โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาเสือดำ

ดัชนี ปลาเสือดำ

ปลาเสือดำ หรือ ปลากะพงเล็ก (ชื่อท้องถิ่นจันทบุรี) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nandus nebulosus อยู่ในวงศ์ปลาเสือดำ (Nandidae) มีรูปร่างคล้ายปลาดุมชี (N. oxyrhynchus) ซึ่งอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกัน แต่มีจะงอยปากสั้นกว่าปลาดุมชี มีลำตัวแบนข้าง หัวและตาโต ปากมน บนฝาปิดเหงือกมีหนามชิ้นเล็ก ๆ 1 ชิ้น ลำตัวสีน้ำตาลแดง มีลายบั้งและประสีคล้ำพาดขวาง 5-6 บั้ง มีแถบยาวสีดำจากปลายปากจนถึงท้ายทอย ครีบหลังตอนแรกสีเหมือนลำตัว ตอนหลังใส ครีบอกใส มีขนาดประมาณ 6 เซนติเมตร-10 เซนติเมตร มีพฤติกรรมชอบซ่อนตัวอยู่นิ่ง ๆ ใต้กองไม้หรือใบไม้ใต้น้ำ เพื่อล่าเหยื่อซึ่งเป็นซึ่งมีชีวิตเล็ก ๆ กินเป็นอาหาร ปลาเสือดำพบได้ในบริเวณภาคตะวันออกของประเทศ และป่าพรุในภาคใต้ มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลานางคง" หรือ "ปลาดุมชี" ในวงการปลาสวยงามนิยมเรียกว่า "ปลาเสือลายเมฆ".

4 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลาเสือดำปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลองปลาดุมชีปลาแนนดัส

วงศ์ปลาเสือดำ

วงศ์ปลาเสือดำ (Asian leaffish, Nandis) วงศ์ปลาน้ำจืดขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Nandidae (/แนน-ดิ-ดี/) มีรูปร่างกลมเป็นรูปไข่หรือกลมรี แบนข้างมาก หัวค่อนข้างใหญ่ ปากกว้างและยืดหดได้ มุมปากยื่นถึงด้านหลังของนัย์ตา เกล็ดเป็นแบบสาก หนังริมกระดูกแก้มแยกกัน รูจมูกคู่หน้าอยู่ชิดกับจมูกคู่หลัง ขอบกระดูกแก้มอันกลาง มีซี่กระดูกปลายแหลมหนึ่งอัน มีฟันที่กระดูกขากรรไกร กระดูกเพดานปาก และบนลิ้น เส้นข้างลำตัวไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีในบางสกุล ครีบหางมีก้านครีบเดี่ยวที่เป็นซี่แข็งปลายแหลมจำนวน 13 ก้าน และครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยวที่เป็นซี่แข็งปลายแหลมจำนวน 3 ก้าน ครีบหางมนกลม จำแนกออกได้เป็น 3 สกุล พบกระจายพันธุ์ฺในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกและเอเชียใต้จนถึงอาเซียน.

ใหม่!!: ปลาเสือดำและวงศ์ปลาเสือดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง มีชนิดปลามากกว่า 200 ชนิด และเป็นปลาเฉพาะถิ่นและปลาท้องถิ่นประมาณ 20 ชนิด โดยปลาในลุ่มแม่น้ำนี้หลายชนิดซ้ำซ้อนกับปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ที่เป็นลุ่มแม่น้ำใกล้เคียง.

ใหม่!!: ปลาเสือดำและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุมชี

ปลาดุมชี ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nandus oxyrhynchus อยู่ในวงศ์ปลาเสือดำ (Nandidae) มีรูปร่างคล้ายปลากะพงทั่วไป แต่มีส่วนหน้ายื่นยาวกว่า ปากกว้างสามารถยืดออกไปได้มาก ลำตัวมีลายสีด่างคล้ำ เนื่องจากต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม มีลายพาดสีดำที่ลูกตาไปจนถึงโคนครีบหลัง กลางหัวมีแถบสีจาง ครีบสีคล้ำ ครีบก้นใสและมีจุดสีคล้ำ มีความยาวประมาณ 6 เซนติเมตร-10 เซนติเมตร เป็นปลาที่เพิ่งถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1996 มักอาศัยอยู่นิ่ง ๆ ตามใบไม้ใต้น้ำหรือกองหินเพื่อดักล่าเหยื่อที่มีชีวิต ซึ่งได้แก่ ลูกกุ้ง ลูกปลาขนาดเล็ก และแมลง พบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำนิ่งที่มีพืชน้ำหนาแน่นในภาคกลางและภาคอีสานของประเทศ เป็นปลาที่มักตายอยู่บ่อย ๆ เมื่อจับขึ้นมาพ้นน้ำ หรือขี้ตื่นตกใจ จึงได้ชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "ปลาเสียจิต" หรือ "ปลาบ่มีจิต" ที่นครสวรรค์นิยมเรียกว่า "ปลาเสือปรือ" หรือ "ปลาเสือดำ" นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งมีชื่อเรียกในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาเสือลายเมฆ".

ใหม่!!: ปลาเสือดำและปลาดุมชี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแนนดัส

ปลาแนนดัส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาเสือดำ (Nandidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Nandus (/แนน-ดัส/) เป็นปลาขนาดเล็ก มีรูปร่างคล้ายใบไม้ ลำตัวแบนข้างมาก หัวโต ปากกว้างและยืดหดได้ ขากรรไกรบนยาวถึงหลังนัยน์ตา เยื่อที่ริมกระดูกแก้มแต่ละข้างแยกกันเป็นอิสระ มีกระดูกเป็นซี่แข็งปลายแหลมหนึ่งอันอยู่บนกระดูกแก้ม ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวที่เป็นซี่แข็งปลายแหลม จำนวน 15-16 ก้าน และมีก้านครีบแขนง 11-12 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยวที่เป็นซี่แข็งปลายแอหลม จำนวน 3 ก้าน และมีก้านครีบแขนง 5-6 ก้าน เกล็ดเป็นแบบสากขอบหยัก เส้นข้างลำตัวแยกออกเป็น 2 ตอน พบปลาขนาดเล็ก แม้จะมีสีสันไม่สวยงาม แต่ก็ยิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มักอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีไม้น้ำและพืชน้ำขึ้นหนาแน่น โดยมักจะอยู่นิ่ง ๆ จนดูคล้ายใบไม้ เพื่อรอดักเหยื่อซึ่งได้แก่ ปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงเกาะบอร์เนียว.

ใหม่!!: ปลาเสือดำและปลาแนนดัส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Bedula nebulosusNandus borneensisNandus nebulosusปลากะพงเล็ก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »