เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปลาโรซี่บาร์บ

ดัชนี ปลาโรซี่บาร์บ

ปลาโรซี่บาร์บ (Rosy barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียใต้ มีลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง พื้นลำตัวมีสีแดงอมส้ม แผ่นหลังสีเขียวมะกอก เกล็ดมีขนาดเล็กเป็นมันแวววาวระยิบระยับ ลำตัวบริเวณใกล้โคนหางมีจุดสีดำอยู่ ข้างละ 1 จุด เพศผู้จะมีสีแดงเข้มและหางยื่นยาวกว่าเพศเมีย จัดเป็นปลาขนาดเล็ก ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 14 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 เซนติเมตร นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูง กระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย บริเวณรัฐอัสสัมและรัฐเบงกอล นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่นเดียวกับปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาเสือสุมาตรา (Puntigrus tetrazona), ปลาเสือข้างลาย (P.

สารบัญ

  1. 1 ความสัมพันธ์: สกุลเพเธีย

สกุลเพเธีย

กุลเพเธีย เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Pethia ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) คำว่า Pethia มาจากภาษาสิงหลคำว่า pethia หมายถึง สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เช่น ปลาตะเพียนขนาดเล็ก ๆ ส่วนใหญ่เป็นปลาที่พบได้ในประเทศอินเดีย รวมถึงพม่า มีลักษณะสำคัญ คือ เป็นปลาขนาดเล็กที่มีสีสันสดใส มีก้านครีบแข็งที่ครีบหลัง ที่ขอบด้านท้ายเป็นซี่จักรแข็งแรง ไม่มีหนวดที่ขากรรไกรคู่หน้า ส่วนคู่หลังอาจพบหรือไม่พบแล้วแต่ชนิด ริมฝีปากบาง เกล็ดที่มีท่อเส้นข้างลำตัวอาจไม่พบตลอดแนวเกล็ดด้านข้างจำนวน 19-24 เกล็ด ในบางชนิด ครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัวล้ำแนวจุดเริ่มต้นของครีบท้อง มักมีจุดกลมรีในแนวยาวบริเวณคอดหาง และแต้มกลมเหนือแนวครีบอก.

ดู ปลาโรซี่บาร์บและสกุลเพเธีย

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Pethia conchoniaPethia conchoniusPuntius conchonius