม-เบล-อัส/) อยู่ในอันดับปลาไหลนา วงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae) มีรูปร่างโดยรวม ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้ายปลาหลด จมูกคู่หน้ามีปลายแยกออกเป็นติ่งเนื้อเล็ก ๆ 2 ติ่ง และติ่งใหญ่ 2 ติ่ง มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังเป็นหนามแหลมสั้น ๆ เพื่อป้องกันตัวประมาณ 33–40 ก้าน สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่น้ำลำคลองและที่ลุ่มทั่วไป พบทั้งในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อย กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชียและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 60–80 เซนติเมตร หากินตามพื้นท้องน้ำด้วยการกินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำขนาดเล็ก โดยมักจะซุกซ่อนตัวในโพรงไม้หรือวัตถุต่าง ๆ ใต้น้ำ มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการบริโภค ตกปลา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากระทิง (สกุล)
ปลากระทิงไฟ
ปลากระทิงไฟ (Fire spiny eel) ปลาน้ำจืดพื้นเมืองของไทยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mastacembelus erythrotaenia อยู่ในวงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae) มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์นี้ทั่วไป กล่าวคือ รูปร่างยาวคล้ายงูหรือปลาไหล แต่ท้ายลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางหางจะมีลักษณะแบนข้าง และส่วนหัวหรือปลายปากจะยื่นยาวและแหลม จะงอยปากล่างจะยื่นยาวกว่าจะงอยปากบน ตามีขนาดเล็ก ครีบหลัง ครีบทวาร และหางจะเชื่อมต่อติดกันเป็นครีบเดียว โดยครีบหลังตอนหน้าจะมีขนาดเล็กมากและลักษณะเป็นหยักคล้ายกับฟันเลื่อย หากไม่สังเกตจะมองไม่เห็น โดยปลายหางมีลักษณะมนโค้ง ปลายค่อนข้างแหลม ไม่มีหนามใต้ตาเช่นปลากระทิงชนิดอื่น ๆ มีหนามแหลมขนาดเล็กตลอดทั้งความยาวลำตัวช่วงบนไว้เพื่อป้องกันตัว ปลากระทิงไฟจะมีรูปร่างป้อมแต่มีขนาดยาวกว่าปลากระทิง (M.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากระทิงไฟ
ปลากระทุงเหวเมือง
ปลากระทุงเหวเมือง (Freshwater garfish, Asian freshwater needlefish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Xenentodon canciloides อยู่ในวงศ์ปลากระทุงเหว (Belonidae) มีรูปร่างเหมือนปลาเข็ม แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก ลำตัวค่อนข้างกลมส่วนท้องแบน ครีบหลังอยู่ตรงข้ามกับครีบก้นและอยู่ใกล้ครีบหาง ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบอกใหญ่และแหลมใช้สำหรับกระโดดพ้นจากผิวน้ำเพื่อหลบหลีกศัตรูและไล่จับอาหาร ครีบหางตัดตรงหรือบาง กระดูกแก้มไม่มีเกล็ด ไม่มีสันแข็งที่คอดหาง จะงอยปากแหลมยาวทั้งปากบนและปากล่าง มีฟันซี่แหลมคมเล็ก ๆ เรียงเป็นแถว มีขนาดยาวเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร และนับเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Xenentodon เป็นปลาที่หากินอยู่บริเวณผิวน้ำ ในแม่น้ำลำคลองทั่วไปหรือแม้กระทั่งส่วนที่เป็นแหล่งน้ำนิ่ง เช่น ท้องร่องสวน นอกจากนี้แล้วยังพบได้ในบริเวณที่เป็นน้ำกร่อยเช่น ปากแม่น้ำที่ติดกับชายทะเลด้วย ตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม และใช้บริโภคเป็นอาหาร มีการเพาะเลี้ยงกันในบางพื้นที่ และนิยมตกเป็นเกมกีฬา มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาเข็มแม่น้ำ" เป็นต้น.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากระทุงเหวเมือง
ปลากระดี่มุก
ปลากระดี่มุก ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichopodus leerii ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ (T.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากระดี่มุก
ปลากระแห
ฝูงปลากระแหที่ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุพรรณบุรี ปลากระแห เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทอง (B.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากระแห
ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก
ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก หรือ ปลากระโทงแทงกล้วย (Banana sailfish, Indo-Pacific sailfish) เป็นปลากระโทงที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง และจัดเป็นปลากระโทงร่มชนิดหนึ่ง มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวแบนข้าง ส่วนของสันหลังมีกล้ามเนื้อหนา หัวค่อนข้างโต ปากกว้าง จะงอยปากเรียวยาวและแหลม มีครีบกระโดงหลังสูงใหญ่เวลาแผ่กว้างจะมีลักษณะคล้ายใบเรือ ซึ่งใหญ่กว่าปลากระโทงชนิดอื่น ๆ ครีบอกมีขนาดเล็ก ครีบท้องเรียวยาวเหมือนแถบริบบิ้น ครีบก้นแยกเป็นสองอันเล็ก ๆ อันที่สองอยู่ตรงข้ามครีบหลังซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน สีของลำตัวด้านหลังเป็นสีน้ำเงินเข้มปนดำข้างตัวสีน้ำเงินอ่อนกว่าด้านหลัง ท้องสีขาวเงินมีลายเป็นเส้นประพาดจากด้านหลังลงไปถึงท้อง ครีบทุกครีบมีสีดำ มีครีบท้องเป็นเส้นยาวชัดเจน มีความยาวได้ถึง 3.5 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 100-125 กิโลกรัม กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในเขตร้อนของทะเลเปิดของมหาสมุทรต่าง ๆ ทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก โดยสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เนื่องจากเป็นปลาที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรงมาก ข้อต่อของกระดูกและครีบต่าง ๆ ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดี มีการอพยพย้ายถิ่นไปตามกระแสน้ำ ลูกปลาขนาดเล็ก ปลาที่ถูกตกได้ที่คอสตาริกา ลูกปลาวัยอ่อนเมื่อฟักออกมาจากไข่มีขนาดเพียง 3 มิลลิเมตรเท่านั้น และจะมีขนาดเหมือนตัวเต็มวัยเมื่อมีความยาวได้ 20 เซนติเมตร ปลาวัยอ่อนจะอาศัยหากินตามผิวน้ำที่ไม่ไกลจากฝั่งมากนัก และบางครั้งอาจเข้าไปหากินใกล้ชายฝั่งหรือใกล้กับเกาะ โดยใช้จะงอยปากที่แหลมยาวและครีบหลังที่ใหญ่ไล่ต้อน ซึ่งอาหารที่ชื่นชอบ คือ ปลาขนาดเล็กและหมึก เมื่อจะล่าเหยื่อ โดยเฉพาะปลาแมกเคอเรล จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน เนื่องจากสายตาของปลาแมกเคอเรลไวต่อแสงสีฟ้าหรือสีน้ำเงินมาก รวมทั้งสามารถมองเห็นแสงอัลตราไวโอเลตด้วย การเปลี่ยนเป็นสีฟ้าจะทำให้ปลาแมกเคอเรลสับสน ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก เป็นปลาที่เป็นทื่นิยมอย่างมากในการตกเป็นเกมกีฬา ด้วยเป็นปลาที่สู้กับเบ็ดและต้องใช้พละกำลังและเวลาอย่างมากในการตก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก
ปลากระเบนบัว
ปลากระเบนบัว (Whitenose whipray, Bleeker's whipray) เป็นปลากระเบนชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) เป็นปลากระเบนที่อยู่ในน้ำจืดชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายปลากระเบนลายเสือ (H.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากระเบนบัว
ปลากระเบนราหูน้ำจืด
ปลากระเบนราหูน้ำจืด (Giant freshwater whipray) เป็นปลากระเบนน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จัดอยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) จัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากปลากระเบนแมนตา (Manta spp.) ที่พบได้ในทะเล โดยมีน้ำหนักได้ถึง 600 กิโลกรัม ความกว้างได้ถึง 2.5–3 เมตร หรือมากกว่านั้น รวมถึงมีความยาวตั้งแต่ปลายส่วนหัวจรดปลายหางที่บันทึกไว้ได้ใหญ่ที่สุด คือ 5 เมตร ถือเป็นหนึ่งในปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก มีส่วนหางเรียวยาวเหมือนแส้ มีลักษณะส่วนปลายหัวแหลม ขอบด้านหน้ามนกลมคล้ายใบโพ ลักษณะตัวเกือบเป็นรูปกลม ส่วนหางยาวไม่มีริ้วหนัง มีเงี่ยงแหลมที่โคนหาง 2 ชิ้น ซึ่งในปลาขนาดใหญ่อาจยาวได้ถึง 8–10 นิ้ว เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกขึ้นได้ ในเงี่ยงมีสารเคมีที่มีลักษณะคล้ายเมือกลื่น มีสภาพเป็นสารโปรตีนมีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อ สำหรับปลาขนาดใหญ่ พิษนี้จะมีความรุนแรงเทียบเท่ากับพิษของงูกะปะ ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้เมื่อถูกแทงเข้ากลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ ด้านบนของปีกและตัวเป็นสีเทาหรือน้ำตาลนวล หางสีคล้ำ ด้านล่างของตัวมีสีขาวนวล ที่ขอบปีกด้านล่างเป็นด่างสีดำ อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ จนถึงบริเวณใกล้ปากแม่น้ำ และยังพบในแม่น้ำสายใหญ่ต่าง ๆ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำบางปะกง, แม่น้ำโขง, บอร์เนียว, นิวกินี โดยสถานที่ ๆ มักพบตัวขนาดใหญ่ คือ แม่น้ำแม่กลอง บริเวณ 20 กิโลเมตรก่อนไหลลงสู่อ่าวไทย ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยปลาตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ และอาจมีน้ำหนักที่มากกว่าได้ถึง 80 เท่า เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว โดยลูกปลาที่ออกมาใหม่นั้นจะมีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 50 เซนติเมตร และมีปลอกหุ้มเงี่ยงหางเอาไว้ เพื่อมิให้ทำอันตรายต่อแม่ปลา ออกลูกครั้งละ 2–3 ตัว สันนิษฐานว่าที่ต้องมีขนาดตัวใหญ่เช่นนี้ เพื่อมิให้ตกเป็นอาหารของนักล่าชนิดต่าง ๆ ในแม่น้ำ ได้ชื่อว่า "ราหู" เนื่องจากขนาดลำตัวที่ใหญ่เหมือนราหูอมจันทร์ตามคติของคนโบราณ อีกทั้งยังมีความเชื่ออีกด้วยว่า หากใครพบเห็นหรือจับปลากระเบนราหูน้ำจืดได้ จะพบกับความโชคร้าย ตัวอย่างสตัฟฟ์ในสวนสัตว์พาต้า ชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าพาต้า ปิ่นเกล้า เดิมปลากระเบนราหูน้ำจืด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Himantura fluviatilis (ปัจจุบันใช้เป็นชื่อพ้องของ ปลากระเบนธง) โดยข้อมูลที่มีอยู่ระบุว่าพบในแม่น้ำสายใหญ่และทะเลสาบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมา เมื่อการระบุชนิดพันธุ์ปลาถูกศึกษาให้ลงรายละเอียดยิ่งขึ้น ปลากระเบนราหูน้ำจืดจึงถูกอนุกรมวิธานในปี ค.ศ.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากระเบนราหูน้ำจืด
ปลากระเบนหางแส้
ปลากระเบนหางแส้ (Whip rays) เป็นชื่อสกุลของปลากระเบน ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Himantura (/ไฮ-แมน-ทู-รา/) ปลากระเบนในสกุลนี้ มีรูปร่างโดยรวมคือ มีปลายจะงอยปากที่แหลมยาว ขอบของด้านหน้าเชิงมน ลำตัวแบนกลมคล้ายใบโพ กลางหลังมีผิวที่ขรุขะและเป็นหนาม ในบางตัวอาจมีตุ่มหนามเล็ก ๆ ไปจรดถึงโคนหางที่เป็นเงี่ยงพิษ 2 ชิ้น มีส่วนหางที่เรียวยาวมาก โดยจะมีความยาวเป็น 2 เท่าของลำตัว มีซี่กรองเหงือกทั้งหมด 5 คู่ อยู่ด้านใต้ของลำตัวซึ่งเป็นสีขาว และสีจางกว่าด้านบนลำตัว ความยาวของลำตัววัดจากรูก้นถึงปลายจะงอยปากสั้นมากกว่าความกว้างลำตัว เป็นปลาที่พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่มหาสมุทรอินเดียจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ปัจจุบันพบแล้วกว่า 28 ชนิด โดยมีชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลากระเบนราหู (H.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากระเบนหางแส้
ปลากระเบนผีเสื้อ
ปลากระเบนผีเสื้อ (Butterfly ray) เป็นกลุ่มของปลากระดูกอ่อน จำพวกปลากระเบนจัดอยู่ในวงศ์ Gymnuridae และสกุล Gymnura เป็นปลาทะเล พบในมหาสมุทรทั่วโลก และพบได้บ้างในแหล่งน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำหรือชะวากทะเล เป็นปลาที่มีรูปร่างแบนและมีครีบล้อมลำตัว ซึ่งเป็นครีบอกรวมไปถึงส่วนหัว มีลำตัวและส่วนหางสั้นมาก มีความยาวช่วงลำตัวตั้งแต่ 31 เซนติเมตร (12 นิ้ว) ถึง 4 เมตร (13 ฟุต) ปลากระเบนผีเสื้อ ในบางข้อมูลจะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gymnurinae จัดเป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Dasyatidae แต่ในเว็บไซต์ฟิชเบส และระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการได้จำแนกให้เป็นวงศ์ต่างหาก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากระเบนผีเสื้อ
ปลากระเบนปากแหลม
ปลากระเบนปากแหลม หรือ ปลากระเบนตุ๊กตา (Scaly whipray) เป็นปลากระเบนชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีรูปร่างคล้ายว่าว ลำตัวแบนลงมาก ส่วนหน้าตาจะยื่นยาวแหลม ขอบจมูกมีขนาดใหญ่เท่ากับความยาว ช่องเปิดเหงือกมี 5 คู่อยู่ด้านท้อง ส่วนหางแยกออกจากส่วนลำตัวอย่างเห็นได้ชัด หางมีลักษณะแบน มีหนามแหลม 2 อัน ขอบหนาหยักเป็นจักร ความยาวของหางใกล้เคียงกับความยาวลำตัว ซึ่งนับว่าไม่ยาวมากเมื่อเทียบกับปลากระเบนชนิดอื่นในสกุล Himantura ด้วยกัน ด้านบนของลำตัวสีน้ำตาลอ่อน มีจุดสีน้ำตาลม่วงกระจายอยู่ทั่วไป ใต้ท้องมีสีขาว พบอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลอยู่ตามหน้าดินในชายฝั่งทะเลตั้งแต่ทะเลแดง, ชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออก, มอริเชียส, อินโด-แปซิฟิก, ไปจนถึงอินโดนีเซีย ในบางครั้งเข้ามาหากินในแหล่งน้ำกร่อยหรือปากแม่น้ำได้ จัดเป็นปลากระเบนขนาดเล็กชนิดหนึ่ง โดยมีความกว้างเฉลี่ยของลำตัวประมาณ 25 เซนติเมตรเท่านั้น ในประเทศไทยใช้เนื้อเพื่อการบร.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากระเบนปากแหลม
ปลากริมแรด
ปลากริมแรด (Licorice gourami) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่อยู่ในสกุล Parosphromenus ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาที่อยู่ในสกุล Trichopsis หรือปลากริม แต่มีฐานครีบหลังกว้างกว่า และมีขอบครีบสีฟ้า ตามลำตัวมีลวดลายหรือลายแถบแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิด ปลากริมแรด กระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ไปตลอดแหลมมลายู จนถึงอินโดนีเซีย มักอาศัยอยู่ในพื้นที่ ๆ เป็นป่าพรุ หรือน้ำที่มีสภาพเป็นกรด มีสีชา (ค่า pH ต่ำกว่า 7) ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จัดเป็นปลาที่หายาก และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากริมแรด
ปลากล่อง
ปลากล่อง หรือ ปลาปักเป้ากล่อง หรือ ปลาปักเป้าเหลี่ยม (Boxfish, Trunkfish) เป็นสกุลของปลาปักเป้า ในวงศ์ปลาปักเป้ากล่อง (Ostraciidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Ostracion มีลำตัวเป็นทรงสี่เหลี่ยมเหมือนกล่อง แตกต่างจากปลาปักเป้าทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด ลำตัวมีเกราะแข็งหุ้มเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูในแนวตัดขวาง ปากมีขนาดใหญ่และมีฟันซี่เล็ก ๆ ครีบหางใหญ่ ส่วนครีบอื่น ๆ เล็กเหมือนปลาปักเป้าทั่วไป สีและลวดลายตามลำตัวสดใสแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด เป็นปลาที่อาศัยหากินอยู่ตามลำพัง พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิก และอินเดีย ในแนวปะการัง กินอาหารที่อยู่ตามซอกหลีบหินปะการัง เช่น ฟองน้ำ, ครัสเตเชียน และหอย เป็นอาหาร ขนาดโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30-45 เซนติเมตร.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากล่อง
ปลากะพงลายสี่แถบ
ปลากะพงลายสี่แถบ หรือ ปลากะพงแถบน้ำเงิน (bluelined snapper, blue & yellow snapper) เป็นปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) มีรูปร่างคล้ายปลากะพงลายพาด (L.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากะพงลายสี่แถบ
ปลากะพงข้างปาน
ปลากะพงข้างปาน (Russell's snapper, Moses perch) ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ อยู่ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์เดียวกันทั่วไป ครีบหลังมีฐานยาว ครีบหางมีขนาดใหญ่และปลายเว้าเล็กน้อย มีพื้นลำตัวสีเหลืองหรือสีทอง หรือสีน้ำตาลแดงหรือสีขาวเงิน มีเส้นสีแดงปนน้ำตาลจำนวน 8 เส้น พาดผ่านและโค้งไปตามแนวลำตัว บริเวณก่อนถึงโคนหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน อันเป็นที่มาของชื่อ มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 50 เซนติเมตร เมื่อยังเป็นลูกปลาจะมีลายพาดแนวนอนตามลำตัวตั้งแต่หัวจรดหาง 3-4 ขีด และเมื่อโตขึ้นลายขีดจะหายไป ครีบและหางกลายเป็นสีเหลือง อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลใกล้ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน พบในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก ในประเทศไทยพบได้ทั้งชายฝั่งอันดามันและอ่าวไทย นิยมอยู่เป็นฝูง นิยมตกเป็นเกมกีฬา เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลากะพงปานข้างลาย", "ปลาเหลืองลีซี" หรือ "ปลากะพงทอง".
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากะพงข้างปาน
ปลากะพงแดง
ปลากะพงแดง เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งที่อยู่ในสกุล Lutjanus ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) คำว่า Latjanus รวมถึง Lutjanidae ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์ด้วย มาจากคำว่า ikan lutjan (อีกันลุตจัน) ซึ่งเป็นชื่อเรียกปลาจำพวกนี้ในภาษามลายู ปลากะพงแดงเป็นปลากินเนื้อ อาศัยอยู่ในทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก บางชนิดอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ และมีอยู่สองชนิดที่พบได้เฉพาะในน้ำจืดและน้ำกร่อยเท่านั้น.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากะพงแดง
ปลากะมงครีบฟ้า
ปลากะมงครีบฟ้า หรือ ปลามงครีบฟ้า (Bluefin trevally, Black ulua) ปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) มีลำตัวแบนข้างมาก ครีบหลังและครีบก้นยกสูง ครีบหางเล็ก ครีบอกยาวเป็นรูปเคียว ลำตัวสีเงินแวววาวอมฟ้า มีจุดประสีคล้ำหรือสีเหลือง ครีบมีสีฟ้าอ่อนถึงฟ้าสด มีความยาวเต็มที่ 120 เซนติเมตร ขนาดโดยเฉลี่ย 60 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในระดับกลางน้ำ ไล่ล่าปลาขนาดเล็ก เช่น ปลากะตัก รวมถึงสัตว์น้ำอย่างอื่น เช่น หมึก กินเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ทะเลแดงจนถึงแอฟริกาตะวันออก, ตอนเหนือของหมู่เกาะริวกิว, ตอนใต้ของนิวแคลิโดเนีย แถบอเมริกากลาง เม็กซิโกจนถึงปานามา ในน่านน้ำไทย พบได้บ่อยทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ในฮาวายมีรายงานว่าผสมข้ามพันธุ์กับปลาหางกิ่วหม้อ (C.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากะมงครีบฟ้า
ปลากะทิ
ปลากะทิ เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilichthys heteronema ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาชนิดหนึ่งที่อยู่ในสกุล Cyclocheilichthys.
ปลากะตัก
ำหรับปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ดูที่: ปลาซิวข้าวสาร ปลาข้าวสาร ปลากะตัก หรือ ปลาไส้ตัน (Anchovy) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Stolephorus จัดอยู่ในวงศ์ปลาแมว (Engraulidae) ลักษณะโดยทั่วไปเป็นปลาผิวน้ำขนาดเล็ก อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ลำตัวเรียวยาว แบนข้างมีสันหนามที่ท้อง ขากรรไกรบนยาวเลยหลังตา ครีบหลังตอนเดียว ครีบหางเว้าลึก มีแถบสีเงินพาดตามแนวความยาวของลำตัว ปลากะตัก ในประเทศไทยเป็นพันธุ์ปลาขนาดเล็กกว่าปลากะตักประเทศอื่นๆ ซึ่งมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 2-5 เซนติเมตร มีอายุขัยโดยเฉลี่ยไม่เกิน 3 ปี เป็นปลาที่หากินตามผิวน้ำ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ โดยอยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 0.5-1.5 ไมล์ทะเล ตามบริเวณชายฝั่งและหมู่เกาะต่าง ๆ กินแพลงก์ตอนต่าง ๆ เป็นอาหาร ทั้งแพลงก์ตอนพืช เช่น ไดอะตอม และแพลงก์ตอนสัตว์เช่น ตัวอ่อนของครัสเตเชียน, โคพีพอด หรือไข่ของหอยสองฝา เป็นต้น และสำหรับห่วงโซ่อาหารในทะเล ปลากะตักก็เป็นอาหารสำคัญของปลาและสัตว์น้ำขนาดใหญ่กว่า เช่น แมวน้ำ, สิงโตทะเล, โลมา, วาฬ และปลาฉลาม ปลากะตัก พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตน่านน้ำของอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบ 11 ชนิด จากการศึกษาของ ทศพร วงศ์รัตน์ ในปี ค.ศ.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากะตัก
ปลากะแมะ
ปลากะแมะ (Angler catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากะแมะ (Chacidae) มีรูปร่างประหลาด หัวแบนราบมากและปากกว้าง ครีบหลังและครีบอกสั้น ก้านครีบอกมีขอบหยัก ครีบท้องใหญ่ มีผิวย่นและเป็นตุ่มขนาดต่างๆ หัวมีติ่งหนังอยู่โดยรอบ ลำตัวสีน้ำตาลแดงเข้มหรือน้ำตาลไหม้ ท้องสีจาง มีประและจุดสีคล้ำกระจายทั่ว มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่กองใบไม้ร่วง มักอยู่นิ่งเป็นเวลานานเพื่อรอจับปลาเล็ก ๆ โดยอาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยพบอาศัยอยู่ที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาสที่เดียวเท่านั้น สถานภาพเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เนื่องจากถิ่นที่อยู่ถูกทำลาย ในต่างประเทศพบได้ที่มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และบรูไน ปลากะแมะในวัยอ่อน ไม่บริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะผู้ที่นิยมเลี้ยงปลาแปลก แต่เป็นชนิดที่เลี้ยงให้รอดยาก เนื่องจากปลามักปรับสภาพให้อยู่กับสิ่งแวดล้อมในที่เลี้ยงไม่ได้.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากะแมะ
ปลากัด (สกุล)
ปลากัด (Fighting fishes) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Betta (/เบ็ท-ทา/) ในวงศ์ย่อย Macropodinae ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากัด (สกุล)
ปลากา
ปลาการาชบัณฑิตยสถาน.
ปลากากาตา
ปลากากาตา เป็นสกุลของปลาหนังน้ำจืดในสกุล Gagata (/กา-กา-ตา/) ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) จัดเป็นปลาในวงศ์นี้ที่มีขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 5.8 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 30 เซนติเมตร มีลำตัวแบนข้างกว่าปลาในวงศ์เดียวกันชนิดอื่น ๆ โดยชื่อ Gagata เป็นการออกเสียงในภาษาถิ่นในรัฐเบงกอลที่เรียกปลาในสกุลนี้Bleeker, P.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากากาตา
ปลาการ์ตูน
ปลาการ์ตูน เป็นปลากระดูกแข็งขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Amphiprioninae ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae).
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาการ์ตูน
ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง
ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง (Sebae clownfish, Sebae anemonefish) ปลาการ์ตูนชนิดหนึ่ง มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาการ์ตูนลายปล้อง (A.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง
ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง
ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง หรือ ปลาการ์ตูนอินเดียน (Skunk clownfish, Nosestripe anemonefish, Whitebacked clownfish) เป็นปลาการ์ตูนที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงกับดอกไม้ทะเล โดยเฉพาะชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla gigantea พบในเขตอินโด-แปซิฟิก อาศัยอยู่ตามแนวปะการังชายฝั่งลึกประมาณ 15 เมตร ปลาการ์ตูนอินเดียนแดงสามารถเลี้ยงเป็นปลาตู้ได้.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาการ์ตูนอินเดียนแดง
ปลาการ์ตูนอินเดียนแดงชมพู
ปลาการ์ตูนอินเดียนแดงชมพู หรือ ปลาการ์ตูนชมพู (Pink skunk clownfish, Pink anemonefish) เป็นปลาการ์ตูนชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับปลาการ์ตูนอินเดียนแดง (A.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาการ์ตูนอินเดียนแดงชมพู
ปลากุแล
ปลากุแล หรือ ปลาหลังเขียว เป็นสกุลของปลาทะเลขนาดเล็กสกุล Sardinella (/ซาร์ดิแน็ลลา/) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) จัดเป็นปลาซาร์ดีนหรือปลาเฮร์ริงอีกจำพวกหนึ่ง มีลักษณะสัณฐานทั่วไปคล้ายกับปลาในสกุล Herklotsichthys คือ ลำตัวแบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจำนวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคล้ำหนึ่งจุด ครีบหลัง และครีบหางสีดำคล้ำอมเหลือง แต่ทว่ามีรูปร่างที่ยาวกว่า นอกจากนี้แล้ว ปลากุแลยังเป็นปลาที่มีวิวัฒนาการมาจากปลาในสกุล Harengula ที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน โดยมีลักษณะแทบจะแยกกันไม่ออก โดยมีความต่างกันที่เกล็ดเท่านั้น จัดเป็นปลาผิวน้ำ ที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ลูกปลาขนาดเล็กอาจอยู่รวมใกล้ชายฝั่งทะเล, ปากแม่น้ำ หรือลากูนได้ พบกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น ทั้งมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลเมดิเตอเรเนียน และมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ และในธรรมชาติยังเป็นปลาที่เป็นอาหารสำคัญของวาฬบาลีน เช่น วาฬบรูดาอีกด้วย เหมือนปลาในสกุลอื่นในวงศ์เดียวกันหรือใกล้เคียง.
ปลากดหมู
ปลากดหมู (Rita catfishes) เป็นสกุลของปลาหนังน้ำจืด ในสกุล Rita (/ริ-ต้า/) ในวงศ์ปลากด (Bagridae) ปลากดหมู เป็นปลาหนังที่มีลำตัวอ้วนป้อม มีหนวดสั้น ๆ 4 คู่ 2 คู่ใต้คางเพื่อใช้เป็นอวัยวะสัมผัส และมีลักษณะเด่น คือ มีแผ่นกระดูกบริเวณท้ายทอยและบริเวณเหนือครีบอก เป็นแผ่นหนาและแข็งมาก มีขนาดเฉลี่ยยาวประมาณ 19–30 เซนติเมตร ยกเว้นในชนิด R.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากดหมู
ปลากดหัวกบ
ปลากดหัวกบ หรือ ปลาอุกหน้ากบ หรือ ปลากดยิ้ม (Beardless sea catfish) เป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล Batrachocephalus ในวงศ์ Ariidae ปลาชนิดนี้พบได้ในอ่าวเบงกอล และบางบริเวณของมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก ตามแนวชายฝั่ง และปากแม่น้ำ พบใน ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา, บังกลาเทศ, พม่า, มาเลเซีย, ไทย และ อินโดนีเซีย ในประเทศไทยเป็นปลาหายาก เคยพบที่นนทบุรี, กระบี่, สงขลาและจันทบุรี ปลาชนิดนี้ยาวถึง 25.0 เซนติเมตร (9.8 นิ้ว) ตัวขาว หัวโตกว้างแล้วแบนลง ปากสั้น ทู่ ตาไม่มีหนังหุ้ม ขากรรไกรล่างยื่นล้ำขากรรไกรบน รูจมูกสองคู่อยู่ติดกัน ใกล้กับตา ลำตัวด้านหลังสีน้ำตาลและน้ำเงิน ครีบสีเหลืองมีจุดดำประ ปลากดหัวกบกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร จัดเป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากดหัวกบ
ปลากดหัวลิง
ปลากดหัวลิง หรือ ปลากดหัวโต (Bigmouth sea-catfish) เป็นปลาหนังขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) จัดเป็นปลาขนาดเล็กในวงศ์นี้ชนิดหนึ่ง และเป็นเพียงชนิดเดียวในสกุล Ketengus มีส่วนหัวที่ใหญ่และปากที่กว้าง มีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 25 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์บริเวณปากแม่น้ำหรือใกล้ชายฝั่งที่เป็นน้ำกร่อยในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินเดีย, หมู่เกาะอันดามัน, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และไทย เป็นปลาที่กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและปลาขนาดเล็ก รวมถึงเกล็ดปลาชนิดอื่นเป็นอาหารอีกด้วย ในประเทศไทยถือว่าเป็นปลาที่หายาก อยู่ในเครือข่ายใกล้สูญพัน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากดหัวลิง
ปลากดหัวแข็ง
ปลากดหัวแข็ง (Spotted catfish) เป็นปลาหนังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arius maculatus ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) มีรูปร่างและพฤติกรรมทั่วไปคล้ายปลาอุก (Cephalocassis borneensis) ที่เป็นปลาในวงศ์เดียวกัน ต่างกันตรงที่มีจุดสีดำอยู่ที่ครีบไขมัน มีความยาวประมาณ 35 เซนติเมตร ขนาดโตเต็มที่ยาวได้ถึง 80 เซนติเมตร พบในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงตอนล่าง รวมถึงทะเลสาบสงขลา หากินอยู่บริเวณพื้นน้ำ โดยกินสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังต่าง ๆ เป็นอาหาร ปลากดหัวแข็ง มีชื่อเฉพาะในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาอุกจุดดำ".
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากดหัวแข็ง
ปลากดทะเลหัวแข็ง
ปลากดทะเลหัวแข็ง (Hardhead catfishes) เป็นสกุลของปลาน้ำเค็มและน้ำกร่อย ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arius (/อา-เรียส/) ลักษณะสำคัญของปลาในสกุลนี้ ได้แก่ มีฟันที่เพดานปากอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และมีจำนวนหนวดซึ่งมีอยู่ 3 คู่ ที่ริมฝีปากบน 1 คู่ ริมฝีปากล่าง 1 คู่ และที่คาง 1 คู่ รูจมูกอยู่ใกล้กัน ปลาในสกุลนี้ แม้จะเป็นปลาทะเล แต่ก็มีหลายชนิดที่เข้ามาหากินและอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำจืดที่ห่างไกลทะเลมาก เช่น แม่น้ำสาละวิน ตัวผู้จะทำหน้าที่อมไข่ที่ผ่านการปฏิสนธิแล้ว จนกระทั่งฟักเป็นตัว การจำแนกชนิดกระทำได้จากการสังเกตจากรูปร่างและขนาดของหัว ตำแหน่งและรูปร่างของครีบบางครีบ และครีบท้องเปลี่ยนรูปเป็นอวัยวะพิเศษผิดไปจากเดิม พบกระจายพันธุ์ในชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออกไปจนถึงเอเชียอาคเน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากดทะเลหัวแข็ง
ปลากดขี้ลิง
ปลากดขี้ลิง (Sagor catfish) ปลากระดูกแข็งจำพวกปลาหนังชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 17.7 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามชายฝั่งและทะเลเปิดของเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ อินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, เมียนมาร์ และไทย โดยมีสถานที่ค้นพบครั้งแรกที่ปากอ่าวเบงกอล ในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย เป็นปลาที่สามารถนำมาปรับประทานได้โดยปรุงอาหารได้หลากหลายทั้งแกงส้ม, ทอด หรือปลาเค็ม มีราคาซื้อขายที่จังหวัดสงขลาสูงถึงกิโลกรัมละ 150–200 บาท ปัจจุบันมีการศึกษาการเพาะขยายพันธุ์โดยสถาบันวิจัยและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดสงขลา ในบ่อปูนขนาด 30 ตัน เพื่อการอนุรักษ์มิให้สูญพัน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากดขี้ลิง
ปลากดคางเบือน
ปลากดคางเบือน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Belodontichthys dinema) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาเนื้ออ่อนจำพวกปลาคางเบือนหรือปลาเบี้ยวชนิดหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับปลาคางเบือน (B.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลากดคางเบือน
ปลาฝักพร้า
วามหมายอื่น: สำหรับปลาชนิดอื่นที่เป็นปลาน้ำเค็ม ดูได้ที่ ปลาดาบลาว ปลาฝักพร้า (Freshwater wolf herring, Sword minnow, Long pectoral-fin minnow; カショーロバルブ) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวยาวและแบนข้างคล้ายมีดดาบ ท้องเป็นสันแคบ ตาโต ปากกว้างเฉียงขึ้นด้านบน ปลายปากล่างโค้งเข้าเล็กน้อยคล้ายตะขอ ลำตัวสีเงินวาว ครีบใส ครีบอกใหญ่และยาวแหลม ครีบท้องและครีบหลังเล็ก แต่ครีบก้นมีฐานครีบยาว ครีบหางเว้าลึกและปลายมน โคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ขนาดประมาณ 20-60 เซนติเมตร จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Macrochirichthys เป็นปลาล่าเหยื่อ มักหากินบริเวณใกล้ผิวน้ำ เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็วมาก อาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กจำพวกปลาซิวและแมลง พบในแหล่งน้ำหลากและแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง, ภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง ในภาคใต้พบเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกเท่านั้น และพบได้จนถึงประเทศอินโดนีเซีย เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำสะอาด ปัจจุบันอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ เพราะสภาพแวดล้อมที่อยู่ถูกทำลายไปประกอบกับปริมาณปลาที่พบในธรรมชาติมีน้อยมาก จึงไม่ทำให้เป็นที่นิยมในการประมง ปลาฝักพร้า ยังมีชื่อเรียกอื่นที่เรียกต่างออกไป เช่น "ปลาท้องพลุ", "ปลาดาบลาว", "ปลาดาบญวน", "ปลาโกร๋ม" เป็นต้น.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาฝักพร้า
ปลามงโกรย
ำหรับปลามงโกรยที่เป็นปลาน้ำจืดดูที่: ปลาหมากผาง ปลามงโกรย หรือ ปลาลินโกรย หรือ ปลาขมงโกรย (Kelee shad, Fivespot herring, Razorbelly) ปลาทะเลหรือปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Hilsa เป็นปลาที่มีลำตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น ในปากไม่มีฟัน ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจำนวนมากเรียงชิดกันและงอโค้งออกเสมอกันโดยตลอด ลำตัวสีเงิน ด้านหลังสีนํ้าเงินคลํ้า แนวกลางและข้างตัวมีจุดสีดำ 3-8 จุดเรียงกันเป็นแถว จุดแรกที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกเด่นชัดที่สุด มีขนาดยาวได้ถึง 25 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ใกล้ชายฝั่งของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก เป็นปลาที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร จัดเป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญ โดยมีปริมาณที่ทำการประมงได้ถึง 221,899 ตัน ในปี ค.ศ.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลามงโกรย
ปลาม้า
ปลาม้า (Boeseman croaker) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesemania microlepis (/บี-ซี-มา-เนีย/ ไม-โคร-เล็พ-อิส/) ในวงศ์ปลาจวด (Sciaenidae) มีรูปร่างเพรียวเล็กไปทางด้านท้ายลำตัว หัวค่อนข้างเล็ก หน้าผากเว้าลึก ตาอยู่สูงไปทางด้านบนของหัว ปากกว้างอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก ใต้คางมีรูเล็ก ๆ 5 รู ครีบหลังยาวตลอดส่วนหลัง ตอนหน้าเป็นก้านแข็ง ตอนท้ายเป็นก้านอ่อน โคนหางเรียวเล็ก ครีบก้นมีก้าสนแข็งอันใหญ่หนา ครีบอกยาว ครีบท้องมีปลายเป็นเส้นยาวเช่นเดียวกับครีบหาง เกล็ดมีความเล็กมาก ลำตัวสีเทาอ่อนอ่อนเหลือบเงิน ด้านหลังมีสีคล้ำ ด้านข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำจาง ๆ เป็นแนวเฉียงหลายแถบ ด้านท้องสีจาง ครีบใส จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Boesemania มีความประมาณ 25–30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 เมตร อาศัยอยู่ในแม่น้ำขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบในแหล่งน้ำนิ่งบ้าง บ่อปลา หรือบ่อกุ้งที่อยู่ใกล้ทะเล พบมากในแม่น้ำตอนล่าง แต่ก็พบในแหล่งน้ำที่ไกลจากปากแม่น้ำมากเช่นกัน พบในภาคกลาง ภาคเหนือ และในแม่น้ำโขงในภาคอีสานของไทย โดยพบสูงสุดถึงที่จังหวัดเลย ชื่อปลาม้ามาจากการที่มีครีบหลังยาวเหมือนแผงคอของม้า ขณะที่ชื่อในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลากวง" พฤติกรรมมักกบดานอยู่นิ่งใต้พื้นน้ำ เมื่อว่ายน้ำจะเชื่องช้า แต่จะรวดเร็วมากเวลาไล่จับเหยื่อ ในธรรมชาติชอบอาศัยในเขตน้ำลึก กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า ปลาม้าเป็นปลาที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดสุพรรณบุรี จนถึงมีอำเภอชื่อ อำเภอบางปลาม้า เพราะความที่ในอดีตเคยชุกชุม เนื่องจากเป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย เป็นที่นิยมมาก มีราคาขายที่สูง และเคยพบมากในบึงบอระเพ็ด แต่สถานภาพในปัจจุบันลดลงมาก อันเนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และการจับในปริมาณที่มาก ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว ด้วยการฟักไข่ที่ได้จากพ่อแม่ปลาที่เลี้ยงรวมกันในบ่อเลี้ยง และนำลูกปลาที่ได้หลังจากเลี้ยงดูจนโตได้ที่แล้วไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ โดยเฉพาะที่เขื่อนกระเสียว ปลาม้ามีฤดูผสมพันธุ์ตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาวในช่วงต้นปี สามารถส่งเสียงร้องได้ดังระงมเหมือนอึ่งอ่าง เพื่อดึงดูดปลาตัวเมียให้มาผสมพันธุ์ มักจะร้องในช่วงกลางคืนเริ่มตั้งแต่พลบค่ำ กระเพาะของปลาม้า ขึ้นชื่อมากในการทำกระเพาะปลา เพราะมีกระเพาะขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถพองลมทำให้เกิดเสียงได้ นอกจากนี้แล้วกระเพาะปลาม้ายังใช้ทำเป็นยางในของรถจักรยานและทำกาวในอดีตอีกด้วย แต่ปลาม้าเป็นปลาที่ตายง่ายมากเมื่อจับพ้นจากน้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามอีกด้ว.
ปลาม้ามังกร
ปลาม้ามังกร หรือ ปลาจระเข้หิน หรือ ปลาผีเสื้อกลางคืน (Seamoth, Dragonfish) เป็นสกุลของปลาทะเลกระดูกแข็งสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Eurypegasus (/ยู-รี-เพ-กา-ซัส/) อยู่ในวงศ์ปลาผีเสื้อกลางคืน (Pegasidae) แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด กระจายพันธุ์ตามท้องทะเลตามแนวปะการังแถบอินโด-แปซิฟิก และฮาวาย เป็นปลาที่เคลื่อนไหวช้.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาม้ามังกร
ปลายอดม่วงลาย
ปลายอดม่วงลาย (River tonguesole) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cynoglossus fledmanni ในวงศ์ปลายอดม่วง (Cynoglossidae) มีรูปร่างคล้ายปลายอดม่วงเกล็ดถี่ (C.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลายอดม่วงลาย
ปลายอดม่วงเกล็ดถี่
ปลายอดม่วงเกล็ดถี่ (Smallscale tonguesole) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cynoglossus microlepis อยู่ในวงศ์ปลายอดม่วง (Cynoglossidae) มีรูปร่างคล้ายใบมะม่วง ตาเล็กอยู่ชิดกัน ปลายจะงอยปากงุ้ม เฉพาะด้านบนท้องเล็กมาก ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นยาวตลอดลำตัว ครีบหางมีปลายแหลม เกล็ดเล็กมีขอบหยัก มีเส้นข้างลำตัว 3 เส้นบนลำตัวด้านบนและต่อเนื่องกันบริเวณหัว ตัวมีสีน้ำตาลอ่อนอมแดงโดยไม่มีลวดลายใด ๆ ครีบค่อนข้างใส ลำตัวด้านล่างมีสีขาว ขนาดที่พบเฉลี่ยประมาณ 25 เซนติเมตร ใหญ่สุดประมาณ 1 ฟุต อาศัยตามชายฝั่งแม่น้ำที่เป็นพื้นทราย พบในตอนล่างของแม่น้ำแม่กลอง, เจ้าพระยา, บางปะกง และภาคใต้ พบมากในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดชัยนาทจนถึงพิษณุโลก บริโภคโดยทำปลาแห้ง มีราคาขายค่อนข้างสูง และพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย มีชื่อเรียกอื่นว่า "ปลายอดม่วง", "ปลายอดม่วงแม่น้ำ" หรือ "ปลายอดม่วงน้ำจืด" เป็นต้น.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลายอดม่วงเกล็ดถี่
ปลายอนหอย
ปลายอนหอย หรือ ปลาสวายหนู เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งน้ำจืดในอันดับปลาหนังในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) จำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Helicophagus (/เฮ-ลิ-โช-ฟา-กัส/) มีรูปร่างโดยรวม คือ เหมือนปลาในสกุล Pangasius แต่ว่ามีรูปร่างที่เล็กและเพรียวบางกว่าอย่างเห็นได้ชัด ปากมีความกว้างน้อยกว่า หัวเล็ก ตามีขนาดเล็ก หนวดทั้ง 2 คู่ยาวถึงช่องเปิดเหงือก มีความยาวลำตัวโดยเฉลี่ยประมาณ 1 ฟุต มีพฤติกรรมจะกินอหารแต่เฉพาะสัตว์จำพวกหอย ทั้งหอยฝาเดียวและหอยสองฝา โดยจะกินเข้าไปทั้งตัว และถ่ายออกมาเป็นเศษซากของเปลือกหอย พบเพียง 3 ชนิดเท่านั้น โดยพบกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะในเขตซุนดา มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบได้ในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน ได้แก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลายอนหอย
ปลายาด
ปลายาด หรือ ปลาเวียน (Mahseers, Brook carps) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Tor (/ทอร์/) มีลำตัวยาวและแบนข้างไม่มากนัก หัวค่อนข้างเล็ก มีหนวดที่ยาว 2 คู่ คู่แรกอยู่ที่ริมปากบน และคู่ที่สองอยู่ที่มุมปาก ปากโค้งเป็นรูปเกือกม้า ริมปากบนและล่างหนาเชื่อมติดต่อกัน ริมปากล่างมีร่องคั่นระหว่างริมปากกับกระดูกขากรรไกรล่าง บางชนิดอาจมีกล้ามเนื้อแบ่งเป็นพู ๆ บนริมปากล่าง และบางชนิดไม่มีพูของกล้ามเนื้อดังกล่าว เกล็ดมีขนาดใหญ่ เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ เยื่อขอบกระดูกแก้มเชื่อมติดกับเอ็นคาง ฟันที่ลำคอรูปร่างเหมือนช้อน มี 3แถว โคนครีบหลังหุ้มด้วยเนื้อที่เป็นเกล็ด มีก้านครีบแขนง 8 หรือ 9 ก้าน ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นหนามแข็งและขอบเรียบ ต้นแบบของสกุลนี้มาจาก Cyprinus tor ซึ่ง จอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ ได้ยกขึ้นเป็นชื่อสกุล โดยตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor hamiltonii ก่อนหน้าสกุล Labeobarbus ของเอ็ดดวร์ด รุพเพิล ซึ่งนักมีนวิทยาหลายท่านได้นำเอาสกุล Labeobarbus ไปตั้งชื่อปลาที่พบในแถบคาบสมุทรอินโดออสเตรเลีย แต่ก็มีบางส่วนที่ใช้สกุลอื่น ปลาในกลุ่มนี้จึงมีชื่อพ้องด้วยกันหลากหลาย พบทั้งหมดประมาณ 20 ชนิด ในทวีปเอเชีย ตามแม่น้ำสายใหญ.
ปลาริวกิว
ปลาริวกิว หรือ ปลาเรียวเซียว หรือ ปลาลู่ทู (Giant catfish, Giant sea catfish, Giant salmon catfish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลาหนัง ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) มีรูปร่างคล้ายคลึงกับปลากดหรือปลาแขยงที่พบในน้ำจืด หรือปลากดทะเลชนิดอื่น ๆ แต่มีขนาดใหญ่มากกว่า มีลำตัวยาวและค่อยข้างกลม หางแบนข้างและหัวใหญ่ ด้านหลังตรงหัวเป็นกระดูกแข็ง หน้าแหลม จะงอยปากยาว ปากกว้าง ฟันมีขนาดเล็กและสั้น มีหนวดใต้คาง 2 คู่และริมฝีปากบน 1 คู่ ครีบหลังและครีบอกมีเงี่ยงเป็นหนามแหลมครีบละหนึ่งอัน ครีบไขมันเล็กอยู่ใต้โคนหาง ครีบหางเป็นแฉกลึก พื้นลำตัวสีน้ำตาลปนเทา ท้องสีขาวนวล ครีบต่าง ๆ สีเทาคล้ำ ครีบไขมันสีดำ กินปลาและสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามบริเวณหน้าดินเป็นอาหาร จัดเป็นปลาอุก หรือปลากดทะเลที่มีขนาดใหญ่ มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 1.2 เมตร แต่ความยาวเฉลี่ย 30–40 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามพื้นทะเลที่เป็นโคลน หรือโคลนเหลว บางครั้งอาจพบได้ในบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำจืด ในน่านน้ำไทยพบทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่ใช้เนื้อในการบริโภคกันจนเป็นที่รู้จักดี รวมถึงแปรรูปเป็นปลาเค็มหรือปลาหวาน ไข่ของปลาริวกิวนิยมนำมาทำเป็นแกงส้มเหมือนปลากดทะเลชนิดอื่น ๆ แต่ไข่ปลาริวกิวนั้นมีความคาวมาก เมื่อจะนำมาปรุงอาหารต้องล้างน้ำหลาย ๆ ครั้ง ปลาจะมีไข่ได้ทุกฤดูกาล แต่ช่วงที่ีไข่สมบูรณ์มากที่สุด คือ ช่วงฤดูหนาวหรือช่วงปลายฝนต้นหนาว.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาริวกิว
ปลาร่องไม้ตับวานเดิร์ส
ปลาร่องไม้ตับวานเดิร์ส (Waanders's hard-lipped barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cypriniade) มีขนาดและลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาร่องไม้ตับ (O.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาร่องไม้ตับวานเดิร์ส
ปลาลิ้นควายเกล็ดลื่น
ปลาลิ้นควายเกล็ดลื่น หรือ ปลาลิ้นเสือ (Largetooth flounder) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซีกเดียวหรือปลาลิ้นหมา ในวงศ์ปลาลิ้นเสือ (Paralichthyidae) โดยถือเป็นชนิดต้นแบบของสกุล Pseudorhombus ด้วย เป็นปลาทะเลที่มีรูปทรงภายนอกดูมนคล้ายใบไม้หรือขนุน ลำตัวด้านข้างแบน ด้านที่มีสีเข้มอยู่ทางซีกซ้ายและมีตาทั้งสองข้างอยู่ด้านเดียวกัน ปากค่อนข้างกว้าง ฟันเล็กแหลม ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบอกและครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบหางเป็นเหลี่ยม ลำตัวทางซีกซ้ายมีสีน้ำตาลปนดำและมีรอยแต้มสีดำอยู่ 2 จุด เป็นปลาหน้าดินที่อาศัยอยู่ตามพื้นน้ำในท้องทะเล พบแพร่กระจายอยู่ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบตามบริเวณชายฝั่งทะเลทั่วไปในอ่าวไทย บางครั้งอาจพบได้ในแม่น้ำที่ต่อกับทะเล กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำหน้าดินขนาดเล็ก เช่น ลูกกุ้ง, ลูกปลา, หนอนทะเล มีความยาวเต็มที่ประมาณ 20–30 เซนติเมตร เป็นปลาที่ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เพื่อการบริโภคเป็นปกต.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาลิ้นควายเกล็ดลื่น
ปลาวัวสามเขา
ปลาวัวสามเขา (Tripod fish) เป็นสกุลของปลาทะเล ในวงศ์ปลาวัวจมูกสั้น (Triacanthidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Triacanthus แบ่งออกได้เป็น 2 ชน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาวัวสามเขา
ปลาสร้อยนกเขาทะเล
ปลาสร้อยนกเขาทะเล หรือ ปลาสร้อยนกเขา เป็นสกุลของปลาทะเลสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงแสม (Haemulidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Plectorhinchus มีลำตัวป้อม แบนด้านข้าง สันหัวโค้งลาดลง รอบปากมีเนื้อนุ่ม ๆ ใต้คางมีรู 1-3 คู่ เกล็ดมีขนาดเล็กและเป็นแบบสาก พื้นลำตัวและอกมักมีสีฉูดฉาด ในปลาขนาดเล็กมักมีลายสีทึบพาดตามยาวหลายเส้นและมักแตกเป็นจุดเมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น ขอบแผ่นปิดเหงือกและในโพรงปากมักมีสีแดงส้ม ส่วนใหญ่พบ อาศัยอยู่ตามแนวปะการังใกล้ชายฝั่ง ในแถบอินโด-แปซิฟิก มีขนาดลำตัวตั้งแต่ 30-80 เซนติเมตร ปลาสร้อยนกเขาลายขวางเมื่อเป็นปลาวัยโต เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีพฤติกรรมการว่ายน้ำที่ไม่เหมือนปลาขนาดใหญ่ จะว่ายดีดดิ้น พริ้วไปมา เหมือนหนอนตัวแบน เชื่อว่าเป็นการเลียนแบบเพื่อเอาตัวรอดจากสัตว์นักล่าขนาดใหญ.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาสร้อยนกเขาทะเล
ปลาสลิดหินมะนาว
ปลาสลิดหินมะนาว (Lemon damsel) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาในวงศ์นี้ทั่วไป มีสีลำตัวเป็นสีเหลืองสดตลอดทั้งลำตัวเหมือนสีของมะนาวหรือเลมอน มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 9 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทะเลอันดามันจนถึงทะเลญี่ปุ่น บริเวณหมู่เกาะริวกิว และตองกา นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักเพราะมีอุปนิสัยดุร้าย ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วเหมือนปลาในวงศ์เดียวกันชนิดอื่นอีกหลายชน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาสลิดหินมะนาว
ปลาสลิดหินนีออน
ปลาสลิดหินนีออน หรือ ปลานีออนแดมเซล (Neon velvet damsel, Bluebanded damsel, Bluestreak damsel, Japanese damsel) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae) เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กลำตัวจะมีสีดำ และมีลวดลายสีน้ำเงินสะท้อนแสงคล้ายสายฟ้าพาดบนลำตัว แต่เมื่อโตขึ้นแล้วลายและสีสันดังกล่าวจะค่อย ๆ เลือนหายไป ปกติไม่พบในน่านน้ำไทย แต่พบในทะเลฟิลิปปิน, อินโดนีเซีย และทะเลติมอร์ เป็นปลาที่มีความสวยงามมากชนดหนึ่ง ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ ในตลาดปลาสวยงาม จัดว่าเป็นปลาในวงศ์ปลาสลิดหินอีกชนิดหนึ่งที่มีการนำเข้ามาขายในประเทศไทยสูงเป็นอันดับต้น ๆ แต่ทว่าปลาสลิดหินนีออนนั้นเมื่อโตขึ้นจะเป็นปลาที่มีความก้าวร้าวขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยความหวงถิ่น.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาสลิดหินนีออน
ปลาสวายหนู
ปลาสวายหนู เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helicophagus waandersii อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีลักษณะหัวหลิม ตาเล็ก ขอบตามีแผ่นหนังคลุม จะงอยปากเรียว ปากเล็กกว่าปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ ริมฝีปากบางมีแผ่นหนังนิ่มหุ้ม รูจมูกอยู่ห่างกัน หนวดทั้ง 2 คู่ยาวถึงช่องเปิดเหงือก รูปร่างเพรียวแบนข้างเล็กน้อย ครีบก้นยาว ครีบไขมันยาว ลำตัวสีเทาอ่อนหรืออมฟ้า ด้านข้างลำตัวสีจางไม่มีแถบสี หัวและท้องสีจางอมชมพู ครีบสีจาง ปลาวัยอ่อนมีสีเทาอมชมพู มีขนาดประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดประมาณ 60 เซนติเมตร อาหารกินแต่เฉพาะหอยขนาดเล็ก ทั้งหอยฝาเดียวและหอยฝาคู่ โดยมักหากินใกล้พื้นท้องน้ำ มักกินจุจนท้องป่อง แล้วถ่ายออกมาเฉพาะเปลือก อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ พบในแม่น้ำโขงและเจ้าพระยา ไม่พบในภาคใต้ของไทย แต่มีในมาเลเชียจนถึงเกาะสุมาตรา ในอินโดนีเชีย ในประเทศไทยบริโภคโดยการปรุงสุดและหมักสับปะรด (เค็มบักนัด) ปลาสวายหนู มีชื่อที่เรียกในภาษาถิ่นอีสานว่า "ยอนหนู" และ "หน้าหนู" ปัจจุบัน กรมประมงได้มีการศึกษาเอนไซน์ในระบบการย่อยอาหารของปลาสวายหนู เพื่อนำไปศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ต่อไป.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาสวายหนู
ปลาสะตือ
ำหรับ "สะตือ" ในความหมายอื่น ดูที่ สะตือ ปลาสะตือ (Giant featherback) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala lopis (/ไค-ตา-ลา-โล-ปิส/) อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีรูปร่างคล้ายปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกันนี้ทั่วไป แต่มีท้ายทอยเว้าลึกและลำตัวมีเกล็ดละเอียดกว่า โคนครีบอกมีแต้มคล้ำ และข้างลำตัวมีจุดประสีคล้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 1.5 เมตร นับเป็นปลาชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้เป็นอันดับสองรองจากปลากรายอินเดีย (C.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาสะตือ
ปลาสังกะวัง
ปลาสังกะวัง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius polyuranodon ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีรูปร่างคล้ายปลาชนิดอื่นในวงศ์นี้ทั่วไป หากแต่มีหนวดยาวถึงหรือเลยครีบอก และครีบหางเป็นแผ่นหนาอย่างเห็นได้ชัด สีครีบทุกครีบออกเหลือง ส่วนหัวหลิมกลมและตำแหน่งตาอยู่ต่ำกว่ามุมปากคล้ายปลาบึก (Pangasianodon gigas) ขนาดยาวเต็มที่ประมาณ 50-80 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำโขงและปากแม่น้ำที่ติดกับทะเลที่เป็นน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำบางปะกง เป็นต้น มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า "ปลาสังกะวาดแวง" หรือ "ปลาชะแวง".
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาสังกะวัง
ปลาสังกะวาด
ปลาสังกะวาด หรือ ปลายอน เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด โดยพบแล้วประมาณ 26 ชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Pangasius มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวลื่นไม่มีเกล็ด หัวโต ตามีขนาดเล็ก ปากกว้าง รูจมูกคู่หลังอยู่ใกล้รูจมูกคู่หน้ามากกว่านัยน์ตา และอยู่เหนือระดับขอบบนของลูกนัยน์ตา มีหนวด 2 คู่สั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด (ริมปากบน 1 คู่ และคาง 1 คู่) มีฟันที่กระดูกเพดานปากชิ้นกลางและชิ้นข้าง แต่ในบางชนิดอาจหดหายไปเมื่อปลามีอายุมากขึ้น รูปร่างอ้วนป้อม ครีบทั้งหมดโดยเฉพาะครีบหลังและครีบอกตั้งชี้ตรง และมีก้านแข็ง นัยน์ตาอยู่เหนือระดับมุมปากเล็กน้อย ท้องไม่เป็นสันคม ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 6 ก้าน มีขนาดรูปร่างที่แตกต่างออกไปตั้งแต่ 1 ฟุต ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร แต่โดยทั่วไปจะมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 1-1.5 เมตร เป็นปลาที่กินได้ทั้งเนื้อและพืชเป็นอาหาร รวมถึงซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยด้วย มีพฤติกรรมชอบอยู่เป็นฝูง ในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ พบตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจ ใช้บริโภค ซึ่งมีการวิจัยพบว่าเนื้อปลาในสกุลนี้ มีสารโอเมกา 3 สูงกว่าปลาทะเลเสียอีก นอกจากนี้ยังใช้ตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในบางชนิด ในภาษาไทยจะเรียกปลาในสกุลนี้โดยรวมว่า "สวาย" ในปลาที่มีขนาดใหญ่ และในปลาที่มีขนาดเล็กมักจะเรียกรวม ๆ กันว่า "สังกะวาด" หรือ "สังกะวัง" ซึ่งซ้ำซ้อนกับปลาในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) สำหรับในภาษาอีสานจะเรียกว่า "ยอน" หรือ "ซวย" ในปัจจุบัน มีการผสมพันธุ์ข้ามชนิดและข้ามสกุลกัน จนได้เป็นลูกปลาพันธุ์ผสมชนิดใหม่ที่ให้ผลผลิตดี โดยใช้ชื่อในทางการค้าว่า "ปลามรกต" หรือ "เขียวมรกต" นิยมเลี้ยงกันมากโดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย และในปัจจุบันนิยมทำเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อปลาสำเร็จรูป ในชื่อ "แพนกาเชียส ดอรี่" ปลาสวาย (''P.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาสังกะวาด
ปลาสากหางเหลือง
ระวังสับสนกับ ปลาน้ำดอกไม้เหลือง ปลาสากหางเหลือง (Yellowstripe barracuda, Yellowtail barracuada) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสาก (Sphyraenidae).
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาสากหางเหลือง
ปลาสายยู (สกุล)
ปลาสายยู (Barbel sheatfish) ชื่อสกุลของปลาหนัง 2 ชนิด ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Ceratoglanis (/ซี-รา-โต-กลาน-อิส/) มีรูปร่างโดยรวม คือ หัวมีขนาดเล็ก ตามีขนาดเล็ก ปากเล็กอยู่ด้านล่าง มีลักษณะสำคัญ คือ มีหนวดสั้นเป็นติ่งขอใกล้จมูก ลำตัวแบนข้างมีสีชมพูหรือสีนวล ครีบมีขอบสีคล้ำ ครีบก้นยาวมาก มีลำตัวประมาณ 25 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 40 เซนติเมตร มีพฤติกรรมกระดิกหนวดอย่างรวดเร็วขณะว่ายน้ำ โดยภายในเวลา 1 นาที สามารถกระดิกหนวดได้ถึง 125 ครั้ง สันนิษฐานว่าเป็นการส่งสัญญาณหาอาหารตามท้องน้ำ โดยอาหารได้แก่ สัตว์หน้าดินต่าง ๆ กุ้ง, แมลงน้ำ เป็นต้น พบเพียง 2 ชนิด เท่านั้น คือ.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาสายยู (สกุล)
ปลาสินสมุทรวงฟ้า
ปลาสินสมุทรวงฟ้า หรือ ปลาสินสมุทรวงแหวนสีน้ำเงิน (Bluering angelfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacanthus annularis อยู่ในวงศ์ปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) ลำตัวมีลายสีน้ำเงินพาดโค้งตลอดลำตัว เหนือแผ่นปิดเหงือกมีวงคล้ายวงแหวนสีฟ้า ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่ป็นที่มาของชื่อเรียก ครีบหลังตอนท้ายเป็นปลายแหลมยื่นยาวออกไป เมื่อยังเป็นลูกปลาวัยอ่อนมีลายพาดขวางสีน้ำเงินสลับฟ้าคล้ายกับปลาสินสมุทรหางเส้น (P.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาสินสมุทรวงฟ้า
ปลาสินสมุทรหางเส้น
ปลาสินสมุทรหางเส้น หรือ ปลาสินสมุทรโคราน หรือ ปลาสินสมุทรลายโค้ง หรือที่นิยมเรียกกันในวงการปลาสวยงามว่า โครานแองเจิล หรือ บลูโคราน (Koran angel, Sixbanded angel, Semicircle angel, Half-circle angel, Blue koran angel, Zebra angel) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacanthus semicirculatus อยู่ในวงศ์ปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) มีลำตัวแบน ครีบหลังมี 2 ตอนเชื่อมต่อกัน โดยที่ครีบหลังยื่นยาวออกไปทางหาง ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อปลามีอายุเพิ่มมากขึ้น ครีบหูบางใส ครีบอกยาวแหลม ส่วนปลายครีบทวารยื่นยาวออกไปเช่นเดียวกับครีบหลัง ครีบหางโค้งเป็นรูปพัด พื้นผิวลำตัวของตัวอายุน้อยมีสีเหลืองอมน้ำตาล มีเส้นคาดตามขวางในแนวโค้งสีขาวและสีน้ำเงินมากกว่า 12 เส้น ลายเหล่านี้จะค่อย ๆ จางหายไปหมดเมื่อเจริญเต็มวัย โดยจะมีพื้นสีเหลืองอมเขียว แต้มด้วยจุดสีดำและสีน้ำเงินทั่วลำตัว ขอบแก้มและขอบครีบต่าง ๆ เป็นเส้นสีน้ำเงิน ซึ่งลวดลายและสีสันของปลาสินสมุทรหางเส้นวัยอ่อนนั้นจะคล้ายกับปลาสินสมุทรวงฟ้า (P.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาสินสมุทรหางเส้น
ปลาสีกุนทอง
ปลาสีกุนทอง (Bigeyed scads, Goggle-eyes, Gogglers) ปลาทะเลในสกุล Selar ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) มีลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย มีลักษณะเด่น คือ มีดวงตาโต มีแถบสีเหลืองพาด จากตาถึงคอดหาง หรือมีสีเหลือบเหลืองพาดข้างตัว จำแนกออกได้เป็น 2 ชน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาสีกุนทอง
ปลาสีขน
ปลาสีขน หรือ ปลาหางกิ่วหม้อ หรือ ปลากะมงตาแดง หรือ ปลากะมงตาโต (Bigeye trevally, Dusky jack, Great trevally) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) มีลำตัวค่อนข้างอ้วน ยาวเรียว หัวมีขนาดใหญ่และป้อม ปากกว้าง เกล็ดมีขนาดปานกลางบริเวณเส้นข้างลำตัวมีเกล็ดขนาดใหญ่แข็งคม โดยเฉพาะบริเวณโคนหาง ตามีขนาดใหญ่อยู่เกือบสุดปลายจะงอยปาก ครีบอกยาวเรียวแหลม ครีบหลังยาวแยกเป็นสองอัน อันที่เป็นก้านครีบแข็งสั้น อันอ่อนส่วนหน้ายกสูงขึ้นและมีขนาดใกล้เคียงกับครีบก้น ครีบท้องมีขนาดเล็กอยู่ใต้ครีบอก ครีบหางปลายเป็นแฉกลึก พื้นลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำเงินปนเขียว จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่งของวงศ์นี้ มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 120 เซนติเมตร หนัก 18 กิโลกรัม แต่ขนาดโดยเฉลี่ยราว 40-60 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรเขตร้อน ได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่แคลิฟอร์เนีย, เอกวาดอร์, แอฟริกาใต้, ญี่ปุ่นทางตอนเหนือ จนถึงออสเตรเลียด้วย สำหรับในน่านน้ำไทยจะพบชุกชุมบริเวณช่องเกาะคราม, แสมสาร, เกาะเต่า ในฝั่งอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน โดยมักจะอยู่รวมกันบางครั้งอาจพบได้ใต้โป๊ะ เป็นต้น และพบได้ถึงแหล่งน้ำจืด เป็นปลาที่มีรสชาติดี จึงนิยมบริโภคเป็นอาหาร และตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในน้ำจืด หรือน้ำกร่อย โดยเลี้ยงกันตั้งแต่ยังเล็ก ๆ เหมือนเช่นปลากะมงพร้าว (C.
ปลาสแปรตแม่น้ำ
ปลาสแปรตแม่น้ำ (River sprat) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในสกุล Clupeichthys ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) จัดเป็นปลาสแปรตหรือปลาเฮร์ริงจำพวกหนึ่ง เป็นปลามีขนาดเล็กพบในแม่น้ำหรือแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญในท้องถิ่น.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาสแปรตแม่น้ำ
ปลาส่อ
ปลาส่อ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Crossocheilus (/ครอส-โซ-ไคล-อัส/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในวงศ์ย่อย Garrinae มีรูปร่างโดยทั่วไป คือ เป็นปลาขนาดเล็ก ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีลำตัวเรียวยาวทรงกลม หัวสั้นเป็นรูปกระสวย ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม มีหนวดอยู่ 1 คู่ ลักษณะสำคัญ คือ มีหนังที่จะงอยปากเชื่อมติดกับริมฝีปากบน ริมฝีปากบนและล่างไม่ติดกัน บนจะงอยปากมีรูเล็ก ๆ และตุ่มเล็ก ๆ เรียงกันเป็นแถว ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน และก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายไม่แข็ง ขอบเรียบ ครีบหลังยกสูง อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มักอาศัยอยู่ในลำธารและแหล่งน้ำเชี่ยว รวมถึงแม่น้ำสายใหญ่ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ กินอาหารจำพวก ตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายบนโขดหิน หรือแมลงน้ำและแพลงก์ตอนขนาดเล็กต่าง ๆ หลายชนิดจะมีแถบสีดำพาดลำตัวในแนวนอน โดยปลาในสกุลนี้ มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาเล็บมือนาง" หรือ "ปลาสร้อยดอกยาง" เป็นต้น เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่นและเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีประโยชน์ในการเก็บกินเศษอาหารหรือตะไคร่น้ำภายในตู้เลี้ยง และยังนำไปในกิจการฟิชสปาหรือสปาปลาแทนที่ปลาเลียหินที่มีลักษณะและพฤติกรรมคล้ายคลึงกันได้อีกด้ว.
ปลาหมอช้างเหยียบ
ำหรับปลาตะกรับอย่างอื่น ดูที่: ปลาตะกรับ ปลาหมอช้างเหยียบ (Striped tiger leaffish, Banded leaffish, Malayan leaffish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pristolepis fasciata ในวงศ์ปลาหมอช้างเหยียบ (Pristolepididae) มีรูปร่างป้อม ลำตัวด้านข้างแบนพื้นลำตัวสีเขียวหรือสีน้ำตาลปนเหลือง มีเกล็ดแบบสากและขอบหยักปกคลุมทั่วตัวมีแถบสีดำพาดขวางลำตัวประมาณ 8-12 แถบ หัวเล็กจะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กยืดหดได้เล็กน้อย มีฟันซี่เล็ก ๆ เป็นแถวอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง รูจมูกแยกจากกันอย่างเด่นชัดและอยู่ชิดกับตา ครีบหลังมีสองส่วนเชื่อมติดกันเป็นแนวยาว ส่วนหน้าเป็นด้านเดียวเป็นหนามแหลมคม ส่วนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบก้นใหญ่มีก้านครีบแข็งและแหลมคม ครีบหางใหญ่ปลายหางมนกลม มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 5-10 เซนติเมตร พบได้ใหญ่ที่สุด 20 เซนติเมตร จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ เป็นปลาที่พบได้ทุกสภาพของแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค รวมถึงในแหล่งที่เป็นน้ำกร่อยด้วย ในต่างประเทศพบได้ทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีฤดูวางไข่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนสิงหาคม ไข่มีลักษณะเม็ดกลมสีเหลืองเข้มเป็นไข่ลอย เป็นปลาที่กินสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร นิยมตกกันเป็นเกมกีฬาและรับประทานเป็นอาหาร มีการเพาะเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจ ปลาหมอช้างเหยียบยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น ปลาหมอโค้ว, ปลาปาตอง, ปลาหมอน้ำ, ปลาตะกรับ, ปลากระตรับ, ปลาหน้านวล, ปลาก๋า หรือ ปลาอีก๋า เป็นต้น ในขณะที่ภาษาใต้เรียกว่า ปลาหมอโพรก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาหมอช้างเหยียบ
ปลาหมูกระโดงสูง
ปลาหมูกระโดงสูง (Chinese sucker, Chinese loach, Chinese high fin sucker, Chinese high fin banded shark; 胭脂魚; พินอิน: yānzhiyú) ปลาน้ำจืดกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมูกระโดงสูง (Catostomidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Myxocyprinus (มาจากภาษากรีก "myxos" หมายถึง "น้ำมูกหรือเสมหะ" และภาษาละติน "cyprinus" หมายถึง ปลาตะเพียน) มีพื้นลำตัวสีขาวอมชมพู มีแถบสีดำหนา 3 เส้นเป็นแนวตั้ง มีจุดเด่น คือ มีครีบหลังที่ปลายแหลมสูงและมีขนาดใหญ่ ในปลาที่มีขนาดเล็กกว่า 4 นิ้วจะมีสีสันสดใสและลำตัวทรงสั้นมีครีบหลังใหญ่มองดูคล้ายใบเรือ แต่เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นสีขาวบนลำตัวจะเริ่มหายไป สีจะซีดจาง ขนาดของครีบหลังจะมีขนาดเล็กลงและความยาวลำตัวจะออกไปทางทรงยาวมากกว่าทรงสูง มีความยาวเมื่อโตเต็มที่ได้ถึง 90 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์เฉพาะในแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีนเท่านั้น มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง ปลาหมูกระโดงสูง เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ด้วยเป็นปลาที่มีความสวย ซ้ำยังมีอุปนิสัยเรียบร้อย ไม่ดุร้ายก้าวร้าวเลย และสามารถทำความสะอาดตู้ที่ใช้เลี้ยงได้เป็นอย่างดี ด้วยเป็นปลาที่หากินกับพื้นท้องน้ำ แต่เป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตได้ช้ามาก เพียงแค่ 1–2 นิ้วต่อปีเท่านั้น เป็นปลาที่ยังไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ ต้องรวบรวมพันธุ์ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเท่านั้น การจำแนกเพศ สามารถดูได้ที่เพศผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มขาว ๆ คล้ายสิวบริเวณส่วนหัวและโคนครีบอก เช่นเดียวกับปลาหลายชนิดในวงศ์ Cyprinidae.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาหมูกระโดงสูง
ปลาหมูลาย
ปลาหมูลาย ปลาน้ำจืดในสกุล Syncrossus (/ซิน-ครอส-ซัส/) ในวงศ์ปลาหมู (Botidae) เป็นปลาสกุลที่แยกออกมาจากสกุล Botia เป็นปลาหมูที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีบางชนิดที่พบได้ในตอนเหนือของประเทศอินเดียด้ว.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาหมูลาย
ปลาหลดหิน
ปลาหลดหิน หรือ ปลาไหลมอเรย์ธรรมดา (Common morays) เป็นสกุลของปลาทะเลจำพวกปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae) จัดอยู่ในสกุล Gymnothorax (/จิม-โน-โท-แร็ก/) จัดเป็นปลาไหลแท้ที่อาศัยอยู่ในทะเล โดยหลบซ่อนอยู่ตามโพรงหินปะการัง กินอาหารจำพวกปลา, กุ้ง หรือปู มีฟันและกรามที่แข็งแรง มีขนาดความยาวตั้งแต่ 1.5 เมตร จนถึงขนาดเล็กเพียง 1–2 ฟุต มีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่พบได้ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดสนิทหน้า 110-129, Amphidromous story สุดยอดนักล่า ปลาสองน้ำ คอลัมน์ Wild Ambition โดย ชวิน ตันพิทยคุปต์, กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาหลดหิน
ปลาหางบ่วง
ปลาหางบ่วง (Golden carp, Sucker carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbichthys laevis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเพรียวยาว ส่วนหัวเล็ก ด้านหลังค่อนข้างลึก ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากยื่น มีริมฝีปากหนาอยู่ด้านล่าง มีหนวดสั้น 2 คู่ ตาเล็ก ครีบหลังและครีบหางใหญ่ เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินอมเทาหรือเหลืองอ่อน ที่ด้านข้างลำตัวใกล้ครีบอกมีแต้มเล็ก ๆ สีคล้ำ ครีบมีสีเหลืองอ่อนหรือชมพูเรื่อ ขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีคล้ำ มีขนาดประมาณ 35 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 40 เซนติเมตร นับเป็นปลาเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Barbichthys อาศัยอยู่ในแม่น้ำที่ไหลแรงและลำธารในป่า พบตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำโขง มีพฤติกรรมอพยพย้ายถิ่นเป็นครั้งคราวในฤดูน้ำหลาก โดยอาหารได้แก่ อินทรียสารและตะไคร่น้ำ พบขายเป็นครั้งคราวในตลาดสด นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปัจจุบัน พบได้เฉพาะลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดียวเท่านั้น และเป็นปลาที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว ซึ่งในอดีตจะพบชุกชุมที่แม่น้ำสะแกกรัง.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาหางบ่วง
ปลาหางแข็ง
ปลาหางแข็ง หรือ ปลาแข้งไก่ (Torpedo scad, Hardtail scad, Finny scad, Finletted mackerel scad, Cordyla scad) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Megalaspis มีลำตัวเรียวยาวคล้ายกระสวย หัวค่อนข้างแหลมตากลมโต ปากกว้าง หางยาวเรียวและคอด บริเวณโคนหางมีเกล็ดแข็งที่มีลักษณะคล้ายขาไก่ หรือแข้งไก่ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ครีบหลังและครีบก้นมีครีบฝอย ครีบหูเรียวโค้งคล้ายเคียว ลำตัวสีน้ำเงินปนเขียว ด้านหลังมีสีเขียวเข้ม มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 80 เซนติเมตร และหนักได้ถึง 40.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาหางแข็ง
ปลาหางแข็งบั้ง
ปลาหางแข็งบั้ง หรือ ปลาสีกุนกบ (Yellowtail scad, Banded crevalle, Deep trevally) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Atule มีลำตัวยาว แบนข้าง หัวโต จะงอยปากยาวและแหลม นัยน์ตาโตมีเยื่อไขมันหุ้มอยู่ ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย มีฟันเล็ก บนขากรรไกร เกล็ดบริเวณเส้นข้างลำตัวแข็ง โดยเฉพาะส่วนหางดูเป็นสันแข็งกว่าส่วนอื่น ๆ ครีบหลังมีสองอัน แยกเป็นอิสระจากกัน อันแรกเป็นรูปสามเหลี่ยม อันที่สองตอนหน้าสูงแหลม ตอนท้ายสุดจรดโคนหาง ครีบก้นยาวปลายจรดโคนหาง เช่นกัน ลำตัวด้านบนสีน้ำเงินแกมเขียว ช่วงท้องสีขาว มีแถบสีเทาจาง ๆ พาดตัวลายใหญ่บ้างเล็กบ้างสลับกัน ครีบต่าง ๆ มีสีเหลือง มีความยาวเต็มที่ 30 เซนติเมตร ขนาดโดยเฉลี่ยที่พบ คือ 15-26 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในชายฝั่งและน้ำกร่อยอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ทะเลแดง, หมู่เกาะฮาวาย, แอฟริกา, ซามัว, ตอนเหนือของญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง เนื้อมีรสชาติดี จึงนิยมแปรรูปเป็นปลาเค็ม, ปลากระป๋อง เป็นต้น.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาหางแข็งบั้ง
ปลาหางไหม้
ปลาหางไหม้ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาฉลามหางไหม้ (Bala shark, Burn tail shark, Silver shark, Black tailed shark) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Balantiocheilos (/บา-แลน-ทิ-โอ-ไคล-ออส/) มีรูปร่างคล้ายปลาตามิน (Amblyrhynchichthys truncatus) มีรูปร่างและทรวดทรงที่เพรียวยาว ตาโต ปากเล็ก ขยับปากอยู่ตลอดเวลา ใต้คางมีแผ่นหนังเป็นถุงเปิดออกด้านท้าย ก้านครีบแข็งก้านสุดท้ายของครีบหลังมีขนาดใหญ่ และมีขอบจักเป็นฟันเลื่อย จะงอยปากแหลม มีเยื่อไขมันเป็นวุ้นรอบนัยน์ตา ครีบท้องมีก้านครีบแขนงทั้งหมด 9 ก้าน ไม่มีหนวด มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กสัดส่วนของครีบทุกครีบเหมาะสมกับลำตัว โดยเฉพาะครีบหางซึ่งเว้าเป็นแฉกลึก สีของลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ด้านหลังสีเขียวปนเทา ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้นและครีบหางสีส้มแดงหรือสีเหลืองอมขาว และมีขอบเป็นแถบดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวมาก และกระโดดขึ้นได้สูงจากน้ำมาก มีขนาดโตเต็มราว 20–30 เซนติเมตร.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาหางไหม้
ปลาหิน
ปลาหิน (Stonefishes) เป็นสกุลของปลาทะเลในสกุล Synanceia ในวงศ์ปลาหิน (Synanceiidae) อันดับปลาแมงป่อง (Scorpaeniformes) มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวป้อมเกือบกลม หัวขนาดใหญ่ส่วนหัวมีหนามจำนวนมาก สีลำตัวคล้ำมีลายเลอะ ทำให้แลดูคล้ายก้อนหิน ลำตัวสากและมีหนามเล็ก ๆ หนังหนาและเป็นปุ่ม เกล็ดละเอียด บางชนิดไม่มีเกล็ด ครีบหลังยาว ครีบอกกว้าง มีก้านครีบแข็งขนาดใหญ่ที่ครีบหลัง ครีบอก และครีบท้อง ก้านครีบแข็งมีลักษณะเป็นหนาม ซึ่งก้านครีบนี้มีพิษร้ายแรงมาก โดยต่อมพิษของก้านครีบแข็งอยู่ใต้ชั้นผิวโดยอยู่รอบส่วนกลาง ส่วนปลายของก้านหนามหุ้มห่อด้วยเนื้อเยื่อ พิษจะถูกปล่อยออกเมื่อเยื่อหุ้มหนามฉีกขาด อันตรายเกิดจากการไปสัมผัสถูกก้านครีบแข็งบริเวณต่าง ๆ และหนามบริเวณหัว เนื่องจากปลาหินชอบอยู่นิ่ง ๆ ทำให้ดูคล้ายก้อนหิน อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ หากไปสัมผัสหรือเหยียบได้ พิษมีความรุนแรงมากเมื่อถูกตำหรือบาดจะปวดและบวมทันที ความเจ็บปวดอาจอยู่นานหลายชั่วโมงหรือหลายวัน ในกรณีที่รับพิษจำนวนมากหรือแพ้ ผู้ได้รับพิษอาจมีอาการคอแห้ง ปวดเมื่อยตามข้อต่าง ๆ ซึม เพ้อ ไม่ได้สติ จนกระทั่งเสียชีวิตได้ในที่สุด โดยปลาหินถือว่าเป็นปลาจำพวกหนึ่งที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก ปลาหิน เป็นปลาที่หากินอยู่ตามพื้นทะเล โดยกบดานอยู่กับพื้นนิ่ง ๆ เพื่อรอฮุบเหยื่อซึ่งเป็นอาหารไปทั้งคำ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภาคพื้นอินโด-แปซิฟิก โดยอาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำ หรือตามชายหาดเมื่อน้ำล.
ปลาหูช้าง
ปลาหูช้าง หรือ ปลาค้างคาว (Batfishes) เป็นสกุลของปลาทะเลในสกุล Platax จัดอยู่ในวงศ์ Ephippidae หรือวงศ์ปลาหูช้าง คำว่า Platax มาจากคำว่า "Platys" ซึ่งเป็นภาษากรีก มีความหมายว่า "แบน" หมายถึงรูปร่างที่แบนข้างโดยทั่วไปของปลาสกุลนี้ โดยมีชื่อสามัญที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ปลาค้างคาว" อันเนื่องจากรูปร่างที่แลดูคล้ายค้างคาวมาก โดยเฉพาะเมื่อยามเป็นปลาวัยอ่อน ปลาหูช้าง กระจายพันธุ์อยู่ตามแนวปะการังและซากเรือจมหรือเศษวัสดุต่าง ๆ ในท้องทะเล พบกระจายพันธุ์ในเขตอินโด-แปซิฟิก, ทะเลแดง จนถึงภาคตะวันออกของออสเตรเลีย, ทางเหนือของเกาะริวกิว และพบได้ในมหาสมุทรแอตแลนติก และทะเลแคริบเบียน ปลาหูช้าง ขยายพันธุ์ด้วยการออกไข่แบบปล่อยลอยตามน้ำ เมื่อฟักเป็นตัวอ่อน จะใช้ชีวิตล่องลอยแบบแพลงก์ตอน จนเจริญเติบโตขึ้นมาอีกระดับลงสู่พื้น โดยมากจะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลในเขตที่เป็นรอยต่อระหว่างน้ำจืดและน้ำเค็ม มีรูปร่างลักษณะคล้ายค้างคาวหรือใบไม้สีน้ำตาลแก่มาก บางชนิดเข้ามาอยู่ในแนวปะการัง มีครีบหลังและครีบท้องยาวมาก ลูกปลาหูช้างมักอยู่ตามพื้นด้านนอกแนวปะการังตอนกลางวัน กลางคืนถึงเข้ามาในแนวปะการัง อยู่ตามชายขอบแนวในที่ลึก อยู่นิ่ง ๆ ตามพื้นเพื่อหลบผู้ล่าตอนกลางคืน เนื่องจากเป็นปลาที่หากินในเวลากลางวัน ลูกปลาหูช้างที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายค้างคาว เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามและเลี้ยงเพื่อแสดงตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และนิยมบริโภคกันในท้องถิ่น ทำให้ในปัจจุบัน ปลาหูช้างพบได้น้อยลง แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด ได้แก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาหูช้าง
ปลาหนวดพราหมณ์
ปลาหนวดพราหมณ์ หรือ ปลาหนวดตาแป๊ะ (Threadfins) เป็นสกุลของปลาน้ำกร่อยและน้ำจืดจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลากุเรา (Polynemidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Polynemus (/โพ-ลี-นี-มัส/) เป็นปลาที่พบได้ในน้ำกร่อยและน้ำจืดเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน มีลักษณะโดยรวม คือ ครีบอกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนบนเหมือนครีบปลาทั่วไป แต่ส่วนล่างแบ่งเป็นเส้น ๆ มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ชนิด ตั้งแต่ 3-14 เส้น เป็นปลาที่ผสมพันธุ์และวางไข่ ฟักเป็นตัวในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ อาจพบได้บ้างตามแหล่งน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำหรือชายฝั่ง พบแพร่กระจายพันธุ์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศอินโดนีเซีย มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร สำหรับในชนิดที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ปลาหนวดพราหมณ์เหนือ (P.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาหนวดพราหมณ์
ปลาอกแล
ปลาอกแล หรือ ปลาอกรา หรือ ปลาอกกะแล้ (Herrings) เป็นปลาทะเลสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) จัดเป็นปลาเฮร์ริงจำพวกหนึ่ง ที่จัดอยู่ในสกุล Herklotsichthys มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธาน คือ ลำตัวแบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจำนวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคล้ำหนึ่งจุด ครีบหลัง และครีบหางสีดำคล้ำอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง 18 เซนติเมตร เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยเป็นปลาผิวน้ำ ปลาขนาดเล็กอาจเข้ามาอยู่ใกล้ฝั่งหรือในน้ำกร่อ.
ปลาอมไข่ตาแดง
ปลาอมไข่ตาแดง (Spotted cardinalfish, Pajama cardinalfish, Pyjama cardinalfish) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอมไข่ (Apogonidae) เป็นปลาที่มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5-6 เซนติเมตร โดยปกติแล้วจะพบในทะเลอันดามัน แต่ไม่พบในน่านน้ำไทย พบได้ตั้งแต่ฟิจิ, ฟิลิปปิน, หมู่เกาะริวกิว จนถึงเกรตแบร์ริเออร์รีฟ เป็นปลาที่ไม่สามารถแยกเพศได้เมื่อมองจากลักษณะภายนอก นอกจากตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย เป็นปลาที่มีความสวยงามอีกชนิดหนึ่ง จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว แต่ปลาที่มีขายกันอยู่มักเป็นปลาที่ถูกจับมาจากแหล่งธรรมชาติในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เป็นปลาที่เมื่อเทียบกับปลาอมไข่ครีบยาว (Pterapogon kauderni) แล้ว ถือว่าเลี้ยงง่ายกว่ามาก เพราะราคาถูก และสามารถกินอาหารสำเร็จรูปได้แทบทุกตัว โดยเมื่อลูกปลาฟักออกจากไข่แล้ว พ่อปลาจะคายลูกออกจากปากทันที ลูกปลาแรกฟักจะมีชีวิตเหมือนแพลงก์ตอน และจะเริ่มกินอาหารได้เมื่อมีอายุเข้าวันที่ 2-3 วัน โดยกินโรติเฟอร์ในช่วงแรก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาอมไข่ตาแดง
ปลาอินทรีบั้ง
ปลาอินทรีบั้ง (Narrow-barred Spanish mackerel) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลาอินทรี ในวงศ์ปลาอินทรี หรือปลาทูน่า (Scombridae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาอินทรีชนิดอื่น หรือปลาอินทรีจุด (S.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาอินทรีบั้ง
ปลาอิแกลาเอ๊ะ
ปลาอิแกลาเอ๊ะ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Pseudeutropius (/ซู-ดิว-โทร-เพียส/) เป็นปลาหนังขนาดเล็ก พบอาศัยครั้งแรกบนเกาะบอร์เนียวและสุมาตรา ลำตัวเรียวยาวและแบนข้าง แต่หัวเป็นรูปกระสวย มีหนวด 4 คู่ ระหว่างจมูกคู่หน้ากับคู่หลัง 1 คู่ ริมฝีปากบน 1 คู่ ริมฝีปากล่าง 1 คู่ และที่คาง 1 คู่ นัยน์ตาโตมีบางส่วนอยู่ใต้มุมปาก ครีบหลังสั้นมีเงี่ยงปลายแหลมขอบจักเป็นฟันเลื่อย 1 อัน และมีก้านครีบแขนง 5-6 ก้าน ครีบไขมันเล็ก ครีบก้นมีฐานยาว ครีบอกมีเงี่ยงแข็งและขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบหางเว้าเป็นแฉกลึก มีการจำแนกไว้ทั้งหมด 6 ชนิด กระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย ได้แก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาอิแกลาเอ๊ะ
ปลาอ้ายอ้าว
ปลาอ้ายอ้าว หรือ ปลาซิวอ้าว หรือ ปลาซิวควาย (Apollo sharks) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Luciosoma (/ลิว-ซิ-โอ-โซ-มา/) มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาวคล้ายแท่งดินสอ ไม่มีเข็มก้านครีบแรก มีก้านครีบอ่อน 7 ก้าน ก้านครีบก้นมี 6 ก้านครีบ ปากกว้างโดยที่มุมปากยื่นยาวไปจนอยู่ในระดับใต้ตา ครีบหลังอยู่ในส่วนครึ่งหลังของลำตัว มีจุดเด่นคือ มีลายแถบสีดำข้างลำตัว ซึ่งแตกต่างออกไปตามชนิด ขนาดโดยเฉลี่ย โตเต็มที่ประมาณ 25-30 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ กินอาหารโดยล่าปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร รวมถึงแมลงด้วย พบกระจายพันธุ์ในประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา จนถึงเกาะบอร์เนียวและเกาะชวา พบด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาอ้ายอ้าว
ปลาจะละเม็ด
วามหมายอื่นดูที่: จะละเม็ด ปลาจะละเม็ด (Pomfrets) เป็นสกุลของปลาทะเลในสกุล Pampus (/แพม-พัส/) ในวงศ์ปลาจะละเม็ด (Stromatidae) มีรูปร่างโดยรวม คือ รูปร่างป้อม ค่อนข้างสั้น ลำตัวแบนข้างมาก หัวเล็กมน ปากเล็ก เกล็ดเล็ก บริเวณคอดหางไม่มีสันคม เป็นปลาที่นิยมบริโภค เนื้อมีรสชาติดี จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญจำพวกหนึ่ง มีประเทศไทยพบ 2 ชน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาจะละเม็ด
ปลาจะละเม็ดดำ
ปลาจะละเม็ดดำ (Black pomfret) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Parastromateus มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาจะละเม็ดขาว (Pampus argenteus) ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลาจะละเม็ด (Stromateidae) ต่างกันที่มีสีและคอดหางของปลาจะละเม็ดดำจะเป็นสันแข็ง ครีบหางใหญ่และเว้าเล็กน้อย ครีบอกยาวเรียวคล้ายขนของหางไก่ตัวผู้ ลำตัวมีสีเทาปนน้ำตาล ของครีบหลัง เมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อนจะมีครีบท้อง และครีบหางมีสีดำ มีขนาดโตเต็มที่ได้ 75 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยทั่วไปประมาณ 30 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูง อาศัยอยู่ในชายฝั่ง, แนวปะการัง และปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อย ในเขตอินโด-แปซิฟิก, แอฟริกาตะวันออก, ทะเลญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ปลาขนาดเล็กซึ่งยังปรากฏครีบท้องชัดเจน มีชื่อเรียกอื่น อีก เช่น "ปลาโอวเชีย" (黑色鲳) ในภาษาแต้จิ๋ว เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่รสชาติสู้ปลาจะละเม็ดขาวไม่ได้ จึงมีราคาขายที่ถูกกว.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาจะละเม็ดดำ
ปลาจาด
ปลาจาด เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Poropuntius (/พอร์-โอ-พุน-ชัส/) ความเป็นมาของปลาในสกุลนี้เริ่มจากแม็กซ์ วีลเฮม คาร์ล เวบเบอร์ และลีฟาน เฟอดินานด์ เดอ โบฟอร์ต ได้ตั้งสกุล Lissocheilus (ปัจจุบันถูกยกเลิกไปแล้ว) ขึ้นในปี ค.ศ.
ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์
ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ (Freshwater pipefish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ม้าน้ำและปลาจิ้มฟันจระเข้ (Syngnathidae) วงศ์ย่อย Syngnathinae มีรูปร่างแปลกไปจากปลาทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายกิ่งไม้ สัณฐานเป็นเหลี่ยม เกล็ดได้เปลี่ยนรูปกลายเป็น แผ่นกระดูกแข็ง เป็นข้อรอบตัว จะงอยปากยื่นแหลม ปลายปากคล้ายปากแตร ไม่มีฟัน ใช้ปากดูดอาหาร ลำตัวมีสีน้ำตาลเขียว และมีลายดำเป็นวงทั่วตัว ว่ายน้ำเชื่องช้า อาหารได้แก่ แมลงน้ำ, ลูกกุ้ง, ลูกปลาขนาดเล็ก และแพลงก์ตอนสัตว์ มีความยาวประมาณ 16-47 เซนติเมตร ปลาในวงศ์นี้ โดยมากเป็นปลาทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด มีลักษณะเฉพาะ คือ เมื่อวางไข่ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายอุ้มท้องโดยตัวเมียจะวางไข่ไว้ที่หน้าท้องตัวผู้ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลจนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัว ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ พบอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ ในแม่น้ำลำคลองและหนอง, บึง ทางน้ำติดต่อกับแม่น้ำ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย สำหรับภาคใต้พบมากในส่วนของทะเลน้อยของทะเลสาบสงขลา โดยมักหลบซ่อนอยู่ใต้กอพืชน้ำหรือผักตบชวา ไม่ใช้สำหรับการบริโภค แต่ในสูตรยาจีน ใช้ตากแห้งเพื่อเป็นสมุนไพรทำยาเช่นเดียวกับม้าน้ำ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ก็เป็นชนิดที่เลี้ยงยากมาก เนื่องจากปากมีขนาดเล็ก ผู้เลี้ยงจึงหาอาหารให้กินได้ลำบาก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์
ปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่าง
ปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่าง (Scribbled pipefish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ (Syngnathidae) เป็นปลาจิ้มฟันจระเข้ชนิดหนึ่ง มีลำตัวเรียวยาว จะงอยปากสั้น ตาโต ครีบหลังอยู่ตอนกลางลำตัว ครีบหางเล็กปลายมน ครีบอกเล็ก ตามลำตัวเป็นสันเล็ก ๆ เป็นปล้องตลอดลำตัวไปจนโคนหาง มีลำตัวสีเทาอมเขียวหรือสีฟ้า และมีลายเส้นเป็นสีคล้ำหรือดำ ครีบต่าง ๆ ใสโปร่งแสง ครีบหางสีแดงเรื่อ ๆ มีความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร พบยาวเต็มที่ได้ถึง 19.8 เซนติเมตร ในตัวผู้ อาศัยอยู่ตามกอสาหร่ายหรือกองหินใต้น้ำ หรือแนวปะการัง ในแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่แอฟริกาตะวันออก จนถึงวานูอาตู ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จัดเป็นปลาที่พบได้ไม่บ่อยนัก เป็นปลาที่กินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร ตัวผู้จะเป็นฝ่ายฟักไข่โดยติดไว้ที่หน้าท้องเป็นแพ โดยทุก ๆ เช้า ตัวเมียที่มีไข่เต็มท้องจะออกมาจากที่อาศัยเพื่อว่ายคลอเคลียกับตัวผู้เพื่อทำความคุ้นเคย ทั้งคู่จะว่ายพันกันไปมา และตัวผู้จะใช้โอกาสนี้ย้ายไข่ของตัวเมียมาไว้ที่หน้าท้องของตัวเอง โดยไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัว 10 ตัว ซึ่งตัวเมียสามารถผลิตไข่ชุดใหม่ได้เลยภายใน 20 วัน ดังนั้นปีหนึ่ง ๆ ปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่างจึงสามารถผลิตลูกได้เยอะมาก นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่าง
ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจใบไม้
ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจใบไม้ (Green ghost pipefish, Bluefinned ghost pipefish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ (Solenostomidae) มีจะงอยปากยาว ลำตัวแบนข้างเล็กน้อยคล้ายปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ (S.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจใบไม้
ปลาจิ้มฟันจระเข้เขียว
ปลาจิ้มฟันจระเข้เขียว หรือ ปลาจิ้มฟันจระเข้ท้องคม (Alligator pipefish, Horned pipefish, Twobarbel pipefish, Spiraltail pipefish) เป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง จำพวกปลาจิ้มฟันจระเข้ (Syngnathinae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Syngnathoides ลำตัวเป็นปล้อง 15-18 ปล้อง มีปล้องส่วนหาง 40-45 ปล้อง ทั้งสันส่วนบนและส่วนล่างต่อเนื่องกับสันของส่วนหางที่อยู่ในแนวเดียวกัน ส่วนท้ายของสันด้านข้างลำตัวโค้งขึ้นสู่ด้านหลังและสิ้นสุดใกล้กับฐานครีบหลัง ลำตัวแบนจากบนลงล่าง ส่วนกลางของลำตัวกว้างที่สุด ปลายหัวตามแนวกลางมีสันแข็งไม่สูงและขอบเรียบ สันแข็งบริเวณท้ายทอยมักมีหนามแหลม ๆ เล็ก ๆ บนขอบ จุดกำเนิดของครีบหลังอยู่ตรงปล้องลำตัว ไม่มีครีบหาง ปลายหางสามารถม้วนงอได้ มีสีลำตัวสีเขียวจนถึงสีน้ำตาลหรือสีเทา และมีแต้มสีเข้มที่ไม่แน่นอนตางกันไปตามแต่ละตัว มีความยาวเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามกอสาหร่ายและหญ้าทะเล โดยมักจะเอาส่วนหางเกาะเกี่ยวกับใบของพืชเหล่านี้ไม่ให้ไหลไปกับกระแสน้ำ แล้วตั้งตัวเป็นมุมฉากเพื่อหลีกเลี่ยงศัตรูผู้ล่าและดักจับแพลงก์ตอนสัตว์กินเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ปัจจุบัน เป็นปลาที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามตามตู้ปลาหรือในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาจิ้มฟันจระเข้เขียว
ปลาจิ้งจก
ปลาจิ้งจก (Gecko fish, Lizard fish) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์ย่อย Balitorinae ในวงศ์ใหญ่ Balitoridae ใช้ชื่อสกุลว่า Homaloptera (/โฮ-มา-ล็อพ-เทอ-รา/) มาจากภาษากรีกคำว่า "Homalos" หมายถึง "แบน" กับคำว่า "pteron" หมายถึง "ปีก, ครีบ" มีลักษณะสำคัญ คือ มีเกล็ดเล็กสามารถมองด้วยตาเปล่าเห็น อาศัยอยู่ตามลำธารบนภูเขาที่มีกระแสน้ำเชี่ยว ลำตัวเรียวยาว ใต้หัวและลำตัวตอนหน้าแบนราบ จะงอยปากกลมมน นัยน์ตาอยู่สูง จมูกมีข้างละ 2 คู่ จมูกแต่ละคู่มีแผ่นเนื้อเยื่อคั่น ปากโค้งเป็นรูปวงเดือน มุมปากแคบ ริมฝีปากหนา ขากรรไกรหนาและมีขอบแข็ง หน้าจะงอยปากมีหนวด 2 คู่ และที่มุมปาก 1 คู่ รวมเป็น 3 คู่ ครีบหลังสั้นอยู่ตรงข้ามกับครีบท้อง ครีบอกและครีบท้องอยู่ในแนวเดียวกัน ครีบอกมีก้านครีบเดี่ยว 2-5 ก้าน และก้านครีบแขนง 8-12 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบ 8-12 ก้าน ครีบหางเว้าลึก มีเส้นข้างลำตัวปรากฏให้เห็น ช่องเหงือกแคบและอยู่หน้าครีบอก สามารถแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ดังนี้.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาจิ้งจก
ปลาทรงเครื่อง (สกุล)
ปลาทรงเครื่อง (Epalzeorhynchos) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธาน คือ เป็นปลาขนาดเล็ก รูปร่างเพรียวทรงกระบอก แบนข้างเล็กน้อย หัวเป็นทรงกรวย จะงอยปากมีติ่งเนื้อยื่นออกมาสองข้าง ปลายติ่งเนื้อนี้สามารถกระดิกได้ หนังที่จะงอยปากติดเป็นแผ่นเดียวกับริมฝีปากบน มีขอบหยักเป็นชายครุย และคลุมช่องปากในขณะที่หุบปาก มีหนวด 1-2 คู่ ช่องเหงือกแคบอยู่ค่อนไปทางท้อง เยื่อขอบกระดูกแก้มติดต่อกับกล้ามเนื้อคาง มีฟันที่คอ 3 แถว ครีบหลังสั้นไม่มีก้านครีบแข็ง จุดเริ่มของครีบหลังอยู่ล้ำหน้ากึ่งกลางลำตัว และมีก้านครีบแขงประมาณ 10-13 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน เป็นปลาที่มักหากินอยู่ตามพื้นท้องน้ำ โดยแทะเล็มกินตะไคร่น้ำ, สาหร่าย หรืออินทรียสารต่าง ๆ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและบริโภคกันเป็นปลาเศรษฐกิจ ปลาในสกุลนี้มีความคล้ายคลึงกับปลาในสกุล Crossocheilus, Garra และ Labeo มาก โดยถือว่าอยู่วงศ์ย่อยหรือเผ่าเดียวกัน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาทรงเครื่อง (สกุล)
ปลาทู
ปลาทู, ปลาทูตัวสั้น หรือ ปลาทูสั้น เป็นปลาทูชนิดที่ชาวไทยนิยมบริโภคมากที.
ปลาทูน่าแท้
ปลาทูน่าแท้ (true tuna, real tuna) เป็นสกุลของปลาทะเลขนาดใหญ่สกุลหนึ่ง จำพวกปลาทูน่า ใช้ชื่อสกุลว่า Thunnus จัดอยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) ปลาทูน่าแท้เป็นปลาที่มีวิวัฒนาการชั้นสูง ทำให้มีรูปร่างปราดเปรียวเพรียวยาวเหมือนตอร์ปิโด ลำตัวสีเงินแวววาว ถือเป็นปลาที่เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีเหงือกมีขนาดใหญ่ ร่างกายมีระบบปรับอุณหภูมิที่ดีเยี่ยม สามารถดูดซึมออกซิเจนไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงสูง และมีกลไกการทำงานของหัวใจที่ดีเยี่ยม มีครีบแข็งทรงโค้งทั้งครีบทวารและครีบหลังอันที่สอง ส่วนครีบหางที่ใช้แหวกว่ายหักเลี้ยวได้อย่างว่องไวเป็นตัวขับเคลื่อนไปข้างหน้า ด้วยสรีระดังกล่าว จึงทำให้ปลาทูน่าแท้เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วมากกลุ่มหนึ่งในมหาสมุทร โดยสามารถทำความเร็วไปข้างหน้าได้ราว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสูงถึงเกือบ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 70-74 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นรองเพียงปลากระโทงแทง ซึ่งเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลกเท่านั้นซึ่งคำว่า Thunnus นั้นมาจากคำ 2 คำในภาษาละตินหรือภาษากรีกโบราณคำว่า θύννος (thýnnos) แปลว่า “ปลาทูน่า” และ θύνω (thynō) แปลว่า "ที่พุ่ง; ที่โผ" ทั้งหมดเป็นปลาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นปลาเศรษฐกิจ ทั้งในการประมงและตกเป็นเกมกีฬา มีราคาซื้อขายกันที่สูงมาก และสามารถปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ ได้หลากหลายทั้งรับประทานเนื้อสด ๆ แบบปลาดิบของญี่ปุ่น และปรุงเป็นเมนูอาหารต่าง.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาทูน่าแท้
ปลาทูแขก
ปลาทูแขก (mackerel scad, round scad, horse mackerel) เป็นปลาทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Decapterus (/ดี-แคป-เท-รัส/) จัดอยู่ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) มีรูปร่างเรียวยาว แต่ตัวกลมเนื้อหนาแน่น มีเกล็ดหนามแข็งที่โคนหางอันเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัวของปลาในวงศ์ปลาหางแข็ง ดูเผิน ๆ คล้ายกับปลาลัง (Rastrelliger kanagurta) หรือปลาทูปากจิ้งจก (R.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาทูแขก
ปลาท่องเที่ยว
ปลาท่องเที่ยว เป็นสกุลของปลาทะเลจำพวกปลาตีน ในสกุล Parapocryptes พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย โดยคำว่า Parapocrytes มาจากภาษากรีกคำว่า παρά (para) แปลว่า "ใกล้", από (apo) แปลว่า "ระยะทาง" และ kρυπτος (kryptos) แปลว่า "ซ่อน" ขณะที่ชื่อสามัญในประเทศไทย "ปลาท่องเที่ยว" เป็นชื่อในภาษาถิ่นของจังหวัดสงขลา ที่มาจากพฤติกรรมของปลาสกุลนี้ที่ไม่มักไม่ค่อยอยู่ประจำที.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาท่องเที่ยว
ปลาขาไก่
ปลาขาไก่ (blue sheatfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างเพรียว ลำตัวแบนข้าง ส่วนหัวสั้น ปากเล็ก ตาโตอยู่ต่ำกว่ามุมปาก ส่วนหลังไม่ยกสูง มีหนวดยาว 2 คู่ หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณขอบฝาปิดเหงือก หนวดใต้คางสั้น ครีบหลังเล็กมากเห็นเป็นเส้นสั้น ๆ ครีบอกใหญ่มีก้านแข็งที่ยาวเกือบเท่าความยาวของครีบ ครีบก้นยาว มีหางเว้าตื้น ตัวมีสีเหลืองอ่อนเหลือบเขียว ตัวค่อนข้างใส ครีบสีจาง ขอบครีบก้นมีสีคล้ำเช่นเดียวกับครีบหาง ครีบอกในตัวผู้ที่โตเต็มวัยมีสีคล้ำ มีความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 20 เซนติเมตร อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ มักย้ายถิ่นขึ้นมาในบริเวณน้ำหลากในฤดูฝน โดยกินอาหารได้แก่ แมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแม่น้ำของทุกภาค ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน บริโภคโดยการปรุงสด หรือนำมาทำเป็นปลาแห้ง ปลารมควัน นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย แค่ค่อนข้างเลี้ยงยาก เนื่องจากเป็นปลาขี้ตกใจ ตายง่าย ปลาขาไก่ มีชื่อเรียกที่เรียกกันหลากหลายแตกต่างกันออกไป เช่น "ปลาเพียว" ที่ภาคอีสาน "ปลากะปิ๋ว" ที่ จังหวัดปราจีนบุรี "ปลาปีกไก่" หรือ "ปลานาง" หรือ "ปลาดอกบัว" ในแถบแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูล หรือบางครั้งเรียก "ปลาหางไก่" หรือ "ปลาไส้ไก่" เป็นต้น ซึ่งนอกจากปลาชนิดนี้แล้ว ชื่อเหล่านี้ยังเป็นชื่อที่เรียกปลาชนิดอื่น ๆ ในสกุลเดียวกันที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอีกด้ว.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาขาไก่
ปลาขี้ตังเบ็ด
ปลาขี้ตังเบ็ด หรือ ปลาเซอร์เจี้ยน (Lancetfish, Surgeonfish, Tang) เป็นปลาทะเลกลุ่มหนึ่ง ในสกุล Acanthurus (/อะ-แคน-ทู-รัส/) ในวงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด (Acanthuridae) เป็นปลาที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในวงศ์นี้ จัดเป็นสกุลต้นแบบของวงศ์นี้ โดยรวมแล้วมีขนาดกว่าสกุลอื่น ๆ มักกินสาหร่ายเส้นใยเป็นอาหาร มักอาศัยรวมกันเป็นฝูงใหญ่ บางครั้งจะว่ายรวมตัวกันกับปลาในวงศ์อื่น เช่น วงศ์ปลานกแก้ว (Scaridae) พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแนวปะการัง ของทะเลและมหาสมุทรแถบอินโด-แปซิฟิก มีขนาดตั้งแต่ 15-50 เซนติเมตร (5.9-19.7 นิ้ว) เป็นปลาที่มีสีสันหรือลวดลายสดใสสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยมีชื่อเรียกเฉพาะในวงการว่า "ปลาแทงค์" นอกจากนี้แล้ว ปลาในสกุลนี้ บริเวณโคนหางยังมีหนามแหลมที่เมื่อสัมผัสกับมือเปล่า ๆ ทำให้เกิดบาดแผลได้ และหนามดังกล่าวยังมีพิษ พิษของปลาขี้ตังเบ็ดมีฤทธิ์คล้ายกับพิษของกลุ่มปลากะรังหัวโขนหรือปลาสิงโต แต่มีความรุนแรงน้อยกว.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาขี้ตังเบ็ด
ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า
ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า หรือชื่อที่นิยมเรียกกันในวงการปลาสวยงามว่า ปลาบลูแทง (blue tang, regal tang, palette surgeonfish, royal blue tang, hippo tang, flagtail surgeonfish, blue surgeonfish, Pacific regal blue tang) เป็นปลาทะเลที่อาศัยตามแนวปะการังที่มีสีสันสดใส จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม จัดอยู่ในวงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด (Acanthuridae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล ParacanthurusFroese, Rainer, and Daniel Pauly, eds.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า
ปลาข้าวเม่า
ำหรับปลาข้าวเม่าที่เป็นปลาซิวหรือปลาแปบ ดูที่: ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว) ปลาข้าวเม่า (Asian glassfish) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาแป้นแก้ว (Ambassidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Parambassis (/พา-แรม-บาส-ซิส/) ปลาในสกุลนี้มีเกล็ดค่อนข้างเล็ก มีเกล็ดบนเส้นข้างลำตัวประมาณ 40-60 แถว บนกระดูกแก้มมีเกล็ด 4-7 แถว ไม่มีฟันที่ปลายลิ้น กระดูกแก้ม 2 ชิ้นที่อยู่ใกล้ตามีขอบจักเป็นฟันเลื่อย ลำตัวบางใส ครีบทุกครีบใส ในบางชนิดอาจมีตัวเป็นสีสันต่าง ๆ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง กิน แมลงและแพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์น้ำขนาดเล็กรวมทั้งตะไคร่น้ำเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 2-7 เซนติเมตร โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด พบในออสเตรเลีย คือ P.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาข้าวเม่า
ปลาข้างเหลือง
ปลาข้างเหลือง หรือ ปลาสีกุนข้างเหลือง (Yellow-stripe scad, Yellow-stripe trevally, Thinscaled trevally) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Selaroides มีรูปร่างค่อนข้างเรียวยาว ลักษณะคล้ายกับปลาทู แต่ปลาข้างเหลืองจะมีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากปลาทูอย่างชัดเจนคือ ลำตัวจะมีแถบสีเหลืองเป็นแนวยาวจากหัวจนถึงโคนหาง ลำตัวแบนมีส่วนโค้งทางด้านหลังและด้านท้องเท่ากัน นัยน์ตาโต ปากเล็ก คอดหางเรียว ครีบหูยาวเรียวปลายแหลม ครีบหลังมี 2 อัน ครีบหลังและครีบก้นยาว เส้นข้างตัวโค้งตามแนวสันหลังและเป็นเส้นตรงบริเวณตอนกลางครีบหลังอันที่สอง และมีจุดดำอยู่เหนือครีบหูตรงขอบแก้มด้านบน ความยาวตลอดลำตัวประมาณ 9-16 เซนติเมตร เป็นปลาที่กินพืชและสัตว์ขนาดเล็กที่ล่องลอยในน้ำ อาศัยอยู่เป็นฝูง พบในทุกระดับของทะเลเขตร้อน แถบอินโด-แปซิฟิก ถึงอ่าวเปอร์เซียจนถึงภาคตะวันตกของวานูอาตูและนิวแคลิโดเนีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ ใช้ในการบริโภค ปลาข้างเหลือง นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อเรียก ๆ อื่น เช่น "ปลาข้างลวด" หรือ"ปลากิมซัว".
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาข้างเหลือง
ปลาดอกหมาก
ำหรับปลาดอกหมากที่เป็นปลาน้ำจืด ดูที่: ปลาดอกหมาก (น้ำจืด) ปลาดอกหมาก (Mojarra, Silver-biddy) เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาดอกหมาก (Gerreidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gerres มีลำตัวสั้นป้อม แบนข้าง แลดูคล้ายปลาแป้น ต่างกันตรงที่มีเกล็ดใหญ่ไม่หลุดง่าย ส่วนท้ายทอยไม่มีกระดูกแข็งโผล่ บางชนิดมีก้านครีบหลังอันแรก ๆ ยาวเป็นเส้น ด้านหลังสีนํ้าตาลอมเทา ด้านข้างและท้องสีเงิน มักมีจุดสีเข้มเป็นดอกดวงเรียงลงมาจากหลังหลายแนว อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่กระจายพันธุ์ตามชายฝั่งหรือปากแม่น้ำของมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงมหาสมุทรแอตแลนติก สามารถพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยและน้ำจืด จำแนกได้ดังนี้.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาดอกหมาก
ปลาดัก
ปลาดัก (Blackskin catfish) ปลาดุกชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clarias meladerma อยู่ในวงศ์ปลาดุก (Clariidae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาดุกด้าน (C.
ปลาดัง
ปลาดัง ชื่อสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Hemisilurus (/เฮม-อิ-ซิ-ลู-รัส/) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาในสกุล Ceratoglanis ซึ่งเคยถูกจัดให้อยู่ในสกุลเดียวกันมาก่อน แต่ทว่าปลาในสกุลปลาดังนั้น จะมีความลาดที่ส่วนหลังหลังจากหัวสูงกว่า หนวดมีขนาดยาวกว่าและมีพฤติกรรมกระดิกหนวดเพื่อช่วยในการหาอาหารได้เร็วน้อยกว่าปลาสกุล Ceratoglanis มีความยาวตั้งแต่ 50–80 เซนติเมตร โดยที่คำว่า Hemisilurus นั้นมาจากภาษากรีก ที่หมายถึง "ครึ่ง" (ημι) ของ "ปลาเนื้ออ่อน" (silurus) พบทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก.
ปลาดุก
ปลาดุก (Walking catfishes) เป็นสกุลของปลาหนังน้ำจืดในสกุล Clarias (/คลา-เรียส/) ในวงศ์ Clariidae โดยคำว่า Clarias มาจากภาษากรีกคำว่า chlaros หมายถึง "มีชีวิต" มีความหมายถึง การที่ปลาสกุลนี้สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้บนบกหรือสภาพที่ขาดน้ำ มีการแพร่กระจายพันธุ์ในน้ำจืดและน้ำกร่อยตามแหล่งน้ำของทวีปเอเชียและแอฟริกา เป็นปลาไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว มีหัวที่แบนและแข็ง มีหนวดยาวแปดนิ้ว มีครีบหลังและครีบก้นยาวเกินครึ่งของความยาวลำตัว จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ล้ำหน้าจุดเริ่มต้นของครีบท้อง ครีบหลังไม่มีเงี่ยงแข็ง ไม่มีครีบไขมัน ครีบหางมนกลม ครีบทั้งหมดเป็นอิสระจากกัน สามารถหายใจและครีบคลานบนบกได้เมื่อถึงฤดูแล้ง เป็นปลาวางไข่ เป็นปลากินเนื้อโดยเฉพาะเมื่อตัวโตเต็มที่ชอบกินปลาอื่นที่ตัวเล็กกว่าเป็นอาหาร รวมถึงกินซากพืชและซากสัตว์อีกด้วย เป็นปลาที่รู้จักกันดีในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจ ที่นิยมบริโภคกันโดยเฉพาะในทวีปเอเชี.
ปลาดุกมูน
ปลาดุกมูน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bagrichthys obscurus อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagridae) มีส่วนหัวสั้น จะงอยปากเล็ก ตาเล็กมาก มีหนวดสั้น 4 คู่ คู่ที่อยู่ด้านล่างจะเป็นเส้นแบนบิดเป็นเกลียว ริมฝีปากเล็กเป็นจีบ ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ส่วนหลังยกสูง ครีบหลังสูง ครีบไขมันยาวมาก ครีบหางเว้าลึก ครีบหลังยกสูงและครีบอกแข็งเป็นก้านแข็งปลายคม ตัวมีสีคล้ำหรือน้ำตาลอ่อน ด้านท้องสีจาง ปลาวัยอ่อนมีแถบเฉียงสีจางพาดขวางลำตัว ครีบสีจาง หางใส มีขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุด 30 เซนติเมตร พบชุกชุมในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำบางปะกง, แม่น้ำโขง มีพฤติกรรมมักหากินบริเวณท้องน้ำที่มีน้ำขุ่น วางไข่ในฤดูฝน นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด เนื้อมีรสชาติดี อร่อย มีราคาสูง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ปลาดุกมูน ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า "ปลาแขยงหนู", "ปลาแขยงหมู", "ปลากดหมู" หรือ "ปลาแขยงดาน" เป็นต้น.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาดุกมูน
ปลาคาร์ปเลต
ปลาคาร์ปเลต (Carplet) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในสกุล Amblypharyngodon จัดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาซิวจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดียและเมียนมา ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว โดยที่ชื่อสกุลนั้นมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า ἀμβλύς (amblús) หมายถึง "ทื่อ", φάρυξ (pháruks) หมายถึง "ลำคอ" และ ὀδών (odṓn) หมายถึง "ฟัน" โดยมีความหมายถึง รูปร่างที่แบนหรือเว้าของฟันในปลาสกุลนี้.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาคาร์ปเลต
ปลาค้าวขาว (สกุล)
ปลาค้าวขาว หรือ ปลาเค้าขาว เป็นสกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในอันดับปลาหนังของวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลเป็นภาษาละตินว่า Wallago มีรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวยาว ลำตัวที่อยู่ค่อนไปทางหางมีลักษณะแบนข้างมาก ส่วนหัวมีขนาดใหญ่และแบน ปากกว้าง ภายในมีฟันซี่เล็ก ๆ อยู่ในขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง มีหนวด 2 คู่ โดยคู่ที่อยู่มุมปากมีลักษณะเรียวยาว ส่วนคู่ที่ใต้คางจะสั้นและเล็กมาก มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบก้นใหญ่และยาวจรดครีบหาง ขอบปลายหางด้านบนจะใหญ่กว่าด้านล่าง พบกระจายพันธุ์โดยทั่วไปตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงแหลมมลายู มีอุปนิสัยคือมักอยู่นิ่ง ๆ กับพื้นน้ำ กินอาหารจำพวกปลาขนาดเล็กกว่า และออกหากินในเวลากลางคืน ปลาค้าวขาวจัดเป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ ที่พบได้ในทวีปเอเชีย และถือว่าใหญ่เป็นอันดับสองรองจากสกุล Silurus ที่พบได้ในทวีปยุโรป โดยมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร ปัจจุบันพบว่ามีปลาทั้งหมด 2 ชนิดในสกุลนี้ ได้แก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาค้าวขาว (สกุล)
ปลาตะกรับห้าแถบ
ปลาตะกรับห้าแถบ หรือ ปลาสลิดหินลายบั้ง หรือ ปลาตะกรับเขียวเหลืองหรือปลานายสิบอินโดแปซิฟิก (Indo-Pacific sergeant) เป็นปลาในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae).
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาตะกรับห้าแถบ
ปลาตะลุมพุก
ทความนี้หมายถึงปลา ส่วนตะลุมพุกในความหมายอื่นดูที่: ตะลุมพุก ปลาตะลุมพุก หรือ ปลากระลุมพุก หรือ ปลาหลุมพุก (ใต้) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่เข้ามาวางไข่ในน้ำจืด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tenualosa toli ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae).
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาตะลุมพุก
ปลาตะลุมพุก (สกุล)
ปลาตะลุมพุก (Shads; 托氏鰣; แต้จิ๋ว: ชิกคั่กฮื้อ) เป็นสกุลของปลาทะเลและปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Tenualosa (/เท-นู-อะ-โล-ซา/) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด ได้แก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาตะลุมพุก (สกุล)
ปลาตะคอง
ระวังสับสนกับ: ปลาตะคองจุดเหลือง ปลาตะคอง หรือ ปลาตะคองเหลือง หรือ ปลาทูทอง (Golden trevally, Golden toothless trevally, Yellow jack) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Gnathanodon มีลำตัวด้านข้างแบนข้างมาก ลักษณะลำตัวค่อนไปทางยาวแบนคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เกล็ดมีขนาดเล็ก ใต้ท้องไม่มีเกล็ด ในปลาวัยอ่อนมีสีเหลืองทอง มีแถบสีดำเล็ก ๆ พาดตามแนวตั้ง ซึ่งจะค่อย ๆ ลดจำนวนและจางลงเมื่อปลาโตขึ้น หัวมีลักษณะกลมป้าน จะงอยปากกลมมน ปากกว้าง ไม่มีฟัน ครีบทุกครีบเป็นสีเหลือง ปลายครีบสีดำ ขนาดโดยทั่วไปประมาณ 50–70 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุด 120 เซนติเมตร อาศัยอยู่เป็นฝูงในแนวปะการังและกองหิน พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งแต่ชายฝั่งแคลิฟอร์เนียจนถึงเอกวาดอร์, มหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ตลอดจนการเลี้ยงดูไว้ดูเล่นตามบ้าน โดยเฉพาะในลูกปลาที่มีแถบสีดำ เพราะมีสีสันสวยงามและมีความแวววาวบนลำตัว อีกทั้งสามารถเลี้ยงในน้ำที่มีสภาพเป็นน้ำกร่อย ที่มีปริมาณความเค็มต่ำได้ โดยจัดเป็นปลาน้ำกร่อยที่เลี้ยงได้ง่ายมากอีกชนิดหนึ่ง.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาตะคอง
ปลาตะโกกหน้าสั้น
ปลาตะโกกหน้าสั้น เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Albulichthys มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาตะโกก (Cyclocheilichthys spp.) แต่มีส่วนหน้าที่สั้น หัวเล็ก ตาโต ปากเล็กสั้นมน ลำตัวสีเงินวาวอมเหลือง ครีบสีเหลือง ครีบหลังสั้น ครีบอก ครีบท้อง และครีบก้นเล็ก ครีบหางเว้าลึกสีส้มหรือสีแดง และมีขอบสีคล้ำ กินอาหารได้แก่ อินทรียสารหรือสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก มีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 15-35 เซนติเมตร ปัจจุบันเป็นปลาที่มีสถานะภาพใกล้สูญพันธุ์แล้ว เนื่องจากเป็นปลาที่พบได้เฉพาะลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาตะโกกหน้าสั้น
ปลาตะเพียนลายหมากรุก
ปลาตะเพียนลายหมากรุก (Checker barb, Checkered barb, Checkerboard barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ถูกบรรยายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกเมื่อปี..
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาตะเพียนลายหมากรุก
ปลาตะเพียนทราย
ปลาตะเพียนทราย หรือ ปลาขาวนา ในภาษาอีสาน (Swamp barb) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาตะเพียนขาว (Barbonymus gonionotus) ซึ่งเดิมเคยอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ลำตัวป้อมกว่า หัวมีขนาดเล็ก ปากเล็ก มีหนวด 1 คู่ ลำตัวสีเงินเทา ครีบหลังมีประสีคล้ำ ก้านครีบหลังอันใหญ่มีขอบด้านท้ายเรียบ ครีบหางเว้าลึก ก้านครีบหลังอันใหญ่มีขอบด้านท้ายเรียบ ครีบหางเว้าลึก โคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ในฤดูผสมพันธุ์แก้มจะมีแต้มสีส้มอ่อน มีขนาดความยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร มีพฤติกรรมรวมฝูงกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามแหล่งน้ำนิ่งที่มีพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอน, สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก และพืชน้ำ จัดเป็นปลาที่พบชุกชุมตามหนองบึง, ทะเลสาบ, อ่างเก็บน้ำ, ลำห้วย และแม่น้ำต่าง ๆ ในภาคกลาง, ภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ในลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย จนถึงเกาะชวา ในอินโดนีเซี.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาตะเพียนทราย
ปลาตะเพียนขาว
ปลาตะเพียนขาว หรือ ปลาตะเพียนเงิน หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาตะเพียน (Java barb, Silver barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์ปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน ภาคอีสานเรียกว่า "ปลาปาก" ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย, บอร์เนียว, อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 เซนติเมตร (พบใหญ่ที่สุด 90 เซนติเมตร น้ำหนัก 13 กิโลกรัม ที่มาเลเซีย) พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นปลากินพืช, แมลง และสัตว์หน้าดิน นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็นปลาเผือก ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาตะเพียนอินโด" นิยมเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้ หรือแม้กระทั่งเลี้ยงเป็นปลาลูกไล่ของปลาใหญ่กว่า หรือเลี้ยงเพื่อทดสอบค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH) หรือความเข้มข้นของคลอรีน ก่อนที่จะปล่อยปลาที่จะเลี้ยงจริงลงไป เนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และมีความไวต่อคุณภาพน้ำ มีการผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงฤดูฝน ตัวเมียเมื่อถึงสภาพสมบูรณ์ ลำตัวจะอวบอ้วนและใหญ่กว่าตัวผู้ถึง 2-3 เท่า ตัวผู้บริเวณข้างแก้มจะมีตุ่มคล้ายสิวอันเป็นเอกลักษณ์ของปลาในวงศ์ปลาตะเพียน ตัวเมียใช้เวลาอุ้มท้องจนกระทั่งวางไข่ประมาณ 1 เดือน ปัจจุบันมีการเพาะพันธุ์ปลาเพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำต่าง ๆ มีการนำมาทำเป็นอาหาร เช่น ปลาตะเพียนต้มเค็ม หรือปลาส้ม นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาตะเพียนขาว
ปลาตามิน
ปลาตามิน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amblyrhynchichthys truncatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน ลำตัวแบนข้าง แต่ส่วนหัวและจะงอยบปากสั้นทู่ หน้าหนัก ปากเล็ก ริมฝีปากบาง ไม่มีหนวด ตามีขนาดใหญ่มีเยื่อไขมันใสคลุม จึงเป็นที่มาของชื่อ ครีบหลังสูง มีก้านแข็งที่ขอบหยัก ครีบหางเว้า เกล็ดมีขนาดใหญ่ปานกลาง ครีบอกสั้น ตัวมีสีเงินวาวตลอดทั้งตัว ไม่มีจุดหรือสีอื่นใด ๆ ด้านท้องสีจาง ครีบมีสีเหลืองอ่อนใส มีขนาดประมาณ 20 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 40 เซนติเมตร อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ตั้งแต่ แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง และพบไปถึงบอร์เนียว เป็นปลาที่กินพืช และแมลง รวมถึงสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น หอย เป็นต้น โดยมีพฤติกรรมหากินตามพื้นท้องน้ำ เป็นปลาที่มักถูกจับได้ครั้งละมาก ๆ มีราคาขายปานกลาง นิยมบริโภคโดยปรุงสดและทำปลาร้า อีกทั้งยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ปลาตามิน ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาตาโป" ในภาษาอีสาน "ปลาตาเหลือก" หรือ "ปลาหนามหลัง" เป็นต้น.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาตามิน
ปลาตามิน (สกุล)
ปลาตามิน เป็นสกุลของปลาน้ำจืด ในสกุล Amblyrhynchichthys (/แอม-ไบล-รีนค์-อิค-ธีส/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดยมีลักษณะทางอนุกรมวิธานที่สำคัญ คือ ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวที่ค่อนข้างใหญ่ แข็ง และขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 9 ก้าน ปลายจมูกตัดตรงมีเยื่อเหมือนวุ้นรอบนัยน์ตา ระหว่างรูทวารจนถึงต้นครีบก้นมีเกล็ด 3 แถว เป็นปลาที่พบได้ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ จำแนกออกได้เป็น 2 ชน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาตามิน (สกุล)
ปลาตาเดียว
ปลาตาเดียว เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psettodes erumei อยู่ในวงศ์ปลาตาเดียว (Psettodidae) อันดับปลาซีกเดียว (Pleuronectiformes) มีรูปร่างยาวรี หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาทั้งสองข้างอยู่ใกล้กันและอยู่บนซีกเดียวกับตำแหน่งของตาซึ่งอยู่ค่อนไปทางส่วนบนของลำตัว ปากกว้างและเฉียงขึ้น มีฟันแหลมคมแบบฟันเขี้ยวเห็นชัดเจนอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หลังนัยน์ตา ครีบหลัง ครีบหางและครีบก้นไม่เชื่อมติดกัน ครีบหางมีปลายเว้าเป็นสองลอน มีพื้นลำตัวด้านมีนัยน์ตาเป็นสีน้ำตาลเข้มตลอดทั้งตัว ส่วนซีกล่างมีสีขาว สามารถปรับเปลี่ยนสีลำตัวได้ตามสภาพแวดล้อม มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 64 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 18-50 เซนติเมตร นับว่าเป็นชนิดที่มีความใหญ่ที่สุดของวงศ์นี้ โดยพบน้ำหนักมากที่สุดคือ 9,000 กรัม พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ชายฝั่งของทวีปแอฟริกา, ทะเลแดง, มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวไทย, ทะเลอันดามัน, ทะเลญี่ปุ่น จนถึงออสเตรเลีย โดยกินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าตามพื้นน้ำหรือพื้นทรายในเวลากลางคืนเป็นอาหาร พบได้ตั้งแต่ความลึก 1-100 เมตร ปลาตาเดียวนับเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะมีขนาดลำตัวใหญ่ เนื้อเยอะ จึงมักนิยมทำเป็นอาหาร โดยนอกจากชื่อตาเดียวแล้วยังมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น "จักรผาน", "หน้ายักษ์", "ซีกเดียว", "ใบขนุน" หรือ "โทต๋า" เป็นต้น.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาตาเดียว
ปลาตุม
ปลาตุม หรือ ปลาตุ่ม (Bulu barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลากระมังชนิดอื่น ๆ เว้นแต่ก้านครีบก้นไม่มีรอยหยัก เกล็ดเล็กกว่า และลำตัวมีรอยขีดสีคล้ำตามขวางประมาณ 7-8 รอย ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร เป็นปลาที่พบได้น้อย โดยจะพบแต่เฉพาะภาคใต้เท่านั้น ที่สามารถพบชุกชุมได้แก่ ทะเลสาบสงขลาตอนในที่เป็นส่วนของน้ำจืด ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วโดยกรมประมง.
ปลาฉลามหางไหม้ (อินโดนีเซีย)
ปลาฉลามหางไหม้ (Bala shark, Silver shark, Tricolor sharkminnow) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างและทรวดทรงที่เพรียวยาว ตาโต ปากเล็ก ขยับปากอยู่ตลอดเวลา ใต้คางมีแผ่นหนังเป็นถุงเปิดออกด้านท้าย ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กสัดส่วนของครีบทุกครีบเหมาะสมกับลำตัว โดยเฉพาะครีบหางซึ่งเว้าเป็นแฉกลึก สีของลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ด้านหลังสีเขียวปนเทา ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้นและครีบหาง สีเหลืองหรือสีเหลืองอมขาว และมีขอบเป็นแถบดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวมาก และกระโดดขึ้นได้สูงจากน้ำมาก มีขนาดโตเต็มราว 20–30 เซนติเมตร เป็นปลาที่พบแพร่กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำของประเทศอินโดนีเซีย มีความว่องไวปราดเปรียวมาก โดยสามารถที่จะกระโดดได้สูงถึง 2 เมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง ปัจจุบันมีสถานะในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์แล้ว นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยใช้วิธีการผสมเทียมด้วยการฉีดฮอร์โมน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาฉลามหางไหม้ (อินโดนีเซีย)
ปลาฉลามจ้าวมัน
ปลาฉลามจ้าวมัน หรือ ปลาฉลามสีเทา (Grey reef shark, Gray reef shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinidae) มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายกับปลาฉลามในสกุลนี้ทั่วไป เช่น ปลาฉลามครีบดำ (C.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาฉลามจ้าวมัน
ปลาฉลามนางฟ้า
ปลาฉลามนางฟ้า (Angel shark) ปลากระดูกอ่อนทะเลจำพวกปลาฉลาม จัดอยู่ในอันดับ Squatiniformes วงศ์ Squatinidae ปลาฉลามนางฟ้า เป็นปลาฉลามที่มีลำตัวแบนราบคล้ายกับปลากระเบน แต่ไม่มีครีบก้น เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเขตร้อน สามารถพบได้ในทะเลลึกถึง 1,300 เมตร (4,300 ฟุต) ปลาฉลามนางฟ้า เป็นปลาที่หากินตามพื้นทะเลทั้งพื้นทรายหรือพื้นโคลน โดยหาอาหารกินคล้ายกับปลากระเบน หรือปลาฉนาก ซึ่งเป็นปลากระดูกอ่อนเช่นเดียวกัน แต่ต่างอันดับและวงศ์กันออกไป อาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็ก, หอย หรือครัสเตเชียน ปลาฉลามนางฟ้า มีความยาวประมาณ 1.5-2 เมตร เป็นปลาที่ออกลูกเป็นไข่ซึ่งไข่นั้นจะพัฒนาในช่องท้องของปลาตัวเมียจนคลอดออกมาเป็นตัวคราวละ 13 ตัว ลูกปลาจะได้รับอาหารจากไข่แดงที่อยู่ในฟอง.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาฉลามนางฟ้า
ปลาฉลามแนวปะการัง
ปลาฉลามแนวปะการัง หรือ ปลาฉลามปะการัง (Reef sharks, Requiem sharks) เป็นสกุลของปลาฉลามสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Carcharhinus (/คา-คา-ไร-นัส/) เป็นปลาฉลามที่ว่ายหากินอยู่บริเวณผิวน้ำและตามแนวปะการังเป็นหลัก จึงมักเป็นปลาฉลามที่เป็นที่รู้จักดีและพบเห็นได้บ่อยที่สุดในทะเล จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ที่ออสเตรเลียพบว่า ปลาฉลามกลุ่มนี้มีประโยชน์ในเชิงนิเวศวิทยา คือ ช่วยรักษาแนวปะการังและปะการังให้ดำรงยั่งยืนอยู่ได้ เนื่องจากเป็นสัตว์นักล่าที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร จึงเป็นตัวควบคุมนักล่าระดับกลางที่กินปลาขนาดเล็กที่มีประโยชน์ต่อปะการัง และดูแลปะการังให้เจริญเติบโต โดยพบจากการศึกษาว่า น่านน้ำแถบเกรตแบร์ริเออร์รีฟ คือ แถบตะวันตกเฉียงเหนือมีจำนวนปลาฉลามกลุ่มนี้มากกว่าน่านน้ำแถบตะวันออกเฉียงเหนือ ปะการังในแถบที่พบปลาฉลามกลุ่มนี้มากจะเจริญเติบโตมากขึ้นรวมถึงการฟื้นตัวจากภาวะปะการังฟอกขาวก็เร็วกว่าด้วย เป็นปลาฉลามที่ใช้เวลาอุ้มท้องนานประมาณ 8–12 เดือน มีลูกครั้งละ 10–40 ตัว ออกลูกเป็นตัว โดยอาจจะมีการกินกันเองตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ด้วยอายุอย่างน้อยที่สุด 4–5 ปี พบทั้งหมด 32 ชนิด โดยมี ปลาฉลามครีบดำ (C.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาฉลามแนวปะการัง
ปลาฉนากเขียว
ปลาฉนากเขียว (Green sawfish, Longcomb sawfish, Narrowsnout sawfish) ปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pristis zijsron ในวงศ์ปลาฉนาก (Pristidae) มีรูปร่างคล้ายปลาฉนากจะงอยปากกว้าง หรือ ปลาฉนากน้ำจืด (P.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาฉนากเขียว
ปลาซิวหัวตะกั่ว
ำหรับปลาในวงศ์อื่น ดูที่: ปลาหัวตะกั่ว ปลาซิวหัวตะกั่ว หรือ ปลาท้องพลุ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาท้องพลุหรือปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Laubuka (/ลอ-บู-คา/) จัดเป็นปลาซิวขนาดกลาง มีลักษณะทั่วไปคือ ลำตัวแบนข้าง สีลำตัวทั่วไปเป็นสีเงินขาว มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนท้องที่ลึกและกว้างเหมือนอ้วนหรือท้องป่อง เมื่อจับขึ้นมาแล้ว ส่วนท้องจะแตกได้ง่าย อีกทั้งมีจุดสีเงินเข้มที่ส่วนหัว แลดูคล้ายปลาหัวตะกั่ว จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีเส้นข้างลำตัวที่สมบูรณ์ มีก้านครีบท้องยื่นยาวลงมาเป็นเส้นเดี่ยว เดิมทีปลาในสกุลนี้ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Chela มีพฤติกรรมรวมฝูงเป็นฝูงเล็ก ๆ กินแมลงที่ตกลงน้ำเป็นอาหารหลัก โดยมีปากที่เชิดขึ้นด้านบน นอกจากนี้แล้วเมื่อตกใจจะสามารถกระโดดขึ้นขนานไปกับผิวน้ำได้เหมือนปลาขวานบิน ซึ่งเป็นปลาในกลุ่มปลาคาราซิน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์จนถึงแหลมมลายูและหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซียซึ่งพบได้ในทวีปอเมริกาใต้ในประเทศไทยจะพบได้ 2 ชน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาซิวหัวตะกั่ว
ปลาซิวทอง
ปลาซิวทอง (Brilliant rasbora, Long-band rasbora, Einthoven's rasbora) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rasbora einthovenii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาซิวชนิดหนึ่ง ซึ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาซิวพม่า (R.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาซิวทอง
ปลาซิวข้าวสารชวา
ปลาซิวข้าวสารชวา (Javanese ricefish) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาซิวข้าวสาร (Adrianichthyidae) มีลำตัวค่อนข้างหนาและยาว มีแถบสีดำข้างลำัตัว ปลายสุดของเส้นที่คอดหางจะขยายออกเป็นรูปวงรีหรือจุดค่อนข้างกลม ครีบทั้งหมดใสโปร่งแสง บริเวณหลังมีสีน้ำตาลอ่อนคล้ำ ด้านท้องสีขาว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 13 เซนติเมตร เป็นปลาที่หากินและอาศัยอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำ ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพน้ำดีมีออกซิเจนละลายในน้ำปริมาณสูงและมีอุณหภูมิเย็น แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุืได้ในที่เลี้ยงได้แล้ว.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาซิวข้าวสารชวา
ปลาซิวควายข้างเงิน
ปลาซิวควายข้างเงิน (Silver rasbora) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rasbora argyrotaenia อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาซิวควาย (R.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาซิวควายข้างเงิน
ปลาซิวคาโลโครม่า
ปลาซิวคาโลโครม่า (Clown rasbora, Big-spot rasbora) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ลำตัวเรียวยาวมีสีน้ำตาลแดง มีจุดเด่น คือ จุดวงกลมสีดำ 2 จุด โดยเฉพาะจุดหลังที่เป็นจุดขนาดใหญ่ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร จัดเป็นปลาซิวที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์บนแผ่นดินใหญ่ของคาบสมุทรมลายู เช่น รัฐเซอลาโงร์, ตรังกานู, ปะหัง, ซาราวะก์ และยะโฮร์ในมาเลเซีย และหมู่เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย เช่น เกาะบอร์เนียว, สุมาตรา, จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก และกาลีมันตันใต้ เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมเป็นฝูงในน้ำที่มีสภาพเป็นพรุ ที่มีเศษใบไม้และกิ่งไม้ร่วงอยู่ก้นพื้นน้ำ และปล่อยสารแทนนินออกมาทำให้สีของน้ำดูคล้ำ สภาพน้ำมีความเป็นกรดซึ่งอาจจะต่ำไปถึงขั้น 4 pH ได้ ซึ่งพื้นที่อาศัยในธรรมชาติในปัจจุบันกำลังถูกคุกคามจากการทำปาล์มน้ำมัน และสวนยางพารา นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาซิวคาโลโครม่า
ปลาปักเป้าหนามทุเรียน
ปลาปักเป้าหนามทุเรียน (Porcupinefishes, Balloonfishes) เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) ในวงศ์ปลาปักเป้าฟัน 2 ซี่ (Diodontidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Diodon (/ได-โอ-ดอน/) ปลาปักเป้าหนามทุเรียนนั้น มีรูปร่างคล้ายปลาปักเป้าทั่วไป แต่มีรูปร่างเพรียวยาว หนังหยาบหนา และมีหนามแข็งชี้ไปข้างท้ายลำตัวตลอดทั้งตัว ซึ่งหนามนี้จะตั้งแข็งตรงเมื่อพองตัวกลมคล้ายลูกบอล เพื่อใช้ในการป้องตัวตัวเองจากนักล่าขนาดใหญ่กว่าในธรรมชาติ เช่น ปลาฉลาม ครีบหางเป็นทรงกลม มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น คือ มีฟันที่แหลมคมจำนวน 2 ซี่ภายในช่องปากใช้สำหรับขบกัดสัตว์มีเปลือกต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น กุ้ง, ปู, หอยฝาเดี่ยว หรือหอยสองฝา เป็นต้น ปลาปักเป้าหนามทุเรียนมีลักษณะแตกต่างไปจากปลาปักเป้าสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน คือ ลักษณะของหนามบนลำตัว มีทั้งหมด 5 ชนิด (ดูในเนื้อหา) กระจายพันธุ์ไปในทะเลและมหาสมุทรต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามตามบ้านหรือในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และนิยมนำมาสตัฟฟ์เป็นเครื่องประดับโดยเฉพาะเมื่อยามพองตัว แต่ถือเป็นปลาที่มีอันตราย หากได้รับประทานเข้าไป เนื่องจากมีสารพิษชนิด เตโตรโดท็อกซิน และซิกัวเตราอย่างรุนแรง.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาปักเป้าหนามทุเรียน
ปลาปักเป้าจมูกแหลม
ปลาปักเป้าจมูกแหลม หรือ ปลาปักเป้าหนู (Sharpnose puffer, Toby) เป็นสกุลของปลาปักเป้าสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Canthigaster (/แคน-ทิ-แกส-เตอร์/) จัดอยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) มีลักษณะสำคัญ คือ มีลำตัวแบนข้าง จะงอยปากยาวกว่าปลาปักเป้าสกุลอื่น ปากเล็กแหลมยื่นยาว ช่องเปิดเหงือกแคบ คอดหางแผ่แบนออกเป็นแผ่นกว้าง ลำตัวมีหนามขนาดเล็ก ไม่มีเส้นข้างตัว.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาปักเป้าจมูกแหลม
ปลาปักเป้าทอง
ปลาปักเป้าทอง (Bronze puffer, Goldern puffer, Avocado puffer) เป็นปลาน้ำจืดและน้ำกร่อย ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) มีลำตัวแบนข้างมากกว่าปลาปักเป้าในสกุล Tetraodon อย่างเห็นได้ชัด และมีดวงตาที่โตกว่า ครีบหลังและครีบก้นใหญ่ ครีบหางปลายตัดตรง มีลำตัวสีทองเหลือบเขียวแวววาว โดยที่ไม่มีลวดลายหรือจุดใด ๆ ทั้งสิ้น หลังมีสีเทาเงิน ใต้ท้องสีขาว มีหนามสั้น ๆ ฝังอยู่ใต้ผิว และสามารถสะบัดครีบว่ายน้ำได้เร็วกว่าปลาปักเป้าในสกุลอื่น อีกทั้งยังสามารถพองลมได้ใหญ่กว่าด้วย เดิมเคยถูกจัดว่าเป็นชนิดเดียวกับ Chonerhinos naritus แต่สามารถจัดแนกออกได้จากสัณฐานวิทยา จึงแยกออกมาอยู่ในสกุลนี้ตั้งแต่ปี..
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาปักเป้าทอง
ปลาปักเป้าทอง (สกุล)
ปลาปักเป้าทอง (Green puffer, Golden puffer) เป็นสกุลของปลาปักเป้า ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Auriglobus (/ออ-ริ-โกล-บัส/) มีรูปร่างคือ ลำตัวแบนข้างและตาโตมากกว่าสกุล Tetraodon มาก พื้นลำตัวเป็นสีเหลืองทองเหลือบเขียวแวววาว โดยที่ไม่มีลวดลายใด ๆ ทั้งสิ้น ใต้ท้องสีขาว ครีบหลังและครีบก้นใหญ่ ครีบหางปลายตัดตรง ทำให้ว่ายน้ำได้รวดเร็วกว่า อีกทั้งยังพองลมได้ใหญ่กว่าด้วย มักหากินในระดับผิวน้ำจนถึงกลางน้ำ พบอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำ เป็นสกุลปลาที่มีขนาดเล็ก ใหญ่ที่สุดประมาณ 20 เซนติเมตร เล็กที่สุดเพียง 7 เซนติเมตร เท่านั้น เดิมเคยถูกจัดให้อยู่ในสกุล Chonerhinos แต่พบมีความแตกต่างจากหลักสัณฐานวิทยา จึงได้ย้ายมาอยู่ในสกุลปัจจุบันตั้งแต่ปี..
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาปักเป้าทอง (สกุล)
ปลาปักเป้าท้องตาข่าย
ปลาปักเป้าท้องตาข่าย (Kingkong puffer, Humpback puffer; Kottelat, M. (2013): The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No. 27: 1–663.) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในอันดับปลาปักเป้า ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) มีลักษณะเด่น คือ หนังหนา หนามค่อนข้างใหญ่ และมีตาโตมาก สีลำตัวออกไปทางสีน้ำตาลแดง ใต้ท้องสีขาวและมีลวดลายคล้ายตาข่ายและจุดดำปกคลุมไปทั่ว อีกทั้งเวลาพองลมและพองได้กลมใหญ่มากคล้ายลูกบอล จัดเป็นปลาปักเป้าอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ โดยขนาดใหญ่ที่สุดพบยาวถึง 19.4 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบได้เฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีรายงานจากทะเลสาบสงขลา เป็นปลาที่พบชุกชุมในบางฤดูกาลบริเวณลำคลองรอบ ๆ ป่าพรุโต๊ะแดง ที่จังหวัดนราธิวาส และพบเรื่อยไปจนถึงมาเลเซียจนถึงอินโดนีเซีย โดยมีการตั้งชื่อสายพันธุ์ตามชื่อเมืองที่ค้นพบครั้งแรก คือ เมืองปาเล็มบัง ในเกาะสุมาตราใต้ ปลาปักเป้าท้องตาข่าย เป็นปลาปักเป้าอีกชนิดหนึ่งที่มีนิสัยไม่ก้าวร้าวดุร้าย อีกทั้งมีสีสันและลวดลายที่สวยงาม จึงเป็นปลาปักเป้าอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาปักเป้าท้องตาข่าย
ปลานกแก้วหัวตัด
ปลานกแก้วหัวตัด (Steephead parrotfish, Indian ocean steephead parrotfish) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลานกแก้ว (Scaridae) มีตัวอ้วนกลม หัวตัดโค้ง ปลายแพนหางบนและล่างแหลมยาว ปลาเพศผู้มีสีเขียวเข้ม แก้มมีสีขาวอมเหลือง หลังตามีแถบสีเขียวเข้ม 3 แถบ ปลาเพศเมียลำตัวด้านบนมีสีเหลืองอมเขียวอกและท้องมีสีส้ม มีฟันและจะงอยปากที่เป็นแผ่นตัดแหลมคม ใช้สำหรับกัดแทะปะการังหรือสาหร่ายเป็นอาหาร มีขนาดความยาวได้ถึง 75 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่แอฟริกาตะวันออก, อินโดนีเซีย และทะเลอันดามันทางตอนเหนือ มักอาศัยอยู่ในแนวปะการัง ในระดับความลึก 2- 25 เมตร มักหากินอยู่เพียงลำพัง หรืออยู่เป็นคู่ ไม่ค่อยพบอยู่รวมกันเป็นฝูงเหมือนปลานกแก้วชนิดอื่น เวลากลางคืนนอนตามพื้นหรือซากปะการัง มีการสร้างเมือกห่อหุ้มตัว เป็นปลานกแก้วชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและใช้บริโภคเป็นอาหาร.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลานกแก้วหัวตัด
ปลานวลจันทร์น้ำจืด (สกุล)
ปลานวลจันทร์น้ำจืด เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Cirrhinus ทั้งหมด 11 ชนิด มีลักษณะสำคัญคือ มีปากเล็ก บางชนิดไม่มีริมฝีปากล่าง บางชนิดทีริมฝีปากบางมาก มีฟันที่ลำคอ 3 แถว มีหนวด 2 คู่ หนวดที่ริมฝีปากบนยาวกว่าหนวดที่มุมปากบน ความยาวของหนวดแตกต่างกันแต่ละชนิด จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หน้าจุดเริ่มต้นของครีบท้อง มีก้านครีบแขนง 10–13 ก้าน ก้านครีบเดี่ยวมีขอบเรียบ และไม่เป็นหนามแข็ง ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน ปลาในสกุลนี้เป็นปลาที่นิยมบริโภคกันเป็นปลาเศรษฐกิจ พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ตอนใต้ของจีน, เกาะไต้หวัน, อนุทวีปอินเดีย และภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยมักเรียกปลาในสกุลนี้รวม ๆ กันว่า "ปลานวลจันทร์", "ปลาพอน" หรือ "ปลาพรวน" ในภาษาเขมร หรือ "ปลาสร้อย" เป็นต้น.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลานวลจันทร์น้ำจืด (สกุล)
ปลาแบมบูซ่า
ปลาแบมบูซ่า (Yellowcheek; 鳡; ชื่อวิทยาศาสตร์: Elopichthys bambusa) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Elopichthys โดยชื่อสกุล Elopichthys มาจากคำว่า Elops ซึ่งหมายถึงปลาในกลุ่มปลาตาเหลือกหรือปลาตาเหลือกยาวในภาษาอังกฤษ และภาษากรีกโบราณ ἰχθύς (ikhthús) หมายถึง "ปลา" โดยรวมหมายถึง ปลาในสกุลนี้มีรูปร่างคล้ายกับปลาตาเหลือก และชื่อชนิด bambusa หมายถึง "ไม้ไผ่" ซึ่งอ้างอิงมาจากภาษาถิ่นของจีนที่เรียกปลาชนิดนี้ว่า "ชู่ ไหน่ หยู" (พินอิน: Chǔh nuy yu) หมายถึง "ปลาไม้ไผ่นิสัยเสีย" โดย จอห์น รีฟส์ ผู้วาดภาพปลานี้ระหว่างทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบชาในจีนระหว่างปี..
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาแบมบูซ่า
ปลาแมกเคอเรลแท้
ปลาแมกเคอเรลแท้ (True mackerels) เป็นเผ่าของปลาทะเลจำพวกปลาแมกเคอเรลเผ่าหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scombrini ในวงศ์ปลาอินทรี หรือปลาทูน่า (Scombridae).
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาแมกเคอเรลแท้
ปลาแมว
ปลาแมว (Dusky-hairfin anchovy) เป็นชื่อปลาชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาแมว (Engraulidae) มีลำตัวแบนข้าง ท้องเป็นสันคม เกล็ดเล็กหลุดร่วงง่าย ครีบอกมีปลายเรียวเป็นเส้น ตัวผู้มีสีคล้ำ ครีบหางสีเหลือง และขอบสีคล้ำ มีขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร ใหญ่สุด 25 เซนติเมตร สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ โดยมีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูงเล็ก ว่ายในระดับกลางน้ำ อาหารได้แก่ ลูกกุ้ง ลูกปลา พบในปากแม่น้ำตอนล่างถึงชายฝั่ง ในภาคอีสานพบที่แม่น้ำโขง เป็นต้น ไม่พบบ่อยมากนัก และมักตายง่ายมากเมื่อพ้นจากน้ำ.
ปลาแมงป่องยักษ์
ปลาแมงป่องยักษ์ (Tassled scorpionfish) ปลาทะเลมีพิษชนิดหนึ่ง จำพวกปลาแมงป่อง (Scorpaenidae) มีปากกว้าง ส่วนหน้าเว้าเล็กน้อย ครีบอกค่อนข้างกลม ปลายริ้ว ครีบหลังมีก้านสั้น ใต้คางและผิวทั่วทั้งตัวมีติ่งหนังเป็นเส้นริ้วเล็ก ๆ ครีบหางปลายตัดมน มีลำตัวสีแดงหรือสีน้ำตาล มีลายบั้งสีเข้มและลายด่างสีจาง ๆ หางมีบั้งและขอบสีจาง เป็นปลาที่มีพฤติกรรมนอนอยู่นิ่ง ๆ ในโพรงหินหรือปะการังใต้น้ำ เพื่อรอฮุบเหยื่อซึ่งได้แก่ ปลาขนาดเล็กต่าง ๆ โดยอยู่ตามลำพังหรือเป็นคู่ พบในแนวปะการังตามชายฝั่ง มีความยาวเต็มที่ประมาณ 35 เซนติเมตร จัดเป็นปลาที่พบได้บ่อย กระจายพันธุ์ทั่วไปในมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบเฉพาะฝั่งทะเลอันดามัน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาแมงป่องยักษ์
ปลาแขยงดาน
ปลาแขยงดาน เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Bagrichthys (/บา-กริค-ทีส/) อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagridae) อันดับปลาหนัง (Siluformes) มีลักษณะสำคัญ คือ มีส่วนหัวขนาดเล็ก จะงอยปากเป็นรูปกระสวย ลำตัวแบนข้าง ปากเล็ก รีมฝีปากบนและล่างเป็นจีบ นัยน์ตามีขนาดเล็กมาก ตามีเยื่อหุ้ม หนวดค่อนข้างเล็กสั้นมี 4 คู่ แบ่งเป็นที่จมูก 1 คู่, ริมฝีปากบน 1 คู่, ริมฝีปากล่าง 1 คู่, และคาง 1 คู่สันหลังโค้ง ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้านเป็นซี่แข็งขอบจักเป็นฟันเลื่อย ซึ่งตั้งตรงเห็นได้ชัดเจน ในบางชนิดจะยาวจนแลดูเด่น มีก้านครีบแขนง 5-6 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 2-3 ก้าน และก้านครีบแขนง 5-6 ก้าน ครีบอกมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้านที่แข็งและหยักเป็นฟันเลื่อยปลายแหลม ครีบท้องสั้น ครีบไขมันมีฐานยาวด้านหน้าจรดฐานครีบหลังและปลายจรดโคนครีบหาง ครีบหางเว้าลึก เป็นสกุลที่มีความคล้ายคลึงกับสกุล Bagroides และทั้ง 2 สกุลนี้ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับสกุล Leiocassis ซึ่งเป็นปลาแขยงหรือปลากดที่มีขนาดเล็ก จัดเป็นปลาขนาดกลาง โตเต็มที่ประมาณ 1 ฟุต มีสีลำตัวเป็นสีม่วงคล้ำเกือบดำ ส่วนท้องสีขาว ในปลาวัยอ่อนอาจมีสีลำตัวเป็นลวดลายเหมือนลายพรางทหาร เป็นปลาที่หากินในเวลากลางคืน พบกระจายพันธุ์ในประเทศไทย, แม่น้ำโขง จนถึงอินโดนีเซีย แต่ไม่พบในแม่น้ำสาละวิน เป็นปลาที่นิยมบริโภคกัน และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาแขยงดาน
ปลาแค้
ปลาแค้ (Devil catfish, Goonch, Bagarius catfish; বাঘাইর) เป็นปลากระดูกแข็งในสกุล Bagarius (/บา-กา-เรียส/) อยู่ในอันดับปลาหนัง ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae).
ปลาแค้ติดหิน
ปลาแค้ติดหิน หรือ ปลาแค้ห้วย (Hill-stream catfish) เป็นปลาหนังในสกุล Glyptothorax (/กลีพ-โท-ทอ-แร็กซ์/) ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) จัดเป็นปลาขนาดเล็ก มีรูปร่างโดยรวมคือ มีลำตัวเพรียวยาว ครีบหางเว้าลึก อาจมีสีเหลืองเป็นลายพาดด้านข้างลำตัว พื้นลำตัวสีน้ำตาล มีหนวด 4 คู่ โดยหนวดที่ริมฝีปากเป็นเส้นแบนและแข็ง หนวดที่จมูกสั้น หนวดใต้คางยาว ผิวสาก และมีแผ่นหนังย่นใต้อกซึ่งใช้เกาะพื้นหินได้ ครีบหลังอยู่หน้าครีบท้อง ครีบอกและครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวที่เป็นเงี่ยงแข็งและขอบจักเป็นฟันเลื่อย มักพบอาศัยอยู่ในลำธารน้ำตกบนภูเขาที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว กินอาหารจำพวก แมลงน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ออกหากินในเวลากลางคืน มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 10-15 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ลุ่มน้ำของทะเลดำทางตอนเหนือของตุรกี ไปจนถึงเอเชียไมเนอร์, ตอนใต้ของจีนและลุ่มแม่น้ำแยงซี, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเกาะชวาในอินโดนีเซีย มีทั้งหมดประมาณ 93 ชนิด มีชื่อเรียกโดยรวมในภาษาไทยว่า "แค้", "แค้ห้วย" หรือ "ปลาติดหิน" ในขณะที่วงการปลาสวยงามจะนิยมเรียกว่า "ฉลามทอง".
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาแค้ติดหิน
ปลาแปบควาย
ปลาแปบควาย เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกปลาแปบ อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cultrinae ใช้ชื่อสกุลว่า Paralaubuca (/พา-รา-ลอ-บู-คา/) มีรูปร่างโดยรวมคือ มีรูปร่างยาว ลำตัวแบนข้างมาก ปากเล็ก ตาโต ท้องเป็นสันคม ด้านท้องค่อนข้างกว้างออก ครีบอกยาว ครีบหางเว้าลึก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงินแวววาว เส้นข้างลำตัวไม่ต่อเนื่องกัน เกล็ดแถวที่อยู่หน้าครีบหลังไม่เลยเข้ามาถึงระหว่างนัยน์ตา เกล็ดตามเส้นข้างลำตัวมีจำนาน 50–85 แถว มีขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ย 15 เซนติเมตร มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ มีการอพยพขึ้นล่องตามแม่น้ำเพื่อวางไข่และหากินเป็นฤดูกาล มักอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลเชี่ยว หากินใกล้ผิวน้ำ พบตั้งแต่แม่น้ำโขงถึงแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึงมาเลเซีย กินแมลงหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร มีทั้งหมด 5 ชนิด โดยเป็นชนิดที่พบได้ในประเทศไทย 3 หรือ 4 ชน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาแปบควาย
ปลาแปบควายไทพัส
ปลาแปบควายไทพัส หรือ ปลาแปบไทพัส ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาแปบควายหรือปลาท้องพลุชนิดอื่นมาก โดยมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ มีจุดสีดำที่โคนครีบอก และมีเส้นข้างลำตัวที่ไม่แน่นอน โดยจะแตกต่างไปในแต่ละตัว คือ มีเส้นข้างลำตัวหนึ่งเส้นทั้งสองข้างลำตัว หรือ มีเส้นข้างลำตัวสองเส้นทั้งสองข้างลำตัว หรือข้างหนึ่งมีเพียงเส้นเดียวแต่อีกข้างมีสองเส้น ก็มี พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศไทย รวมถึงแม่น้ำโขง กินแพลงก์ตอนสัตว์และแมลงเป็นอาหารตามผิวน้ำ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 18 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง มีการอพยพย้ายถิ่นเพื่อวางไข่ตามฤดูกาล เป็นปลาที่ชาวอีสานนิยมนำมาบริโภคกันทั้งปรุงสดหรือแปรรูปเป็นปลาร้าหรือปลาแห้ง ด้วยการจับโดยการใช้อวนหรือยกยอ.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาแปบควายไทพัส
ปลาแปบใส
ปลาแปบใส ปลาน้ำจืดขนาดเล็กในสกุล Parachela (/ปาราแคลา/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เดิมปลาแปบในสกุลนี้ รวมอยู่ในสกุลเดียวกันกับสกุล Oxygaster แต่ฟรันซ์ ชไตน์ดัคเนอร์ แยกออกมาตั้งเป็นสกุลใหม่ โดยเห็นว่าปลาในสกุลนี้ไม่มีครีบท้อง แต่มีตัวอย่างปลาเพียงตัวเดียวเท่านั้น แต่ยังมิได้รับการยอมรับเท่าไหร่นัก จนกระทั่งในปี..
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาแปบใส
ปลาโอดำ
ปลาโอดำ หรือ ปลาโอหม้อ หรือ ปลาทูน่าน้ำลึก (longtail tuna, northern bluefin tuna) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาโอหรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง เป็นปลาผิวน้ำที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเช่นเดียวกับปลาชนิดอื่นในวงศ์นี้ทั่วไป มีลำตัวค่อนข้างกลมและยาวเพรียวแบบกระสวย ครีบหลังที่แยกออกจากกันเป็นสองอันและอยู่ห่างกันเพียงเล็กน้อยเท่าขนาดความ ยาวของตา ครีบอกหลังยาวมาก ครีบท้องตั้งอยู่ในแนวเดียวกับครีบอก ครีบก้นอยู่เยื้องครีบหลังอันที่สองเล็กน้อย ครีบหางใหญ่เว้าลึกเป็นรูปวงเดือน มีเกล็กเล็กละเอียดอยู่บริเวณแนวท้อง มีจุดสีขาวเรียงกันเป็นแถวไปตามความยาวของส่วนท้อง ครีบฝอยของครีบหลังและครีบก้นมีสีเทาแกมเหลือง มีความยาวประมาณ 40-70 เซนติเมตร มีขนาดความยาวใหญ่สุดถึง 145 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 35.9 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดงและแอฟริกาตะวันออกถึงนิวกินี, ทะเลญี่ปุ่นตอนเหนือ จนถึงตอนใต้ของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในน่านน้ำไทยพบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่หากินบริเวณผิวน้ำ โดยล่าปลาหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นอาหาร เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง เนื้อสามารถทำไปปลาดิบในอาหารญี่ปุ่นได้.
ปลาโจก
ปลาโจก (Soldier river barb) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Cyclocheilichthys (/ไซ-โคล-ไคล-อิค-ธีส/; เฉพาะชนิด C.
ปลาไส้ตันตาขาว
ปลาไส้ตันตาขาว ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาไส้ตันตาแดง (A. apogon) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน เว้นแต่ขอบตาบนไม่มีสีแดง และมีหนวดสั้น ๆ 2 คู่ ลำตัวสีเงินวาวหรืออมเหลืองอ่อน มีแถบสีคล้ำพาดตามความยาวลำตัว 5-6 แถบ ครีบสีเหลืองอ่อนหรือชมพูจาง ๆ มีขนาดโดยเฉลี่ย 15-20 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ พบได้ตามแม่น้ำ หนองบึง และแหล่งน้ำนิ่งของภาคกลาง ภาคเหนือ และอีสาน เป็นปลาที่พบชุกชุมเช่นเดียวกับปลาไส้ตันตาแดง ปลาไส้ตันตาขาวมีชื่อที่เรียกต่างออกไป เช่น จังหวัดพะเยาเรียกว่า "แพ็บ" เป็นต้น.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาไส้ตันตาขาว
ปลาไหลมอเรย์ยักษ์
ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ หรือ ปลาหลดหินยักษ์ (Giant moray) เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae) มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนปลาไหลมอเรย์ชนิดอื่น ๆ พื้นลำตัวสีเหลืองอมน้ำตาลแต้มด้วยจุดและลายสีน้ำตาลไหม้อยู่ทั่วไป ด้านข้างลำตัวบริเวณคอมีจุดสีดำเด่นชัดหนึ่งแห่ง ปลาไหลมอเรย์ยักษ์มีความยาวโดยเฉลี่ย 1.5 เมตร ยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5-3 เมตร น้ำหนักถึง 36 กิโลกรัม นับเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดง, แอฟริกาตะวันออก, หมู่เกาะริวกิว, ฮาวาย, นิวแคลิโดเนีย, ฟิจิ, หมู่เกาะออสเตรียล มักซุกซ่อนตัวอยู่ตามซอกหินในแนวปะการัง โดยโผล่มาแค่เฉพาะส่วนหัว กินอาหาร ได้แก่ กุ้ง, ปู, ปลา และหมึกสาย ด้วยการงับด้วยกรามที่แข็งแรงและแหลมคม ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ แม้จะมีรูปร่างหน้าตาที่น่ากลัว แต่ที่จริงแล้วเป็นปลาที่รักสงบ ไม่ดุร้าย แต่อาจทำอันตรายนักดำน้ำได้หากไปรบกวนถูก หรือเข้าใจผิดเพราะคิดว่าเป็นอาหาร ซึ่งอาจถูกกัดเป็นแผลเหวอะหวะถึงขั้นนิ้วขาดได้ และจะมีฤดูกาลที่ดุร้าย คือ ฤดูผสมพันธุ์ นอกจากนี้แล้วในเนื้อจะมีสารพิษซิกัวเทอรา ความยาวทั้งตัวในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ เป็นปลาไหลมอเรย์อีกชนิดหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมของนักประดาน้ำ และเลี้ยงแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาไหลมอเรย์ยักษ์
ปลาไหลมอเรย์ตาขาว
ปลาไหลมอเรย์ตาขาว หรือ ปลาหลดหินตาขาว (White-eyed moray, Slender moray, Greyface moray) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae) มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายปลาไหลมอเรย์ยักษ์ (G.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาไหลมอเรย์ตาขาว
ปลาไหลผีอะบาอะบา
ปลาไหลผีอะบาอะบา (Aba aba, Aba knifefish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gymnarchus niloticus ในอันดับปลาลิ้นกระดูก (Osteoglossiformes) อยู่ในวงศ์ Gymnarchidae ซึ่งมีอยู่เพียงชนิดเดียวเท่านั้น เป็นปลาขนาดใหญ่ สามารถยาวได้ถึง 1-1.5 เมตร มีรูปร่างยาวเรียวคล้ายปลาไหล ส่วนหัวมีขนาดเล็ก ตาเล็ก มีครีบพริ้วไหวตลอดลำตัวด้านบน พื้นลำตัวสีเทา ส่วนท้องสีขาว ปลายหางเล็กและเรียวยาว เกล็ดมีขนาดเล็กมาก มีการแพร่กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำของทวีปแอฟริกาแถบตะวันตก ในลุ่มแม่น้ำแกมเบีย โดยอาศัยในความลึกประมาณ 1-1.5 เมตร เป็นปลาที่สามารถอาศัยในแหล่งน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้เป็นอย่างดี ด้วยสามารถฮุบอากาศได้เอง สายตาไม่ดี หาอาหารด้วยการนำทางโดยการสร้างกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน ๆ กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กชนิดอื่นเป็นอาหาร เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ราคาไม่แพง จัดเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมากชนิดหนึ่ง แต่ว่าเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้ายมาก ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้เล.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาไหลผีอะบาอะบา
ปลาเบี้ยว
ปลาเบี้ยว หรือ ปลาคางเบือน (Twisted-jaw catfish, Twisted-jaw sheatfish) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืด 2 ชนิดในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ซึ่งอยู่ในอันดับปลาหนัง ใช้ชื่อสกุลว่า Belodontichthy (/เบล-โอ-ดอนท์-อิค-ธีส/; "Belo" เป็นภาษากรีกหมายถึง "ทุกทิศทาง", "odon" หมายถึง "ฟัน" และ "ichthyos" หมายถึง "ปลา" มีความหมายรวมหมายถึง "ปลาที่มีฟันทุกทิศทาง") มีรูปร่างโดยรวมคือ ปากกว้างและเชิดขึ้นอันเป็นที่มาของชื่อ ภายในมีฟันแหลมคม ตาโตอยู่ตอนกลางของหัว ใกล้มุมปากมีหนวด 1 คู่ยาวจนถึงครีบอก ครีบหลังเล็กมาก มีก้านครีบแขนง 3 หรือ 4 ก้าน ครีบอกใหญ่ปลายแหลม ครีบท้องเล็ก ครีบหางเล็กเว้าตื้น ตัวมีสีเงินวาวหรือเหลือบสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีจาง นัยน์ตามีเยื่อไขมันบาง ๆ คลุม อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ กินอาหาร จำพวก สัตว์น้ำขนาดเล็ก พบกระจายพันธุ์อยุ่เฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น พบเพียง 2 ชนิด คือ.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาเบี้ยว
ปลาเพียว
ปลาเพียว (Asian glassfishes, Asian glass catfishes) สกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) โดยที่ชื่อสกุล Kryptopterus นั้นมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า kryptós (κρυπτός, "ซ่อน") กับ ptéryx (πτέρυξ, "ครีบ") อันเนื่องจากปลาในสกุลนี้มีครีบหลังที่เล็กมาก ซึ่งแตกต่างจากปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน จัดเป็นปลาขนาดเล็ก มีลำตัวยาวแบนข้าง ลำตัวบางใสมีสีเดียวจนในบางชนิดสามารถมองทะลุเห็นกระดูกภายในได้เหมือนเอกซเรย์ มีหนวด 2 คู่ หนวดคู่แรกบนขากรรไกรบน ส่วนคู่ที่ 2 อยู่บนขากรรไกรล่าง สั้นหรือยาวแล้วแต่ละชนิด โดยหนวดที่มุมปากยาวเลยช่องเหงือก หนวดที่คางเล็กและสั้น ปากแคบ มุมปากยื่นไม่ถึงนัยน์ตา มีก้านครีบ 1-2 ก้าน ครีบหลังเล็ก หรือบางชนิดก็ไม่มี ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 4-8 ก้าน นิยมอยู่กันเป็นฝูง โดยมีพฤติกรรมรวมกัน คือ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงโดยหันหน้าไปทางเดียวกันในระดับกลางน้ำ เมื่อแตกตื่นตกใจมักจะแตกหนีไปคนละทิศละทาง จนหายตกใจแล้วค่อยกลับมารวมตัวกันอีก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาเพียว
ปลาเกล็ดถี่ (สกุล)
ปลาเกล็ดถี่ หรือ ปลานางเกล็ด (Thynnichthys) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะสำคัญก็คือ มีส่วนหัวที่โตจนดูคล้ายปลาลิ่น (Hypophthalmichthys molitrix) ขนาดเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวที่ขอบเรียบ มีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ไม่มีริมฝีปากบน ปากอยู่สุดปลายจะงอย ไม่มีหนวด และไม่มีซี่กรองเหงือก เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียดมาก เป็นสีเงินแวววาวและหลุดร่วงง่าย มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินแพลงก์ตอนหรือตะไคร่น้ำเป็นอาหาร โดยอาจปะปนอยู่กับปลาในวงศ์ปลาตะเพียนด้วยกันสกุลอื่น เช่น ปลาสร้อย เป็นต้น พบทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาเกล็ดถี่ (สกุล)
ปลาเลียหิน
ปลาเลียหิน (Stone-lapping fishes, Garras, Doctor fishes) คือชื่อสามัญเรียกโดยรวมของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Garra (/การ์-รา/) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และอยู่ในวงศ์ย่อย Labeoninae เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ลำตัวยาว หลังโค้งเล็กน้อย สันท้องแบนราบ จะงอยปากยาว ปลายทู่ และมีตุ่มเหมือนเม็ดสิวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตัวผู้ริมฝีปากหนาและมีตุ่มเม็ดสิวที่อ่อนนุ่มอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่มีร่องระหว่างริมฝีปากกับกระดูกขากรรไกร ริมฝีปากล่างแผ่ออกกว้างเป็นแผ่น ขอบหน้าเรียบ ใช้ในการยึดเกาะกับของแข็ง มีหนวด 1-2 คู่ ครีบอกและครีบครีบท้องอยู่ในแนวระดับสันท้อง ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน และก้านครีบเดี่ยวไม่แข็ง ครีบก้นสั้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน เส้นข้างลำตัวตรง มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นฝูง ในแหล่งน้ำไหลเชี่ยวบริเวณน้ำตกหรือลำธารในป่า เพื่อดูดกินตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายหรืออินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย พบมากกว่า 90 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบด้วยหลายชนิด เช่น G.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาเลียหิน
ปลาเวียน
ปลาเวียน (Thai mahseer, Greater brook carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งจำพวกมาห์เซียร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor tambroides อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะคล้ายปลาพลวงหิน (Neolissochilus stracheyi) ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกัน เว้นแต่ริมฝีปากบนมีแผ่นหนังยื่นออกมาทำให้ดูคล้ายจะงอยปากงุ้มลง และรูปร่างลำตัวที่เพรียวกว่า ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปประมาณ 60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่พบ 1 เมตร ส่วนหัว อาศัยตามแหล่งน้ำสะอาดตามต้นน้ำลำธาร มีพฤติกรรมในอพยพย้ายถิ่นลงมาทางปากน้ำในฤดูฝน ตามรายงานพบว่า ปลาที่อาศัยในแม่น้ำแม่กลอง เมื่อถึงฤดูฝนจะว่ายตามกระแสน้ำลงไปจนถึงปากนี้ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ปลาเหล แม่น้ำ" นานประมาณ 4–8 สัปดาห์ จากนั้นจะหวนกลับไปยังต้นน้ำ แสวงหาสถานที่อันเหมาะสมเพื่อผสมพันธุ์ จะวางไข่ในช่วงเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม เคยเป็นปลาที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบุรี และถือเป็นปลาประจำจังหวัด เพราะมีเนื้อนุ่มละเอียด มีไขมันสะสมในเนื้อเยอะ ซึ่งปัจจุบันพบได้น้อย จนแทบกล่าวได้ว่าหมดไปแล้ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลาย ปัจจุบัน กรมประมงสามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเพชรบุรี ด้วยการรวบรวมพ่อแม่ปลาจากธรรมชาติ โดยมีวิธีการขยายพันธุ์ 2 วิธี คือ การเพาะพันธุ์แบบกึ่งธรรมชาติ ด้วยการเลี้ยงในระบบที่เลียนแบบธรรมชาติ ความสมบูรณ์ของพ่อแม่ปลาจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน–กุมภาพันธ์ ปลาแม่ที่พร้อมจะวางไข่จะมีการสลัดไข่ จึงนำมารีดผสมกับน้ำเชื้อของปลาตัวผู้ ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ 72–96 ชั่วโมง และการเพาะพันธุ์ด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมน.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาเวียน
ปลาเสือสุมาตรา
ระวังสับสนกับ ปลาเสือข้างลาย สำหรับ เสือสุมาตรา ที่หมายถึงเสือโคร่งดูที่ เสือโคร่งสุมาตรา ปลาเสือสุมาตรา ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Puntigrus tetrazona อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนขนาดเล็ก และมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาเสือข้างลาย (P.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาเสือสุมาตรา
ปลาเสือตออินโดนีเซีย
ปลาเสือตออินโดนีเซีย หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาเสือตออินโด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จำพวกปลาเสือตอ มีรูปร่างคล้ายกับปลาเสือตอทั่วไป คือ เป็นปลากินเนื้อในกลุ่มปลากะพง หากินในเวลากลางคืน พฤติกรรมในธรรมชาติชอบที่จะลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ ในระดับกลางน้ำหรือหลบอยู่ตามตอไม้หรือวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ เดิมเคยถูกรวมเป็นชนิดเดียวกับปลาเสือตอลายใหญ่ (D.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาเสือตออินโดนีเซีย
ปลาเอี่ยนหู
ปลาเอี่ยนหู หรือ ปลาไหลหูขาว (Marbled eel, Giant mottled eel) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguilla) มีลำตัวยาวเหมือนปลาตูหนา (A.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาเอี่ยนหู
ปลาเข็มงวง
ปลาเข็มงวง หรือ ปลาเข็มช้าง (Forest halfbeak) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemirhamphodon pogonognathus อยู่ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับปลาทั่วไปในวงศ์เดียวกัน แต่มีปากล่างงอม้วนลงคล้ายงวงช้าง จึงเป็นที่มาชื่อเรียก ครีบหลังมีฐานยาวเป็นสองเท่าของฐานครีบก้น มีฟันที่ปากล่างตลอดทั้งปาก ลำตัวสีเหลืองอ่อนปนน้ำตาลอมชมพู ครีบหางสีแดงมีขอบสีขาว ครีบหลังสีแดงมีขอบสีดำ ครีบท้องกับครีบก้นสีแดง ครีบอกมีสีแดงจาง ๆ มีขนาดความยาวลำตัวที่ประมาณ 10 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในประเทศไทยเฉพาะที่ป่าพรุโต๊ะแดง ในจังหวัดนราธิวาสเท่านั้น และพบได้ในป่าพรุจนถึงแหลมมลายู มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ โดยกินแมลงที่ตกลงในน้ำเป็นอาหารหลัก นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ที่ไม่ค่อยจะได้พบบ่อยนักในตลาดปลาสวยงาม.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาเข็มงวง
ปลาเข็มป่า
ปลาเข็มป่า หรือ ปลาเข็มช้าง (Forest halfbeak) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อว่า Hemirhamphodon (/เฮม-อิ-แรม-โฟ-ดอน/) อยู่ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธาน คือ ลำตัวยาวปานกลาง ครีบหลังอยู่ด้านหน้าครีบก้น ฐานของครีบหลังยาวเป็นสองเท่าของครีบก้น ครีบหางมนกลม ฟันเป็นทรงกรวยปลายแหลม มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตร พบได้ตั้งแต่ภาคใต้ของประเทศไทยในป่าพรุ ไปตลอดจนถึงแหลมมลายู มีทั้งหมด 9 ชนิด ได้แก.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาเข็มป่า
ปลาเป้า
ปลาเป้า (ປາເປົ້າ) เป็นสกุลของปลาปักเป้าสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Pao (/เป้า/) ซึ่งหมายถึง "ถุง" หรือ "กระเป๋า" ในภาษาไทยหรือภาษาลาว โดยทั่วไปแล้วหมายถึง "ปลาปักเป้า" ทั้งในภาษาไทยและภาษาลาว ("เป้า" เป็นคำที่ใช้เรียก ปลาปักเป้าในภาษาอีสาน) โดยปลาปักเป้าในสกุลนี้ เป็นปลาปักเป้าขนาดเล็กอาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยในบางชนิด พบมากในแหล่งน้ำต่าง ๆ โดยเฉพาะในภาคอีสานของไทยและลาว ในช่วงฤดูวางไข่ ปลาจะดุร้ายก้าวร้าวมากเป็นพิเศษ เนื่องจากหวงแหนไข่ จะกัดหรือทำร้ายผู้ที่บุกรุกถิ่นที่อยู่หรือถิ่นวางไข่ ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ โดยปลาขนาด 20 เซนติเมตร จะกัดด้วยฟันอันแหลมคมเป็นแผลกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร.
ปลาเนื้ออ่อน
ปลาเนื้ออ่อน (Sheatfishes) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Phalacronotus ปลาในสกุลนี้มีลักษณะเด่น คือ ไม่มีครีบหลัง จัดเป็นปลาขนาดกลางเมื่อเทียบกับสกุลอื่นในวงศ์นี้ เป็นปลาที่ใช้เพื่อการบริโภคกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในอาหารไทย เดิมเคยจัดให้อยู่ในสกุล Micronema แต่ปัจจุบันได้แยกออกม.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และปลาเนื้ออ่อน
Diaphus
Diaphus เป็นประเภทของปลาตะเกียงและเป็นที่รู้จักมากที่สุด It is the most species rich lanternfish genus.
Myctophum
Myctophumเป็นประเภทของปลาตะเกียง.
ดู ปีเตอร์ เบลเกอร์และMyctophum
หรือที่รู้จักกันในชื่อ BleekerPieter Bleekerพีเตอร์ บลีกเกอร์
ปลาชะโอนหินปลาบู่กล้วย (สกุล)ปลาบู่ยามปลาบู่หมาจูปลาบู่จากปลาบู่จุดคู่ปลาบู่ทรายปลาบู่ทราย (สกุล)ปลาช่อนข้าหลวงปลาช่อนดำปลาช่อนเอเชียปลาช่อนเข็ม (สกุล)ปลาบ้า (สกุล)ปลากระมังปลากระทิง (สกุล)ปลากระทิงไฟปลากระทุงเหวเมืองปลากระดี่มุกปลากระแหปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกปลากระเบนบัวปลากระเบนราหูน้ำจืดปลากระเบนหางแส้ปลากระเบนผีเสื้อปลากระเบนปากแหลมปลากริมแรดปลากล่องปลากะพงลายสี่แถบปลากะพงข้างปานปลากะพงแดงปลากะมงครีบฟ้าปลากะทิปลากะตักปลากะแมะปลากัด (สกุล)ปลากาปลากากาตาปลาการ์ตูนปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลืองปลาการ์ตูนอินเดียนแดงปลาการ์ตูนอินเดียนแดงชมพูปลากุแลปลากดหมูปลากดหัวกบปลากดหัวลิงปลากดหัวแข็งปลากดทะเลหัวแข็งปลากดขี้ลิงปลากดคางเบือนปลาฝักพร้าปลามงโกรยปลาม้าปลาม้ามังกรปลายอดม่วงลายปลายอดม่วงเกล็ดถี่ปลายอนหอยปลายาดปลาริวกิวปลาร่องไม้ตับวานเดิร์สปลาลิ้นควายเกล็ดลื่นปลาวัวสามเขาปลาสร้อยนกเขาทะเลปลาสลิดหินมะนาวปลาสลิดหินนีออนปลาสวายหนูปลาสะตือปลาสังกะวังปลาสังกะวาดปลาสากหางเหลืองปลาสายยู (สกุล)ปลาสินสมุทรวงฟ้าปลาสินสมุทรหางเส้นปลาสีกุนทองปลาสีขนปลาสแปรตแม่น้ำปลาส่อปลาหมอช้างเหยียบปลาหมูกระโดงสูงปลาหมูลายปลาหลดหินปลาหางบ่วงปลาหางแข็งปลาหางแข็งบั้งปลาหางไหม้ปลาหินปลาหูช้างปลาหนวดพราหมณ์ปลาอกแลปลาอมไข่ตาแดงปลาอินทรีบั้งปลาอิแกลาเอ๊ะปลาอ้ายอ้าวปลาจะละเม็ดปลาจะละเม็ดดำปลาจาดปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่างปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจใบไม้ปลาจิ้มฟันจระเข้เขียวปลาจิ้งจกปลาทรงเครื่อง (สกุล)ปลาทูปลาทูน่าแท้ปลาทูแขกปลาท่องเที่ยวปลาขาไก่ปลาขี้ตังเบ็ดปลาขี้ตังเบ็ดฟ้าปลาข้าวเม่าปลาข้างเหลืองปลาดอกหมากปลาดักปลาดังปลาดุกปลาดุกมูนปลาคาร์ปเลตปลาค้าวขาว (สกุล)ปลาตะกรับห้าแถบปลาตะลุมพุกปลาตะลุมพุก (สกุล)ปลาตะคองปลาตะโกกหน้าสั้นปลาตะเพียนลายหมากรุกปลาตะเพียนทรายปลาตะเพียนขาวปลาตามินปลาตามิน (สกุล)ปลาตาเดียวปลาตุมปลาฉลามหางไหม้ (อินโดนีเซีย)ปลาฉลามจ้าวมันปลาฉลามนางฟ้าปลาฉลามแนวปะการังปลาฉนากเขียวปลาซิวหัวตะกั่วปลาซิวทองปลาซิวข้าวสารชวาปลาซิวควายข้างเงินปลาซิวคาโลโครม่าปลาปักเป้าหนามทุเรียนปลาปักเป้าจมูกแหลมปลาปักเป้าทองปลาปักเป้าทอง (สกุล)ปลาปักเป้าท้องตาข่ายปลานกแก้วหัวตัดปลานวลจันทร์น้ำจืด (สกุล)ปลาแบมบูซ่าปลาแมกเคอเรลแท้ปลาแมวปลาแมงป่องยักษ์ปลาแขยงดานปลาแค้ปลาแค้ติดหินปลาแปบควายปลาแปบควายไทพัสปลาแปบใสปลาโอดำปลาโจกปลาไส้ตันตาขาวปลาไหลมอเรย์ยักษ์ปลาไหลมอเรย์ตาขาวปลาไหลผีอะบาอะบาปลาเบี้ยวปลาเพียวปลาเกล็ดถี่ (สกุล)ปลาเลียหินปลาเวียนปลาเสือสุมาตราปลาเสือตออินโดนีเซียปลาเอี่ยนหูปลาเข็มงวงปลาเข็มป่าปลาเป้าปลาเนื้ออ่อนDiaphusMyctophum