เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปลาไหลผีอะบาอะบา

ดัชนี ปลาไหลผีอะบาอะบา

ปลาไหลผีอะบาอะบา (Aba aba, Aba knifefish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gymnarchus niloticus ในอันดับปลาลิ้นกระดูก (Osteoglossiformes) อยู่ในวงศ์ Gymnarchidae ซึ่งมีอยู่เพียงชนิดเดียวเท่านั้น เป็นปลาขนาดใหญ่ สามารถยาวได้ถึง 1-1.5 เมตร มีรูปร่างยาวเรียวคล้ายปลาไหล ส่วนหัวมีขนาดเล็ก ตาเล็ก มีครีบพริ้วไหวตลอดลำตัวด้านบน พื้นลำตัวสีเทา ส่วนท้องสีขาว ปลายหางเล็กและเรียวยาว เกล็ดมีขนาดเล็กมาก มีการแพร่กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำของทวีปแอฟริกาแถบตะวันตก ในลุ่มแม่น้ำแกมเบีย โดยอาศัยในความลึกประมาณ 1-1.5 เมตร เป็นปลาที่สามารถอาศัยในแหล่งน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้เป็นอย่างดี ด้วยสามารถฮุบอากาศได้เอง สายตาไม่ดี หาอาหารด้วยการนำทางโดยการสร้างกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน ๆ กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กชนิดอื่นเป็นอาหาร เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ราคาไม่แพง จัดเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมากชนิดหนึ่ง แต่ว่าเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้ายมาก ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้เล.

สารบัญ

  1. 4 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลากรายอันดับปลาลิ้นกระดูกอันดับปลาไหลปลาไฟฟ้า

วงศ์ปลากราย

วงศ์ปลากราย (Featherback fish, Knife fish) เป็นปลากระดูกแข็งน้ำจืดที่อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes คือ ปลาที่มีกระดูกแข็งบริเวณส่วนหัวและลิ้น อันเป็นอันดับเดียวกับปลาในวงศ์ปลาตะพัดและปลาไหลผีอะบาอะบา ใช้ชื่อวงศ์ว่า Notopteridae (/โน-ท็อป-เทอ-ริ-เด-อา/; มาจากภาษากรีกคำว่า noton หมายถึง "หลัง" และ pteron หมายถึง "ครีบ") เป็นปลาน้ำจืด มีรูปร่างแบนด้านข้างมาก และเรียวไปทางด้านท้าย ครีบหลังเล็ก ครีบก้นและครีบหางยาวติดกัน จึงใช้ครีบก้นที่ยาวติดกันนี้โบกพริ้วในเวลาว่ายน้ำ ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ปากกว้าง เกล็ดเป็นแบบขอบบางเรียบ และมีขนาดเล็กละเอียด บางครั้งอาจจะขึ้นมาผิวน้ำเพื่อฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านซี่กรองเหงือกเหมือนเช่นปลาทั่วไปอื่น ๆ เนื่องจากเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษพัฒนามาจากถุงลมใช้ในการหายใจได้โดยตรง เป็นปลากินเนื้อที่ออกหากินในเวลากลางคืน มีจุดเด่นคือ ครีบก้นที่ต่อกับครีบหาง มีก้านครีบทั้งหมด 85-141 ก้าน เป็นครีบที่ปลาในวงศ์นี้ใช้ในการว่ายน้ำมากที่สุด ไม่ว่าจะเคลื่อนที่ไปทิศทางใด ส่วนที่อยู่เหนือครีบก้นขึ้นไปจะเป็นกล้ามเนื้อหนาทำหน้าที่เช่นเดียวกับครีบก้น ซึ่งส่วนของกล้ามเนื้อตรงนี้ มีชื่อเรียกกันในภาษาพูดว่า "เชิงปลากราย" จัดเป็นส่วนที่มีรสชาติอร่อยมาก พฤติกรรมเมื่อวางไข่ตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่ ไข่เป็นก้อนสีขาวทึบ ติดเป็นกลุ่มกับวัสดุใต้น้ำเช่นตอไม้หรือเสาสะพาน เลี้ยงดูลูกจนโต พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, เอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งสิ้น 4 สกุล 10 ชนิด ได้แก.

ดู ปลาไหลผีอะบาอะบาและวงศ์ปลากราย

อันดับปลาลิ้นกระดูก

อันดับปลาลิ้นกระดูก (อังกฤษ: Bony tongues fish) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่งที่มีวิวัฒนาการไม่ต่างจากปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์มากนัก ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Osteoglossiformes (/ออส-ที-โอ-ฟอร์-เมส/) จากฟอสซิลอายุกว่า 60 ล้านปี ที่ค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือ บรรพบุรุษของปลาในอันดับนี้มีขนาดใหญ่ ยาวกว่า 14 ฟุต มีลักษณะพิเศษคือ บริเวณส่วนหัวและลิ้นเป็นกระดูกแข็ง อันเป็นที่มาของชื่อ ทั้งหมดเป็นปลาน้ำจืด ไม่พบในทะเล เป็นปลากินเนื้อ มีการกระจายพันธุ์ทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น พบทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้, ทวีปแอฟริกา, ทวีปอเมริกาใต้, ทวีปออสเตรเลี.

ดู ปลาไหลผีอะบาอะบาและอันดับปลาลิ้นกระดูก

อันดับปลาไหล

อันดับปลาไหล หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ในชื่อสามัญว่า ปลาไหล เป็นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า Anguilliformes มีรูปร่างโดยรวมยาวเหมือนงู พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายอันดับย่อย ในหลายวงศ์ เช่น ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae), วงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae), วงศ์ปลาไหลทะเล (Ophichthidae), วงศ์ปลาไหลยอดจาก (Muraenesocidae), วงศ์ปลาไหลสวน (Congridae) เป็นต้น เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ผิวหนังโดยมากเกล็ดจะมีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นและฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบทั้งหมดมีขนาดเล็กและสั้น มักจะซุกซ่อนตัวอยู่ในวัสดุใต้น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปะการัง, ก้อนหิน, โพรงไม้ หรือ ซากเรือจม ปลาที่อยู่ในอันดับปลาไหลนี้ พบแล้วประมาณ 4 อันดับย่อย, 19 วงศ์, 110 สกุล และประมาณ 800 ชนิด อนึ่ง ปลาบางประเภทที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล แต่มิได้จัดให้อยู่ในอันดับปลาไหลได้แก่ ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes), ปลาปอด ถูกจัดอยู่ในอันดับ Lepidosireniformes และ Ceratodontiformes, ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) อยู่ในอันดับ Gymnotiformes, ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes, ปลางู (Pangio spp.) อยู่ในอันดับ Cypriniformes หรือแม้กระทั่ง ปลาแลมป์เพรย์ และแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในชั้น Agnatha ซึ่งอยู่คนละชั้นเลยก็ตาม เป็นต้น.

ดู ปลาไหลผีอะบาอะบาและอันดับปลาไหล

ปลาไฟฟ้า

ปลาไฟฟ้า หมายถึงปลาจำพวกหนึ่งที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เองในตัว เพื่อใช้ในการล่าเหยื่อและป้องกันตัว โดยมีอวัยวะบางอย่างที่ช่วยในการสร้าง ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ปล่อยออกมานั้นจะมีความแรงแตกต่างกันไปตามชนิดวงศ์ (Family) และสายพันธุ์ (Species) และขนาดของลำตัว ปลาที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุดคือ ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) เป็นปลาน้ำจืด พบในอเมริกาใต้ เป็นปลาขนาดใหญ่ เมื่อเต็มที่ยาวได้ถึง 2 เมตร สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงถึง 600 โวลต์ รุนแรงพอที่จะทำให้หัวใจมนุษย์วายตายได้ ชนิดอื่น ๆ ที่พบในน้ำจืด ก็ได้แก่ ปลาดุกไฟฟ้า (Malapterurus electricus) พบในแอฟริกา สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ถึง 350 โวลต์ และปลาอบา อบา (Gymnarchus niloticus) ขนาดโตเต็มที่ได้ 2 เมตร เช่นกัน และปลาในวงศ์ Gymnotidae พบในอเมริกาใต้ สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนเพื่อการล่าเหยื่อ โดยมากปลาไฟฟ้าที่พบน้ำจืดจะนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ส่วนที่พบในทะเลก็ได้แก่ กระเบนไฟฟ้า อันเป็นปลากระเบนในวงศ์ Narcinidae และ Torpedinidae หมวดหมู่:ปลาแบ่งตามชื่อสามัญ หมวดหมู่:ปลาน้ำจืด หมวดหมู่:ปลาน้ำเค็ม หมวดหมู่:ปลาตู้ หมวดหมู่:ปลาไฟฟ้า.

ดู ปลาไหลผีอะบาอะบาและปลาไฟฟ้า

หรือที่รู้จักกันในชื่อ GymnarchidaeGymnarchusGymnarchus niloticus