โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาโรนันจุดขาว

ดัชนี ปลาโรนันจุดขาว

ปลาโรนันจุดขาว (Spotted guitarfish, Giant guitarfish) ปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกปลาโรนันยักษ์ (Rhynchobatidae) มีส่วนหัวแบนราบคล้ายปลากระเบน และเป็นทรงแหลมคล้ายหัวหอก ครีบหูขนาดใหญ่ ปาก และช่องเปิดเหงือกอยู่ด้านล่าง ครึ่งหลังคล้ายปลาฉลาม เพราะลำตัวส่วนนี้ค่อนข้างกลมมีครีบหลังสองอัน และมีแพนหางเหมือนปลาฉลาม พื้นลำตัวสีเขียว มีจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วลำตัว ปลาโรนันจุดขาว มีความยาวประมาณ 60–180 เซนติเมตร พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร น้ำหนัก 227 กิโลกรัม จัดว่าเป็นปลาโรนันชนิดที่ใหญ่ที่สุด พบได้ตามพื้นทะเลบริเวณชายฝั่ง ของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิค, ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา, ทะเลแดง ในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มักอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำตื้นมากกว่าน้ำลึก รวมทั้งบางครั้งอาจเข้าไปในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืดบริเวณปากแม่น้ำได้ด้วย หากินอาหารได้แก่ สัตว์หน้าดิน เช่น ปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำมีเปลือกชนิดต่าง ๆ ปลาโรนันจุดขาว ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจโดยตรง แต่ในบางครั้งก็ติดเบ็ดหรืออวนของชาวประมง จึงเจอมีขายเป็นปลาบริโภคในตลาดปลาริมทะเลบางตลาดเป็นบางครั้งบางคราว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพัน.

8 ความสัมพันธ์: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปวงศ์ปลาโรนันสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติอันดับปลาโรนันปลาโรนันยักษ์ปลาโรนันหัวเสียมปลาโรนันจุดน้ำกร่อย

รายชื่อชื่อปลาทั่วไป

นี่คือรายชื่อชื่อปลาทั่วไป แต่ละชื่ออาจหมายถึงสปีชีส์หรือสกุลเดียว หรือปลาหลายชนิดพร้อมกันก็ได้ นี่เป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ ดูเพิ่มเติมได้ที่ หมวดหมู่ปล.

ใหม่!!: ปลาโรนันจุดขาวและรายชื่อชื่อปลาทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาโรนัน

ปลาโรนัน (Guitarfishes) ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ Rhinobatidae มีรูปร่างคล้ายปลาฉลามแต่มีส่วนหัวแบนแหลมเหมือนปลากระเบน ซึ่งเป็นรอยต่อของวิวัฒนาการจากปลาฉลามมาถึงปลากระเบน โดยวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคจูราสสิกตอนต้น พบในเขตน้ำอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ทั้งทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปแอฟริกา, เอเชีย และออสเตรเลียทางตอนเหนือ.

ใหม่!!: ปลาโรนันจุดขาวและวงศ์ปลาโรนัน · ดูเพิ่มเติม »

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ

ลานน้ำพุด้านหน้า แผนที่ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ อยู่ที่ ต.เดิมบาง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2539 แล้วเสร็จและเปิดบริการตั้งแต่ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 เปิดให้บริการทุกวัน ในเวลา 10.00 - 15.00 น.

ใหม่!!: ปลาโรนันจุดขาวและสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาโรนัน

อันดับปลาโรนัน (อันดับ: Rajiformes, Skate, guitarfish) เป็นอันดับย่อยของอันดับ Batoidea ซึ่งจัดอยู่ในชั้นปลากระดูกอ่อน ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีลักษณะโดยรวมที่แตกต่างไปจากปลาในอันดับ Batoidea อันดับอื่น คือ มีครีบอกที่ใหญ่กว่า แผ่ขยายมากกว่า และอยู่ใกล้กับส่วนหัวซึ่งแบนราบอย่างเห็นได้ชัด มีตาอยู่บนด้านบนของหัว และซี่เหงือกอยู่ด้านล่างเหมือนปลากระเบนทั่วไป มีฟันใช้สำหรับบดอาหาร จำพวก ครัสเตเชียนและหอยชนิดต่าง ๆ ส่วนใหญ่เมื่อให้กำเนิดลูก ตัวอ่อนจะพัฒนาในแคปซูลที่มีรูปร่างเหมือนเขาสัตว์ ที่ถูกเรียก "กระเป๋านางเงือก" (Mermaid's purse) ซึ่งปลาที่อยู่ในอันดับนี้ที่เป็นรู้จักเป็นอย่างดี คือ ปลาโรนัน และ ปลาโรนิน รวมถึงปลากระบาง ซึ่งอันดับนี้เคยรวมเป็นอันดับเดียวกับ อันดับปลากระเบน คือ ปลากระเบนทั่วไป และ Pristiformes หรือปลาฉนากมาก่อนด้วย โดยคำว่า Rajiformes นั้น มาจากภาษาลาตินคำว่า "raja" ที่หมายถึง ปลากระเบน กับคำว่า "forma" ที่หมายถึง แหลมคม.

ใหม่!!: ปลาโรนันจุดขาวและอันดับปลาโรนัน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโรนันยักษ์

ปลาโรนันยักษ์ (Wedgefishes) ปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง ในกลุ่มปลากระเบน จัดอยู่ในวงศ์ Rhynchobatidae และสกุล Rhynchobatus โดยแยกออกจากปลาโรนันซึ่งอยู่ในวงศ์ Rhinobatidae อีกที (โดยในบางแหล่งข้อมูลยังคงจัดให้อยู่รวมกัน) พบกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของอินโด-แปซิฟิก โดยมีเป็นบางชนิดที่พบในมหาสมุทรแอตแลนติกแถบตะวันออก โดยเป็นปลาที่ถูกประเมินไว้จากสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) แล้วว่าทุกชนิดตกอยู่ในสภานะของการเสี่ยงหรือล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์ เป็นปลาขนาดใหญ่ ความยาวที่สุดที่พบคือ 3 เมตร (9.8 ฟุต) จัดว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มปลากระเบนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แต่ขนาดเล็กที่สุดมีความยาวเพียงครึ่งเดียว ทุกชนิดมีความคล้ายคลึงกันโดยมองอย่างผิวเผิน โดยสามารถจำแนกออกจากกันด้วยการพิจารณาลักษณะโดยรวมของส่วนปลายจมูก, การนับกระดูกสันหลัง ตลอดจนสีตามลำตัว (การกระจายตัวของจุดสีขาว และการมีหรือไม่มีฐานสีดำที่ใต้ครีบอก).

ใหม่!!: ปลาโรนันจุดขาวและปลาโรนันยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโรนันหัวเสียม

ปลาโรนันหัวเสียม (Shovelnose guitarfish) ปลากระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาโรนัน (Rhinobatidae) จัดเป็นปลาโรนันขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ราว 1.5 เมตร มีรูปร่างเหมือนปลาโรนันจุดขาว (Rhynchobatus djiddensis) แต่มีขนาดเล็กกว่าและไม่มีจุดสีขาว เป็นปลาโรนันที่พบกระจายอย่างกว้างขวาง โดยพบตั้งแต่บริเวณอ่าวเม็กซิโก, อ่าวแคลิฟอร์เนีย, มหาสมุทรแปซิฟิคทางตะวันออก ตลอดจนน่านน้ำในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยจัดเป็น ปลาโรนัน 1 ใน 3 ชนิดที่พบได้บ่อย (อีก 2 ชนิด คือ ปลาโรนันจุดขาว และปลาโรนิน (Rhina ancylostoma)) แต่เป็นชนิดที่พบได้น้อยกว่าปลาโรนันจุดขาวมาก.

ใหม่!!: ปลาโรนันจุดขาวและปลาโรนันหัวเสียม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโรนันจุด

ปลาโรนันจุด (Giant guitarfish, White-spotted guitarfish, Spotted guitarfish) ปลากระดูกอ่อนทะเลขนาดใหญ่ จำพวกปลาโรนัน โดยอยู่ในวงศ์ปลาโรนันยักษ์ (Rhinobatidae) มีจะงอยปากแหลม หัวดูคล้ายหัวเรือ ครีบอกปลายแหลม ครีบหลังเรียวโค้งอยู่ห่างกัน ครีบหางเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว กลางหลังมีสันขรุขระและแคบ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอ่อนหรือสีกากี ลำตัวรวมถึงครีบอกมีจุดสีขาวเป็นดวง ชานครีบอกมีจุดกลมสีดำ ส่วนท้องสีขาว เป็นปลาโรนันขนาดใหญ่ ขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ย 250 เซนติเมตร และอาจใหญ่ได้ถึง 3 เมตร อาศัยอยู่ตามลำพังหรือเป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่กี่ตัว ตามชายฝั่งและแนวปะการังตอนลึก จนถึงไหล่ทวีป กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำหน้าดิน เช่น ปู, กุ้ง หรือหอย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งสองฟากฝั่งทะเล แต่เป็นปลาที่พบได้น้อย ในอดีตถือว่าเป็นปลาโรนันที่เป็นชนิดซับซ้อนกับปลาโรนันชนิดอื่น ๆ คือ ปลาโรนันจุดขาว (R. djiddensis), ปลาโรนันจมูกกว้าง (R. springeri) และอาจเป็นไปได้ว่ารวมถึงปลาโรนันจมูกเรียบ (R. laevisWhite, W.T. & McAuley, R. 2003.. Downloaded on 3 August 2007.).

ใหม่!!: ปลาโรนันจุดขาวและปลาโรนันจุด · ดูเพิ่มเติม »

น้ำกร่อย

น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand.

ใหม่!!: ปลาโรนันจุดขาวและน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Giant guitarfishRhynchobatus djiddensis

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »