โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาแป้นแก้ว

ดัชนี ปลาแป้นแก้ว

ปลาแป้นแก้ว (Siamese glassfish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแป้นแก้ว (Ambassidae) มีลำตัวตัวใสหรือสีขาวคล้ายสีข้าวเม่า มีครีบหลัง 2 อัน ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบแข็งเป็นหนานแหลมอยู่ 7 ก้าน ครีบหลังอันที่สองมีเฉพาะก้านครีบฝอย ครีบก้นมีก้านครีบที่เป็นหนานแหลมอยู่ 3 ก้าน มีเกล็ดกลมบางใสและหลุดง่าย ลักษณะเนื้อโปร่งใสจนมองเห็นอวัยวะภายใน ตามลำตัวมีจุดสีดำอยู่ทั่วไป มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูงในแหล่งน้ำทั่วไป พบกระจายพันธุ์ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำและแมลงขนาดเล็ก เป็นปลาที่หากินในเวลากลางคืน มักจับได้ในปริมาณทีละมาก ๆ โดยใช้แสงไฟล่อเพื่อให้ปลามากินแมลงบนผิวน้ำ นิยมใช้บริโภคกันในท้องถิ่น อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยการฉีดสีเข้าไปในตัวปลาเป็นสีสันต่าง ๆ เช่น สีน้ำเงิน, สีเหลือง, สีส้ม หรือสีแดง เพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ปลาเรนโบว์" รือ "ปลาสายรุ้ง" ซึ่งสีเหล่านี้ก็จะจางและซีดลงไปเองตามเวลา ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น "ปลาข้าวเม่า" หรือ "คับของ" หรือ "แว่น" ในภาษาเหนือ เป็นต้น.

5 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลาแป้นแก้วปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลองปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขงปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปลาข้าวเม่า

วงศ์ปลาแป้นแก้ว

ระวังสับสนกับปลาวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาแป้น วงศ์ปลาแป้นแก้ว (วงศ์: Ambassidae อดีตเคยใช้ Chandidae; Asiatic glassfish) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง พบทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และทะเล มีลักษณะโดยรวมมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ส่วนหัวและท้องกว้าง ลำตัวแบนข้าง หัวโต ตาโต ปากกว้าง ครีบหลังแบ่งออกได้เป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้ามแข็งแรงและแหลมคม ตอนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นมีก้านแข็ง 3 ชิ้น ครีบท้องมีก้านแข็ง 1 ชิ้น ครีบอกเล็ก ลำตัวโดยมากเป็นสีใสหรือขุ่นจนสามารถมองเห็นกระดูกภายในลำตัวได้ ด้านท้องมีสีเงิน เป็นปลากินเนื้อ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ เป็นปลาขนาดเล็กมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นของชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจนถึงฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย มีทั้งหมด 8 สกุล 49 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบในน้ำจืด 5 ชนิด โดยชนิดที่พบมากที่สุดคือ ปลาแป้นแก้ว (Parambassis siamensis) และชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลาแป้นแก้วยักษ์ (P. wolffii) มีชื่อสามัญเรียกโดยรวมว่า "แป้นแก้ว" หรือ "แป้นกระจก" หรือ "กระจก" หรือ "ข้าวเม่า" ในภาษาถิ่นเหนือเรียกว่า "แว่น" ในภาษาอีสานเรียกว่า "คับของ" หรือ "ปลาขี้ร่วง" มีความสำคัญคือเป็นปลาเศรษฐกิจใช้บริโภคในพื้นถิ่น เช่น บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง โดยทำปลาแห้งและบริโภคสด อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามด้วย โดยมักฉีดสีเข้าในลำตัวปลา เป็นสีสันต่าง ๆ เช่น สีเหลือง, สีส้ม, สีน้ำเงิน และเรียกกันในแวดวงปลาสวยงามว่า "ปลาเรนโบว์" หรือ "ปลาสายรุ้ง" ซึ่งเมื่อเลี้ยงนานเข้า สีเหล่านี้จะหลุดหายไปเอง โดยที่ปลาไม่ได้รับอันตร.

ใหม่!!: ปลาแป้นแก้วและวงศ์ปลาแป้นแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง มีชนิดปลามากกว่า 200 ชนิด และเป็นปลาเฉพาะถิ่นและปลาท้องถิ่นประมาณ 20 ชนิด โดยปลาในลุ่มแม่น้ำนี้หลายชนิดซ้ำซ้อนกับปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ที่เป็นลุ่มแม่น้ำใกล้เคียง.

ใหม่!!: ปลาแป้นแก้วและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง

แผนที่แสดงสาขาแม่น้ำโขง ปลาในลุ่มแม่น้ำโขงที่วางขายในตลาดสด ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 1,200 ชนิด และคาดว่าอาจมีถึง 1,700 ชน.

ใหม่!!: ปลาแป้นแก้วและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

้เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดียวเท่านั้น ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นแม่น้ำหลักของประเทศอีกลุ่มแม่น้ำหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบปลาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้แล้วไม่ต่ำกว่า 350 ชนิด นับเป็นอันดับ 2 รองจากลุ่มแม่น้ำโขงหนังสือปลาไทยคืนถิ่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมประมง มีนาคม..

ใหม่!!: ปลาแป้นแก้วและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาข้าวเม่า

ำหรับปลาข้าวเม่าที่เป็นปลาซิวหรือปลาแปบ ดูที่: ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว) ปลาข้าวเม่า (Asian glassfish) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาแป้นแก้ว (Ambassidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Parambassis (/พา-แรม-บาส-ซิส/) ปลาในสกุลนี้มีเกล็ดค่อนข้างเล็ก มีเกล็ดบนเส้นข้างลำตัวประมาณ 40-60 แถว บนกระดูกแก้มมีเกล็ด 4-7 แถว ไม่มีฟันที่ปลายลิ้น กระดูกแก้ม 2 ชิ้นที่อยู่ใกล้ตามีขอบจักเป็นฟันเลื่อย ลำตัวบางใส ครีบทุกครีบใส ในบางชนิดอาจมีตัวเป็นสีสันต่าง ๆ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง กิน แมลงและแพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์น้ำขนาดเล็กรวมทั้งตะไคร่น้ำเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 2-7 เซนติเมตร โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด พบในออสเตรเลีย คือ P. gulliveri ที่มีขนาดใหญ่ได้ถึงเกือบ 30 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่น ซึ่งชาวประมงจะนิยมจับกันในเวลากลางคืน โดยใช้แสงไฟจากนีออนล่อให้ขึ้นมากินแมลงที่มาเล่นไฟเหนือน้ำ โดยจะจับได้ทีละมาก ๆ โดยในภาษาไทยจะเรียกปลาในสกุลนี้รวม ๆ กันว่า "แป้น", "แป้นแก้ว", "แว่น", "คับข้อง" หรือ "ขี้ร่วง" ในบางท้องถิ่น.

ใหม่!!: ปลาแป้นแก้วและปลาข้าวเม่า · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Parambassis siamensis

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »