โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาแก้มช้ำ

ดัชนี ปลาแก้มช้ำ

ปลาแก้มช้ำ (Red cheek barb, Javaen barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลาชนิดอื่นในวงศ์นี้ แต่มีรูปร่างป้อมกลมกว่า ด้านข้างแบน หัวเล็ก ปากค่อนข้างเล็กและอยู่ปลายสุด มีหนวดสั้น ๆ และเล็กจำนวน 4 เส้น มีเกล็ดค่อนข้างใหญ่ สีตามบริเวณลำตัวและหัวจะเป็นสีขาวเงิน หลังสีน้ำตาลอ่อน ฝาปิดเหงือกมีสีแดงหรือสีส้มเหมือนรอยช้ำ อันเป็นที่มาของชื่อ บริเวณหลังช่องเปิดเหงือกมีสีแถบดำ ครีบทั้งหมดมีสีแดง ครีบหางจะมีสีแถบดำ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปทุกภูมิภาคของไทย โดยอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ และบางครั้งอาจปะปนกับปลาตะเพียนชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาตะเพียนเงิน (Barbonymus gonionotus), ปลาตะเพียนทอง (B. altus) หรือ ปลากระแห (B. schwanenfeldii) เป็นต้น มีชื่อเรียกต่าง ๆ มากมายตามแต่ละภูมิภาค เช่น ภาษาใต้เรียก "ปลาลาบก", ภาษาเหนือเรียก "ปลาปกส้ม", ภาษาอีสานเรียก "ปลาสมอมุก" หรือ "ปลาขาวสมอมุก" เป็นต้น เป็นปลาที่นิยมใช้บริโภคเหมือนปลาตะเพียนทั่วไป และนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยปลาที่ถูกเลี้ยงในตู้กระจกสีสันจะสวยกว่าปลาที่อยู่ในธรรมชาต.

6 ความสัมพันธ์: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปสกุลซีสโทมัสปลากระแหปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลองปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขงปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

รายชื่อชื่อปลาทั่วไป

นี่คือรายชื่อชื่อปลาทั่วไป แต่ละชื่ออาจหมายถึงสปีชีส์หรือสกุลเดียว หรือปลาหลายชนิดพร้อมกันก็ได้ นี่เป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ ดูเพิ่มเติมได้ที่ หมวดหมู่ปล.

ใหม่!!: ปลาแก้มช้ำและรายชื่อชื่อปลาทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

สกุลซีสโทมัส

กุลซีสโทมัส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Systomus (/ซีส-โท-มัส/) เป็นปลาพื้นเมืองที่พบได้ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย เป็นปลาที่มีขอบท้ายก้านครีบแข็งของครีบหลังมีซี่จักรแข็งแรง ริมฝีปากเรียบบาง มีหนวดที่ริมฝีปากบนสองคู่ เกล็ดในแนวเส้นข้างลำตัวพัฒนาเป็นท่อสมบูรณ์จำนวนระหว่าง 27-34 เกล็ด เกล็ดบนลำตัวแต่ละเกล็ดมีฐานเกล็ดสีดำ แลดูเหมือนลายตามยาวจาง ๆ มีแต้มกลมรี ตามแนวยาวที่ฐานครีบหาง หลายชนิดมีจุดกลมสีดำบริเวณจุดเริ่มต้นของครีบหลัง มักพบแถบสีดำบริเวณขอบบนและล่างของครีบหาง หน้า 68, ตะเพียน Update, "คุยเฟื่องเรื่องปลาไทย" โดย อ.ชัยวุฒิ กรุดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ใหม่!!: ปลาแก้มช้ำและสกุลซีสโทมัส · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระแห

ฝูงปลากระแหที่ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุพรรณบุรี ปลากระแห เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทอง (B. altus) ที่อยู่สกุลเดียวกัน แต่มีรูปร่างป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก ปากเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด ครีบอื่น ๆ มีสีส้มสดยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว มีขนาดประมาณ 15–30 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำและหนองบึงทุกภาคของประเทศไทย หรือตามหน้าวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำต่าง ๆ โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกับปลาตะเพียน (B. gonionotus), ปลาตะเพียนทอง, ปลาแก้มช้ำ (Puntius orphoides) หรือปลาในตระกูลปลาตะเพียนชนิดอื่นด้วยกันเสมอ ปลากระแหนิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ชื่อเรียกอื่น ๆ ตามท้องถิ่น เช่น "กระแหทอง" หรือ "ตะเพียนหางแดง", ในภาษาใต้เรียก "ลำปำ", ในภาษาอีสานเรียก "เลียนไฟ", ภาษาเหนือเรียก "ปก" เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาแก้มช้ำและปลากระแห · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง มีชนิดปลามากกว่า 200 ชนิด และเป็นปลาเฉพาะถิ่นและปลาท้องถิ่นประมาณ 20 ชนิด โดยปลาในลุ่มแม่น้ำนี้หลายชนิดซ้ำซ้อนกับปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ที่เป็นลุ่มแม่น้ำใกล้เคียง.

ใหม่!!: ปลาแก้มช้ำและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง

แผนที่แสดงสาขาแม่น้ำโขง ปลาในลุ่มแม่น้ำโขงที่วางขายในตลาดสด ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 1,200 ชนิด และคาดว่าอาจมีถึง 1,700 ชน.

ใหม่!!: ปลาแก้มช้ำและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

้เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดียวเท่านั้น ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นแม่น้ำหลักของประเทศอีกลุ่มแม่น้ำหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบปลาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้แล้วไม่ต่ำกว่า 350 ชนิด นับเป็นอันดับ 2 รองจากลุ่มแม่น้ำโขงหนังสือปลาไทยคืนถิ่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมประมง มีนาคม..

ใหม่!!: ปลาแก้มช้ำและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Puntius orphoidesSystomus orphoidesSystomus rubripinnisปลาสมอมุก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »