เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปลาโนรีเทวรูป

ดัชนี ปลาโนรีเทวรูป

ปลาโนรีเทวรูป หรือ ปลาผีเสื้อเทวรูป (Moorish idol) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zanclus cornutus จัดอยู่ในวงศ์ Zanclidae (มาจากภาษากรีกคำว่า zagkios หมายถึง ทแยง) และถือเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ และสกุล Zanclus ปลาโนรีเทวรูป มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มาก โดยเฉพาะกับปลาโนรี (Heniochus spp.) ซึ่งในอดีตเคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ปัจจุบันได้มีการแยกออกมา แต่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปลาโนรีเทวรูปมีความใกล้เคียงกับปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) หรือปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) มากกว่า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาโนรีครีบยาว (H.

สารบัญ

  1. 8 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลาผีเสื้ออันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดอันดับปลากะพงอุทยานธรรมชาติพืดหินปะการังตุบบาตาฮาปลาโนรีปลาโนรีครีบยาวปลาโนรีเกล็ดปะการังเทียม

วงศ์ปลาผีเสื้อ

วงศ์ปลาผีเสื้อ (วงศ์: Chaetodontidae, Butterflyfish, Bannerfish, Coralfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลจำพวกหนึ่ง ในชั้นปลากระดูกแข็ง อันดับปลากะพง (Perciformes) ประกอบไปด้วยสมาชิกแบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 10 สกุล พบประมาณ 114 ชนิด มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวสั้น แบนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้าและก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง มีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้า ๆ ไม่ว่องไว มีสีสันและลวดลายที่สดใสสวยงาม มีพฤติกรรมอาศัยเป็นฝูงหรือเป็นคู่ในแนวปะการัง พบแพร่กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิค เป็นปลาที่ออกหากินในเวลากลางวัน โดยอาศัยการแทะกินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ตามแนวปะการัง ส่วนในเวลากลางคืนจะอาศัยหลับนอนตามโพรงหินหรือปะการัง และจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นเพื่ออำพรางตัวจากศัตรู ซึ่งในหลายชนิดและบางสกุล จะมีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่คล้ายดวงตาอยู่บริเวณท้ายลำตัวเพื่อล่อหลอกให้ศัตรูสับสนได้อีกด้วยคล้ายกับผีเสื้อที่เป็นแมลง มีการสืบพันธุ์วางไข่โดยการปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนจะรอวันให้ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวและกลับไปอาศัยในแนวปะการังต่อไป ลูกปลาผีเสื้อแทบทุกชนิดมีรูปร่างหน้าตาแทบจะเหมือนกับตัวเต็มวัย โดยมักจะมีจุดบริเวณครีบหลัง และเมื่อลูกปลาโตขึ้นจุดที่ว่านี้ก็จะหายไปเช่นเดียวกับปลาในแนวปะการังอื่น ๆ อีกหลายชนิด ด้วยความสวยงามและรูปร่างที่น่ารัก จึงทำให้นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งในบางชนิดสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ หลายชนิดเลี้ยงได้ไม่ยากนัก ขณะที่บางชนิดที่เลี้ยงได้ยาก สำหรับในน่านน้ำไทยพบปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนี้ไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด อาทิ ปลาผีเสื้อนกกระจิบ (Chelmon rostratus), ปลาผีเสื้อทอง (Chaetodon semilarvatus), ปลาผีเสื้อจมูกยาวขอบตาขาว (Forcipiger flavissimus), ปลาโนรีเกล็ด (Heniochus diphreutes) เป็นต้น โดยจะพบในด้านทะเลอันดามันมากกว่าอ่าวไทย ซึ่งปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนั้น ในอดีตเมื่อเริ่มมีการอนุกรมวิธาน ด้วยลักษณะปากที่ยื่นยาวทำให้มีความเข้าใจผิดว่า สามารถพ่นน้ำจับแมลงได้เหมือนเช่น ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด โดยความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.

ดู ปลาโนรีเทวรูปและวงศ์ปลาผีเสื้อ

อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ด

อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ด หรือ อันดับย่อยปลาขี้ตัง (Surgeonfish) อันดับย่อยของปลาทะเลกระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acanthuroidei ปลาในอันดับย่อยนี้ ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ปลาขี้ตังเบ็ด, ปลาขี้ตัง, ปลาค้างคาว เป็นต้น บางชนิดสามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดสนิทได้.

ดู ปลาโนรีเทวรูปและอันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ด

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ดู ปลาโนรีเทวรูปและอันดับปลากะพง

อุทยานธรรมชาติพืดหินปะการังตุบบาตาฮา

อุทยานธรรมชาติพืดหินปะการังตุบบาตาฮา (Bahurang Tubbataha; Tubbataha Reefs Natural Park) คือ พื้นที่คุ้มครองแห่งหนึ่งของฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่บริเวณใจกลางทะเลซูลู เขตสงวนพันธุ์นกและสัตว์ทะเลประกอบด้วย เกาะรูปวงแหวนที่เกิดจากหินปะการังใหญ่ 2 เกาะ (ชื่อเกาะวงแหวนเหนือและใต้) และปะการังเจสซี บีซลีย์ ที่เล็กกว่าครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 97,030 เฮกตาร์ (239,800 เอเคอร์; 371.6 ตารางไมล์) เขตเกาะปะการังตั้งอยู่ 150 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองปูเวร์โตปรินเซซา (Puerto Princesa City) เมืองหลักของจังหวัดปาลาวัน เกาะที่ไม่มีใครอยู่อาศัยและปะการังเป็นส่วนหนึ่งของเทศบาลเกาะคากายันซิลโย (Cagayancillo) จังหวัดปาลาวัน ตั้งอยู่ราว 130 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉี่ยงเหนือของปะการัง ในเดือนธันวาคม..

ดู ปลาโนรีเทวรูปและอุทยานธรรมชาติพืดหินปะการังตุบบาตาฮา

ปลาโนรี

ำหรับโนรีที่หมายถึงนก ดูที่: นกโนรี สำหรับโนรีที่หมายถึงนักมวย ดูที่: โนรี จ๊อกกี้ยิม ปลาโนรี (Bannerfishes, Pennanfishes) เป็นสกุลของปลาทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Heniochus อยู่ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวสั้นแต่กว้างมาก หัวแหลม ปากเล็กอยู่ที่ปลายสุดจะงอยปาก ครีบหลังที่มีก้านแข็งราว 11-12 อัน ก้านครีบหลังอันที่ 4 ตอนแรกยื่นยาวเป็นเส้นยาวมากดูโดดเด่น ตัวมีสีสันสดสวยหัวและลำตัวมีพื้นสีขาวเงิน มีแถบสีดำเข้มพาดขวางราว 3 แถบ มีทั้งหมด 8 ชนิด ได้แก.

ดู ปลาโนรีเทวรูปและปลาโนรี

ปลาโนรีครีบยาว

ปลาโนรีครีบยาว (Pennant coralfish, Longfin bannerfish, Coachman, Black and White Heniochus, Poor mans' moorish idol, Black and White bannerfish, Featherfin bullfish) เป็นปลาทะเลจำพวกปลาโนรีชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heniochus acuminatus อยู่ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) เป็นปลาที่สังเกตและแยกแยะได้ง่าย เพราะมีครีบหลังยาวออกมาเป็นเส้น ลำตัวเป็นลายสีขาวดำ ครีบและหางมีสีเหลือง ลักษณะคล้ายกับปลาโนรีอีกชนิดหนึ่ง คือ ปลาโนรีเกล็ด (H.

ดู ปลาโนรีเทวรูปและปลาโนรีครีบยาว

ปลาโนรีเกล็ด

ปลาโนรีเกล็ด หรือ ปลาโนรีเทวรูปปลอม (Schooling bannerfish, False moorish idol) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heniochus diphreutes ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) จัดเป็นปลาโนรีอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสวยงาม มีลักษณะและรูปร่างคล้ายเคียงกับปลาโนรีครีบยาว (H.

ดู ปลาโนรีเทวรูปและปลาโนรีเกล็ด

ปะการังเทียม

นักประดาน้ำกำลังก่อสร้างปะการังเทียมจากแท่งคอนกรีต ปะการังเทียม (Artificial reef) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมีแบบแผน เพื่อดัดแปลงสภาพของพื้นท้องทะเลให้อุดมสมบูรณ์ให้เหมือนสมัยก่อน โดยปะการังตามธรรมชาติมีการถูกทำลายและเหลือจำนวนน้อยลง โดยการจัดทำสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยหรือเรียกง่าย ๆ ว่า บ้านปลา เลียนแบบบริเวณที่มีกองหินใต้น้ำ ซากเรืออัปปาง หรือแนวปะการังธรรมชาติ โดยการใช้วัสดุที่แข็งแรง ทนทาน มีน้ำหนัก สามารถต้านทานกระแสน้ำได้ ราคาไม่แพง มีรูปแบบที่มีช่องเงาให้สัตว์น้ำกำบังหรือหลบซ่อนตัวได้ และนำไปวางรวมกลุ่มกันในบริเวณต่างๆ ตามแนวชายฝั่งที่เหมาะสม วัสดุที่ใช้ก่อสร้างนั้นเป็นคอนกรีตล้วน เรียกว่า มาลีนไทด์ ซึ่งเป็นคอนกรีตที่ไม่ถูกกัดเซาะจากน้ำเค็ม โดยดำเนินการในหลายพื้นที่ อาทิ จังหวัดเพชรบุรี, ชุมพร, พังงา, ปัตตานี, นราธิวาส, ตราด, สุราษฎร์ธานี และในปี 2549 นี้ จะมีการดำเนินการจัดสร้างปะการังเทียมในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และชลบุรี แต่ในบางท้องถิ่นไม่ได้มีสิ่งของดังกล่าวเสมอไป จึงต้องหาวัสดุอื่นมาทดแทน เช่น ยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว เนื่องจากมีปริมาณเหลือใช้ค่อนข้างมาก จึงมีการนำมามัดรวมกันเป็นชุดๆ ชาวประมงท้องถิ่นสามารถทำได้เองในราคาที่ค่อนข้างถูก.

ดู ปลาโนรีเทวรูปและปะการังเทียม

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Chaetodon canescensZanclidaeZanclusZanclus canescensZanclus cornutusปลาผีเสื้อหนังปลาผีเสื้อเทวรูปปลาโนรีหนัง