โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาแขยงดาน

ดัชนี ปลาแขยงดาน

ปลาแขยงดาน เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Bagrichthys (/บา-กริค-ทีส/) อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagridae) อันดับปลาหนัง (Siluformes) มีลักษณะสำคัญ คือ มีส่วนหัวขนาดเล็ก จะงอยปากเป็นรูปกระสวย ลำตัวแบนข้าง ปากเล็ก รีมฝีปากบนและล่างเป็นจีบ นัยน์ตามีขนาดเล็กมาก ตามีเยื่อหุ้ม หนวดค่อนข้างเล็กสั้นมี 4 คู่ แบ่งเป็นที่จมูก 1 คู่, ริมฝีปากบน 1 คู่, ริมฝีปากล่าง 1 คู่, และคาง 1 คู่สันหลังโค้ง ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้านเป็นซี่แข็งขอบจักเป็นฟันเลื่อย ซึ่งตั้งตรงเห็นได้ชัดเจน ในบางชนิดจะยาวจนแลดูเด่น มีก้านครีบแขนง 5-6 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 2-3 ก้าน และก้านครีบแขนง 5-6 ก้าน ครีบอกมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้านที่แข็งและหยักเป็นฟันเลื่อยปลายแหลม ครีบท้องสั้น ครีบไขมันมีฐานยาวด้านหน้าจรดฐานครีบหลังและปลายจรดโคนครีบหาง ครีบหางเว้าลึก เป็นสกุลที่มีความคล้ายคลึงกับสกุล Bagroides และทั้ง 2 สกุลนี้ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับสกุล Leiocassis ซึ่งเป็นปลาแขยงหรือปลากดที่มีขนาดเล็ก จัดเป็นปลาขนาดกลาง โตเต็มที่ประมาณ 1 ฟุต มีสีลำตัวเป็นสีม่วงคล้ำเกือบดำ ส่วนท้องสีขาว ในปลาวัยอ่อนอาจมีสีลำตัวเป็นลวดลายเหมือนลายพรางทหาร เป็นปลาที่หากินในเวลากลางคืน พบกระจายพันธุ์ในประเทศไทย, แม่น้ำโขง จนถึงอินโดนีเซีย แต่ไม่พบในแม่น้ำสาละวิน เป็นปลาที่นิยมบริโภคกัน และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

2 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลากดปลาดุกมูน

วงศ์ปลากด

วงศ์ปลากด (Naked catfishes, Bagrid catfishes) เป็นปลาหนังไม่มีเกล็ด ในวงศ์ Bagridae (/บา-กริ-ดี้/) มีส่วนหัวค่อนข้างแบนราบ แต่ลำตัวแบนข้างไปทางด้านท้าย ปากกว้างอยู่ที่ปลายสุดของจะงอยปาก มีฟันซี่เล็กแหลมขึ้นเป็นแถวบนขากรรไกรและเพดาน มีหนวด 4 คู่ โดยคู่ที่อยู่ตรงริมฝีปากยาวที่สุด ครีบหลังและครีบอกเป็นก้านแข็ง หรือเรียกว่า เงี่ยง ครีบไขมันค่อนข้างยาว ครีบหางเว้าลึก ในตัวผู้มักมีติ่งเล็กๆ ที่ช่องก้น มีการกระจายพันธุ์ตามแหล่งน้ำจืดไปจนถึงน้ำกร่อยตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงหมู่เกาะซุนดา พบประมาณ 200 ชนิด สำหรับในประเทศไทย จัดเป็นปลาหนังวงศ์ที่พบมากชนิดที่สุดของไทย โดยพบมากกว่า 25 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว มีพฤติกรรมมักกบดานอยู่กับพื้นนิ่ง ๆ ถ้าไม่พบอาหารหรือล่าเหยื่อจะไม่เคลื่อนไหว กินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่แมลง, ปลา, กุ้ง, ซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมนำมาบริโภคบ่อย ปลาในวงศ์นี้ มีชื่อสามัญในภาษาไทยมักเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลากด" ในปลาขนาดใหญ่ และ "ปลาแขยง" (ปลาลูกแหยง ในภาษาใต้) หรือ "ปลามังกง" ในปลาขนาดเล็ก โดยมีสกุลที่ใหญ่ที่สุดคือสกุล Rita ที่พบได้ในประเทศอินเดียและแม่น้ำสาละวินที่เมื่อโตเต็มที่อาจใหญ่ได้ถึง 2 เมตร.

ใหม่!!: ปลาแขยงดานและวงศ์ปลากด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุกมูน

ปลาดุกมูน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bagrichthys obscurus อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagridae) มีส่วนหัวสั้น จะงอยปากเล็ก ตาเล็กมาก มีหนวดสั้น 4 คู่ คู่ที่อยู่ด้านล่างจะเป็นเส้นแบนบิดเป็นเกลียว ริมฝีปากเล็กเป็นจีบ ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ส่วนหลังยกสูง ครีบหลังสูง ครีบไขมันยาวมาก ครีบหางเว้าลึก ครีบหลังยกสูงและครีบอกแข็งเป็นก้านแข็งปลายคม ตัวมีสีคล้ำหรือน้ำตาลอ่อน ด้านท้องสีจาง ปลาวัยอ่อนมีแถบเฉียงสีจางพาดขวางลำตัว ครีบสีจาง หางใส มีขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุด 30 เซนติเมตร พบชุกชุมในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำบางปะกง, แม่น้ำโขง มีพฤติกรรมมักหากินบริเวณท้องน้ำที่มีน้ำขุ่น วางไข่ในฤดูฝน นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด เนื้อมีรสชาติดี อร่อย มีราคาสูง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ปลาดุกมูน ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า "ปลาแขยงหนู", "ปลาแขยงหมู", "ปลากดหมู" หรือ "ปลาแขยงดาน" เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาแขยงดานและปลาดุกมูน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

BagrichthysPseudobagrichthysสกุลปลาดุกมูนสกุลปลาแขยงดานปลาดุกมูน (สกุล)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »